ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
 11 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:44:01 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

พระไพศาล วิสาโล

พระไพศาล วิสาโล แนะหลักธรรมก้าวพ้น ‘ขัดแย้ง’ ยก ‘โลกธรรม 8’ เป็นแนวทางนักการเมือง



 :25:

แนะหลักธรรมก้าวพ้น ‘ขัดแย้ง’ ยก ‘โลกธรรม 8’ เป็นแนวทางนักการเมือง

ในทำเนียบพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยุคนี้ ชื่อของพระไพศาล วิสาโล วัย 67 ปี เจ้าอาวสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ก็อยู่ในนั้นด้วย ท่านบวชมา 41 พรรษา นอกจากเป็นพระนักเผยแผ่ด้วยการเทศน์และการเขียนหนังสือหลายเล่มแล้ว ท่านยังเป็นพระอนุรักษ์ป่าที่ทำให้ผืนป่าใน จ.ชัยภูมิกลับมาเขียวขจี มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านที่วัดป่ามหาวัน จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นอีกวัดที่ท่านดูแลอยู่ เลยได้สนทนากับท่านในหลากหลายหัวข้อ

พระไพศาลเล่าว่า ที่ผ่านมาเขียนหนังสือหลายแนว ตั้งแต่เรื่องสิ่งแวดล้อม สันติวิธี เหตุแห่งความขัดแย้ง เรื่องปฏิรูปพระพุทธศาสนา เรื่องการรักษาป่า และเรื่องธรรมะ เรื่องของการฝึกจิตฝึกใจในการแก้ปัญหาชีวิต แก้ปัญหาความทุกข์ ในแต่ละเล่มเนื้อหาแตกต่างกันไป

ใจความสำคัญคือให้คนได้เกิดความตระหนักในเรื่องส่วนรวม และช่วยกันทำให้สังคมดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้รู้จักการแก้ปัญหาส่วนตัว ทั้งในระดับครอบครัว จนถึงระดับจิตใจ

ซึ่งอาตมาเน้นในการเปลี่ยนแปลงสังคม แก้ปัญหาสังคมกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง แก้ปัญหาตัวเอง ซึ่งก็เรื่องเดียวกันแหละ โดยอาศัยธรรมะ อาศัยมุมมองต่อชีวิตและสังคมที่มีจุดร่วมเดียวกันคือว่า ความเมตตา ความมีสติ ความรู้สึกตัว และการเข้าใจความจริงของชีวิตและโลก ซึ่งเป็นแกนกลางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้


@@@@@@@

พระพุทธศาสนาแกนกลางอยู่ที่ธรรมะ ธรรมะก็มีอยู่ 2 ความหมาย
    ที่หนึ่ง คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงและโลก ในความจริงของชีวิตและโลก ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่าไร ถ้าพูดง่ายๆ หลักการใหญ่ๆ อันนี้เรียกว่าสัจธรรม
    อีกอันหนึ่งคือ ข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ในการเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ที่เรียกว่าจริยธรรม
    โดยหลักการแล้ว สัจธรรมและจริยธรรมก็ยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

กับคำถามที่ว่า เวลานี้ในสังคมไทยมีความแตกแยกกันเยอะ ควรใช้หลักธรรมคำสอนอย่างไรที่จะทำให้สังคมลดความแตกแยกลงได้

เจ้าอาวสวัดป่าสุคะโตอธิบายว่า ต้องเปิดใจฟังให้มากขึ้น และอย่าด่วนตัดสิน เพราะว่าสิ่งที่ได้ฟังมาผ่านสื่อ อาจไม่ใช่ความจริง หรืออาจเป็นแค่ความจริงเพียงส่วนเดียว และคนทุกวันนี้รับรู้ความเป็นจริงผ่านสื่อ ซึ่งมีการตีความ มีการกลั่นกรอง รวมทั้งอาจมีอคติเข้ามาแทรก จึงไม่ควรด่วนสรุปในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังทางสื่อ

ควรเปิดใจรับฟังข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย เพราะสื่อยุคนี้มักเลือกข้าง เพราะถ้าเลือกข้างจะอยู่ได้ ถ้าไม่เลือกข้างเลยอยู่ยาก ฉะนั้น ในยุคปัจจุบันผู้คนไม่สามารถที่จะพึ่งพาสื่ออันใดอันหนึ่งได้ แต่ต้องรับรู้ผ่านสื่อที่หลากหลาย และมาใคร่ครวญ กลั่นกรองและหาข้อสรุป

ต้องมีสิ่งหนึ่งที่ทางพุทธเรียกว่า สัจจานุรักษ์ คือ หลักธรรมที่ว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปความคิดของตัวเองเท่านั้นที่ถูก ต้องเปิดใจกว้าง ไม่ด่วนสรุป หรือปักใจเชื่อว่าความคิดความเห็น ข้อมูลข่าวสารของเราเท่านั้นที่ถูก ตรงนี้สำคัญมาก บางคนเรียกว่ามีขันติธรรม คือ ใจกว้าง ไม่คับแคบ ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือการมีสติ และต้องมีปัญญาในการใคร่ครวญ เพื่อแยกแยะว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม ปัญญาจะใช้การได้ต้องมีหลักธรรมข้อหนึ่ง ที่เรียกว่า กาลามสูตร จะมี 10 ข้อ เป็นข้อทักท้วงหรือตักเตือน อาทิ อย่าเชื่อเพียงเพราะได้ยินเสียงเล่าลือ และอย่าเชื่อเพราะเป็นครูของเรา ฯลฯ

เมื่อให้ท่านแนะนำหลักธรรมคำสอนที่อยากให้นักการเมือง หรือผู้บริหารในประเทศปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และเพื่อให้บ้านเมืองเจริญ-สงบสุข

    “อยากให้ตระหนักถึงหลักธรรม เรื่องโลกธรรม 8 ก็มีอยู่ 2 ส่วน คือ โลกธรรมฝ่ายบวก และฝ่ายลบ ซึ่งแยกจากกันไม่ออก ได้ลาภกับเสื่อมลาภเป็นของคู่กัน ได้ยศกับเสื่อมยศเป็นของคู่กัน สรรเสริญกับนินทาว่าร้ายเป็นของคู่กัน สุขและทุกข์ ตอนนี้นักการเมืองจำนวนมาก เขาหลงใหลเรื่องของยศ ทรัพย์ อำนาจกันมาก และคิดว่าถ้ามียศ มีทรัพย์ มีอำนาจ สามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง และจะได้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของเขา มีความสุข”

    “แต่อันนี้เป็นความหลง เพราะถ้านำมาเป็นสรณะแล้ว จะนำไปสู่การคอร์รัปชั่น ไปสู่การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว แต่คนที่เข้าใจเรื่องโลกธรรม 8 เขาก็จะใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม ซึ่งจะทำให้เขามีความสุขอย่างแท้จริง”

    “และทำให้ชีวิตของเขามีคุณค่าและมีความหมาย”



พระไพศาล วิสาโล

ในชีวิตการบวช 41 พรรษา พระไพศาลเล่าถึงคำสอนของครูบาอาจารย์ที่นำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องว่า มีหลายท่าน ตอนเป็นวัยรุ่นก็มีพระอาจารย์พุทธทาส และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ต่อมาก็มีหลวงพ่อเทียน จิตตะสุโภ หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ และครูบาอาจารย์ที่อาตมาได้เรียนรู้ผ่านหนังสือ อย่างหลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นต้น ท่านเหล่านี้คือครูบาอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตการบวชของอาตมา ทำให้อาตมาบวชได้นานถึงทุกวันนี้

สิ่งที่ได้สำคัญๆ ทำให้เข้าใจว่าพระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรม ไม่ใช่เรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของสัจธรรมความจริงที่เป็นสากล และที่สำคัญอีกอย่างคือ ได้ค้นพบวิธีในการฝึกจิตฝึกใจ ให้มีความทุกข์น้อยลงคือ มีธรรมะมากขึ้น

    “คำสอนของหลวงปู่ชาก็ได้หลายอย่าง อย่างเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า เรื่องการฝึกจิต เรื่องเจริญภาวนา รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสังฆะ เรื่องธรรมวินัย ส่วนคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ว่าไว้ ชีวิตที่ดีที่สุดคือชีวิตที่สงบและเป็นประโยชน์ นี่คือหลักการสำคัญเลยที่ช่วยประคับประคอง หล่อหลอมชีวิตการบวชของอาตมาให้มาถึงจุดนี้ ถ้าเกิดเราสามารถเข้าถึงภาวะที่สงบเย็น และใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ได้ ก็ไม่มีคำถามแล้วว่าเกิดมาทำไม อยู่ไปทำไม”

ถามว่า มองอย่างไรตอนนี้ชาวต่างชาติเข้ามาบวชเรียนพระพุทธศาสนาในบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสายวัดป่า สายวิปัสสนา

พระไพศาลกล่าวว่า อาตมามองว่าเป็นภาพสะท้อนว่าความสะดวกสบาย ความมั่งคั่ง หรือว่าความสำเร็จในทางโลก ไม่ใช่คำตอบที่แท้ของชีวิต อาจจะช่วยทำให้เข้าถึงคำตอบของชีวิตได้ แต่ไม่ใช่ตัวคำตอบที่แท้ ชาวต่างชาติที่ได้ประสบภาวะที่พรั่งพร้อมทางวัตถุ แม้ว่าจะเป็นสังคมที่ให้หลักประกันทางด้านสันติภาพ และสิทธิหลายอย่างที่น่าจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านั้นยังไม่พอ

@@@@@@@

สิ่งที่ขาดหายไปคือความหมายในทางจิตใจ หรือถ้าพูดง่ายๆ เป็นรูปธรรมคือ ความสงบทางจิตใจ ความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ความสะดวกสบายที่เทคโนโลยีไม่สามารถทำให้เกิดความสงบอย่างแท้จริงในจิตใจ คนเราถ้าขาดความสงบในจิตใจ ก็ไม่มีทางที่จะพบความสุขที่แท้ได้ และท่านเหล่านั้นพบว่าพระพุทธศาสนาให้คำตอบในเรื่องนี้ได้ ทำให้พบความสงบในจิตใจ

การที่มีชาวต่างชาติมาศึกษาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะลงมาปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ยังมีคนที่เห็นคุณค่า และสามารถจะนำมาใช้ในการแก้ทุกข์ของตัวเองได้อย่างแท้จริง ธรรมะในพระพุทธศาสนาจึงไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ยังทันยุคทันสมัย ไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปในทางใด สุดท้ายคนก็ยังหนีความทุกข์ไม่พ้น ท่านเหล่านั้นก็เป็นหลักฐานว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีอีกอย่างหนึ่งคือสมสมัย รวมทั้งยังเหมาะกับคนในยุคปัจจุบัน และยุคต่อๆ ไปด้วย

ประเด็นที่ว่าเวลาผู้คนในบ้านเราดูเหมือนจะมุ่งไปสายมูมากกว่าปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนา หลายวัดเน้นสร้างวัตถุกันมาก

พระไพศาลพูดถึงเรื่องนี้ว่า “อาตมาไม่ค่อยแน่ใจว่าคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา นับถือศาสนาบริโภคนิยมมากกว่า จุดมุ่งหมายส่วนใหญ่ คือ รวย รวย รวย จริงๆ แล้วโดยแก่นแท้เขานับถือศาสนาบริโภคนิยม ศาสนาวัตถุนิยม ซึ่งอาจถูกห่อคลุมด้วยลัทธิธรรมเนียมทางพระพุทธศาสนา รูปแบบเป็นพระพุทธศาสนา แต่เนื้อในเป็นบริโภคนิยม และเพราะเหตุนี้วัดหรือพระ จึงตอบสนองความต้องการในเชิงบริโภคนิยมของญาติโยม ด้วยการสร้างวัดวาอารามแบบนั้น หรือการขายวัตถุมงคล หรือที่เรียกว่า พุทธพาณิชย์


@@@@@@@

และนี่คือเหตุว่าทำไมความเชื่อที่เรียกว่าสายมูจึงแพร่ระบาด เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาศรัทธานับถือจะนำมาซึ่งโชคลาภ ความสำเร็จทางโลก ทำให้มั่งมี ทำให้ร่ำรวย ในเมื่อมีความเชื่อแบบนี้ การที่จะหวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อดลบันดาลให้สมปรารถนาจึงเป็นเรื่องที่แพร่ระบาด

อย่างญาติโยมที่มาวัดอาตมาบางคนก็คอยเฝ้าดูว่าอาตมาจะให้เลขอะไรหรือเปล่า หรือไม่ก็มาวัดมาทำบุญ เพราะคิดว่าจะช่วยให้มีโชคมีลาภ มาถวายสังฆทาน เพราะคิดว่าบุญจะแปรเป็นโชคเป็นลาภได้ ถึงวันพระก็ใส่บาตรกันเยอะมาก เพราะคิดว่าถ้าใส่บาตรแล้วจะได้บุญ บุญจะทำให้ถูกล็อตเตอรี่ ยิ่งวันที่ 16 หรือ 1 ของเดือน คนจะใส่บาตรกันเยอะกว่าปกติ

ท่านเองเขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย อยากให้ผู้คนตระหนักเรื่องนี้อย่างไร

“อาตมาเน้นเรื่องชีวิตก่อนความตาย โดยเฉพาะในระยะสุดท้าย จะเผชิญกับความตายอย่างไรด้วยใจสงบ คิดว่าคนไทยยอมรับความตายได้มากขึ้น ตามโรงพยาบาลก็ตอบรับในเรื่องนี้ การยื้อชีวิตเพื่อหนีความตายเริ่มลดลงแล้ว เริ่มยอมรับกระบวนการทางการแพทย์ที่ไม่ได้ยื้อชีวิต แต่เป็นไปเพื่อให้เผชิญความตายได้ดีที่สุดคือ การดูแลแบบประคับประคอง”






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567
คอลัมน์ : รายงานพิเศษ โดย ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง
เผยแพร่ : วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_762625

 12 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:30:41 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 13 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 09:25:53 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



E-DUANG : บทสวด ในลีลา เฮฟวี่ เมทัล การรุกคืบ ในทาง “ความคิด”

การนำเอา”บทสวดมนต์” มาทำเป็น”ดนตรี”ด้วยท่วงทำนองอย่างที่เรียกว่า”เฮฟวี่ เมทัล” ก่อให้เกิดอาการ”ช็อค”ในทาง ”ความรู้สึก” อย่างแน่นอน และที่ ”ช็อค” รุนแรงยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ทำให้เห็นว่าเป็นการบรรเลงและร้องโดยวงดนตรีที่เป็น ”สมณะ” ในเครื่องแบบเหลืองอร่ามงามจับตา

นี่ย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็น”วงดนตรี”อันประกอบส่วนขึ้นจากพระสงฆ์อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการนำเอา”บทสวดมนต์”มาเป็น”เพลง”

แม้จะมีหลายคนออกมาอธิบายในลักษณะแก้ต่างว่ามิได้เป็นพระสงฆ์จริงๆหรอก หากแต่เป็นพระที่สร้างมาจาก AI หรือที่เรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์” กระนั้น หากมองในแง่ของ”พุทธศาสนิก”ก็ถือได้ว่าไม่เหมาะ สม เป็นการจาปจ้วงละเมิด ไม่เพียงแต่ต่อ”พระ”หากแต่ท้าทายต่อความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์

ยิ่งติดตามการนำเสนอผ่านโลกโซเชียลยิ่งเห็นว่า มิได้เป็นเรื่องประเภทวูบๆวาบๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หากแต่ดำรงอยู่อย่างจำหลักและหนักแน่น


@@@@@@@

ทุกบทสวดมนต์ที่ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ล้วนได้รับการปรับแต่งให้เป็นเนื้อร้องผ่านบทเพลงที่คิดประดิษฐ์สร้างและนำเสนอโดยช่องทางที่ชื่อว่า MICKDANCE STUDIOS ทั้งสิ้น ไม่ว่า”มาสวดมนต์คาถาชินบัญชรกันเถอะ” ไม่ว่า”บทสวดปฏิจจสมุปบาท”

ไม่เพียงปรากฏผ่านท่วงทำนองในแบบที่รู้จักในนามเฮฟวี่ เมทัล อึกทึกกึกก้อง หากมีการทดลองผ่านท่วงทำนองอย่างที่รู้จักว่าเร็กเก้ ยิ่งกว่านั้นยังมีการนำเอาบทกลอนของ”สุนทรภู่”อันเป็นอาขยานซึ่งอยู่ใน”พระอภัยมาณี”มาสะท้อนทั้งในแบบบอซซาโนว่า แบบป็อบ และแบบริทึ่ม แอนด์ บลู

เพียงได้ยิน”บทสวด”ก็รู้ว่าคนทำมีความสนใจด้านใด เมื่อนำเอาอาขยายจากนิทานคำกลอน”พระอภัยมณี” ยิ่งสัมผัสได้ในรากฐานทางวรรณคดีและในทางศาสนา เมื่อประสานเข้ากับประสบการณ์ในการเล่นเกม ในการไล่ฟ์เกมจึงดำเนินไปเพื่อทำให้”การสวดมนต์ไม่น่าเบื่อกันอีกต่อไป”

ปรากฏการณ์แห่งการประยุกต์นำเอา”บทสวดมนต์”มาทำเป็นเพลงโดยการบรรเลงของวงดนตรีในชุด”เหลือง”จึงเป็นการรุกคืบ รุกคืบเข้าไปในพื้นที่ของ”ศาสนา” เข้าไปในพื้นที่”เพลง”

ในเบื้องต้นอาจเป็นเรื่องอันมาพร้อมกับ”ปัญญาประดิษฐ์” แต่หากเมื่อใดสามารถรุกคืบเข้าไปในแต่ละพื้นที่ทาง”อารมณ์” และในทาง”ความคิด” นั่นหมายถึงการยึดครอง การยึดครองทาง”ความคิด” ยึดครองทาง”วัฒนธรรม”


 


ขอบคุณ : https://www.matichonweekly.com/e-duang/article_764071
เผยแพร่ : วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ.2567

 14 
 เมื่อ: เมษายน 25, 2024, 07:59:07 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



มิตรเทียม-มิตรแท้ | "สมานมิตร" ด้วยการแบ่งโภคสมบัติออกเป็น ๔ ส่วน

มิตรเทียม ได้แก่ คน ๔ จำพวก ซึ่งควรเว้นให้ห่างไกล คือ คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ และคนชักชวนในทางฉิบหาย

   • คนปอกลอก ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย และคบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว

   • คนดีแต่พูด ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วมาพูด อ้างเอาสิ่งที่ยังมาไม่ถึงมาพูดสงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์ไม่ได้ และแสดงความขัดข้องเมื่อมีกิจเกิดขึ้น

   • คนหัวประจบ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว ตามใจเพื่อนให้ทำความดี ต่อหน้าสรรเสริญ และลับหลังนินทา

   • คนชักชวนในทางฉิบหาย ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ และชักชวนให้เล่นการพนัน

@@@@@@@

มิตรแท้ มีใจดี พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ ได้แก่ มิตร ๔ จำพวก คือ มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ และมิตรมีความรักใคร่

   • มิตรมีอุปการะ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว เป็นที่พึ่งได้เมื่อมีภัย และเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่าเมื่อมีกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น

   • มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย และแม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์เพื่อนได้

   • มิตรแนะประโยชน์ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง และบอกทางสวรรค์ให้

   • มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ มิตรโดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน และสรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน

@@@@@@@

ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมรุ่งเรือง เมื่อบุคคลออมและสะสมโภคสมบัติแล้ว พึงแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ย่อมสมานมิตรไว้ได้

    • โดยใช้สอยโภคสมบัติด้วยส่วนหนึ่ง
    • ประกอบการงานด้วยสองส่วน และ
    • เก็บส่วนที่สี่ไว้ในยามอันตราย




ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๓ ข้อ [๑๗๒] ถึงข้อ [๒๐๖] สิงคาลกสูตร
ข้อธรรม : https://uttayarndham.org/node/1579

 15 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 07:37:21 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 16 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 03:48:51 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 17 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 12:29:19 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 18 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 12:24:29 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 19 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 09:42:41 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 20 
 เมื่อ: เมษายน 24, 2024, 08:55:34 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/421


ความคิดเชิงบวก
นำเสนอโดย เทพ สงวนกิตติพันธุ์ ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.อุดรธานี



 :welcome:

กายกับใจนั้นเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน แน่นอนว่าการมีร่างกายที่เจ็บป่วยอาจทำให้ใจห่อเหี่ยว แต่ใจที่ป่วยจากการคิดร้าย มีแต่ความเคียดแค้นเกลียดชังก็นำมาซึ่งโรคทางกายได้เช่นเดียวกัน ทางการแพทย์เรียกว่า Psychosomatic disorder หรือการเจ็บป่วยทางกายอันเนื่องมาจากจิตใจ ดังที่มีคำกล่าวที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

     • การมองสิ่งต่างๆ ในด้านลบ ไม่เพียงแต่ทำให้จิตใจร้อนรุ่มกระวนกระวายเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบให้สมองส่วนล่างเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบ คือ ฮอร์โมนความเครียดหลั่ง หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง กรดในกระเพาะสูง ภูมิต้านทานต่ำลง 

     • ในขณะที่การมองด้านบวก จิตจะสั่งการสมองส่วนล่างด้วยคำสั่งอีกแบบหนึ่ง คือทำให้ฮอร์โมนความสุขหลั่ง หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดลดลง หายใจช้าลง และภูมิต้านทานสูงขึ้น

ความคิดเชิงบวก (positive thinking)

หมายถึง ความคิดที่เกิดจากการมองสิ่งต่างๆ อย่างเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราทั้งในทุกเรื่อง และหากเป็นเรื่องไม่ดีก็รู้จักคิดและพยายามหามุมมองที่เป็นประโยชน์ทางด้านบวกจากสิ่งนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

การคิดเชิงบวกเป็นการหามุมมองที่เป็นบวก มุมมองที่ทำให้เรานั้นมีแง่คิดที่ดี มุมมองที่ทำให้เรามีกำลังใจ มุมมองที่ทำให้เรารู้สึกมีความทุกข์น้อยลง มุมมองที่ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิต กล้าที่จะเผชิญชีวิต หรืออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าสามารถคิดในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แปลว่าเราสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและความสุข

ประโยชน์ของการคิดเชิงบวก

การคิดเชิงบวกเป็นการหามุมมองที่เป็นบวก มุมมองที่ทำให้เรานั้นมีแง่คิดที่ดี ซึ่งให้ประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น
2. ทำให้เรารู้สึกมีความทุกข์น้อยลงมีความสุขมากขึ้น
3. ทำให้เรามีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้น
4. ทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิต หรือพร้อมที่จะเผชิญชีวิต
5. ทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเสียสละเพื่อสังคมมากขึ้น

@@@@@@@

การฝึกสร้างความคิดเชิงบวก

ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงวิธีคิดเชิงบวก ลองถามตัวเองดูก่อนว่าอยากเป็นคนที่มีความสุขมากกว่านี้ไหม หรือกำลังมีความทุกข์เพราะความคิดของตัวเองตลอดเวลาหรือเปล่า หากคำตอบคือ "ใช่" นั่นคือหัวใจสำคัญของการฝึกฝน เพราะ "ความตั้งใจ" เท่านั้นที่จะทำให้การฝึกความคิดเชิงบวกเป็นผลสำเร็จได้

บันไดขั้นที่ 1 : มองตัวเองในแง่ดี

การที่คนเราจะมองโลกหรือมองคนอื่นในแง่ดีได้ ต้องมาจากพื้นฐานที่มองและเชื่อว่าตัวเองดีเสียก่อน ขั้นตอนเพื่อการมองตัวเองว่าดี มีดังต่อไปนี้
     - หาข้อดีของตนเอง ลองสำรวจพิจารณาข้อดีของตนเอง (ไม่ใช่การเข้าข้างตัวเอง) อาจเป็นความดีเล็กๆน้อย เช่น พาคนแก่ข้ามถนน ช่วยลูกนกที่ตกต้นไม้ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตัวเอง
     - ถ่อมตัว การมองเห็นความดีของตนเองนั้นมีไว้เพื่อบอกตัวเราเองให้เกิดความพอใจในตัวเอง รักตัวเอง แต่ไม่ใช่เพื่อข่มหรือคุยทับคนอื่น การถ่อมตัวจึงเป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่พึงจะมีควบคู่กัน
     - นอกจากจะรู้จุดแข็ง(ข้อดี) แล้ว ยังต้องสำรวจจุดอ่อนของตนเองอีกด้วย เมื่อเรายอมรับได้ว่านั่นคือข้อบกพร่องของเราจริงๆ ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ในที่สุด
     - เพิ่มความดี แม้จะรู้ว่าตนมีข้อดีในด้านใดบ้าง ก็ไม่ควรหยุดตัวเองไว้เพียงเท่านั้น แต่ควรเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆที่ดีให้มากยิ่งขึ้น อาจเริ่มต้นโดยการตั้งเป้าหมายเป็นข้อๆ ว่าอยากจะทำอะไรดีๆเพิ่มขึ้นอีกบ้าง แล้วค่อยๆ ฝึกฝนไปทีละข้อ

บันไดขั้นที่ 2 : มองคนอื่นในแง่ดี

เมื่อผ่านบันไดขั้นแรกมาแล้ว จะทำให้เราเริ่มตระหนักว่าคนทุกคนล้วนแต่ไม่สมบูรณ์ ย่อมมีข้อบกพร่องมากน้อยแตกต่างกันออกไป ( แม้แต่ตัวเราก็ยังมีข้อเสีย) ดังนั้น การมีชีวิตที่มีความสุขจึงหมายถึงการอยู่ร่วมกันโดยเลือกมองและใช้ประโยชน์จากความดีที่ผู้อื่นมีอยู่ โดยไม่ใช่การเสแสร้ง แต่เห็นความดีของเขาจริงๆ

บันไดขั้นที่ 3 : มองวิกฤติให้เป็นโอกาส

เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ขึ้น ลองมองความทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วย่อมกลับไปแก้ไขไม่ได้ แต่เราสามารถนำมาพิจารณาได้ว่าในวิกฤติที่เราพบนั้นมีข้อดีอะไรแฝงอยู่หรือจะใช้ประโยชน์จากปัญหานั้นได้อย่างไรบ้าง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรู้สึกว่า รักตัวเองมากขึ้น เลิกทำอะไรไร้สาระ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจมากขึ้น โดย การฝึกสมาธิ ช่วยงานการกุศล เป็นต้น

บันไดขั้นที่ 4 : หมั่นบอกกับตัวเองในเรื่องที่ดี

ขึ้นชื่อว่าเป็นความคิดก็มักจะอยู่กับเราไม่นาน แต่ความคิดก็มักเป็นต้นทางและบ่อเกิดของการกระทำ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำให้ความคิดดีๆ อยู่กับเราตลอดเวลา เช่น บอกตัวเองว่าเป็นคนเก่งทุกครั้งที่ทำอะไรสำเร็จ แม้จะเป็นเพียงความสำเร็จเล็กน้อย บอกตัวเองว่าเพื่อนร่วมงานก็เป็นคนดีคนหนึ่งแม้เขาจะมีข้อบกพร่องอีกหลายอย่าง บอกตัวเองว่าเราโชคดีที่ได้ทำงานยากๆแม้ค่าตอบแทนจะน้อยแต่ก็ทำให้เราได้ประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆ ฯลฯ

บันไดขั้นที่ 5 : ใช้ประโยชน์จากคำว่า “ขอบคุณ”

เคยมีคำสอนจากอาจารย์ รศ.ดร.ทัศนา เเสวงศักดิ์ ได้กล่าวว่า เมื่อต้องพบเจอเรื่องร้าย จงยิ้มแล้วกล่าวคำว่า “ขอบคุณ” เพราะนั่นคือ บททดสอบที่ดีของการมีชีวิตที่เข้มแข็ง หากมีคนด่าว่าคุณ แทนที่จะโต้ตอบให้กล่าวคำว่าขอบคุณ มันจะช่วยลดท่าทีความรุนแรงลงได้เกือบทั้งหมด ทั้งยังทำให้บุคคลนั้นแปลกใจและอาจกลับไปพิจารณาพฤติกรรมของตัวเองได้ โดยที่คุณไม่ต้องพูดอะไรเพิ่มเติมอีก

หากเราตั้งสติและพินิจพิเคราะห์อุปสรรคต่างๆ อย่างมากพอ เราจะรู้สึกขอบคุณต่อข้อขัดข้องเหล่านั้น อย่างน้อยมันก็ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เข้าใจถึงความผิดพลาดว่า ใดไม่ควรทำ และช่วยให้รู้จักมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดนั้นซ้ำอีก

โธมัส อัลวา เอดิสัน เคยบอกกับผู้ช่วยของเขาในระหว่างการทดลองประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าว่า

    "เราไม่ได้ล้มเหลวจากการทดลอง 700 กว่าครั้งที่ผ่านมา แต่เรากำลังเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่า มี 700 วิธีที่ไม่ควรทำ และเราใกล้จะพบคำตอบแล้ว"



ขอบคุณภาพจาก : https://dwf.go.th/contents/36361


คิดบวก ชีวิตบวก

ท่าน ว. วชิรเมธี (พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี) ได้ให้คำสอนในเรื่องการ คิดบวก ชีวิตบวก ไว้ดังนี้

     1. เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
     2. เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
     3. เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
     4. เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ
     5. เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

     6. เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย
     7. เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
     8. เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี
     9. เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง
   10. เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง

   11. เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ
   12. เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความจริงที่ว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง
   13. เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง
   14. เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
   15. เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์

   16. เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด
   17. เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบว่าที่ว่า "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
   18. เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤตย่อมมีโอกาส"
   19. เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต
   20. เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์





ขอบคุณที่มา : https://www.stou.ac.th/main/index.html
เอกสารดาวน์โหลดเรื่อง "การ ฝึก สร้าง ความ คิด เชิง บวก" ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดาวน์โหลด Doc.file ได้ที่ด้านล่าง

อ้างอิง :- 
1. รศ. ดร.ประดินันท์ อุปรมัย การคิดเชิงบวกเพื่อคุณภาพชีวิต : www.vibhavadi.com/health399.html
    วันที่สืบค้น 28/12/2559
2. ดร.สิทธิชัย-จันทานนท์ การคิดเชิงบวก-positive-thinking : www.facebook.com/notes/โรงเรียนศรีวิกรม์
    วันที่สืบค้น 28/12/2559

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10