ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จาคานุสสติกรรมฐาน  (อ่าน 6646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จาคานุสสติกรรมฐาน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2013, 08:29:02 am »
0



จาคานุสสติกรรมฐาน
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

จาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ท่านแนะให้ระลึก ถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะ ความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็น กิเลสตัวสำคัญไปได้ตัวหนึ่ง กิเลสประเภทรากเหง้าของกิเลสมีสาม คือ
    ๑. ความโลภ
    ๒. ความโกรธ
    ๓. ความหลง


ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มี อารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้น
    ท่านสอนให้ ให้ทานด้วยความเคารพในทาน คือ ให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอาการสุภาพ ก่อนจะให้ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้
    ใหโดยคิดว่า ขณะนี้เราได้มีโอกาสทำลายล้างโลภะ ความโลภ อันเป็นรากเหง้าของกิเลสได้แล้ว
    มหาปุญญลาโภ บัดนี้ลาภใหญ่มาถึงเราแล้ว คิดแล้วก็ให้ทานด้วยความเคารพในทาน
    ผู้รับนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบูรณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอให้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้ว เมื่อให้ทานไปแล้ว ทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ เมื่อมีโอกาสได้คิดถึงทานที่ตนให้โดยคิดตามความเป็นจริงว่า

 ans1 ans1 ans1

การให้ทานนี้ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นของดีนั้น เราเห็นความดี แล้วดังนี้ ในชาติปัจจุบันผลทานนี้ย่อมให้ความสุขแก่ผู้รับทาน เพราะผู้รับมีโอกาสเปลื้องทุกข์ของตน ได้ด้วยทานที่เราให้ สำหรับเราผู้ให้ ก็มีโอกาสได้รับผลในปัจจุบันคือ ได้มีโอกาสทำลายโลภะ ความโลภ ตัวกิเลสที่ถ่วงไม่ให้ถึงนิพพาน
    บัดนี้เราตัดความโลภ คือ รากเหง้าของกิเลสตัวที่ ๑ ได้แล้ว
    ความเบา ได้เกิดมีแก่เราแล้ว ๑ เปลาะ
    คงเหลือแต่ความโกรธและความหลง ซึ่งเราจะพยายามตัดต่อไป





ทานยังให้ผลต่อไป คือ ผลทานเป็นผลสร้างมิตร สร้างความสุขสงบ เพราะผู้รับทานย่อมรู้สึกรัก และระลึกถึง คุณผู้ให้อยู่เป็นปกติ ผู้รับทานย่อมพยายามโฆษณาความดีของผู้ให้ในที่ทุกสถาน เมื่อผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับแล้ว ความปลอดภัยของผู้ให้ก็ย่อมมีขึ้นจากผู้รับทาน เพราะผู้รับจะคอยป้องกันอันตรายให้ตาม สมควร ยิ่งให้มาก คนที่รักก็ยิ่งมีมาก ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา

ผู้ให้ทานย่อมมีอานิสงส์ ที่ได้รับในชาติปัจจุบันอีกคือ ย่อมมีโอกาสได้รับโชคลาภที่เป็นของกำนัล เป็นเครื่องบำรุงเสมอ ผู้ให้ทานเป็นปกติ จะไม่ขาดแคลนฝืดเคืองในเรื่องการใช้สอยเมื่อใกล้จะขาดมือ หรือมีความจำเป็นสูง จะมีผลได้เป็นการชดเชยให้พอเหมาะพอดีแก่ความจำเป็นเสมอ


 st12 st12 st12

นี่พูดตามผลที่ประสบมาในชาติปัจจุบัน สำหรับอนาคตท่านว่าผู้ที่บำเพ็ญทานเสมอๆ นั้น จิตใจจะชุ่มชื่นแจ่มใสเมื่อใกล้จะตาย เมื่อตายแล้วทานจะส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ มีทิพยสมบัติมากมาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ ที่บริบูรณ์พูนสุขด้วยสมบัติ นี่ว่ากันตามอานิสงส์

พูดกันตามความประสงค์แล้ว การระลึกถึงทานก็มุ่งทำลายล้างโลภกิเลสเป็นสำคัญ ท่านสอนให้คิดนึกถึงทานที่ให้แล้วไว้เสมอๆ และทำความปลื้มใจในการให้ และคิดไว้อีกเช่นเดียวกันว่า เราพร้อมที่จะให้ทานตามกำลังศรัทธาทุกโอกาสที่มีคนมาขอ เพราะเราต้องการทำลายโลภะให้สิ้นไปเพื่อผลใหญ่ที่จะพึงได้ คือพระนิพพานในกาลต่อไป


     ท่านที่ยินดีในทานเป็นปกติอย่างนี้ จิตย่อมบริบูรณ์ด้วยเมตตาและกรุณาอันเป็นพรหมวิหาร
     ท่านว่า เพราะผลทานและพรหมวิหารร่วมกันมีบริบูรณ์แล้ว จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ
     ต่อนั้นไปถ้าได้เจริญวิปัสสนาญาณ โดยใช้อุปจารฌานเป็นบาทแล้วจะได้บรรลุมรรคผลได้อย่างฉับพลัน

     (จบจาคานุสสติโดยย่อไว้เพียงเท่านี้)


ที่มา http://www.luangporruesi.com/486.html
ภาพจาก http://www.madchima.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิธีเจริญ "จาคานุสสติกัมมัฏฐาน"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 10, 2017, 09:37:30 am »
0



จาคานุสสติกถา
วิธีเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน


ก็แหละ อันโยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน พึงเป็นผู้น้อมใจไปในการบริจาคเป็นปกติ มีทานและการแบ่งปันดำเนินไปอยู่เป็นประจำ แหละเมื่อจะเริ่มภาวนาพึงทำการสมาทานไว้ว่า บัดนี้ นับจำเดิมแต่นี้ ครั้นปฏิคาหกมีอยู่ยังมิได้ให้ทานแม้อย่างน้อยเพียงคำข้าวคำหนึ่งแล้ว เราจักไม่ยอมบริโภค ครั้นแล้วพึงให้ทานตามสัตติตามกำลังในปฏิคาหกผู้ประเสริฐโดยคุณทั้งหลายในวันนั้น ถือเอานิมิตในทานนั้นแล้ว ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันควร พึงระลึกเนืองๆ ถึงการบริจาคของตน ด้วยสามารถแห่งคุณมีความเป็นผู้ปราศจากมลทินและความตระหนี่เป็นต้น อย่างนี้ว่า...

    "ในเมื่อประชาชนถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำอยู่ การที่เราเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่อยู่ เป็นผู้มีการเสียสละอย่างเด็ดขาด เป็นผู้มีมืออันสะอาด เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ เป็นผู้ควรในการขอ เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปัน นั่นนับว่าเป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฉะนี้"

 :25: :25: :25:

อธิบายคุณลักษณะของการบริจาค

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ลาภา วต เม แปลว่า เป็นลาภของเราหนอ อธิบายว่า ลาภทั้งหลายของทายกเหล่านี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญไว้โดยนัยทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ ก็แหละ ทายกครั้นให้อายุเป็นทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ดังนี้อย่างหนึ่ง คือ ทายกให้ทานย่อมเป็นที่รัก คนทั้งหลายเป็นอันมาก ชอบคบเขา ดังนี้อย่างหนึ่ง คือ เมื่อทายกดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายให้ทานอยู่ ย่อมเป็นที่รักดังนี้อย่างหนึ่ง ลาภเหล่านั้นเป็นส่วนของเราโดยแน่แท้

คำว่า สุลทฺธํ วต เม แปลว่า เราได้ดีแล้วหนอ อธิบายว่า คำสั่งสอนหรือความเป็นมนุษย์ที่เราได้แล้วนี้อันใด สิ่งนั้นเป็นอันเราได้ดีแล้วหนอ

เพราะเหตุไร.? เพราะเหตุที่ในเมื่อประชาชนถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำอยู่ เรานั้นเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่อยู่ เป็นผู้มีการสละอย่างเด็ดขาด เป็นผู้มีมืออันสะอาด เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ เป็นผู้ยินดีในการขอ เป็นผู้ยินดีในการทานและการแบ่งปัน

ในคำเหล่านั้น คำว่า ถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำ คือถูกความตระหนี่ และมลทินครอบครอง สัตว์ทั้งหลายเรียกว่า ปชา ด้วยอำนาจที่บังเกิดมาด้วยกรรม เพราะเหตุนั้น ความหมายในบทว่า ปชาย ดังนี้ คือ ในสัตว์ทั้งผู้อันความตระหนี่และมลทิน อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมดำทั้งหลายอันประทุษร้ายความผุดผ่องของจิต ซึ่งมีลักษณะกีดกันความเป็นสาธารณะแก่ผู้อื่นแห่งสมบัติของตนครอบงำแล้ว

คำว่า ปราศจากมลทินและความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่า ปราศจากมลทินและความตระหนี่ เพราะเหตุที่มลทินทั้งหลายมีราคะและโทสะเป็นต้นและอื่นๆ และความตระหนี่ปราศไปแล้ว

คำว่า เป็นผู้มีจิต ….อยู่ ความว่า เป็นผู้มีจิตอันมีประการตามที่กล่าวแล้วอยู่ ส่วนในพระสูตรทั้งหลายตรัสว่า เราอยู่ครองเรือน ฉะนี้ ก็เพราะทรงแสดงโดยทำนองแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย ในเมื่อเจ้ามหานามศากยะผู้โสดาบันกราบทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย ในคำนั้น มีอรรถาธิบายว่า เราอยู่ครอบงำอุปกิเลส

     คำว่า เป็นผู้มีการสละอย่างเด็ดขาด ความว่า เป็นผู้มีการสละอย่างปล่อยเลย
     คำว่า เป็นผู้มีมืออันสะอาด ความว่าเป็นผู้มีมืออันบริสุทธิ์ อธิบายว่า เป็นผู้มีมืออันล้างแล้วอยู่ตลอดกาล เพื่อให้เครื่องไทยธรรมเป็นทานด้วยมือของตนโดยความเคารพ
     คำว่า เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ ความว่า การสละให้ เรียกว่าการเสียสละ ได้แก่บริจาค ชื่อว่า เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ยินดีในการเสียสละนั้น ด้วยสามารถที่ประกอบ อย่างติดต่อกันไป
     คำว่า เป็นผู้ควรในการขอ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ควรในการขอ เพราะคนอื่นขอสิ่งใดๆ ก็ให้สิ่งนั้นๆ ปาฐะว่า ยาชโยโค ก็มี หมายความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยยาชะ กล่าวคือการบูชา
     คำว่า เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปัน ความว่า เป็นผู้ยินดีในทานด้วย เป็นผู้ยินดีในการแบ่งปันด้วย อธิบายว่า โยคีบุคคลย่อมระลึกเนืองๆ อย่างนี้ว่า เราแหละย่อมให้ทานด้วย ย่อมทำการแบ่งปันแม้จากสิ่งที่ตนจะพึงบริโภคด้วย เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปันทั้ง ๒ นี้ด้วยนั่นเทียว


 st12 st12 st12

องค์ฌาน ๕ เกิด

เมื่อโยคีบุคคลนั้นระลึกอยู่เนืองๆ ถึงการบริจาคของตน ด้วยอำนาจแห่งคุณมีความเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่เป็นต้นอย่างนี้ สมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน สมัยนั้น จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงการบริจาค ด้วยประการฉะนี้ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน โดยนัยก่อนนั่นแล

แต่โดยเหตุที่คุณแห่งการบริจาคทั้งหลายเป็นสภาพล้ำลึกอย่างหนึ่ง โดยเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณแห่งการบริจาคอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงขึ้นไม่ถึงขั้นอัปปนา ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ฌานนี้นั้น ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จาคานุสสติฌาน เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณแห่งการบริจาคนั่นแล


 st11 st11 st11

อานิสงส์การเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน

ก็แหละ ภิกษุโยคีบุคคลผู้ประกอบเนืองๆ อยู่ซึ่งจาคานุสสติกัมมัฏฐาน ย่อมเป็นผู้น้อมจิตไปในการบริจาคโดยประมาณยิ่ง เป็นผู้มีอัชฌาสัยไม่โลภ เป็นผู้มีปกติกระทำอันสมควรแก่เมตตาภาวนา เป็นผู้องอาจแกล้วกล้า เป็นผู้มากล้นไปด้วยปีติและปราโมทย์ ก็แหละ เมื่อไม่อาจแทงตลอดซึ่งคุณวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป (ในชาตินี้) ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในจาคานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดังพรรณนามานี้ ในการทุกเมื่อ เทอญ

     กถามุขพิสดารในจาคานุสสติกัมมัฏฐาน ยุติลงเพียงเท่านี้



อ้างอิง :-
คัมภีร์วิสุทธิมรรค  พระพุทธโฆษเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ  อาสภมหาเถระ) แปลและเรียบเรียง
https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๑_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๗_ฉอนุสสตินิเทศ_หน้าที่_๓๗๖_-_๓๘๑
https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๑_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๗_ฉอนุสสตินิเทศ_หน้าที่_๓๗๑_-_๓๗๕

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 10, 2017, 10:29:01 am »
0
 st11 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 10, 2017, 10:24:14 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 11, 2017, 10:20:18 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 11, 2017, 07:00:29 pm »
0
 st12 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 16, 2023, 11:55:02 am »
0


การเจริญจาคานุสสติกรรมฐาน (สำนวนของ มหาวงศ์ ชาญบาลี)

จักวินิจฉัยใน จาคานุสสติกรรมฐานสืบต่อไป

"จาคานุสฺสติภาเวตุกาเมน ฯลฯ จาโค อนุสฺสริตพฺโพ"

พระโยคาพจรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะจำเริญจาคานุสสติกรรมฐานนั้น พึงมีจิตรักใคร่ในจำแนกแจกทานให้เป็นนิตย์เป็นต้นเป็นเดิม นัยหนึ่งว่า

     เมื่อปรารถนาจะจำเริญจาคานุสสติกรรมฐานนั้น ให้ตั้งจิตของตนว่า จำเดิมแต่วันนี้ไปเมื่อปฏิคาหกผู้จะรับทานมี ถ้าอาตมาไม่ได้ให้ทานโดยกำหนดเป็นที่สุด แต่ข้าวคำหนึ่งก่อนแล้ว อาตมาก็จักมิได้บริโภคเลยเป็นอันขาด

     ในวันจะจำเริญจาคานุสสติกรรมฐานนั้น ให้พระโยคาพจรจำแนกแจกทานแก่ปฏิคาหก อันทรงซึ่งคุณอันวิเศษ แล้วพึงเอานิมิตในทางที่ตนให้ คือ กำหนดอาการอันเป็นไปด้วยบริจาคเจตนานั้น

@@@@@@@

ครั้นแล้วเข้าสู่เสนาสนะอันสงัด มีนัยดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง พึงระลึกซึ่งบริจากของตนด้วยสามารถกอปรด้วยคุณ มีปราศจากตระหนี่เป็นต้น ด้วยพระบาลีว่า

     "ลาภา วต เม สุลทฺธํ วต เม โยหํ มจฺเฉรมลปริยุฏฐิตายปชาย วิคตมลมจฺเฉเรน เจตสา วิหรามิ มุตฺตจาโค ปยตปาณี โวสฺสคฺครโต ยาจโยโค ทานสํวิภาครโต" 

อรรถาธิบายในบาลีนี้ว่า บุญลาภแห่งทายกผู้บำเพ็ญทานนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคย่อมตรัสสรรเสริญโดยการเป็นอันมาก บุญลาภนั้นได้ชื่อว่า เป็นของอาตมาบังเกิดแก่อาตมาประการหนึ่ง ความสั่งสอนอันสมเด็จพระผู้มีพระภาคโปรดประทานไว้นั้นก็ดี กิริยาที่อาตมาได้บังเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ดี

สุลทฺธํ วต ได้ชื่อว่า อาตมาได้เป็นอันดียิ่งนัก เพราะเหตุว่า สัตว์โลกทั้งปวงมีสันดานมากไปด้วยมลทิน คือ มัจฉริยะๆ ครอบงำไว้ แลอาตมาอยู่บัดนี้ด้วยปราศจากมลทิน คือ ตระหนี่   
มุตฺตจาโค อาตมามีบริจคาอันสละแล้ว 
ปยตปาณี มีมืออันล้างอยู่เป็นนิตย์ เพื่อประโยชน์จะคอยหยิบไทยทานโดยเคารพ   
โวสฺสคฺครโต อาตมานี้ควรแก่กิริยาอันยาจกมาขอ อธิบายว่า ถ้ามียาจกมาขอสิ่งใด อาตมาก็จะให้สิ่งนั้น   

ทานสํวิภาครโต อาตมามีจิตยินดีในทาน ยินดีในการจำแนก อธิบายว่า กิริยาที่ให้สิ่งของอันตนแต่งไว้ เพื่อจะให้แก่ปฏิคาหกนั้นเรียกว่าทาน แลสิ่งของที่ตนจะบริโภคนั้น ถ้าหยิบออกให้เรียก สังวิภาค


@@@@@@@

เมื่อพระโยคาพจรระลึกซึ่งบริจาคแห่งตนโดยนิยมดังนี้ ก็จะมีคุณานิสงส์ดุจกล่าวแล้วในพุทธานุสสตินั้น ความยินดีที่จะบริจาคทานนั้น จะวัฒนาการขึ้นไปกว่าเก่า อัธยาศัยนั้นจะปราศจากโลภจิต จักอนุโลกมตามเมตตา มิได้ย่อหย่อนที่จะบริจาคทาน สันดานจะมากไปด้วยปรีดาปราโมทย์ แม้ถึงว่ามิสำเร็จพระอริยมรรคพระอริยผลในชาตินั้น ทำลายเบญขันธ์ก็จะมีสุคคติเป็นเบื้องหน้า

เหตุฉะนี้ นักปราชญ์ผู้มีปรีชาอย่าพึงประมาทในจาคานุสสติกรรมฐาน อันมีคุณานิสงส์ดังแสดงมานี้ ฯ

                              จบจาคานุสสติกรรมฐานแต่เท่านี้





ขอบคุณที่มา : http://www.larnbuddhism.com/visut/2.10.html
คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลโดย มหาวงศ์ ชาญบาลี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2023, 12:10:07 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จาคานุสสติกรรมฐาน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 16, 2023, 12:40:31 pm »
0

ขอบคุณภาพจาก pinterest


จาคานุสสติ จาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย

ส่วนผู้ใคร่จะเจริญจาคานุสสติ ต้องเป็นผู้(มีจิต)น้อมไปในจาคะ มีการให้และการแบ่งเป็นไปอยู่เป็นนิตย์ หรือมิฉะนั้น เมื่อจะเริ่มเจริญ พึงทำสมาทานว่า

   "บัดนี้ จำเดิมแต่กาลนี้ไป เมื่อปฏิคาหกมีอยู่ เรายังมิได้ให้ทาน โดยที่สุดแม้ข้าวสักคำหนึ่งแล้ว จักไม่บริโภค"
 
    ดังนี้แล้ว ให้ทานตามสามารถตามกำลัง ในปฏิคาหกทั้งหลาย ผู้วิเศษโดยคุณ(ให้ได้)ในวันนั้น แล้วถือเอานิมิตในทานนั้น(คือ กำหนดเอาอาการอันเป็นไปแห่งเจตนาบริจาคในทานนั้น) ไปในที่ลับ(คน) เร้นอยู่(ในเสนาสนะอันสมควร)แล้ว ระลึกถึงจาคะของตน โดย(ระลึกถึง)คุณมีความปราศจากความตระหนี่ อันเป็นตัวมลทินเป็นต้น อย่างนี้ว่า

   "(เป็น)ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้หนอ ซึ่งเมื่อประชาชนถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่ เรา(มา)มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นตัวมลทินอยู่ มีการสละปล่อยเลย(ไม่เสียดายอาลัยหรือหวังผลตอบแทน) มีมืออันล้างไว้(คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการเสียสละ ควรในการขอ พอใจในการให้และการแบ่ง"

@@@@@@@

แก้อรรถ อนุสสรณปาฐะ

ในปาฐะเหล่านั้น ข้อว่า ลาภา วต เม นั้น คือ มยฺหํ วต ลาภา (ลาภของเราหนอ)
อธิบายว่า "ลาภทั้งหลายของผู้เป็นทายก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาไว้หลายนัย เป็นต้นว่า " ... ก็แลเป็นทายกนั้นครั้นให้อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง เป็นของมนุษย์บ้าง"(อง.ปญฺจก. ๒๒/๔๔) ดังนี้
    เป็นอาทิ ก็ดี ว่า "ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ชนเป็นอันมากย่อมคบเขา" ดังนี้
    ก็ดี ว่า "บุคคลเมื่อดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ให้(ทาน)อยู่ ย่อมเป็นที่รัก"(อง. ปญฺจก. ๒๒/๔๓) ดังนี้
    ก็ดี "เหล่านี้ใด ลาภทั้งหลาย เหล่านั้นเป็นส่วนได้ของเราแน่นอน"

ข้อว่า สุลทฺธํ วต เม (เราได้ดีแล้วหนอ) ความว่า พระศาสนานี้ หรือว่าอัตภาพมนุษย์นี้ใดที่เราได้แล้ว พระศาสนาหรืออัตภาพมนุษย์นั้น ชื่อว่าเราได้ดีแล้วหนอ
    ถามว่า เพราะอะไร
    แก้ว่า เพราะ "เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทิน คือ ความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่ เรา(มา)มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นตัวมลทินอยู่ ฯลฯ พอใจในการให้และการแบ่ง"

ในบทเหล่านั้น บทว่า มจฺเฉรมลปริยุฏฺฐิตาย (ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม) หมายความว่า ถูกมลทิน คือความตระหนี่ครอบงำ

บทว่า ปชาย (เมื่อประชาชน) ความว่า สัตว์ทั้งหลายท่านเรียก ปชา โดยความที่ได้กำเนิดมา (ตามกรรมของตน) เพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงมีเนื้อความ (ดัง)นี้ว่า
    "เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ถูกมลทินคือความตระหนี่ อันมีความทนไม่ไหวซึ่งความที่สมบัติทั้งหลายของตน (มา)เป็นของสาธารณแก่คนอื่นๆ ไปเป็นลักษณะ เป็นจำพวกธรรมดำอันเป็นเครื่องประทุษร้ายความเป็นประภัสสร (ผ่องใส) แห่งจิตอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำเอาแล้ว"

บทว่า วิคตมลมจฺเฉเรน ความว่า ชื่อว่า ปราศจากมลทินและความตระหนี่ เพราะความที่มลทินอื่นๆ เช่น ราคะ โทสะ และความตระหนี่ด้วยปราศไปแล้ว คำว่า เจตสา วิหรามิ ความว่า เราเป็นผู้มีจิตมีประการดังกล่าวแล้วอยู่

ส่วนในพระสูตรตรัสว่า อคารํ อชฺฌาวสามิ (เรา ... อยู่ครองเรือน) เพราะเมื่อเจ้ามหานามศากยะผู้เป็นพระโสดาบันทูลถามถึงนิสสัยวิหาร(ธรรมที่พึงอาศัยอยู่ของพระโสดาบัน) ก็ทรงแสดงไปโดยแนวนิสสัยวิหารด้วยกัน

ความในบท อชฺฌาวสามิ นั้นว่า อภิภวิตฺวา วสามิ เราอยู่ครอบครอง(เรือน)

บทว่า มุตฺตจาโค แปลว่า มีการสละปล่อยเลย
บทว่า ปยตปาณี หมายความว่า มีมือสะอาด มีคำอธิบายว่า มีมืออันล้างไว้ทุกเมื่อ เพื่อจะให้ไทยธรรมด้วยมือตนโดยเคารพ

บทว่า โวสฺสคฺครโต อธิบายว่า การเสียสละ ชื่อว่าโวสสัคคะ ความก็คือ บริจาค(นั่นเอง) บุคคลชื่อว่าโวสฺสคฺครต เพราะยินดีโดยประกอบอย่างยิ่งเนืองๆ ในโวสสัคคะนั้น

บทว่า ยาจโยโค อธิบายว่า เป็นผู้ควรในการขอ เพราะคนอื่นๆ ขอสิ่งใดๆ ก็ให้สิ่งนั้นๆ ปาฐะว่า ยาชโยโค ก็มี แปลว่า ผู้ประกอบด้วยยาชะ กล่าวคือการบูชา(การให้)

บทว่า ทานสํวิภาครโต แปลว่า ยินดีในการให้และในการแบ่งด้วย ความว่า พระโยคาวจรผู้ทายกย่อมระลึก(ในข้อนี้) อย่างนี้ว่า เราแหละ ให้ทานด้วย ทำการแบ่งแม้จากของที่ตนจะพึงบริโภคด้วย เป็นผู้ยินดีในการให้และการแบ่งทั้งสองอย่างนั้นแลด้วย


@@@@@@@

จาคานุสสติฌาน

เมื่อพระโยคาวจรนั้นระลึกถึงจาคะของตน โดย(ระลึกถึง) คุณมีความเป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นตัมลทินเป็นอาทิอย่างนี้อยู่ ในสมัยนั้น จิต(ของเธอ)ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภจาคะแล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้ว โดยนัยก่อน(ที่กล่าวในพุทธานุสสติ)นั่นแล

แต่เพราะความที่จาคคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงจาคคุณนานาประการ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น (และ)ฌานนี้นั้น ก็ถึงซึ่งความนับ(ชื่อ)ว่า จาคานุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงจาคคุณ

อานิสงส์เจริญจาคานุสสติ

ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งจาคานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้น้อมไปในการสละโดยประมาณยิ่ง มีอัธยาศัยไม่โลภ ทำสมควรแก่เมตตาอยู่โดยปกติ กล้าหาญ(ในชุมนุมชน) มากไปด้วยปีติและปราโมช อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติที่ไปในเบื้องหน้า

เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความไม่ประมาทในจาคานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้ทุกเมื่อเทอญ

        นี้เป็น กถามุข(คำแก้ข้อที่สำคัญ)อย่างพิสดาร ในจาคานุสสติ






ขอบคุณที่มา : https://web.archive.org/web/20101103031642/http://www.reocities.com/SouthBeach/terrace/4587/visuthi1-2p311-322.htm
จาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้า ๓๑๑ - ๓๑๕
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2023, 12:42:07 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ