ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต  (อ่าน 7072 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๐.  สังคีติสูตร] สังคีติหมวด  ๘


[๓๓๖]    ทานวัตถุ(เหตุแห่งการให้ทาน)    ๘
 ๑.    ให้ทานเพราะประสบเข้า
 ๒.    ให้ทานเพราะกลัว๓
 ๓.    ให้ทานเพราะคิดว่า    ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
 ๔.    ให้ทานเพราะคิดว่า    ‘เขาจักให้แก่เรา’
 ๕.    ให้ทานเพราะคิดว่า    ‘การให้ทานเป็นการดี’
 ๖.    ให้ทานเพราะคิดว่า    ‘เราหุงหากินเองได้    ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้การที่เราหุงหากินเองได้    จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ไม่ควร’
 ๗.    ให้ทานเพราะคิดว่า    ‘เมื่อเราให้ทานนี้    กิตติศัพท์อันงาม    ย่อมขจรไป’
 ๘.    ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต    และปรุงแต่งจิต


อยากทราบว่า การให้ทาน แบบที่ 8 นั้น มีวิธีการอย่างไรครับ
 ถึงจะให้ทานนั้น เป็นเครื่องประดับจิต หรือปรุงแต่งจิต เท่านั้นครับ

 ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม ธรรมวิจารณ์ ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 09:10:12 am »
0
ลองค้นดูความหมาย ในพระไตรปิฏก มีเท่านี้นะครับ

ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต  ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน  เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐานทั้งสอง 

(องฺ.อฏฺฐก.อ.  ๓/๓๑/๒๕๓)


อยากทราบในการประดับจิต ปรุงแต่งจิต เพื่อการภาวนากรรมฐาน นั้นทำอย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2011, 09:11:45 am โดย บุญสม »
บันทึกการเข้า

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 10:55:02 am »
0
น่าจะหมายถึง การให้ทาน โดยการให้ด้วยเคารพ และ เป็นการสละ ด้วยความเต็มใจในทานโดยที่ไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน ปล่อยให้เป็นไปตามกลไก ของกุศลเองนะครับ

 การให้ทาน แบบนี้ จัดว่าเป็นการให้ทาน ขั้นโลกุตตระ เลยนะครับ
 เคยอ่านในหัวข้อ ทานูปฏินิสสัคคาทาน ในเว็บนี้นะครับ แต่จำกระทู้ไม่ได้ ครับ

  :coffee2: :s_good:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 06:56:21 pm »
0


บุคคลทั่วไปหมายเอาว่า เรามี เราเป็น หน่วงถือสำคัญเอาทุกสิ่ง อย่างนี้เช่นนี้เป็นของหนักเจริญจิตได้ยาก ดังนั้นพึง

ควรปลดภาระหนักด้วยการ สละ ผละ วาง อย่ามั่นหมายสำคัญว่าของเรา จิตนี้จึงจะปลอดพ้นเครื่องหน่วงหนักคลาย

เบาสุขเสพอยู่ด้วยจิตนี้ อยู่ด้วยสุขโสมนัสนี้ อันอกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้นอย่างนี้

มุนีทั้งหลายย่อมสรรเสริญ


“อย่าหมายสำคัญสิ่งใดใดว่าของเรา”



http://www.kmitl.ac.th/~kskittiw/tumma/good.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2011, 07:08:56 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 10:17:52 am »
0
การให้ทาน เช่นนี้ ก็เพียงวางอารมณ์ ว่าเราได้สร้างกุศล โดยที่หวังสิ่งตอบแทน เีพียงแต่ทำว่าเพราะเป็นกุศล
การทำอย่างนี้เป็น มหากุศล นะครับ เป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไปทำไม่ได้ ง่าย ๆ นะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 10:04:13 pm »
0
พระไตรปิฎก(สยามรัฐ) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)
 [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
             ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
             ๒. ให้ทานเพราะกลัว
             ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
             ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
             ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
             ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่
จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
             ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะ
ระบือไป
             ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015


อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร

บทว่า คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน. บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียว นิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทำสักการะถวายทาน ย่อมไม่ลำบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่งการให้ ด้วยประการฉะนี้.

               เหตุทั้งหลายมีความกลัวเป็นต้น แม้ในคำเป็นต้นว่า ให้ทาน เพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้. บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคำติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่า บุคคลผู้นี้เป็นผู้ไม่ให้ (ทาน) เป็นผู้ไม่กระทำ (สักการะ) ชื่อว่าความกลัว.

               สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่า บุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน.
               สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ในอนาคต. สองบทว่า สาหุ ทานํ ความว่า บุคคลย่อมให้ (ทาน) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว.


    หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺกํ ทานํ เทติ ความว่า
    บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ และเพื่อเป็นบริขารของจิตในสมถะและวิปัสสนา.

     จริงอยู่ ทานย่อมกระทำจิตให้อ่อนได้.
     อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนกว่าเราได้แล้ว.
     อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่าเราให้แล้ว.
     ทานย่อมกระทำจิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ ด้วยประการฉะนี้.

     เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่าทาน).
     เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                         การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว    
                         สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลงด้วยทานและวาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.
                         

               ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=8


     ขอให้พิจารณาข้อความสีแดงที่ขีดเส้นใต้ โดยเฉพาะพุทธพจน์ที่ว่า

     "การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว  สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลงด้วยทาน"

     รอสักระยะหนึ่งก่อน ผมจะมาคุยแนวทางปฏิบัติอีกที
:49:
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2011, 01:05:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 01:11:45 pm »
0
แสดงว่าพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราทำทาน ที่ใจให้มากขึ้น

เพราะส่วนของการให้สิ่งของ มีวันหมด  ก็อาจจะมีถูกใจ หรือไ่ม่ถูกใจ

ส่วนการให้ด้วยวาจา ก็อาจจะมีถูกใจ หรือไ่ม่ถูกใจ

แต่การให้ที่สมบูรณ์ คือต้องวางจิต ให้เป็นกลาง วางเฉยกับ การให้ เอแล้วทำอย่างไรหนอ

ในการวางจิต ที่ไม่ให้พอใจกับทาน ที่ทำ.... เป็นแต่เครื่องประดับจิต

 อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยตัวอย่าง ให้เข้าใจด้วยคะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 01:57:13 pm »
0
 
ลองค้นดูความหมาย ในพระไตรปิฏก มีเท่านี้นะครับ

ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต  ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน  เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐานทั้งสอง 

(องฺ.อฏฺฐก.อ.  ๓/๓๑/๒๕๓)


อยากทราบในการประดับจิต ปรุงแต่งจิต เพื่อการภาวนากรรมฐาน นั้นทำอย่างไร

       ในการเดินจิตของกรรมฐานมัชฌิมาฯ สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนจะกำหนดฐานจิต (ฐานใดฐานหนึ่งในห้าฐานที่มีอยู่) ก็คือ การอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี

    การสัมปยุตธรรม คือ  การตามระลึกถึงองค์ธรรม ในธรรมใดธรรมหนึ่ง เช่น ตามระลึกถึง"บุญกุศล"
เมื่อสัมปยุตจนเต็มเปี่ยม จะทำให้จิตประกอบด้วยความผ่องแผ้ว "ทำให้กายและจิตมีอานุภาพสูงขึ้น"


    ขั้นตอนการอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี มีหลักอยู่ข้อหนึ่งว่า
    สำหรับบุคคลผู้ที่เปี่ยมไปด้วย "ทาน" หรือปฏิบัติในศีลในธรรมอยู่บ้าง ให้ทำการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมา
โดยให้ตามระลึกย้อนไปไม่เกิน ๓ วัน
จากนั้นให้กล่าวคำอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี


    กล่าวโดยสรุปก็คือ การระลึกถึงทานทำให้จิตเรามีความผ่องแผ้ว ทำให้จิตมีอานุภาพสูงขึ้น เหมาะแก่การเจริญกรรมฐาน ดังนี้แล

    ขั้นตอนและคำอธิบายต่างๆที่กล่าวมา ผู้ที่มาขึ้นกรรมฐานกับพระอาจารย์จะทราบดี พระอาจารย์จะอธิบายให้ฟังพร้อมไปกับการปฏิบัติ

     :s_good: :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2011, 02:03:31 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


   ask1 ask1 ans1 ans1
   แนะนำครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ