ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขณิกะ อุปจาระ และ อัปนาสมาธิ มันมีความแตกต่างกันไหมครับ  (อ่าน 11516 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากหาใครสักคนให้ความกระจ่างจังครับ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
+1
อยากหาใครสักคนให้ความกระจ่างจังครับ

(เท่าที่เคยเรียนมาพอจะเข้าใจว่าดังนี้นะครับ)
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง
อัปนาสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้มั่นคงแล้ว จนเป็นเอกคตา (คือจะเป็นองค์ฌาน-อุคคนิมิต-โอภาสหรือแสงสว่าง)
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
ส่วนวิปัสนาสมาธิ คือจะต้องถอยร่นลงมาแค่อุปจารสมาธิเท่านั่นจึงจะพิจารณาวิปัสนาได้ คือใช้ปัญาญาพิจารณาอย่างวิเศษ ให้เห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา.
ก็พอจะอธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้ ตามปัญญาที่รู้มาครับผม

ขอเพิ่มเต็มอีกหน่อยเรื่อง ฌาน
                                ฌาน  ๔
                ปฐมฌาน                ฌานที่  ๑
                ทุติยฌาน                ฌานที่  ๒
                ตติยฌาน                ฌานที่  ๓
                จตุตถฌาน              ฌานที่  ๔
                                        ม.  มู.  ๑๒/๗๓.
        อธิบาย:  การเพ่งอารมณ์จนใจแน่แน่วเป็นอัปปนาสมาธิ   เรียก
ว่าฌาน.   ฌานนั้นจัดเป็น  ๔  ชั้น  เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยา 
ประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ.  ปฐมฌานมีองค์  ๕  คือ  ยังมีตรึก
ซึ่งเรียกว่าวิตก  และยังมีตรองซึ่งเรียกว่าวิจาร  เหมือนอารมณ์แห่ง
จิตของคนสามัญ  แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม  ซ้ำ
มีปีติคือความอิ่มใจ  และสุขคือความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความสงบ
กับประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป   ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
ทุติยฌานมีองค์  ๓  ละวิตกวิจารเสียได้   คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิกับเอกัคคตา.  ตติยฌานมีองค์  ๒  ละปีติเสียได้  คงอยู่แต่สุข
กับเอกัคคตา.  จตุตถฌานมีองค์  ๒  เหมือนกัน  ละสุขเสียได้กลายเป็น
อุเบกขา  คือเฉย ๆ กับเอกัคคตา.  ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นรูปฌาน  เป็น
รูปสมาบัติ   มีรูปธรรมเป็นอารมณ์   สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 12:09:08 am โดย ChaNaS22 »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คุณโปรแกรมตอบได้ดีครับ

วันหน้าช่วยมาตอบอีกนะครับ

ขออนุโมทนา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากหาใครสักคนให้ความกระจ่างจังครับ

(เท่าที่เคยเรียนมาพอจะเข้าใจว่าดังนี้นะครับ)
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง
อัปนาสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้มั่นคงแล้ว จนเป็นเอกคตา (คือจะเป็นองค์ฌาน-อุณคหนิมิต-โอภาสหรือแสงสว่าง)
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
ส่วนวิปัสนาสมาธิ คือจะต้องถอยร่นลงมาแค่อุปจารสมาธิเท่านั่นจึงจะพิจารณาวิปัสนาได้ คือใช้ปัญาญาพิจารณาอย่างวิเศษ ให้เห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา.
ก็พอจะอธิบายคร่าว ๆ ได้ดังนี้ ตามปัญญาที่รู้มาครับผม
ขอบคุณครับ เรียบง่าย แต่ได้ใจความ
เข้าใจแล้วครับ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

sangtham

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
สำหรับ ผู้รู้ทางปริยัติ ก็จะว่าเป็นสมาธิ ที่มีชั่วขณะ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาแล้ว ขณิกะสมาธิ มีถึง 3 ระดับ
แบ่งออกเป็น หยาบ กลาง และประณีต เท่าที่ผู้ฝึกในกรรมฐาน

สำหรับ ขณิกสมาธิ หมายถึงจิตที่เดินเข้าสู่ องค์แห่งปีติทั้ง 5 ไ้ด้
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ ก็ ระดับ 3 ของปฐมฌานแล้ว
อ้างถึง
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง

สำหรับ อุปจาระสมาธิ เป็นสมาธิที่เฉียดเป็น ฌาน แต่ผลของ สมาธิ ตั้งจิตอยู่ในความสุขสมาธิ
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ และ สุข ก็ ระดับ 4 ของปฐมฌานแล้ว
ผู้ได้ อุปจาระสมาธิ ในปฏิสัมภิทามรรค และ อภิธรรม ปริจเฉทที่ 9 นั้นกล่าวว่า จิตตั้งอยู่ในสุขตั้งแต่ 1 ทิวาราตรี ( 24 ชั่วโมง ) ดังนั้นในสายสุกขวิปัสสก ย่อมเข้า อุปจาระสมาธิ แล้วพิจารณาองค์ วิปัสสนา ย่อมสำเร็จ มรรค ผล ในวิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลสุกขวิปัสสก เจริญอุปจาระสมาธิในองค์วิปัสสนา ที่รูแจ้งในวิปัสสนา นี้เรียกว่า ผลสมาบัติ

อ้างถึง
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
อัปปนาสมาธิ นั้นหมายถึงจิต ที่รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ คือ รวมศูนย์จิตได้เป็นหนึ่งเดียว ตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ( ในส่วนรูปฌาน )
อากาสานัญจายตนะฌาน อากิญจัญยายตนะ วิญญานัญจายตนะฌาน เนวนาสัญญายตนะฌาน ( อรูปฌาน ) ผู้ที่เข้าฌานได้ ไม่ได้ตัดอารมณ์ภายนอก แต่หากมีอารมณ์ รับรู้ได้ทั้งภายในและภายนอก ในแนวกรรมฐานทั่วไปนั้น จัดเป็นสมถะัล้วน ๆ อาจจะใช่ แต่ถ้าผู้ใดได้ฝึก อานาปานสติ อันประกอบด้วย สโตริกาญาณ 16 และ ญาณสติถึง 200 ญาณสติ ก็ไม่ได้เป็นสมถะ อย่างที่ท่านทั้งหลาย เข้าใจ

นี่เป็นข้อความที่ปรากฏใน อานาปานสติสูตร และ ฌานุเบกขาสูตร ตัตรมัชฌุเบกขาสูตร ในพระอภิธรรม
บันทึกการเข้า

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ้างถึง
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
สำหรับ ผู้รู้ทางปริยัติ ก็จะว่าเป็นสมาธิ ที่มีชั่วขณะ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาแล้ว ขณิกะสมาธิ มีถึง 3 ระดับ
แบ่งออกเป็น หยาบ กลาง และประณีต เท่าที่ผู้ฝึกในกรรมฐาน

สำหรับ ขณิกสมาธิ หมายถึงจิตที่เดินเข้าสู่ องค์แห่งปีติทั้ง 5 ไ้ด้
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ ก็ ระดับ 3 ของปฐมฌานแล้ว
อ้างถึง
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง

สำหรับ อุปจาระสมาธิ เป็นสมาธิที่เฉียดเป็น ฌาน แต่ผลของ สมาธิ ตั้งจิตอยู่ในความสุขสมาธิ
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ และ สุข ก็ ระดับ 4 ของปฐมฌานแล้ว
ผู้ได้ อุปจาระสมาธิ ในปฏิสัมภิทามรรค และ อภิธรรม ปริจเฉทที่ 9 นั้นกล่าวว่า จิตตั้งอยู่ในสุขตั้งแต่ 1 ทิวาราตรี ( 24 ชั่วโมง ) ดังนั้นในสายสุกขวิปัสสก ย่อมเข้า อุปจาระสมาธิ แล้วพิจารณาองค์ วิปัสสนา ย่อมสำเร็จ มรรค ผล ในวิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลสุกขวิปัสสก เจริญอุปจาระสมาธิในองค์วิปัสสนา ที่รูแจ้งในวิปัสสนา นี้เรียกว่า ผลสมาบัติ

อ้างถึง
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
อัปปนาสมาธิ นั้นหมายถึงจิต ที่รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ คือ รวมศูนย์จิตได้เป็นหนึ่งเดียว ตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ( ในส่วนรูปฌาน )
อากาสานัญจายตนะฌาน อากิญจัญยายตนะ วิญญานัญจายตนะฌาน เนวนาสัญญายตนะฌาน ( อรูปฌาน ) ผู้ที่เข้าฌานได้ ไม่ได้ตัดอารมณ์ภายนอก แต่หากมีอารมณ์ รับรู้ได้ทั้งภายในและภายนอก ในแนวกรรมฐานทั่วไปนั้น จัดเป็นสมถะัล้วน ๆ อาจจะใช่ แต่ถ้าผู้ใดได้ฝึก อานาปานสติ อันประกอบด้วย สโตริกาญาณ 16 และ ญาณสติถึง 200 ญาณสติ ก็ไม่ได้เป็นสมถะ อย่างที่ท่านทั้งหลาย เข้าใจ

นี่เป็นข้อความที่ปรากฏใน อานาปานสติสูตร และ ฌานุเบกขาสูตร ตัตรมัชฌุเบกขาสูตร ในพระอภิธรรม


อนุโมทนา สาธุ จ้า
ละเอียดจริงๆ เข้าใจแล้ว และจะตั้งใจปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา