ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วันนี้คือวันปีใหม่....คือวันตรุษไทย....ใครรู้บ้างครับ  (อ่าน 2800 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วันนี้คือวันปีใหม่....คือวันตรุษไทย....ใครรู้บ้างครับ

วันที่ 22 มีนาคม 2555 เป็นวันตรุษไทยมาแต่โบร่ำโบราณ ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า และในวันพรุ่งนี้คือ 23 มีนาคม 2555 จะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มต้นศักราชใหม่ตามจันทรคติ...

วันนี้ แหละครับ วันที่ 22 มีนาคม 2555 เป็นวันตรุษไทยมาแต่โบร่ำโบราณ ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า และในวันพรุ่งนี้คือ 23 มีนาคม 2555 จะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มต้นศักราชใหม่ตามจันทรคติ....อ่ะ..อ่ะ...อย่าเพิ่งตกใจหรือสงสัยไปเลย ครับ ว่าทำไมจึงมาขึ้นปีใหม่กันตอนนี้ แล้วเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในเดือนหน้า หรืออีกเพียง 20 วันเท่านั้นจะเป็นเทศกาลอะไร
 
ทั้งนี้ ทั้งนั้นคนไทยโบราณเรานับวัน เดือน ปี กันตามจันทรคติมาแต่ดั้งเดิม คือนับเอาการโคจรของพระจันทร์เป็นหลัก ในการคำนวณวันต่อ มามีการเปลี่ยนแปลงมานับเอาการโคจรของพระอาทิตย์มาเป็นหลักแทน จึงเรียกว่า สุริยคติ การกำหนดวันต่างๆจึงไม่ตรงกัน พูดง่ายๆว่า ถ้านับวันทางจันทรคติแล้ว งานหรือพิธีเดียวกันในแต่ละปีจะตกลงในวันที่ที่ไม่ตรงกันเลยในแต่ละปี

จะคลาดเคลื่อนกันไปมาเหมือนวันตรุษจีนของชาวจีนซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ในทางคตินิยมของจีน ก็จะนับเอาวันทางจันทรคติเป็นหลัก ทำให้วันตรุษจีนในแต่ละปีไม่ตรงกัน พอขึ้นปีใหม่ฝรั่งคือ 1มกราคมทีไร ก็ต้องคอยสอบถามกันให้วุ่นวายไปมาว่า ตรุษจีนปีนี้จะตรงกับวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร 

แต่ถ้าหากใช้การนับทางสุริยคติเมื่อไหร่ วันที่ของงานนั้น พิธีนั้น ก็จะตรงวันทุกปี เช่นเทศกาลสงกรานต์ก็จะตกวันที่ 13-14-15 ของทุกปี สามารถจดจำได้ง่าย ไม่ต้องไปเที่ยวไล่เปิดปฏิทินที่มีข้างขึ้นข้างแรม

คำว่า"ตรุษ" นั้น เป็นคำที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า"ตัด" หรือ “ขาด” จึงมีความหมายว่า วันตรุษไทยคือวันตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดหรือจบไป ส่วนอีกความหมายหนึ่ง คือ ความยินดี ความรื่นเริงบันเทิงใจ คือการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความสดใสยินดีนั่นเอง
 


วันตรุษไทยจะกำหนด ตามจันทรคติ คือวันแรม 14 และแรม 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น1ค่ำ เดือน 5   รวม 3 วัน
  ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายไว้ว่า
  "เทศกาลเนื่องในเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4"
  ดังนั้นในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา จึงใช้เทศกาลตรุษเป็นหมายกำหนดการสิ้นปีเก่าและเริ่มต้นปีใหม่


โดยวันแรกคือแรม 14 ค่ำนั้น ถือเป็นวันดา จะมีการจับจ่ายซื้อข้าวของ เตรียมประกอบอาหาร รวมไปจนถึงการเก็บกวาดบ้านช่อง ตากที่นอน หมอน มุ้ง ซักผ้าผ่อนทั้งหมดให้สะอาดเรียบร้อย ถือเป็นการเคลียร์บ้านช่องตอนสิ้นปีเก่า เพื่อรอเตรียมรับปีใหม่

ส่วนวันที่ 2 คือวันแรม 15ค่ำ เดือน 4 จะถือเป็นวันเนา เป็นวันที่ทำบุญทำทานหรือว่าด้วยเรื่องกุศลกรรมทั้งหลาย ครั้นถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1ค่ำ เดือน 5  จึงถือว่าเป็นวันเถลิงศก เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่หรือปีใหม่ จะเป็นการเฉลิมฉลองและรื่นเริงกัน

ใน ช่วงเทศกาลตรุษนั้น ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกวันตรุษ ส่วนทางราชสำนักจะเรียก พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ พูดง่ายๆคือการทำบุญวันสิ้นปี หรือทำบุญส่งท้ายปีเก่า ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการการนับวันจากเดิมตามจันทรคติ มาเป็นสุริยคติ ทำให้วันสิ้นสุดปีและวันเริ่มต้นปีขยับเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังคงนับและฉลองวันตรุษตามคตินิยมเดิม รวมถึงวันตรุษใหม่ คือวันตรุษสงกรานต์ด้วย

พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เป็นพระราชพิธอันเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร บ้านเมือง พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในตลอดจนอาณาประชาราษฎรทั่วทั้งประเทศ เป็นพระราชพิธีใหญ่ ที่รวมพระราชพิธีย่อยๆเข้าไว้ด้วย คือ พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์ และพระราชพิธีโหมกุณฑ์

การเฉลิมฉลองเทศกาลสิ้นปีเก่า คือเดือน 4 กับเทศกาลเริ่มต้นปีใหม่ คือเดือน 5 จึง สลับสับสนกันเพราะมีระยะเวลาใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีความหมายและขั้นตอนการปฏิบัติที่เกือบเหมือนกัน  กับทั้งพระราชพิธีของหลวง คือ สัมพัจฉรฉินท์ก็ยังคงมีประกอบอยู่ด้วย ตรุษเดิมก็มีและ ตรุษสงกรานต์ก็มีอยู่เช่นเดิม

นอกจากนั้นยังมีการพ่วงเอาพระราชพิธีโสกันต์หรือโกนจุกเข้ามาด้วยในบางปี โดยกำหนดให้ลงในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 คือวันแรกของเทศกาลตรุษอีกด้วย และหากมีญาติผู้ใหญ่พี่น้องล้มตายลงก่อนหน้านี้ ก็นิยมจัดการปลงศพหรือเผาผีให้เสร็จสิ้นไปก่อนวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ตามคติตรุษเดิม

อันเป็นที่มาของคำว่า"เผาผีเดือนสี่" และในช่วงเดือน 5 ตอนต้น ก็มีพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือพิธีถือน้ำแทรกเข้ามาอีก ยิ่งทำให้เกิดความหนาแน่นและวุ่นวายสับสนมากยิ่งขึ้น



ต่อมาในรัชกาล ที่ 3 ยังทรงเพิ่มพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนหรือปีใหม่จีนขึ้นอีกด้วย ในเดือนยี่ หรือเดือนสาม ซึ่งพอถึงรัชกาลที่ 4 ก็ยังทรงเพิ่มพระราชพิธีสังเวยเทวดา สมโภชเครื่องเลี้ยงโต๊ะปีใหม่ขึ้นอีก ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5

ซึ่งถือเป็นวันเถลิงศกหรือขึ้นปีใหม่ ในเทศกาลตรุษเดิม จึงทำให้มีหลายพระราชพิธี และหลายกิจกรรม เกิดขึ้นสับสนวุ่นวายในช่วงเวลาการนับวันสิ้นสุดปีและวันเริ่มต้นปีระหว่าง จันทรคติกับสุริยคตินี้


ครั้นถึงรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้เลื่อนวันขึ้นปีใหม่จากเดิม ที่เริ่ม 13 เมษายน มาเป็น 1 เมษายนแทน  จึงต้องมีการพระราชพิธีเพิ่มขึ้นโดยจัดทั้งวันที่ 1 เมษายนที่กำหนดขึ้นใหม่ และวันที่ 13 เมษายน ที่เป็นวันสงกรานต์และเป็นวันปีใหม่ดั้งเดิม ทำให้เกิดงานพระราชพิธีและงานเฉลิมฉลองต่างๆแน่นติดต่อเนื่องตามๆกันไปหมด ราษฎรเองก็มีทั้งยึดเดิมและเพิ่มใหม่ ไม่ได้ตัดรอนทอนวันงานพิธีและเฉลิมฉลองต่างๆแต่ดั้งเดิมลงเลย

    เมื่อ ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ พระราชพิธีเถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัตน์สัตยา ทั้ง 3 พระราชพิธีเข้าด้วยกัน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
    โดยกำหนดตามสุริยคติ ถือเอาวันที่ 28 มีนาคมเป็นวันเริ่มต้น จนถึงวันที่ 3 เมษายนเป็นวันสิ้นสุด และยังโปรดเกล้าฯให้งดงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ในวันที่ 13 เมษายนที่เคยมีมาแต่เดิมด้วย


    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่7 ทรงเพิ่มพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์สำหรับเจ้านายขึ้น ในวันแรกของพระราชพิธีตรุษสงกรานต์

    ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดี ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบโลกสากล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดเป็นพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ เป็นเวลา 3 วัน

    โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม และวันที่ 1-2 มกราคมของปีถัดไป และโปรดให้จัดรูปแบบรายละเอียดของการพระราชพิธีนี้ตามแบบพระราชพิธีตรุษ สงกรานต์ที่เคยมีมาแต่เดิม อันได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศล การเสด็จพระราชดำเนินสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  การเวียนเทียน  การสดัปกรณ์ผ้าคู่พระบรมอัฐิสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระอัฐิสมเด็จพระบรมวงศ์  พระบวรอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิพระราชวงศ์ เป็นต้น


ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเทศกาลสงกรานต์ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า " พระราชพิธีสงกรานต์" เริ่มตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน ซึ่งถือปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้

    ส่วนวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันเป็นวัน เถลิงศก หรือวันขึ้นปีใหม่ ในเทศกาล ตรุษไทย ที่มีมาแต่ตั่งเดิมนั้น ก็ได้ทรงพระกรุณาฯ ให้จัดการพระราชพิธี สังเวยพระสยามเทวาธิราช โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสร็จพระราชิดำเนิน ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
   เจ้าพนักงานจะได้เชิญเทวรูปพระสยามเทวาราช เทวรูปต่างๆ และ มาประดิษฐานรวมกัน ณ โต๊ะหน้าหอ พระสุราลัยพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะถวายสักการะพระสยามเทวาราช เทวรูปต่างๆ และ เทวดากลางหาว

จากนั้นโปรดเกล้าฯให้มีการประโครมคล้องชัย สังข์ แตรปีพาทย์ ทำเพลงสาธุการ นาฏศิลป์รำถวายมือ จบแล้วแสดงละคร เมื่อเสร็จสิ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดง แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าหน้าที่จะลาถอน เครื่องสังเวยและเชิญพระสยามเทวาธิราชรวมทั้งเทวรูปต่างๆขึ้นประดิษฐาน ณ แท่นบูชาเดิม หลังจากธูปหางที่ทรงปัก ณ เครื่องสังเวย มอดหมดดอกแล้วถึงเป็นที่สิ้นสุดพิธี 

จะเห็นได้ว่าเทศกาลเฉลิมฉลอง วันตรุษไทยแต่โบราณ อันเปรียบเสมือนวันสิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ซึ่งนับตามจันทรคติเป็นหลัก ซึ่งปี พ.ศ. 2455 นี้ตรงกับวันที่ 21,22และ 23 มีนาคม จึงอาจเปรียบได้ว่าวันที่ 21(เมื่อวานนี้) เป็นวันสิ้นปี วันที่ 22 (วันนี้) เป็นวันเนา และวันที่ 23 (วันพรุ่งนี้) เป็นวันเถลิงศกหรือวันขึ้นปีใหม่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างยืดยาวมากมาย

จนท้ายที่สุดได้จางหายคลายความสำคัญลงไปอย่างสิ้นเชิง คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันน้อยคนนักที่จะทราบและเข้าใจความเป็นมา ผมจึงขอนำมาเล่าไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่นี้ และในโอกาสนี้ ผมจึงขอกราบอวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ในวันเริ่มต้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณดั้งเดิม คือวันที่ 23 มีนาคม 2555 คือในวันพรุ่งนี้เป็นต้นไปครับ..... สวัสดีปีใหม่ครับ

เรื่องโดย เผ่าทอง ทองเจือ
www.facebook.com/paothong.pan
www.facebook.com/paothong.thongchua


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/247310
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่เคยทราบมาก่อนเลยครับ เลยไม่มีความรู้สึกตื่นเต้น เหมือนเดือน ธันวาคม มกราคม เพราะว่าไม่มีข่าวลุ่้นอะไร โบนัส เงินเดือน อะไรก็ไม่มี เหมือนคนไทยก็ไม่สนใจเหมือนกันว่าวันนี้คือวันอะไร ไม่มีรายการทีวีกล่าวถึง ความสำคัญ คิดว่าวันนี้ รู้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ใด ๆ ครับ เรียกว่าในสายเลือดตอนนี้ ไม่ปรากฏวันตรุษไทยเลยครับ จำได้แต่วันเชงเม้ง ครับ และ จำได้แต่วันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตรุษไทย ก็คือวันเริ่มต้นนับหนึ่ง แล้ว วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ ไทย หรือไม่ ?

  :41: :41: :41:
บันทึกการเข้า

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตรุษไทย ก็คือวันเริ่มต้นนับหนึ่ง แล้ว วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ ไทย หรือไม่ ?

  :41: :41: :41:


ต้องอ่านตั้งแต่ ต้นถึงจะทราบ เกี่ยวกับการนับแบบ จันทรคติ และ สุริยคติ อันที่จริงถ้านับแบบ จันทรคติ ดูพระจันทร์ ก็จะเห็นว่า วันจะเคลื่อนไปไม่ตรงนะครับ ดูอย่างวันพระ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ

 แต่ถ้านับแบบ สุริยคติ ก็จะมีวันแน่นอน คือ 365-366 วัน ครับ เอาเป็นว่า แบบ สุริยคตินั้น มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า จันทรคติ นะครับ


  :coffee2: :coffee2: :coffee2:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ