ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ระหว่าง สวดมนต์ กับ ภาวนาสมาธิ อันไหน ? ดีกว่า กัน  (อ่าน 8625 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ระหว่าง สวดมนต์ กับ ภาวนาสมาธิ อันไหน ? ดีกว่า กัน


 thk56
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 ans1


   ระหว่าง แปรงฟัน บน และ ล่าง บ้วนปาก บีบน้ำยา ล้างปาก อันไหน สำคัญกว่ากัน

   พอมองเห็นภาพ หรือ ไม่ ?

   สรุป ก็คือ มันเป็นส่วนเดียวกัน เพียงแต่เป็น ขั้นตอนหนึ่ง ใน ส่วนเดียวกัน เท่านั้น

   อาจจะตอบสั้นไปหน่อย เพราะลำบากการพิมพ์ ในช่วงนี้

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   

      ร่วมกัน..ต่อเนื่องครับ

    การสวดมนต์ก็เป็นการเริ่มต้น ตั้งองค์วิตก-วิจาร..ตอนสวดมนต์ลืมตา หรือถ้าจำมนต์ได้ก็หลับตาสวด มีสองอย่าง
     
       ส่วนการภาวนา  ก็เป็นการเริ่มตั้งองค์ธรรมทั้งห้าขึ้นมา ทีละองค์ แต่ครูอาจารย์ท่านก็มีรูปแบบ ให้ไปถึงได้

                    ก็คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา

                     เรียกว่า.....องค์ธรรมห้า......ที่พาไปถึงสมถะ-วิปัสสนาได้

                      และพาไปถึงมรรค....และไปสู่ผลคือความสุขได้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

กับคำตอบของพระอาจารย์ครับ แยบยลดีมาก และ ท่าน aaaa ก็ชี้แนะได้เป็นอย่างดีสงเคราะห์ลงกรรมฐานอันวิจิตรไว้ดีแล้ว

โดยส่วนตัวผมนี้ซึ่งเป็นเพียงปุถุชนผู้ไม่รู้ธรรม ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ขอตอบความเห็นลงในกระทู้ท่าน NIRVANAR55 ผู้ปฏิบัติมาดีแล้วสักนิดนะครับ

สวดมนต์ คือ อนุสสติกรรมฐาน เมื่อเจริญย่อมยังกุศลจิตให้เกิดขึ้น มีนิวรณ์เครื่องกันนี้ลดลง ยังจิตให้สงบเกิดสมาธิ
ภาวนา คือ เป็นการเจริญให้มีขึ้นเกิดขึ้น ฝึกอบรมพัฒนา กายและใจ

ดังนั้นแล้วหากเอาแต่สวดมนต์อย่างเดียวแต่ไม่ภาวนาให้ถึงก็ได้แค่ความสงบ ไม่ถึงสมาธิอันควรแก่งาน เพราะขาดภาวนาการทำให้เกิดขึ้นพ้ฒนาจากความสงบนั้นไปสู่ความตั้งมั่นชอบ  หากภาวนาโดยส่วนเดียวแล้วจับพลัดจับผลูไปจิตก็สร้างฐานความเป็นกุศลศรัทธาและสงบได้ยาก เพราะว่าอีกส่วนหนึ่งบทสวดมนต์ก็คือคำบริกรรมในสมาธินั่นเอง

ทีนี้สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดก็คือ เจริญทั้งคู่

- ดังนั้นครูบาอาจารย์ท่านจะให้สวดมนต์ก่อนกรรมฐาน เพื่อล้างนิวรณ์อย่างหยาบก่อน แล้วดึงศรัทธาในพระรัตนตรัยให้มีเกิดขึ้นแก่จิตใจเรา
- เมื่อมีศรัทธาจิตก็ตั้งมั่นในพระธรรมคำสอนและกรรมฐานเพื่อออกจากทุกข์
- แผ่เมตตาให้ตนเอง เพื่อให้สงบกายใจจากกิเลสทุกข์อันเร่าร้อนที่มีในตนให้เปิดทางแห่งวิราคะ จนมีจิตเป็นกุศลน้อมไปในการสละ
- แผ่เมตตาให้ผู้อื่น เพื่อละความผูกเวรที่ตนมีต่อเขา และที่เขามีต่อเรา ปารถนาให้เข้าเป็นสุขสวัสดีเสมอด้วยตนพบแต่กุศลดีงามเป็นสุข
- การกระทำใน ๔ ข้อข้างต้นทำให้เราเกิดความสงบใจจากกิเลส เพื่อภาวนาต่อจากความสงบใจจากกิเลสอันเป็นกุศล จิตจะมีทั้ง ศรัทธาพละ วิริยะพละ สติพละ นำไปสู่สมาธิพละ และ ปัญญาพละในการต่อมา

อธิบาย

- ถ้าภาวนาโดย พุทโธ จะเห็นว่า พุทโธนี้คือพุทธคุณ เป็นบทสวดในอิติปิโส ซึ่ง พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทีนี้ คุณจะภาวนาพุทโธโดยถึงอนุสสติได้อย่างไรถ้าคุณไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างล้นพ้น ถ้าไม่ศรัทธาก็ได้แค่คำบริกรรมเท่านั้นซึ่งทำสมาธิไปก็ฟุ้งไปเรื่อย
ก็ต่อเมื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าแล้วว่า พระองค์ทรงเป็นผู้รู้สมมติรู้โมหะที่ทำให้มัวเมาลุ่มหลง ผู้ตื่นจากโมหะความลุ่นหลงในสมมติ ผู้เบิกบานพ้นแล้วจากโมหะสมมติทั้งปวงแล้ว ได้กระทำกิจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงกระทำได้บริบูรณ์ดีแล้ว
- ทีนี้ถึงจะรู้ว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นเช่นไรแต่ไม่เข้าใจในอรรถในความหมายจริง ก็ต้องอาศัยการสวดมนต์ และ การเรียนรู้ คือ สุตะ ควบคู่ไปพร้อมกับการภาวนา เมื่อเจริญใฝ่ใจเรียกรู้ก็จะเห็นว่า จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด จิตมันรู้ทุกอย่างแต่รู้แค่สมมติเท่านั้น ก็จะเข้าใจถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
- เมื่อรู้เห็นตามจริงดั่งนี้แล้ว ย่อมมีจิตเป็น"ศรัทธาพละ" เมื่อจะเปล่งวาจาว่าพุทโธ ก็มีจิตระลึกถึงคุณนั้นเป็นพุทธานุสสติในบทที่ว่าด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั้น ด้วยจิตที่เป็นศรัทธา เปล่งวาจาบริกรรมบทสวดมนต์ไรๆก็เป็น อนุสสติ ๖ ไปหมด ด้วยศรัทธาด้วยกุศลเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้เป็นต้น นิวรณ์ทั้งปวงย่อมไม่มีที่ให้เกิดขึ้นไม่สามารถกำเริบขึ้นได้ ย่อมเกิดฉันทะและสังวรปธานเป็นกำลังความเพียร คือ "วิริยะพละ" เกิดขึ้น มีจิตยินดีในความเพียรนั้น เสร็จแล้วจิตมันก็จะน้อมเจริญภาวนาทั้งกายและใจให้มากขึ้น เกิดเป็น "สติวิริยะ" ด้วยตั้งมั่นภาวนาในพุทโธไปร่วมกับรู้อยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆจนเกิด "สมาธิพละ" จนแม้คำบริกรรมหายไปเหลือแต่รู้ลมหายใจแต่จิตก็จริงอยู่ในพุทธคุณโดยที่มีสติจดจ่ออยู่ที่ลมนั้นโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว ไม่นานก็จะถึงซึ่งจิตตั้งมั่นชอบ "ปัญญาพละ" ก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นเห็นมีธรรมเอกผุดขึ้น


- เมื่อผมอธิบายมาประมาณนี้ถ้าไม่ยืดเยื้อวกวนไป ท่าน NIRVANAR55 ก็คงเห็นว่า..ที่พระอาจารย์สนธยา กล่าวถึงและชี้แนะเรื่อง การแปลงฟันบน ฟันล่าง บ้วนปาก ฯ ย่อมเป็นเรื่องอันเดียวกันที่เกี่ยวพันกัน สำคัญทั้งหมด


- ดังนั้นหากสวดมนต์แล้วลำบากจริงๆ ก็ให้สวดคำบูชาพระรัตนตรัย คือ อระหัง สัมมา... ไป เสร็จก็ตั้งนโม 3 จบ กล่าวว่า พุทโธ เม นาโถ ธัมโม เม นาโถ สังโฆ เม นาโถ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอันประเสริฐเป็นที่ยึดเหนี่ยวเคารพศรัทธาของข้าพเจ้า แล้วก็แผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น แล้วก็ภาวนาไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2015, 10:03:48 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ขอให้ท่าน NIRVANAR55 เจริญทั้งในทางโลกและในธรรมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2015, 09:54:23 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

st11 st11 st11
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2015, 09:54:03 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โดยส่วนตัวไม่ค่อยได้ศึกษาข้อธรรม จึงไม่มีความรู้ในส่วนธรรมมาชี้แจง แต่จะมีก็เพียงประสบการณ์จากการทำ นำมาพูดคุยกัน ถ้าไม่ขัดข้องก็ลองอ่านดูนะคะ การสวดมนต์ใช้ปาก + หัวใจ ( ในที่นี้หมายถึงช่องหทัยนะคะ ) สวดมนต์นั้น ๆ ดู ให้บทสวด (หมายถึงตัวอักษร)ออกมาจากปากและหัวใจของคุณ น้อมถวายแต่พระพุทธเจ้าเพื่อบูชาพระคุณของพระพุทธองค์ ถ้าคุณเคยดึงบทสวดมนต์ที่พระท่านสวดให้เราฟังแต่เราไม่ฟังเฉย ๆ เราดึงบทสวดเข้าหทัยเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเราซึมซับพุทธคุณไปเรื่อย ๆ จิตของเราก็จะอิ่ม ฉะนั้น เวลาเราสวดมนต์เพื่อทำกรรมดี เราก็สวดออกมาจากหทัย + ปาก คุณจะได้รับอะไรบ้างอย่าง  ( มันต้องรู้ได้ด้วยตัวเองสาธยายลำบาก ) จิตอิ่มในบุญหรือความดี ย่อมเป็นจิตที่พร้อมในการเจริญสมาธิ  ทุกสิ่งในโลกล้วนเอื้อประโยชน์ต่อกัน ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้โดยลำพัง คุณเองก็เช่นกันนะคุณ  NIRVANAR55 หากคุณมีสิ่งใดที่ขัดข้องอยู่ในจิต ดิฉันก็ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดเมตตาช่วยขจัด อุปาทานที่ดองอยู่ในขันธสันดาน ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้หมดไปสิ้นไปในที่สุดด้วยเทอญ ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2015, 02:52:15 pm โดย nongyao »
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา