ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก ปลุกเสกพระเครื่อง ใช่กิจพระหรือไม่  (อ่าน 550 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม การทำน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก ปลุกเสกพระเครื่อง ทำของขลัง ทำพิธีไล่ผี ทำเสน่ห์ น้ำมันพราย แก้ของคุณไสย เหล่านี้จัดว่าเป็นกิจของ พระในสายมูลกรรมฐาน หรือ ไม่ครับ
ตอบ ที่กล่าวมานั้น เป็นกิจภายนอก ท่านกล่าวว่า มันมีหลายเหตุผล แต่ก่อนจะตอบ ต้องบอกว่า กิจของพระ มี 2 อย่าง
กิจที่ 1 คือการรักษาธรรมและวินัย
กิจที่ 2 คือการหมั่นภาวนาตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
ซึ่งกิจที่ 1 ถือว่าเป็นเรื่อง สังคม และ ส่วนตัว
กิจที่ 2 จัดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว
การช่วยเหลือสงเคราะห์ แม้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดถึงการให้กำลังใจ แก่ คนที่นับถือและมิได้นับถือ อยู่ในสงเคราะห์อันแรก
ดังนั้นถ้ามองว่า อันไหนขัดกับวินัย ก็ถือว่าไม่ใช่กิจ แต่บางอย่าง ดูแล้วว่าขัดกับวินัย แต่ช่วยเหลือเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ที่ตรงนั้นจนกว่าจะเกิดปัญญาความเข้าใจที่ถูกต้อง ท่านก็ถือว่า เป็นความเอื้อเฟื้อในธรรมวินัย เช่นกัน
ยกตัวอย่าง พระรับบิณฑบาตร แล้วให้ พร ระหว่างบิณฑบาตร ทางวินัยท่านปรับอาบัติปาจิตตีย์บ้าง เสขิยวัตรบ้าง แต่ผล คือผู้ใส่บาตรรู้สึกยินตีมีกำลังใจในพรพระที่ให้รู้สึกว่า ด้านในจิตดีมาก อย่างนี้ก็ไม่ควรปรับอาบัติ
พระดื่มสุรา พระพุทธเจ้าปรับอาบัติแค่ปาจิตตีย์ แต่ คณะสงฆ์ปรับเป็นปาราชิก ให้หมดจากความเป็นพระ ดูมันจะแรงไปไหม ต้องเชื่อในวินิจฉันของพระพุทธเจ้าหรือป่าว หรือจะอ้าง โลกวัชชะ ( โลกติเตียน )
ดังนั้นในตัววินัยมันมีสองอย่าง อยู่ด้วยกัน 1 คือต้องอาบัต 2 คือไม่ต้องอาบัต ( ยกเว้น ) ผู้วินิจฉัน ก็คือ วินัยธร และ ธรรมธร แต่การวินิจฉัย ด้วยมติทางโลก มันย้อนแย้งได้ ผิด เป็น ถูกได้ ถูก ก็เป็นผิด ได้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า ว่า อะไรคือกรรม
เจตนา เป็นตัวกรรม
วินัยมีมากมายหลายข้อ แต่ พระพุทธเจ้า ตรัสว่ามีข้อเดียว เพียงถือข้อเดียวก็เป็นพระได้ นั่นคือ สิกขาบถว่า ให้ระวังใจ ถ้ายกอย่างนี้มันจะไปล้างขอ้บัญญัติทั้งหมด แต่ ก็ไม่ควรยกถึงจะมีเหตุผล เพราะ เถรวาท ยังคงรักษา วินัย และ ธรรม ตามแบบอย่าง อุปัชฌาย์ นั่นเอง
ถ้าถึงที่สุด ก็ต้องดู เจตนา ว่ากันตาม บริบท ก็ดูข้อบัญญัติ
เจริญธรรม
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ