ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอถามเรื่อง การละพยาบาท กับ กรรมฐาน เกี่ยงข้องกันอย่างไร  (อ่าน 5022 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอถามเรื่อง การละพยาบาท กับ กรรมฐาน เกี่ยงข้องกันอย่างไร ครับ
ผู้ภาวนา กรรมฐาน ละพยาบาท ได้เอง หรือ พยาบาท นั้นไม่ได้มีอยู่แล้วครับ

  :25: :49:
บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รอท่านผู้รู้ ช่วยอธิบาย ด้วยคะ
 :c017: :49:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พยาบาท จัดเป็น นิวรณ์ ส่วนหนึ่งครับ

 ดังนั้น ถ้าเจริญจิตเป็นสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ ขึ้นไป ก็ละ พยาบาท ได้ตั้งแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนกระทั่ง ยุติ ศึกกันชั่วคราว ในระหว่างสมาธิ

  แต่ถ้าจะละให้เด็ดขาด ต้องเจริญ พรหมวิหารกรรมฐาน ครับ ถึงจะละได้จริง ๆ จัง ๆ

  :13:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กระบวนการๆละกิเลส ล้างกิเลส หรือล้างธาตุเสริมธาตุ ในกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลําดับ เริ่มต้นกระบวนการ
    ตอนขึ้นอนุโลมปฏิโลม ธาตุ ได้
    เข้าวัดออกวัด ก็ยิ่งล้างได้มากขึ้น
    เข้าสะกดก็ยิ่งล้างได้มากขึ้น เพราะเริ่มได้เห็นรูปเห็นสีบ้างเห็น ขาวๆดําๆวอบๆแวมๆบ้าง เมื่อ อาโลกสัญญา ดับนานัตสัญญา ก็ตรงตัว ตามพระสูตรไม่ต้องอธิบาย
   ก็คงละเบาบางไปทั้งสามตัว โลภ โกรธ หลง
      ตรงนั้นเป็นช่วงอรูปให้เป็นรูป เป็นช่วงเวทนานุปัสสนา สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็ต้องขึ้นมาให้ดับทั้งหมด
     ตรงนี้คงใกล้อุปจารอยู่รอมร่อ
   ใกล้ขึ้นขณิกา เฉียดแถวๆจะเป็น ปฐมฌาน เมื่อขึ้น ฌานหนึ่ง ปีติยุคคล ดับหมด
   ได้อุคหนิมิตพระโสดา กิเลสเบาบาง
      ปั่นธรรมจักรปฏิภาคนิมิต อุคหนิมิต แปดทิศ สิบทิศ เจริญพรหมวิหารสู่ทิศ ไม่มีประมาณ
      ขอเล่าตามความรู้สึก และที่เคยได้ยินมาประกอบธรรม
        การจะละกิเลสอะไร ก็ต้องมีเหตุที่เป็นความดีอันเป็นกุศล
        ศิลสมาธิปัญญา คือทางมรรคผล
         กรรมฐานมัชฌิมาเรียน เป็นลําดับ
          กิเลสเบาบางเป็นลําดับ
          บรรลุคุณธรรมเป็นลําดับ ตามเหตุ
           ว่ากันไปถูกบ้างผิดบ้าง ตามที่รู้สึก

       
   
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณท่าน aaaa มากคะ
 :c017:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เมื่อจิต เป็น สมาธิ นิวรณ์ ชื่อว่า พยาปาทะ ก็จะสงบลง
เมื่อจิต เห็น ตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะละจากพยาบาท ตามลำดับ ญาณ ได้เอง

 เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ ตอบสั้น นะครับ กระชับใจความจนผมตามไม่ทันเลยนะครับ
  ว่าแต่ นิวรณ์ จะละได้ที่ สมาธิ ตรงไหนครับ

   :smiley_confused1: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิวรณ์จะละได้ที่สมาธิตรงไหน                                                                                   
    เมื่อฝึกสมาธิจน เป็นวิปัสสนาโพชฌงค์๗ ได้
                ก็เพราะมี องค์ที่๖ สมาธิสัมโพชฌงค์ เห็นกิเลสทั้งสาม เหมือนอยู่ในแหในชะลอม ดักไว้ทั้งหมดที่กลางกระหม่อมจอมเพดานประสาท
                                    และก็มีองค์ที่๗ มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ที่โล๊ะกิเลสไปตามความเป็นจริง เพราะเป็นองค์อุเบกขา วางเฉยสละเสียให้สิ้น

 เมื่อได้สมาธิก็ต้องขึ้นวิปัสสนาโพชฌงค์ เมื่อได้โพชฌงค์ก็ต้องลงที่อุเบกขา ยังไงก็ต้องวาง ต้องละ
 
        โพชฌงค์เจ็ดเป็นการรวมมรรคมีองค์แปดที่สมบูรณ์ด้วย
   แล้วขั้นต่อไปก็ว่ากันต่อที่อานาปาน

    หาทางไปนิพพานว่าอยู่ที่ตรงไหน
     
     อ้างจากคําสอนของครูอาจารย์ และวิชาธรรมของหลวงปู่ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน พระปรามาจารย์ วัดราชสิทธาราม วัดพลับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อจิต เป็น สมาธิ นิวรณ์ ชื่อว่า พยาปาทะ ก็จะสงบลง
เมื่อจิต เห็น ตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะละจากพยาบาท ตามลำดับ ญาณ ได้เอง

 เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)

สาธุครับพระคุณเจ้าเป็นคำตอบที่แจ่มแจ้งใจยิ่งนักครับ เป็นประโยชน์อย่างสูงครับ

ขออนุญาตแสดงความคิดเพิ่มเติมนะครับ

- ผู้ใดมีจิตพยาบาทเกิดขึ้น ความอัดอั้นใจ อึดอัดใจ คับแค้นใจ ร้อนรนใจ ขุ่มมัวใจ หมองมัวใจย่อมเกิดขึ้นแก่คนนั้น หาความปกติสุขแก่ตนเองไม่ได้ เพราจิตใจจะโกรธแค้นคอยคิดแต่หาทางอกุศลที่จะทำร้ายเอาคืนแก่อีกฝ่ายอยู่ทุกขณะจิตที่ระลึกถึง
- กัมมัฏฐาน เป็นการปฏิบัติดำรงอยู่ 2 ประการเป็นหลักคือ อบรมให้เกิดกุศลจิต ไม่ปรุงแต่งหรือพ้นจากสิ่งที่เป็นอกุศลจิต ที่เรียกว่า สมถะ และ อบอรมให้เห็นจริง สภาพจริง สภาพปรมัตถธรรม ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า วิปัสนา
- ดังนั้นการกัมมัฏฐาน เมื่อกระทำปฏิบัติสมาธิ กำหนดลมหายใจก็ดี พิจารณาธรรมก็ดี อสุภะก็ดี มรณสติก็ดี ทุกอย่างล้วนกระทำเพื่อดับความคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านใดๆเป็นหลัก เมื่อเกิดสมาธิ ความสงบก็จะเกิดขึ้นตามมา ความขุ่นมัวใจ ติดข้องใจ ลุ่มหลงใดๆจะลดลง เกิืดความสงบผ่องใส เบาโล่งสบายแก่จิตมากขึ้น
- เมื่อปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้วเห็นว่า สิ่งใดๆนี้หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ เอาจิตหรือความสำเร็จสุขไปผูกไว้กับสิ่งใดๆ สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์เสมอ หาประโยชน์ใดๆไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ จิตใจจะเริ่มไม่ติดข้องใจกับสิ่งใดๆมากขึ้น การวางใจกลางๆจะเข้ามาแทนที่อกุศลจิตมากขึ้น
- เมื่อพิจารณาเห็นว่า นี่มันก็เป็นเพราะเอาจิตไปผูกกับสังขาร จิตไปรู้ความปรุงแต่งนั้น ก็เกิดพอใจ ไม่พอใจ เพราะได้จดและจำสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่านี้พอใจ ไม่พอใจ จิตจะเริ่มจับเอาการเสพย์อารมณ์จากการรู้ในสังขารนั้นน้อยลง
- เมื่อเสพย์อารมณ์จากการรู้สังขารน้อยลง จิตก็จะเริ่มเห็นความไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีสิ่งใดๆ สักเป็นแต่ว่าธาตุ สักเป็นแต่ว่ารูปนาม ไม่มีตัวตน ไม่มีชื่อ ไม่มีสิ่งไรๆ สภาพนั้นๆแต่มาปรุจุมกันกอปรกันขึ้นมาแล้วบัญญัติสมมติขึ้น เกิดอุปาทานขึ้น มันจึงทุกข์

ลำดับโดยย่อนี้ จะเห็นว่า กัมมัฏฐาน แต่ละขั้นของการกัมมัฏฐานก็เอื้ออนุเคราะห์แก่จิตให้ดำีรงซึ่งกุศลจิตมากขึ้นตามลำดับ และในขณะเดียวกัน อกุศลจิต ความขุ่นมัวใจ ติดข้องใจ หลงเหม่อลอยจะลดลงตามไปด้วย เห็นประโยชน์ของกัมมัฏฐานไหมครับ และเห็นความสัมพันธ์กันระหว่าง ความพยายาทกับกัมมัฏฐานไหมครับ

เวลาเน็ตหมดแค่นี้ก่อนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2012, 12:05:58 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ