ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐาน แต่ก็มีความสงสัยอยู่ว่า จะได้ผลจริง หรือไม่  (อ่าน 4314 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐาน แต่ก็มีความสงสัยอยู่ว่า จะได้ผลจริง หรือไม่
คือมีความรุ้สึกเหมือนไม่ศรัทธาอยู่คะว่า จะได้สำเร็จ ฌาน หรือ ญาณ หรือไม่ ?

 ซึ่งส่วนตัวก็มีความรุ้สึกว่า เหมือนทำให้ขาดความตั้งใจในการปฏิบัติลงไปคะ

 เหมือนไม่แน่ใจ ไม่ทราบควรปรับจิต ทิฏฐิ อย่างไรดี คะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๔.  มหายมกวรรค]
                 ๘.  มหาตัณหาสัขยสูตร

เล่มที่ 12 หน้าที่ 450



  ความดับแห่งกองทุกข์
            [๔๑๔]    ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก    ไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง    ย่อมเป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น    และมีจิตหาประมาณมิได้๓อยู่    ทราบชัดถึงเจโตวิมุตติ    ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมตามความเป็นจริงเธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว    เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง    สุขก็ตาม    ทุกข์ก็ตาม    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม    ก็ไม่เพลิดเพลิน    ไม่บ่นถึง    ไม่ติดใจเวทนานั้น    เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน    ไม่บ่นถึง    ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่    ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงดับไป    เพราะความเพลิดเพลินดับ    อุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ    เพราะภพดับ    ชาติจึงดับ    เพราะชาติดับ    ชรา    มรณะ    โสกะ    ปริเทวะทุกข์    โทมนัส    และอุปายาสของภิกษุนั้นจึงดับ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้อย่างนี้
            ฟังเสียงทางหู    ...
            ดมกลิ่นทางจมูก    ...
            ลิ้มรสทางลิ้น    ...
            ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย    ...
 รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว    ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก    ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง    ย่อมเป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น    และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ทราบชัดถึงเจโตวิมุตติ    ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมตามความเป็นจริง    เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว    เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง    สุขก็ตาม    ทุกข์ก็ตาม    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม    ก็ไม่เพลิดเพลิน    ไม่บ่นถึง    ไม่ติดใจเวทนานั้น    เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน    ไม่บ่นถึง    ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงดับไป    เพราะความเพลิดเพลินดับ    อุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    เพราะภพดับ    ชาติจึงดับ    เพราะชาติดับ    ชรามรณะ    โสกะ    ปริเทวะ    ทุกข์    โทมนัส    และอุปายาสของภิกษุนั้นจึงดับ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น    ย่อมมีได้อย่างนี้
            ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติ๑โดยย่อของเรานี้อนึ่ง    เธอทั้งหลายจงทรงจำสาติภิกษุบุตรชาวประมงว่า    เป็นผู้ติดอยู่ในข่ายคือตัณหาและกองแห่งตัณหาใหญ่”
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว    ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค    ดังนี้แล



  ความลังเลสงสัย เป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์ ทุกคนดังนั้น วิจิกิจฉา ลังเลสงสัย ต่อสภาพการภาวนา ย่อมมีเป็นธรรมดา แต่ความลังเลสงสัย จะดับได้ด้วยการภาวนา เพราะภาวนาก็จะเห็นในการภาวนา เพราะอุปสรรคในการภาวนา จริง ๆ คือการไม่ได้ภาวนา ที่สำคัญจะภาวนาอย่างไร ควรภาวนาไปตามลำดับ เป็นไปตามลำดับเริ่มต้นที่ลำัดับควรจะเป็น มิใช่ภาวนาแต่น้อยหวังผล คือ นิพพาน หรือกระทำน้อย หวัง ไปถึง ฌาน อะไรอย่างนั้นไม่ได้ ดังนั้นความเพียร คือการประคอง ในการภาวนาจึงต้องมี ดังนั้นจะดับความสงสัยได้ ก็ต้องภาวนาไปตามลำดับ ในส่วนนี้กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีขั้นตอนรายละเอียดให้ก่อนแล้ว

    ลำดับที่ควรเข้าถึงในการภาวนา เบื้องต้นก็คือ ปีติ  ต่อ จากนั้นเป็น ยุคล และก็ สุข เป็นอุปจาระจิต จากนั้น เป็น อุคคหนิมิติ ปฏิภาคนิมิต อัปปนาจิต จากนั้น จิตก็เข้าสู่ ลำดับ วิปัสนา ตามลำดับ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ก็จะทำให้เราสิ้น วิจิกิจฉาได้ คือ ความสงสัย ลังเลต่อการภาวนานี้ได้


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2012, 02:28:16 pm โดย translate »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ความลังเลสงสัย เป็นสิ่งที่คู่กับมนุษย์ ทุกคนดังนั้น วิจิกิจฉา ลังเลสงสัย ต่อสภาพการภาวนา ย่อมมีเป็นธรรมดา แต่ความลังเลสงสัย จะดับได้ด้วยการภาวนา เพราะภาวนาก็จะเห็นในการภาวนา เพราะอุปสรรคในการภาวนา จริง ๆ คือการไม่ได้ภาวนา ที่สำคัญจะภาวนาอย่างไร ควรภาวนาไปตามลำดับ เป็นไปตามลำดับเริ่มต้นที่ลำัดับควรจะเป็น มิใช่ภาวนาแต่น้อยหวังผล คือ นิพพาน หรือกระทำน้อย หวัง ไปถึง ฌาน อะไรอย่างนั้นไม่ได้ ดังนั้นความเพียร คือการประคอง ในการภาวนาจึงต้องมี ดังนั้นจะดับความสงสัยได้ ก็ต้องภาวนาไปตามลำดับ ในส่วนนี้กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีขั้นตอนรายละเอียดให้ก่อนแล้ว

 อันนี้ก็หมายความว่า ต้องภาวนา ใช่หรือไม่คะ เพราะถ้าไม่ภาวนา ก็ไม่สิ้นสงสัย ดังนั้นอยากเรียนถาม 2 คำถามคือ
 
    1.ความสงสัย ที่มีก่อนการภาวนา นั้น ควรจะทำให้สิ้นอย่างไร คะ
 
    2.ความสงสัย ในระหว่างที่ ภาวนา นั้น ควรรับมืออย่างไร คะ

 :25: :25: :25: :c017:
   
บันทึกการเข้า

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ช่วยตอบเพิ่มเติมจาก คำถาม คุณ sunee ด้วยนะครับ สำหรับทีมงาน มัชฌิมา ( ไม่ทราบว่ามีกี่ท่าน )

   :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เชิญศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ช่วยตอบข้อนี้ด้วยครับ ผมว่าคุณ Sunee คงรอคำตอบอยู่นะครับ

  :smiley_confused1: :49:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันนี้ก็หมายความว่า ต้องภาวนา ใช่หรือไม่คะ เพราะถ้าไม่ภาวนา ก็ไม่สิ้นสงสัย ดังนั้นอยากเรียนถาม 2 คำถามคือ
 
    1.ความสงสัย ที่มีก่อนการภาวนา นั้น ควรจะทำให้สิ้นอย่างไร คะ
 
    2.ความสงสัย ในระหว่างที่ ภาวนา นั้น ควรรับมืออย่างไร คะ



   1.ความสงสัย ที่มีก่อนการภาวนา นั้น ควรจะทำให้สิ้นอย่างไร คะ

     ความสงสัย ที่มีก่อนภาวนา นั้น ควรจะทำให้สิ้นด้วย ศรัทธา ในกรรมฐาน และเชื่อมั่นต่อกรรมฐาน เมื่อเรารู้จักกรรมฐาน เรียนกกรรมฐานแล้ว เมื่อจะภาวนาก็ควรจะต้องศรัทธา เชื่อมั่น เคารพและปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมฐาน  เชื่อมั่นเป้าหมายในการภาวนาของเรานั้น จะลุล่วงสำเร็จได้ด้วยการภาวนา

     2.ความสงสัย ในระหว่างที่ ภาวนา นั้น ควรรับมืออย่างไร คะ

    ความสงสัยในระหว่างที่ภาวนา ควรรับมือด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนของกรรมฐาน ลำดับพระกรรมฐาน การภาวนาย่อม่มีผลภาวนา มากบ้าง เล็กบ้าง น้อยบ้างเป็นไปตามลักษณะการภาวนา เพราะการภาวนาย่อมมีผลการภาวนาทุกครั้งที่ภาวนา ไม่ใช่ไม่มี ดังนั้น ความสงสัยส่วนนี้จะหมดไปเมื่อเข้าถึงผลของการภาวนา เริ่มตั้งแต่ ปีติ ยุคล สุข อุเบกขา ธรรมทั้งหลายจะดีขึ้นไปตามกำลังจิตของเรา

  เจริญพร / เจริญธรรม

  ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 22, 2012, 01:35:35 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ