ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมเวลานั่งสมาธิ บางคนมีอาการปวดมาก บางคนมีอาการปวดน้อย  (อ่าน 7273 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไมเวลานั่งสมาธิ บางคนมีอาการปวดมาก บางคนมีอาการปวดน้อย บางคนก็ไม่มีอาการอะไรเลย
คือไปนั่งสมาธิ กับเพื่อน ๆมา เห็นบางท่าน ก็นั่งกรรมฐานไปขบกรามไป อีกท่านนั่งไปตัวสั่นมาก ๆ อีกท่านไม่มีอาการอะไร สงบนิ่ง จริง แต่ทุกท่านก็นั่งกรรมฐาน กันครบ 1 ชม. ผมเองหลังจากที่ได้นั่งกรรมฐาน ก็สนทนากันถามกันว่าเป็นเพราะอะไร ?
 
  ท่านที่นั่งขบกราม ตอบว่า ปวดมาก ๆ ปวดกันกบ ปวดเข่า ปวดขา อยากจะร้องไห้ นั่งภาวนาพุทโธ แต่ ปวดไปหมด อยากจะเลิกนั่งแบบนี้ แต่ด้วยยึดถือสัจจะกันก็จะต้องทำให้ได้ตามสัจจะ

  ท่านที่นั่งสั่น ตอบว่าไม่รู้เป็นอย่างไร รู้สึกว่ากายมันขยับไปเอง พยายามห้ามกายไม่ให้สั่นแล้ว แต่กายก็ยังสั่น ก็เลยภาวนา พุทโธ ไป ปล่อยกายสั่นไป ในใจก็อธิษฐานว่าจงหยุดสั่น แต่ก็ไม่หยุดจนกระทั่งออกจากการภาวนาตามเวลา ก็ยังไม่หยุดมาหยุดตอนคลายภาวนา

  อีกท่านตอบว่า นั่งกรรมฐาน ไปแล้ว รู้สึกว่ามันมีความรู้สึกว่า นิ่ง เหมือนคนเดินแล้วอยากหยุดเดิน ยืนอยู่อย่างนั้น ท่านบอกแต่เพียงว่า นิ่งแล้ว รู้สึกดี ถ้าเดินภาวนาอยู่รู้สึกเหนื่อย นิ่งแล้วไม่เหนื่อย เหมือนการหยุดพัก ท่านเลยตอบว่าว่า ชอบสภาวะนิ่ง ๆ อย่างนี้

   เป็นเพราะเหตุใด ที่คนหลายคนนั่งกรรมฐาน ที่เดียวกัน ในสภาวะเดียวกัน ครูเดียวกัน กรรมฐานเดียวกัน แต่ทำไมมีอาการออกไปกันมากมายอย่างนี้ครับ

   :smiley_confused1: :c017:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 08:48:50 am โดย เสกสรรค์ »
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในความคิดผมที่ทำมานะครับอาจจะเป็นทางที่ไม่ถูกต้องนักลองรอคำตอบจากครูบาอาจารย์และผู้รู้ท่านอื่นอีกครั้งนะครับ

1. จิตที่เอนเอียงไปหาอารมณ์ เมื่อจิตตัวนั้นรับรู้อารมณ์สิ่งใด ย่อมเกิดความรู้สึกกับสิ่งนั้นๆที่รับรู้อยู่ตามมาเสมอ

ตัวอย่างเช่น   

- เมื่อนั่งสมาธิผมรับรู้ความรู้สึกบางอย่างที่หน้าอก จิตที่น้อมไปหาอารมณ์นั้นรับรู้สภาวะนั้นอยู่เกิดเป็นความคัน เมื่อคันจิตที่รับการปรุงแต่งอีกตัวก็จะสั่งให้เกา เมื่อมีจิตยั้งไว้ไม่ให้ร่างกายกระทำตามความทะยานอยากนั้น ก้จะเกิดความขัดข้องใจ ขุ่นเคืองใจ เกิดเป็นความรู้สึก อึดอัด อัดอั้นอยู่ ลองคิดตามดูนะครับ มันเป็นอย่างนั้นใช่ไหม
- เมื่อจิตผมจดจ่อกับความรู้สึกคันนั้นอยู่ มีตัวแลเกิดต่อจากตัวรู้นั้น มันจะมองเห็นว่า แม้อาการคันในชั่วขณะหนึ่งก็ว่างจากความรู้สึกคันนั้นๆ แล้วชั่วขณพหนึ่งก็เกิดมาคันอีก จะเกิดดับๆสลับกันไปมาไม่อยู่ ทำให้รู้ว่านี่เองใช้ไหมที่ว่าจิตรับรู้เกิดทีละดวง เกิดแล้วดับๆ
- แล้วผมก็มองย้อนดูว่าที่เรารับรู้ว่าคันนั้นเพราะจิตไปรับรู้การเกิดโผฐฐัพพะกระทบสัมผัสรับรู้ทางกาย เมื่อรับรู้เสร็จแล้วก็เกิดการปรุงแต่งสืบต่อมาเป้นความรู้สึกว่าคัน เมื่อคันก็อยากเกา
- แต่เมื่อจิตตัดบัญญัติที่ว่าคันนั้นออกแล้วรู้สักแต่ว่ารู้กับสภาพนั้นๆ คือ รู้สึกทางกายก็ให้จิตรู้แค่ว่ารู้สึกๆๆไม่ต้องไปให้ความหมายใดๆกับสภาพนั้นๆ แค่รู้ว่ารับรู้ความรู้สึกการกระทบสัมผัสทางกาย เมื่อตัวรู้เกิดความตรึกนึกเกิดตามให้พึงระลึกรู้แค่ว่ารู้สึกๆ ไม่ต้องไปให้ความหมายสิ่งใดๆมัน มันก็ดับไปเอง

เมื่อปวดขาก็เช่นกัน ผมก็ตรึกนึกพิจารณาตามเช่นนี้เสมอๆมันก็ดับเอง เพราะจิตเป็นตัวรู้ จิตเป็นตัวคิด จิตเป็นตัวเสพย์เสวยอารมณ์

2. สภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ เช่นเส้นเอ็นไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ หรือ เป็นโรคไขข้อ มีการนั่งผิดท่า เป้นต้น หากเกิดเป็นเช่นนั้ให้พยายามยืดเส้นก่อนทำกิจการงานใดๆ แล้วจัดนั่งให้ถูกท่าที่ร่างกายไม่เจ็บปวด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำสมาธิมากกว่า เพราะหากกำลังเข้าสู่สมาธิขั้นสูงขึ้นจิตไปรับเอาอารมณ์ปวดนั้นมา สภาพที่จะถึงสมาธิก็จะดับไปทันที อาจจะหลงเหลือแค่อาการที่สมาธิคลุมหรืออาการปิติคงอยู่เล็กน้อยเท่านั้น.

ลองดูนะครับ และรอคำตอบจากพระอาจารย์และผู้รู้ท่านอื่นดูครับ ผมตอบไป 2 อย่าง คือ สภาพทางจิตที่เป็นธรรม และ ทางวิทยาศาสตร์กายภาพของกายลองดูครับ

หากคำตอบผมไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอให้เข้าสู้ธรรมได้ในเร็ววันนะครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
Re: ทำไมเวลานั่งสมาธิ บางคนมีอาการปวดมาก บางคนมีอาการปวดน้อย

  ก็คง :67: ต้องย้อนกลับไปอีกว่า แล้วทำไมคนเรา ถึง อ้วน ถึง ผอม ถึง สูง ถึง ต่ำ ถึง ขาว ดำ แดง แตกต่างกัน คะ คิดว่า การปวดมาก หรือ ปวดน้อย ก็เกิดจากบารมีที่ฝึกฝนมานั่นแหละคะ เป็นตัวบังคับให้เป็นแตกต่างกันไป บางคน แก่ตัวมา หู ตา ก็ยัง ดี บางคน เป็น หนุ่ม สาว แท้ ๆ หู ตา ก็ ฝ้าฟางแล้วคะ

 :s_hi: :58:
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาจจะมีสองสาเหตุ นะคะ

  สำหรับคนที่มีอาการมาก คือ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ฝึกนั่งพับเพียบ ขัดตะหมาด เป็นนิสัย ดังนั้นเวลานั่งกรรมฐาน ก็จะมีอาการปวดมากกว่า คะ ส่วนคนใดมีการฝึกนั่งมาตั้งแต่เด็ก ก็จะมีอาการเจ็บปวดน้อยกว่าคะ
  :s_hi: :s_hi: :s_hi:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบในเบื้องต้น

       ในการนั่ง นั่งไม่ถูกท่า    เห็นมาหลายคนแล้วที่นั่งไม่ได้นาน ก็เพราะนั่งไม่ถูกท่า นั่งแบบไหนไม่ถูกท่า ก็นั่งแบบธรรมดานี้แหละ แต่นั่งตัวไม่ตรง นั่งหลังโก่งบ้าง นั่งลงน้ำหนักลงไปเฉพาะที่บ้าง(อันนี้ ทำโดยไม่รู้ตัว) จะสังเกตุได้จาก จะมีน้ำหนักกดทับ เฉพาะที่ ที่ตรงนั้น  หรือเดินปรานยังไม่ได้ เหล่านี้เป็นทางกาย ณ เบื้องต้น

       แนะนำวิธีแก้ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่  ถ้าปวดเหน็บชา ก็ให้ขมิบ ให้แกรงกร้ามเนื้อตรงที่ส่วนนั้น ให้แน่นที่สุด ให้นานที่สุด นี้เป็นวิธีที่นักกีฬาใช้ ในการทำให้กร้ามเนื้อคลาย ก็จะช่วยได้ขั้นหนึ่ง

  ส่วน  ในส่วนของจิต  เป็นในส่วนของการแจ้งพระกรรมฐาน ต้องแจ้งกับผู้บอกกรรมฐาน จึงจะถูก

แต่ถ้าจะตอบในส่วนของนักธรรมะศึกษา ก็พอจะยกหัวข้อธรรมมาเทียบเคียงกันได้อยู่ คือ นิมิตทั้งสามหาย ถูกนิวรณ์ธรรม เข้าครอบงำ จิตไม่เป็นสมาธิ  จิตไม่มีกำลังแข็งแกรงพอ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขึ้นอยู่ตามจริต ตามธาตุ ตามบารมีธรรมที่สั่งสมมา
   อาการปวดการสับลม ในกรรมฐาน มัชฌิมา เรียกว่าการสับคืบ เข้าคืบ หรือบางที่ก็เรียกว่า เข้าคืบเข้าสับ แล้วก็มา เข้าวัด-ออกวัด มาเข้าสะกด เป็นออเดิฟของลมตื่น
       เรียนกรรมฐานก็มีลมหลับ(ลมเมากิเลส) มีลมตื่น หลับได้ ก็ตื่นได้
           ลมขึ้น ลมรัศมี
            ใครนั่งแล้วปวดดูง่าย เข้าสายเจโต
             ทํากรรมฐานก็ควรอยู่กับการงาน สามอย่าง นิมิตสามประการก็แล้วกัน
   จิตเกิดเสียเวลา ผนวกอุเบกขานิมิต จะได้ไปต่อ ไม่ต้องเสียเวลาแวะพักศาลา
       กรรมฐาน มัชฌิมา ใช้นิมิตสามประการ เป็นการงาน จนกว่าเค้าจะเลิกของเค้าเอง เค้าจะรู้ของเค้าเอง

             ครูอาจารย์ใบ้ไว้อย่างนั้น
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เวทนาเกิดระหว่าง ภาวนา ควรทำอย่างไร ถึงจะถูกต้องในการภาวนา

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4315.0

(เนื้อหาบางส่วน)
สำหรับชาวภาวนาแล้ว เมื่อ เวทนาเกิดในระหว่าง ภาวนา ก็ต้องมีอดทน แต่พอประมาณ ไม่ฝืนจนเกินไป ไม่ตึงจนเกินไป ไม่ยอม หรือย่อหย่อน จนเกินไป ใช้เวลาเข้าช่วยในการฝึกฝน เช่นการกำหนดเวลา เป็นต้น เริ่มจากน้อยไปหามาก ในระหว่างฝึกฝนนั้น สิ่งสำคัญที่องค์ภาวนา ไม่ใช่อยู่กับการสู้กับเวลา


   เมื่อทุกขเวทนา เกิด มาก ๆ ในระหว่างเวลา ก็ให้พิจารณา ตามความเหมาะสม ว่าจะควรเปลี่ยน อิริยาบถ หรือ ไม่ควรเปลี่ยน อิีริยาบถ อย่าลืม เรามีความเจ็บ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ( ผู้ภาวนามักจะลืมกัน )
จึงพยายามฝืนจนเป็นทุกข์ทางจิตเพิ่ม คือ กายทุกข์ พาใจทุกข์อีก ต่อไปก็จะรำคาญการฝึกภาวนา เห็นเรื่องการภาวนานั้นเป็นเรื่องยาก ทั้ง ๆ ที่แท้จริง อยู่ที่ผลจากการสงบระงับของกิเลสในการภาวนาก่อนเป็นเรื่องแรก ที่ทุกคนมักทิ้ง และไม่ยอมทำความเข้าใจกัน

   เพียงเท่านี้ ท่านทั้งหลายก็จะสามารถเผชิญทุกขเวทนาได้ .....



หากเรามีเวทนา เกิดขึ้น เช่น ปวดขา ปวดหลัง ปวดเหน็บ ควรทำอย่างไรคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2125.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2012, 02:37:33 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม