ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดง โดยปรมัตถ์ หรือ สมมุติ  (อ่าน 2883 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


และในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนานี้ พระโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า :-
                                   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าผู้สอนทั้งหลาย
                         ได้ตรัสสัจจะไว้ ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะ ๑ ปรมัตถสัจจะ ๑
                         ไม่มีสัจจะอย่างที่ ๓ พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสมมติ (สังเกต)
                         ชื่อว่าเป็นสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นสมมติของโลก
                                   ส่วนพระพุทธดำรัสเกี่ยวกับปรมัตถ์ ชื่อว่าเป็นสัจจะ
                         เพราะเหตุที่เป็นความจริงของธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
                         สำหรับพระโลกนาถศาสดา ผู้ทรงฉลาดในโวหารเทศนา
                         ตรัสถึงสมมติ มุสาวาทจึงไม่เกิดขึ้น (ไม่เป็นการกล่าวเท็จ)
                         ดังนี้.

               เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ               
               อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคำระบุบุคคล) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
               ๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
               ๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
               ๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
               ๔. เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม
               ๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
               ๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
               ๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
               ๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.

               ขยายความเหตุ ๘ ประการ               
               เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายละอายแก่ใจอยู่ เกรงกลัวบาปอยู่ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาปด้วยหรือ? ดังนี้
               แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า บุรุษ กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร (ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป) ดังนี้. มหาชนจะเข้าใจ ไม่พิศวงงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาวิหารมีพระเวฬุวันเป็นต้น ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายสร้างไว้ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายปลงชีวิตมารดา บิดา พระอรหันต์ ทำโลหิตุปบาทกรรม (ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต) (และ) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ดังนี้. ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายย่อมเมตตา (รักใคร่สัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายระลึกชาติที่เคยอยู่ก่อนของเราได้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการระลึกชาติที่อยู่มาก่อนได้.
               แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานดังนี้ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานด้วยหรือ? ดังนี้.
               แต่เมื่อตรัสว่า บุคคลผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมรับทานดังนี้ มหาชนก็เข้าใจ ไม่พิศวงงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน.
               เพราะว่า ธรรมดาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก ทรงดำรงอยู่ในถ้อยคำของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถาไว้เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลกเสีย.
               ฉะนั้น ท่านองค์นี้ (พระสารีบุตรเถระ) เมื่อจะไม่ให้ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดำรงอยู่ในสมมติของโลก แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทเหล่านี้ ดังนี้ เพราะเหตุเป็นผู้ฉลาดในสำนวนโลก เพราะฉะนั้น บุคคลในที่นี้โปรดทราบตามสมมติเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงปรมัตถ์.
               บทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา (มีอยู่ หาได้) คือ พอมี หาพบตามสำนวนของโลก.
               คำว่า ในโลก คือ ในสัตวโลก.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53&p=1&bgc=lavender#เหตุตรัสบุคคลกถา_๘_ประการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2013, 02:47:36 am โดย vichai »
บันทึกการเข้า