ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) "มีศิษย์เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์"  (อ่าน 7532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ หลายอย่างหลายประการ

๑. ทรงเป็นพระอาจารย์ พระองค์แรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงอาราธนามากรุงเทพฯ
๒. ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระญาณสังวรเถร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๓. ทรงเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระญาณสังวร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๔. ทรงเป็นเจ้าอาวาสพระองค์แรกของวัดราชสิทธาราม ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
๕. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์


๖. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะพระองค์แรก ที่นั่งหน้า สมเด็จพระสังฆราช องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีพรรษากาลมากกว่า
๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจาก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๘. ทรงเป็นองค์ประธานสังคายนาพระกรรมฐาน พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๙. ทรงเป็นพระสงฆ์และสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก ที่ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่
๑๐. ทรงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์



สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ณ วัดกำแพง นนทบุรี


๑๑. ทรงเป็นพระองค์แรก ทีมีลูกศิษย์ เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์
๑๒. ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นสมเด็จราชาคณะ ถึง ๑๐ พระองค์
๑๓. พระเจ้าแผ่นดินทรงให้ช่างปั้นรูปเหมือนของพระองค์เป็น พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๔. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูง พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๕. ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินถึง ๔ พระองค์เป็นพระองค์แรกและองค์สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์


๑๖. ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่พระอัฏฐิธาตุ พระเกสาธาตุ พระอังคารธาตุแปรเป็นพระธาตุ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๘. ทรงพระราชทานฉัตรเจ็ดชั้น เมื่อคราวออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง เป็นพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๙. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ และพัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ครั้งเป็นสมเด็จราชาคณะ พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๒๐. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ ๑ พัดงาสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ ครั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงถือเป็นประเพณีสืบมา ทรงโปรดพระราชทานสมเด็จพระสังฆราช องค์ต่อมาด้วย มายกเลิกในรัชกาลที่ ๕



สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ณ วัดแก่งขนุน สระบุรี


๒๑. ทรงพระราชทาน ผ้ารัดประคตพระอุระ(อก) หนามขนุนสีทอง พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๒๒. ทรงพระราชทานของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสามพระองค์เป็น พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงถวายพระตระกรุตมหาจักรพรรคิ์ และสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ถวายสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓
๒๓. ทรงเป็นพระสงฆ์ปาปมุต พ้นจากบาปทั้งปวง พระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนองค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ฯลฯ



ที่มา : พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๒๘-๒๙
พระครูสังฆรักษ์ (วีระ ฐานวีโร)  รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด


              ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระสังฆราช(ศุก/ศุข) พระสังฆราชองค์ที่ ๒

สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) "มีศิษย์เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์"
(พระมหาเถรที่ทรงมาปรึกษาและปรึกษา และมาเป็นศิษย์พระญาณสังวรเถร)

     ๑. พระสังฆราช(ศุก) วัดมหาธาตุ ทรงมาปรึกษา เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๒
     ๒. สมเด็จพระสังฆราช(มี) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๓
     ๓. สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๕
     ๔. สมเด็จพระสังฆราช(นาค) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๖
     ๕. สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมาป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราชองค์ที่ ๗ สถิตวัดพระเชตุพนฯ


      :25: :25: :25: :25:

     ๖. พระพนรัต(ทองดี) วัดระฆังมาศ
     ๗. พระพุทโฆษาจารย์(ศรี) วัดโมลีโลก มาเป็นศิษย์ สถิตวัดราชสิทธาราม ต่อมาย้ายไปวัดโมลีโลก
     ๘. สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลก มาเป็นศิษย์ สถิตวัดราชสิทธาราม ต่อมาย้ายตาม พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี) ไปอยู่วัดโมลีโลก เป็นพระอาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงศึกษาอยู่วัดโมลีโลก เป็นพระอนุศาวนาจารย์ ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงผนวช อยู่ที่วัดราชสิทธาราม ๑ พรรษา
    ๙. สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์(คง) วัดอรุณ มาเป็นศิษย์
   ๑๐. สมเด็จพระพุทธาจารย์(เป้า) วัดอินทาราม ต่อมาย้ายไปอยู่ วัดธรรมาวาส กรุงเก่ามาปรึกษา หลังสิ้นพระพุฒาจารย์(เป้า) แล้ว ตำแหน่งพระพุทธาจารย์ว่างลงถึง ๑๗ ปี ต่อมาจึงทรงตั้ง พระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศแทน เพราะเหตุว่าไม่มีใครมีคุณสมบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระเหมาะสมกับตำแหน่ง


สมเด็จพระสังฆราช(มี) พระสังฆราชองค์ที่ ๓

     ๑๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์(สนธ์) วัดสระเกศ มาเป็นศิษย์ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๑
     ต้นรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
     ถึงปลายรัชกาลที่ ๒ พระญาณวิริยะ(ทองดี)วัดระฆัง เลื่อนที่เป็นที่ธรรมอุดม พระมหาสนธ์ จึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระญาณวิริยะ แทน
     ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพรหมมุนี
     พ.ศ.๒๓๘๖ ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นที่ พระพุฒาจารย์
     พ.ศ. ๒๓๙๔ ต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงตั้งพระราชาคณะเอาฤกษ์

     ประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๑ พระภิกษุสนธ์ อุปสมบทพรรษาแรก ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกับ พระญาณสังวรเถร (สุก) แจ้งพระกรรมฐานกับ พระปลัดชิตหรือเจ้าคุณหอไตร จนจบ ๓ ห้องแรก จึงหันไปศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ เป็นเปรียญ ๓ ประโยด ในต้นรัชกาลที่ ๒
     ต่อมาจึงหันมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อกับ พระญาณสังวร (ด้วง) เมื่อพระญาณสังวรเถร (ด้วง)ถึงแก่มรณภาพแล้ว จึงมาศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระญาณสังวร(บุญ) จนกระทั้งเจนจบ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

     ต่อเมื่อเป็นที่พระพุฒาจารย์แล้ว จึงได้สร้อยพระนาม เหมือนกับสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เพราะเหตุสืบทอดพระกรรมฐานของพระองค์ท่าน
     สร้อยพระนามมีดังนี้ พระพุฒาจารย์ ญาณวรา สัตตวิสุทธิ์จริยาปรินายกติปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี
     แต่สร้อยพระนาม ของสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ตัวต้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร อดิศรสังฆเถรา นอกนั้นเหมือนกันสมเด็จพระพุฒาจารย์(สนธ์) มีพรรษายุกาลอ่อนกว่า พระญาณสังวร(บุญ) ผู้เป็นพระอาจารย์กัมมัฏฐานองค์ที่สาม ประมาณ ๓-๔ พรรษา


สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) พระสังฆราชองค์ที่ ๕

    ๑๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆัง มาเป็นศิษย์ เป็นพระธรรมกิติ เป็นพระเทพกวีเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ ๔ (เปลี่ยนจาก พระพุทธาจารย์ เป็นพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ ๔)
    ๑๓. พระเทพโมลี(กลิ่น) วัดราชสิทธาราม เป็นศิษย์ เป็นพระมหากลิ่น ในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระรัตนมุนี และเป็นพระเทพโมลี ในรัชกาลที่ ๒
    ๑๔. พระเทพมุนี(เรือง) วัดระฆัง มาศึกษา เป็นศิษย์
    ๑๕. พระญาณรักขิต(สา) วัดระฆัง มาศึกษา
    ๑๖. พระญาณไตรโลก(หลวงธรรมรักษา) วัดมหาธาตุ มาศึกษา
    ๑๗. พระญาณโพธิ์(โพ) วัดสังข์กระจาย ฯลฯ


กล่าวว่า ยุคที่พระญาณสังวรเถร ทรงพระชนมายุอยู่ ไม่มีพระสังฆเถรองค์ไหนที่จะไม่มาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร(สุก) วัดพลับ มีน้อยองค์นักที่ไม่มาศึกษา กล่าวกันว่าที่ไม่มาเพราะถือตัว


สมเด็จพระสังฆราช(นาค) พระสังฆราชองค์ที่ ๖

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส(พระองค์เจ้าวาสุกรี) พระสังฆราชองค์ที่ ๗


ขอบคุณภาพจาก : http://www.jariyatam.com/
ที่มา : พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๒๙๖-๒๙๘
พระครูสังฆรักษ์ (วีระ ฐานวีโร)  รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2016, 11:57:18 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด

   ขออนุโมทนาสาธุ ครับ

    นั่นคือบารมีของท่าน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
    • ดูรายละเอียด

   ขออนุโมทนาสาธุ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา