ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
 91 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 09:29:51 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข
(๑-)


[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน(๒-) เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า
    “ผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
    “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข 

กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข


@@@@@@@

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดัน(๓-) แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร




ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดันแม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้นทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”

                                     นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ






เชิงอรรถ
(๑-) ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
(๒-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้
(๓-) ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๐-๕๐๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๔. มหาวรรค , ๓. นิพพานสุขสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=197

 92 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 08:57:47 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 93 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 04:06:37 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 94 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 02:04:18 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 95 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 11:52:52 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 96 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 10:09:34 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 97 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 09:26:42 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 98 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 08:33:06 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



อาจารย์ ม.ดังอิตาลี ลั่นต้องเป็น ปชต.ทางความเชื่อ อยากเข้าใจไทยต้องเก็ตศาสนา คว้า ‘ลอกคราบพุทธแท้’

‘อาจารย์ ม.ดังอิตาลี’ ลั่นอยากเข้าใจเมืองไทย ต้องเก็ตศาสนาก่อน พุ่งคว้า ‘ลอกคราบพุทธแท้’ ยันต้องเป็น ปชต.ทางศาสนา ไม่เชื่อห้ามดูถูก เผยเจ้าของบ้านเช่าเป็น ‘ร่างทรง’

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยรัฐ (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

บรรยากาศเวลา 12.50 น. ที่บูธ ‘สำนักพิมพ์มติชน J47’ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้เลือกซื้อหนังสือทยอยเข้ามาหยิบอ่านและเลือกซื้อ ทั้งหนังสือการเมือง ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา หนังสือแปล และวรรณกรรม อีกทั้งยังมีผู้สนใจของแถมเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งกระเป๋าผ้า กระเป๋าถือขนาดใหญ่ สามารถแลกของขวัญได้เมื่อซื้อครบ 500 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ สำพิมพ์มติชนจัดโปรโมชั่นลดราคาหนังสือ หนังสือออกใหม่ลด 15% หนังสือขายดีลด 20% หนังสือเพื่อนสำนักพิมพ์ลด 10-15% และหนังสือชุดลดพิเศษถึง 25-30%

บรรยากาศเวลา 13.00 น. ดร.อาสา คำภา เจ้าของผลงาน “ลอกคราบพุทธแท้ : ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาชนชั้นกลางไทยร่วมสมัย” เดินทางมาแจกลายเซ็น ท่ามกลางแฟนนักอ่านมาร่วมต่อคิวเป็นจำนวนมาก

โดยหนึ่งในนั้นคือ เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ (Edoardo Siani) อาจารย์มหาวิทยาลัย Ca’ Foscari University of Venice แห่งประเทศอิตาลี




เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวว่า ตนเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากว่า 20 ปี แต่วันนี้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ในวันนี้ได้มาเลือกหนังสือ “ลอกคราบพุทธแท้” กลับไป เพราะคิดว่าศาสนาพุทธมีบทบาทต่อคนไทย และสังคมไทยอย่างมาก

“หากคุณต้องการเข้าใจสังคมไทย คุณต้องเข้าใจพระพุทธศาสนาก่อน”

เมื่อถามถึงสาเหตุที่มีความสนใจทางด้านพระพุทธศาสนาและการเมืองไทย?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า ครั้งแรกที่ตนมาประเทศไทยก็เช่าห้องในบ้านที่เป็นร่างทรง

“เมื่อผมย้ายมาจากประเทศอิตาลี เมื่อเจอเจ้าของบ้านและได้รับรู้ว่าเขาเป็น ‘ร่างทรง’ ก็เลยเป็นที่มาของการรู้จักสังคมไทยควบคู่กับศาสนา ความเชื่อต่างๆ จึงเป็นการตั้งคำถามว่าทำไมคนไทยมีความเชื่อเช่นนี้

จนทำให้ผมนึกถึงตอนเป็นเด็กที่ประเทศอิตาลี ทุกศาสนามีความเชื่อ มีร่างทรง ผมคิดว่ามันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ”เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าว




เมื่อถามว่า ส่วนตัวเชื่อเรื่อง “ร่างทรง” หรือไม่?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวว่า ตนเป็นคนเชื่อทุกอย่างค่อนข้างยาก แต่ในขณะเดียวกันก็เข้าใจว่าความเชื่อนั้นสำคัญต่อคนบางคน หรือคนบางกลุ่ม

“เมื่อตอนเด็กๆ แม่ผมก็เลยพาไปหาร่างทรง ‘คาทอลิก’ นิกายหนึ่งของคริสต์ เป็นผู้หญิงที่เหมือนกับว่า สมเด็จพระสันตะปาปาที่เสียชีวิตไปแล้วมาเข้าร่าง และก็จะมีการเขียนจดหมายส่งให้แม่ เพื่อให้เกิดความสบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร

ผมน่าจะเชื่อว่ามันเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยคนหลายคนได้ ถึงแม่ว่าเราไม่เชื่อ แต่เราก็ไม่ควรจะห้าม หรือดูถูก ต้องเป็นประชาธิปไตยทางศาสนาและความเชื่อ” เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าว

เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นคนต่างชาติ แต่เลือกที่จะหยิบหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในวันนี้เพราะว่าอะไร?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า อยากเห็นมุมมองของนักวิชาการคนไทย ส่วนใหญ่ทฤษฎีมาจากโลกตะวันตก ก็เลยอยากรู้ว่าคนไทยมองเรื่องเกี่ยวกับศาสนาตนเองอย่างไรบ้าง




เมื่อถามว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ชื่นชอบในการอ่านหนังสือ?

เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ เผยว่า ตนเป็นคนขี้เกียจมาก่อน ไม่ใช่คนอ่านหนังสือง่าย แต่มีความเชื่อว่าหากเราอ่านหนังสือแล้วจะช่วยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลากหลายแง่มุมมากขึ้น

“ผมเป็นคนชอบดูภาพยนตร์ ฟังเพลงมากกว่า แต่การอ่านหนังสือก็บางเล่มก็สามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนความคิดได้เหมือนกัน” เอโดอาร์โด้ ซีอานี่ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สามารถเยี่ยมชมบูธสำนักพิมพ์มติชน (J47) ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายน 2567 เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 และ เลือกซื้อหนังสือออนไลน์ได้ที่ : www.matichonbook.com




Thank to : https://www.matichon.co.th/book/news_4514963
วันที่ 7 เมษายน 2567 - 15:34 น.   

 99 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 07:48:42 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan




วัดแทบแตก ศิษย์หลวงพ่อกวย แบกเสื่อหอบหมอน นอนรอเข้าคิวเช่าวัตถุมงคล แถวยาวเป็นกิโล

เมื่อวันที่ 7 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดโฆษิตาราม หรือวัดบ้านแค อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ได้เปิดให้ลูกศิษย์ และประชาชนทั่วไป เข้าคิวจองซื้อวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย อดีตเจ้าอาวาส ที่ถือว่าเป็นพระเกจิดังของไทยอีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้มรณภาพไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522

ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดพระ และผู้นิยมวัตถุมงคล โดยทางวัดเปิดแจกบัตรคิวเวลา 07.00 น. แต่ก็เป็นที่น่าสนใจเพราะวันนี้มีศิษยานุศิษย์กว่า 1,000 คน มารอต่อคิวเข้าซื้อวัตถุมงคล




โดยเฉพาะกลุ่มแรกๆ ที่มารอคิวเล่าว่า มานอนรอตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน เพราะต้องการเป็นคิวแรกๆ โดยขนเอาเสื้อและหมอน มานอนกันที่ลานจอดรถ บางรายก็เอาเต็นท์มากางกันยุง เช้ามาก็รีบตื่นอาบน้ำแปรงฟันมานั่งรอบัตรคิว แล้วเดินแถวตอนเรียง 1 เข้าไปภายในศาลาวัดที่เตรียมพื้นที่ไว้ ความยาวของแถวรวมๆ ถึง 1 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลของหลวงพ่อกวยที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากคือ เหรียญหลังยันต์ เหรียญหลังหนุมาน รวมถึงมีดหมอ ตะกรุด รูปหล่อ และภาพถ่ายของหลวงพ่อด้วย





















Thank to : https://www.matichon.co.th/region/news_4514455
วันที่ 7 เมษายน 2567 - 10:46 น.

 100 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 06:57:02 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

หน้า: 1 ... 8 9 [10]