ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิวรณ์ เป็น สิ่งสำคัญในการภาวนา ที่ต้องกำหนดรู้ให้ได้  (อ่าน 3971 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๙.  มหาสติปัฏฐานสูตร]  ธัมมานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
 (การพิจารณาธรรม)
หมวดนิวรณ์
        (๓๘๒)    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่    อย่างไร
      คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ  นิวรณ์  ๕  อยู่
            ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย    คือ    นิวรณ์    ๕    อยู่    อย่างไร
     คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

      ๑.    เมื่อกามฉันทะ    (ความพอใจในกาม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘กามฉันทะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อกามฉันทะภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘กามฉันทะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นและกามฉันทะที่ละได้แล้ว  จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด   ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๒.    เมื่อพยาบาท    (ความคิดร้าย)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘พยาบาทภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อพยาบาทภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘พยาบาทภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยัง  ไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละพยาบาทที่ เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ ได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๓.    เมื่อถีนมิทธะ    (ความหดหู่และเซื่องซึม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า  ‘ถีนมิทธะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อถีนมิทธะภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า    ‘ถีนมิทธะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่ง  ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละ ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ   ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัด เหตุนั้น


     ๔.    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ ภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเราไม่มีอยู่’
การเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้น ต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๕.    เมื่อวิจิกิจฉา  (ความลังเลสงสัย)  ภายในมีอยู่  ก็รู้ชัดว่า    ‘วิจิกิจฉา  ภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า‘วิจิกิจฉาภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้น แล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น


            ด้วยวิธีนี้    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่    หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่    หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่




    ท่านทั้งหลาย ที่พยายามบอกอาตมามาว่า เราควรสนใจเรื่อง ที่สูงกว่า นิวรณ์ เพราะเป็นธรรมที่สำคัญกว่า แต่ถ้าดูจากพระพุทธพจน์ พระสูตรทรงแสดงเรื่องการ เห็นธรรม ต้องผ่านเรื่อง นิวรณ์ ก่อน นะจ๊ะ


 
     ที่นี้มาพูดแสดง เรื่องการรู้
       การรู้ในที่นี้หมาย ถึง สัมปชัญญญะ ที่มีเหตุมาจาก สติ   การรู้ชัด ก้คือ มีสัมปชัญญะ เต็มตัวว่า รู้ชัดว่า

  1. มี หรือ ไม่ีมี นิวรณ์ ทั้งภายใน และ ภายนอก   ( กตญาณ )
  2. การเกิดขึ้น แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเกิด  ( กิจจญาณ )
  3. การเสื่อมไป แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเสื่อมไป  ( กิจจญาณ )
  4. กำหนดรู้ชัดว่า นิวรณ์ ไม่มีแล้ว ทั้งภายใน และ ภายนอก  ( สัจจญาณ )





 
     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2013, 10:44:39 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จิตที่ฟุ้งซ่าน คือ จิต ตกเป็นข้างฝ่ายนิวรณ์ 8 ประการ

 อันประกอบด้วย การระคนด้วยจิต ย้อมจิต ปะปนด้วยจิต ที่เป็นอกุศลธรรม ทั้งปวง นิวรณ์ 8 เป็นสิ่งที่ต้องระงับ
ก่อนปฏิบัติ อานาปานสติ เพราะหากมีอยู่ก็ไม่สามารถที่เจริญ พระอานาปานสติได้บางท่านเข้าใจว่า ระงับด้วย ฌาน ระงับ ด้วยการภาวนา

แต่ นิวรณ์ 8 ข้างต้น สามารถระงับได้ ด้วยการตั้งจิต เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ อธิษฐานจิตได้อย่างถูกต้อง

  ถ้าพิจารณา วิสัชชนา ให้เข้าใจ ง่าย ๆ ไม่ใช่เป็นการระงับ นิวรณ์ ด้วย ฌาน การกล่าวเช่นนี้ กล่าวแบบพราหมณ์  กล่าวแบบพระสุคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สามารถระงับได้ก่อน ที่เป็น ฌาน ส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่ดำเนินในแนว วิปัสสก ดังนั้นการเจริญด้วยอานาปานสติ จึงเป็น ผลสมาบัต ขั้นต่ำ เป็น อเนญชาสมาบัติขั้นสูง อันประกอบด้วย นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ อเนญชาสมาบัติ เจโตสมาธิอนิมิต ดังนั้นถึงจะเป็นฝ่ายเจโตวิมุตติ ก็ต้องเริ่มต้นเหมือนกันกับ วิปัสสก จะไปแตกต่างช่วงของ ญาณด้านปลายเท่านั้น

 โดยการปฏิบัติให้ตรงข้าม ดังนั้น ความเห็นที่ถูกต้อง และ การอธิษฐาน เป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน

ยกตัวอย่าง

 1.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์
   
     เมื่อปุุถุชนเห็นผิด ก็จะติดในข่าย ไม่เห็นความหน่าย ความจางคลาย ไปได้ดังนั้น ธรรมะ คู่ปรับ ก็คือ เนกขัมมะวิตก คือ ความตั้งใจสลัดออก จากกามคุณ

   ถามว่า เห็นโทษของกามคุณ หรือ ก็ตอบว่ายัง เพียงแต่รู้ว่า กามคุณ เป็นเหตุแห่งตัณหา

   ดังนั้น เนกขัมมะ ก็คือการถือ บวช ด้วย ศีล มีข้อห้าม ซึ่งจะระงับได้ นิวรณ์ ด้วยการอธิษฐาน

  ความตั้งใจใน การออกบวช อย่างนี้ ซึ่งเมื่อทำบ่อย ๆ กามฉันทะ ก็จักเบาบางลง และ สงบ ไปชั่วคราวจนกว่าจะได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ดังนี้เป็นต้น

  ดังนั้น นิวรณ์ 8 นั้น ดับได้ด้วย ธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้าม ไม่ใช่ดับด้วย ฌาน หรือ อำนาจ สมาธิแต่ที่จริง เป็นการเจริญ อานาปานสติ ในแนวพระพุทธศาสนา มิฉะนั้น ก็จะเป็นการปฏิบัติ อานาปานสติ นอกพุุทธศาสนา

   ดังนั้น จิตทีั่ฟุ้งซ่าน ย่อมประกอบ ด้วยนิวรณ์ 8 ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ อานาปานสติ

   ส่วนที่ จิตที่สงบระงับ ย่อมประกอบ ด้วยธรรม 8 ประการ ย่อมพร้อมที่จะเจริญภาวนา อานาปานสติ


ดังนั้นในส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนพื้น ฐานในการเตรียมตัว

  หากจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สามารถ กำหนด ลมหายใจเข้า และ ออกได้ เป็นดั่งเช่นที่ท่านทั้งหลาย เคยฝึกกันมาเยี่ยงนั้น แบบนั้น เพราะมุ่งจะฝึก ก็อยู่ในข่าย อุปกิเลส คือ ความเพียรที่มากหรือกล้า เกินไป ก็ไม่สามารถสำเร็จ ในพระอานาปานสติ ได้

  หากจิตสงบระงับ ก็จะสามารถ กำหนด นิมิต ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออกได้ ทั้ง 3 ประการดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ศึกษาและจดจำ ในส่วนของ ธรรม เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์เสียก่อน อย่างพึ่งมุ่งไปรู้

ขั้นตอนส่วนใน กำจัดนิวรณ์ เหล่านั้นให้สงบ

  จะเห็นว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเตรียมจิต ท่านผู้ปฏิบัติมาพร้อมแล้ว ในห้อง พระพุทธานุสสติย่อมระงับนิวรณ์ ด้วยปัญญา อันเกิดแต่องค์สมาธิ  ในระดับ อุปจาระฌาน แล้ว ความพร้อมของผู้ฝึก ในส่วนนี้จึงมีมากกว่า ผู้มาฝึกอานาปานสติ โดยตรง


  เนื่องด้วย อานาปานสติ เป็น กรรมฐาน สำหรับจริต วิตกจริต และ โมหะจริต โดยตรง ถ้าผู้มีวิตกเช่นนี้ก็จะสามารถฝึกได้เข้าใจก่อน ส่วนผู้ไม่มีจริตตรงนี้ ถ้าเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่สามารถ จะฝึกได้ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสกรรมฐาน สนับสนุนเบื้องต้นเรียกว่า อนุสสติ บ้่าง กายคตาสติ สนับสนุนองค์กรรมฐาน จึงทำให้จริต อื่น ๆ นั้นสามารถ ฝึกอานาปานสติได้ ดังนั้นขอให้ท่านผู้ฝึกอย่ารีบร้อน ที่จะเดินในขั้น สโตริกาญาณ แต่ของให้ สร้างธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์แก่ นิวรณ์ ทั้ง 8 ก่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2013, 10:51:05 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

  พระอาจารย์ยังมีธรรม แจก ทุกวันนะครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ