ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กัมมัฏฐาน ๓ ยุค  (อ่าน 3509 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
กัมมัฏฐาน ๓ ยุค
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 11:14:28 am »


ประณามพจน์ปฐมบท
(ประณาม ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี.)

    บทความนี้เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้บันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่สุด ในประวัติศาตร์ของชาติสยามที่ผ่านมาเพราะเป็นการดำรงรักษาวิธีการกล่อมเกลา จิตใจเพื่อยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมที่พระเถรานุเถระแต่ครั้งอดีตได้บำเพ็ญ ฝึกฝน เป็นการฝึกจิตระดับเจโตวิมุติที่เพียบพร้อมทั้งสมาธิที่เป็นบาทฐานของอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เหนือปกติธรรมดาและหากน้อมปฏิบัติตามมรรคมีองค์- ๘ ก็จะเห็นแจ้งในสัจธรรมได้ไม่ยากเป็นทางประเสริฐที่อาจทำให้ผู้ก้าวไปบรรลุ

     ความสำเร็จได้ประโยชน์ในสองส่วน เป็นทั้งตันตระ(การบำเพ็ญเพื่ออิทธิฤทธิ์) และพุทธธรรมที่โบราณจารย์ได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่หลอมรวมกันอย่างลงตัว การการปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาในชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมานับแต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนว ปฏิบัติแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

     ไม่ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)

     แม้พระอมตเถระที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
     พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
     หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
     หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
     ซึ่งที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่า ท่านเหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใด




    บทความนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความเมตตาข้อมูลจากท่านพระครู สังฆรักษ์ (วีระ)ฐานวีโร แห่งวัดราชสิทธาราม(พลับ) กทม. ที่ ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆอย่างมิรู้เบื่อหน่ายต่อคำซักไซ้ไล่เรียงของผู้เขียน

     แม้ท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากกิจทางพระศาสนาเพียงใดก็ตาม ด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ของพระคุณเจ้าท่านนี้ที่มุ่งมั่นในการดำรงรักษามรดก ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นเอกเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสุวรรณภูมิให้คง อยู่เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป เป็นการช่วยการรักษาแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามรอยเท้าบูรพาจารย์ แต่ครั้งอดีตนับล่วงได้ ๑๘๐๐ ปี

     อานิสงส์ประการใดที่ได้จากการรักษา เผยแพร่ มรดกพุทธธรรมอันยอดยิ่งนี้ขอจงสัมฤทธิ์ ผลแก่บูรพาจารย์ บุพพการี ผู้มีบุพกรรมร่วมกันทั้งส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรม เทพยดานับถ้วนทั่วจากภูมิมนุษย์จนพรหมโลกจรดขอบจักรวาล ตลอดจนญาติกัลยาณมิตร
     สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพภูมิจงโปรดสำรวมจิตตั้งมั่นในสัมมาทิฎฐิ น้อมใจรำลึกคุณพระบรมศาสดาศรีศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้แล้ว

    อนุโมทนาในกุศลเจตนาครั้งนี้จะก่อเกิดเป็นมหากุศล ให้ทุกท่านถึง “ธรรม” ถ้วนทั่วทุกตัวตนเป็นผู้ถึงสุขที่แท้พ้นภัยภายนอกและภายในทุกกาลสมัยเทอญ




ความเป็นมาของเจโตวิมุตติพระกรรมฐานแบบลำดับ

      แต่ครั้งพุทธกาลที่พระบรมศาสดาศรีศากยมุนีสมณโคดมยังทรงพระชนม์ชีพทรง อุตสาหะสั่งสอนให้กุลบุตรทั้งหลายฝึกสมาธิ ตั้งสมาธิ ยังสมาธิอบรมสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ได้มรรคได้ผล อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ทางมรรคผลจะตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ ปี

      มีปรากฏในคัมภีร์จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถาแห่งภิกขุนีขันธกะว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ก่อนมาตุคามได้บรรพชา เพราะเหตุบัญญติครุธรรมไว้ก่อน จึงทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี

      เมื่อล่วงพุทธการได้ ๕๐๐ ปี พระภิกษุณีจะหมด
      เมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑๐๐๐ ปีแรก จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ
      เมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒๐๐๐ ปีแรก จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก
      เมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓๐๐๐ ปีแรก จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระอนาคามี
      เมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔๐๐๐ ปีแรก จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระสกิทาคามี
      เมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕๐๐๐ ปีแรก จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระโสดาบัน


      มรรคผลอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี แต่เพศภิกษุยังมีไปอีกนาน ไม่มีกำหนดกาล
     เมื่อเพศภิกษุหมด คำสอนของพระพุทธเจ้าเพียง ๑ คาถา ไม่มีใครจำได้เรียกว่า ๑ พุทธันดร คือหมดเขตพระพุทธเจ้าหนึ่งองค์


      ในคัมภีร์ปัญจปสูทนี อรรถกาแห่งมหาสุญญตาสูตรอันมีในอุปริปัณณาสก์ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสได้ไว้ว่า ถึงเมื่อเราตถาคตได้ปรินิพพานไปแล้วอย่างนั้นก็ดี กุลบุตรทั้งหลายผู้ยินดีแล้วใน เอกภาพ คือ ความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสุญตาสูตรนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะแล้ว ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏทุกข์ได้จนตลอด ๕๐๐๐ ปี ดังนี้




ใน ๕๐๐๐ ปีนี้ การสอนกัมมัฏฐานการบอกกัมมัฏฐานแบ่งออกเป็น ๓ ยุค

   ๑. ยุคที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ คือ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มีฐานาฐานญาน เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นปริโยสาน
   ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยประการทั้งปวง
   ดังนั้นกัมมัฏฐานที่ถือเอาในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นจึงสมควรเพราะ การมีกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ พระองค์ทรงรู้จริยาในปัจจุบันและจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อน ๆ ของพระองค์ และของผู้อื่น


   ๒. ยุคของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ พระองค์ พระมหาสาวกองค์ใดยังทรงชีพอยู่ ก็เรียนเอากัมมัฏฐานในพระมหาสาวกองค์นั้น และพระมหาสาวกบอกกัมมัฏฐาน ย่อมบอกแต่ทางที่ตนได้บรรลุเท่านั้นเพราะวิสัยของพระมหาสาวกมีประมาณน้อย

   ดังที่พระพุทธองค์ตรัส แก่พระมหากัสสป เมื่อตอนที่พระมหากัสสปตรวจดูการจุติ และการเกิดของสัตว์ทั้งหลายอยู่ เมื่อพระองค์ทรงทราบจึงตรัสแกพระมหากัสปว่า
  “ชื่อว่าการจุติและการเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายแม้อันพุทธญาณไม่กำหนด การรู้สัตว์เหล่านั้นไม่ใช่วิสัยของเธอ (คือพระมหากัสสป) เพราะวิสัยของเธอมีประมาณน้อย ส่วนการรู้การเห็นสัตว์ทั้งปลายผู้จุติและเกิดอยู่โดยประการทั้งปวง เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น”

   ๓. ยุคเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหาอสีติสาวกปรินิพพานแล้ว พระภิกษุทั้งหลายจะบอกกัมมัฏฐานแบบลำดับเท่านั้น การเรียนทั้งหมดว่าควรเอากัมมัฏฐานไหนเรียนก่อนเรียน หลังเมื่อเรียนครบลำดับแล้ว จึงเลือกเรียนเอากัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามจริตหรือจริยาอีกที เรียกว่า "เรียนแบบสันโดษ"

     เหตุที่เรียนแบบลำดับเพราะสงฆ์สาวกรุ่นหลังๆ จะรู้จริตหรือจริยาของตนเองและของผู้อื่นก็แต่จริตหรือจริยาของตนและของผู้อื่น ก็แต่จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ

    อีกทั้งภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวกนิพพานแล้ว ท่านเคารพในพระพุทธพระธรรมและพระอสีติมหาสาวก และรู้ประมาณในวิสัยของท่านเอง




     ดังนั้น จึงสอนกัมมัฏฐานของผู้อื่นด้วย"กัมมัฏฐานแบบลำดับ"
     ผู้เรียนแบบลำดับจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า กัมมัฏฐานกองไหน
     จะต้องกับ "จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ" ของตนเอง


    เมื่อรู้แล้ว จึงเอากัมมัฏฐานที่ต้องกับจริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆของตัวเอง เมื่อรู้แล้วจึงเอากัมมัฏฐานที่ต้องกับจริตหรือจริยามาเรียน เรียกว่า "เรียนแบบสันโดษ"

     กัมมัฏฐานแบบลำดับนี้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อหลังตติยสังคายนาในสมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช โดยส่งพระโสณกเถรและพระอุตรเถรมายังสุวรรณภูมิ โดยการเล่าเรียนสืบ ๆ กันมา ยังไม่มีการจดบันทึก

     การเรียนแบบลำดับนี้สืบทอดเรื่อยๆ มาจนถึงยุคกรุงสุโขทัย มากรุงศรีอยุธยา และครั้งกรุงสุโขทัยนั้น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการนำมาเผยแพร่ด้วยโบราณาจารย์กล่าวว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นคัมภีร์ปฏิบัติที่เน้นปริยัติ จึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานในสมัยนั้นมีความรู้ทั้งทางปฏิบัติและ ปริยัติ ภาคปฏิบัติดี จึงมีความรู้เชี่ยวชาญมาก

      เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ ได้อาราธนาพระอธิการสุก วัดท่าหอยแขวงกรุงเก่า มากรุงเทพ ฯ
      เมื่อท่านมานั้น ได้นำตำราสมุดข่อยไทยดำบันทึกกัมมัฏฐานแบบลำดับมากรุงเทพฯ ด้วย แล้วรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งท่านให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบแผนตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี เป็นพระภิกษุผู้ถือตามโบราณจารย์กัมมัฏฐานแบบลำดับ ด้วยความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์สาวกแต่ปางก่อน

      พระองค์ท่านก็เรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับมาจนครบทุกลำดับ แล้วจึงเลือกเรียนเอาเมตตาพรหมวิหาร ที่ท่านเห็นว่าตรงกับจริตของท่าน จนท่านได้มรรค ได้ผล
      ฉะนั้น โบราณาจารย์ทางกัมมัฏฐานแต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการ รักษาการเรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับไว้เป็น ๓ คาบว่า
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
 
       



      หลวงปู่สุก(ไก่เถื่อน)ท่านก็นับเป็นพระลัชชีรูปหนึ่งที่รักษาแบบแผน ประเพณีกัมมัฏฐานแบบลำดับจนถึงสมัยปลายรัชการที่สอง ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ ปรากฏว่ามีผู้ตั้งตัวเป็นผู้บอกกัมมัฏบานกันมากแต่ไม่มีการรักษาแบบแผน รักษาวงศ์ รักษาประเพณี ของพระกัมมัฏฐานแบบลำดับไว้สอนตามคติของตัวเองไม่เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อริยสาวกแต่ปางก่อน

      ซึ่งหากพิเคราะห์ดูก็ปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบันอยู่ดาษดื่น บางรายเป็นเด็กยังไม่เดียงสาก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์บอกกัมมัฏฐาน ซ้ำร้ายยังอวด ฤทธิ อวดเดชที่ไม่เหมาะสมกับจริยวัตรของนักปฏิบัติที่จะไม่แพร่งพรายหรืออวดอ้างผลการปฏิบัติ

      เพราะจะเป็นอุปกิเลสทำให้ผลปฏิบัติที่ได้เสื่อมถอนและไม่ก้าวหน้า เป็นธรรมจริยะที่เหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติต้องเคร่งครัดนับแต่โบราณที่อนุญาตให้ แสดงผลการปฏิบัติได้เฉพาะกับผู้เป็นอาจารย์เท่านั้น
      ผู้ที่หลงเลื่อมใสย่อมอาจารย์กัมมัฏฐานประเภทรู้เอง-คิดเอง-เดาเอาเหมาเข้า ข้างตัวเช่นนี้เป็นผู้น่าสงสารที่ลูบคลำพระพุทธศาสนาอย่างผิดทาง จึงไม่อาจรับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่


      ในขณะนั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ซึ่งต่อมาได้เผยแพร่สืบต่อกันมาเรื่อยๆอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย


ที่มา http://www.ounamilit.com/b08_tantra.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.ounamilit.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.rmutphysics.com/,
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 11:27:17 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

paitong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 103
    • ดูรายละเอียด
Re: กัมมัฏฐาน ๓ ยุค
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2012, 06:53:42 pm »
เรื่่องนี้ก็น่าอ่านสำหรับ สมาชิกใหม่ ทุกท่านนะครับ ใครยังไม่ได้อ่านควรอ่านนะครับ
ผมอ่านแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับที่ พระเดชพระคุณ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน พระองค์ท่านได้นำมาถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ รักษากันมาถึงปัจจุบันครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า