ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดอกมณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์  (อ่าน 13141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ดอกมณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 09:58:49 am »
0


มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์

“มณฑารพ” หรือ “มณฑา” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.” อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ เป็นไม้พุ่มสูงราว 3-10 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล 

มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

 

ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” นั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ”  (การถวายดอกไม้ก็ดี แต่การปฏิบัติบูชานั้นดีที่สุด)

ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ “...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”


 st12 st12 st12 st12 st12

หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราเป็นเวลาหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม เดินสวนทางมา

พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้นยังไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาต และวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชนอกศาสนาผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมา 7 วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้เก็บมาจากบริเวณที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา


นอกจากนี้ มณฑารพยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี
 

......................................................
จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 78 พ.ค. 50 โดย เรณุกา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2550 14:50 น.

กระทู้เกี่ยวเนื่องกัน
• วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42337
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 07:37:32 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ดอกมณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 04:35:00 pm »
0
ด้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม

 อ่านประโยคนี้ ก็จะเข้าใจนะครับ ว่า ดอก มณฑารพ นั้น มีขนาดใหญ่ นะครับ

เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์

 และประโยคนี้ ก็เป็นที่ยืนยันได้ว่าในมนุษย์โลกนี้ไม่มีดอกไม้ ชนิดนี้

  thk56 thk56 thk56
 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ดอกมณฑารพ" บนโลกมนุษย์ มีหรือไม่.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2015, 11:52:27 am »
0


ขอนำข้อความในพระสูตรมาแสดงดังนี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)


     [๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ

     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
     ดูกรอานนท์ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้
    ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ  ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด
    เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ

    ฯลฯ.............................




     [๑๕๓] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจจะยกขึ้นได้ ลำดับนั้นพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้มัลลปาโมกข์ ๘ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคก็มิอาจยกขึ้นได้ ฯ
      อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวกเทวดาอย่างหนึ่ง ฯ
      ม. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร ฯ

      ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านว่า เราสักการะ เคารพนับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนครถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร ความประสงค์ของพวกเทวดาว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมอันเป็นทิพย์ จักเชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร ฯ
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด ฯ     

     สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพาแล้ววางพระสรีระพระผู้มีพระภาค ณ มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอานนท์ว่าข้าแต่ท่านพระอานนท์ พวกข้าพเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระสรีระพระผู้มีพระภาค ฯ

     ฯลฯ.............................




     [๑๕๔] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปแวะออกจากทางแล้วนั่งพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ฯ
     สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินารา เดินทางไกลมาสู่เมืองปาวา ท่านพระมหากัสสปได้เห็นอาชีวกนั้นมาแต่ไกล จึงถามอาชีวกนั้นว่า
     ดูกรผู้มีอายุ ท่านยังทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างหรือ
     อาชีวกตอบว่า อย่างนั้นผู้มีอายุ เราทราบอยู่ พระสมณโคดมปรินิพพานเสียแล้ว ได้ ๗ วันเข้าวันนี้ ดอกมณฑารพนี้เราถือมาจากที่นั้น

     บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ภิกษุเหล่านั้น บางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนักพระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก อันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้
     ส่วนภิกษุเหล่าใด ปราศจากราคะแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นด้วยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นเหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน ฯ

     ฯลฯ.............................



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๘๘๘ - ๓๙๑๕. หน้าที่ ๗๘ - ๑๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67
ขอบคุณภาพจาก
http://2.bp.blogspot.com/
http://www.hidhamma.com/
http://palungjit.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ดอกมณฑารพ" มีอยู่ในภพไหนบ้าง.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2015, 01:50:21 pm »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก


พุทธวงศ์
รัตนะจงกรมกัณฑ์
ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว


    [๑] ก็ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลกได้ประนมอัญชลีทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีในนัยน์ตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้เถิด  พระตถาคผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้คงที่ ผู้ทรงความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระกายครั้งสุดท้าย ทรงเกิดความกรุณาในสัตว์ทั้งปวง

    พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า
    สัตว์เหล่าใดเงี่ยโสตลงฟัง ปล่อยศรัทธาเราจะเปิดประตูอมตนิพพานแก่สัตว์เหล่านั้น
    ดูกรพรหม เราสำคัญไปว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรมมีคุณอันละเอียดประณีตในหมู่มนุษย์.

     :96: :96: :96: :96: :96:

    พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า
    พรหมเหล่านี้ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็นเช่นไร ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นไร ทรงมีกำลังพุทธเจ้าอันเป็นประโยชน์แก่โลกเช่นไร พรหมเหล่านี้พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้ เป็นเช่นนี้ ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ ทรงมีกำลัง พระพุทธเจ้าอันเป็นประโยชน์แก่โลกเช่นนี้.
    เอาละ เราจักแสดงกำลังพระพุทธเจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักนิรมิตที่จงกรมอันประดับด้วยรัตนะในนภากาศ. ภุมมเทวดา เทวดาชั้นมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตสวัตดี และเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ต่างก็ยินดี ได้พากันส่งเสียงอื้ออึง แผ่นดินพร้อมด้วยเทวโลกสว่างไสวที่อันมีในระหว่างโลกอันหนาแน่นไม่มีอะไรปิด และความมืดทึบได้หายไปในกาลนั้น
    พรหมพร้อมทั้งเทวดา คนธรรพ์มนุษย์และรากษส ได้เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์แล้ว กล่าวว่า รัศมีอันสว่างจ้า ได้เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้และในโลกอื่น ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน และเบื้องขวางส่วนกว้าง พระศาสดาผู้อุดมกว่าสัตว์ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า เป็นนายกชั้นพิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา ทรงมีอานุภาพมาก มีลักษณะบุญนับด้วยร้อย ทรงแสดงปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ ฯ

    ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

   ในกาลนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุอุดมกว่านรชน เป็นนายกของโลกอันท้าวสหัมบดี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ดีแล้ว จึงทรงนิรมิตที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะทั่วไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก ทรงมีความชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์

    ทรงนิรมิตที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะทั่วไป ทรงแสดงขุนเขาสิเนรุอันสูงสุดในหมื่นโลกธาตุ เป็นเสาเรียงตามลำดับ ในที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะ พระพิชิตมารทรงนิรมิตที่จงกรมเกินกว่าพันที่ ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำไว้รอบข้างรัตนะจงกรม ทรงนิรมิตแผ่นกระดานทองคำติดอยู่ตามขื่อและเต้า ทรงนิรมิตไพรทีล้วนแต่ทองคำไว้ที่ข้างทั้งสอง รัตนะจงกรมที่ทรงนิรมิตเกลื่อนไปด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย สว่างไสวไปทั่วทิศเหมือนพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
     พระชินสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ มีลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ทรงเปล่งพระรัศมีรุ่งเรือง เสด็จจงกรมอยู่บนรัตนะจงกรมนั้น



    ทวยเทพทั้งปวงที่มาประชุมกันต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ลงในที่จงกรม หมู่เทพในหมื่นจักรวาลได้เห็นเช่นนั้นจึงมาประชุมกัน ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจหมอบลงถวายนมัสการ
     ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี  และชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ต่างก็มีจิตเบิกบานโสมนัส.
     พวกนาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเทวดาคนธรรพ์ มนุษย์และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดาผู้ทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก เหมือนดวงจันทร์ที่ขึ้นไปในนภากาศ ฉะนั้น.

      st12 st12 st12 st12 st12

     อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหมและอกนิฏฐพรหม ต่างก็นุ่งผ้าขาวล้วนๆ ยืนประนมอัญชลี. ต่างก็โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ และพากันโบกผ้าอยู่ในอัมพรในกาลนั้นต่างก็เปล่งเสียงว่า โอ พระพิชิตมารทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก. พระองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์ เป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธง เป็นหลักไชย เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย

     ทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจ พากันแวดล้อมถวายนมัสการ เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใสมีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอกไม้ ๕ สี
     หมู่เทพเจ้าได้เห็นพระศาสดา ต่างก็เลื่อมใสมีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอกไม้ ๕ สี เปล่งเสียงว่า ความอัศจรรย์ โอ ขนพองสยองเกล้าไม่เคยมีในโลก ความอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยเป็นเทพเจ้าเหล่านี้ อยู่ในภพของตนๆ ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว พากันร่าเริงเป็นอันมาก
     เทพเจ้าที่อยู่ในนภากาศ พื้นดินป่าหญ้าและที่ประจำดวงดาว ต่างก็ยินดีร่าเริงเบิกบานใจ พากันประนมอัญชลีนมัสการ

     :25: :25: :25: :25: :25:

    แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มากได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว ต่างก็ยินดีมีจิตเบิกบาน ถวายนมัสการบูชาพระศาสดาผู้อุดมกว่านรชน บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่ในอากาศกลางหาวได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว ต่างก็ประโคมสังข์ บัณเฑาะว์และมโหรทึกอยู่ในอากาศเปล่งเสียงว่า วันนี้ ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่เรา เราได้ความสำเร็จประโยชน์ยั่งยืน ขณะปรากฏแก่เราแล้ว
    เพราะได้ฟังว่าพุทโธ นาคเหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น ต่างก็ยืนประนมอัญชลีเปล่งเสียงว่า พุทโธ พุทโธ หมู่สัตว์ต่างๆ ในท้องฟ้าต่างก็ประนมอัญชลีเปล่ง เสียงหึ่งๆ เสียงสาธุการและเสียงโห่กึกก้อง
 
    นาคทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงประสานขับร้องประโคมปรบมือ ฟ้อนรำ และต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ ลงมาบูชาเปล่งเสียงประกาศว่า
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ลายจักรที่พระบาทยุคลของพระองค์ฉันใด ธงไชย ธงปฏากวิเชียรก็ลอยเด่นอยู่ ฉันนั้นไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป ศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ในการประกาศธรรมจักร ไม่มีใครเสมอด้วยวิมุตติ......ฯลฯ....



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๖๕๔ - ๖๘๗๓. หน้าที่ ๒๘๖ - ๒๙๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6654&Z=6873&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=181
ขอบคุณภาพจาก
http://www.doisaengdham.org/
http://www.dhammajak.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ดอกมณฑารพ" เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น 'สุเมธดาบส'
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 10:55:38 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก


ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า


     [๒] ในสี่อสงไขยแสนกัป มีพระนครหนึ่งชื่อว่าอมรนครเป็นนครสวยงามน่ารื่นรมย์ใจ ไม่ว่างจากเสียง ๑๐ ประการคือ เสียงประกาศให้มานำเอาข้าวน้ำไป เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงเชิญให้มาเคี้ยวมาดื่ม มาบริโภคข้าวและน้ำ เป็นนครสมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่างๆ เป็นนครสมบูรณ์ เหมือนเทพนคร เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ
     เราเป็นพราหมณ์นามว่า สุเมธ อยู่ในนครอมรวดี สั่งสมโภคทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์สมบัติมากมาย เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพท ถึงความสำเร็จในตำราทำนายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้......ฯลฯ

       .......เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอยู่ที่เขาธรรมมิกบรรพต ณ ที่นั้น เราสร้างที่จงกรมอันเว้นโทษ ๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาและพละไว้ ทิ้งผ้าสาฎกประกอบด้วยโทษ ๙ ประการเสีย นุ่งผ้าเปลือกไม้กรองอันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการเสีย มาอาสัยโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราละทิ้งข้าวเปลือกที่ปลูกไว้หว่านไว้เสียโดยไม่เหลือ เก็บเอาผลไม้ที่หล่นเองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่างมาบริโภค
      ณ ที่นั้น เราบำเพ็ญความเพียรอยู่ในที่นั่งและที่จงกรม ภายใน ๗ วันก็ได้บรรลุอภิญญาและพละ


       st12 st12 st12 st12 st12

      เมื่อเราถึงความสำเร็จมีความเย็นใจในศาสนาอย่างนี้แล้ว พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้น เมื่อพระพิชิตมารเสด็จอุบัติบังเกิด ตรัสรู้ และในการแสดงพระธรรมเทศนา เราผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน ไม่ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ
     ชนทั้งหลายทูลนิมนต์พระตถาคต ณ ที่ประทับในปัจจันตประเทศช่วยกันแผ้วถางทาง สำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา
                         
     สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว สลัดผ้าคากรองเหาะไปในอัมพรได้เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ จึงลงจากอากาศมาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มีจิตโสมนัสยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใครชนเหล่านั้นอันเราถามแล้วบอกว่า พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นนายกของโลก พระนามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ชนทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อพระองค์
     ขณะนั้นปีติเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราจึงกล่าวประกาศความโสมนัสว่า พุทโธ พุทโธ เราทั้งยินดีทั้งสลดใจยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้นว่าเราจะปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ขณะอย่างได้ล่วงไปเสียเลย แล้วกล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางเสด็จดำเนิน ในกาลนั้นชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสเพื่อการถางทางแก่เรา

                         


      ครั้งนั้นเราถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า พุทโธ พุทโธ
    เมื่อเราทำยังไม่ทันเสร็จ พระมหามุนีทีปังกรชินเจ้ากับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึง การต้อนรับย่อมเป็นไป คนเป็นอันมากประโคมกลองเภรี
    มนุษย์และเทวดาต่างก็มีใจเบิกบานเปล่งเสียงสาธุการ เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา
    มนุษย์และเทวดาทั้งสองพวกนั้น พากันประนมอัญชลีเดินตามพระตถาคต
    พวกเทวดาเอาดนตรีทิพย์มาประโคม พวกมนุษย์เอาดนตรีมนุษย์มาประโคม เดินตามพระตถาคตมาทั้งสอง

    พวกทวยเทพผู้อยู่ในอากาศต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่ และโปรยลงซึ่งกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดี ล้วนแต่เป็นของทิพย์ ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่
    พวกมนุษย์ผู้ที่อยู่บนพื้นดิน ก็โปรยดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกประดู่ ดอกกากะทิงดอกบุนนาค ดอกการเกต ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่

     เราสยายผมแล้ว เอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ ที่นั้น.....ฯลฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  บรรทัดที่ ๖๘๗๔ - ๗๒๖๓.  หน้าที่  ๒๙๕ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6874&Z=7263&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=182
ขอบคุณภาพจา่ก http://innovation.lotusnoss.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 11:07:37 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความหมายของคำว่า "มณฑารพ"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 11:49:00 am »
0
ภาพจาก http://www.oknation.net/

ความหมายของคำว่า "มณฑารพ"

ความหมายจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์ คือ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ที่ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน ดาดาษทั่วเมืองกุสินารา และพระมหากัสสปได้เห็นอาชีวกคนหนึ่ง ถืออยู่ขณะเดินทางระหว่างเมืองกุสินารา กับ เมืองปาวา จึงได้ถามข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และทราบการปรินิพพานจากอาชีวกนั้น เมื่อ ๗ วันหลังพุทธปรินิพพาน


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
มณฑา [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
มณฑา น. ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นกลมเล็ก โคนต้นเป็นปุ่ม กิ่งยืดสูง ไม่แตกสาขามาก ในบางชนิดลำต้นอ่อนคล้ายกับจะเลื้อย ดอกโต สีเหลือง กลีบแข็ง เวลาบานไม่คลี่เต็มดอก กลิ่นแรงจนฉุนเริ่มส่งกลิ่นเวลาเช้าตรู่ มีดอกออกเสมอ.


 :96: :96: :96: :96:

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
รพ รพะ รพา [รบ ระพะ ระพา] น. เสียงร้อง เสียงดัง เสียงเอิกเกริก. (ป. ส. รว).

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
รพ (มค. รว) น. เสียงร้องดัง, เสียงเอิกเกริก (เหมือน รพา).


 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
มณฑารพ [มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์ มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว).

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
มณฑารพ [มน-ทา-รบ] (มค. มณฺฑารว) น. ต้นไม้ในเมืองสวรรค์, บางทีตัดคำลงเป็น มณฑา.



ภาพจาก http://www.oknation.net/


ask1 ans1 ask1 ans1

เท่าที่หาข้อมูลได้ "ดอกมณฑารพ" มีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น มณฑาทิพย์(ในพระไตรปิฎกแสดงไว้) มณฑาสวรรค์ มณฑาทอง มณฑาไข่ และ มณฑา 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 11:51:25 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ดอกมณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2015, 10:58:18 pm »
0

 สาธุติ สาธุติ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ดอกมณฑารพ" มีสีใดบ้าง.?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2015, 09:59:28 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา


๕. ภัททิตถิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในภัททิตถิกาวิมาน


     [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงบุรพกรรมที่นางภัททาเทพธิดานั้นได้กระทำไว้ว่า ท่านผู้มีกายอันมีรัศมีสีสรรต่างๆ บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างดำ หงสบาท และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้ มีเกศเกล้าอันแพรวพราวด้วยพวงมณฑาทิพย์
     ดูกรนางผู้มีปัญญาดี ต้นไม้เหล่านี้ย่อมไม่มีในหมู่เทวดาเหล่าอื่น
     ดูกรนางผู้เลอยศ ท่านได้บังเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะกรรมอะไร
     ดูกรนางเทพธิดา ขอท่านจงแถลงข้อที่เราถาม ผลเช่นนี้แห่งกรรมอะไร?

___________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=658&Z=691



อรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน
(ยกมาแแสดงบางส่วน)

     ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีไปยังภพดาวดึงส์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลา ณ โคนต้นปาริฉัตร และเมื่อเทพบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ภัททิตถีเทพธิดาก็ได้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงถามบุญกรรมที่เทพธิดานั้นทำไว้ ณ ท่ามกลางเทวดาบริษัทและพระพรหมบริษัทที่ประชุมพร้อมกันในหมื่นโลกธาตุ ได้ตรัสว่า
     ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านทัดทรงไว้เหนือศีรษะ ซึ่งพวงมาลัยดอกมณฑารพ อันมีสีต่างๆ กัน คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้มและแดง ที่ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในเทพหมู่อื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้เลอยศจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
     ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกมาสิว่านี้เป็นผลของบุญอะไร.
     ...ฯลฯ................................

    ที่จริง บทนั้นเป็นปฐมาวิภัตติแต่ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ มีคำอธิบายดังนี้ว่า
    ดูก่อนเทพธิดา ท่านทัดทรงประดับไว้เหนือเศียร ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ คือ พวงมาลัยที่ทำด้วยดอกมณฑารพเหล่านั้น เพราะดอกมณฑารพเหล่านั้นซึ่งสีสรรต่างๆ คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม แดงและสีอื่นๆ มีสีขาว เป็นต้น อันห้อมล้อมด้วยกลีบเกสรคือละออง ตามที่เป็นอยู่มีสัณฐานทรวดทรงงาม เป็นต้น หรือเพราะสีแห่งวรรณะตามที่กล่าวแล้วต่างๆกัน เกิดจากต้นมณฑารพ.
    ...ฯลฯ................................

_____________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=22
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ