ธรรมะสาระ > ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด

รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ

<< < (2/5) > >>

มหายันต์:
เป็นคาถาที่ยาว นะครับ สวดทุกวันก็ไม่น่าจะยาก แต่ ตอนนี้ยัง รัก และ ศรัทธา ในคาถา พญาไก่เื่ถื่อน อยู่ครับถึงแม้จะยังไม่รู้ความหมายหรือ คำแปล ก็ตามก็ยังสวดเป็น นิสัย เหมือนเดิม ครับ คิดว่าเรื่องคาถาแค่นี้ก้น่าจะพอแล้วครับ

  :c017: :25: :13:

ธรรมะ ปุจฉา:
:25:   !! ต้องขออภัยด้วยสำหรับลิ้งค์ทางด้านบน กำลังอยู่ในระหว่างดำเดินการ !!   :25:

คระหะสันติคาถา

http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=47130


คระหะสันติคาถา (คาถาคระหะทั้ง ๙ หรือ ไชยะคุรุง) ๑. นะระเทวะคุรุง ภะวะปาระคะตัง
นะระเทวะปิยัง ภะวะสันติกะรัง
นะระเทวะปะสังสิตะพุทธะวะรัง [/]
นะระเทวะสุภัง ปะณะมามิ ชินังฯ [/]
๒. วะระโพธิทุเม ทุมะราชะวะเร
สุนิสินนะมะตุล๎ยะคุโณ สุคะโต
อะติโฆระตะเร พะหุมาระพะเล
สุชินาติ ชิโน ปะณะมามิ ชินังฯ
๓. กะรุณายุตะสีตะมะนัง สุคะตัง
วะระญาณะปะภายะตะมัง วิหะตัง [/]
สะนะรามะระโลกะหิตัง อะสะมัง
กะรุณานิละยัง ปะณะมามิ ชินังฯ
๔. ปะระทุกขะนุทัง ปะระโภคะกะรัง
ปะระโสกะนุทัง ปะระสิทธิกะรัง
ปะระสัตตะหิตายะ ทะเม กุสะลัง
ปะระโลกะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
๕. นะระมัชฌะสุภัง มะรุมัชฌะสุภัง[/]
ยะติมัชฌะสุภัง กุสะเล กุสะลัง [/]
นะระอัตถะกะรัง มะรุอัตถะกะรัง
ติภะวัตถะกะรัง ปะณะมามิ ชินังฯ60
๖. กะระวีกะสะรัง วะระพ๎รัห๎มะสะรัง
อะติวัคคุสะรัง สะวะนียะสะรัง
วะระพุทธะวะรัง วะระธัมมะวะรัง
นะระเทวะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
๗. วะระสีสะทะทัง วะระจักขุทะทัง
วะระปุตตะทะทัง วะระทาระทะทัง
วะระรัชชะทะทัง วะระสาระทะทัง
วะระกามะทะทัง ปะณะมามิ ชินังฯ
๘. สุปะติฏฐิตะปาทะตะลัง สุคะตัง
วะระลักขะณะรัญชิตะปาทะตะลัง
มุทุทีฆะวะฏังคุลิตามพะนะขัง[/]
อะติตุงคะนะขัง ปะณะมามิ ชินังฯ
๙. สุวิสุทธะวะรัง สุคะตัง อะมะลัง
อะวิสุทธะชะนัสสะ สุโธตะกะรัง
อะติอันธะชะนานะมะนันธะกะรัง
ปะริปุณณะปะภัง ปะณะมามิ ชินังฯ
ค๎ระหะสันติคาถา ปะริปุณณา นิฏฐิตาฯ
 
คระหะสันติคาถา (แปล) ๑. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเจ้าผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา เสด็จถึงฝั่งแห่งภพ ทรงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา กระทำความร่มเย็นแก่ภพ เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่มนุษย์และเทวดาพากัน สรรเสริญ ทรงสง่างามในหมู่มนุษย์และเทวดาฯ
๒. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมาร ผู้ประทับนั่งที่ ต้นพระศรี มหาโพธิ์ อันเป็นพญาพฤกษา มีพระคุณหาผู้เสมอเหมือนมิได้ เสด็จดำเนินไปด้วยดี (หรือมีพระดำเนินที่งดงาม) ทรงชนะมารและพลมารเป็นอันมากซึ่งร้ายกาจยิ่งนักได้อย่างราบคาบฯ
๓. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชินสีห์ ผู้มีพระหฤทัยเยือกเย็น กอปรด้วยพระกรุณา ทรงกำจัดความมืด [คือโมหะ] ด้วยรัศมีแห่ง พระญาณ ทรงเกื้อกูลชาวโลกทั้งมนุษย์และเทวดา ปราศจากผู้เสมอ เหมือน มีพระกรุณาดังเรือนที่อาศัยฯ
๔. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชิ นวร ผู้ทรงบำบัดทุกข์โศก อำนวยโภค- สมบัติและความสำเร็จแก่ประชาสัตว์ ทรงฉลาดในอุบายสำหรับ สั่งสอนเพื่อเกื้อกูลประชาสัตว์ ทรงเกื้อกูล [ประชาสัตว์] ถึงโลกหน้าฯ
๕.ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเรศ ผู้สง่างามในท่ามกลางหมู่มนุษย์ เทวดา (และ) ภิกษุสงฆ์ ทรงฉลาดในกุศลธรรม บำเพ็ญประโยชน์ แก่มวลมนุษย์ เทวดา (และ) ไตรภพฯ
๖. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมุนี ผู้มีพระสุรเสียงดั่งนกการะเวก และพระพรหม ไพเราะชวนฟังยิ่งนั กทรงเป็นพระพุ ทธเจ้าผู้ประเสริ ฐมีพระธรรมอันดีเลิศ ทรงเกื้อกูลหมู่มนุษย์และเทวดาฯ 62
๗. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินบพิ ตร ผู้ทรงสละพระเศี ยร, พระนัยนา, พระโอรสธิดา, พระชายา [เป็นทาน] ประทานพระไอศวรรย์สมบัติ๑ ประทานพระสาระธรรม[/] (และ) ความสำเร็จสมประสงค์อันดีเลิศฯ
๘. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนภาส ผู้มีพื้นฝ่าพระบาทคู่ตั้งอยู่ ด้วยดี (คือราบเรียบ) มีพื้นฝ่าพระบาทงดงามด้วยพระวรลักษณ์ มีนิ้วพระบาทและนิ้วพระหัตถ์ นวลนุ่ม แฉล้มยาว กลมกลึง มีพระนขาชูช้อนขึ้นข้างบน โก่งงามยิ่งนักฯ
๙. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนดม ผู้เลิศด้วยพระบริสุทธิคุณ ไม่มีมลทินแปดเปื้อน ทรงขัดสีชนผู้ไม่หมดจด[จากกิเลสมลทิน]ให้หมดจดดีชี้ทางสว่างแก่หมู่ชนผู้มืดมนอย่างยิ่ง มีพระรัศมีเต็ม เปี่ยม[พระวรกาย]ฯ
           
                                        ภิกขุเกทารบุตร(แปล)

ธรรมะ ปุจฉา:
ความเป็นมาของคระหะสันติคาถา
(คาถาคระหะทั้ง ๙ หรือไชยะคุรุง)
คระหะสันติคาถาแปลว่า “คาถาสำหรับสงบระงับเคราะห์” หรือ “คาถาอันนำมาซึ่งสันติของพระเคราะห์” หรือจะแปลให้ใกล้กับคำไทย ที่สุดว่า “คาถาสะเดาะเคราะห์” ดังนี้ก็น่าจะได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คาถาคระหะทั้ง ๙” หรือ “นวคราสทั้ง ๙” และนับเข้าในไชยทั้ง ๗ ของล้านนาเรียกว่า “ไชยะคุรุง” คาถาทั้ง ๙ นี้ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน อักษรภาษาล้านนาว่าสืบทอดมาแต่ลังกาทวีปดังนี้
        “ทีนี้จักกล่าวอุปเทสวิธีแห่งคระหะสันติคาถาไว้ให้ปุคละยิงชาย คระหัฏฐ์ และนักบวชเจ้าทังหลายหื้อได้รู้สืบไปพายหน้าก่อนเเลฯ
         ขณะเมื่อพระพุทธเจ้าอธิษฐานธาตุไว้ยังถ้ำเเก้วผลึกในลังกาทวีป มีประตู ๙ อัน เพื่อจักหื้อคระหะทัง ๙ ไข ก็เหตุจักหื้อเปนประโยชนะแก่ คนเเละเทวดาทังหลาย เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระยาลังการู้ข่าว ว่าธาตุมีในถ้ำ ปล่องไขบ่ได้ พระยาอินทร์รู้เหตุอันนั้นจิ่งเอาเทวบุตร ๙ ตน มาแล้วกล่าวว่า ‘กาละอันไขประตูถ้ำไว้หนักแก่เจ้าทังหลายทืน’   คระหะ ทังหลายมีสุริยเทวบุตรเปนต้นก็รับเอาทิพพะราชอาชญาพระยาอินทร์ว่า ‘สาธุเทวะ’ แล้วประณมอัญชุลีกล่าวคาถาอันต้นว่า ‘นะระเทวะคุรุง’ นี้ ยอคุณพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วประตูมีแซว่และกลอนหากกระจัดออกได้ไว้ ดีนัก เทวบุตรทังหลายมีจันทิมเทวบุตรเปนต้นก็กล่าวคาถาด้วยล่ำดับกัน สันเดียว ประตูก็ไขไว้ดีนัก คนเเละเทวดาทังหลายก็ได้ไหว้และปูชาวันนั้น เเลฯ ปุคละยิงชายผู้ใดจำเริญเปนธัมมะสังวาธดั่งอั้น  คระหะฤกษ์ยินดี จักหื้อมีสรีสุขะสวัสดีมีทีฆาอายุหมั้นยืนหาไภยะบ่ได้ วุฒิจำเริญมากนักแล” (ฉบับวัดน้ำล้อม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน)
          “คาถาคระหะทัง ๙ นี้ ไหว้พระเจ้าชุวัน คระหัฏฐ์ เพิงใจยิ่งนัก เสมอดั่งเราได้แต่งเข้าพุ่นคู่ปีปูชาพระเจ้าชุวัน หายอุปปัททวะ อายุสวัสดี แล” (ฉบับวัดนาเหลืองใน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน)
          “คาถาคระหัฏฐ์ทัง ๙ จำเริญสิทธิบอระมวรเข้าของหาพยาธิบ่ได้ แม้นอุปปัททวะอันจักมาบังเกิดก็ร่ำงับกับหาย อันบ่มาบังเกิดเทื่อก็บ่อาจ จักมาใกล้ได้แล” (ฉบับวัดเชตวัน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
         คาถาคระหะทั้ง ๙ นี้ ได้ตรวจสอบชำระจากต้นฉบับใบลาน ๓ ฉบับด้วยกันกว่าจะได้ฉบับสมบูรณ์อย่างที่เห็น เนื่องจากต้นฉบับเดิม มีที่พิรุธผิดพลาดเป็นอันมาก แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นคาถาคระหัฏฐ์ (คฤหัสถ์) ทั้ง ๙ ตามที่บางฉบับกล่าวไว้ เข้าใจว่าคงเรียกเพี้ยนไปเพราะคำว่า คระหะกับคระหัฏฐ์นั้นมีเสียงใกล้กัน คำว่าคฤหัสถ์ทางล้านนาเรียก คระหัฏฐ์ หรือ คระหัฏฐะ จึงขอชี้แจงไว้ในที่นี้ แต่ถ้าจะเรียกอย่าง นัยหลังควรเขียนใหม่ว่า คระหัส เพราะคำนี้แผลงมาจาก คฺรหสฺ ใน สันสกฤต และมีความหมายเหมือนคำว่า คระหะ ต่างกันแต่รูปเดิม เป็น ส การันต์ เมื่อนำมาใช้ในบาลีจึงปริวรรตเป็น คฺรห เพราะในบาลี ไม่มีพยัญชนะการันต์ มีแต่สระการันต์เท่านั้น โบราณเรียก    คระหัส นั้น ถูกต้องแล้ว แต่เกิดความผิดเพี้ยนทางด้านอักขรวิธีซึ่งคัดลอกต่อๆ กัน มาในภายหลังจึงกลายเป็นคระหัฏฐ์ไป ดังนั้นจึงควรเป็น “คระหะ” หรือ “คระหัส” แต่ไม่ใช่ “คระหัฏฐ์” เพราะตามตำนานท่านกล่าวถึงคระหะ ทั้ง ๙ คือเทพบุตร ๙ องค์ มีสุริยเทพบุตร เป็นต้น อันได้แก่พระนพเคราะห์ (นวัคคหะ) นั่นเอง ซึ่งทางล้านนาเรียกนวคราสทั้ง ๙ คำว่า คระหะในที่นี้ เป็นคำที่ยืมมาจากสันสกฤต (คฺรห) บาลีจริงๆ ใช้คะหะ (คห) จะใช้อย่าง บาลีก็ได้ แต่ต้องการรักษาอักขรวิธีตามต้นฉบับเดิมเอาไว้ จึงคงใช้ตามนั้น นอกจากนี้คำว่า คุรุง ในคาถาที่ ๑ ก็เป็นคำที่ยืมมาจากสันสกฤต เช่นกัน บาลีจริง ๆ ใช้ คะรุง นี่คืออิทธิพลของสันสกฤตที่มีต่อบาลี คาถา ทั้ง ๙ นี้ท่าน     ประพันธ์ด้วยโตฏกคาถาทั้งหมด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชคตีฉันท์ ๑๒ พยางค์ ในแต่ละบาทประกอบด้วย ส คณะ ๔ คณะ คือ ๑๑๒, ๑๑๒, ๑๑๒, ๑๑๒ (อิห โตฏกมมฺพุธิเสหิ มิตํ - วุตฺโตทย) ตามตำนานพรรณนา คุณานิสงส์ของพระคาถาเหล่านี้ไว้ว่า
         อานิสงส์คระหะสันติ
      “บุคคลใดไม่ว่าหญิงชาย คฤหัสถ์หรือนักบวชสังวัธยายพระคาถา ทั้ง ๙ นี้ อย่างสม่ำเสมอหรือทุกๆ วัน เท่ากับได้ถวายข้าวบูชาพระพุทธ เป็นประจำ จะทำให้พระเคราะห์ทั้ง ๙ ยินดีโปรดปรานดลบันดาล ประทานพร ให้บุคคลนั้นเจริญด้วยสิริสุขสวัสดี มีอายุมั่นยืนยาว บริบูรณ์รุ่งเรืองด้วยข้าวของสมบัติ ปราศจากโรคาพยาธิ แคล้วคลาด   อุปัทวันตราย แม้คราวเกิดเคราะห์ภัยทุกข์เข็ญให้เจริญสาธยายพระ คาถาบทนี้ จะสามารถสงบระงับเหตุเภทภัยต่างๆ ได้ เคราะห์ภัยที่ยังมา ไม่ถึงจะนิราศร้างห่างหายไปในที่สุด”
พระเคราะห์ตามตำราของพราหมณ์ก็คือเทวดาทั้ง ๙ องค์ ที่มา เสวยอายุของคนเรา มีอำนาจบันดาลให้ดีหรือร้าย รับโชคหรืออับโชคตาม ปรารถนา ซึ่งแต่ละองค์เสวยอายุไม่เท่ากันดังนี้
๑. พระอาทิตย์เสวยอายุอยู่ ๖ ปี
๒. พระจันทร์เสวยอายุอยู่ ๑๕ ปี
๓. พระอังคารเสวยอายุอยู่ ๘ ปี
๔. พระพุธเสวยอายุอยู่ ๑๗ ปี
๕. พระพฤหัสบดีเสวยอายุอยู่ ๑๙ ปี
๖. พระศุกร์เสวยอายุอยู่ ๒๑ ปี
๗. พระเสาร์เสวยอายุอยู่ ๑๐ ปี
๘. พระราหูเสวยอายุอยู่ ๑๒ ปี
๙. พระเกตุเสวยอายุอยู่ ๙ ปี
เพราะฉะนั้นจึงมีธรรมเนียมการสวดส่งนพเคราะห์ ส ำหรั บผู้ที่ ไม่เคย เข้าร่วมพิธีเลย ใช้คระหะสันติคาถาทั้ง ๙ บทนี้สวดแทนจะดีมาก เป็นการสวดส่งนพเคราะห์ให้กับตัวเองด้วยตัวของเราเองและประหยัดเวลาด้วย จะสวดวันละกี่จบก็ได้เพราะท่านไม่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างน้อยต้อง หนึ่งจบและสวดทุกวัน หรือถ้าสวดได้ครั้งละ ๙ จบ หรือตามกำลังวัน ก็ยิ่งดี กำลังวันนั้นให้นับเท่าจำนวนปีที่พระเคราะห์เสวยอายุ อีกนัยหนึ่ง ถ้านับตามเกณฑ์กำลังวันทั้ง ๗ (ทินเกณฑ์) มีดังนี้
อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๒, อังคาร ๘, พุธ ๑, พฤหัสบดี ๕, ศุกร์ ๗, เสาร์ ๓ ซึ่งเป็นที่มาแห่งโศลกวันเสียประจำเดือนของล้านนา โดยแบ่งกลุ่มเดื อนออกเป็น ๔ กลุ่มๆ ละ ๓ เดือน และจั ดกลุ่มเดื อนคี่ ไว้ในจ ำพวกเดือนคี่ กลุ่มเดือนคู่ไว้ในจำพวกเดือนคู่ ในแต่ละกลุ่มจึงเว้นระยะห่างของเดือนไว้ ที่ ๓ เดือน ดังนี้
เดือน วันเสียประจำเดือน
เกี๋ยง ห้า เก้า รวิ, จนฺทํ - อาทิตย์กับจันทร์
ยี่ หก สิบ องฺคารํ - อังคารวันเดียว
สาม เจ็ด สิบเอ็ด โสรี, คุรุ - เสาร์กับพฤหัสบดี
สี่ แปด สิบสอง สุโกฺร (สุโข), พุธา - ศุกร์กับพุธ
จากตารางแสดงโศลกดังกล่าวข้างต้น มักจะมีผู้ตั้งคำถามว่า ทำไม ยี่, หก, สิบ จึงต้องเสียอังคารวันเดียวเท่านั้น ผิดกับเดือนอื่นๆ ที่มีวันเสีย ตั้งสองวัน ถ้าพูดตามหลักความเป็นจริงไม่ต้องเสียเวลาหาเหตุผลก็ตอบ ได้ทันทีว่า เพราะวันมีอยู่เพียงเจ็ดวัน เมื่อจับคู่กันก็จะได้สามคู่ ดังนั้นจึงมี วันเศษอยู่หนึ่งวัน แต่เมื่อว่าตามเหตุผลก็เป็นเรื่องชวนคิดอยู่ว่า ทำไมต้อง เจาะจงเฉพาะวันอังคารล่ะ ก็ขอเฉลยว่า สาเหตุที่เดือนยี่, หก, สิบ เสียอังคาร วันเดียวนั้น คงเนื่องมาจากว่าวันอังคารมีกำลังวันมากกว่าวันอื่นๆ นั่นเอง 
ถ้าลองเอากำลังวันที่เหลือในแต่ละเดือนมาบวกกันก็จะได้กำลังวันเท่ากับ วันอังคารวันเดียว (คือ ๘) ดังนี้
อาทิตย์ + จันทร์ (๖+๒ =๘)
เสาร์ + พฤหัสบดี (๓+๕ =๘)
ศุกร์ + พุธ (๗+๑ =๘)
ดังนั้นเดือนยี่, หก, สิบ จึงเสียวันอังคารวันเดียว
เดือนเกี๋ยงหรือเดือนเจี๋ยงของล้านนาเทียบได้กับเดือนอ้าย (๑) ของทางภาคกลาง แต่ชาวล้านนานับเดือนเร็วกว่าทางภาคกลางสองเดือน เดือนเกี๋ยงหรือเดือนอ้ายของล้านนาจึงตรงกับเดือนสิบเอ็ดของทาง ภาคกลาง ส่วนเดือนยี่ตรงกับเดือนสิบสอง ดังนี้เป็นต้น
คาถาทั้ง ๙ นี้ ตำนานว่าเทพบุตร ๙ องค์กล่าวตามลำดับ ดังนี้
คาถาที่ ๑ พระอาทิตย์กล่าว
คาถาที่ ๒ พระจันทร์กล่าว
คาถาที่ ๓ พระอังคารกล่าว
คาถาที่ ๔ พระพุธกล่าว
คาถาที่ ๕ พระพฤหัสบดีกล่าว
คาถาที่ ๖ พระศุกร์กล่าว
คาถาที่ ๗ พระเสาร์กล่าว
คาถาที่ ๘ พระราหูกล่าว
คาถาที่ ๙ พระเกตุกล่าว
ใจความของพระคาถาทั้ง ๙ นี้ เป็นบทนมัสการพระพุทธเจ้าและ กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ เป็นวรรณกรรมบทสวดบาลีของศรีลังกา สั นนิ ษฐานว่า เข้ามาสู่ล้านนาในรั ชสมั ยพระเจ้าติ โลกราช แห่งนครเชี ยงใหม่ (รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๐) ข้าพเจ้าค้นพบในคัมภีร์ใบลานอักษรล้านนาจึงได้ทำการปริวรรต และชำระ68
ตรวจสอบนำออกเผยแพร่ เพื่อหวังให้สำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย ผู้ใคร่ในภาวนามั ยกุ ศล และเพื่ ออนุ รั กษ์บทสดโบราณอันทรงคุ ณค่าเหล่านี้ ไว้มิ ให้สู ญหาย ซึ่ งนั บเป็นการน ำของดี ล้านนากลั บมาเผยแพร่ให้เป็นที่ รู้จักแพร่หลายกว้างขวางมากยิ่งขึ้น แม้หากได้ทรงจำท่องบ่นสาธยาย พระคาถาทั้ง ๙ นี้ เป็นประจำ ถือเป็นการเจริญพุทธานุสสติไปในตัว คือรำลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าด้วย จักเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ทุกเมื่อ ดังที่อานิสงส์พรรณนาไว้ทุกประการ
                                         พระมหาญาณธวัช ญาณทฺธโช
                                               ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
หมายเหตุ คระหะสันติคาถา (คาถาคระหะทั้ง ๙) หรือไชยะคุรุงนี้ ไม่ปรากฏว่ามีพบในสวดมนต์ฉบับอื่นๆ ของจังหวัดล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบนมาก่อน คงพบเฉพาะใน สวดมนต์ฉบับใบลานของเมืองน่านเท่านั้น (ข้อมูลปัจจุบัน) โบราณาจารย์ได้ถอดอักขระต้นของแต่ละบทออกไว้เป็น หัวใจคาถาและเรียกว่า “หัวใจนวคราสทั้ง ๙” สำหรับเขียนใส่ โป่งเทียนบูชาสะเดาะเคราะห์ ดังนี้
นะ วะ กะ ปะ นะ กะ วะ สุ สุ
เวลาจุดเทียนสะเดาะเคราะห์ก็ให้สวดคระหะสันติคาถานี้ ด้วยทุกครั้ง จะหายจากเคราะห์นามและทุกข์โศกโรคภัย ทั้งปวง

ธรรมะ ปุจฉา:
จุททะสะคาถา (คาถาปะโชตา)
ฉบับตรวจชำระ พร้อมคำแปล


๑.  ปะโชตา ธัมมาภา โหตุ            โชติวะโร สะตาวะโห
     ตาวะริโย สุวะตาภา-              ธะโรโยโค จะ สุสัมมาฯ

๒.  โภ โนชิโย โย ชิโน โภ               โน ปาตุ โส โสตุปาโน
     ชิตุโนมะมะโนตุชิ                     โย โสมะภิภิมะโสโยฯ

๓.  นะมามิ ตัง นะระวะรัง               นะเยหิ สะนะรามะรัง
     เนต๎วามะตัง ปะระตีรัง               นิพพุโต สัพภิ โย ปะรังฯ

๔.  โน ธิโร มุนิโน มะโน                  โน มะโนทะมะโน ธิโน
     โนธิโนตถังคะมา เตโน’             โน เต มาโร วิโรธิ โนฯ

๕.  กะรุณาธิกะจิตตัตโถ                 กะตาตโถ สะกะธัมมะโท
     กะตะนะเมกะพุทธัสสะ               กะตัญชะลิง กะโรมิหังฯ

๖.  มะโนชิโตมะโต ชิโน                    มะโนภิโต มะโต ภิโน
       มะโนธิโรมะโรธิ โน’                    มะโนตตะโรมะโรตตะโนฯ

๗.  นะมามิ นาถัง วะระทัง วะราทัง   อะโนมะเกหาภินะตัง ภะวัคคัง
       กุมาระนาสัง วะระทัง นะรานัง    อะกามะเทหาภินะตัง ภะชัคคังฯ

๘.  โย โพธิปัตโต วะระโทมะรานัง   เทวาติเทโว ภิตะมาระนาโส
       โยคาธิมุตโต สะระโสมะรานัง    โอวาทะเทตังภินะมามิ นาถังฯ

๙.  โย เทติ เทวะเทโวคคัง             มัคคัง โนคคัง ผะลัง ตะโต
     นะมามิ ตังระหะมัคคัง              โน โส ปาเลต๎วาปายะโตฯ

๑๐. นะมามิ พุทธัง ตะมะหัง ธิโย ธิ โย   นะมามิ ธัมมัง ตะมะหังชิโยชิ โย
       นะมามิ สังฆัง ตะมะหังริโย ริ โย     นะมามิ ติคคัง ตะมะหัง ภิโย ภิ โยฯ

๑๑. นะมามิ ตัง โย วินะยัสสะ นายะโก   นะรามะเรหาภินะโต วินายะโก
         ชิโนริเชยโย วิมะโล วิโมจะโก          ปะชามพุเชภาภิพุโธ ปะโพธะโกฯ

๑๒. มุนิโน วะทะนาภายะ      ปะโพเธตุ ปะชาปะชัง
      มุนิโน วะทะนาภายะ      ปะโพเธตุ ปะชาปะชังฯ

๑๓. สิริกิระณะกิรีโฏ’ภาสะปาทัท๎วะยัคคัง สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตัง วิธัส๎ตัง
     สิริกิระณะนิเกตัง เกตุเมกัง ติโลเก สิริกิระณะกะรัคคัง โลกะนาถัง นะมามิฯ

๑๔. ติโลกะมัคคาหะนะโก มะตัง นะเย สะวาสะนัง โยหะ มะลัง ปะธังสะยิ
       ติโลกะมัคคาหะนะโกมะตัง นะเย  ปะเควะ นิพพานะปุรัง ปะเวสิ โยติฯ

(ความละเอียดจะสังเกตุเห็นได้จากการวรรค เพราะมีความหมาย เช่น คำว่า "นั่งตากลม" ถ้าวรรคผิดความหมายก็เปลี่ยน เป็นเช่น "นั่งตา กลม" เป็น "นั่งตาก  ลม" ดังนี้)


จุททะสะคาถา (แปล)
๑. ขอรัศมีแห่งพระสัทธรรมอันรุ่งเรืองจงบังเกิด ตราบเท่าที่อริยธรรม ยังรุ่งเรืองส่องสว่าง นำมาซึ่งภาวะแห่งสัตบุรุษ เป็นที่รองรับแห่ง สัมมาปฏิบัติ (หรือเป็นที่ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรืองคือสัมมาปฏิบัติ) และ เป็นธรรมที่ปราศจากโยคะ โดยราบคาบฯ
(อีกนัยหนึ่ง) ขอรัศมีแห่งพระสัทธรรม จงรุ่งเรือง ขอพระอริยเจ้า ผู้ประเสริฐด้วยความรุ่งเรืองนำภาวะคือความยินดีมาให้ มีพรต งดงาม (หรือมีวัตรปฏิบัติงดงาม) ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรืองและมี ความเพียรโดยชอบ จงรุ่งเรือง ประดุจดังรัศมีแห่งพระสัทธรรมนั้นฯ
๒. ดูกรชาวเรา พระชินเจ้าของพวกเรา ผู้อันข้าศึก [คือกิเลส] ไม่อาจ ผจญได้ ทรงมีพระสัทธรรมรัศมี ทรงยังมวลสาวกให้ดูดดื่มรส พระสัทธรรม โปรดจงทรงรักษาปวงข้าพระองค์ด้วยเถิด พระองค์ทรง มีพระรัศมีอันเย็นฉ่ำ มีพระคติคือทางไปปราศจากความหวาดหวั่น ครั่นคร้าม ทรงผจญเสียซึ่งไฟ [คือราคาทิกิเลส] ด้วยพระทัยอันอุดม ขอจงทรงชนะด้วยเถิดฯ
๓. ขอน้อมไหว้พระองค์ผู้ทรงประเสริฐกว่านรชน ทรงนำประชาสัตว์ ทั้ งมนุ ษย์และเทวดาไปสู่ฟากฝั่งโน้นคื ออมตะนิ พพาน ด้วยวิ ธี แนะนำของสัตบุรุษ เสด็จปรินิพพานแล้วฯ
๔. พระทัยที่ประกอบด้วยปรีชาญาณ แห่งพระมุนีผู้ทรงปรีชาญาณของ พวกเรา สามารถที่จะสั่งสอนใจปวงข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุที่สั่งสอน ใจได้นั้น อวิชชาโมหะก็ได้ดับเสียแล้ว มารผู้ต่ำช้าก็มิได้เป็นข้าศึกแก่ พระองค์
๕. พระองค์ทรงตั้งพระทัยอันยิ่งด้วยพระกรุณาไว้ ทรงบำเพ็ญประโยชน์
[คืออัตถจริยา ๓] ประทาน[โลกุตตร]ธรรมของพระองค์ [แก่ชาวโลก]
ข้าพระองค์จะกระทำอัญชลีน้อมไหว้ที่มนุษย์และเทพยดาต่างก็ กระทำแก่พระพุทธองค์ผู้เอกอุฯ
๖. พระชินเจ้าทรงเอาชนะพระทัยพระองค์เองได้แล้ว ปราชญ์กล่าวว่า ผู้ปราศจากมตะ [คือเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ] ทรงประกอบด้วยพระรัศมี ที่ รุ่งเรืองในพระทั ยประดุจดังพระอาทิตย์ อันทรงรัศมี มีปรีชาญาณเกิดพร้อมกับมโนวิญญาณ ปราศจาก ความประพฤติผิด ทรงเป็นเทพไม่มีเทพอื่นยิ่งกว่าพระองค์เลยฯ
๗. ขอน้อมไหว้พระนาถะเจ้าผู้ประทานพระนิ พพานอั นประเสริ ฐทรงรั บ
เอาพระนิพพานที่ดีเลิศ อันเหล่าสัตบุรุษผู้ไม่ต่ำทรามนบนอบแล้ว ทรงเป็นยอดแห่งภพ (หรือเป็นเลิศในภพ) กำจัดมารชั่วได้แล้ว ประทานพระนิ พพานอันประเสริฐแก่เหล่านรชน อั นหมู่มารผู้หยิ บยื่ น
สิ่งไม่น่าปรารถนานอบน้อมยิ่งแล้วทรงเป็นยอดแห่งการเสพคบ (หรือผู้ที่ควรเสพคบ)ฯ
๘. ขอนอบน้อมอย่างยิ่งซึ่งพระนาถะเจ้าผู้บรรลุพระโพธิญาณ ประทาน
พระนิพพานอันประเสริฐแก่ทวยเทพ ทรงเป็นพระเทวาดิเทพ กำจัดมารผู้น่าสะพรึงกลัว (หรือผู้ไม่เกรงขาม) ได้แล้ว น้อมพระทัยไปใน
เพียรภาวนา อันเป็นไปกับด้วย[วิมุตติ]รส ประทานโอวาทแก่ทวยชน ผู้ปราศจากมลทิน (หรือแก่ทวยเทพ)ฯ
๙. ขอน้อมไหว้พระเทวเทพผู้ทรงประทานมรรคและผลอันเลิศกว่า มรรคนั้น แก่ข้าพระองค์ ทรงเป็นอัครบุคคล ขอจงทรงรักษาข้าพระองค์ จากทางอบายด้วยเถิดฯ88
๑๐. ขอน้อมไหว้พระพุ ทธองค์ผู้ทรงปรีชาญาณ มี ปรีชาญาณยิ่งกว่าบรรดา ปราชญ์ ขอน้อมไหว้พระสัทธรรมอันไม่มีโอชารสอย่างอื่นจะชนะได้ ขอน้อมไหว้พระอริยสงฆ์ผู้เพียบพร้อมด้วยอริยทรัพย์ ๗ ประการ ขอน้อมไหว้พระรัตนตรัยอันประเสริฐ มีรัศมีคือพระคุณอันน่า ชื่นชมฯ
๑๑. ขอน้อมไหว้พระองค์ผู้ทรงแนะนำหมู่สัตว์ผู้ควรแนะนำ อันหมู่มนุษย์ และทวยเทพนอบน้อมยิ่งแล้ว ทรงนำหมู่สัตว์เข้าสู่พระนิพพาน ทรงชนะข้าศึก [คือมารห้า] ได้แล้วจึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า “ชินะ” ทรงปราศจากกิเลสมลทิน ปลดเปลื้องหมู่สัตว์ ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ทรงปลุกประทุมชาติคือประชาสัตว์ให้ตื่นขึ้นฯ
๑๒. ขอพระมุนีโปรดทรงปลุกประชาสัตว์น้อยใหญ่ให้ตื่นขึ้นด้วยพระโอษฐ์อันรุ่งเรื อง [คือธรรมเทศนาอันเปรี ยบด้วยรัศมี ]ของพระมุนี ขอพระจันทร์คือพระมุนีจงยังประทุมชาติคือประชาสัตว์ ให้แย้มบาน ด้วยรัศมีจันทร์คือพระพักตร์ของพระมุนีฯ
๑๓. ขอน้อมไหว้พระโลกนาถผู้มี พระอัครยุคลบาทรุ่งเรื องด้วยเครื่ องถนิม
พิมพาภรณ์คือมกุฏาลังการ [แห่งมนุษย์และทวยเทพ] อันทรง สิริรัศมี ทรงกำจัดมารผู้ต่ำช้าซึ่งกระทำมานะอันยิ่งด้วยสิริรัศมี ทรงเป็นที่ ตั้งอยู่แห่งสิ ริ รัศมี (หรือทรง เปรียบประดุจเรื อนแห่งสิริรัศมี )ทรงเป็นดุจธงชัยอันเอกในไตรโลก ทรงเป็นยอดบ่อเกิดแห่งสิริรัศมี (หรือเป็นเลิศกว่าผู้กระทำสิริรัศมี)ฯ
๑๔. พระองค์ทรงกำจัดเสียซึ่ง[กิเลส]มลทิน พร้อมทั้งวาสนา(ความเคยชิน)
ในโลกนี้ได้แล้ว ทรงฆ่าไฟ [๓ กอง คือราคะ โทสะ โมหะ] แห่งไตรโลก
ทรงนำ[หมู่สัตว์] ไปสู่สถานที่ น่าปรารถนา เสด็ จเข้าสู่เวี ยงนิ พพานก่อน
ทีเดียว ทรงยังไตรโลกให้บ่ายหน้าสู่[โลกุตตร]มรรค (แล้วนำไปสู่อมตะนิพพาน ฉะนี้แล ฯ
[/size]

ธรรมะ ปุจฉา:
มิได้ ให้เลิกสวด เว ทา สา กุ  แต่มาแชร์ความรู้กันนะครับ :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว