ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม ขอ พอจ นิยาม คำว่า วัฏฏะสงสาร แบบเข้าใจง่าย ๆ ด้วยครับ  (อ่าน 1553 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ถาม ขอ พอจ นิยาม คำว่า วัฏฏะสงสาร แบบเข้าใจง่าย ๆ ด้วยครับ

ตอบ ฉันก็ไม่เก่ง นะ เรือ่งอธิบาย คงมีแต่ พระพุทธเจ้า เท่านั้นที่จะตอบเรือ่งนี้ได้ดีที่สุด ก็ขอเอาหลักการที่พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า มาแสดงก็แล้วกัน

วัฏฏะสงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด ตายเกิด ตายเกิด ในห่วงแห่ง ภพ มี เปตร อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เทวา พรหม มนุษย์ โดยที่มีตัวแปรที่่เดียว คือ มนุษย์

ดังนั้น วัฏฏะสงสาร ของ มนุษย์ มีที่ไปทั้งดี และ ชั่ว หลังจากตาย แล้วก็เกิด โดยอาศัย กิเลส กรรม วิบาก ที่เป็นปัจจุบัน

นี่เป็นความหมายในสภาวะ ปัจจุบัน
คำว่า กิเลส ก็หมาย ความโลภ ความโกรธ ความหลง
คำว่า กรรม ก็หมาย การกระทำ ด้วย กาย ด้วย วาจา ด้วย ใจ มีเจตนา
คำว่า วิบาก ก็หมายถึง อารมณ์ ที่แปรปรวนในขณะนั้น มีสุข มีทุกข์ มีอทุกขมสุข

นี่เป็นความหมาย ในสภาวะที่เป็นภพ
คำว่า กิเลส หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ มืดบอด
คำว่า กรรม หมายถึง เจตนา
คำว่า วิบาก หมายถึง ภพภูมิที่ ได้กระทำลงไปด้วยเจตนา

นี่เป็นความหมายในสภาวะการภาวนา
คำว่า กิเลส หมายถึงเหตุที่ทำให้จิตปรุงแต่ง แปรปรวน
คำว่า กรรม หมายถึง จิต และ เจตสิก ที่ได้กระทำตามจิตปรุงแต่ง
คำว่า วิบาก หมายถึง ผลของผจิต ที่ได้รับทุกข์ สุข อทุกขมสุข

การเข้าไปสิ้นวัฏฏะสงสาร พระพุทธเจ้า ให้พิจารณาที่อริยสัจจะ 4 ประการ โดยต้องเข้าไปรู้ วิบาก (ผล )ก่อน แล้วจึงย้อนศรกลับไปหา สมุทัย ( เหตุ ) เมื่อรู้ เหตุแล้ว ก็กำหนด นิโรธ (สุข) ที่ดี มาเป็นเป็นเป้าหมาย เมื่อกำหนดเป้าหมายได้ ก็มาเปลี่ยนกรรม ที่เคยชินแบบ ทุกข์ ให้เป็นแบบสุข เรียกว่า มรรค ( เหตุ )

เมื่อผู้ภาวนา กระทำมรรค ได้สมบูรณ์ รางวัล ก็คือ การสิ้นภพ สิ้นชาต ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด อีกต่อไป

อะไรชื่อว่า มรรค ( หนทาง ไปสู่ ความสุข )
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง
สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง
สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ การทำการงานถูกต้อง
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง
สัมมาวายามะ การพากเพียรถูกต้อง
สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง
สัมมาสมาธิ การตั้งจิตมั่นถูกต้อง

ดังนั้น สิ่งที่ชาวพุทธต้องกระทำและต้องทำให้มากขึ้น ก็คือเจริญตามมรรค การเจริญตามมรรค ชื่อว่า การภาวนา การภาวนา มีองค์รวม อยู่ในคำว่า กรรมฐาน กรรมฐาน ก็มีอยู่หลายแบบ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ตามจริตบุคคล ในบรรดาองค์กรรมฐาน ทั้งหมด พระพุทธเจ้า ยกย่องไว้สองกรรมฐาน นั่นก็คือ พุทธานุสสติ กรรมฐาน และ อานาปานสติ กรรมฐาน

ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กราบนมัสการ ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ   :25:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี