ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - supranee sabugueiro
หน้า: [1]
1  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / แนะนำตัวสมาชิกใหม่ค่ะ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2019, 01:05:48 pm
:25: :25: :25:

ชื่อ สุปราณี ซาบุเกโร่ ชื่อเล่น ณี ค่ะ เป็นสมาชิกใหม่เมื่อไม่นาน (แต่น่าจะเป็นเดือนอ่ะ แต่พึ่งเข้ามาโพสแนะนำตัว ) มารู้จักเพจนี้นานหลายปี เมื่อก่อนพยายามสมัคร สมัครไม่ได้สักทีหลุดตลอด เลยเว้นไว้นานมาก แต่ตอนนี้ได้เป็นสมาชิกส่วนนึงแล้ว ยินดีที่ได้รู้จัก ศิษย์พี่ทุกๆคนด้วยนะค้ะ แนะนำทางกันด้วยเน้อ ขอบคุณค่ะ  :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:
2  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / #การสอบบาลี ตั้งแต่แรกเริ่มในอดีตจนถึงปัจจุบัน เรามีการสอบกันอย่างไร เมื่อ: ตุลาคม 23, 2019, 12:50:28 pm
๑.การศึกษาสมัยพุทธกาล
การศึกษาของคณะสงฆ์สมัยพุทธกาลศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงบ้าง จากพระอรหันตสาวกบ้าง แล้วท่องจำไว้ด้วยปาก (มุขปาฐะ) นี้เป็นการเรียนหลักธรรมเรียกว่า คันถธุระ เรียนแล้วนำไปปฏิบัติเรียกว่า วิปัสสนาธุระ ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว พระสงสาวกได้ประชุมกันทำสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยไว้เป็นหมวดหมู่ มี ๓ หมวด คือ
๑.หมวดพระสูตร เรียกว่า พระสุตันตปิฎก
๒.หมวดพระวินัย เรียกว่า พระวินัยปิฎก
๓.หมวดพระอภิธรรม เรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก
ทั้งหมดรวมเรียกว่า “พระไตรปิฎก” พระสงฆ์สาวกสมัยนั้นก็ศึกษากันด้วยปากเป็นคณะๆ คณะละหมวดหนึ่งบ้าง สองหมวดบ้าง ต่อมาเมื่อพระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎกได้จารึกเป็นมคธ หรือที่เรียกว่า ภาษาบาลี พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาทั้งหลักภาษาและเนื้อหาธรรมะไปในตัว
ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปในนานาประเทศ บางประเทศก็ยังยึดหลักของภาษาบาลี ได้รักษาพระไตรปิฎกไว้ในรูปของภาษาบาลี แต่บางประเทศก็ปริวรรตเป็นภาษาในประเทศของตน ก็ย่อมมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง นานเข้าก็มีความคิดแตกต่าง กลายเป็นนิกายฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้ ประเทศไทยของเราสืบทอดมาจากนิกายฝ่ายใต้ ที่เรียกกันว่า ฝ่ายหินยานหรือฝ่ายเถรวาท
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๖๐ พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่สุวรรณภูมิ โดยการนำของพระเถร ๒ รูป คือ พระโสณะกับพระอุตตระ จนกระทั่งมารุ่งเรืองขึ้นในสมัยลานนาไทย การศึกษาเจริญก้าวหน้ามาก ปรากฏว่ามีพระเถระหลายรูปที่ศึกษาอยู่ในระดับแตกฉานสามารถแต่งตำราอธิบายธรรมะเป็นภาษาบาลีได้อย่างเชี่ยวชาญ.

๒.การศึกษาสมัยล้านนาไทยและสุโขทัย
การศึกษาสมัยนี้ พระภิกษุเป็นผู้บริหารและจัดการศึกษา คือเป็นครูผู้สอนกันเอง สมัยพ่อขุนรามคำแหง การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีและฝ่ายอรัญญวาสี ทรงส่งเสริมให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก แม้พระองเองก็ทรงสั่งสอนประชาชนตามหลักธรรมเช่นกัน
สถานศึกษา
สถานศึกษาในสมัยลานนาไทยและกรุงสุโขทัยใช้วัดและวังเป็นศูนย์กลาง โดยวัดเป็นสถานศึกษาของบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป มีพระภิกษุเป็นผู้สอน ส่วนวังเป็นสำนักราชบัณฑิตสอนเฉพาะเจ้านาย ข้าราชการ และเป็นสถานที่ศึกษาธรรมของพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น
หลักสูตรการศึกษา
การศึกษาสมัยนี้ ยังยึดหลักภาษาบาลีศึกษาในเชิงหลักภาษา และเนื้อหาธรรมะจากพระไตรปิฎก โดยแบ่งเป็นตอนๆ อันดับแรกศึกษาพระสุตตันตปิฎก เมื่อจบแล้วก็ศึกษาพระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกตามลำดับ
การวัดผลการศึกษา
การวัดผลการศึกษาใสมัยลานาไทยและสมัยสุโขทัย ยังไม่เด่นชัด เป็นแต่การวัดผลจากวามทรงจำ และความสามารถของพระภิกษุสงฆ์เป็นพื้น.

๓.การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
การศึกษาในยุคนี้ แรกๆ ถูกปล่อยปละละเลย ต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นพระพุทธศาสนาถูกลัทธิภายนอกย่ำยีประชาชนมัวเมาหลงใหลเห็นผิดเป็นชอบจึงทรงรับอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ทรงโปรดจัดการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเหมือนครั้งสุโขทัย ให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรม นับว่าเป็นการสอบไล่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
ต่อมากรุงศรีอยุธยาแตกพ่าย ถูกพม่าทำลายวัดวาอารามและเผาคัมภีร์พระไตรปิฎกไปด้วย พระภิกษุสงฆ์แตกกระจัดกระจายหนีภัยสงคราม ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชครองกรุงธนบุรีแล้ว ทรงใส่พระทัยพัฒนาการพระพุทธศาสนา รวบรวมอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ให้ให้มาอยู่รวมกันอีกครั้งหนึ่ง ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์ แลสถาปนาพระอารามขึ้นหลายแห่ง ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนคันถธุระ และวิปัสสนาธุระพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง
หลักสูตรการศึกษา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้คณะสงฆ์อาภารธุระในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยกำหนดหลักสูตร เวลาเรียน การประเมินผล และฐานะของผู้สอบไล่ได้อย่างชัดเจน ได้ใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นหลักสูตร โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น ๓ ชั้น หรือ ๓ ประโยค ดังนี้
บาเรียนตรี ต้องแปลจบพระสูตร
บาเรียนโท ต้องแปลจบพระสูตรและพระวินัย
บาเรียนเอก ต้องแปลจบพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม
ผู้เรียนจบบาเรียน ตรี-โท-เอก “มหาบาเรียนบาลี” โดยใช้อักษรย่อ บ.บ.
สถานศึกษา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ การเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ใช้บริเวณพระบรมมาราชวังเป็นหลัก ส่วนวัดต่างๆ ได้แก่ พระมาหากษัตริย์บ้างราชบัณฑิตบ้าง พระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกบ้าง
การวัดผลการศึกษา
เริ่มแรกผู้เรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ (หลักของภาษา) ใช้เวลาประมาณ ๒-๓ ปี จึงเรียนแปลพระไตรปิฎกที่จารึกในใบลานเป็นหนังสือแบบเรียน เมื่อมีความรู้ความสามารถในการแปลได้ดีแล้ว ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักก็จะกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงกราบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศการสอบไล่ความรู้ของพระภิกษุสามเณร เรียกว่า “สอบสนามหลวง” แปลว่าเป็นการสอบในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงยกย่องผู้สอบได้ให้มีสมณศักดิ์ “มหา” นำหน้าชื่อ แล้วพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ เป็นเกียรติแก่พระพุทธศาสนาสืบไป
สถานที่สอบใช้พระบรมมหาราชวังเป็นที่สอบและใช้ระยะเวลาเรียน ๓ ปี จึงมีการสอบ ๑ ครั้ง
วิธีสอบ
เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงประกาศให้มีการสอบพระปริยัติธรรมขึ้นแล้ว พระมหาเถระและราชบัณฑิตทั้งหลายก็แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธาน การสอบแปลผู้สอบต้องต้องจับสลากตามที่คณะกรรมการกำหนดให้ถ้าจับได้ผูกใดก็แปลผูกนั้น โดยเริ่มจากพระสูตรก่อน ต้องแปลปากเปล่าต่อหน้าคณะกรรมการผิดศัพท์หรือประโยชน์ได้เพียง ๓ ครั้ง ถ้ากรรมการทักท้วงเกิน ๓ ครั้ง ถือว่าตก ถ้าแปลได้คล่องเป็นที่พอใจไม่มีการทักท้วงถือว่าสอบได้ในประโยคนั้นๆ เมื่อผ่านพระสูตร ก็ให้เกียรติคุณเป็น “บาเรียนตรี” เรียนพระวินัยปิฎกต่อไปอีก ๓ ปี สอบผ่านก็เป็น “บาเรียนโท” จากนั้นศึกษาพระอภิธรรมปิฎกอีก ๓ ปี สอบผ่านก็ได้เป็น “บาเรียนเอก”

 ๔.การศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ยุครัชกาลที่ ๑-๔
หลังจากสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์แล้ว พระมหากษัตริย์ก็ทรงใส่พระทัยถึงการพระศาสนา ทรงแก้ไขปัญหาต่างๆเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.๒๓๓๑ ทรงปรารภที่จะสังคายนาพระไตรปิฎก จึงทรงอาราธนาพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และราชบัณฑิตเป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก จารึกเป็นอักษรขอมขึ้น ใช้เวลา ๕ เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ เป็นจำนวน ๕๓๔ คัมภีร์ คือ พระวินัย ๘๑ คัมภีร์ พระสูตร ๑๑๐ คัมภีร์ พระอภิธรรม ๖๑ คัมภีร์ และสัททวิเสส ๕๐ คัมภีร์ เป็นหนังสือใบลาน ๓๖๘๖ ผูก เรียกชื่อว่า ฉบับทองใหญ่ ต่อมาทรงโปรดให้สร้างอีก ๒ ฉบับ คือ ฉบับรองทรง มีจำนวน ๓๐๕ คัมภีร์ เป็นหนังสือใบลาน ๓,๖๔๙ ผูก และฉบับทองชุบ มีเพียง ๓๕ คัมภีร์ ทั้ง ๓ ฉบับเป็นแม่แบบในการพิมพ์ครั้งต่อมา
หลักสูตรการศึกษา
ในยุคแรกเริ่มต้น หลักสูตรยังใช้พระไตรปิฎก เรียน ๓ ปีต่อการสอบ ๑ ครั้งเหมือนเดิมและแบ่งชั้นดังนี้
บาเรียนตรี ใช้พระสูตรเป็นในการเรียนการสอน
บาเรียนโท ใช้พระสูตรและพระวินัย
บาเรียนเอก ใช้พระสูตร พระวินัยและพระอภิธรรม
ตั้งแต่ยุคราชกาลที่ ๒ เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้นใหม่โดยอาศัยหลัก ๒ ประการ คือ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ประกอบด้วยองค์ ๙ คือ สุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
พระธรรมคำสอนอันเป็นโลกุตตรธรรมมี ๙ อย่าง คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ดังนั้นจึงจัดหลักสูตรแบ่งเป็น ๙ ชั้นดังนี้
๑.ประโยค ๑-๒-๓ ใช้คัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเป็นแบบเรียน (แปลคราวเดียวกัน ๓ ประโยคจึงเป็นบาเรียน)
๒.ประโยค ๔ ใช้คัมภีร์มังคลัตถทีปนีภาคแรก (ภายหลังใช้ ๒ ภาค)
๓.ประโยค ๕ ใช้คัมภีร์บาลีมุตตกะ (แล้วเปลี่ยนเป็นคัมภีร์สารัตถสังคหะ ภายหลังเปลี่ยนเป็นบาลีมุตตกะเหมือนเดิม)
๔.ประโยค ๖ ใช้คัมภีร์มังครัตถทีปนีภาค ๒
๕.ประโยค ๗ ใช้คัมภีร์อรรถกถาวินัยสมันตปาสาทิกา
๖.ประโยค ๘ ใช้คัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค
๗.ประโยค ๙ ใช้คัมภีร์กาสารัตถทีปนี (ภายหลังเปลี่ยนเป็นฎีกาอภิธัมมัตถวิภาวินี) สำหรับประโยค ๗ -๘-๙ เรียกว่าบาเรียนเอก โดยเรียนย่อยดังนี้ว่า
ประโยค ๗ เรียกว่า เอกสามัญ (เอก ส.)
ประโยค ๘ เรียกว่า เอกมัธยม (เอก ม.)
ประโยค ๙ เรียกว่า เอกอุดม (เอก อ.)

สถานศึกษา
ยุคราชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พระที่นั่งมณเฑียรธรรมในวัดพระศรี รัตนศาสดารามข้างท้องพระโรงบ้าง สร้างศาลาต่างหากบ้าง หรือบางทีใช้บ้านขุนนางชั้นผู้ใหญ่เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและ
เจ้านาย ส่วนข้าราชการชั้นผู้น้อยให้ไปศึกษาตามวัดต่างๆ
ยุครัชการที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ใช้อารามบ้าง ทรงให้สร้างเก๋งบริเวณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โปรดให้เลี้ยงเพลพระภิกษุและพระราชทานรางวัลด้วย ภายหลังสถานที่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้ใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ยุครัชการที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเก๋งขึ้น ๔ หลัง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม
การวัดผลการศึกษา
ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การสอบพระปริยัติธรรมยังเหมือนปลายกรุงศรีอยุธยา ๓ ปีต่อการสอบ ๑ ครั้ง ต่อมายุครัชการที่ ๓ เมื่อนักเรียนคนใดจะสอบ ต้องผ่านการจับสลากถูกซองไหนก็แปลซองนั้น ก่อนแปลกรรมการจะให้เวลาเล็กน้อยให้หายตื่นเต้น แล้วจึงเรียกเข้าไปแปลหน้าต่อไป ต้องแปลครั้งเดียวให้ผ่าน ๓ ประโยคจึงจะเป็น “บาเรียน” ผ่านเพียง ๒ ครั้งถือว่าตก หรือคณะกรรมการทักท้วงเกิน ๓ ครั้งนับว่าตก พระภิกษุสามเณรที่เรียนเก่งก็สามารถแปลสอบตั้งแต่ประโยค ๑-๙ รวดเดียวได้
สถานที่และวันเวลาในการสอบ
การสอบพระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินประเภทหนึ่งเพราะอยู่ในพระราชกรณียกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศาสนูปถัมภก ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้สถานที่พระบรมมหาราชวังเป็นหลัก
การสอบในสมัยนั้นเริ่มประมาณ ๑๕.๐๐ น. ทุกวัน เว้นเฉพาะวันโกนกับวันพระ เวลาในการสอบนั้นไม่มีกำหนด แล้วแต่ผู้ที่แปลได้เร็วหรือช้าแต่โดยปกติให้เลิกประมาณ ๑๙.๐๐ น. หรือ ๒.๐๐ น. การสอบแต่ละครั้งตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น ใช้เวลา ใช้เวลาประมาณ ๒ เดือนเศษ

ยุครัชกาลที่ ๕-๗
ในยุครัชกาลที่ ๕ พระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ จึงทรงสนับสนุนการศึกษาทั่วไป สำหรับพระภิกษุได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านพระปริยัติธรรมและวิชาการสมัยแผนกธรรมขึ้นควบคู่กับแผนกบาลี (ฝ่ายเปรียญ) เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นครั้งแรก และจัดครบหลักสูตรในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ แต่ยังเป็นการศึกษาเฉพาะฝ่ายสงฆ์อย่างเดียว ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๗ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จึงเปิดโอกาสให้
ฆราวาสชายหญิงเรียนด้วยโดยแยกแผนกธรรมออก สำหรับพระภิกษุสามเณรเรียกว่า “นักธรรมศึกษา” สำหรับฆราวาสเรียนเรียกว่า “ธรรมศึกษา” นักธรรมชั้นต่างๆ ยังมีความสำคัญต่อการสอบเปรียญด้วย คือ
ผู้สอบประโยค ๑-๒-๓ ต้องผ่านนักธรรมชั้นตรี
ผู้สอบประโยค ๔-๕-๖ ต้องผ่านนักธรรมชั้นโท
ผู้สอบประโยค ๗-๘-๙ ต้องผ่านนักธรรมชั้นเอก
ดังนั้นจึงรวมเรียกว่า “เปรียญธรรม” ใช้อักษรย่อว่า “ป.ธ.” ข้อสังเกต คำว่า “เปรียญ” เข้าใจว่าเพิ่งนำมาใช้ระหว่างรัชกาลที่ ๕-๖ เพราะในยุคแรกยังใช้คำว่า “บาเรียน” อยู่
หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
ในยุคนี้มีหลักสูตรวิชาแปลดังนี้
๑.ประโยค ๑-๒-๓ ใช้คัมภีร์ธัมมปทัฎฐกถา
๒.ประโยค ๔ ใช้คัมภีร์มังคลัตถทีปนีภาคแรก
๓.ประโยค ๕ ใช้คัมภีร์สารัตถสังคหะ
๔.ประโยค ๖ ใช้คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
๕.ประโยค ๗ ใช้คัมภีร์ปฐมสมันตปาสาทิกา
๖.ประโยค ๘ ใช้คัมภีร์วิสุทธิมรรค
๗.ประโยค ๙ ใช้คัมภีร์สารัตถทีปนี (ฎีกาวินัย)
สถานศึกษา
เดิมทีใช้บริเวณวิหารคดรอบพระอุโบสถและตามพระอารามต่างๆ เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนต่อมาเมื่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นแล้ว ก็ให้พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนั้น
การวัดผลการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
ยุคแรกการสอบพระปริยัติธรรมยังเป็นไปเหมือนเดิม คือ ๓ ปีสอบ ๑ ครั้ง ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้กำหนดให้สอบปีละ ๑ ครั้งตลอดมา
วิธีสอบพระปริยัติธรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ คงใช้วิธีสอบแบบเก่าๆ คือแปลสอบด้วยปาก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เปลี่ยนแปลงมาสอบด้วยวิธีเขียนเฉพาะประโยค ๑ และประโยค ๒ ส่วนประโยค ๓ ขึ้นไปสอบแปลด้วยปากตามแบบเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ จึงให้ยกเลิกการสอบแปลด้วยปาก เปลี่ยนมาสอบด้วยวิธีเขียนแทนทุกชั้นประโยค
อนึ่ง การสอบพระปริยัติธรรมนั้น ตามประเพณีเดิมไม่ได้กำหนดด้วยนาฬิกา แต่ใช้เทียนเป็นสัญญาณกำหนด คือเมื่อเริ่มแปลเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ไปจนกระทั่งค่ำ แล้วจุดเทียนตั้งไว้จนกว่าจะหมดก็เป็นอันเลิกสอบในวันนั้น ถ้ายังแปลค้างอยู่ก็เป็นอันตกหมด ต่อมาจึงเลิกการใช้เทียนเป็นสัญญาณ แต่ใช้นาฬิกาแทน และกำหนดเวลาให้นักเรียนที่แปลธรรมบทรูปละ ๖๐ นาที ให้แปลหนังสือ ๓ ใบลาน คือ ๓๐ บรรทัด ภายหลังเห็นว่ายากไปไม่ทันเวลาจึงลดลงเหลือ ๒๐ บรรทัด ประโยคสูง ๙๐ นาที บางทีถ้าประโยคยากก็เพิ่มให้อีก ๓๐ นาที เป็นกรณีพิเศษ
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น การสอบพร้อมกันไม่สะดวก จึงแบ่งการสอบออกเป็น ๒ ภาค ดังนี้
ภาคแรก ป.ธ.๖-๗-๘-๙ สอบในวันขึ้น ๒-๓-๔-๕ ค่ำเดือน ๓ ของทุกปี
ภาคที่สอง ป.๑-๒, ป.ธ. ๓-๔-๕ สอบในวันแรม ๑๐-๑๑-๑๒ ค่ำเดือน ๓ ของทุกปี
สนามสอบส่วนกลาง ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๘๕
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดเบญจมบพิตรฯ
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดมหาธาตุฯ
วัดเทพศิรินทราวาส
วัดพระเชตุพนฯ
วัดอนงคาราม
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้มีการจัดให้สอบตามมณฑลต่างๆขึ้น

๕.การศึกษายุคปัจจุบัน
ปัจจุบันการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นผู้รับผิดชอบแบ่งเป็น ๙ ชั้น เหมือนครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา และจะถือว่าเป็น “เปรียญธรรม” ได้ก็ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค และผู้ที่สอบได้ ถ้าเป็นพระก็ได้เป็นมหาให้เรียกคำว่า “พระมหา” นำหน้าชื่อ สมัยก่อนผู้สอบได้ ป.ธ. ๓ พระมหากษัตริย์พระราชทานพัดยศเอง แต่ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะ ป.ธ. ๖ และ ป.ธ. ๙ ส่วนป.ธ. ๓ ทรงมอบให้สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพัดยศแทน
การศึกษาทั้ง ๙ ชั้นนี้ จัดรวมเป็น ๓ ชั้นคือ
ประโยค๑-๒, ป.ธ. ๓ เป็นเปรียญธรรมตรี
ประโยค ป.ธ. ๔-๕-๖ เป็นเปรียญธรรมโท
ประโยค ป.ธ. ๗-๘-๙ เป็นเปรียญธรรมเอก
หลักสูตรการเรียนการสอน
ประโยค ๑-๒
วิชาไวยากรณ์ ใช้หนังสือไวยากรณ์ ๔ เล่ม
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑-๔
เปรียญธรรม ๓ ประโยค
วิชาไวยากรณ์ ใช้หนังสือไวยากรณ์ ๔ เล่ม
วิชาสัมพันธ์ ใช้หนังสือคู่มือหลักสัมพันธ์ไทย
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕-๘
วิชาบุรพภาค ใช้แบบหอร์มจดหมายราชการ
เปรียญธรรม ๔ ประโยค
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๑
เปรียญธรรม ๕ ประโยค
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๒,๓,๔
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใชั้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๒
เปรียญธรรม ๖ ประโยค
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕,๖,๗,๘
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๓,๔,๕
เปรียญธรรม ๗ ประโยค
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๑
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๑-๒
เปรียญธรรม ๘ ประโยค
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๑-๒
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือวิสุทธิมรรค ภาค ๑-๒
วิชาแต่งฉันท์มคธ กรรมการกำหนดข้อความให้
เปรียญธรรม ๙ ประโยค
วิชาแต่งภาษามคธ กรรมการกำหนดข้อความให้
วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือวิสุทธิมรรค ภาค ๑-๒
วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสืออภิธัมมัตถวิภาวินี

หนังสืออ้างอิง : ประวัติการศึกษาคณะสงฆ์ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๒๗
 ans1 ans1 ans1 ans1
หน้า: [1]