ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเรามีทุกข์ เกิดขึ้น ควรจัดการกับทุกข์ อย่างไร จึงจะถูกวิธีของชาวพุทธครับ  (อ่าน 9829 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเรามีทุกข์ เกิดขึ้น ควรจัดการกับทุกข์ อย่างไร จึงจะถูกวิธีของชาวพุทธครับ
ตามหัวข้อเลยนะครับ
 ขอเชิญเพื่อน ๆ ร่วมกัน ช่วยแจกธรรม เป็น ทาน ด้วยครับ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

Yotsatorn Pomthong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 5
  • ศิล สมาธิ ปัญญา
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เริ่มจาก การปล่อยวาง ก่อนนะคับ

  ธรรมะ ในขั้นปล่อยวาง ก็ คือการเห็นการเกิดขึ้นของอารมณ์ตามธรรมชาติ เห็นการปรุงแต่งไปตามกลไกของธรรมชาติ และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวบังคับบัญชาธรรมชาตินั้นๆ

อารมณ์ที่มันเกิดขึ้นตามกลไกของธรรมชาตินั้น มันก็เกิดซ้ำๆเช่นนี้มานานแล้ว และขณะนี้ก็ยังคงเกิดอยู่ และก็จะยังเกิดขึ้นไปอีกในอนาคตต่อๆไป

เบื่อบ้างไหม? กับอารมณ์ที่รุ่มร้อน วิตกกังวล หดหู่ หม่นหมอง มึนซึม ที่มันเกิดขึ้นกับเราซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า มานานเหลือเกินแล้ว ทำให้จิตเราหวั่นไหวขึ้นลงไปกับอารมณ์เหล่านี้ไม่เคยหยุดนิ่ง ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ยิ่งอยากสงบ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งอยากเลิกกังวล ก็ยิ่งคิดยิ่งกังวลไม่เคยหยุด อารมณ์ก็ยิ่งร้อนรุ่มทุรนทุราย จะหาความสงบไม่ได้เลยในภาวะนั้นๆ

เพราะเราห้ามมันไม่ได้ เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร แต่เรารู้จักมันได้ เราเรียนรู้มันและเข้าใจมันตามที่มันเป็นนั่นแหละ ที่จะทำให้เราปล่อยวางมันได้ เพราะว่าเราอยู่ใกล้กับมันมานานเหลือเกิน และตอนนี้มันก็ยังอยู่กับเรา ถ้าคิดว่า ยังต้องอยู่กับมันไปอีกไม่รู้จะนานเท่าไรนั้น ถ้าต้องขึ้นลง วิ่งตามมันไปเรื่อยๆ แค่คิดก็เหนื่อยเหลือเกิน

เรามาลองปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้นกันดูบ้าง ดังที่หลวงพ่อชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร) ท่านได้อุปมาอุปไมยไว้ว่า



อารมณ์ทั้งหลายเหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้าย

ถ้าไม่มีอะไรขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษมันจะมีอยู่

มันก็ไม่แสดงออกมา ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน


เพราะอารมณ์ มันก็ต้องเกิดอย่างนั้นอยู่แล้ว ตามเหตุปัจจัย เราแค่ยืนดูอยู่ห่างๆ แม้มันจะยังเกิดขึ้นอยู่ แต่มันก็ทำอะไรเราไม่ได้ เหมือนแม่น้ำที่กำลังเชี่ยวกราก ถ้าเรายืนดูอยู่บนฝั่ง เราก็จะเห็นน้ำนั้นมันก็ไหลเชี่ยวไปเรื่อยๆ ปะทะกับสิ่งต่างๆ แล้วพัดพาสิ่งนั้นๆไปด้วย เมื่อเรายืนดูเราก็เห็น แต่ถ้าเผลอลงไปในน้ำนั้น แม้จะว่ายน้ำเป็นก็ยังคงต้องเปียกปอน เหน็ดเหนื่อยในการว่ายเข้าหาฝั่งอยู่ดี


 ถ้าเรายังไม่รู้เท่าทันธรรมชาติของอารมณ์ ก็จะเข้าไปพยายามที่จะดับมัน ไม่ให้มันร้อนรน เศร้าหมอง และถ้าพยายามแล้วมันไม่ดับ ก็จะมีตัวเราเป็นผู้ทุกข์ตามอารมณ์นั้นๆ แต่ถ้ารู้ และเข้าใจในอารมณ์นั้นๆ ว่ามันก็เกิดเช่นนั้นเอง ไม่เข้าไปห้าม ไม่เข้าไปขวาง ไม่เข้าไปดับมัน มันก็ทำอะไรเราไม่ได้ ตัวเราผู้ทุกข์ก็ไม่มี แม้มันกำลังแสดงอารมณ์หดหู่ เศร้าหมอง วิตกกังวล ก็ดูความหดหู่เศร้าหมองวิตกกังวลนั้นตามที่มันกำลังเกิดขึ้นอยู่


 แต่มิใช่ว่า เข้าใจแล้วอารมณ์หดหู่ เศร้าหมอง วิตกกังวล จะหายไปนะคะ มันไม่หายไปหรอกในขณะนั้น เพราะแม้เราเข้าใจกลไกการปรุงแต่งของมันแล้วก็ตาม แต่เพราะมันเกี่ยวเนื่องกันหลายส่วน แต่ละส่วนมันก็ทำงานตามกลไกของมัน เมื่อคิดกังวลแล้ว มันก็ต้องมีอารมณ์หดหู่เศร้าหมองวิตกกังวลตามสารเคมีนั้น แม้เราจะรู้จะเข้าใจ แต่ก็ยังมีละอองของภาวะอารมณ์ขณะนั้นมาครอบคลุมอยู่ดี จึงได้แต่มองเห็นภาวะอารมณ์ขณะนั้นๆ แต่ไม่ได้เป็นความทุกข์นั่นเอง


เหมือนเรารู้สึกร้อนๆหนาวๆคล้ายจะเป็นไข้ แต่ยังไม่ได้เป็น ก็กินยาแก้ไข้หวัด แล้วทำงานต่อ แต่ยานั้นมีผลทำให้เกิดอาการง่วงนอน เพราะฤทธิ์ของยามีอาการง่วงนอนร่วมอยู่ด้วย ดังนั้น แม้เราจะไม่อยากนอน อยากทำงาน แต่เมื่อกินยาเข้าไปแล้ว สารเคมีออกฤทธิ์แล้ว ก็ทำให้เราง่วงนอน อยากนอน และต้องหลับในที่สุด แม้จะอยากหรือไม่อยากก็ต้องหลับอยู่ดีเพราะสารเคมีทำงานตรงไปตรงมา

คนที่ต้องผ่าตัด เมื่อเขาให้ดมยาสลบ แม้จะฝืนอย่างไรก็ต้องสลบอยู่ดี ร่างกายไม่สามารถต้านทานต่อสารเคมีที่มาทำปฏิกิริยากับกลไกในร่างกายได้
   
ดังนั้น ถ้าเราศึกษาให้ดี ดูให้ดี เรานำวิทยาศาสตร์ที่วิเคราะห์วิจัยแล้ว มาประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ร่างกายของเรา ขันธ์ห้าของเรา อารมณ์ของเราที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ แต่ละนาทีแล้ว ก็จะเห็นกลไกที่ ทำไม? ธรรมะจึงบอกว่า ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อคิดเสียใจ อารมณ์ก็หดหู่ เศร้าหมอง มันรองรับกันตรงไปตรงมาตามเหตุตามปัจจัยอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดา


ถ้าเป็นแค่ผู้ดู ที่ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับภาวะอารมณ์ในขณะนั้น ความหดหู่เศร้าหมอง ความเบื่อหน่าย ความห่อเหี่ยวใจ ที่เราคิดว่าเป็นความทุกข์ หรือแม้แต่ความพออกพอใจ ที่เราคิดว่าเป็นความสุขนั้น เมื่อดูก็จะเห็นว่ามันเป็นเพียงภาวะอารมณ์ลักษณะหนึ่ง กำลังดำเนินกลไกอยู่ในขันธ์ 5 ขณะนี้เท่านั้น และเมื่อเห็นมันจริงๆ อารมณ์เหล่านี้ก็ทำอันตรายเราไม่ได้เช่นกัน แม้มันจะยังคงแสดงอาการหดหู่เศร้าหมองเช่นนั้นอยู่ก็ตาม อย่างที่หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านได้อุปมาอุปไมยไว้ว่า

งูเห่า ก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น

ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมด

สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป

สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป

เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น

ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไป

มันก็เลื้อยไปทั้งที่มีพิษอยู่ในตัวมันนั่นเอง


ธรรมะ ก็คือธรรมชาติ การมองเห็นความเป็นธรรมชาติของขันธ์ห้าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ก็เพราะเข้าใจในกลไกของมันนั่นเอง

ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ในกระบวนการขันธ์ห้านั้น ก็เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่มีมุมมองที่กว้างขึ้นอีกในรูปแบบวิทยาศาสตร์ผสมผสานกันไปด้วย จึงเป็นในรูปแบบของวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่สามารถเข้าใจได้เป็นรูปธรรม คือมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสนับสนุนกลไกของขันธ์ห้าที่ได้กล่าวไว้นั่นเอง

บางครั้ง การมองเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงนั้น ก็สามารถทำให้เราเข้าใจถึงกลไกของธรรมชาติ และไม่อยากที่จะไปบังคับบัญชาให้ธรรมชาติเป็นไปอย่างที่เราต้องการ

ธรรมชาติย่อมปรุงแต่งให้แต่ละบุคคล เป็นไปตามแต่ละเหตุปัจจัยนั้นๆที่เขาได้สะสมมา ไม่ได้มีใครจะอยากเป็นหรือไม่อยากเป็นเช่นนั้น




ดังนั้น การเกิดมาตามกรรม ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ เพราะเมื่อยังมีตัวตนของตนอยู่ สิ่งที่กระทำย่อมถูกเก็บไว้เพื่อประมวลผลต่อไป


เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อตั้งโปรแกรมบวกเลขไว้ แล้วเราก็ใส่ตัวเลขไปเรื่อยๆ +15 -28 +32 -16 +88 +90 -43 -2 17 +343 -51 +8... แล้วบันทึกต่อไปเรื่อยๆ เมื่อกดให้คำนวณยอดสุทธิของข้อมูลตัวเลขที่ประมวลผลออกมาได้เท่าไร จะเป็นบวก หรือติดลบ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็รายงานออกมาถูกต้องตามนั้น เราก็เช่นกัน เมื่อยังมีความเป็นตัวเรา ของเราอยู่ การบันทึกกุศล หรืออกุศลเข้าไว้ เมื่อประมวลผลออกมาอย่างไร กลไกของธรรมชาติก็ย่อมจัดสรรให้ไปอยู่ในแบบฟอร์มขันธ์ห้านั้นๆ ตามการประมวลผลออกมานั่นเอง ครับ...  
บันทึกการเข้า

Be-boy

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับคุณ  Yotsatorn Pomthong  มาแจกธรรมเป็นคนแรกเลยนะครับ

 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
ออกกำลังกายเคลื่อนไหว เป็นสติครับ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่าน Yotsatorn Pomthong เป็นประโยชน์อย่างสูงครับ ขอน้อมนำไปปฏิบัติด้วยเช่นกันครับ

ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ แนวทางผมอาจจะไม่ตรงหรือถูกต้องโดยจริง เพราะผมเป็นเพียงแค่ผู้เริ่มรับรู้เรียนรู้ศึกษาเท่านั้นครับ แต่วิถีที่ผมปฏิบัติอยู่เป็นแนวทางที่เห็นและรู้จากการปฏิบัติดังนี้นะครับ

- เวลาทุกข์นั้น ให้รู้สภาพความเป้นทุกข์ว่าเป็นอย่างไร รับรู้ รู้สึก นึกคิด สภาพกายใจเป็นอย่างไร ทรมานมากแค่ไหน
- เรียนรู้ถึงต้นตอ หรือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ มองรู้ว่าเราทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพระไม่สมปารถนาอย่างไร ไม่ชอบ ไต้องการ ไม่พอใจยินดีในสิ่งใด จึงเกิดความทุกข์นั้นๆขึ้นมา
- มองดูทางดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วคือ มีกุศลสติ คิดดี พูดดี ทำดี สิ่งนี้จะเกิดได้ต้องอาศัย ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นเบื้องต้น
- เมื่อเรารู้สภาพที่เป็นทุกข์แล้วว่ามันทรมานยังไง เจ็บปวดกายใจขนาดไหน และ ทุกข์เพราะอะไร เพราะเอาจิตไปติดข้องใจที่ตรงไหน เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เพราะเราเอาจิตเอาใจไปผูกติดข้องเกี่ยวฝากความสุข สำเร็จ พอใจยินดีไว้ที่ตรงไหนจึงเกิดทุกข์ เมื่อรู้ว่าทุกข์จากสิ่งใด ก็ดับมันที่นั่น
- เมื่อถึงสภาวะที่รู้เหตุแห่งทุกข์และทางดับมากขึ้นแล้ว แล้วทำให้แจ้งในสิ่งนี้แล้ว มีความพิจารณาเห็นชอบตามจริงจนแน่วแน่แล้ว จะเข้าถึงความเห็นชอบที่ว่า ไม่มีประโยชน์อันใดหากไปติดข้องใจ หรือ ผูกติดข้องใจไว้กับสิ่งนั้นๆ เพราะมันมีแต่ความทุกข์ แล้วอุเบกขาจิตจะเข้ามาถึงเอง ซึ่งอุเบกขาจิตนี้จะต้องมีความสงบไม่เอนเอียง มีความผ่องใส ซึ่งจะต่างกับความเฉยเมย เมินเฉย ละเลย
- เมื่อมีอุเบกขาที่มีความเป็นกุศลจิตเป็นที่ตั้งของอารมณ์ความรู้สึกแล้ว ให้พิจารณาดูสภาพความรู้สึกนึกคิดในขณะจิตที่เป็นอุเบกขานั้นๆว่าเป็นอย่างไร ระลึกรู้ดูสภาพจริงๆที่เป็นปรมัตถธรรมของอุเบกขาจิตนั้นว่าเป็นอย่างไร เพราะสิ่งใดๆเมื่ออุเบกขาจิตเกิด เราจึงไม่ทุกข์ไม่ทรมาน ไม่อัดอั้นใจ ไม่คับแค้นใจ หรือ ขุ่นมัวใจ ไม่เกิดความสุขยินดีจนสำคัญมั่นหมายพอใจมันไว้ แล้วทะยานอยากได้เพราะใคร่ที่จะได้ในสิ่งนั้น พิจารณาให้เห็นแจ้งตามจริงรู้แจ้งตามจริงถึงความเป็นไปของจิตนั้นก็จะเห็นสภาพธรรม เห็นธรรมในธรรม(ธรรมชาติ)

หลวงปู่ดุลย์ท่านกล่าวไว้ว่า

เพราะคิดจึงไม่รู้
หยุดคิดจึงรู้
แต่จะรู้ได้ก็อาศัยความคิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2012, 04:32:20 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในอรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต มุนิสูตร เล่าไว้ว่า อุปกาชีวก เมื่อแยกทางกับพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อนาควิกคามในวังคชนบท นายบ้านเห็นอุปกาชีวกก็คิดว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่นุ่งผ้า และความจริงอุปกาชีวกก็เป็นนักบวชประเภทไม่นุ่งผ้า เมื่อนายบ้านคิดว่าอุปกาชีวกเป็นพระอรหันต์ ก็เชื้อเชิญให้ไปที่บ้านของตน เลี้ยงดูด้วยอาหารอย่างดี แล้วก็เชิญให้อยู่เป็นประจำ จะถวายปัจจัยมิให้เดือดร้อน พร้อมกับจะสร้างที่อยู่ให้อยู่ด้วย อุปกาชีวกก็รับคำเชิญและก็ได้อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น
          นายบ้านนั้นมีอาชีพเป็นนายพรานเนื้อ เมื่อเวลาจะออกไปล่าเนื้อกับบุตรและน้องชาย ก็สั่งธิดาชื่อนางฉาวา ให้ช่วยดูแลอุปกาชีวกแทนตน
          นางฉาวานั้นมีรูปร่างสวยงาม วันรุ่งขึ้นอุปกาชีวกมารับอาหารที่บ้านของนางฉาวา ได้เห็นนางฉาวาเกิดความพอใจ เฝ้าคำนึงถึงนางจนไม่กินอาหาร คิดแต่ว่าถ้าเราไม่ได้นางฉาวา เราจะต้องตาย แล้วก็ไม่รับอาหารอีกเลย
          ครั้นวันที่ ๗ นายพรานเนื้อกลับมา ทราบว่าอุปกาชีวกมารับอาหารเพียงวันเดียวแล้วไม่มาอีก ก็เข้าไปถามว่าท่านไม่สบายหรือ อุปกาชีวกก็ได้แต่ถอนใจไม่กล้าบอก
          ครั้นนายพรานเนื้อขอร้องว่า “จงบอกเถิด ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างเพื่อท่าน”
          อุปกาชีวกจึงบอกว่า “ถ้าเราได้ธิดาของท่านจึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็เห็นจะตาย”
          นายพรานจึงถามว่า “ท่านรู้จักศิลปะคือการทำมาหากินอะไรบ้าง”
          อุปกาชีวกบอกว่า “ไม่ทราบ”
          นายพรานก็ถามว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจะครองเรือนได้อย่างไร”
          อุปกาชีวกก็ว่า “แม้เราไม่รู้ศิลปะอันใดเราก็มีแรงพอที่จะช่วยท่านหาบเนื้อ ขายเนื้อได้”
          นายพรานก็ชอบใจ จึงหาผ้าขาวมาให้ผืนหนึ่ง อุปกาชีวกก็นุ่งขาว คือพ้นจากเพศนักบวชมาเป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาว นายพรานก็ยกธิดาของตนให้เป็นภรรยา
          อุปกะกับนางฉาวามีบุตรด้วยกันคนหนึ่งชื่อ สุภัททะ เวลาที่สุภัททะร้องไห้ นางฉาวาก็แอบปลอบบุตรด้วยคำที่แสดงความเยาะเย้ยอุปกะว่า “ลูกคนหาบเนื้อเอ๋ย อย่าร้องไห้ไปเลย ลูกคนหาบเนื้อเอ๋ย อย่าร้องไห้ไปเลย”
          อุปกะได้ฟังก็เกิดความละอายใจจึงพูดว่า “เราจะไปหาสหายของเราชื่อว่า อนันตชินะ”
          นางฉาวาเห็นอุปกะไม่พอใจก็ยิ่งพูดจาเยาะเย้ยต่างๆ นานา จนกระทั่งอุปกะทนไม่ได้ ในวันหนึ่งก็ได้หนีภรรยาไปทางมัชฌิมประเทศ เที่ยวถามหาผู้ที่ชื่อว่า อนันตชินะ
          พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณจึงได้ตรัสสั่งว่า ถ้าใครมาถามหาอนันตชินะ ให้พามาเฝ้าพระองค์ เมื่ออุปกะมาถึงวิหารเชตวัน ถามหาอนันตชินะ พระภิกษุก็พาไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เขาได้ฟังแล้วก็บรรลุเป็นพระอนาคามีในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจบลง
          นี้ก็เป็นเรื่องราวของอุปกาชีวกตามที่มีมาในอรรถกถา มุนิสูตร ที่คุณผู้ถามอยากทราบ
          แต่ในเถรีคาถาแสดงคาถาของพระอรหันตเถรีรูปหนึ่งชื่อว่า จาปาเถรี ว่าเคยเป็นภรรยาของอุปกาชีวก เป็นธิดาของพรานเนื้อ ซึ่งชื่อภรรยาของอุปกาชีวก ในพระไตรปิฎกกับอรรถกถาจึงขัดกัน อรรถกถาชื่อว่า นางฉาวา พระไตรปิฎกชื่อ นางจาปา ความจริงชื่อก็ใกล้เคียงกัน อาจเกี่ยวกับการถ่ายทอดกันมาจนอักษรเพี้ยนไปก็ได้ นี่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น
________________________________________

ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-

          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔

          มหาวรรค  ภาค ๑

          เรื่องอุปกาชีวก
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=4&A=282&Z=307



นำเรื่องอุปกาชีวก มาให้ท่านได้พิจารณากันนะครับ

   1. อุปกาชีวก ลงทุนแก้ผ้า เป็นนักบวช ศาสนาหนึ่ง ได้สนทนากับพระพุทธเจ้า แต่ก็ไม่บรรลุธรรม
   2. เมื่อไปเห็น สตรี นางหนึ่ง ก็ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สุดท้าย ก็ยอม ออกไปเป็นคนหาบเนื้อ
   3. เมื่ออยู่ด้วยกัน ก็ถูกวาจาแดกดัน แต่ก็มีลูกหนึ่งคน สุดท้ายทนไม่ได้ ( คือ เบื่อโดนด่า ) ก็ยอมกลับไปหาพระพุทธเจ้า
   4. เมื่อฟังธรรม ครั้งนี้ จึงได้บรรลุเป็น พระอนาคามี
   5. แต่กว่าจะบรรลุธรรม ลูกก็โตแล้ว กี่ปีเข้าไป
   

 
สำหรับเรื่องนี้ ต้องขอบคุณพระอาจารย์ ทีเคยแนะนำไว้ นะครับ หากคนเรามีทุกข์ แต่ไม่กำหนดทุกข์ ก็ไม่เห็นธรรมคะ



 :25: :25: :25:

บันทึกการเข้า