ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปลูกฝัง อุปาทาน จะสมบูรณ์มากในคนที่มีอายุอยู่นาน  (อ่าน 714 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การปลูกฝัง อุปาทาน จะสมบูรณ์มากในคนที่มีอายุอยู่นาน
ส่วนคนที่มีอายุน้อย อุปาทาน ก็จะมีน้อยกว่า
มีเด็กสองคน เกิดวันเดียวกัน อีกคนหนึ่งเป็นลูกสัปเหร่อ อีกคนหนึ่งเป็นลูกเศรษฐี เด็กสองคนนี้โตมาเป็นหนุ่ม อุปนิสัยต่างกัน
เด็กลูกสัปเหร่อ ไม่กลัวผี เพราะสั่งสมอุปาทาน ในเรื่องผี ก็จริงอยู่ แต่ก็สั่งสมพลังจิตในการต่อต้านผีมาด้วย เขาจึงมีวิชาคาถาอาคม ไม่กลัวที่จะจับซากศพ เข้าเตา เข้าหลุม
เด็กลูกเศรษฐี เป็นคนกลัวผี แต่มีนิสัยติดตัวฟุ่มเฟื่อย ไม่ค่อยรักษาเข้าของ เพราะถูกฝังอุปาทานเป็นคนฟุ้งเฟ้อในกามคุณ เขามีวิชาความรู้ตามศาสตร์ของพ่อแม่ คือการค้าขาย ศิลปะป้องกันตัวมีพอใช้ได้
เด็กสองคนใช้เวลาสร้างความคิดทางอุปาทาน ไปคนละแบบ
อุปาทานความคิดนี้เรียกว่า อุปนิสัยจากการฝึกอบรม
แต่ยังมีอุปนิสัยอีกอย่างที่เด็กสองคนนี้มีเหมือนกัน นั่นก็คือ การเจริญภาวนาที่ผ่านมาหลายชาติ ทุกชาติ ก็จะได้เป็นสหธรรมซึ่งกันและกัน ดังนั้นพอทั้งสองคนมีอายุเข้ากลางคน ทั้งสองคนจึงได้มาบวชปฏิบัติธรรมด้วยกันเช่นเดิม อุปนิสัยส่วนนี้เรียกว่า อุปนิสัยติดตัวมาจากทุกภพทุกชาติ
ดังนั้นเวลาตัดกิเลสไม่ได้ มีแต่การตัดกิเลสที่เป็นอุปนิสัยภพชาติปัจจุบัน อย่างที่ฝ่ายปัญญาวิมุตติอธิบาย แต่ เวลาตัดกิเลส มันต้องมีการตัดกิเลสที่เรียกว่า ภพ ชาติ ด้วยส่วนหนึ่งซึ่งเป็นของติดตัวมาจากทุกภพทุกชาติ
อุปาทาน ( ความยึดมั่นถือมั่น ) มีอยู่ 4 อย่าง
 1. กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกามคุณ
2. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในธรรมเนียมในแบบแผนที่ผิดจากทำนองคลองธรรม
3. ทิฏฐุปาทาทาน ความยึดมั่นในความเห็นต่างที่ผิดจากธรรม
4. อัตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยการนึกคิดกล่าวว่าอะไร ๆ ก็เป็นของๆตน เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเรา
อุปาทาน ทั้ง 4 คือสิ่งที่พระโยคาวจรต้องค่อยทำลายไปทีละหน่อย ในรูปแบบของอุปาทาน 4 ก็คือ สังโยชน์ 10 นั่นเอง
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ