ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภวังคจิต คือ อะไร  (อ่าน 8797 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ภวังคจิต คือ อะไร
« เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 11:31:27 am »
0

ภวังคจิต คือ อะไร
คำบรรยายของ อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์


       เพราะฉะนั้นเวลาที่เรากำลังนอนหลับสนิท ยังไม่ตาย จิตก็เกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ  ทำภวังคกิจ 

ที่เราใช้คำว่า ภวังค์ ภวังค์  อย่างบางคนง่วง  เราบอกว่า  กำลังจะเข้าภวังค์ หรือกำลังเป็นภวังค์   

แต่ให้ทราบว่า ความหมายจริงๆ ก็คือว่า
   

           "ขณะที่เป็นภวังค์ จิตจะไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่คิดนึก ไม่ฝัน"  

      เพราะฉะนั้นเป็นช่วงขณะที่กำลังหลับสนิท  ขณะนั้นเป็นจิตซึ่งไม่ใช่วิถีจิต เพราะเหตุว่าไม่ได้อาศัยตา หู จมูก

ลิ้น กาย ใจ ไม่คิด ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆทั้งสิ้น



ที่มา  http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=4720
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 11:38:19 am »
0
ขอบคุณครับ ผมเป็นอยู่ บางวันเป็น บางวันไม่เป็น
แต่เมื่อก่อนเป็นทุกวัน
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 12:01:29 pm »
0
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต   
เป็นผลของกรรมเดียวกันกับการที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด   
ในชาติหนึ่งจะมีปฏิสนธิจิตดวงเดียวเท่านั้น   
แต่มีภวังคจิตนับไม่ถ้วน   
ไม่ใช่เฉพาะภวังคจิตดวงแรกเท่านั้น   
แต่ภวังคจิตทั้งหมดในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 12:03:39 pm »
0
ในสังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค   วีณาสูตร   พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

    "... ดูกรภิกษุทั้งหลาย   พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา   ยังไม่เคยได้ยินเสียงพิณ    พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา   ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า  แน่ะ   ท่านผู้เจริญ   นั่นเสียงอะไรหนอ  น่าชอบใจ   น่าใคร่  น่าบันเทิง   น่าหมกมุ่น   น่าพัวพันอย่างนี้

    บุรุษนั้นกราบทูลว่า  "ขอเดชะ"   เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ   เสีบงนั้นน่าชอบใจ  น่าใคร่   น่าบันเทิง  น่าหมกมุ่น   น่าพัวพันอย่างนี้"

    พระราชาหรืออำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า   "แน่ะท่านผู้เจริญ   ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา"

    ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย   พึงกราบทูลว่า  "นี่คือพิณนั้น   เสียงของพิณนี้น่าชอบใจ ...   น่าพัวพันอย่างนี้"

    พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า   "แน่ะท่านผู้เจริญ   ฉันไม่ต้องการพิณนั้น   ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด"

    ราชบุรุษกราบทูลว่า  "ขอเดชะ   ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง   มีเครื่องประกอบมาก   นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง   คือธรรมดาว่าพิณนี้อาศัยกระพอง   อาศัยแท่น  อาศัยลูกบิด   อาศัยนม  อาศัยสาย  อาศัยคัน   และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น   มีเครื่องประดับหลายอย่าง   มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้"

    พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณนั้น 10 เสี่ยงหรือ 100 เสี่ยง   แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆแล้วพึงเผาด้วยไฟ   แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่าโปรยไปด้วยลมแรง   หรือพึงลอยไปเสียในแม่นํ้ามีกระแสอันเชี่ยว

    ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า  "ท่านผู้เจริญ   ได้ยินว่า   ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม   สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี   เพราะพิณนี้คนต้องมัวเมาประมาท   หลงใหลจนเกินขอบเขตฉันใด"

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล   ย่อมแสวงหารูปเท่าที่มีคติ   เวทนา  สัญญา   สังขารทั้งหลาย   วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ใด    เมื่อเธอแสวงหาวิญญาณเท่าที่มีอยู่ใด   ความยึดถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา   หรือว่าของเรา   หรือว่าเป็นเรา   แม้ความยึดถือนั้นก็ไม่มีแก่เธอฯ"

บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 12:06:54 pm »
0
มื่อรูปกระทบทวารและกระทบภวังคจิต   ภวังคจิตที่รูปกระทบเป็น อตีตภวังค์
   
ภวังคจิตต่อจากอตีตภวังค์เป็น ภวังคจลนะ   คือเป็นภวังคจิตที่ไหวเพราะอารมณ์กระทบ   แม้ว่าจะไม่รู้อารมณ์นั้นก็ตาม

ภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ก่อนปัญจทวารวัชชนจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์นั้นเป็น ภวังคุปัจเฉทะ

ภวังคจลนะ

ภวังคุปัจเฉทะ

มโนทวาราวัชชนจิต

อกุศลจิตหรือกุศลจิต 7 ขณะ (สำหรับพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต)


บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 12:24:21 pm »
0
บทที่ 12
กิจของภวังคจิต

ขณะที่ไม่รู้สึกตัว ขณะที่ไม่คิดนึก ขณะที่ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต ขณะนั้นมีจิตหรือไม่? ขณะที่ไม่รู้สึกตัว ขณะที่ไม่คิดนึก ขณะนั้นก็ต้องมีจิต มิฉะนั้นก็ไม่มีชีวิต จิตที่เกิดดับนั้นเป็น ภวังคจิต ภวังค์ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า การดำรงภพชาติ ภวังคจิตทำกิจสืบต่อดำรงภพชาติ ทำให้สภาพที่บัญญัติว่า สัตว์มีชีวิตอยู่ได้

บางคนอาจสงสัยว่าภวังคจิตเกิดบ่อย ๆ ไหม ภวังคจิตเกิดมากมายนับไม่ถ้วนขณะที่ไม่รู้สึกตัว ไม่คิดนึก ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต ขณะที่หลับแล้วฝัน อกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดแต่แม้ในขณะที่หลับแล้วไม่ฝัน ก็ยังต้องมีจิตเกิดอยู่นั่นเอง จิตขณะนั้นเป็นภวังคจิต ขณะตื่นก็มีภวังคจิตเกิดนับไม่ถ้วน ภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่ง ๆ  ดูประการหนึ่งว่าการได้ยินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการเห็นสิ้นสุดลง แต่ตามความเป็นจริงแล้วมีวิถีจิตเกิดขึ้นหลายวาระ และในระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่ง ๆ ก็มีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ

ภวังคจิตเป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกของชาติหนึ่ง ๆ  เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น เป็นจิตขณะที่สอง และเป็นภวังคจิตดวงแรกของชาตินั้น


ภวังคจิต เป็น วิบากจิต เป็นผลของกรรมเดียวกันกับการที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ในชาติหนึ่งจะมีปฏิสนธิจิตดวงเดียวเท่านั้น แต่มีภวังคจิตนับไม่ถ้วน ไม่ใช่เฉพาะภวังคจิตดวงแรกเท่านั้น แต่ภวังคจิตทั้งหมดในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด  ฯลฯ

.............ฯลฯ...........ฯลฯ.................

อ่านต่อได้ที่ http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-13.htm



เข้าใจว่า คุณtang-dham น่าจะชอบอภิธรรม ผมหาบทความที่น่าสนใจมาให้อ่าน หวังว่าคงถูกใจ
 :welcome: ;) :49: :s_good: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2011, 12:38:26 pm »
0
 :49: ยังไงก็ได้ ขอเข้าใจง่ายๆ ครับ สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 07:10:15 am »
0


ภวังคกิจ จิตหลับฝัน

     หลับแลตื่นมิสิ้น           เกิดดับ
จิตนิ่งครวญเนื่องนับ        แต่งรู้
กายทอดนิ่งระงับ           ผัสสะ
คติหานิ่งคู้                   จิตนี้จึงฝัน.


                                          ธรรมธวัช.!      



เมื่อขณะเรามีสัมปชัญญะตื่นรู้พร้อมในผัสสะแห่งอายตนะนั้น ชื่ิอว่า มีคติวิญญาณ   เมื่อขณะเราทอดกายนิ่งหลับมิรับรู้ เราเข้าสู่ภวังคกิจ จิตเกิดดับ ภพชาติดำเนินอยู่ จึงฝัน ชื่อว่า ปฏิสนธิจิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2011, 07:39:23 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 10:11:45 am »
0


ภวังคกิจ จิตหลับฝัน

     หลับแลตื่นมิสิ้น           เกิดดับ
จิตนิ่งครวญเนื่องนับ        แต่งรู้
กายทอดนิ่งระงับ           ผัสสะ
คติหานิ่งคู้                   จิตนี้จึงฝัน.


                                          ธรรมธวัช.!      



เมื่อขณะเรามีสัมปชัญญะตื่นรู้พร้อมในผัสสะแห่งอายตนะนั้น ชื่ิอว่า มีคติวิญญาณ   เมื่อขณะเราทอดกายนิ่งหลับมิรับรู้ เราเข้าสู่ภวังคกิจ จิตเกิดดับ ภพชาติดำเนินอยู่ จึงฝัน ชื่อว่า ปฏิสนธิจิต

ลงตัวครับ เข้าใจได้ทันที ขอบคุณครับ สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 03:01:36 pm »
0
ที่คุณ ธรรมธวัช และ คุณทินกร สรุปไว้นั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของ ภวังคจิตครับ
ซึ่งภวังคจิต ไม่ใช่หมายถึงการหลับทุกครั้ง แม้การตื่นอยู่ถ้าไม่รับรู้สภาวะทางอายตนะ ก็เป็นภวังคจิตเหมือนกัน

ที่สำคัญ อยุ่ที่จิต มีสติเข้าใจ ส่วนนี้ต่างหากครับ


ภวังคจลนะ

ภวังคุปัจเฉทะ

มโนทวาราวัชชนจิต

แต่ถ้าจะให้อธิบาย ผมเองก็ยังไม่ใคร่จะเข้าใจ ทั้งหมด นะครับ
  โดยเฉพาะ มโนทวารวัชชนจิต เป็นสายการบรรลุธรรมด้วย นะครับ

 :67:
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

tasawang

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภวังคจิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2011, 06:12:53 pm »
0
ิอ่านแล้ว รู้สึก ยังไม่ค่อยเข้าใจ ครับ อาจจะเป็นเพราะว่าผมไม่ค่อยถนัด แบบอภิธรรม

มีตารางลำดับ อะไร ให้ดูเข้าใจง่ายหรือไม่ครับ

 :41:
บันทึกการเข้า