ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ  (อ่าน 5298 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ ผู้ที่จะใช้ต้องผ่านการฝึกกรรมฐาน มาอย่างไร ถึงจะใช้ได้ครับ
  :c017:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 03:29:10 am »
0
ตรงนี้ไม่รู้ว่าเรียนตอนไหน ยกตัวอย่าง สมเด็จพระสังฆราช(สุก)ไก่เถื่อน เป็นต้น
        ตอนที่หลวงปู่ท่านเรียน เห็นหลวงปู่ท่านพบพระอริยะเถราจารย์ทางนิมิตทั้งนั้นเลย.ถ้าสนใจในประวัติหนังสือหลวงปู่ของคณะ 5 มีมาก มีหลายยุค ถึงสามแผ่นดินทีเดียว อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ลองตามไปที่วัดราชสิทธาราม จะได้กราบท่านด้วยได้เพิ่มบารมี
        ถ้าไปวันที่ 4 มิถุนายน (วันวิสาขบูชาก็ดี) ได้ไปร่วมฉลองพระพุทธมัชฌิมา พระประจํากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ
       ใครได้ไปจะได้บุญมากที่สุดในวันนั้น....เพราะเป็นวันฤกษ์ดีที่สุดประจําปีนี้.
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 09:33:35 am »
0
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค] มาติกา

เล่มที่ 31 หน้า 5

     [๕๐]    ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ    ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน    ด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา    ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ    (ญาณที่ ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง  ๆ    ได้)


Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 09:35:46 am »
0
      พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
              ๑.  ญาณกถา  ๕๐.  อิทธิวิธญาณนิทเทส

 
 พระไตรปิฏก เล่มที่ 31 หน้าที่ 160

               ๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
                  แสดงอิทธิวิธญาณ
            [๑๐๑]    ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย    (ของตน)    และจิต(มีฌานเป็นบาท)    เข้าด้วยกัน    ด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญาชื่อว่าอิทธิวิธญาณ    เป็นอย่างไร

            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้   
      เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
             (สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)   
      เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
             (สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
      เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร   
            (สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
     เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร   
            (สมาธิที่เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)   
     
        ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิตทำให้เป็นจิตอ่อน    ควรแก่การงานในอิทธิบาท    ๔    ประการนี้   
       
         ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง    ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง   
         น้อมจิตไปด้วยอำนาจกายบ้าง    น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตบ้าง   
         อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกายบ้าง    อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตบ้าง   
         ครั้นน้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย    น้อมกายไปด้วยอำนาจจิต   
         อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย    อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตแล้ว   
         ย่อมให้สุขสัญญาและลหุสัญญาหยั่งลงในกายอยู่   
         เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น    บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว   
         ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ    เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

 
           [๑๐๒]    คือ    คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้    หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้แสดงให้ปรากฏก็ได้    หรือให้หายไปก็ได้    ทะลุฝา    กำแพง    ภูเขา    ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้    ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้    เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้    นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้    ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้    ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

            ชื่อว่าญาณ    เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะมีสภาวะรู้ชัดเพราะเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่า    ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย    (ของตน)และจิต    (มีฌานเป็นบาท)    เข้าด้วยกันด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญาชื่อว่าอิทธิวิธญาณ
 
               อิทธิวิธญาณนิทเทสที่ ๕๐ จบ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 09:43:26 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 09:38:13 am »
0
  พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค  [๗.  อิทธิปาทสังยุต]
              ๓.  อโยคุฬวรรค  ๒.  อโยคุฬสูตร

 
พระไตรปิฏก เล่มที่ 16 หน้าที่ 414

  “อานนท์    พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์เป็นผู้ไม่เคยมีและประกอบด้วยธรรมที่ไม่เคยมี

            สมัยใด    ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย    ก้าวลงสู่สุขสัญญา    (ความหมายรู้ว่าสบาย)    และลหุสัญญา    (ความหมายรู้ว่าเบา)    ในกายอยู่    สมัยนั้น    กายของตถาคตย่อมเบากว่า    อ่อนกว่า    ควรแก่การงานกว่า    และผุดผ่องกว่า
            ก้อนเหล็กที่ไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมเบากว่า    อ่อนกว่า    ควรแก่การงานกว่า  และผุดผ่องกว่า    แม้ฉันใด

            สมัยใด    ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย    ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่    สมัยนั้น    กายของตถาคตย่อมเบากว่า    อ่อนกว่า    ควรแก่การงานกว่า    และผุดผ่องกว่า    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

            สมัยใด    ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย    ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่    สมัยนั้น    กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย    ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง    คือ    คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้    หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้    ฯลฯ    ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

            ปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเบาถูกลมพัดก็ลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศโดยไม่ยากเลยแม้ฉันใด

            สมัยใด    ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย    ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่    สมัยนั้น    กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย    ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง    คือ    คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้    หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้    ฯลฯ    ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 09:45:50 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุขสัญญา และ ลหุสัญญา ใช้ในตอนไหน ของกรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 09:53:03 am »
0
สุขสัญญา    (ความหมายรู้ว่าสบาย)    และลหุสัญญา    (ความหมายรู้ว่าเบา)

   ทั้งสองประการนี้ เป็นคุณธรรม ของผู้ที่มีสมาธิ อันประกอบด้วยอิทธิบาท 4 เป็น ฐาน

  สุขสัญญา ลหุสัญญา สามารถกำหนดได้ตั้งแต่ อุปจาระฌาน ขึ้นไปตามอำนาจจิต พลานุภาพขึ้นอยู่กับอำนาจจิตการเข้าถึง เป็นการแบ่งไว้เป็น 3 ระดับ ตาม วสี ( ความชำนาญ ) คือ ตรี โท เอก

   เรียนตอนไหน ?
   อันนี้ตอบได้ว่า ลหุสํญญา และ สุขสัญญา จะเริ่มรู้ชัดแจ้ง ที่ กรรมฐาน มัชฌิมา ห้องที่ 2 ่คือ พระยุคลธรรม 6 ประการ และจะชัดเจนแจ่มแจ้งเพิ่มขึ้นไปตามลำดับกำลัง ฌานสมาธิ เป็นหลัก

   ผู้ที่จะใช้ต้องเจริญ อิทธิบาทสมาธิ จึงจักใช้ได้

  เจริญธรรม


   
   ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.kunkroo.com
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา