ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 256 257 [258] 259 260 ... 708
10281  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นิวรณ์ธรรม : การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 08:54:03 am




นิวรณ์ธรรม
ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ : การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น (พุทธพจน์)

สองสัปดาห์ผ่านไปลูกศิษย์บ่นอีกแล้วว่า การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า ทำไมชวนสติมาเข้าพรรษาแล้ว สติก็ยังไม่ค่อยมา อย่างหนึ่งที่ลืมไปก็คือ ไม่ค่อยได้กลับมาอยู่กับคำบริกรรมพุทโธ หรือลมหายใจเข้าและลมหายใจออกนั่นเอง จึงเกิดความฟุ้งซ่านได้ง่าย ถ้าจะเรียกชื่อมันชัดๆ ก็คือ “นิวรณ์” นั่นเอง
 
นิวรณ์ คือ เครื่องกั้นขวางจิต ไม่ให้เราก้าวข้ามกิเลสต่างๆ ทำให้จิตใจไม่ประสบความสงบสุข เย็นสบาย ก็มาติดที่นิวรณ์นี่แหละ

ส่วนใหญ่ที่เรารู้จักนิวรณ์กันมีอยู่ห้าตัว คือ กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในกาม พยาบาท ความหงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคืองมุ่งร้ายหมายทำลาย ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม สะลึมสะลือ ไม่ตื่น อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ คิดโน่นคิดนี่ไม่หยุด และ วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัยในธรรมที่ยังปฏิบัติไปไม่ถึง


 :25: :25: :25: :25:

เมื่อรู้จักชื่อมันแล้ว เวลาง่วงก็เรียกชื่อมันชัดๆ บางทีก็จะช่วยให้เราตาสว่างขึ้น เพราะนิวรณ์เกิดขึ้นได้ก็ดับได้ ทุกอย่างท้ายสุดก็ตกลงที่ “อนิจจัง” หมด ให้เรารู้อย่างนี้ไว้จะได้ไม่กังวล เวลาที่นิวรณ์เกิดขึ้นในจิต จะได้ไม่ไปใส่ใจมัน อย่าไปให้ความสำคัญกับมัน แม้แต่ร่างกายเรานี่ ก็อย่าไปให้ความสำคัญมัน เพราะมันเป็นอนิจจัง ใช้มันเพื่อให้เห็นธรรม สุดท้ายก็ต้องทิ้งมัน มันอยู่ให้ใช้ชั่วคราวเป็นกาลเป็นเวลาเท่านั้น เพื่อไม่ให้เราประมาทในทุกอย่างที่เกี่ยวข้องแม้แต่ร่างกายของตัวเจ้าของเอง

ไม่งั้นพระพุทธเจ้าไม่ตรัสหรอกว่า ทุกอย่างมันไม่เที่ยงจริงๆ ก็คือว่า ให้จิตรู้ว่า ทุกอย่างมันไม่เที่ยงนะ และเมื่อมีสติ ก็จะแจ่มชัดประจักษ์ใจว่า ไม่เที่ยงมันมีอาการเป็นอย่างไร เมื่อเห็นตรงนั้น ก็วางได้ ไม่ไปกังวลว่าฝึกแล้วความสุขจะต้องเที่ยง ความกังวลไม่มา ไม่ใช่ แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่า ความกังวลมาได้ มันก็ไปได้เหมือนกัน

แต่คนเราก็มักผ่านอุปสรรคไม่ได้ เพราะไม่ค่อยสังวรณ์อินทรีย์หรือไม่ค่อยควบคุม อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) และธรรมารมณ์ (ความคิด-สิ่งที่ใจนึกคิด อารมณ์ทางใจ) แต่ก็มีคนที่ผ่านได้ คนที่ทำได้อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้ ก็มี เพราะเพียรฝึกสติ บริกรรมอยู่กับพุทโธนี้ให้ถี่ยิ่งขึ้น

 ans1 ans1 ans1 ans1

เพราะฉะนั้น ทำตามอย่างพระพุทธเจ้า หรือผู้รู้ ที่พาดำเนินมาแล้ว ดีกว่าไหม ท่านผ่านมาแล้ว เราจะเดินตามท่านไหม หรือยังจะตามความคิดของตัวเองอยู่ ก็ไปพิจารณาเอง ถ้ามีสติต่อเนื่องอย่างเดียว มันก็ตัดเรื่องนิวรณ์ออกไป ตัดเรื่องความคิดฟุ้งซ่านออกไป มุ่งอย่างเดียวอยู่กับความรู้ภายใน ซึ่งเป็นความรู้เฉพาะตัว จนสามารถอยู่กับปัจจุบันธรรมได้ ก็ไม่ไปอยู่กับนิวรณ์แล้ว

นิวรณ์จริงๆ แล้วมองได้สองอย่าง คือ มองให้เป็นธรรมก็ได้ มองให้เป็นกิเลสก็ได้ มองอย่างไร.? เช่น มองร่างกายก็มองได้ทั้งสองอย่าง มองให้เป็นกิเลสก็ได้ มองให้เป็นธรรมก็ได้ จะชื่นชอบในร่างกายก็เป็นกิเลส เป็นเครื่องกั้นไม่ให้เข้าถึงธรรม แต่ถ้ามองร่างกายตามความเป็นจริงก็จะเห็นเป็นอสุภะ เป็นของไม่งาม ก็เป็นธรรมสังเวช

ดังนั้น ทุกดวงจิตจึงฝึกได้ เพราะจิตมันมืดมิด จากนิวรณ์ และจิตก็สว่างได้เพราะมีสติ สมาธิ และปัญญาที่ทำให้เห็นความจริง เมื่อเห็นความจริงก็ไม่ตกเป็นทาสกิเลสอีกต่อไป


ขอบคุณบทความจาก
http://www.komchadluek.net/news/amulets/236402
10282  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เมล็ดพันธุ์แห่งการยึดติด เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 08:48:54 am





เมล็ดพันธุ์แห่งการยึดติด
บาตรเดียวท่องโลก โดยพระพิทยา ฐานิสสโร

ชายอเมริกันวัย ๔๐ ปีเศษ อดีตเคยบวชเป็นพระอยู่ประมาณ ๖ ปี เมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว เขาเดินทางมาสถานปฏิบัติธรรมป่าเมเปิล เวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แบบไม่ได้แจ้งล่วงหน้า พร้อมเป้ใบใหญ่ ๑ ใบ พระภิกษุอนุญาตให้พักประมาณ ๑ สัปดาห์ ก็ขอเชิญให้ไปที่อื่น จึงขออนุญาตพระรูปนั้นพูดคุยกับเขา

ช่วงที่สนทนากับเขา ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของคนที่ไร้จุดหมาย แต่ก็ยังไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างชัดเจน เขาบอกว่าเดินทางไปเรื่อยๆ อย่างผู้ไร้บ้านเกือบปีครึ่ง เขาสามารถพูดธรรมะที่ดูเหมือนปล่อยวาง เข้าใจในเกือบทุกเงื่อนไขที่ปรากฏและยอมรับกับมันได้อย่างดี จึงต้องการให้โอกาสเขาพักต่อเพื่อปฏิบัติ และบอกเขาให้ไปเรียนพระภิกษุรูปที่เชิญให้เขาไปว่า จะตกลงไหมถ้าอนุญาตให้อยู่ต่อในการดูแลของเรา ท่านตอบเช่นไรให้ถือเอาคำตอบนั้น

ในช่วงที่อยู่ปฏิบัติต่อด้วยกัน เขามีอาการเพ้อและเหม่อลอยนานๆ ครั้ง เขาไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ราบรื่นต่อตนเองกับคนหลายๆ คนได้ เขาคล้ายคนที่มีความครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา กลางคืนต้องนอนเปิดไฟ เสมอๆ มาทราบภายหลังจากพระที่เคยอยู่กับเขาเมื่อนานมาแล้วว่า เขามีปัญหาเช่นนี้มาเป็นเวลานาน และไม่ต้องการรับการรักษา เป็นเหตุให้เกิดความกลัวต่อผู้ที่อยู่ด้วย เมื่อให้เขาพักได้เกือบสองอาทิตย์ จึงขอเชิญให้เขาไปปฏิบัติที่อื่น และบอกเขาถึงสาเหตุ แต่เขามิได้คิดเช่นเรา และยอมไปแต่โดยดี


 :25: :25: :25: :25:

คนส่วนมากไม่รู้ว่าตัวเองป่วย อีกไม่น้อย ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย และ ไม่อยากรู้ว่าตัวเองป่วย เพราะเมื่อรู้ว่าตัวเองไม่ปกติไม่ว่าทางร่างกาย หรือจิตใจ มันเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับ ด้วยต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ทรมานกับการรักษาเยียวยา ทั้งที่ความเจ็บป่วยก็คือ สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตต้องเจอไม่มากก็น้อย

หลายคนทุกข์ทรมานมากเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขั้นรุนแรงแก่ชีวิต ถึงขั้นฆ่าตัวตายหรืออยากฆ่าตัวตายไปเสีย เพราะคิดแบบผิดๆ ว่า เมื่อตายแล้วทุกอย่างจบ แท้จริงกลับสร้างปัญหาให้แก่ตนเองมากขึ้น เพราะตราบใดที่จิตยังประกอบด้วยความอยาก ไม่อยาก หรือเพลิดเพลิน ไม่พอใจ เกลียดชัง ความตายไม่ใช่จุดจบ จิตยังต้องเดินทางต่อไปตามผลแห่งการกระทำ และถ้าตายด้วยจิตที่เป็นทุกข์ จิตที่เดินทางต่อไปในที่ใหม่จะสงบสุขอย่างไร

หว่านเมล็ดพันธ์ุแห่งความยึดติดไว้ที่จิตเช่นไร ผลก็จะปรากฏเช่นนั้น

 st12 st12 st12 st12

ขณะที่ผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยใช้โอกาสของช่วงเวลาแห่งความเจ็บป่วย ค้นพบสัจธรรมชีวิตของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่กับคนทั่วไป ที่เคยไม่ฝึกพิจารณาใคร่ครวญความจริงของชีวิตอยู่เนืองๆ ทุกวันๆ ทำให้เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นมาถึง จึงยากที่จะยอมรับ ความคิดปฏิเสธในใจจะทำให้จมอยู่กับมัน ร้องไห้ เสียใจ คร่ำครวญ พิรี้พิไรรำพัน ส่วนคนที่คิดได้ ยอมรับได้ จะเข้าใจในความไม่เที่ยงแท้ แล้วปล่อยวางได้ในที่สุด  เพราะความจริงประจักษ์ใจแล้ว จนไม่รู้จะยึดไปเพื่ออะไร

จิตผู้คนที่ย้อมด้วยความเพลิดเพลิน มัวเมา ลุ่มหลงในกามคุณแห่งประสาทสัมผัสทั้งหลายอย่างยึดติดแนบแน่นจนคิดว่ามันเป็นจริง คงทน ถาวน  จึงยากที่ยอมรับเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  และยากที่จะปล่อยวาง แม้จะประกาศตัวเองว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ตาม แต่ถ้าจิตยังมิได้รับการฝึกสติอย่างต่อเนื่องให้แข็งแรง ก็ยังเปี่ยมไปด้วย โลภ โกรธ หลง ด้วยกันทั้งสิ้น และนั่นหมายความว่า เราก็ยังเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการเยียวยาด้วยธรรมโอสถ

ความยึดมั่น ถือมั่น คือ เชื้อโรคร้ายที่ลุกลามมากยิ่งขึ้นในสังคมนิยมบริโภค รักษาเท่าไรก็ไม่หาย เพราะไม่รู้ว่า ตัวเองป่วย อีกทั้งยังบริโภคเชื้อโรคอยู่ทุกวัน ด้วยการสนองความอยาก ความโกรธ ความหลง จากการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ


 st11 st11 st11 st11

แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติเพื่อลดความยึดมั่น ถือมั่น จะค่อยๆ เห็นความไม่น่ารัก ไม่ดีของตัวเองมากยิ่งขึ้น ละเอียดขึ้น ซึ่งช่วงแรกยากมากที่ยอมรับ เมื่อเห็นว่าที่เคยคิดว่าตัวเองทำดี ที่แท้ก็เพื่อสร้างตัวตนให้คนอื่นมองว่าดี ยอมรับว่าดี ต้องการคำชม คำเยินยอ เกียรติยศ ชื่อเสียง ลาภ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งซ่อนเร้นในการทำดีที่แท้จริง

การต้องการการยอมรับ มันได้สร้างความหลงตน อวดตนที่น่ากลัว น่าชัง เพราะการติดดี เป็นเชื้อโรคให้เรายึดตัวตน ของตนอย่างไม่อยากปล่อย ทำให้เราขาดซึ่งความเมตตา กรุณา เห็นใจต่อเขาเหล่านั้น เราสูญเสียความงดงามแห่งจิตใจ ทั้งที่เราทำดีอยู่ แต่เป็นความดีที่ยังหวังผล ความดี ความบริสุทธิ์ของจิตจึงไม่มีอยู่จริง

      ไม่สนองความอยากของจิต คือ ความเมตตากรุณาที่ยิ่งใหญ่
      ความอยาก ยิ่งเติม ยิ่งพร่อง
      จิตหมดทุกข์ ก็หมดอยาก


ขอบคุณบทความจาก
http://www.komchadluek.net/news/amulets/236400
10283  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำอย่างไร.? แม่จึงจะปล่อยวาง เลิกโมโหและอาฆาต เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 08:43:33 am





ทำอย่างไร.? แม่จึงจะปล่อยวาง เลิกโมโหและอาฆาต
ปุจฉา-วิสัชนากับพระไพศาล วิสาโล 

ปุจฉา : คุณแม่อายุ ๗๐ กว่าแล้ว พื้นฐานเป็นคนใจดีมาก ใจกว้าง ชอบแบ่งปัน แต่ก็มีหลายครั้งที่คนที่ท่านช่วยเหลือทำให้ท่านเสียใจภายหลัง เรื่องบ่นโน่น บ่นนี่ คงเป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่เพียงแต่ว่าความแค้นเก่าๆ ที่ค้างไว้หลายสิบปี เมื่อเอ่ยถึงครั้งใด ก็กระฟัดกระเฟียด โมโหหนักมาก เวลาบอกให้ยอมอโหสิกรรม จะได้ไม่ผูกกรรมต่อกันไปในชาติหน้า แม่ก็จะบอกว่า ไม่มีทาง และไม่ยอมท่าเดียว เวลาโมโหก็จะด่าแรงๆ หน้าแดง จนกลัวว่าแม่จะเป็นลมซะก่อน

ไม่อยากให้แม่ติดอารมณ์แบบนี้ กลัวว่ามันจะเป็นการส่งให้ตัวแม่ไปอยู่ในที่ที่ไม่ดีในภพหน้า เวลาเตือนก็ยิ่งโมโหมากขึ้นไปอีก ไม่ทราบว่า พอมีวิธีไหนแนะนำให้รับมือกับบุพการีแบบนี้ได้บ้างคะ อยากให้ท่านปล่อยวาง อยากให้ท่านมีความสุข และลดอารมณ์แบบที่เป็นอยู่สักนิดหน่อยก็ยังดีค่ะ ขอบคุณค่ะ


 ans1 ans1 ans1 ans1

วิสัชนา : อาตมาคิดว่าสิ่งแรกที่ลูกควรทำ คือเข้าใจความรู้สึกของแม่ว่าเจ็บปวดเพียงใดที่ถูกเนรคุณหรือทรยศหักหลัง ควรเปิดโอกาสให้ท่านเล่าถึงความเจ็บปวดของท่าน โดยลูกฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน และไม่สอดแทรก หรือขัดจังหวะ ต่อเมื่อท่านเล่าจบจึงค่อยซักถาม เพื่อพยายามเข้าใจความรู้สึกของท่าน

การที่ท่านมีโอกาสระบายหรือเล่าโดยมีคนฟังอย่างใส่ใจนั้น จะช่วยให้ท่านรู้สึกดีขึ้น เจ็บปวดน้อยลง ขณะเดียวกันลูกก็จะได้เข้าใจความรู้สึกของท่าน และเห็นใจท่าน ทั้งหมดนี้ช่วยให้แม่รู้สึกดีกับลูกมากขึ้น

เมื่อลูกตั้งใจฟังแม่ ต่อไปแม่ก็จะฟังลูกมากขึ้น ไม่รู้สึกมีอคติกับลูก ท่าทีดังกล่าวจะช่วยให้ลูกสามารถแนะนำท่านได้ อาจเริ่มต้นด้วยการถามท่านว่า รู้สึกทุกข์ไหมกับความโกรธที่เกิดขึ้น และคิดอยากจะบรรเทาความโกรธบ้างไหม แม่เคยทำอย่างไรบ้างในการบรรเทาความโกรธเกลียดเคียดแค้น ระหว่างที่คุยก็อย่าเพิ่งคิดว่าจะต้องชักชวนท่านให้อโหสิกรรมแก่คนเหล่านั้น พยายามวาง “โพย” ดังกล่าวไว้ก่อน ขอให้พยายามทำความเข้าใจท่านเป็นหลัก นั่นคือเอาท่านเป็นศูนย์กลาง

เรื่องแบบนี้คงไม่อาจทำให้เสร็จในการพูดครั้งเดียวได้ คงต้องพูดหลายครั้ง ต่อไปก็อาจถามท่านว่า ชีวิตที่เหลืออยู่ของท่านอยากให้เป็นอย่างไร ถ้าท่านบอกว่า อยากมีชีวิตที่สงบสุข ก็ควรใช้โอกาสนี้ถามท่านว่า มีอะไรที่ทำให้ใจไม่สงบสุขบ้างไหม ถึงตรงนี้จึงค่อยพูดถึงเรื่องปล่อยวาง การให้อภัย เป็นต้น

สรุปก็คือ อย่าใจร้อน ค่อยๆ พูด ที่สำคัญคือพยายามเข้าใจท่าน ฟังท่านให้มาก ความไว้เนื้อเชื่อใจที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ท่านเปิดรับคำแนะนำของคุณมากขึ้น



ขอบคุณบทความจาก
http://www.komchadluek.net/news/amulets/236401
10284  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฝอยทอง มีกำเนิดในตะวันออกกลาง ตั้งแต่พันกว่าปีมาแล้ว เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 07:57:06 am



ฝอยทอง มีกำเนิดในตะวันออกกลาง ตั้งแต่พันกว่าปีมาแล้ว หรุ่ม อาหารว่างมุสลิม ของ อ. กุสุมา รักษมณี

ฝอยทอง เป็นของหวานในวัฒนธรรมตะวันออกกลาง ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1350 ตรงกับยุคทวารวดีในไทย
อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พบหลักฐานจากเอกสาร แล้วส่งมาให้อ่าน จึงขอแบ่งปันไปทั่วๆ กัน บางทีจะมีข้อแนะนำดีๆ เพิ่มอีก ดังนี้

abrayshum kebab หรือ กะบับสายไหม (silk kebab, abrayshum แปลว่า ไหม) เป็นอาหารที่ทำจากไข่แดงเป็นส่วนประกอบสำคัญ ส่วนใหญ่แล้วมักจะทานกันในฐานะของหวานเพราะมีการใส่ไซรัปเข้าไป ปัจจุบันยังมีในประเทศอัฟกานิสถาน จึงมีหน้าตาคล้ายฝอยทองของไทย และ fios de ovos ของโปรตุเกส

ชาวอัฟกานิสถานเชื่อว่า กะบับสายไหม นั้นน่าจะมีที่มาจากแคว้นแคชเมียร์ในประเทศอินเดีย โดยแต่เดิมน่าจะไม่มีรสชาติหวาน เพราะเป็นการนำไข่แดงมาทำเป็นเส้นแล้วพันรอบ Shami Kebab (กะบับที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่นิยมอยู่ในปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ) จึงเป็นที่มาของการเรียก กะบับสายไหมว่า “กะบับ” ซึ่งอันที่จริงแล้วหมายถึงอาหารที่เสียบไม้ปิ้ง

ไม่ว่าความเชื่อของชาวอัฟกานิสถานจะจริงหรือไม่ก็แล้วแต่ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของอาหารจานนี้ พอๆ กันกับที่เชื่อกันว่ากะบับสายไหมนั้นได้แนวคิดในการทำมาจากการผลิตไหม (ที่ในโลกยุคโบราณถือเป็นความลับ) ในเส้นทางสายไหม ที่ดินแดนบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในเส้นทางที่ว่า

รูปร่างหน้าตาของกะบับสายไหมยังใกล้เคียงกันกับของหวานเก่าแก่อีกเมนูหนึ่งที่นิยมกันอยู่ในตุรกี และดินแดนหลายส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่เรียกกันว่า kunafah หรือ kadaif ที่เป็นเส้นและมักจะถูกเสิร์ฟในสภาพคล้ายรังนก เพียงแต่ว่าเส้นของ kadaif นั้นทำจากข้าวสาลี ไม่ใช่ไข่แดง

อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าของหวานจานนี้มีอายุสืบไปได้ถึงช่วง พ.ศ. 1350 เลยทีเดียว


ข้อมูลอ้างอิง: Helen J. Saberi. “Silk Kebab and Pink Tea” in Look & Feel : Studies in Texture, Appearances and Incidental Characteristics of Food, Oxford Symposium on Food and Cookery 1993. (Prospect Book, 1994), pp. 187-202.


 :49: :49: :49: :49: :49:


หรุ่ม

หรุ่ม อาหารว่างมุสลิม มีคำอธิบายถูกต้องในหนังสือที่ได้รับแจกนานแล้ว ด้วยความกรุณาจาก อ. กุสุมา รักษมณี แต่ผมคัดลอกเอาไปใช้งานตกหล่นผิดพลาด โดยท่านเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่กรุณาอภัยโทษ หาโกรธเคืองผู้น้อยไม่ จึงจะขอถ่ายแบบของจริงมาแบ่งปัน โดยได้รับอนุญาตแล้วจาก อ. กุสุมา ดังนี้


ปกหนังสืออาหารในสำรับมุสลิมบางกอกน้อย ของ ศ. เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี สมาคมราชการุญพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2555 หน้า 80-84



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่ : 1 ส.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/233046
10285  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 07:36:16 am




ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน

ข่าวนี้สร้างความตกใจแก่ผมพอสมควร เมื่อปลายเดือนที่แล้ว มีการประชุมที่เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีบุคคลจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดเชียงใหม่เป็นตัวแทนฝ่ายฆราวาส ที่ประชุมมีมติแจ้งแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ว่า ทางกลุ่มคัดค้านโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลในทุกอำเภอของเชียงใหม่ หลังจากที่โครงการเช่นนี้ถูกระงับไปที่อำเภอดอยหล่อ เพราะกระแสคัดค้านเช่นกัน

แค่นี้ผมคงไม่ตกใจอะไร หลังจากได้อ่านข่าวการต่อต้านมุสลิมในจังหวัดภาคเหนือมาหลายครั้งแล้ว เช่นคัดค้านการสร้างมัสยิด หรือร้องเรียนทางการว่าการเรียกสวดของมัสยิดที่มีมานานแล้วรบกวนความสงบสุขของตน ฯลฯ

แต่ที่ออกจะตกใจก็คือกลุ่มที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นอกจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังประกอบด้วยกลุ่มอื่นอีก 11 องค์กร คือศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ ศูนย์เผยแพร่ธรรม จ.เชียงใหม่ พุทธสมาคม จ.เชียงใหม่ ยุวพุทธิกสมาคม จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ฯลฯ (กลุ่มอะไรอีกบ้าง สื่อไม่ได้รายงานไว้ให้ครบ 11) นั่นคือองค์กรทุกกระแสของพุทธศาสนาที่เป็นทางการของไทย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรด้านวิชาการ และองค์กรซึ่งครั้งหนึ่งเชื่อมโยงปัญญาชนชาวพุทธที่เป็นฆราวาสเข้ากับการเผยแผ่พุทธศาสนา เช่น พุทธสมาคม และยุวพุทธิกสมาคม


 :96: :96: :96: :96:

เหตุผลที่คัดค้านตามที่สื่อรายงานก็คือ “โครงการนี้จะส่งผลกระทบในพื้นที่หลายเรื่อง ทั้งปัญหามลพิษและของเสียจากกระบวนการผลิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งแตกแยก เนื่องจากความแตกต่างทางวิถีชีวิตระหว่างชาวพุทธใน จ.เชียงใหม่ กับชาวมุสลิมที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ และที่มีการอ้างว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานคนท้องถิ่น ไม่เป็นความจริง เพราะตามหลักศาสนาอิสลามห้ามคนนับถือศาสนาอื่นทำงานฮาลาลอยู่แล้ว”

อ่านข้อคัดค้านแล้วก็คงเห็นด้วยว่ามีเหตุมาจากอคติต่อมุสลิม มากกว่าความรู้ความเข้าใจศาสนาอิสลามจริงจัง ข้อนี้ไม่น่าตกใจอะไร เพราะในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยต่อต้านกันและกันด้วยอคติมากกว่าความรู้ความเข้าใจตลอดมา ผมคงไม่มีความสามารถไปลดทอนอคติของใครได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจแก่ผมมากกว่าก็คือกระแสต่อต้านมุสลิมในเมืองไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบนนั้น เกิดขึ้นจากอะไร

แต่ก่อนจะไปตอบปัญหานั้น ผมก็ยังมีหน้าที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ข้อคัดค้านของ 12 องค์กรนั้นเป็นอคติ เพราะไม่สนใจจะเหลียวไปดูว่าฮาลาลในศาสนาอิสลามนั้นหมายถึงอะไรกันแน่

ปัญหามลพิษและของเสียจากกระบวนการผลิตจนกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมแน่ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมอะไร แต่ไม่เกี่ยวอะไรทั้งสิ้นกับอิสลาม ทั้งนี้เพราะกฎหมายและการบริหารควบคุมนิคมอุตสาหกรรมของภาครัฐไทย ไม่ทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพจริง

 :41: :41: :41: :41:

ฮาลาลคือสิ่งที่อนุญาตแก่มุสลิม ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือพฤติกรรม ตามหลักการแล้วสิ่งที่ไม่ได้ห้ามไว้ทั้งหมด คือสิ่งที่อนุญาต แต่ที่มักจะเจาะจงกันก็คืออาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ เช่นเครื่องสำอางและยา ซึ่งอาจปนเปื้อนสัตว์หรือผลผลิตจากสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมใช้บนหรือแก่ร่างกายของตน (เช่นสารที่สังเคราะห์จากหมู หรือวัคซีนที่เพาะจากหมู เป็นต้น)

การฆ่าสัตว์ที่ใช้ในการบริโภคต้องกระทำให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ส่วนสำคัญของพิธีกรรมนี้คือการไม่ทรมานสัตว์นั่นเอง เช่นต้องใช้มีดที่คมกริบ แทงให้ลึกลงไปที่ส่วนหน้าของคอ (คือเชือดหลอดลมและหลอดเลือดสำคัญให้ขาดโดยรวดเร็ว) อีกส่วนหนึ่งคือความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่จะบริโภค เช่นซากสัตว์ที่ตายเองห้ามบริโภค หรือสัตว์ที่ถูกทุบตีจนตาย หรือเป็นเหยื่อของสัตว์อื่นก็ห้ามบริโภค เป็นต้น

ใช่เลย โรงฆ่าสัตว์ในประเทศไทยมักถูกปล่อยปละละเลยให้ทิ้งของเสียลงสู่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นโรงฆ่าสัตว์ฮาลาลหรือไม่ก็ตาม แม้แต่โรงฆ่าสัตว์ของนายทุนใหญ่ก็มีปัญหาเหมือนกัน แต่ก็ดังที่กล่าวแล้วว่าเพราะกฎหมายและการบริหารจัดการของเราไม่ดี จึงปล่อยให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะเช่นนี้ได้

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อันที่จริงการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามอาจมีปัญหาได้จริงเหมือนกัน เพราะการทำให้สัตว์งงด้วยสารเคมีหรือการชอร์ตไฟฟ้าก่อนลงมือฆ่า อันเป็นวิธีที่โรงฆ่าสัตว์สมัยใหม่ใช้เพื่อไม่ทรมานสัตว์นั้น อิสลามไม่อนุญาต และที่ไม่อนุญาตนั้นก็ไม่ได้มาจากความป่าเถื่อนอะไร แต่เพราะอาจทำให้เนื้อสัตว์มีอันตรายในการบริโภคระยะยาวได้ ทำให้ประเทศตะวันตกบางประเทศไม่อนุญาตให้มีโรงฆ่าสัตว์ฮาลาล เพราะกฎหมายของเขาบังคับว่าต้องทำให้สัตว์ “งง” เสียก่อนฆ่า

แต่ข้ออ้างอันนี้ใช้ในเมืองไทยได้ยาก เนื่องจากโรงฆ่าสัตว์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำให้สัตว์งงแต่อย่างไร ใครเคยอยู่ใกล้โรงฆ่าหมูก็จะได้ยินเสียงกรีดร้องของหมูเกือบทั้งวัน

เฉพาะการฆ่าสัตว์เท่านั้นที่บังคับว่าต้องกระทำโดยคนที่เป็นมุสลิม ส่วนการเอาเนื้อสัตว์ไปปรุงอาหาร จะทำโดยคนไม่ใช่มุสลิมก็ได้ เพียงแต่ต้องแน่ใจว่าส่วนประกอบอื่นต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล เช่นไม่ใช้น้ำมันหมูในการปรุงอาหาร การผลิตอาหารซึ่งมีตราฮาลาลที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาตินั้น เป็นช่องทางส่งออกอาหารที่มีตลาดกว้างขวางทีเดียว ผมเคยซื้ออาหารกระป๋องจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีตราฮาลาล แต่ที่จริงแล้วผลิตที่ปทุมธานี แล้วส่งไปติดฉลากในประเทศเพื่อนบ้าน เปิดกินเข้าก็อาหารไทยเราดีๆ นี่เอง อร่อยเสียด้วย

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

เท่าที่ผมทราบ ในเมืองไทยยังไม่มีองค์กรที่ได้การรับรองเป็นสากลในการออกตราฮาลาล เขาว่ากันว่าแย่งกันอุตลุดระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพราะมีผลประโยชน์แฝงมหาศาลทีเดียว แต่หากองค์กรใดได้ไป และทำด้วยความซื่อสัตย์จริงก็จะช่วยการส่งออกไทยได้แยะ ไม่เฉพาะแต่อาหาร ยังรวมถึงเครื่องสำอางและยาซึ่งต้องวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีอย่างรัดกุมให้ฮาลาลจริง

ดังนั้น หากมีนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีมุสลิมอพยพเข้ามาทำงานในนิคมจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่ของแรงงานก็คงเป็นคนเชียงใหม่หรือจังหวัดใกล้เคียง

แต่ผมไม่อยากใช้เงินหรือผลประโยชน์ทางวัตถุมาเป็นเหตุผลว่าควรยอมให้มีนิคมฮาลาลขึ้น จะมีหรือไม่เป็นเรื่องที่คิดและถกเถียงกันได้ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่เป็นอคติทางศาสนาเท่านั้น


 :91: :91: :91: :91:

คราวนี้กลับมาสู่อคติทางศาสนาซึ่งผมสนใจมากกว่า คำถามที่ผมอยากตอบมีสองอย่างที่สัมพันธ์กันคือ
     1/ ทำไมอคตินี้จึงต้องมุ่งไปยังมุสลิม
     2/ ทำไมจึงภาคเหนือ
เราสามารถค้นหาสมุฏฐานของอคติทางศาสนาได้หลายอย่าง เช่นมีเชื้ออยู่ในคำสอนทางศาสนาของสังคมนั้นอยู่แล้ว มีคนยุยงปลุกปั่น มีการสมคบคิดของกลุ่มคนเพื่อจุดมุ่งหมายอื่น หรือข่าวสารข้อมูล คำตอบเหล่านี้อาจถูกก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนจำนวนมากในสังคม หรือเมื่อเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หนึ่งในคำตอบก็ต้องเป็นเงื่อนไขปัจจัยของสังคมนั้นเอง ที่ผลักดันให้คำยุยง, คำสอน, การสมคบคิด ฯลฯ มีความหมายพอที่จะทำให้คนจำนวนมากลุกขึ้นมาทำอะไรต่อมิอะไรได้ ผมสนใจอยากรู้คำตอบในแนวนี้

เพื่อจะตอบปัญหานี้ได้ คงต้องศึกษาค้นคว้าอีกมาก ซึ่งเกินความสามารถของผม ฉะนั้นจึงขอตอบตามความนึกคิด

1. ผมไม่ทราบชัดว่ามุสลิมเป็นสัดส่วนเท่าไรในหมู่ประชากรของภาคเหนือตอนบน แต่เข้าใจว่าน้อยกว่าทุกภาค และส่วนใหญ่คือประชากรอพยพจากยูนนาน นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับว่า มุสลิมในภาคกลางและภาคใต้แทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำในสังคมไทย แต่ไม่ใช่มุสลิมในภาคเหนือตอนบน ไม่ว่าในวงการธุรกิจ, องค์กรเกียรติยศตามประเพณี, ผู้นำด้านวัฒนธรรม, ด้านวิชาการ, หรือในองค์กรวิชาชีพ แทบจะหาชนชั้นนำที่เป็นมุสลิมในภาคเหนือตอนบนไม่ได้เลย

มุสลิมในภาคเหนือตอนบนจึงถูกมองให้เป็น “อื่น” ได้ง่าย

เมื่อเปรียบเทียบกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ในภาคเหนือตอนบน จะมองเห็นประเด็นนี้ได้ชัด นอกจากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ภาคเหนือเป็นพื้นที่ทำงานของมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ที่เก่าที่สุด ไม่ว่าคริสต์ศาสนิกรุ่นแรกๆ จะเป็นใครมาจากไหน แต่เขาคือคนมีการศึกษาแผนใหม่กลุ่มแรกๆ ของภาคเหนือตอนบน เป็นผู้ประกอบ “วิชาชีพ” กลุ่มแรกๆ เช่นกัน และเป็นผู้บริหารธุรกิจสมัยใหม่กลุ่มแรกๆ พร้อมๆ กับตระกูลจีนในท้องถิ่น หรือหลังลงมาก็ไม่นานนัก

ชาวพุทธไทยในปัจจุบันไม่รู้สึกว่าพุทธศาสนากำลังถูกคุกคามจากคริสต์ศาสนา ทั้งๆ ที่คริสต์ศาสนามีองค์กรเผยแพร่ศาสนาที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดยิ่งกว่าศาสนาอิสลามในประเทศไทยเสียอีก

 :49: :49: :49: :49:

2. ผมคิดว่าพุทธศาสนาที่เป็นทางการของไทยกำลังอ่อนแอลง ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐซึ่งเป็นผู้อุ้มชูปกป้ององค์กรพุทธศาสนาอ่อนแอลงด้วย อีกส่วนหนึ่งก็เพราะองค์กรพุทธศาสนาที่เป็นทางการ ไม่อาจทำให้คำสอนสอดคล้องกับชีวิตในโลกสมัยใหม่ของผู้คนได้

ผมคิดว่าคนในภาคกลางและภาคใต้ ซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนก่อนใคร คือต้องเข้าไปผลิตในเศรษฐกิจตลาดอย่างเข้มข้นขึ้นมานานแล้ว ปรับเปลี่ยนคำสอนทางศาสนาด้วยการทำให้ “ศาสนา” ตอบสนองต่อผลสำเร็จทางโลกได้ชัดเจนขึ้น เช่น เครื่องรางของขลัง, พิธีกรรมนานาชนิด, ตลอดจนการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอื่นๆ ให้กลายเป็นเทพของพุทธศาสนา (พระคเณศ, เจ้าแม่กวนอิม, เสด็จพ่อ ร.5,จตุคามรามเทพ, ฯลฯ)

ภาคอีสานก็ได้เปลี่ยนมาสู่วิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ชีวิตถูกดึงให้ไปอยู่ในตลาดเหมือนกัน แต่ภาคอีสานนั้นกว้างใหญ่ไพศาลและมีผู้คนอยู่มาก การปรับเปลี่ยนเป็นไปอย่างสมดุลพอสมควร เช่นในขณะที่อีสานเป็นแหล่งของ “พระป่า” ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรศาสนาแล้ว แต่อีสานก็ยังมีความเชื่อเรื่องผีแม่ม่าย ลึกไปกว่านั้นอิทธิพลของฮีตคองก็ยังมีบทบาทในชีวิตของผู้คน แม้จะถูกปรับเปลี่ยนไป เช่น ยิงบั้งไฟเพื่อพนันกันในกลุ่มคนหนึ่ง เพื่อได้มีบทบาทในสังคมเมืองซึ่งตัวไม่เคยมีพื้นที่เหมือนคนอื่นแก่คนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น แต่เขาก็ยังยิงบั้งไฟกันอยู่ ในขณะที่เลิกยิงในภาคเหนือตอนบนไปแล้ว


 :41: :41: :41: :41:

ภาคเหนือตอนบนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน และอาจเร็วกว่าอีสานด้วย ดูเหมือนภาคเหนือตอนบนจะเผชิญปัญหาไม่มีพระภิกษุประจำวัดก่อนภาคอื่น เพราะผู้คนไม่นิยมบวชเรียนนานเกินพรรษา ในช่วงหนึ่งต้องรับพระจากภาคอีสานมาประจำวัด

ในภาคเหนือตอนบน วัดกับชุมชนสัมพันธ์กันผ่านตุ๊เจ้า เมื่อไม่มีตุ๊เจ้าที่ชาวบ้านคุ้นเคยให้ความนับถือ “ศาสนา” แบบเก่าของคนเมืองจึงหายไป เช่นชุมชนที่เป็น “ศรัทธา” ของวัดต่างๆ หมดบทบาทลง เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมจำได้ว่าในงานพิธีต่างๆ ชุมชนเหล่านี้ยังมีบทบาทมาก นับตั้งแต่มีช่างฟ้อนในชุมชนไว้แห่พระหรือร่วมในพิธีกรรมต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ถ้าไม่ออกไปนอกเมืองจริงๆ แล้วก็แทบไม่ได้เห็นงาน “ปอย” ในชุมชนใดอีก (จัดงานในชุมชนเพื่อรวมรวมเงินและสิ่งของไปถวายวัด)

ในแง่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ศาสนาต้องตอบสนอง ผมเข้าใจว่าภาคเหนือตอนบนมี “เกจิ” น้อยนะครับเมื่อเปรียบเทียบกับภาคกลางและภาคใต้ พระภิกษุที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางคือครูบาศรีวิชัยและสานุศิษย์ของท่าน ไม่ใช่ “เกจิ” ที่มีเครื่องรางของขลังระดับชาติ “พระป่า” สายอาจารย์มั่นในภาคเหนือก็มรณภาพไปหมดแล้ว วัดที่ท่านเคยประจำอยู่ก็แทบจะร้างไป

 ans1 ans1 ans1 ans1

ผมจึงอยากสรุปอย่างง่ายๆ ว่า ในท่ามกลางความอ่อนแอของพุทธศาสนาที่เป็นทางการ พุทธศาสนากระแสนี้ในภาคเหนือตอนบนอ่อนแอที่สุด จนชาวพุทธในภาคเหนืออาจรู้สึกถึงความอ่อนแอนี้ได้ชัดเจนกว่าชาวพุทธในภาคอื่นๆ จึงเป็นธรรมดาที่ชาวพุทธในภาคเหนือตอนบนจะหวั่นไหวว่าถูกคุกคามจากความเป็น “อื่น” ได้ง่ายกว่า และดังที่กล่าวแล้วว่า อิสลามถูกทำให้เป็น “อื่น” ได้ง่ายกว่าในภาคเหนือตอนบน อะไรที่เกี่ยวกับอิสลามจึงถูกใช้เพื่อต่อต้าน เป็นการปลอบใจกันและกันว่าเรายังเข้มแข็งอยู่

ผมคิดว่าการตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับศาสนาอื่นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าพุทธต่อต้านมุสลิม หรือมุสลิมต่อต้านพุทธ มักเกิดขึ้นจากความอ่อนแอทางศาสนาของสังคมนั้นๆ เอง ทั้งนี้รวมถึงศาสนาใหม่ๆ ทั้งหลาย เช่น รัฐฆราวาสวิสัย, ประชาธิปไตย, การแข่งขันเสรีในระบบทุนนิยม ฯลฯ ด้วย จะต่อต้านศาสนาอื่น ก็เพราะสงสัยในศาสนาของตนเอง หรือมองไม่เห็นคุณค่าของศาสนาตนเอง


เขียนโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันที่ 15 ก.พ. 59
http://www.matichon.co.th/news/38007
10286  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชัยชนะของพญามาร เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 08:22:55 am




ชัยชนะของพญามาร

ไม่ใช่แต่ พระอาจารย์พรหม จะอ่านเรื่องสั้นของ ตอลสตอย ปรัชญาเมธีรัสเซีย ผู้รู้เมืองไทย อย่างอาจารย์ ส.พลายน้อย ก็อ่าน อ่านแล้วท่านเอามาเล่าต่อ (เรื่องข้างสำรับ ส.พลายน้อย สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ 2559)

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีชาวนาคนหนึ่ง ออกจากบ้านไปไถนาจนได้เวลาหิว ก็เดินมาหยิบขนมปัง ที่วางไว้ใต้พุ่มไม้ แต่มันหายไปแล้ว แทนการโกรธขึ้งปึงปัง ชาวนากลับคิดว่า คนที่มาขโมยขนมปังไปกิน คงจะหิวมากกว่า แล้วเขาก็ไปหาน้ำแทน ความจริง ขโมยขนมปัง คือตัวมาร มันได้รับบัญชาจากพญามาร ให้หาวิธีทำให้ชาวนาโกรธให้จงได้

การที่มารหาเรื่องให้ชาวนาโกรธไม่ได้ ทำให้พวกมารเสียชื่อ เกียรติศักดิ์รักของข้าของพวกมารจะฉิบหาย พญามารจึงใช้ปกาศิตเด็ดขาด หากตัวมาร (ตัวนั้น) ทำให้ชาวนาโกรธไม่ได้ภายในสามปี มันจะถูกลงโทษร้ายแรง ถูกจับเอาหัวกดลงในน้ำมนต์ น้ำมนต์เป็นเครื่องหมายของฝ่ายดี พวกมารจึงจงเกลียดจงชังน้ำมนต์

ตัวมารรับปกาศิตก็กลับมานอนคิดอุบาย คิดอยูู่หลายคืน ก็เริ่มเห็นช่องทาง มารแปลงกายเป็นกรรมกร ไปรับจ้างชาวนาทำนา ระหว่างชาวนาลังเลจะเลือกทำเลทำนา มารก็แนะให้ชาวนาทำนาในที่ลุ่ม ปีนั้นฝนแล้ง น้ำน้อย ข้าวกล้าในนาคนอื่นเสียหาย แต่นาของชาวนาในที่ลุ่ม กลับได้ผลงอกงาม ชาวนามีข้าวเก็บไว้เหลือขายมากมาย ร่ำรวยอยู่คนเดียว


 :32: :32: :32: :32:

ปีต่อมา มารแนะให้ชาวนาทำนาในที่ดอน แล้วปีนั้นน้ำก็มาก ท่วมต้นข้าวชาวนาอื่นเสียหาย แต่ของชาวนาได้ผลดี เพราะอยู่ในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง สองปีชาวนาปลูกข้าวได้มากมาย มีข้าวเหลือกินเหลือขาย จนแทบไม่รู้ว่าจะเอาข้าวไปทำอะไรดี มารได้ทีแนะนำให้ป่นข้าวหมักทำเป็นเหล้า ชาวนาทำแล้วก็ชักชวนเพื่อนฝูงมาตั้งวง

โอกาสนี้เองที่ตัวมารเห็นว่าแผนการบรรลุเป้า ก็รีบไปรายงานพญามาร ให้มาดูผลงานด้วยตัวเอง พญามารมาถึง ในเวลาที่เมียชาวนายกไหเหล้ามาตั้ง และกำลังตักแจกเพื่อน จังหวะนั้นเกิดสะดุดขาโต๊ะ เป็นเหตุให้ไหเหล้าตกแตก “อีโง่ อีเซ่อ” ชาวนาผู้แสนดี เคยหิวถูกขโมยขนมปังไปกินไม่โกรธ กลายเป็นชาวนาอีกคน ด่าเมีย แล้วก็สั่งให้ยกเหล้าไหใหม่มารินให้เพื่อนๆกินต่อ

เมื่อชาวนาและเพื่อนบ้านกินเหล้าเข้าไปหลายแก้ว ก็คุยโม้โอ้อวด แสดงความเก่งกล้า คนที่เมามากก็ล้มตัวนอนเกะกะ พญามารพอใจมาก ชมตัวมารว่า ทำงานได้ผล

พญามารมองอาการคนเมาแล้วถาม เอาเลือดหมาใน เลือดหมาจิ้งจอก หรือเลือดหมู ผสมในเหล้า มารตอบว่า ไม่ได้ผสมอะไรในเหล้า แต่เลือดสัตว์ทั้งสามนั้น ฝังในตัวคนอยู่แล้ว พอกินเหล้าเข้าไปฤทธิ์เดชจึงออก พอพญามารยกโทษให้ตัวมาร นิทานที่ตอลสตอยเล่าก็จบ

 :41: :41: :41: :41:

นับแต่นั้นเหล้าก็ดื่มกันแพร่หลายในหมู่มนุษย์ทั่วไป จนเกิดข้อถกเถียง ฝ่ายหนึ่งว่าเหล้าดีมีประโยชน์ อีกฝ่ายว่าเหล้ามีแต่โทษ เถียงกันหนักเข้า ถึงขั้นต้องตั้งกลุ่มย่อยกลุ่มใหญ่ ทำประชาพิจารณ์ แล้วก็กำหนดวัน ลงประชามติให้เด็ดขาดชัดเจน ในหัวข้อ จะเอาเหล้า หรือไม่เอาเหล้า

ระหว่างที่ยังไม่ถึงวันลงประชามตินี้ ส.พลายน้อย บอกว่า พวกที่ว่าเหล้าไม่ดี ทำได้แต่ก่นด่า ส่วนพวกที่เห็นว่าของเมา เป็นของดีก็ดื่ม ก็เมาหัวราน้ำไป

แต่มีคนพวกหนึ่งมีขันติดีมาก นิ่งมาก คือพวกโรงเหล้า โรงเบียร์ โรงไวน์ ฯลฯ ใครจะด่าใครจะชม ไม่สนใจ ตั้งหน้าตั้งตาทำเหล้าเบียร์ขายทำไวน์...ขาย...ก็ร่ำรวยกันไป และดูเหมือน กำหนดวันสุรามติที่ว่า วันนี้วันนั้น ก็คงจะถูกเลื่อนออกไป และเลื่อนออกไป เพราะนับแต่วันที่มนุษย์ชอบดื่มเหล้าฯ บุญญาบารมีของพวกเจ้าสัวโรงเหล้าก็ยิ่งเพิ่มพูน จนเห็นชัดเจน ว่าวันสุรามตินั้น จะมีได้แต่เพียงในฝัน ไม่มีวันจะเป็นจริง.


       กิเลน ประลองเชิง


คอลัมน์ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 2 ส.ค. 2559
http://www.thairath.co.th/content/678391
10287  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนชั้นกลางไทย เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 08:14:17 am


คนชั้นกลางไทย

ด้วยเหตุใดไม่ทราบ ผมอ่านบทความเรื่อง “สังคมตายด้าน” ของคุณใบตองแห้งในข่าวสดแล้ว ผ่าไปคิดเรื่องคนชั้นกลางไทย มันจะเกี่ยวกันอย่างไร ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

คนชั้นกลางหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไหนๆ ก็มักจะเติบใหญ่ ทั้งปริมาณและคุณภาพ คือมีจำนวนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และมีฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคมสูงขึ้น มันก็มีสะดุดบ้างเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่นเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ.1929 และต้นทศวรรษ 1930 คนชั้นกลางอเมริกันตกงานจนพากันหิวโหย เพราะแทบไม่มีอะไรกิน แต่ต่อมาก็พ้นวิกฤต สั่งสมความมั่งคั่งและจำนวนขึ้นไปอีก จนถึงทศวรรษ 1950 ก็บรรลุความฝันอันสูงสุดของคนชั้นกลางอเมริกัน

ผมอยากเปรียบเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งของไทยใน ค.ศ.1997 ที่คนชั้นกลางตกงานจำนวนมาก ต้องลงมาขายแซนด์วิชข้างถนน หรือเอาของส่วนตัวมาวางขายในเปิดท้ายขายของ แต่ไม่กี่ปีต่อมา วิกฤตนั้นก็คลายลง คนชั้นกลางไทยกลับมามีมาตรฐานการครองชีพที่ดีอย่างเดิมได้อีก

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา แม้ว่าจำนวนของคนชั้นกลางอเมริกันยังเพิ่มสูงขึ้น แต่มาตรฐานการครองชีพกลับต่ำลงเรื่อยๆ และจนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ นี่ไม่เหมือนวิกฤตเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเสียแล้ว เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่ส่อว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเลยแล้ว ชะตากรรมของคนชั้นกลางก็จะไม่มีวันหวนกลับมารุ่งโรจน์อย่างเก่าอีก


 :96: :96: :96: :96:

ปรากฏการณ์เช่นนี้ยังไม่เกิดกับคนชั้นกลางไทย หรือถึงเกิดแล้วก็ยังมองเห็นได้ไม่ชัด คนชั้นกลางไทยยังสามารถฝันด้วยความฝันเก่าในแบบฉบับของคนชั้นกลางต่อไปได้ ฉะนั้นหากคนชั้นกลางไทยจะหันกลับไปมองชีวิตของตนเองหรือตระกูลของตนเอง ก็จะพบว่า มันมีแต่ขึ้นๆ ไปเรื่อย จากรุ่นทวด, ปู่, พ่อ มาแล้ว และด้วยเหตุดังนั้นจึงพึงคาดหวังได้ว่า รุ่นลูกและหลานก็จะยิ่งขึ้นๆ ไปอีก

นี่คือความฝันในแบบฉบับของคนชั้นกลาง ชีวิตย่อมดีขึ้น จากชั่วอายุคนหนึ่งไปสู่อีกชั่วอายุคนหนึ่ง ที่เหนื่อยยากแสนสาหัสมาก็เพื่อสร้างฐานให้ลูกหลานใช้เป็นจุดกระโดดให้สูงขึ้นไปกว่าตัวเอง

นี่เป็นคนกลุ่มแรกในประวัติศาสตร์ ที่คิดและเชื่ออย่างมั่นใจว่า ลูกของตนจะดีกว่าตน คิดเหมือนกันว่า ลูกจะดีเท่ากับตัว

แม้ความฝันนี้อาจพังสลายไปในสังคมอื่นๆ หลายสังคมแล้ว แต่ยังอยู่กับคนชั้นกลางไทยจนถึงทุกวันนี้ คนชั้นกลางไทยทุกคนยังมีไม้คานของก๋ง เลี่ยมทองหรือปะทองแขวนไว้ในห้องรับแขก หรือในใจของตนทั้งนั้น เป็นเครื่องเตือนใจว่าลูกหลานจะต้องไม่มีไม้คานบนบ่าอีกเลย

 :49: :49: :49: :49:

การลงทุนที่สำคัญของคนชั้นกลางไทยนับแต่เปิดประเทศคือการลงทุนด้านการศึกษาของลูก จึงจับจองตำแหน่งในกลุ่มวิชาชีพไว้ นับตั้งแต่เสมียนไปจนถึงแพทย์, ผู้พิพากษา, นายทหาร, ข้าราชการในกรมกองต่างๆ ฯลฯ ที่น่าสังเกตก็คือเข้าสู่วงการธุรกิจอุตสาหกรรมไม่มากนัก ในระยะแรกลูกเจ้าสัวรับงานของบิดามาทำต่อมากกว่าเสียเวลาในโรงเรียนนานๆ การศึกษากับการทำธุรกิจอุตสาหกรรมจึงแยกจากกัน

จุดพลิกผันหนึ่งที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์คนชั้นกลางไทยก็คือ เมื่อเจ้าสัว ซึ่งเป็นเถ้าแก่โรงสีบ้าง นายธนาคารบ้าง ประสบการขาดทุน เนื่องจากธุรกิจการค้าข้าวของตนไม่ครบวงจร เช่นไม่ได้ออกเงินกู้แก่ชาวนากว้างขวางนัก ไม่ได้เป็นผู้ส่งออกข้าวโดยตรง ฯลฯ ภาวะขาดทุนนี้เกิดขึ้นประมาณกลาง ร.5 เจ้าสัวเหล่านี้หันมาลงทุนกับการศึกษาของบุตรหลานแทน ที่ยังพอมีทุนเหลืออยู่มากบางคนถึงกับส่งลูกหลานไปศึกษาต่อในยุโรปและสหรัฐ ลูกหลานเจ้าสัวเหล่านี้กลับเข้ามาครอบครองตำแหน่งบริหารในระบบราชการ ซึ่งมีความมั่นคงกว่า แม้ไม่มั่งคั่งอู้ฟู่เท่าบรรพบุรุษ

กว่าการศึกษาของลูกหลานเจ้าสัวจะเชื่อมต่อกับระบบการผลิตของบรรพบุรุษก็หลังนโยบายพัฒนาของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไปแล้ว จึงทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับทุนต่างชาติ ขยับการผลิตขึ้นมาสู่เทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้น (รวมภาคบริการ เช่น ธนาคารและโรงแรมด้วย) จึงทำให้เกิดการจ้างงานคนชั้นกลางรุ่นใหม่ที่ผ่านการศึกษาเข้ามาสู่กิจการของตนได้ เปิดตลาดงานของคนชั้นกลางให้กว้างขวางขึ้นกว่าราชการ


 ans1 ans1 ans1 ans1

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องการย้ำในที่นี้ก็คือ แม้คนชั้นกลางไทยไม่รวยอู้ฟู่อย่างรวดเร็วเหมือนคนชั้นกลางหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป แต่ก็มีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตลอดมา ภายใต้ระบอบการเมืองทุกชนิด คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย สลับด้วยเผด็จการทหาร

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ โดยไม่เกี่ยวกับระบบการเมืองประเภทใดทั้งสิ้น คนชั้นกลางไทยสามารถปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมตนเองให้สูงขึ้นได้ตลอดมา

นี่อาจเป็นเหตุผลที่คนชั้นกลางไทยไม่มีสำนึกผูกพันกับระบบการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีระบบคุณค่าทางการเมืองใดๆ ที่เขาเห็นว่าต้องต่อสู้รักษาไว้ หรือต่อสู้ให้ได้มา ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ตัวการเมืองเองนั่นแหละที่อาจใช้เป็นทางไต่เต้าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ไม่ว่าจะมีระบบคุณค่าทางการเมืองอย่างไรก็ตาม

แต่ผมคิดว่าสถานการณ์ของคนชั้นกลางไทยได้เปลี่ยนไปแล้วในบัดนี้ ตกมาถึงชั่วอายุคนที่สาม (จะเป็นชั่วอายุคนที่สองหรือสี่ก็ได้ อย่าติดกับเลขสามเกินไป) เมื่อครอบครัวสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้มั่นคงขึ้นแล้ว ภารกิจการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ใช่ภารกิจของบุคคลในหมู่คนชั้นกลางไทยอีกต่อไป

 ans1 ans1 ans1 ans1

ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงพบคนหนุ่มสาวจากครอบครัวคนชั้นกลางที่เข้ามามีบทบาททางสังคม, การเมืองและวัฒนธรรมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน พวกเขาแฝงตัวอยู่ในเสื้อสีการเมืองทุกสี, ในวงดนตรีไทยเดิมและวงดนตรีอินดี้, ในวิถีชีวิตฮิปสเตอร์ และในวิถีชีวิตไทยประเพณี

สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่าน ไม่เฉพาะแต่คนชั้นกลางระดับล่างหรือคนชนบทซึ่งกลายเป็นเมืองที่มีบทบาทเปลี่ยนไปเท่านั้น แม้ในคนระดับชั้นกลางระดับกลางขึ้นไปก็เปลี่ยน ผมเชื่อว่าหากหันไปศึกษาคนชั้นล่างในภาคการผลิตอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม ก็จะพบความเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยเหมือนกัน

การเมืองที่มุ่งจะกำกับการเปลี่ยนผ่านจึงเป็นไปไม่ได้ ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านนั้นเป็นไปได้โดยสงบ หรือมีความรุนแรงน้อยที่สุดเท่านั้น และเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีอะไรดีไปกว่าประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และสังคมเท่านั้น



ผู้เขียน : นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 11 ก.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/207635
10288  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จ้วงมณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน พูดภาษาไต-ไท แต่ไม่ไทย เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 08:02:46 am


จ้วงมณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน พูดภาษาไต-ไท แต่ไม่ไทย

จ้วง พูดภาษาไต-ไท เป็นรากเหง้าของภาษาไทย แต่จ้วงไม่ใช่คนไทย ไม่เรียกตัวเองว่าไทย เรียกตัวเองว่าจ้วง ปัจจุบันมีมากกว่า 10 ล้านคน ในมณฑลกวางสี บรรพชนจ้วงไม่ได้อพยพมาจากไหน? แต่อยู่ที่กวางสีไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว และไม่ได้อพยพยกโขยงถอนรากถอนโคนมาไทย จ้วงอยู่เมืองจ้วง ไทยอยู่เมืองไทย ผมเขียนเล่าไว้ในหนังสือ คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ เมื่อ พ.ศ. 2537 จะคัดมาต่อไปนี้


ชาวจ้วง มณฑลกวางสี ทำพิธีฝังศพ (บูชายัญ) กบเพื่อขอฝน บนลานกลางนาขั้นบันได (ที่หมู่บ้านหนาลี่ซุน อำเภอเทียนเอ๋อ เมืองจ้วงกวางสี)


จ้วง-เป็นใคร.? อพยพหลบหนีมาจากไหน.?

ในทัศนะของฮั่น (จีนสมัยโบราณ) จ้วงคือกลุ่มชนป่าเถื่อนพวกหนึ่งในบรรดาพวกป่าเถื่อนนับร้อยพวกที่มีถิ่นฐานอยู่ทางใต้ (ของจีน) มาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ คือไม่ได้อพยพหลบหนีใครมาจากที่ไหนๆ ทั้งนั้น ปัจจุบันชนชาติจ้วงมีจำนวนประชากรมากเป็นที่สองรองจากชนชาติฮั่น และมีมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาชนชาติส่วนน้อยของจีนที่มีทั้งหมดประมาณ 55 ชนชาติ

ชาวจ้วงตั้งถิ่นฐานอยู่หลายมณฑลในเมืองจีน สถิติเมื่อ พ.ศ. 2525 มีทั้งหมดมากกว่า 13 ล้านคน ในจำนวนนี้มากกว่า 12 ล้านคนอาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงกำหนดให้เป็น “เขตปกครองตนเองจ้วง-กวางสี” (THE GUANG-XI-ZHUANG AUTONOMOUS REGION) จำนวนที่เหลือกระจายอยู่ในมณฑลยูนนานมากกว่า 8 แสนคน ในมณฑลกวางตุ้งมากกว่า 8 หมื่นคน ในมณฑลกุ้ยโจว (กุ้ยจิ๋ว) มากกว่า 2 หมื่นคน และมีที่มณฑลหูหนานกับมณฑลเสฉวนบ้างเล็กน้อย ทุกวันนี้มณฑลกวางสีจึงกลายเป็นศูนย์กลางของชนชาติจ้วงไปโดยปริยาย


แห่ศพกบไปฝังที่สุสานเก่าของหมู่บ้าน




จ้วง หมายถึงอะไร.?

คำว่า “จ้วง” มีความหมายต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปตามฐานะทางสังคมที่พวกฮั่นกำหนดและเรียก ดังเคยมีความหมายว่าสัตว์หรือป่าเถื่อนตามประเพณีฮั่นใช้เรียกคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ทางภาคใต้ หรืออุษาคเนย์สมัยโบราณ ฉะนั้นจึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีความหมายไปในทางดี

แต่นักวิชาการจีนได้รวบรวมความหมายไว้หลายแง่หลายมุม (จากหนังสือ-จ้วง : ชนชาติไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน-จัดพิมพ์โดยศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคที่ 1 ภาษา (2529) ภาคที่ 2 วัฒนธรรม (2531) ปราณี กุลละวณิชย์ บรรณาธิการ) ดังต่อไปนี้

    - สมัยราชวงศ์ซ่ง (หรือซ้อง ราว พ.ศ. 1443-1822) คำว่า “จ้วง” ใช้เรียกกองทัพที่มีทหารเป็นชาวจ้วงว่า “จ้วงจยูน” หรือ “จ้วงติง”
    - สมัยราชวงศ์หยวน (ราว พ.ศ. 1749-1911) ตัวอักษรที่หมายถึงจ้วงเขียนด้วยอักษรจีน 2 ตัว ตัวแรกมีความหมายว่า “ชน” หรือ “ปะทะ” ตัวที่สองแทนเสียงว่า “จ้วง”
    - ต่อมาสมัยราชวงศ์หมิงและชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง (พ.ศ. 2492) มีการเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกให้มีความหมายว่า “สัตว์” แสดงการดูถูกเหยียดหยามจ้วงเป็นชนชาติป่าเถื่อน


      :96: :96: :96: :96:

     แม้พวกฮั่นจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “จ้วง” มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง แต่คนกลุ่มนี้ไม่ชอบ เพราะต่างรู้ว่าหมายถึงอะไร จึงเรียกตนเองด้วยชื่อดั้งเดิมต่างๆ กันตามท้องถิ่นของตน เช่น ผู้ใหญ่ ผู้โต ผู้หลวง ผู้นุง ผู้ไท ผู้บ้าน ผู้หล่าว ผู้ต้ง คนโท้ ฯลฯ

     คำว่า “ผู้” ที่นำหน้าชื่อนั้นหมายถึง “คน” น่าเชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาโต้กลับที่ถูกพวกฮั่นดูถูกดูหมิ่นว่าไม่ใช่คน หรือพวกป่าเถื่อน (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ-ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ-โดย จิตร ภูมิศักดิ์ พิมพ์ครั้งแรก 2519)

     นับแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมามีการปรึกษาหารือเรื่องชื่อ “จ้วง” อย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกแง่ทุกมุมเพื่อกำหนดความหมายให้ดีขึ้น
     ครั้นถึง พ.ศ. 2508 รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เปลี่ยนอักษรตัวแรกให้มีความหมายว่า “เติบโต แข็งแรง” ส่วนอักษรตัวที่สองใช้แทนเสียงว่า “จ้วง” เหมือนเดิม แล้วมีมติให้ใช้ชื่อ “จ้วง” เป็นชื่อกลุ่มชนชาตินี้อย่างเป็นทางการ ชื่ออื่นๆ ก็ค่อยๆ เลือนหายไป แต่บางกลุ่มยังยืนยันชื่อเดิมของตนอย่างเป็นทางการเช่น ผู้ไท
และแม้บางกลุ่มจะไม่ได้ยืนยันชื่อเดิมอย่างเป็นทางการ แต่เมื่อมีใครถามว่าเป็นจ้วงใช่ไหม? เขาจะตอบทันทีว่า-ไม่ใช่จ้วง แต่เป็นผู้ต้ง หรือชื่ออื่นๆ ที่เป็นกลุ่มของตน


พิธีฝังกบ ตีกลองทอง (มโหระทึก) ขอฝน ของชาวจ้วงยุคดึกดำบรรพ์ (ภาพเขียนร่วมสมัยจินตนาการอดีต)

ประเพณีประโคมตีมโหระทึกของชาวจ้วงที่หมู่บ้านหนาลี่ชุน อำเภอเทียนเอ๋อ เมืองจ้วงกวางสีปัจจุบัน


ภาษาจ้วง ตระกูลไทยเก่าแก่ที่สุด

เมื่อคนไทยจากประเทศไทยได้คุยกับชาวจ้วง คนไทยมักจะอุทานว่า “เฮ้ย พวกจ้วงพูดเหมือนคนไทยเลยว่ะ” ถ้าพวกจ้วงเข้าใจก็ต้องทำหน้างงๆ แล้วจะต้องตอบโต้ว่า “เออ พวกไทยทำไมพูดเหมือนจ้วงวะ” เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า “คนจ้วง” ไม่ใช่ “คนไทย” การที่จ้วงกับไทยพูดจาด้วยภาษาคล้ายคลึงกัน หรือตระกูลเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันมาแต่ดั้งเดิม เพราะ

      “โดยทางชีววิทยาแล้ว เผ่าพันธุ์ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดเลยกับภาษา” เพราะ “เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า ภาษาสามารถแพร่กระจายไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยกลไกของประวัติศาสตร์มากกว่าจะเป็นการย้ายถิ่นแบบ ‘ทารุณ’ โดยการเคลื่อนย้ายประชาชนทั้งหมดราวกับจะปฏิบัติตามความประสงค์ของสมมติฐาน “ภาษาสัมพันธ์กับเชื้อชาติ”
(แอนโทนี่ ดิลเลอร์ – “ภาษาตระกูลไท เบื้องหลังแนวคิดแบบอุปลักษณ์” – หนังสือ “คนไทย (เดิม) ไม่ได้อยู่ที่นี่” สำนักพิมพ์เมืองโบราณ จัดพิมพ์ พฤศจิกายน 2533 หน้า 136-137)

     แม้ในภาษาจ้วงจะมีคำว่า “ไต” แต่ไม่ได้มีความหมายเหมือนคำว่า “ไทย” ในประเทศไทย และเขาก็มิได้มีสำนึกเป็น “ไทย” อย่างที่ใครๆ ชอบตีขลุมง่ายๆ เพราะเขาเป็น “จ้วง” หรือมิฉะนั้นก็เป็น “ผู้ใหญ่” หรือ “คนโถ่” หรือ “ผู้หล่าว” เท่านั้น

      :29: :29: :29: :29:

     ชาวจ้วงนับถือ “ผี” ในหมู่บ้านไม่มี “วัด” (เช่นเดียวกับพวกผู้ไทยในเวียดนามที่อิทธิพลพระพุทธศาสนาเข้าไปไม่ถึง) พูดภาษาตระกูลเดียวกับพวกไทย แต่เดิมชาวจ้วงไม่มีอักษรใช้เขียนภาษาของตน แต่มีบางกลุ่มยืมตัวอักษรจีนมาปรับใช้ ต่อมาราว พ.ศ. 2500 เริ่มใช้อักษรโรมันปนอักษรรัสเซียแทนเสียง แล้วใช้ตัวเลขอารบิค บางตัวแทนเสียงวรรณยุกต์ ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้เปลี่ยนใช้ตัวโรมันแทนเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์

     ภาษาพูดของชาวจ้วงเป็นที่สนใจของนักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ไม่น้อย ฉะนั้นจึงมีงานวิชาการเกี่ยวกับภาษาจ้วงค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งผลงานของนักวิชาการตะวันตก เช่น อเมริกัน รัสเซีย และนักวิชาการตะวันออก เช่น จีน ไทย ฯลฯ (ดูรายละเอียดในหนังสือ “จ้วง : ชนชาติไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน” ภาคที่ 1 : ภาษา – ปราณี กุลละวณิชย์ บรรณาธิการ พิมพ์เผยแพร่โดยศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2529)

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

นักวิชาการจีนแบ่งภาษาจ้วงในมณฑลกวางสีออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาจ้วงเหนือกับภาษาจ้วงใต้ ทั้ง 2 กลุ่มมีทั้งลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และมีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกัน

     - ภาษาจ้วงเหนือ มีขอบเขตกว้างขวางอยู่ทางเหนือของมณฑลกวางสี มีผู้พูดมากกว่ากลุ่มภาษาจ้วงใต้ แต่ในกลุ่มภาษาจ้วงเหนือเองยังมีความแตกต่างเรื่องเสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ จึงแยกเป็นภาษาถิ่นย่อยๆ ได้อีก 7 กลุ่ม มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ
     - ภาษาจ้วงใต้ มีขอบเขตแคบๆ อยู่ทางใต้ของมณฑลกวางสี มีผู้พูดน้อยกว่ากลุ่มภาษาจ้วงเหนือ แต่มีความแตกต่างของภาษาถิ่นมากกว่า จึงแยกเป็นภาษาถิ่นย่อยๆ ได้อีก 5 กลุ่ม มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ

     ด้วยความหลากหลายของภาษาถิ่นจ้วง นักภาษาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์นานาชาติส่วนใหญ่จึงสนับสนุนทฤษฎีของศาสตราจารย์เกดนีย์ (William J. Gedney) ผู้เชี่ยวชาญภาษาถิ่นไทยเหนือ ว่าถิ่นกำเนิดของภาษาไทยอยู่แถวเส้นเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนและเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ท่านผู้นี้อาศัยทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ที่ว่า “ภาษาเกิด ณ ที่ใด จะมีภาษาถิ่นมากหลายชนิดเกิดขึ้นแถบบริเวณนั้น”  (อ้างถึงในบทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์สมัยก่อนไทยเข้ามาในเอเชียอาคเนย์” ของ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร พิมพ์อยู่ในหนังสือ “คนไทยอยู่ที่ไหนบ้าง?” สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม-ธันวาคม 2530)

แต่ -“ภาษา” กับ “คน” อย่าเพิ่งสับสนปนเปกัน เพราะ “คนจ้วง” ไม่ใช่ “คนไทย” และดังได้อ้างมาแล้วว่า แม้คนจ้วงกับคนไทยพูดจาด้วยภาษาคล้ายคลึงกัน หรือตระกูลเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันมาแต่ดั้งเดิม เพราะ – โดยทางชีววิทยาแล้ว เผ่าพันธุ์ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดเลยกับภาษา



จิตร ภูมิศักดิ์ กับภาษาจ้วง

ในการสอบค้นเรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” (พิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2519) จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ใช้ภาษาจ้วงประกอบการศึกษาด้วย โดยอ้างถึงงานค้นคว้าของบาทหลวงฉ์วี สงซือ

บาทหลวงฉ์วี สงซือ (Rev. Princeton Shih Sung Hsu) สอนศาสนาอยู่ที่เกาลูน ฮ่องกง มีบิดาเป็นจีน มารดาเป็นจ้วง เขียนบทความเกี่ยวกับจ้วงไว้อย่างน้อย 3 เรื่อง บทความสำคัญชื่อ A Study of the Thais, Chuangs, and the Cantonese People, Hongkong 1963. (นอกจาก จิตร ภูมิศักดิ์ แปลเป็นบางตอนเพื่ออ้างถึงแล้ว ท่านศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ยังแปลและเรียบเรียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศิลปากร ของกรมศิลปากร ปีที่ 12 เล่มที่ 2 พ.ศ. 2511 ด้วย แล้วพิมพ์ซ้ำในหนังสือ “คนไทยอยู่ที่ไหนบ้าง?” สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ เมื่อธันวาคม 2530) ดังจะสรุปสาระสำคัญมาดังต่อไปนี้

คำว่า “ไต” ในภาษาจ้วง เป็นคำนำหน้าชื่อหมู่บ้านที่นิยมใช้กันมากในมณฑลกวางตุ้งและกวางสี ในแผนที่ของราชการที่รัฐบาลของราชวงศ์เช็งตอนหลังมีชื่อทางภูมิศาสตร์กว่า 1,000 ชื่อในมณฑลกวางตุ้งที่มีคำว่า “ไต” นำหน้า เช่น ไตฟู ไตเหลือง และไตลำ ส่วนในมณฑลกวางสีมีชื่อเช่นนี้กว่า 800 ชื่อ เช่น ไตยาว ไตกอง และไตเหลือง



คำว่า “ไต” ในภาษาจ้วงแปลว่าอะไร?

คำว่าไต เมื่อเขียนด้วยตัวอักษรจีน แปลว่า “ใหญ่” แต่ในภาษาพูดของจ้วงแปลว่า “แผ่นดิน” หรือ “คนพื้นเมือง”

“ไตเหลือง” เป็นชื่อสถานที่ จึงพบมากในมณฑลกวางตุ้งและกวางสี ในภาษาจ้วงแปลว่า ดินแดนของชาวจ้วงเหลือง ทั้งนี้ เพราะในสมัยก่อนทีเดียวนั้น ชาวจ้วงแบ่งแยกกันออกเป็น 5 สาขาใหญ่ๆ ตามสีของเครื่องแต่งกาย (คือ ไตแดง ไตเหลือง ไตขาว ไตดำ และไตลาย) ชื่อภูมิสถานที่มีใช้อยู่ว่าไตหยั่น ไต่ฮน ไตลาว และไตคุน เหล่านี้ทุกชื่อล้วนแปลความว่า “คนไต” และคำว่า “คนไต” นั้นก็หมายความว่า “คนพื้นเมือง” หรือ “คนของแผ่นดิน”

แต่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกวางสี ชาวจ้วงไม่เรียกแผ่นดิน (land) หรือดิน (earth) หรือชาวพื้นเมือง (ative) ด้วยคำว่า “ไต” แต่ชาวจ้วงถิ่นนี้ใช้คำว่า “ดิน” (Din) เพื่อแสดงความหมายอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลกวางสี (รวมทั้งตะวันตกเฉียงใต้สุดของมณฑลกวางตุ้ง) จึงพบว่า มีชื่อที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ดิน” อยู่ทั่วไป เช่น ใช้คำว่า “ดินเหลือง” แทนคำว่า “ไตเหลือง” ฯลฯ

นอกจากนี้ ในหลายอำเภอของมณฑลกวางสีใช้คำว่า “ที่” แทนคำว่า “ไต” และ “ดิน” เช่น ใช้คำว่า “ที่เหลือง” แทนคำว่า “ไตเหลือง” กับ “ดินเหลือง” คำว่า “ที่” ตรงกับ “ตี้” ในภาษาจีนกลาง แปลว่าแผ่นดินหรือชาวท้องถิ่นพื้นเมือง

ฉะนั้น คำว่าไต-ดิน-ที่ ทั้งหมดจึงมีความหมายอย่างเดียวกันว่า แผ่นดิน หรือชาวพื้นเมือง เรื่องนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ยังไม่เชื่อสนิทนัก แต่รับฟังไว้ก่อนได้ จึงมีคำอธิบายว่าถ้าหากไตหมายถึงดินหรือที่ดิน นั่นก็หมายความว่าเป็นความหมายดั้งเดิมก่อนหน้าที่จะมีความหมายว่า “คนเมือง” คือมันเริ่มมีความหมายว่า “คนที่อยู่เป็นที่ มีหลักแหล่ง” ขึ้นก่อน เป็นอันดับแรก เพื่อแสดงว่าตนมิใช่พวกพเนจรร่อนเร่


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

การประกาศตนว่าเป็นชนชาติที่มีหลักแหล่ง ไม่ร่อนเร่พเนจรนั้น เป็นความภาคภูมิอย่างสูงอันหนึ่งของชนชาติดึกดำบรรพ์ เพราะแสดงถึงวิวัฒนาการก้าวใหญ่ของชนชาติ นั้นๆ ซึ่งก้าวจากการร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ล่าสัตว์ มาเป็นการผลิตแบบชมรมกสิกรรม และบังเกิดศูนย์กลางแห่งอารยธรรมของชนชาติ มีประวัติศาสตร์แห่งชนชาติ-ดินแดนและสังคมขึ้นได้ บาทหลวงฉ์วี สงซือ ตั้งข้อสังเกตต่อไปอีกดังนี้

ในมณฑลกวางตุ้งและกวางสี มีหมู่บ้านเป็นจำนวนมากขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำภาษาจ้วงว่า “เซียน” บางแห่งใช้ว่า “ซือ” แปลว่า “หมู่บ้าน” และตรงกับภาษาไทยว่า เชียง-เจียง-เจง

คำว่า “เซียน” ที่ภาษาจ้วงแปลว่าหมู่บ้านนี้เอง ที่จีนเรียกและเขียนเพี้ยนมาเป็นเซียน-เสี่ยม-สิ่ม ซึ่งใช้เรียกเมืองไทยในปัจจุบัน และนี่เองคือรากเหง้าดั้งเดิมของคำว่า “เสียม” – “สยาม”

คำว่า “เซียน” นี้ ถ้าเขียนด้วยตัวอักษรจีนจะแปลว่า เทวดา จึงมีเรื่องเล่ากันมานานแล้วว่า เมื่อกว่า 2,700 ปีมาแล้ว พวกเซียนไปที่เมืองกวางตุ้ง พร้อมกับนำเมล็ดข้าวอันงามไปด้วย เซียนทั้ง 5 คนนี้มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นเทวดาผู้ที่มาจากฟ้า 5 คน ความจริงทั้ง 5 คนนี้ก็คือคนพื้นเมือง 5 คนจากหมู่บ้านจ้วง 5 หมู่ (คือ 5 เซียน) เรื่องนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ เห็นว่าตามลิ้นของจีนแล้ว คำไทยว่า เชียง-เจียง-เจง นั้น จีนอาจจะถ่ายเสียงเป็น ส้าน-ส่าน-ฉ่าน-ชาง-จิ่ง-เซียน-ซือ-ฯลฯ หรืออะไรก็ได้ มีขอบเขตเป็นไปได้กว้างเหลือเกิน

แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับคำเรียกคนไทยในภาษาอื่นโดยรอบด้านแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า ส่าน-ส้าน-เซียน ในภาษาจีนนั้น เห็นจะมิได้ประสงค์จะถ่ายเสียงคำว่า เชียง-เจง คงประสงค์จะถ่ายเสียงคำอื่นมากกว่า และชื่อหมู่บ้านในมณฑลกวางตุ้งกับกวางสีที่เรียก “เซียน” นั้น อาจจะตรงกับคำว่า “เชียง” ได้จริง แต่ต้องเป็นคนละคำกับชื่อ ส้าน-เซียน ที่ใช้เรียกชนชาติไทย

[พรุ่งนี้ อ่าน- อำนาจของภาษาและวรรณกรรม แพร่กระจายจากมณฑลกวางสี ถึงลุ่มน้ำโขง]



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่ : 30 ก.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/230625
10289  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘สำนักสงฆ์วัดถ้ำเกี่ยว’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ พระเกจิดังสาย ‘หลวงปู่มั่น’ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 07:27:34 am




‘สำนักสงฆ์วัดถ้ำเกี่ยว’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ พระเกจิดังสาย ‘หลวงปู่มั่น’

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม นอกจากจะมีวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ที่ตั้งองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง รวมถึงวัดศักดิ์สิทธิ์ ที่มีพระธาตุประจำวันเกิดรวม 8 พระธาตุ ที่มีประชาชน นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจ เดินทางมาท่องเที่ยว ทำบุญ ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ล่าสุด จากการสำรวจยังพบว่า มีวัดสำคัญที่เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ บนเทือกเขาภูพานน้อย อ.นาแก จ.นครพนม ที่ยังน่าสนใจ และน่าไปศึกษาเที่ยวชม

ซึ่งจากการสำรวจพบว่าบนเทือกเขาภูพานน้อยแห่งนี้ มีวัดตั้งอยู่มากถึง 11 วัด โดยเฉพาะวัดถ้ำเกี่ยว ตั้งอยู่บนเขาภูพานน้อย เขตบ้านแก้ง ต.บ้านแก้ง อ.นาแก จ.นครพนม ถือเป็นวัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่น่าศึกษา และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้มาศึกษา เนื่องจากในอดีตเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานของพระเกจิชื่อดัง สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือ หลวงปู่บุญมี ปิยธรรมโม รวมถึงพระเกจิชื่อดังอีกหลายท่าน ทำให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีรุกขเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา ดูแลปกปักรักษา จึงได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นสำนักสงฆ์ที่ใช้ปฏิบัติธรรม รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมะ มาถึงปัจจุบัน



นอกจากวัดถ้ำเกี่ยว จะเป็นสำนักสงฆ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ รวมถึงมีโขดหินภูเขาที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติขุนเขาภูพานน้อย ยังมีประติมากรรมฝาผนัง ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา จากแนวความคิดของ พระอาจารย์ กมลชัย กมโร อดีตพระที่เคยดูแลพัฒนาสำนักสงฆ์วัดถ้ำเกี่ยวมาตั้งแต่อดีต ร่วมกับ นายวรวิทย์ ตงศิริ อายุ 55 ปี อาจารย์ชำนาญการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ในฐานะประธานชมรมพยัคฆ์เดินไพรเทือกเขาภูพานน้อย อ.นาแก จ.นครพนม ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา

ได้ก่อสร้างประติมากรรมแกะสลักบนหน้าผาหิน เป็นพุทธจำลอง สังเวชนีย 4 สถาน เกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า มีประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน รวมถึงพระเจดีย์พุทธคยา จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชน ได้น้อมรำลึกถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นที่สนใจให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชม ควบคู่กับความสวยงามทางธรรมชาติ





นายวรวิทย์ ตงศิริ อายุ 55 ปี อาจารย์ชำนาญการวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ในฐานะประธานชมรมพยัคฆ์เดินไพรเทือกเขาภูพานน้อย อ.นาแก จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับวัดถ้ำเกี่ยว หรือที่เรียกกันว่าสำนักสงฆ์วัดถ้ำเกี่ยว ถือเป็น 1 ในจำนวน 11 วัด ที่ตั้งบนเทือกเขาภูพาน ที่มีประวัติความเป็นมาน่าศึกษาเที่ยวชม เนื่องจากเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์สำคัญที่ชาวบ้านเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง สายหลวงปู่มั่น หลายองค์ ทำให้เชื่อว่าพื้นที่ดังกล่าวมีรุกขเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลรักษา เชื่อกันว่าใครได้ไปขอพรกราบไหว้บูชา จะเป็นสิริมงคลกับชีวิต ภายหลังได้มีพระอาจารย์ กมลชัย กมโร ที่เคยมาจำวัด ได้ร่วมกับญาติโยมพัฒนา และมีการนำช่างมาแกะสลักหน้าผาหิน เป็นพุทธจำลอง สังเวชนีย 4 สถาน เกี่ยวกับพุทธประวัติ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า รวมถึงเจดีย์ พุทธคยา

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ด้วย โดยวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างประติมากรรมหินแกะสลัก ต้องการให้เป็นสถานที่ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนา รวมถึงเป็นสิ่งดึงดูดประชาชน มาศึกษาเที่ยวชม สนใจในหลักคำสอนพระพุทธศาสนา เหมือนปริศนาธรรม ซึ่งปัจจุบันทางชมรมพยัคฆ์เดินไพรเทือกเขาภูพานน้อย อ.นาแก จ.นครพนม รวมถึงผู้ที่มีจิตศรัทธา กำลังหาทางผลักดัน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาเส้นทางธรรมะ และเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่สำคัญของ จ.นครพนม ในอนาคต


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/233223
10290  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชื่นมื่น"วัดกัลยาฯ-กรมศิลป์"จับมือพัฒนาวัด เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 07:22:56 am




ชื่นมื่น"วัดกัลยาฯ-กรมศิลป์"จับมือพัฒนาวัด 

ฝ่ายประสานงานวัดกัลยาณมิตร ชี้รื้อศาลาโครงเหล็กหน้าวิหารหลวงพ่อโต เป็นแผนงานพัฒนาภูมิทัศน์ร่วมกับกรมศิลปากร ไม่มีความขัดแย้งใดๆ

วันนี้(2 ส.ค.)นายประกิจ ประชาศรัทธาชาติ ฝ่ายประสานงานวัดกัลยาณมิตร กล่าวว่า ตามที่มีการรื้อศาลาโครงเหล็กหน้าวิหารหลวงพ่อโต วัดกัลยาฯ นั้น การดำเนินการดังกล่าวเป็นแผนงานพัฒนาภูมิทัศน์เขตพุทธาวาสที่ทางวัดได้มีการหารือกับทางกรมศิลปากร และก่อนที่จะมีการดำเนินการทางกรมศิลปากรก็ได้ขออนุญาตทางวัดแล้ว และทางวัดก็อนุญาตให้รื้อศาลาโครงเหล็กดังกล่าวออก เนื่องจากศาลาโครงเหล็กนี้เป็นการสร้างชั่วคราว เพื่อกันฝนและแดด แก่พุทธศาสนิกชนที่มาสักการะหลวงพ่อโตเท่านั้น


 :25: :25: :25: :25:

นายประกิจ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้การดำเนินการปรับภูมิทัศน์วัดกัลยาฯ นั้น นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองอธิบดีกรมศิลปากร วางแผนการพัฒนาภูมิทัศน์เขตพุทธาวาส และบริเวณพื้นที่หน้าวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเมื่อก่อนเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เพราะมีชุมชนอาศัยอยู่ ต่อมาศาลปกครองมีคำสั่งให้คืนพื้นที่ดังกล่าวให้แก่วัด เมื่อทางวัดได้พื้นที่คืนแล้วก็มีการวางแผนร่วมกับกรมศิลปากรมาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก มีการสร้างกำแพงใหม่ การบูรณะศาลาราย และพระวิหาร โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับกรมศิลปากร ได้เข้ามาช่วยบูรณะ

 :96: :96: :96: :96:

"ล่าสุดคือการรื้อศาลาโครงเหล็ก หน้าวิหารหลวงพ่อโต ซึ่งก่อนที่จะดำเนินการรื้อนั้นฝ่ายสถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร ก็ได้ออกแบบศาลาราย หน้าวิหารเรียบร้อย มีความเหมาะสมต่อการใช้งานและกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีแผนงานจะสร้างศาลารายหน้าวิหารหลวงพ่อโต ให้แล้วเสร็จ ภายในระเวลา 5 เดือน ยืนยันว่าการพัฒนาวัดกัลยาฯกับบกรมศิลปากรปัจจุบันนี้ ดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น" ฝ่ายประสานงานวัดกัลยาฯ กล่าว.


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/513138
10291  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 12:03:23 pm


สามภาพนี้ถ่ายจาก ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ วัดประดู่ฉิมพลี


เมื่อมันส่ายออกออกไปนอกพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร สติคุมไว้ เมื่อมันอยู่ในพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร ความสุขอยู่นอกพุทโธ ได้ผลอย่างไรบ้าง ในเรื่องการปฎิบัติ จิตมันอยู่ในพุทโธมันได้ผลอะไรบ้าง ในการปฎิบัติของแต่ละท่าน ละท่าน มันเป็นอย่างงั้น พุทโธนี่เป็นอารมณ์ของจิต สติ จิต แล้วก็อารมณ์ จะต้องมีสติคุมจิตเสมอ คุมอะไร เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่โน้น เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่นี่ เพราะจริตของคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบโยกย้าย ดี โยกย้าย ได้เห็นสิ่งอะไรผิดแปลก แปลก ของที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน เราก็เห็น ก็ได้ยิน ถิ่นที่เราไม่เคยไป เอ้อ! ไปได้ ไปได้ดูของแปลกๆ เมื่อไปดูของแปลกๆน่ะ มันมีประโยชน์อะไรสำหรับรู้ สำหรับเห็น มันเป็นประโยชน์ทางโลกหรือว่าประโยชน์ทางธรรม หรือเอาทางโลกมาเปรียบเทียบกับทางธรรม หรือเอาทางธรรมมาเปรียบเทียบกับทางโลก บางคนชอบอย่างนั้น

บางคนไม่ไปอยู่เฉยๆ อยู่ที่เดียวดีกว่า มันไม่ยุ่ง อยู่ที่เดียวอย่างงั้นก็มี ไม่อยากเที่ยวไปโน้น ไม่อยากเที่ยวไปนี่ อยู่ที่ไหนก็อยากอยู่ที่นั่นมันสบาย มีศีล มีจิตที่ตั้ง เราก็ตั้งดู มันสบายที่ไหน อยู่ที่นั่นก็ได้ เห็นว่ามันไม่สบายก็ย้ายไปอีก ย้ายไปหาความสุขเกิดจากจิตใจของเรา ทำไป

ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ต้องมีอย่างนี้ มีพระปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ปริยัติเป็นข้อที่ดี ว่าพุทโธเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็นำเอาพุทโธมาปฎิบัติ เรียกว่า ธรรม


เจดีย์กลมทรงรามัญ ถ่ายจากคลองภาษีเจริญ



ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ถ่ายจากสะพานข้ามคลองภาษีเจริญ สะพานนี้สามารถเดินไปวัดปากน้ำได้


เราภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้สังเกตอยู่ที่ใจ ใจมันเลื่อมใสในพุทโธ บางคราวมันไม่เลื่อมใสในเครื่องพุทโธ เมื่อภาวนาพุทโธเมื่อไหร่มันไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่เห็นด้วย เราจะต้องทำ ต้องแก้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ ปล่อยไปใหญ่ ต้องแก้ ต้องอ้อนวอน ชวนให้ทำงาน ชวนจิตให้มาทำงานว่า ไอ้งานที่ทำๆกันน่ะ ฉันเคยทำเหมือนกันน่ะ ไอ้งานเหล่านั้นน่ะ แต่มันได้ประโยชน์น้อย งานที่ฉันได้ใหม่ได้ประโยชน์มาก เชิญมาลองทำดู ดูฉันเป็นตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ฉันทำงานอีกอย่างหนึ่งแล้ว รู้สึกสบาย

ท่านผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ทำงานดี ผู้น้อยก็ชอบว่า ดี ท่านอัธยาศัยใจคอ วางตนเป็นกลางๆ ไม่เข้าไม่ออก ท่านถือเป็นกันเอง เออ! งานดีแล้วท่านเสนองานการของเราที่ทำ เสนอผู้หลักผู้ใหญ่ว่า นาย ก. เขาทำยังงั้นๆได้รับความชมเชย หรือขึ้นเงินดาวเงินเดือนอะไรให้นี่ล่ะ ฉันทำอย่างงี้ได้เพราะกิจการที่ทำขึ้นใหม่ เราก็ชวนเขา เอ้า!ไปวัดประดู่ ไปทำงานที่วัดประดู่ หลวงปู่โต๊ะ ท่านสอนให้ฉันทำงานขึ้นใหม่ ไปซี เราก็ไป เราก็มาขึ้นทำกันนี่ละ


ท่าเรือของวัดประดู่ฉิมพลี

บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ

บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ


บางคราวก็เห็นด้วยที่นั่งภาวนา บางคราวไม่เห็นด้วย เพราะอะไร เพราะงานมันบีบคั้น นั่งไปนานๆหน่อย เมื่อย ปวดที่นั่น เจ็บที่นี่ ยุงกัดที่โน่น ยุงกัดที่นี่ ง่วงเหงาหาวนอนไป จิตใจไม่สงบ นั่งอยู่ที่นี่ คิดไปที่โน่น ต่อไปถึงที่นั่น อะไรอีก จะถามว่า นั่นแกคิดเรื่องอะไรอยู่บ้างไหม ที่ไปนั่งภาวนานับไม่ถ้วน อะไรต่ออะไร มันเข้ามาวุ่นวายกันใหญ่ ไม่เห็นจะมีท่ามีทาง อย่า อย่า อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งใจร้อนต้องอ้อนวอนนิดหน่อย เพราะงานเขายังไม่เคยทำ เขาไม่เคยทำงานชิ้นนี้ ต้องอ้อนวอนหน่อย ให้รู้ว่า ดีนะ

งานนี้น่ะดี ทำไปเหอะ ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ถึงศรัทธาเวลาไหน ก็เวลานั้นได้ จะถามว่าทำยังไง ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ เดินก็ทำได้ มันอยู่ที่การกระทำ เออลองดูซี นั่งก็ทำ ไม่ต้องมาก ๕ มินิส ๑๐ มินิส หรือจะมีศรัทธายิ่งไปกว่านั้นก็ได้





บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ มีนักท่องเที่ยวนั่งเรือชมคลอง ทั้งที่น้ำในคลองไม่ใสเอาเลย


นั่งกำหนดจิตว่า เดี๋ยวนี้จิตมันเป็นอย่างไร.? จิตมันเป็นอย่างไร ทีนี้จิตมันก็เชื่องช้า คุ้นกับงานการเข้า ทีหลังเราไม่ต้องเตือน มันเดินไปตามงานมราเรากะให้ทำ ไม่ต้องไปทำกันบ่อยๆ จำได้ก็เข้ามา อารมณ์อื่นๆก็เบาไป เบาไปแล้วเราก็รู้สึกแช่มชื่น จิตใจมันสมคบดี มันรู้เท่าทัน กิเลส ตัญหา อุปาทาน รู้เท่าทันเขา เย็นเข้า เย็นเข้า ไอ้พวกนั้นดับ ดับด้วยอะไร ดับด้วยศีล ดับด้วยสมาธิ ดับด้วยปัญญา เรียกง่ายๆเขาว่า”วิมุติ” หลุดไปเป็นครั้งเป็นคราว เป็นขณะ เป็นสมัย เป็นกาล หลุดไปได้

เราเคยโกรธคนมากๆ ต่อไปโกรธน้อยลง เรามารู้ตัวว่า เอ๊ะ!ไอ้โกรธนี่ มันต้องเราก่อนซิ เราก่อน มันเผาเราก่อน แล้วมันจึงไปเผาคนอื่น แล้วก็เดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ ลดลงเพราะเห็นโทษ ได้ที่โกรธหรือราคะอะไรนี่ เพราะความหลงของเรา เข้าใจว่ามันเป็นยังงั้นๆยังงั้นๆ

ทีนี้ก็แก้ความหลง เขาเรียกว่า อวิชชา เราก็ทำ อวิชชานั่นน่ะ เป็นวิชชาขึ้น เมื่อมันเป็นวิชชา ความรู้มันก็ดีขึ้น ความโง่หมดไป ความเขลาหมดไป ความฉลาดก็เกิดขึ้นฉันใด การที่เรามาอบรมใจก็ฉันนั้น ต้องปลอบ ช่วยเหลือตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การที่จะมาทำจิต ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ตั้งสติคุมจิต จิตก็มีอารมณ์ คือ พุทโธ ทำจิตตัวเอง จะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ตาม ที่ได้อธิบายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้..

_________________________
จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่


ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน อยู่ในโรงเรียนวัดประดู่ฯ

บรรยากาศวัดประดู่ฯ ถ่ายจากโรงเรียนวัดประดู่ฯ


      ทริปวัดประดู่ฉิมพลี มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม.....
10292  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 11:21:21 am




ต่อไปนี้ จะแนะแนวทางของการปฎิบัติในกรรมฐาน...

- กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ สมถะกรรมฐานประการหนึ่ง วิปัสสนากรมมฐานประการหนึ่ง
- สมถะเรียกว่า ความสงบ วิปัสสนา ปัญญาเห็นแจ้ง

- สมถะ สงบจากอะไร “นิวรณ์ ๕” มีอะไรบ้าง กามฉันทะ ความใคร่ในกาม กามคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส ดผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่กามเรียกว่า กามคุณ ๕ เราพึงสังเกตุดูว่า จิตของเรามันตกอยู่ในกามตัวใดบ้าง เมื่อเรารู้ว่า อ้อ มันติดอยู่ที่ความพอใจ ในรูปก็ดี ในเสียงก็ดี ในกลิ่นก็ดี ในสัมผัสก็ดี ในรสก็ดี เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม ความสงบหาเกิดขึ้นกับเราไม่ เพราะเหตุใด เพราะจิตมันเข้าไปอยู่ในกาม ความสงบไม่มี เมื่อความสงบไม่มีเรียกว่าอะไร ไม่ใช่สมถะไม่ใช่สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร จิตฟุ้งซ่าน ไปในรูปบ้าง ไปในเสียงบ้าง ไปในกลิ่นบ้าง ไปในรสบ้าง ไปในสัมผัสบ้าง จิตตกอยู่ในกาม ความสงบหาเกิดขึ้นได้ไม่ สมถะกรรมฐาน ถ้าความสงบไม่มีเรียกว่าสมถะไม่ได้ จิตมันตกอยู่ในอำนาจของกามคุณแล้ว

- เรามีวิธีอะไรที่จะพึงแก้ ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ นั้นได้...มีทางแก้ พิจารณา กายะคะตานุสติ ก็ได้ หรืออสุภะกรรมฐานก็ได้ เพื่อแก้ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ ไอ้ที่จิตมันตกไปในกามคุณ เพราะเราเห็นผิดว่าเป็นไปตามจริตของจิตที่มันพอใจ มันชอบรูป เออ!รูปดี มันชอบเสียง เออ!เสียงเพราะดี ชอบกลิ่น เออ!หอมดี ชอบรส รสอย่างนั้น รสอย่างนี้ ชอบสัมผัส การถูกต้องนิ่มนวลอะไรๆเหล่านี้ ธรรมารมณ์อารมณ์พอใจ ไม่พอใจเพิ่มขึ้น


วันนั้นมีบริษัทหนึ่งมาตรวจโรคให้พระ โดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์



- แก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มันมาได้อย่างไร อะไรเป็นตัวทุกข์ชาติ ชาติเป็นตัวทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ นี่เป็นตัวทุกข์ ไหนบ่นกันอยู่เรื่อยๆว่า เป็นทุกข์จริง ฉันนี่เป็นทุกข์จริง แล้วเราก็เข้าไปหาทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรานะ เราไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความสุข แต่ทำไมจิตมันตกไปเองในเรื่องทุกข์อย่างนั้น ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์อย่างโน้น ทุกข์ร้อยแปดพันเก้า กิเลส กิเลสกรรมวิบาก กิเลสความใคร่ ใคร่ไปในเรื่องต่างๆ

- กรรม แปลว่า กระทำ กิเลสกรรม กระทำดี กระทำชั่ว วิบาก เราทำดี ได้รับผลดี เราทำชั่ว ได้รับหลชั่ว พวกนี้เอง ทำให้เราเห็นไปในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม มันก็เพลินในเรื่องความเห็นผิด มันเพลินไป ความเพลินที่เราเพลินเลยเผลอ เผลอไป เผลอไป เผลอไปเลยหลง หลงว่าอย่างนี้ดี หลงไปหมด คนที่หลงนั่นเป็นเพราะอะไร ปราศจากสติ คนปราศจากสติ ปราศจากสติ เขาเรียกว่าอะไร คนประมาท อ้อ.! เรานี่เป็นคนประมาทนะ ทำเป็นคนไม่ประมาทเสียบ้างซี เอ้อ.! ทำไง.?

- ทำสมถะกรรมฐานนี่ละ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อความสงบจากกาม แล้วรู้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความสงบ รู้ได้ มีสติเข้าไปคุมจิต เมื่อเรามีสติเข้าไปคุมจิต เราจะรู้ว่า จิตมีอะไรเป็นอารมณ์ มีดีกับชั่ว อะไรดี กุศลจิต นี่ดี เป็นคนฉลาดเกิดขึ้นในจิตของตนเอง รู้เหตุผล นี่ควร นี่ไม่ควร เกิดปัญญาขี้นในจิต อกุศลจิต นี่จิตโง่ จิตไม่ฉลาด เรียกว่าอกุศลจิต เกิดขึ้นรู้ไม่เท่าทัน อะไรเป็นอารมณ์ของจิต กุศลจิต อกุศลจิต

- พุทโธ นี่เรียกว่า กุศลจิต มีประโยชน์อะไร ภาวนาพุทโธ มีประโยชน์อะไร แล้วทำไมมีตั้งหลายอย่างหนัก เดี๋ยวก็ให้ตั้ง เดี๋ยวก็ไม่ให้ตั้ง ตั้งอย่างนั้น ตั้งอย่างนี้ ก็เพื่อทดลอง สติกับจิต ให้รู้ว่า ตั้งที่ตรงนั้นน่ะ จิตใจมันเป็นอย่างไรไม่ทราบ มันยังส่ายออกออกไปนอกพุทโธ หรือว่าอยู่ในพุทโธ

_________________________
จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่

      ยังมีต่อ โปรดติดตาม.....
10293  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 10:35:28 am
ขอให้สังเกตภาพหลวงปู่โต๊ะที่มุมด้านบนขวามือ ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ

ช่วงหนึ่งพระอาจารย์ได้ถามแนวการสอนกรรมฐานของวัดนี้ เจ่าอาวาสได้ชี้มาที่รูปที่มุมห้อง เป็นรูปนี้ครับ


หลวงปู่โต๊ะบอกวิธีนั่งเจริญสมาธิ
(ต่อจากด้านบน)

เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง แล้วมองดูพระประธาน
ผิวพรรณวรรณ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร.?
หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร.?
แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไป


น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)


         ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว
         ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
         ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…

         (ให้เวลาปฎิบัติพอสมควรแล้ว หลวงปู่จะสอนและแนะแนวทางปฎิบัติ)
_____________________

จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่


ขยายภาพให้ดูกันชัดๆครับ การน้อมองค์พระไปตามจุดต่างๆนั้น คล้ายกับการเดินจิตของกรรมฐานมัชฌิมาฯ
กระทู้ต่อไปผมจะเปรียบเทียบกรรมฐานของหลวงปู่โต๊ะกับกรรมฐานมัชฌิมาฯ ให้เห็นกันชัดๆ

       ยังมีต่อ โปรดติดตาม...
10294  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 10:08:45 am

วันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา พระอาจารย์และศิษย์ได้มีโอกาส เข้ากราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี

การได้พบเจ้าอาวาสครั้งนี้เป็นไปโดยบังเอิญ บังเอิญจอดรถใกล้กับศูนย์วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่โต๊ะ

บรรยากาศภายในศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน

พระอาจารย์สนทนากับเจ้าอาวาส

การเยือนวัดประดู่ฉิมพลีครั้งนี้ อาคารแรกที่เข้าไปคือ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน
วันนั้นญาติธรรมอบรมกรรมฐานเสร็จพอดี คณะเราเลยได้กราบเจ้าอาวาส โดยการแนะนำของเจ้าหน้าที่นั้น

พระครูเกษมธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี ขอบคุณภาพจากเว็บ https://i.ytimg.com/

หลังจากการสนทนาสักพัก ผมได้ถามชื่อท่าน ท่านเมตตาให้นามบัตรแก่คณะของเรา ท่านเป็นคนขอนแก่นครับ
10295  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 08:46:20 am
รูปหล่อหลวงปู่โต๊ะนี้อยู่ภายในอาคารให้บูชาวัตถุมงคลของหลวงปู่โต๊ะ ที่วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ



มรดกชิ้นสุดท้ายของ..หลวงปู่โต๊ะ (สอนภาวนา)
จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่

การนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดประดู่ฉิมพลี : ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะท่านจะสอนวิธีนั่งเจริญกรรมฐาน วิปัสสนาให้แก่ศิษย์ ท่านจะได้ศิษย์แต่ละคนที่มีความประสงค์จะถวายตัวเป็นศิษย์ทางนั่งเจริญกรรมฐานวิปัสสนา เพื่อแสวงหาความสงบทางใจ จัดหาดอกไม้ธูป เทียน มาสักการะท่านเป็นการขึ้นครูหรือเรียกว่าขอขันธ์ ๕ จากท่านก่อน และท่านจะนัดให้มาในวันพฤหัส โดยแต่ละคนต้องนำ
     ๑. ธูป ๕ ดอก
     ๒. เทียนขาว ๕ เล่ม
     ๓. ดอกไม้ ๕ กระทง
     ๔. ข้าวตอก ๕ กระทง




เมื่อมากันพร้อมแล้ว ท่านจะนำเข้าสู่พระอุโบสถและเริ่มสอนวิธีนั่งปฎิบัติเจริญกรรมฐานวิปัสสนาต่อไปนี้

      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

      พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
      ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
      สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
      ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
      ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
      ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
      ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
      ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
      ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

      ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      อะทินนาทานาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
      สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

      อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสนะสาธุกัง อัปปมาเทนะ รกฺขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย



     (จุดธูปเทียนได้)
     อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
     สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
     สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
     พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

     อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(กราบ)
     ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(กราบ)
     สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ(กราบ)

     นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
     นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
     นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

     อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ข้าพเจ้าจะขออย่างพระลักษณะปิติทั้ง๕ จงมาบังเกิดใน จักขุทวาร โสตะทวาร ฆานะทวาร ชิวหาทวาร กายะทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ(กราบ)


     ยังมีต่อโปรดติดตาม....
10296  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / กรรมฐาน ของ "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 08:26:09 am



พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) ( 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2524) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดธนบุรีในอดีต เป็นพระคณาจารย์ที่รู้จักกันดี ด้วยวัตรอันปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคราพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจากเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 จนกระทั่งมรณภาพ รวมระยะเวลานานถึง 68 ปี ขณะนี้ พระครูวินัยธรเพลิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 จนถึงปัจจุบัน




ประวัติ

พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2 คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม

ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา

เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ

หลังจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456




ออกธุดงค์

ต่อมาหลวงปู่โต๊ะ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั้วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เรียนวิชาพุทธาคม และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และก็ได้ธุดงค์ไปยังภาคเหนือเพื่อศึกษาวิชากับพระอาจารย์อีกหลายท่าน  และในขณะที่ท่านเดินธุดงค์ท่านก็ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม

ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้น ท่านก็เดินทางไปยังภาคใต้ ไปที่จังหวัดปัตตานี และเมื่อหลวงปู่ท่านกลับมาที่ จังหวัดธนบุรี กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลี ท่านก็ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง




ปฏิปทาและจริยาวัตร

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีกริยามารยาทที่งดงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ และท่านได้เคยเจอเกี่ยวกับโรคระบาด หลวงปู่ท่านเห็นคนหลายคนไม่สบาย ท่านก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะท่านเองก็เป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกัน

ท่านจึงตั้งจิตว่า หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านจงหายจากโรคนี้ แต่ถ้า ท่านหมดบุญแล้ว ก็ขอให้ตายซะ ในตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้นำน้ำพระพุทธมนต์มาเจริญให้ ตื่นมาท่านก็มาเจริญน้ำพระพุทธมนต์ และสุดท้ายท่านก็หายจากโรคนี้




เบื้องปลายชีวิต

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีผู้คนมานิมนต์ท่านให้ออกมาให้พร หรือ ขอความช่วยเหลือ ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยแข็งแรง แต่ยังพอฉันอระไรได้มาก แม้จะรักษาอย่างดีเท่าใด แต่สุขภาพ กายสังขารของท่านก็ไม่อาจจะทนไหว

ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 และก่อนมรณภาพได้เพียง 7 วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา 9:55 น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ




สมณศักดิ์

หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ ได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
    พ.ศ. 2457 - เป็นพระครูสัญญาบัตรฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ พระครูสังฆวิชิต
    พ.ศ. 2463 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูวิริยกิตติ์
    พ.ศ. 2497 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2506 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2511 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2516 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรวิมลเถร
    พ.ศ. 2521 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวราภิมณฑ์ โสภณภาวนานุสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


 
อ้างอิง :-
1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพาณิชยกุล
2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
3. ชีวประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
4. พระราชสังวราภิมณฑ์ โต๊ะ อินทสุวัณโณ ผู้เรียบเรียง มิ่ง เมืองนนท์
5. ชุมชนคนรักมีด
6. วัดประดู่ฉมิพลี, ชีวประวัติและวัตถุมงคล พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ, ม.ป.ป., หน้า 33
7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม ๓๗, ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๓, หน้า ๒๖๓๐
8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๐, ตอนที่ ๑๗๗ ง ฉบับพิเศษ, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖, หน้า ๘
9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๗, ตอนที่ ๖๐ ก ฉบับพิเศษ, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓, หน้า ๑๐
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชสังวราภิมณฑ์_(โต๊ะ_อินฺทสุวณฺโณ)
ขอบคุณภาพจาก
http://www.g-pra.com/
http://www.web-pra.com/
http://www.lp-tohthailand.com/
http://2.bp.blogspot.com/
http://www.หลวงปู่โต๊ะ.com/
http://www.dhammajak.net/
10297  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: รัฐกับการแบ่งนิกายของสงฆ์ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:33:46 pm



พระราชภารกิจของรัฐพุทธโบราณที่ทำเป็นประจำ คือคอยดูแลให้คณะสงฆ์ประพฤติปฏิบัติให้ต้องตรงพระธรรมวินัย ดังนั้นการ “ชำระ” คณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์ จึงเป็นพระราชกรณียกิจของมหาราช นับตั้งแต่พระเจ้าอโศก พระเจ้าแผ่นดินลังกา และพระเจ้าแผ่นดินพม่าและไทย แต่นอกจากมิติทางศาสนาแล้ว ยังมีมิติทางการเมืองแฝงอยู่อย่างน้อยสองด้าน ภารกิจนี้เป็นข้ออ้างอย่างดีให้พระเจ้าแผ่นดินจัดองค์กรเพื่อควบคุมคณะสงฆ์ กล่าวคือ เอาอำนาจทางโลกไปค้ำจุนพระธรรมวินัย และอำนาจของสงฆ์ที่รัฐรับรองหรือแต่งตั้งขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐโบราณเหล่านี้ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีพอจะควบคุมดูแลพระสงฆ์ได้ทั่วถึงหรอก การ “ชำระ” พระสงฆ์เป็นครั้งคราว นอกจากถือเป็นบุญกิริยาอันยิ่งใหญ่แล้ว ยังได้บั่นรอนการสะสมกำลังของฝ่ายสงฆ์ซึ่งเป็นอันตรายต่ออำนาจบ้านเมืองลงเป็นครั้งคราวด้วย

    อีกด้านหนึ่งของมิติทางการเมืองก็คือ นับตั้งแต่พระเจ้าอโศกลงมาจนถึงพระนารายณ์แห่งอยุธยา ซึ่งได้ “ชำระ” พระสงฆ์ในราชอาณาจักรของตน คนนอกศาสนาซึ่งมาปลอมบวชเพื่อหาประโยชน์จากพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก เมื่อถูกบังคับให้สึกแล้วจะกลายเป็นอะไร ตอบอย่างกว้างๆ คือกลับมาเป็นข้าแผ่นดินของพระเจ้าอโศกนั่นเอง ผมไม่มีความรู้ว่ารัฐเมารยะของพระเจ้าอโศกจัดการควบคุมประชากรอย่างไร แต่อย่างไรเสียกำลังแรงงานของราษฎรย่อมเป็นกำลังของพระเจ้าแผ่นดินแน่ ฉะนั้น ภิกษุที่ถูกจับสึกในครั้งนั้น ก็คงต้องเป็นอะไรสักอย่างที่พระเจ้าอโศกสามารถได้ประโยชน์จากกำลังแรงงานของพวกเขา

    พระราชพงศาวดารอยุธยาและหลักฐานฝรั่งบอกชัดเจนว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ชำระพระสงฆ์แล้ว บังคับให้ภิกษุซึ่งไม่มีความรู้และไม่ใส่ใจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยสึกออกมา แล้วนำตัวไปขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงทั้งหมด นั่นคือกำลังคนที่เป็นของกษัตริย์โดยตรงทีเดียว

 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

กล่าวโดยสรุป ก่อนที่จะเข้ามาสู่รัฐสมัยใหม่ พุทธศาสนาในรัฐพุทธต่างๆ ล้วนมีหลายสำนักอาจารย์ ซึ่งอาจตีความพระวินัยต่างกันบ้าง และเน้นคำสอนที่ไม่ตรงกันนัก รัฐไม่รู้สึกเดือดร้อนกับความแตกแยกนี้นัก เพราะความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ไม่ได้แสดงความล้มเหลวในการทำนุบำรุงศาสนาของรัฐ และไม่มีภัยทางการเมืองต่ออำนาจของรัฐ พระภิกษุของสำนักอาจารย์ต่างๆ ก็ไม่รู้สึกว่า สำนักอาจารย์อื่นกำลังทำสังฆเภท หรือกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไป ยังคงนับว่าอยู่ในเถรวงศ์เหมือนกัน

สภาพเช่นนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อรัฐได้เปลี่ยนมาเป็นรัฐสมัยใหม่

การแบ่งนิกายศาสนาอย่างชัดเจนเริ่มขึ้นในยุโรปสมัยปฏิรูปศาสนา (Reformation) ก่อน คำว่าอย่างชัดเจนในที่นี้ ผมหมายความว่า มีการแบ่งแยกในหลักคำสอนที่เป็นสาระสำคัญของศาสนา ทำให้พิธีกรรมและองค์กรศาสนาเปลี่ยนไป

การแบ่งแยกนิกายในพุทธศาสนาก่อนสมัยใหม่ จะว่าไม่กระทบต่อหลักคำสอนเลยก็ไม่เชิง เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวกับหลักคำสอนอันเป็นสาระสำคัญ ขอยกตัวอย่างความขัดแย้งในการตีความพระธรรมของฝ่ายมหาวิหารและฝ่ายอภัยคีรีวิหารในลังกาให้ดูเป็นตัวอย่างหนึ่งในความขัดแย้งในเรื่องหลักธรรม เท่าที่นักวิชาการสามารถค้นหาร่องรอยได้ (L. S. Cousins, “The Teachings of the Abhayagiri School,” ในหนังสือที่ได้อ้างอิงไปก่อน)
     เช่น ฝ่ายอภัยคีรีอ้างว่า มิทธะหรือความง่วงเหงาหาวนอน หนึ่งในนิวรณ์ห้า เป็นนามไม่ใช่รูป หมายความว่าไม่ใช่อาการอันเกิดแก่ร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่อยู่ในความคิดต่างหากเป็นต้น ความขัดแย้งระหว่างสองสำนักอาจารย์นี้เกี่ยวกับเรื่องอะไรคือรูป อะไรคือนาม ยังมีในเรื่องอื่นๆ อีก ผมไม่ปฏิเสธว่าหากคิดเรื่องรูป-นามที่ต่างกันไปให้ทะลุ ย่อมกระทบต่อการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
     ดังนั้น ฝ่ายอภัยคีรีจึงไม่รับคัมภีร์วิสุทธิมรรค หากมีคัมภีร์ของตนเองชื่อว่า วิมุตติมรรค ซึ่งไม่มีฉบับบาลีเหลืออยู่แล้ว เรารู้เนื้อความได้จากบทในภาษาจีน


 :96: :96: :96: :96:

เงื่อนไขความจำเป็นในช่วงปฏิรูปศาสนาในยุโรป บังคับให้ต้องขีดเส้นกั้นพรมแดนระหว่างระบบความเชื่อต่างๆ ให้ชัด แค่ไหนจึงเป็นโปรเตสแตนต์ (คาลวินิสม์, ลุทเธอรัน, ฯลฯ) และแค่ไหนจึงยังเป็นคาทอลิกอยู่ ผมคิดว่าศาสนาในโลกก่อนหน้านั้น แม้แต่ในยุโรปเอง ก็มักไม่มีเส้นพรมแดนที่ชัดนัก ยิ่งในชีวิตชาวบ้านอุษาคเนย์ พรมแดนของศาสนายิ่งเบาบาง จนผู้คนข้ามกันไปข้ามกันมาเป็นปรกติ

ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการยอมรับสิทธิเสมอภาคของคนต่างศาสนา แต่เพราะศาสนาไม่ได้เรียกร้องอย่างชัดเจนนักเกี่ยวกับระบบความเชื่อ ซึ่งกระทบต่อพิธีกรรมและแบบปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดนัก ดังนั้นหากจะพูดว่าคนแถบนี้มีขันติธรรมทางศาสนา ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นขันติธรรมทางศาสนาที่มีความหมายต่างจากที่เราเข้าใจในปัจจุบัน

ดังนั้น หากจะมีการแบ่งแยกสำนักอาจารย์ในพุทธศาสนา ผมเข้าใจว่าประชาชนทั่วไปคงไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่อะไรนัก ที่เล่ากันว่าเมื่อเกิดธรรมยุติกนิกายขึ้น มีผู้เอาข้าวต้มร้อนๆ ตักบาตรพระธรรมยุต แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปทำ หากกลายเป็นเรื่องแย่งสถานะทางการเมืองกันในหมู่พวกเจ้านาย

แม้แต่เรื่องในประวัติศาสตร์พม่าและล้านนาว่า พระเจ้าแผ่นดินลงมารังแกพระที่สังกัดสำนักซึ่งไม่พอพระทัย ก็เข้าใจว่าเกี่ยวกับการเมืองในหมู่ชนชั้นสูงมากกว่าเป็นเรื่องของชาวบ้านทั่วไป

 st12 st12 st12 st12

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อผู้คนในภูมิภาคนี้รับเอาคติการแบ่งแยก “นิกาย” แบบตะวันตกเข้ามา ซ้ำร้ายกว่านั้นก็คือ รัฐในอุษาคเนย์ก็เปลี่ยนตัวเองเป็นรัฐแบบใหม่เหมือนตะวันตก แนวคิดเรื่องรัฐชาติเริ่มก่อตัวขึ้นในรัฐอาณานิคมแบบใหม่และในรัฐไทย

เจ้าอาณานิคมไม่สนใจศาสนาของประชาชน อย่างน้อยก็เพราะในฐานะคนนอกศาสนา จึงไม่อาจใช้ประโยชน์ศาสนาในการควบคุมทางการเมืองของตนได้ การเข้าสู่ความทันสมัยจึงเป็นผลงานของรัฐและทุนล้วนๆ โดยศาสนาไม่ได้มีบทบาทในการสื่อความทันสมัยที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐแบบนี้

ศาสนาเข้าไปมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความทันสมัยอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลัทธิชาตินิยม-ศาสนนิยม ซึ่งมีคนหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาแผนตะวันตกเป็นผู้นำ ศาสนาและองค์กรศาสนาช่วยแพร่กระจายความคิดต่อต้านจักรวรรดินิยมไปในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะในเขตเมืองได้อย่างกว้างขวาง เราพบปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ในพม่า, กัมพูชา, เวียดนาม, และอินโดนีเซีย

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ศาสนาในสังคมอุษาคเนย์ยิ่งแตกตัวออกเป็นหลาย “สำนักอาจารย์” (ในเวียดนามอาจพูดว่าหลายนิกายตามความหมายตะวันตกก็ได้) เพราะได้รับอิทธิพลจากภายนอกหลายแหล่ง จากอินเดียถึงไคโร และจากจีนถึงปารีสและลอนดอน


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

และเพราะศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราช จึงเป็นธรรมดาที่ศาสนาในพม่า, อินโดนีเซีย, และกัมพูชา มีแนวโน้มค่อนข้างกีดกันคนนอกศาสนา ในพม่าพวกผู้นำกะเหรี่ยงและกะฉิ่นกลายเป็นคริสต์ จึงไม่ค่อยได้รับความไว้วางใจจากชาวพุทธพม่า ซึ่งในภายหลังเมื่อได้เอกราชแล้ว ก็หันมาสู่ความรังเกียจมุสลิมอย่างรุนแรงในปัจจุบัน อินโดนีเซียรังเกียจจีนซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐและทุนตะวันตกในการเอารัดเอาเปรียบชาวบ้านซึ่งเป็นมุสลิม และรังเกียจชาวคริสต์ซึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกลายๆ ในสมัยอาณานิคม ความแตกต่างทางศาสนาระหว่างชาวเขมรและชาวจามในกัมพูชา ทำให้ชาวจามไม่ถูกผนวกรวมอยู่ในชาติอย่างเท่าเทียมสืบมา

ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมด้วยว่า การนิยามความเชื่อและพิธีกรรมให้มีเส้นพรมแดนชัดเจน ทำให้ “สำนักอาจารย์” ก็มีเส้นพรมแดนของความเชื่อและพิธีกรรมที่ชัดเจนไปด้วย จึงยากที่จะผนวกรวมเอาศาสนิกใน “สำนักอาจารย์” อื่นได้

มีสองประเทศในอุษาคเนย์ ที่แม้มีการแตกตัวของสำนักอาจารย์เพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้เหมือนกัน แต่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายอำนาจที่เชื่อมโยงกับจักรวรรดินิยม นั่นคือฟิลิปปินส์และไทย

เจ้าอาณานิคมเสปนเผยแพร่และบังคับให้ชาวพื้นเมืองกลายเป็นคาทอลิก ใช้ศาสนาเและองค์กรศาสนาป็นเครื่องมือในการปกครองควบคุม และหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ดังนั้นองค์กรศาสนาจึงมีอิทธิพลทางการเมืองอย่างมากสืบมา แม้เมื่อสหรัฐเข้าครอบครองฟิลิปปินส์แล้ว ก็ไม่เป็นอริกับองค์กรศาสนา

ขบวนการชาตินิยมฟิลิปปินส์จึงไม่ค่อยได้เชื่อมโยงกับศาสนานัก กลายเป็นพื้นที่ของพวกอิลลัสตราโดส์เชื้อสายจีน เข้าไปมีบทบาทอย่างเต็มที่

 :49: :49: :49: :49:

    สถานการณ์ในสยามคล้ายๆ กัน ชนชั้นนำตามจารีตเข้าไปยึดกุมการนำในวงการพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังไม่เปิดประเทศ ในช่วงที่พยายามรวมศูนย์การปกครองตามแบบรัฐสมัยใหม่ ก็ได้ปฏิรูปองค์กรคณะสงฆ์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิด สำนักอาจารย์อันหลากหลายถูกผนวกกลืนเข้ามาในกรอบของคณะสงฆ์ที่รัฐวางไว้ แม้มีสำนักอาจารย์เกิดขึ้นอีก ต่างก็ล้วนต้องอยู่ในกรอบนั้น แม้มีประเพณีปฏิบัติหรือคำสอนที่ต่างกันไปก็ตาม เช่นกลุ่มพระป่าสายธรรมยุต, ส่วนใหญ่ของศิษย์หาของครูบาศรีวิชัย, สวนโมกขพลาราม ฯลฯ เป็นต้น

ไม่มีองค์กรศาสนาในชาติอุษาคเนย์ใดที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุมของรัฐยิ่งไปกว่าไทย องค์กรสงฆ์ไทยซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ชนชั้นปกครองไทยของรัฐรวมศูนย์แบบใหม่เพิ่งสร้างขึ้นในปลาย ร.5 ทำให้องค์กรสงฆ์ไทยไม่มีบทบาทอิสระของตนเอง เป็นแต่เครื่องมือของรัฐเท่านั้น เปรียบเทียบกับองค์กรสงฆ์ของฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นองค์กรรวมศูนย์เช่นเดียวกัน แต่อยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของศาสนจักรซึ่งมีศูนย์อยู่ที่วาติกัน ทำให้รัฐฟิลิปปินส์ไม่สามารถกำกับควบคุมคณะสงฆ์ได้อย่างรัฐไทย

หลัง 2475 มีการเคลื่อนไหวของสงฆ์ไทยให้แก้ไขการปกครองภายในขององค์กรสงฆ์ โดยเลียนการจัดแบ่งและถ่วงดุลอำนาจจากรัฐในระบอบประชาธิปไตย ในที่สุดก็มีการออกกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ใน พ.ศ.2484 เปลี่ยนการปกครองคณะสงฆ์ให้มีการถ่วงดุลภายในมากขึ้น


 :96: :96: :96: :96:

พ.ร.บ.สงฆ์ 2484 ไม่ถึงกับปลดปล่อยคณะสงฆ์จากการกำกับของรัฐเสียทีเดียว แต่ก็เปิดช่องให้คณะสงฆ์อาจมีมติหรือดำเนินการอย่างเป็นอิสระบ้าง และหากใช้ช่องทางนี้ไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้ที่จะหลุดออกจากการควบคุมของรัฐได้สิ้นเชิงในอนาคต

แต่ดูเหมือนการเป็นอิสระจากรัฐไม่ได้อยู่ในความคิดของสงฆ์ไทยมาแต่ต้น กลุ่มพระที่เคลื่อนไหวผลักดันให้แก้ไขปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์คิดเรื่องการถ่วงดุลอำนาจภายในองค์กรมากกว่า อาจารย์โยเนโอ อิชิอิ เล่าว่า เพียงไม่กี่วันหลังการปฏิวัติ 2475 เมื่ออำนาจของฝ่ายคณะราษฎรดูจะมั่นคงขึ้นแล้ว คณะสงฆ์ก็ออกประกาศสนับสนุนการปฏิวัติ หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.สงฆ์ 2484 คณะสงฆ์ก็ประกาศเปลี่ยนการแบ่งเขตบริหารของตนออกเป็นภาค แต่ใช้ได้ไม่นานก็เปลี่ยนตามการแบ่งเขตของกระทรวงมหาดไทย ราชการเปลี่ยนไปอย่างไร คณะสงฆ์ก็เปลี่ยนตามไปเรื่อย (Sangha, State, and Society)

    อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรมควรกล่าวไว้ด้วยว่า ระหว่าง 22 ปีที่มีการใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์กับรัฐไม่สู้จะแตกต่างจากเดิม แต่ในช่วงนี้ คณะสงฆ์กลับสร้างความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น ด้วยการจัดกิจกรรมใหม่ๆ ที่เหมาะกับศาสนาในสังคมสมัยใหม่มากขึ้น เช่นเปิดการอภิปรายถกเถียงด้านธรรมะในเวทีต่างๆ ทั้งที่เป็นของพระและฆราวาส (เช่นลานอโศกในวัดมหาธาตุ, พุทธสมาคม, ยุวพุทธิกสมาคม) และผู้อภิปรายเองก็มีทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ธรรมกถึกที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นในยุคนี้หลายรูป

การที่รัฐไปสร้างให้คณะสงฆ์กลายเป็นองค์กรอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ ทำให้รัฐเองก็ระแวงภัยอำนาจขององค์กรคณะสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือหลังจากนั้น รัฐจึงต้องกำกับองค์กรสงฆ์อย่างใกล้ชิด เพราะพระสงฆ์ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากประชาชนทั่วไป เมื่อกลายเป็นองค์กรขึ้นมา หากเป็นอิสระก็อาจขัดขวางอำนาจรัฐได้มาก

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อันที่จริงประโยชน์ทางการเมืองของพระสงฆ์ที่มีต่อรัฐนั้น ไม่ใช่ช่วยผดุงความสงบเรียบร้อย เพราะศาสนาผีและการจัดองค์กรทางสังคมของชาวบ้านทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ภารกิจสำคัญของพระสงฆ์ต่อการเมืองของรัฐอยู่ที่ด้านอุดมการณ์ครับ พระสงฆ์ช่วยเสริมสร้างความชอบธรรมของอำนาจรัฐจารีต ซึ่งง่ายที่จะดัดแปลงมาทำหน้าที่อย่างเดียวกันคือเสริมสร้างความชอบธรรมแก่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเป็นเครื่องมือการขยายอำนาจของรัฐแบบใหม่นี้ไปทั้งทางกว้างและทางลึก จึงจำเป็นต้องจัดให้พระสงฆ์เข้ามาอยู่ในองค์กรรวมศูนย์ที่รัฐสามารถกำกับควบคุมได้

แต่เพราะถูกจัดเป็นองค์กรรวมศูนย์เสียแล้วเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความอุ้ยอ้าย ปรับตัวไม่ค่อยได้ แม้ว่าอำนาจทางการเมืองในประเทศไทยได้เปลี่ยนไปกว่า 80 ปีแล้ว บทบาทด้านอุดมการณ์ของพระสงฆ์ไทยก็ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือยังเป็นผู้ให้ความชอบธรรมต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหมือนเดิม

หากพระสงฆ์ในพุทธศาสนายังจัดองค์กรแบบเดิม คือมีสำนักอาจารย์ที่หลากหลาย บวชกุลบุตร(ธิดา)ตามสายสำนักอาจารย์ สืบ “วงศ์” กันมา โดยไม่มีองค์กรรวมศูนย์ของรัฐมาคอยควบคุมดูแล อย่างไรเสียก็ต้องมีสำนักอาจารย์บางแห่งที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคม, เศรษฐกิจ และการเมืองซึ่งเกิดขึ้น จึงปรับเปลี่ยนบทบาทของตนจากการเป็นผู้เสริมสร้างอุดมการณ์ของสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นผู้เสริมสร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตยบ้าง

อย่างน้อยก็เพราะความเป็นสำนักอาจารย์ที่หลากหลายนั้น ย่อมมีการแข่งขันกันในทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


 ans1 ans1 ans1 ans1

ควรกล่าวไว้ด้วยว่า แม้มีการจัดองค์กรรวมศูนย์ แต่ธรรมชาติของพระสงฆ์ในการสืบต่อพระพุทธศาสนา ทำให้การเกิดสำนักอาจารย์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ในสมัยแรกๆ ที่มีการจัดองค์กรคณะสงฆ์รวมศูนย์ สำนักอาจารย์ก็เน้นเรื่องการสอบบาลี จึงมีสำนักสอนบาลีมีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายสำนัก ในเวลาต่อมา (หลัง 2475) สำนักอาจารย์แปรเปลี่ยนไปเป็นการนำเสนอการตีความธรรมะ บางสำนักเน้นพระอภิธรรม บางสำนักเน้นการนำเอาคำสอนของมหายานมาเป็นประทีปส่องทาง บางสำนักเน้นความมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ บางสำนักเน้นเรื่องกรรม บางสำนักเน้นกรรมฐาน บางสำนักเน้นวิปัสสนา ฯลฯ

ความเปลี่ยนแปลงอย่างที่สองซึ่งเกิดในช่วงนี้คือ สำนักอาจารย์ไม่ได้มุ่งสถาปนา “วงศ์” ของพระสงฆ์ แต่สร้างความนิยมเลื่อมใสในหมู่คนทั่วไปด้วย ดังนั้นบางทีเจ้าสำนักจึงไม่จำเป็นต้องเป็นพระภิกษุ อาจเป็นฆราวาสได้ ทั้งอุบาสกและอุบาสิกา

ในระยะต่อมา (หลัง 2500) สำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหันมาอธิบายธรรมะให้สอดคล้องกับชีวิตของคนสมัยใหม่มากขึ้น เช่น ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงานของผู้พิพากษา, นิสิตนักศึกษา, ครูบาอาจารย์ ฯลฯ เป็นต้น

แต่สืบมาจนถึงช่วงนี้ สำนักอาจารย์ต่างๆ ยังไม่มีบทบาททางการเมืองโดยตรง เมื่อใดที่ต้องพูดถึงการเมือง เมื่อนั้นก็จะยึดมั่นกับอุดมคติการเมืองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่นเมื่อมีธรรมราชาแล้ว ก็อาจเป็นเผด็จการโดยธรรมได้ ซึ่งเกือบไม่ต่างอะไรกับ “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะถึงเป็นธรรมราชาก็ยังต้องใช้ “ทัณฑะ” อยู่นั่นเอง

 :25: :25: :25: :25:

หลังจากนั้นลงมาอีก (หลัง 2520 โดยประมาณ) สำนักอาจารย์ในพุทธศาสนาไทย ขยายบทบาทของตนไปสู่ปฏิบัติการทางสังคมโดยตรง และด้วยเหตุดังนั้นจึงเข้าไปในปริมณฑลของการเมืองด้วย (จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม)

แต่อุดมการณ์ทางการเมืองของสำนักอาจารย์เหล่านี้ ก็ยังไปไม่พ้นการเสริมสร้างความชอบธรรมแก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือสมบูรณาญาสิทธิ์ในรูปแบบอื่น

ในขณะเดียวกันก็มีพระภิกษุบางรูปที่ต่อต้านระบอบเผด็จการ และส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าพระภิกษุเหล่านี้ยังไม่มีชื่อเสียงพอจะเป็นภัยคุกคามแก่สำนักอาจารย์ต่างๆ เท่านั้น

โดยสรุปแล้ว การจัดองค์กรคณะสงฆ์เพื่อให้รัฐสามารถกำกับควบคุมได้นั้น พอจะมองเห็นแล้วว่าจะไม่มีทางบรรลุวัตถุประสงค์อีกแล้ว เพราะพระภิกษุสามารถติดต่อสื่อสารกับสังคมในรูปแบบอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น เกินกว่าที่รัฐหรือคณะสงฆ์จะดูแลได้ทั่วถึง สำนักอาจารย์ที่จะเกิดใหม่ในอนาคตก็อาจไม่ได้มีลักษณะเหมือนเดิมอีกแล้ว เช่น เป็นสำนักอาจารย์บนไซเบอร์ เป็นต้น



ผู้เขียน : นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์
เผยแพร่ : 15 ก.ค. 59
มติชนสุดสัปดาห์ 15-21; 22-28 กรกฎาคม 2559
http://www.matichon.co.th/news/229463
10298  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รัฐกับการแบ่งนิกายของสงฆ์ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:32:53 pm



รัฐกับการแบ่งนิกายของสงฆ์

บทความต่างๆ ในหนังสือเรื่อง How Theravada is Theravada? ซึ่งนาย Peter Skilling และคณะเป็น บ.ก. ทำให้ผมเข้าใจแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการแบ่งนิกายในพระพุทธศาสนายุคโบราณขึ้นอย่างมาก

ความคิดเรื่อง “นิกาย” เป็นความคิดที่เกิดขึ้นทางศาสนาในยุโรป จริงๆ แล้วแม้แต่จะหาคำไทยมาพูดถึงการแตกแยกทางศาสนาออกเป็นฝ่ายต่างๆ ก็ยังไม่มีด้วยซ้ำ เราเอาคำว่านิกายในภาษาบาลีมาใช้ ซึ่งท่านหมายความเพียงพวก, หมวดหมู่, กอง ฯลฯ อย่างที่แบ่งพระสุตตันตปิฎกออกเป็นหมวดต่างๆ เช่นทีฆนิกาย หมวดที่เนื้อความยาว, มัชฌิมนิกาย หมวดที่เนื้อความยาวปานกลาง ฯลฯ เป็นต้น

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในพุทธศาสนา โดยเฉพาะในหมู่นักบวช แต่ฝักฝ่ายหรือพวกในพุทธศาสนาถือว่าบวชเป็นภิกษุมาในสายไหนเป็นสำคัญ ในพุทธศาสนาฝ่ายใต้ (ที่ปัจจุบันเรียกว่าเถรวาท) มักเรียกว่า “วงศ์” (lineage) วรรณกรรมบาลีรุ่นเก่าในลังกาเรียกพระสงฆ์ของวัดมหาวิหารว่าเป็น “เถรวงศ์” คือบวชสืบมาจากมหาเถระที่ทำสังคายนาครั้งแรกคือพระมหากัสสป สืบมาจนถึงพระโมคคัลลีบุตรติสสะ มหาเถระในสมัยพระเจ้าอโศกซึ่งส่งสมณทูตมาประกาศพระศาสนาในลังกา


 :96: :96: :96: :96:

ผมจึงเพิ่งเข้าใจว่า วรรณกรรมบาลีที่มีชื่อลงท้ายว่าวงศ์นั้น ก็เพราะแต่เดิมเขาจะเล่าการสืบสายการบวชของคณะสงฆ์ในดินแดนใดดินแดนหนึ่ง จนมาถึงสมัยที่เขียน มาในภายหลังก็ขยายความให้วงศ์หมายถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วย เช่น จามเทวีวงศ์ ก็คือเรื่องของพระนางจามเทวีและลูกหลาน สังคีติยวงศ์คือเรื่องราวของการทำสังคายนาครั้งต่างๆ ตามลำดับ

ถ้าสืบวงศ์ของพระภิกษุสงฆ์ว่าย้อนกลับไปถึงพระมหากัสสปในการทำสังคายนาครั้งแรก ก็หมายความว่าพระสงฆ์ในสายนี้ต้องยอมรับพระวินัยตามที่พระมหาอุบาลีได้สวดหรือสาธยายให้ฟังในการทำสังคายนาครั้งนั้นด้วย

ดังนั้น ผมจึงเข้าใจจากประวัติความแบ่งแยกคณะสงฆ์ในลังกาว่า สิ่งสำคัญสองอย่างของการนับพระภิกษุว่าอยู่ในคณะสงฆ์เดียวกันคือ หนึ่งบวชอยู่ในสายของคณะสงฆ์เดียวกัน ฉะนั้น อุปสมบทกรรม หรือพิธีกรรมการบวชต้องถูกต้องตรงกัน และกระทำโดยพระอุปัชฌาย์ที่ได้บวชถูกต้องตามสายนั้นสืบมาอย่างหนึ่ง กับอย่างที่สองคือยึดถือพระวินัยชุดเดียวกันและต้องตีความพระวินัยตรงกันด้วย

 :25: :25: :25: :25:

นักวิชาการฝรั่งที่เขียนเรื่องการตั้งธรรมยุติกนิกายหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีการตีความหลักธรรมคำสอนของธรรมยุติที่แตกต่างไปจากนิกายเดิมแต่อย่างไร ความแตกต่างเป็นเรื่องของพิธีกรรมและการตีความพระวินัยปลีกย่อยเท่านั้น

แต่นั่นแหละครับคือเรื่องใหญ่ตามประเพณีของพุทธศาสนา ถ้าพิธีกรรมการบวช (นับตั้งแต่การผูกพัทธสีมาของพระอุโบสถที่ใช้ทำสังฆกรรมถูกต้องหรือไม่ ไปจนถึงการเปล่งเสียงบาลีได้ตรงหรือไม่) ไม่อยู่ใน “วงศ์” เดียวกัน ก็เป็นพระภิกษุคนละวงศ์เท่านั้น หรือถ้าตีความพระวินัยไม่ตรงกัน (เช่น รับเงินได้หรือไม่ เข้าสู่คามนิคมสวมรองเท้าได้หรือไม่ ฯลฯ) ก็แสดงว่าอยู่คนละวงศ์อีกนั่นแหละ

    เราไปเรียกพระภิกษุในกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ว่าเป็นคนละ “นิกาย” ซ้ำไปเข้าใจคำนิกายว่าตรงกับ Sect ในภาษาอังกฤษเสียอีก ก็เลยมองไม่เห็นว่าพระภิกษุสองพวกนี้ต่างกันในสาระสำคัญอย่างไร ถ้าพูดคำว่า “วงศ์” ของภาษาบาลีโบราณให้ตรงกับภาษาไทยสมัยใหม่ ก็คือ “สำนักอาจารย์” หรือ “โรงเรียน” มหานิกายและธรรมยุติเป็นพระในสองสำนักอาจารย์หรือสองโรงเรียนเท่านั้น จะเรียกว่าสองนิกายก็ได้ แต่นิกายในที่นี้ไม่ได้แปลว่า Sect ในภาษาอังกฤษ แต่ต้องแปลแบบบาลีคือพวก, กลุ่ม, หมวด อะไรทำนองนั้น


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

สํานักอาจารย์หรือโรงเรียนนี้เป็นพื้นฐานของการจัดองค์กรคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา จากวัดที่เป็นของอาจารย์คนหนึ่ง ลูกศิษย์ก็อาจกระจายไปสร้างวัดในที่อื่นอีก แต่ก็เป็นวัดที่สังกัดอยู่ในหมวดเดียวกับวัดของอาจารย์ เช่น วัดมหาวิหารในลังกาสมัยอนุราธปุระ ก็มีวัดในสังกัดสำนักอาจารย์เดียวกันนี้ในที่อื่นๆ บนเกาะลังกาอีก วัดอาจารย์นั้นในเชียงใหม่สมัยก่อนเขาเรียกว่าหัวหมวดวัด ซึ่งอาจทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันกับวัดในสำนักเดียวกันอื่นๆ

การจัดองค์กรในลักษณะนี้ย่อมเอื้อให้เกิดวงศ์หรือสำนักอาจารย์ที่หลากหลาย เพราะมีเหตุที่พระภิกษุบางรูปจะขัดแย้งกับการตีความพระวินัยหรือเห็นชอบกับพิธีกรรมที่แตกต่างกัน ถ้าดู “นิกาย” ต่างๆ ของคณะสงฆ์ในอินเดียหลังพุทธปรินิพพาน ก็จะเห็นว่าแบ่งแยกออกเป็นหลายนิกายมาก อาจจะมากกว่าศาสนาใดๆ ในโลกด้วยกระมัง ผมจำได้ว่านักวิชาการฝรั่งเศสคนหนึ่ง ศึกษาคัมภีร์ประเภทต่างๆ ทั้งบาลี, สันสกฤต และจีน แล้วสามารถบรรยาย “นิกาย” ในพุทธศาสนาสายที่เรียกในปัจจุบันว่าเถรวาทออกมาได้กว่า 100 นิกาย นี่ยังไม่พูดถึงการแตกนิกายในสายมหายานซึ่งก็มีอีกไม่รู้จะกี่สำนักอาจารย์

 ask1 ans1 ask1 ans1

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

คําตอบง่ายๆ ก็คือ การจัดองค์กรของคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา ทั้งในอินเดียและนอกอินเดีย ไม่มีองค์กรกลางคอยกำกับ ซึ่งมักจะบังคับให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวในรูปแบบขึ้น (uniformity) ตามคัมภีร์บาลีของลังกาเล่าว่า วัดอภัยคีรีซึ่งแยกตัวออกจากวัดมหาวิหารนั้น เกิดขึ้นเพราะพระภิกษุรูปหนึ่งตีความพระวินัยบางข้อไม่ตรงกับสำนักมหาวิหาร จึงแยกไปตั้งวัดใหม่ของตนเอง (หลักฐานนอกลังกาและหลักฐานโบราณคดีกล่าวถึงการแยกสำนักไว้ไม่ตรงกับที่คัมภีร์บาลีในลังกากล่าวไว้) กลายเป็นสำนักอาจารย์ใหม่ อยู่มาสำนักอาจารย์วัดอภัยคีรีก็เกิดการแตกตัวออกอีก กลายเป็นสำนักอาจารย์วัดเชตวัน

ดังแล้วแยกวงกันง่ายๆ เหมือนนักร้องนักดนตรีสมัยนี้แหละครับ

แม้ว่าแยกวงแล้วอาจขัดแย้งกันหรือเหยียดหยามกัน เช่น วัดมหาวิหารก็เหยียดวัดอภัยคีรีว่าไม่ใช่ “เถริยะ” คือไม่ได้อยู่ในวงศ์ของพระเถระซึ่งสืบมาจากพระมหากัสสป แต่พระสงฆ์นอกลังกา เช่นในอินเดียกลางและใต้ เมื่อพูดถึงพระสงฆ์ในลังกาว่าแบ่งออกเป็นสามสำนักอาจารย์ แต่ทั้งสามสำนักล้วนเป็น “เถริยะ” หรือสืบทอดวงศ์มาจากพระเถระตั้งแต่ครั้งพุทธกาลทั้งสิ้น แม้ในลังกาเอง สำนักวัดมหาวิหารก็เอาชนะสำนักวัดอภัยคีรีได้ในที่สุด ไม่ใช่ด้วยการยกกำลังไปปราบปราม หากด้วยการกลืนเอาพิธีกรรมและการตีความพระวินัยบางส่วนของสำนักอภัยคีรีเข้ามาเป็นของตน


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา จึงไม่มีสงครามร้อยปีต่อสู้กันระหว่างนิกายศาสนาอย่างในยุโรป (ซึ่งที่จริงก็ทำสงครามกันด้วยเหตุอื่นมากกว่าความขัดแย้งทางศาสนา เพียงแต่อ้างศาสนาขึ้นมาเป็นเหตุเท่านั้น) ทำให้บางคนเข้าใจผิดว่าพุทธศาสนาของเอเชียเป็นศาสนาของสันติ เราไม่ค่อยรบกันด้วยเรื่องการแบ่งแยกสำนักอาจารย์

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าชาวพุทธไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องอื่นๆ เลย

แนวโน้มของการแตกแยกนิกายหรือสำนักอาจารย์ในหมู่คณะสงฆ์มีมาแต่พุทธปรินิพพาน สังคายนาครั้งแรกเกิดขึ้นเพราะภิกษุบางรูปยินดีที่พระพุทธเจ้าไม่มีอยู่แล้ว จะได้ไม่มีใครมาคอยตำหนิติเตียนว่ากล่าว ส่วนสังคายนาครั้งที่สองตามประวัติที่พวกเถรวาทเล่าไว้ ก็ว่า เกิดความแตกแยกในการสังคายนา เพราะภิกษุในกลุ่มที่เรียกว่าวัชชีบุตรพากันออกมาตั้งสำนักอาจารย์มหาสังฆิกะ หลังสังคายนาครั้งที่สามในสมัยพระเจ้าอโศก ก็เกิดสำนักอาจารย์ขึ้นอีกหลายสำนัก ในอรรถกถาของกถาวัตถุว่ามี 18 สำนัก แต่ตอนบรรยายถึงสำนักเหล่านี้กลับมีถึง 24 แสดงว่าอย่าถือตัวเลขมากนัก เอาเป็นว่าแตกกันออกไปอีกหลายสิบสำนักอาจารย์ก็แล้วกัน

ทั้งหมดนี้ดูเป็นปรกติธรรมดาของคณะสงฆ์ แต่เท่าที่ผมทราบ ไม่เห็นมีใครโจมตีใครว่าเป็นผู้ทำสังฆเภท ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอนันตริยกรรม

 :91: :91: :91: :91:

สังฆเภทคืออะไรกันแน่ ในความคิดของชาวพุทธโบราณ กรณีที่ถือเป็นแบบฉบับก็คือกรณีของพระเทวทัต ซึ่งไม่ได้เพียงแต่ตั้งสำนักอาจารย์ของตนเองขึ้น (อันเป็นสิ่งที่พระสาวกอีกหลายรูปก็คงทำ แม้ในช่วงพุทธกาล) แต่มุ่งสอนธรรมที่ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นของพระพุทธเจ้า (อาจเปลี่ยนจุดเน้น หรือตีความบางเรื่องบางส่วนไม่ตรงกับพุทโธวาท) มีพระภิกษุบางส่วนหันไปศรัทธาเลื่อมใสคำสอนนี้จนทำให้สงฆ์แตกแยก (คือแตกแยกออกไปจากพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว)

ถ้าถือการกระทำเหล่านี้ของพระเทวทัตว่าเป็นสังฆเภท ก็คงไม่มีการแยกสำนักอาจารย์ของพระสงฆ์ครั้งไหนที่ถึงกับปฏิเสธพระพุทธเจ้าหรือพระธรรมของพระพุทธเจ้าขนาดนี้ ดังนั้นก็อาจถือได้ว่าไม่เคยมีกรณีสังฆเภทเกิดขึ้นอีกเลยก็ได้

ดังนั้น การแยกตัวตั้งขึ้นเป็นสำนักอาจารย์ในประเพณีของสงฆ์ชาวพุทธ จึงดูจะไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก คู่ขัดแย้งอาจโจมตีกันและกันอย่างรุนแรง แต่ในสายตาของโลกพุทธศาสนาร่วมสมัย ก็ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่อะไร เพราะไม่กระทบแก่นแท้ของหลักธรรมคำสอน


 st12 st12 st12 st12

เรื่องแก่นแท้ของหลักธรรมคำสอนนี้ หากดูคำอธิบายของนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่เป็นชาวตะวันตก ก็มักจะเห็นตรงกันว่า แม้มหายาน, วชิรญาณ และเถรวาทจะดูต่างกันมากเพียงไร แต่แก่นแท้ของคำสอนก็ไม่ได้ต่างอะไรกันนัก เช่น ทุกนิกายต่างให้ความสำคัญแก่พระอริยสัจเหมือนกันทุกนิกายต่างถือความไม่ใช่ตัวกูของกูเหมือนกัน ที่แตกต่างกันคือ กลวิธีที่จะเข้าถึงความจริงอันนำไปสู่ความหลุดพ้นต่างหาก

คัมภีร์บาลีของลังกาเรียกกลวิธีของสำนักอาจารย์ฝ่ายเถริยะ หรือที่สืบวงศ์มาจากมหาเถระในอดีตนี้ว่า “วิภัชชวาท” คือ กลวิธีที่อาศัยการวิเคราะห์แยกแยะเป็นหนทางคลายความยึดมั่นถือมั่น

(ผมควรกล่าวไว้ด้วยว่า คัมภีร์บาลีฝ่ายลังกาทำให้เข้าใจว่าพระเจ้าอโศกบำรุงแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวงศ์ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงว่าทรงบำรุง “นิกาย” อื่นด้วย ยิ่งกว่านั้นยังทรงบำรุงแม้แต่หลักความเชื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่พุทธ เช่น เชน, พราหมณ์, ฯลฯ เป็นต้น กลายเป็นแบบอย่างของมหาราชพุทธในเวลาต่อมา เช่น ในสมัยอนุราธปุระของลังกา ก็มีหลักฐานว่ามีนักบวชหรือผู้ปฏิบัติธรรมในระบบความเชื่ออื่นตั้งอยู่จำนวนมากทางตอนเหนือของเมือง ในคัมภีร์บาลีเองกล่าวถึงนิครนถ์, พราหมณ์, ปฏิคาหก, ฯลฯ พูดภาษาปัจจุบันก็คือ พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ แต่ได้รับสถานะพิเศษในรัฐ)

 st11 st11 st11 st11

ผมคิดว่าขันติธรรมต่อความแตกต่างของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาเช่นนี้ เกิดขึ้นได้ก็เพราะไม่มีอำนาจกลาง (โดยเฉพาะอำนาจทางโลก) ที่จะคอยกำกับควบคุมการจัดองค์กรของคณะสงฆ์ เพราะไม่มีฝ่ายใดมีกำลังอำนาจพอจะปราบอีกฝ่ายหนึ่งได้จริง

แต่นี่ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะมีในบางสังคมและบางสมัย ที่วัดในพุทธศาสนากลายเป็นป้อมปราการ ทำสงครามกันกับวัดอื่น ต่างมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากเหมือนกัน จึงรบราฆ่าฟันกันเป็นสงครามกลางเมือง โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐอ่อนแอ

บทบาทของรัฐพุทธต่อศาสนาและคณะสงฆ์คืออะไร คำอธิบายที่เราคุ้นเคยในเมืองไทยมักจะพูดเฉพาะมิติทางศาสนาของรัฐ ซึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐย่อมมีมิติทางศาสนาอยู่ด้วย แต่มิติทางศาสนานั้นไม่อาจแยกออกจากมิติทางการเมืองได้แน่ ในที่นี้ผมจึงจะพูดถึงด้านที่ถูกพูดถึงน้อยนี้

อย่างกรณีวัดทำสงครามกัน แม้ต่างก็อ้างความขัดแย้งทางศาสนา แต่มันก็มีอำนาจทางการเมืองแฝงอยู่ และอาจขยายไปสู่การเมืองนอกวงการพระสงฆ์ด้วยได้ ดังนั้น รัฐหรือสมัยนั้นคือพระเจ้าแผ่นดินย่อมเป็นกังวลกับความขัดแย้งของวัดในลักษณะที่ซ่องสุมผู้คนและอาวุธเข้าต่อสู้กันเช่นนี้เป็นธรรมดา เพราะย่อมมองเห็นภยันตรายทางการเมืองของวัดอย่างชัดเจน จึงต้องแทรกเข้ามาปราบปราม

แน่นอนหากจะปราบพระสงฆ์ ข้ออ้างที่ฟังดูดีที่สุดก็คือ เพื่อบำรุงรักษาปกป้องพระศาสนาให้บริสุทธิ์


     ยังมีต่อ....
10299  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศาสนาไทยในโลกไม่เหมือนเดิม เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:20:33 pm


ศาสนาไทยในโลกไม่เหมือนเดิม

ศรัทธานำปัญญาในระบบการศึกษาไทย วิชาเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา ความเชื่อ มีทั่วโลก และมีก่อนศาสนา จะเรียกความเชื่อว่าศาสนาผีก็ได้ แต่การศึกษาไทยกีดกันความเชื่อศาสนาผี

ศาสนา มีความเป็นมายาวนานของแต่ละศาสนา กับมีทั้งประวัติศาสดาแต่ละองค์ ล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แต่การศึกษาไทยกีดกันอย่างอื่นออกหมด เหลือวิเศษสุดอย่างเดียวคือพุทธศาสนา ที่มีการเรียนการสอนหนักไปทางพุทธประวัติ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาอย่างนั้น ตั้งแต่เข้าสู่ระบบโรงเรียน จนปัจจุบันยังถอนตัวไม่ขึ้น ไม่ตาสว่าง ดังนั้น เมื่ออ่านข้อเขียนของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่องรัฐกับการแบ่งนิกายของสงฆ์ ในมติชนสุดสัปดาห์ (ตั้งแต่ฉบับ 15-21 กรกฎาคม 2559) จึงแทบบรรลุ (แต่ยัง) ก่อนบรรลัยลงหลุม


 :96: :96: :96: :96:

นิกายต่างๆ มีหลากหลายมากในคณะสงฆ์อินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน และอาจมากกว่าศาสนาใดๆ ในโลก? มีนักวิชาการตะวันตกศึกษาพบว่า สายเถรวาทมีมากกว่า 100 นิกาย นี่ยังไม่นับสายมหายาน

เมื่อไทยเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ จนเป็นรัฐชาติแบบตะวันตก (เหมือนประเทศอื่นๆ ในอุษาคเนย์) ศาสนาไม่มีบทบาทในการสื่อความเป็นสมัยใหม่เท่ากับรัฐและทุน ในที่สุดศาสนาในไทยก็ตกอยู่ในอุปถัมภ์ของรัฐ หรือเครื่องมือของรัฐ องค์กรสงฆ์ไทยซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ก็มีขึ้นสมัย ร.5 “ไม่มีองค์กรศาสนาในชาติอุษาคเนย์ใดที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุมของรัฐยิ่งไปกว่าไทย”

แต่โลกไม่เหมือนเดิม อ.นิธิ บอกไว้ตอนท้ายว่าการจัดองค์กรคณะสงฆ์เพื่อให้รัฐสามารถกำกับควบคุมได้นั้น พอจะมองเห็นแล้วว่าจะไม่มีทางบรรลุวัตถุประสงค์อีกแล้ว เพราะพระภิกษุสามารถติดต่อสื่อสารกับสังคมในรูปแบบอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น เกินกว่าที่รัฐหรือคณะสงฆ์จะดูแลได้ทั่วถึง นิกายหรือสำนักอาจารย์ที่จะเกิดใหม่ในอนาคต ก็อาจไม่ได้มีลักษณะเหมือนเดิมอีกแล้ว เช่น เป็นสำนักอาจารย์บนไซเบอร์ เป็นต้น


ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 1 ส.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/232309
10300  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวฮินดู เมืองกุสินารา นิมนต์พระไทย ทำพิธีฌาปนกิจริมแม่น้ำหิรัญญวดี เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:15:29 pm



ชาวฮินดู เมืองกุสินารา นิมนต์พระไทย ทำพิธีฌาปนกิจริมแม่น้ำหิรัญญวดี

ชาวฮินดู ในประเทศอินเดีย ชื่นชมพระธรรมทูตและคณะสงฆ์ไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นิมนต์พระสงฆ์ไทยไปสวดมนต์ส่งดวงวิญญาณผู้เป็นพ่อ พร้อมประกอบพิธีฌาปนกิจให้ที่ริมแม่น้ำหิรัญญวดี เมืองกุสินาราอินเดีย...

มีรายงานว่า จากการที่คณะสงฆ์ไทยทุกวัดในแดนพุทธภูมิ ที่นำโดย พระเทพโพธิวิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้รวมพลังกันสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธองค์ ทั้งให้เกิดขึ้นแก่ชาวพุทธไทยและให้เกิดขึ้นกับชาวอินเดีย-เนปาล เพื่อให้พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองเฉกเช่นอดีต โดยเฉพาะบนแผ่นดินแห่งการเกิดของพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ปัจจุบันนอกจากชาวอินเดีย และเนปาล จะเริ่มให้ความศรัทธาแล้ว ชาวพุทธไทยเองยังเดินหน้าสู่แดนพุทธภูมิเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด เมื่อเวลา 08.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 31 ก.ค. พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงษ์) พร้อมคณะสงฆ์ จากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย ได้รับนิมนต์จากชาวฮินดู หมู่บ้านอนิรุธวา ที่อยู่หลังวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ให้ไปประกอบพิธีสวดมนต์เพื่อส่งดวงวิญญาณของบิดาของชาวฮินดูคนหนึ่งที่เพิ่งเสียชีวิตไปที่ริมฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี โดยคณะสงฆ์ไทยได้ประกอบพิธีสวดมนต์ทั้งพุทธและพราหมณ์ ตามประเพณีอินเดียที่เกิดมาจากธรรมชาติ และกลับคืนสู่ธรรมชาติ ให้ตามหลัก ธาตุ 4 และขันธ์ 5




พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ กล่าวว่า การได้มาปลงธรรมสังเวช ริมฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นการได้นำธรรมะมาให้ชาวอินเดียได้พิจารณาตามคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยว่า อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโร นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง ซึ่งแปลว่า "ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น"

ทั้งนี้ ในความหมายจากภาษาลีนั้นประกอบด้วย
     1. ไปไม่กลับ คือ เวลา เตือนให้เรารู้ว่าวันเวลามีแต่เดินไปข้างหน้า ไม่อาจจะย้อนคืนมาได้ เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เราควรพิจารณาไตร่ตรองว่าได้กระทำสิ่งใดไปบ้าง สิ่งที่ดีก็พึงกระทำต่อไป สิ่งที่ไม่ดีก็ควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นมา
     2. หลับไม่ตื่น คือ โมหะ ความลุ่มหลง ถ้าคนเราหลงอยู่ในความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงแล้ว ก็จะตกอยู่ในความมืดมน ความทุกข์ต่างๆ มองไม่เห็นหนทางแห่งความดีงาม ไม่มีความสุขไม่มีความเจริญ
     3. ฟื้นไม่มี คือ กรรม ให้เตือนตนเสมอว่า ทำกรรมใดไว้ก็ได้กรรมนั้น เมื่อกระทำกรรมดีก็ได้รับผลแห่งกรรมดี แต่ถ้ากระทำกรรมชั่ว ก็ได้แต่ผลของกรรมชั่ว ไม่มีสิ่งใดจะมาลบล้างหรือชดเชยให้หลุดพ้นจากผลแห่งกรรมชั่วได้ มีแต่ความดีเท่านั้นที่จะทำให้ผลนั้นเบาบางลง
     4. หนีไม่พ้น คือ วิบากกรรม ให้เตือนตนเสมอว่า ไม่มีผู้ใดหนีพ้นจากการเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียนนินทาและความทุกข์ทั้งปวงได้ แม้แต่องค์พระปฏิมายังมีราคิน ไฉนเลยมนุษย์เดินดินคนธรรมดาทั่วไปจะล่วงพ้นไปได้




สำหรับการปฏิบัติภารกิจของคณะสงฆ์ไทยครั้งนี้ ปรากฏว่าได้รับการชื่นชมจากชาวฮินดูเป็นอย่างมากรวมไปถึงก่อนหน้านี้ที่คณะสงฆ์ไทยได้ให้การช่วยเหลือชาวอินเดีย-เนปาล ทุกด้าน โดยไม่เลือกว่าจะนับถือศาสนาใด ด้วยแนวทางเพื่อให้ทุกชนชาติ ทุกศาสนาได้ระลึกไว้เสมอว่า องค์ศาสดาของทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีเหมือนกัน จึงต้องไม่แบ่งแยกกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/678032
10301  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิด.!! “ผ้ายันต์รักษ์ธรรมชาติ” ของเจ้าคุณธงชัย เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:09:57 pm




เปิด.!! “ผ้ายันต์รักษ์ธรรมชาติ” ของเจ้าคุณธงชัย

"เจ้าคุณธงชัย" เล่าถึงผ้ายันต์รุ่น "รักษ์ธรรมชาติยิ่งชีวิต" ที่จะแจก จนท.กระทรวงทรัพย์ฯ 1 แสนผืน


31 ก.ค. 59 - พระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) หรือ ท่านเจ้าคุณธงชัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร บอกถึงความคืบหน้าการจัดทำผ้ายันต์เพื่อแจกจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ทั้ง 3 กรม ได้แก่ กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อเป็นขวัญกำลังในการปฏิบัติงาน ว่า หลังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)ได้มาปรึกษากับวัดเพื่อจัดทำสิ่งของที่จะนำขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทางวัดได้อนุมัติแบบไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สำหรับรูปแบบในผ้ายันต์นี้ เป็นยันต์ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และมีข้อความ รูปเทพเทวาที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาธรรมชาติ เพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่จากสิ่งชั่วร้าย สีหลักที่ใช้จะเป็นสีเขียว ที่สื่อถึงความร่มเย็นร่มรื่นเป็นสุขจากธรรมชาติ มีข้อความหลักสำคัญ 2 ข้อความ คือ "รักษ์ธรรมชาติยิ่งชีวิต" และ "ธรรมชาติเป็นมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดิน"


 :25: :25: :25: :25:

เจ้าคุณธงชัย กล่าวด้วยว่า ผ้ายันต์นี้จะเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคล สร้างขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ไปอนุรักษ์ธรรมชาติ พูดง่ายๆถ้ามีผ้ายันต์นี้ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เจ้าทางก็จะดูแลรักษา เมื่อคุณอยู่กับธรรมชาติ ยันต์นี้เหมือนกับมีพระ ทำให้เจ้าป่าเจ้าเขาเมตตาเอ็นดูที่จะทำให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขสำหรับผ้ายันต์นี้มีชื่อรุ่นว่า "รักธรรมชาติยิ่งชีวิต" กำลังอยู่ระหว่างการผลิต โดยกำลังเร่งให้เสร็จโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้จะผลิต 2 ขนาด คือขนาด A4 จำนวน 100,000 ผืน และขนาด 20x20 นิ้ว จำนวน 10,000 ผืน โดยนอกจากจะนำไปแจกเจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะมีการนำไปแจกประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ธรรมชาติ ให้มีกำลังใจในการร่วมกันดูแลมรดกของชาติต่อไปด้วย


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/news/regional/236033
10302  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วธ. วอนคนไทยใช้ภาษาถูกต้อง หวั่น โซเชียลทำคนขาดปฏิสัมพันธ์ เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:07:19 pm




วธ. วอนคนไทยใช้ภาษาถูกต้อง หวั่น โซเชียลทำคนขาดปฏิสัมพันธ์

วธ.วอน คนไทยใช้ภาษาให้ถูกต้อง-กาลเทศะ สานมรดกชาติให้คงไว้ ด้านปูชนียบุคคลด้านภาษาหวั่นสื่อโซเชียล ยิ่งทำให้คนใกล้ตัวห่างไกลกัน จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารทางกายโดยสิ้นเชิง ...

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 59 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2559 พร้อมมอบรางวัลให้กับบุคคลด้านภาษาไทย พร้อมเปิดเผยว่า ภาษาไทย นับเป็นภาษาที่มีความงดงาม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภาษาก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามพลวัตร ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เห็นได้จากในปัจจุบันที่มีภาษาโซเชียลที่ได้บัญญัติขึ้นใหม่ เป็นศัพท์ใหม่ คำใหม่ หรือ การจำกัดความที่นำมาใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งคิดว่าสิ่งเหล่านี้มาแล้วก็ไป ที่สำคัญกระทรวงวัฒนธรรมขอรณรงค์ให้คนไทยทุกคน ร่วมกันพิจารณาและดูแล การนำมาใช้ให้ถูกกาลเทศะถูกกับบุคคล สถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันขอให้มีการรักษาการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องด้วย เพื่อร่วมสืบสานมรดกอันล้ำค่าของชาติให้คงไว้ต่อไป


 :96: :96: :96: :96: :96:

ด้าน ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ผู้ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยกล่าวว่า ปัจจุบันภาษามีการเปลี่ยนไป ตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่เกิดจากการพิมพ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่มักจะมีการพิมพ์เป็นคำย่อ คำสั้น และเป็นคำที่สื่อความหมายเข้าใจกันได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่น่ากังวลคือ แม้จะมีประโยชน์ต่อการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ แต่จะส่งผลเสียต่อการจดจำ และใช้คำที่ถูกต้อง และใช้ภาษาสื่อความหมายที่ผิดพลาดได้ง่าย อีกทั้ง การใช้สื่อโซเชียลจะยิ่งทำให้คนใกล้ตัวห่างไกลกัน จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารทางกายโดยสิ้นเชิง ทั้งยังส่งผลทำให้ขาดความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งเห็นได้ชัดจากคนในครอบครัว ที่นับวันจะยิ่งห่างกันไปเพราะเมื่อเข้าบ้านแล้วก็หยิบโทรศัพท์มาพิมพ์คุยกันกับคนข้างนอก ไม่มองหน้าแม้คนในบ้าน

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย กล่าวอีกว่า หากเราสามารถแบ่ง ช่วงเวลาของการสื่อสาร จากที่มีการใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์ทั้งวัน เป็นการหันมาพูดคุยกับผู้อื่นให้มากขึ้น ก็จะทำให้การสื่อสารทางภาษาผิดเพี้ยนน้อยลง และยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ การปลูกฝังใช้ภาษาที่ถูกต้อง คงต้องเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะรับหน้าที่หลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องและไม่เห็นว่าเรื่องการใช้คำผิด ภาษาผิดเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะจะทำให้ความเข้าใจเหล่านี้บานปลายเป็นเรื่องใหญ่ได้.


ขอบคุณข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/676383
10303  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระสงฆ์ไทย ศึกษาพระธรรมเชิงลึก สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 09:04:05 pm



พระสงฆ์ไทย ศึกษาพระธรรมเชิงลึก สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ส่งพระสงฆ์จากไทย ศึกษาพระธรรมเชิงลึก ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นธรรมทูตให้ความรู้ที่ถูกต้อง ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ออกบิณฑบาตโปรดชาวชมพูทวีป...

ที่ผ่านมา สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้ส่งพระสงฆ์จากประเทศไทย เดินทางไปศึกษาพระธรรมเชิงลึก ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล เพื่อให้เป็นธรรมทูตในการให้ความรู้ที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ได้ออกบิณฑบาตโปรดชาวชมพูทวีป

ทั้งนี้ พระสงฆ์ในหลักสูตรเตรียมพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้ออกเดินทางบิณฑบาตเพื่อประกาศศาสนาแก่ภารตชน บริเวณพุทธคยา โดยได้เดินออกจากวัดไทยพุทธคยา ผ่านพระมหาเจดีย์สถานที่ตรัสรู้ เข้าสู่หมู่บ้านของชาวอินเดีย

จากนั้นจึงเดินข้ามแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อไปฉันภัตตาหารกันที่สถูปบ้านนางสุชาดา สร้างบรรยากาศเฉกเช่นในอดีต เมื่อครั้งที่พระอัสสชิ ได้เดินบิณฑบาตอย่างสำรวม จนทำให้อุปติสสะ หรือพระสารีบุตรในกาลต่อมา เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงติดตามไปเพื่อขอสดับฟังธรรม จนเป็นเหตุให้อุปติสสะได้บรรลุโสดาปัตติผล.






ภาพจาก: สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/676742
10304  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สื่ออินเดียเผยภาพประทับใจ“กษัตริย์จิกมี” เข้าครัวหั่นหอม-ผัก ทำกับข้าวเลี้ยงเด็ก เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 09:00:54 am



ภาพจากสถานีโทรทัศน์เอ็นดีทีวี

สื่ออินเดียเผยภาพประทับใจ “กษัตริย์จิกมี” เข้าครัวหั่นหอม-ผัก ทำกับข้าวเลี้ยงเด็กนักเรียนชนบทภูฏาน

เอเจนซีส์ / MGR online – ทีวีช่องดังของอินเดียเผยแพร่ภาพสุดประทับใจ ขณะที่ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือ “กษัตริย์จิกมี” แห่งภูฏานทรงลงมือหั่นผักและปอกหัวหอมเพื่อเตรียมประกอบอาหารให้แก่เด็กนักเรียน ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตชนบทของภูฏาน
       
       สถานีโทรทัศน์นิวเดลี เทเลวิชัน (เอ็นดีทีวี) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ยอดนิยมที่ก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1988 เผยแพร่ภาพพระจริยาวัตรอันงดงามของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน ขณะที่พระองค์ทรงปอกหัวหอมและเตรียมผักอีกหลายชนิด บริเวณพื้นที่โรงครัวอันเฉอะแฉะของโรงเรียนชุมชนแห่งหนึ่งในเมืองมองการ์

       
ภาพจากรอยเตอร์

       ทีวีช่องดังแห่งแดนโรตีรายงานว่า ภาพสุดประทับใจนี้ถูกบันทึกไว้ได้ในขณะที่กษัตริย์จิกมีแห่งราชอาณาจักรมังกรสายฟ้า เสด็จพระราชดำเนินเยือนโรงเรียนชุมชนของเมืองมองการ์เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยสื่ออินเดียระบุ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานทรงอาสาเข้าครัวเตรียมอาหารมื้อกลางวัน ให้กับบรรดาเด็กนักเรียนด้วยพระองค์เอง ถึงแม้ทางโรงเรียนจะเตรียมแม่ครัว-พ่อครัวไว้แล้วก็ตาม
       
       “เราไม่ได้มาที่นี่ในฐานะกษัตริย์ของประเทศนี้ แต่เรามาที่นี่ในฐานะพ่อคนหนึ่งที่อยากได้มีโอกาสเข้าครัวทำอาหารให้ลูกได้กินบ้างสักครั้ง” กษัตริย์จิกมีตรัสต่อผู้ติดตาม

       
ภาพจากรอยเตอร์

       รายงานข่าวของสื่ออินเดียระบุว่า พระราชดำรัสเพียงสั้นๆ นี้ของกษัตริย์แห่งภูฏาน มีการถ่ายทอดผ่านผู้ติดตาม ส่งต่อมายังสื่อมวลชนทั้งของอินเดียและของภูฏานในเวลาต่อมา
       
       ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งภูฏานเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 2006 ภายหลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมชุก พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติโดยมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก่อนที่เจ้าชายจิกมีในขณะนั้นจะได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์ภูฏานอย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพูในวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 2008

       
ภาพจากรอยเตอร์


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075751
10305  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / น่าห่วงนักศึกษาคลั่งออนไลน์ขั้นรุนแรง เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 08:55:23 am




น่าห่วงนักศึกษาคลั่งออนไลน์ขั้นรุนแรง

คณบดีคณะมนุษย์ฯ ม.ทักษิณ เผยนักศึกษาอาการน่าเป็นห่วง คลั่งสังคมออนไลน์ั้นรุนแรงถึงขนาดขาดไม่ได้ ส่งผลกระทบถึงการใช้ภาษาไทยขั้นวิกฤต ทั้งทักษะการคิด วิเคราะห์ ฟัง พูด อ่าน เขียน แนะจัดระเบียบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด่วน

วันนี้(28ก.ค.)รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดเผยว่า จากการติดตามปัญหาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในปัจจุบันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและใช้เวลากับ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรม ทางสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา มากถึง 5 ชั่วโมงต่อวัน โดยนักศึกษาเห็นว่าสังคมออนไลน์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในชีวิตที่ขาดไม่ได้ หากเมื่อใดไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะคลั่งไคล้เครือข่ายสังคมออนไลน์รุนแรง


 :41: :41: :41: :41:

รศ.ดร.ณฐพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ที่น่าตกใจ คือ นักศึกษาให้ข้อมูลว่าถ้าลืมเครื่องมือเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์จะต้องกลับไปนำมาใช้ หรือถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้จะไม่มีสมาธิ รู้สึกที่ทุรนทุราย กระวนกระวาย หงุดหงิด ในทางกลับกันถ้าลืมหนังสือ หรือตารางการเรียน จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมคลั่งไคล้เครือข่ายสังคมออนไลน์แบบรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมการอ่านที่เชื่อมโยงถึงทักษะการฟัง พูด เขียน คิดวิเคราะห์ ที่ไม่มีประสิทธิภาพในหลายรูปแบบ ทั้งการเขียนไม่ตรงประเด็น วกไปวนมา การสะกดคำผิด การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน การใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ผิดกาลเทศะ การอ่านที่ไม่สามารถจับใจประเด็น และไม่สามารถสรุปสาระสำคัญจากการฟังได้

“จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรที่จะต้องมีการจัดระเบียบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เหมาะสมอย่างจริงจังทั้งในสถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน และพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดึงผู้คนมาสู่การฟัง พูด อ่าน เขียนที่เป็นโลกธรรมชาติมากกว่าการจมดิ่งอยู่กับโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์” รศ.ดร.ณฐพงศ์กล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/512052
10306  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จับยามสามตา เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 08:45:54 am


จับยามสามตา

คนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่า...เวลาของมีค่าหาย ท่านไม่ค่อยได้ไปแจ้งตำรวจหรอกครับ ท่านมักไปหาผู้รู้วิชาโบราณ เรียกวิชายามตรีเนตร แต่ชื่อวิชานี้ไม่คุ้นเหมือนเรียกแบบชาวบ้าน จับยามสามตา สมัยเด็กผมเคยเห็น ผู้รู้ท่านจะหลับตา ทำปากขมุบขมิบเหมือนท่องจำ ยกมือซ้าย ชูนิ้ว หัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนาง รวม 3 นิ้ว แล้วใช้นิ้วชี้มือขวา...ไล่เรียงไป 1-2-3 หยุดที่นิ้วไหน...ท่านก็ทำนาย

วิชาจับยามสามตา อาจถูกดูแคลนเป็นวิชาหมอเดา และอาจทำให้คนทำของหายไม่ดิ้นรนค้นหา...ถึงวันนี้ไม่ค่อยมีคนใช้กันแล้ว นายสวิง บุญเจิม เขียนภูมิปัญญานี้ไว้ในหนังสือ ตำรามรดกอีสาน คุณอลิสา รามโกมุท เอามารวบ
รวมเรียบเรียงไว้ใน นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม 3 (คติความเชื่อ) กรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ.2552

 ans1 ans1 ans1 ans1

ใคร ศรัทธา อยากได้วิชานี้ โปรดได้ตั้งใจอ่าน....

วิธีการดูยามสามตา ท่านให้ถือจันทรคติ คือวันข้างขึ้นข้างแรม เป็นหลัก คนมาดูหมอกับเราวันไหน ก็ให้นับจากวันขึ้น หรือวันแรมหนึ่งค่ำ มาจนถึงวันที่เขามาดู

ถ้าข้างขึ้น ให้นับจากเลข 1 เวียนไปเลข 2 และเวียนไปเลข 3 แล้วเวียนมาเลข 1-2-3 อีก จนถึงวันที่เขามาดูหมอกับเรา ตกเลขไหน ใน 1-2-3 นั้น

ถ้าเป็นข้างแรม ให้เริ่มนับ 1 ลงที่เลข 2 แล้วเวียนไปที่เลข 3 เวียนไปเลข 1-2-3 จนถึงวันที่ เขามาดูหมอกับเรา ตกเลขอะไรให้ทายตามนั้น


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ขอย้ำ ความเข้าใจ ของจะหายวันไหนไม่ต้องคำนึง ให้ถือเอาวันมาขอดูหมอเป็นหลัก คือนับจากวันหนึ่งค่ำมาถึงวันที่เขามาหาเราตกเลขอะไรแห่งเลข 3 ตัวใน 3 ตานั้น ให้ทายดังนี้

     - ถ้าตกเลข 1 เรียกว่า กาจับหลัก หมายความว่าของนั้นจะอยู่กับที่ หรือในบริเวณที่ตกนั้น มิได้เคลื่อนที่ไปไหน ให้หาภายในบ้าน หรือบริเวณที่ของตกนั้น จะพบ
     - ถ้าตกเลข 2 เรียกว่า ไม้หักทับทาง หมายความว่า ของนั้นเคลื่อนที่ไปแล้ว จะมีคนเอาไป หรือเอาอะไรปิดไว้ หรือทายว่าจะเห็น แต่ต้องใช้เวลาหน่อย
     - ถ้าตกเลข 3 เรียกว่า นกยางคาบหนี หมายความว่า ถูกขโมยเอาไปไกล แล้วของนั้นจะไม่ได้คืนเลย

วิชาจับยามสามตาท่านว่าแม่นยำนัก นอกจากดูของหาย ยังใช้กับของที่ต้องประสงค์ หรือเจ็บไข้ได้ป่วย

 :96: :96: :96: :96: :96:

อีกไม่กี่วัน ก็จะวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 7 สิงหาคม ผมไปทางไหน เจอแค่คนวิตกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าผ่านก็แล้วไป ถ้าไม่ผ่าน ก็วิจารณ์กันต่อ คุณสมชายผู้ลงทุนร่างรัฐธรรมนูญ เป็นฉบับที่สอง จะต้อง
ลงทุนร่างฉบับที่ 3 หรือไม่

ฉบับที่ 3 ถ้ามีแบบที่นายกฯประยุทธ์ประชดว่า “ผมจะร่างเอง” เนื้อตัวหน้าตาจะออกมาแบบไหน นายกฯจะมาในเครื่องแบบชาวบ้าน หรือมามาดเท่ในเครื่องแบบทหาร ประการสำคัญ สองพรรคใหญ่ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ จะเอาด้วยหรือเปล่า

รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีผลต่อความสงบสุขของบ้านเมือง ประมาณค่าไม่ได้ แต่ถ้าจะใช้วิธีคิดราคา ร่างฉบับที่คนกันเอง สปช.ตีตกไป ใช้งบ 3 พันล้าน วิตกกันไปแล้ว วิจารณ์กันยืดยาวไปแล้ว ยังหาข้อยุติไม่ได้

     ผมว่า น่าจะใช้วิชาจับยามสามตา ใช้เกณฑ์ เริ่มนับนิ้ว จากวันที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 ล้ม...
     คำทำนายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ถ้าตก ที่เลข 1-2-3 เลขใด ให้ทายไปตามนั้น
     ผมคัดลอกวิชาจับยามสามตามาบอกต่อ แต่ไม่กล้าใช้วิชาเอง เพราะกลัวจะเจอเลข 3 นกยางคาบหนี สิทธิการิยะ ท่านทำนายว่า ของสิ่งนั้นถูกขโมยไปไกล ไม่มีทางได้คืนเลย.


            กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 23 ก.ค. 2559
http://www.thairath.co.th/content/669682
10307  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ภาษาไทย รากเหง้าเก่าสุด 3,000 ปีมาแล้ว อยู่มณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 08:34:06 am


ภาษาไทย รากเหง้าเก่าสุด 3,000 ปีมาแล้ว อยู่มณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน อักษรไทย คืออักษรเขมรที่ถูกทำให้ง่าย อักขรวิธีง่ายที่สุด

อักษรไทย คืออักษรเขมรที่ถูกทำให้ง่าย แต่ยิ่งง่ายคืออักขรวิธีง่ายที่สุดในอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ (จำจากข้อเขียนของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังพิมพ์เป็นเล่มโดยสำนักพิมพ์มติชน)

อักษรไทยและอักขรวิธีเก่าสุด ใช้เขียนบนสมุดข่อย ยุคอยุธยา (จำจากงานค้นคว้าของ จิตร ภูมิศักดิ์) หลังจากนั้นจึงมีผู้ปรับปรุงเพื่อใช้สลักหิน เช่น รัฐสุโขทัย (มีเค้าอยู่ในพงศาวดารเหนือ) แต่ภาษาไทย ถูกผู้พิทักษ์ภาษาไทยสถาปนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอิงนิยายเรื่องประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง


แผนที่แสดงตำแหน่งมณฑลกวางสี ทางภาคใต้ของจีน (ติดเวียดนาม) แหล่งเก่าสุดทางตระกูลไต-ไท รากเหง้าของภาษาไทย


รากเหง้าเก่าสุดภาษาไทยอยู่กวางสี

ภาษาไทย ตามหลักฐานวิชาการว่ามีรากเหง้าจากตระกูลภาษาไต-ไท พบเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว อยู่บริเวณมณฑลกวางสี (ภาคใต้ของจีน) ต่อเนื่องถึงเมืองแถง ที่เดียนเบียนฟู (ภาคเหนือของเวียดนาม) คนยุคนั้นไม่เรียกตัวเองว่าคนไทย และไม่เรียกภาษาที่พูดว่าภาษาไทย ตราบจนปัจจุบันนี้ บริเวณกวางสีกับเมืองแถง ยังมีคนพูดตระกูลภาษาไต-ไท แต่ก็ไม่เรียกภาษาไทย และไม่เรียกตัวเองว่าคนไทย

ตระกูลภาษาไต-ไท เป็นภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค เพราะไม่ยุ่งยากซับซ้อน (เมื่อเทียบกับภาคอื่น) ทำให้แพร่กระจายออกไปกว้างขวาง ย่อมมีอำนาจมากทางการเมืองและเศรษฐกิจพร้อมกันไปด้วย โดยเฉพาะตั้งแต่ ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ

คนพูดภาษาอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น มอญ, เขมร, เจ๊ก, แขก, ม้ง, เมี่ยน, ลาว ฯลฯ ต้องใช้ภาษาไต-ไท และคุ้นกับวัฒนธรรมไต-ไท กระทั่งราวหลัง พ.ศ. 1700 คนหลายเผ่าพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง รวมกันเรียกตัวเองด้วยชื่อสมมุติขึ้นใหม่ว่า ไทย, คนไทย แล้วดัดแปลงอักษรเขมรกับอักษรมอญเป็นอักษรไทย

มณฑลกวางสี แหล่งเก่าสุดของภาษาไต-ไท ผมเคยไปสังเกตการณ์เมื่อ พ.ศ. 2537 แล้วบันทึกมาพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อ คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ จะยกบางตอนมาปรับเพื่อแบ่งปันสู่กันอ่าน ต่อไปนี้


ปกหนังสือคนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ คำให้การเรื่องจ้วง (มณฑลกวางสีในจีน) เครือญาติตระกูลไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2537


ตามล่าหาจ้วง แต่ไม่เคยพบจ้วง

ผมได้ยินครั้งแรกสุดในชีวิต ชื่อ “จ้วง” ชนชาติพูดตระกูลภาษาไทยในมณฑลกวางสีของจีนภาคใต้ จากท่านศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี (ปราชญ์สามัญชนคนสำคัญอีกท่านหนึ่งของประเทศไทยที่ถึงแก่กรรมแล้ว) ตอนที่ผมยังเรียนสอบตกวิชาภาษาอังกฤษอยู่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (ระหว่าง พ.ศ. 2507-2513)

อาจารย์ชินเอาบทความภาษาอังกฤษเรื่องจ้วงให้ผมแปลเป็นภาษาไทย แต่ผมต้องส่งคืนท่าน เพราะอ่านไม่ออก แปลไม่ได้สักตัวเดียว ไม่รู้จักแม้กระทั่งชื่อเรื่องว่า “จ้วง” หลังจากนั้นท่านก็แปลเอง แถมอบรมเรื่องจ้วงให้ผมรู้อีกต่างหาก

ตั้งแต่นั้นมาผมก็จดจำเรื่องจ้วงใส่กบาลไว้ จนได้อ่านหนังสือ “ความเป็นมาของคำสยามฯ” ของจิตร ภูมิศักดิ์ อ้างถึงเรื่องจ้วงไว้อีก และอ่านดูรู้ว่าจิตรอ้างบทความเดียวกันกับที่อาจารย์ชินเคยบอก ผมยิ่งกระหายใคร่รู้เรื่องให้กว้างขวางออกไป ทั้งอยากเดินทางไปสำรวจและศึกษาที่เมืองจ้วง

ครั้งเป็นนักข่าวติดตาม ฯพณฯ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับจีน (พ.ศ. 2518) ทางการจีนพาไปสถาบันชนชาติที่ปักกิ่ง ได้พบปะสนทนากับพวกลื้อสิบสองพันนา แต่ไม่ได้พบพวกจ้วง ถึงพบก็คงไม่รู้เรื่อง เพราะตอนนั้นยังตื่นๆ หลับๆ และสับสนอลเวงเรื่องชนชาติไทย


 :96: :96: :96: :96: :96:

คราวเดินทางไปยูนนาน (พ.ศ. 2527) เพื่อศึกษาเรื่องลื้อที่สิบสองพันนากับเรื่องน่านเจ้า ผมก็สอบถามนักวิชาการจีนที่คุนหมิงอย่างศาสตราจารย์เฉินหลี่ฟ่าน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษาแห่งยุนนาน และศาสตราจารย์เจีย แยนจอง เรื่อง “จ้วง” อีก ท่านทั้งสองได้เล่าเรื่องย่อๆ ให้ฟัง แล้วบอกว่ายินดีจะประสานงานให้ผมได้ไปเมืองจ้วง เพื่อรู้จักจ้วง แต่จนแล้วจนรอดผมก็ยังไม่พร้อมจะเดินทาง เพราะขณะนั้นยังมีภาระอื่นๆ ท่วมหัว โดยเฉพาะ “ดอกเบี้ย”

เมื่อบรรดานักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางไปศึกษาและวิจัยที่เมืองจ้วง ผมก็ติดตามและเฝ้ารอผลการศึกษาและวิจัยอย่างใจหายใจคว่ำ

จนกระทั่งได้อ่านบทความเรื่อง “ประเพณีแห่กบของชาวจ้วง : นิทานกับความเชื่อ” ที่อาจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนเล่าไว้ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย (ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 – สิงหาคม 2529) ทำให้อยากไปศึกษาเรื่องกบ เพราะเกี่ยวข้องกับมโหระทึก และผมเชื่อเป็นส่วนตัวว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเครื่องตีโลหะตระกูลฆ้องในวงดนตรีไทย ดังที่เคยเขียนไว้ในหนังสือ “ร้องรำทำเพลง” (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ พิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2532)

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2534 ผมติดตามอาจารย์ ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายท่านไปเวียดนามเพื่อประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับ “ไทเฮียน” (ไทศึกษา) ที่ฮานอย แล้วไปศึกษาเรื่องราวของตระกูลไทยที่เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) และเมืองอื่นๆ ที่อยู่ใกล้พรมแดนเวียดนาม-จีนด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องและต่อเนื่องถึงชนชาติจ้วงในกวางสีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้คนตระกูลไทย-ลาว กับชาวเวียดนามเอง และวัฒนธรรมสำริดตั้งแต่กลุ่มเทียนในยุนนาน ลงมาถึงกลุ่มดงเซินในเวียดนาม กลุ่มจ้วงในกวางสี และกลุ่มบ้านเชียงในประเทศไทย ที่ผมเขียนร่วมกับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไว้แล้วในหนังสือชื่อ “ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม” (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ จัดพิมพ์จำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 2534)

ขณะนั้นตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่ายังขาดความรู้เรื่องชนชาติจ้วง และคิดว่าจะต้องไปศึกษาต่อที่เมืองจ้วงให้ได้-สักวันหนึ่งเถอะ คอยดู แต่ช่วงเวลาทำงานที่ “ศิลปวัฒนธรรม” ยังไม่ลงตัว จึงยังไม่ได้เดินทางไปเมืองจ้วงอย่างที่ต้องการสักที ทำได้เพียงติดตามความรู้เรื่องจ้วงจากเอกสารและงานประชุมสัมมนาทางวิชาการของนักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ทำวิจัยมาหลายปีแล้วเท่านั้น

ครั้นจะหาเอกสารจากนักวิชาการจ้วงและจีนมาศึกษานั้นอย่าพึงหวัง เพราะล้วนเป็นภาษาจีน ผมอ่านไม่ได้ แปลไม่ออก บอกไม่ถูก ที่ทำได้และทำอยู่เรื่อยๆ คือขอให้คุณทองแถม นาถจำนง เรียบเรียงเรื่องจ้วงจากเอกสารจีนลงพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ“ศิลปวัฒนธรรม”


หนานหนิง เมืองหลวงของมณฑลกวางสี เขตปกครองตนเองจ้วง (พ.ศ. 2537)


ไปเมืองจ้วง

“ตามล่าหาจ้วง แต่ไม่เคยพบจ้วง” ที่ยกมา ผมเขียนไว้เมื่อกลับจากไปเมืองจ้วง กวางสี พ.ศ. 2537 ที่ไปคราวนั้นเพราะมีอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยประสานงานกับนักวิชาการที่กวางสี เพื่อไปสังเกตการณ์พิธีฝังศพกบจ้วง ที่มีเป็นประเพณีช่วงหลังตรุษจีน เข้าหน้าแล้ง

นักวิชาการกวางสี คือรองศาสตราจารย์ฉิน เซิ่งหมิน (Qin Shengmin) เป็นรองผู้อำนวยการสถาบันชนชาติแห่งมณฑลกวางสี (Vice Director of Guangxi Research Institute for Nationalities) และเป็นชาวจ้วง เกิดปีระกา ปัจจุบันอายุ 49 ปี เรียนจบวิชาโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับชนชาติจ้วง และมณฑลกวางสีหลายเรื่อง

สำหรับปีนี้ (พ.ศ. 2537) พิธีกรรมฝังศพกบจ้วงจะมีในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม ที่หมู่บ้านหนาหลี่ชุน อำเภอเทียนเอ๋อ ทางตอนเหนือของมณฑลกวางสี (ติดเขตมณฑลกุ้ยโจวหรือกุยจิ๋ว) ต่อไปนี้เป็นเนื้อความที่ผมสรุปไว้ในหนังสือตั้งแต่ พ.ศ. 2537



บ้านชาวจ้วงตามไหล่เขา (พ.ศ. 2537)


จ้วงเป็นเครือญาติตระกูลไทย ผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด

ที่ว่า “จ้วงเป็นเครือญาติตระกูลไทย” ก็เพราะภาษาจ้วงกับภาษาไทยอยู่ในตระกูลเดียวกัน ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน

นิทานปรัมปราและนิยายศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอด “ปากต่อปาก” ด้วยภาษาจ้วงหรือภาษาตระกูลไทย เช่น เรื่องกำเนิดคน เรื่องการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสัมพันธ์กับน้ำฝน เช่น กบ ฯลฯ ล้วนคล้ายคลึงกับนิทานและนิยายของชนชาติไทยทุกกลุ่มทุกเหล่า รวมทั้งคนไทยในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ชาวจ้วงย่อมพูดว่า - “ไทยเป็นเครือญาติตระกูลจ้วง” - ด้วยก็ได้

ที่ว่า – “ผู้ยิ่งใหญ่” – ก็เพราะในมณฑลกวางสีมีชาวจ้วงถึง 12-13 ล้านคน และอยู่เขตมณฑลอื่นๆ อีกเกือบ 1 ล้านคน นับเป็นเครือญาติตระกูลไทยมีจำนวนมากที่สุดที่อยู่นอกดินแดนประเทศไทยซึ่งนับว่าใหญ่มาก นอกจากนั้นชาวจ้วงยังมีส่วนเป็นเจ้าของวัฒนธรรมมโหระทึกที่เป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมยุคแรกเริ่มของภูมิภาคอุษาคเนย์ด้วย นี่แหละ “ผู้ยิ่งใหญ่”

ที่ว่า -“เก่าแก่ที่สุด”- ก็เพราะมีร่องรอยและหลักฐานว่าจ้วงมีวัฒนธรรมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว โดยดูจากภาพเขียนที่ผาลายกับมโหระทึกและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อ “ผี”



ชาวจ้วงที่มณฑลกวางสี (พ.ศ. 2537)

 
ภาพเขียนมหึมาบนภูผามหัศจรรย์-หรือผาลาย เป็นภาพพิธีกรรมขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ มีภาพมโหระทึกและกลุ่มคนประโคมตีมโหระทึก มีภาพคนประดับขนนกบนหัวแล้วทำท่ากางขากางแขนคล้ายกบ

มโหระทึกเป็นกลองหรือฆ้องทำด้วยสำริดที่มีตัวตนเป็นวัตถุจริงๆ เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของภูมิภาคอุษาคเนย์โดยเฉพาะ และมีพัฒนาการเกือบ 3,000 ปีมาแล้ว อาจนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมแรกเริ่มของภูมิภาคอุษาคเนย์ก่อนรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย

เฉพาะบริเวณที่เป็นถิ่นฐานของชาวจ้วงในมณฑลกวางสี พบมโหระทึกฝังอยู่ใต้ดินไม่น้อยกว่า 600 ใบ และชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีก รวมแล้วนับพันๆ ใบ แสดงว่า ชาวจ้วงให้ความสำคัญต่อมโหระทึกมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าจ้วงเป็นเจ้าของวัฒนธรรมมโหระทึก (แม้ชนชาติอื่นจะมีมโหระทึกด้วย แต่รวมแล้วไม่มากเท่าจ้วง)


 :25: :25: :25: :25:

ทุกวันนี้ชาวจ้วงยังใช้มโหระทึกประโคมตีในพิธีสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีกรรม “ขอฝน” เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ดังพิธีบูชากบประจำปี ตามหมู่บ้านต่างๆ มีขบวนมโหระทึกแห่กบ มีการละเล่นที่คนแต่งตัวเป็นกบช่วยเหลือมนุษย์ ฯลฯ ล้วนสอดคล้องกับภาพเขียนที่ผาลาย แสดงว่าชาวจ้วงยังสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมตั้งแต่ยุคสำริดจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานราว 3,000 ปีมาแล้ว

พิธีกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นระบบความเชื่อ “ผี” ที่มีอยู่ในนิทานและนิยาย ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันกับความอุดมสมบูรณ์ที่เกี่ยวกับลมมรสุมอันเป็นสัญลักษณ์ของภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และทางวัฒนธรรมที่มีความเจริญมาช้านาน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แสดงว่าชาวจ้วงตั้งหลักแหล่งเป็นปึกแผ่นมั่นคงอยู่บริเวณมณฑลกวางสีและเขตใกล้เคียงอย่างสืบเนื่องมาแต่ดั้งเดิมเริ่มแรก ยิ่งการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นมากถึง 12-13 ล้านคน ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงการเป็นคนพื้นเมืองในภูมิภาคนี้มาช้านานมากทีเดียว

นี่แหละ “จ้วง-เครือญาติตระกูลไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด”


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

แต่-ทุกวันนี้จ้วงไม่ใช่คนไทย เพราะไม่ได้เป็นประชากรของประเทศไทย และไม่ได้อยู่ในดินแดนประเทศไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงเป็นคนจีน เพราะเป็นประชากรจีน และอยู่ในดินแดนประเทศจีน รวมทั้งมีวิถีชีวิตที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะเป็นบ้านช่องที่อยู่อาศัย และขนบธรรมเนียมประเพณีหลายๆ อย่าง

และแม้จ้วงเป็นเครือญาติตระกูลไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ก็ไม่ได้หมายความว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองจ้วงกวางสี แต่อาจมีชาวจ้วงบางกลุ่มเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทยสมัยโบราณก็ได้ ส่วนชาวจ้วงเกือบทั้งหมดก็อยู่ที่เมืองจ้วงนั่นแหละ

เหตุที่ต้องสนใจศึกษาเรื่องจ้วง ก็ดังที่อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวไว้ว่า “จ้วง เป็นกลุ่มชนชาติไทยที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ อย่างสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ซึ่งอย่างน้อยก็ราว 2,300-2,400 ปีมาแล้ว ฉะนั้น วัฒนธรรมของชาวจ้วงก็คือวัฒนธรรมไทยที่มีความเก่าแก่ เป็นอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคนี้ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลอารยธรรมจีนและอินเดีย”


       ans1 ans1 ans1 ans1

      “แสดงว่าคนที่อยู่ในดินแดนประเทศไทย พูดภาษาไทย มีระบบความเชื่อและประเพณีหลายอย่างคล้ายคลึงกับชาวจ้วง ไม่ได้เพิ่งมีความเจริญรุ่งเรืองและมีวัฒนธรรมของตนเองเพียงสมัยสุโขทัยราว 700-800 ปีอย่างที่ใครต่อใครคิดกันไปเองเท่านั้น”

      “ถ้าไม่มีชาวจ้วงที่เป็นเครือญาติตระกูลไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วเอาไว้ คนไทยก็คงไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมว่าตนเองก็มีพื้นเพรากเหง้าเก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของภูมิภาคอุษาคเนย์”



คนไทย เพิ่งเรียกตัวเองราวหลัง พ.ศ. 1700 บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง มีศูนย์กลางอยู่อยุธยา ไม่อพยพยกโขยงถอนรากถอนโคนจากเทือกเขาอัลไต ส่วนภาษาไทยมีรากเหง้าเก่าสุดอยู่มณฑลกวางสี ทางตอนใต้จของจีน ที่อัลไตไม่มีภาษาไทย [พรุ่งนี้ อ่าน- จ้วงมณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน พูดภาษาไต-ไท แต่ไม่ใช่คนไทย]


ผู้เขียนb: สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่ : 29 ก.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/229852
10308  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮา!! ตั้งศาล‘ปู่จันทร์โสม’กลางถนน หลังนายอำเภอดับพร้อมเมีย-คนตายนับไม่ถ้วน เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 08:02:44 am



ฮือฮา!! ตั้งศาล‘ปู่จันทร์โสม’กลางถนน หลังนายอำเภอดับพร้อมเมีย-คนตายนับไม่ถ้วน

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 30 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณสี่แยกต้นมันปลา(หรือต้นกันเกรา) ทางไปน้ำตกสำโรงเกียรติ ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้มีศาลตั้งอยู่บริเวณกลางถนนอยู่ตรงกลางสี่แยกพอดี โดยมีการจัดทำรั้วรอบโคนต้นมันปลาขนาดใหญ่ที่อายุประมาณ 100 ปี และโดนตัดกิ่งก้านออกหมดแล้ว มีการตั้งศาลอยู่ข้างต้นมันปลาเขียนชื่อศาลว่า ศาลปู่จันทร์โสม ซึ่งภายในบริเวณศาลมีประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ที่ตั้งศาลแห่งนี้ นำเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ มากราบไหว้ ส่วนภายในศาลมีรูปปั้นของปู่จันทร์โสม และต้นมันปลามีการนำเอาผ้า 7 สีมาพันรอบเอาไว้

โดยประชาชนที่ผ่านไปมาต่างพากันยกมือไหว้ด้วยความเคารพศรัทธา รอบศาลแห่งนี้มีการนำเอาเครื่องสัญญาณเตือนจราจร มาติดตั้งรอบบริเวณเอาไว้ ส่วนด้านบนโคนต้นมันปลาได้มีการติดตั้งไฟส่องสว่าง เพื่อเป็นการเตือนประชาชนที่ผ่านไปมาได้ทราบว่ามีศาลอยู่กลางถนนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้วย



นางสุเตียว แซ่ตั้ง อายุ 76 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 14 ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ใกล้กับศาลกลางถนนแห่งนี้ เล่าว่า ตนย้ายมาอยู่ที่บ้านซึ่งอยู่ใกล้กับศาลแห่งนี้มาประมาณ 55 ปี โดยเมื่อย้ายมาอยู่ก็พบเห็นต้นมันปลาขนาดใหญ่อายุประมาณ 100 ปี ตั้งอยู่กลางถนน โดยก่อนหน้านี้หลายสิบปีที่ผ่านมา ได้มีนายอำเภอคนหนึ่งได้สั่งการให้คนงานมาตัดกิ่งของต้นมันปลา เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร

ปรากฏว่า ระยะเวลาผ่านไปไม่กี่วัน นายอำเภอคนดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำเสียชีวิตทั้งสามีภรรยา ส่วนคนงานที่มาตัดต้นมันปลาก็ได้เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ชาวบ้านในเขต อ.ขุนหาญ ต่างพากันเชื่อว่า เป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของศาลต้นมันปลานั่นเอง และได้มีประชาชนที่กระทำการลบหลู่ประสบอุบัติเหตุขับรถมาชนต้นมันปลาเสียชีวิตไปแล้วนับไม่ถ้วน



นางสุเตียว เล่าต่อว่า ต่อมาพระครูปลัดพานิช เจ้าอาวาสวัดศรีขุนหาญ ได้นำร่างทรงมาทำพิธีเข้าทรง ทำให้ทราบว่า เจ้าปู่ที่ศาลต้นมันปลานี้คือ เจ้าปู่จันทร์โสม ดังนั้น จึงได้มีการสร้างศาลขึ้นมา และทำพิธีกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยขอให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าปู่จันทร์โสมให้ช่วยคุ้มครองดูแลประชาชนชาว อ.ขุนหาญ ไม่ให้มีเหตุเภทภัยต่างๆ 

โดยหลังจากทำพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีอุบัติเหตุที่ศาลแห่งนี้มานานแล้ว ทำให้ศาลปู่จันทร์โสมเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนชาว อ.ขุนหาญ เป็นอย่างยิ่ง โดยจะมีการประกอบพิธีเซ่นกราบไหว้ในช่วงประมาณเดือน มี.ค. – เม.ย.เป็นประจำทุกปี และไม่มีใครที่จะกล้าไปแตะต้องเคลื่อนย้ายศาลปู่จันทร์โสมออกไปจากบริเวณนี้ โดยศาลนี้ได้ตั้งอยู่กลางสี่แยกแห่งนี้มานานกว่า 80 ปีแล้ว

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1469874735
10309  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ช็อก.! พิษจากดื่ม “ชาเย็น” มันร้ายแรงแบบคาดไม่ถึง บอกเลยใครชอบกินต้องอ่าน เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:35:47 am





อ่านแล้วต้องช็อก.! พิษจากดื่ม “ชาเย็น” มันร้ายแรงแบบคาดไม่ถึง บอกเลยใครชอบกินต้องอ่าน แล้วจะรู้ว่าต้องทำยังไง.!!

เป็นเครื่องดื่มที่หลายคนต่างชื่นชอบเป็นอย่างมากสำหรับ “ชาเย็น” นอกจากจะมีรสชาตอร่อย หวาน กล่มกล่อม ยังทำให้รู้สึกสดชื่น แถมยังมีหลายราคาให้เลือกซื้อ หรือจะมีท็อปปิ้งเป็นไข่มุก หรือขนมต่างๆอยู่ข้างในเครื่องดื่ม แต่ใครจะทราบหรือไม่ว่า เครื่องดื่้มชาเย็นจะมีพิษและให้โทษได้อย่างไม่น่าเชื่อ

โดยหมอที่พบผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือเรียกว่า โรคอัมพฤกษ์ สื่บค้นหาต้นตอไปๆมาๆ พบว่ามาจากพฤติกรรมการดื่มชาเย็น เป็นประจำ โดยผู้ป่วยเล่าว่า ไม่กินผักตั้งแต่เด็ก ทานแต่เนื้อสัตว์ ที่สำคัญชอบกินน้ำเย็นเป็นประจำและตองเป็นน้ำเย็นจากตู้เย็น

ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่ายกายได้ส่งสัญญานหลายครั้ง เช่นมึนหัวง่าย เหมือนเห็นไฟแว็บๆที่ตาจขณะกระพริบตา การพูดมีติดขัด สุดท้ายเกิดอาการวูบกะทันหัน นำส่งโรงพยาบาล เมื่อรู้ตัวอีกทีพบว่าผู้ป่วยไม่สามารขบยับร่างกายซีกซ้ายได้อีกแล้ว นี่คืออาการของโรคเส้นเลือดตีบในสมองวัย 40 ที่ชอบทานแต่น้ำเย็น
การดื่มน้ำชาเย็นทำให้ “ไต ต้องรับกำจัดความเย็นออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว” ขับน้ำเย็นมากักเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ เตรียมขับออกเป็นน้ำปัสสาวะทำให้ผู้ที่ชอบทานน้ำเย็นก็ยิ่งขาดน้ำจนเลือดข้นหนืดไปหมด ประกอบกับหลอดเลือดที่เริ่มแข็งกระด้างไม่ยืดหยุ่น ทำให้มีคราบไขมัน และของเสียไปยึดเกาะตามผนังหลอดเลือดจนเกิดการพอกพูนกลายเป็นโรคหลอดเลือดตีบ ก็เพราะน้ำเย็นที่ชอบทานเป็นประจำนั่นเอง


 :96: :96: :96: :96: :96:

ไตของเราเปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำอันน่าอัศจรรย์ ทำหน้าที่ช่วยกรองของเสียออกจากเลือด แล้วขับออกทาง
ปัสสาวะการทำหน้าที่ตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุดของไตนั้น ถ้าเราไปซ้ำเติมด้วยการรับประทานสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย รวมทั้งน้ำเย็นด้วยก็จะทำให้เกิดภาวะไตอ่อนแอและจะส่งสัญญาณร้องให้เราทราบดังนี้

    1. ปัสสาวะบ่อยขึ้น อั้นปัสสาวะไม่ได้นาน ดื่มน้ำเข้าไปแล้วต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยๆกลางคืนก็ต้องลุกขึ้นเข้าห้องน้ำหลายเที่ยว
    2. มีอาการปวดหลัง ปวดเอวบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลานั่งนานๆ
    3. ปวดเมื่อยตามข้อ และ ร่างกายง่าย เช่น ปวดข้อเข่า ปวดต้นคอ
    4. หลอดเลือดตีบตัน หรือ หลอดเลือดแข็งได้ง่าย



 :49: :49: :49: :49:

วิธีแก้ไขสำหรับคนชอบกิน น้ำเย็น นมเย็น กาแฟเย็น น้ำอัดลม น้ำหวานเย็น ชาเย็น อยู่เป็นประจำ มีอาการปวดหลังแน่ๆ ก็ต้องดูแลตนเองง่ายๆ ดังนี้

     1. ปรับเลือดที่หนืดข้นให้หายข้นด้วยการเพิ่มน้ำเข้ากระแสเลือด โดยทานน้ำอุ่นให้ได้ 8-10 แก้ว ทุกวัน
     2. ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกอย่างต่อเนื่องด้วยการ…..ออกกำลังเป็นประจำที่สามารถทำได้ หรือ อาจใช้การจัดกระดูก ช่วยให้เลือดไหลเวียนสม่ำเสมอ
     3. ไม่กินอาหาร…..เนื้อสัตว์ ของทอด ของหวานจัดเพราะ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระปริมาณมากจนทำให้ หลอดเลือดแข็ง หรือ ตีบตันได้ง่าย
     4. งดการทานน้ำเย็นเด็ดขาดรู้แล้วอย่าเฉยเมยนะควรปฎิบัติด้วยและรู้แล้วอย่าเก็บไว้คนเดียวโปรดแบ่งปันให้คนรอบข้างของตัวเรา


ขอบคุณภาพข่าวจาก
newsza.thaimom.net/อ่านแล้วต้องช็อกพิษจา/ 
10310  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / งาน (ศพ) สมภาร เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:25:55 am


งาน (ศพ) สมภาร

เสร็จพิธีพระราชทานน้ำสรงศพ พระสมุทรอุดม สมภารวัดประทุม แม่กลอง 5 โมงเย็น วันเสาร์(23 ก.ค.) ก่อนเอาศพขึ้นตั้งบำเพ็ญกุศล...ผมเห็นคนฮือวิ่งเข้าไปทั้งรับทั้งแย่งผ้าเหลืองชิ้นน้อยแบบมะรุมมะตุ้ม นี่คือ “ของขลัง อนุสรณ์ชิ้นสุดท้าย” ที่ลูกศิษย์ลูกหาอยากได้จากพระอาจารย์

ราวๆปี 2505 เมื่อ พระสังฆรักษ์ (แม) มรณภาพ หลวงพี่อุดม พระหนุ่มศิษย์ก้นกุฏิ ก็ถูกวางตัวขึ้นแทน นานหลายปี เมื่อวัยวุฒิเหมาะควร ก็ได้เป็นสมภาร นอกจากความขยันขันแข็ง ในงานบูรณปฏิสังขรณ์วัด หลวงพี่ถ่ายทอดวิชา หมอยา หมอดู มาจากคุณก๋งแม ส่วนวิชาอาคมขลังนั้น ท่านได้มาจากหลวงพ่อปึก วัดสวนหลวง...สงเคราะห์ญาติโยมทุกวัน วันละหลายๆคน


 :96: :96: :96: :96:

สี่ห้าพรรษาแรกๆ มีคนแห่กันมาขอหวย...คนเรือโป๊ะ เรืออวนพี่ๆ น้องๆรุ่นผม เคยเอาเลข...ไปแทงถูกกันแล้วหลายคน ระยะหลังที่แก่พรรษาแก่วิชา ผมได้ข่าวว่า ท่านขึ้นฐานะเกจิ อาจารย์ใหญ่ มีคิวเดินสายไปปลุกเสก
พระเครื่องของขลัง แน่นหนา ยังกะดารานักร้องชื่อดัง

วัดประทุมฯก่อนหน้านั้น ยังคงเค้าวัดเก่าริมแม่น้ำ โบสถ์ ศาลา หมู่กุฏิพระ เมรุเผาศพ โกดังเก็บศพ ฐานตั้งบาตรพระ กระทั่งถาน ตั้งอยู่ในลานวัดที่น้ำท่วมถึงสะพานไม้หน้าวัดยกสูง เพื่อใช้เดินเวลาน้ำท่วม

ประวัติวัด มีเพียงภาพถ่าย “ท่านเจ้าบัว” พระราชาคณะ ที่พระวินัยมุนี ในศาลาการเปรียญหลังเก่า...หลวงพี่ดมเคยชวน หลวงพี่ตุ้มไปดูภาพเขียน พระชรา นั่งอยู่บนดอกบัว มีคำเขียนว่า “ท่านเจ้าบัว”...ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผู้สร้างวัด...ก็แค่นั้น

 st12 st12 st12 st12

ในโบสถ์หลังเก่ามี “หลวงพ่อสาน” ลงรักปิดทองหน้าตักราว 2 ศอก เป็นพระประธานฯ ดูด้วยตาเป็นพระสำริดหรือปูนปั้น แต่จริงๆ สานด้วยไม้ไผ่ลงรักปิดทอง งานฝีมือแบบเครื่องเขิน พระพุทธรูปสานด้วยไม้ไผ่...มีสององค์ องค์แรก ที่วัดประทุมฯ องค์ที่สองอยู่ในวิหารวัดบางนางลี่(อัมพวา) สานพระเสร็จหมู่บ้านเจ้าของฝีมือ ถูกเรียกชื่อ “เกาะสานพระ” ตอนนี้เป็นตำบล “เกาะศาลพระ” ไปเสียแล้ว

ตอนรื้อโบสถ์เก่า นอกจากต้องระวังรักษาหลวงพ่อสาน ใต้ฐานชุกชี ยังมีพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ลายองค์ ผมได้ข่าว “หลวงพี่ดม” นอนไม่เต็มตา ต้องเกณฑ์พระลูกวัด นอนเฝ้า เวลาสร้างหลวงพ่อสาน ทำให้พอไล่เรียงปีที่ท่านเจ้าบัวสร้างวัดประทุมฯ ว่า อยู่ราวปี พ.ศ.2400 เท่าที่บันทึกกันไว้ พระใบฎีกาเกลี้ยง พระฐานาฯ ท่านเจ้าบัวเป็นสมภารองค์แรก หลวงพี่ดม เป็นสมภารองค์ที่ 9

ผมผ่านไปเมื่อไหร่ ก็เห็นหลวงพี่หน้าดำคร่ำเครียดเหงื่อไหลไคลย้อยกับงานโยธา...พระเครื่องดีๆที่เคยมีอยู่มาก สมภารเก่าๆเก็บไว้ พระวัดพลับหนึ่งบาตร หลวงพ่อโตกรุวัดบางกระทิง เหรียญดีบุก หลวงพ่อหรุ่นวัดช้างเผือก สองหีบเหล็ก ยังไม่นับพระเครื่องนิยม ที่หลวงพี่ดมได้ไว้เต็มหลายตู้ ยังมีที่ติดกระจกแขวนผนังกุฏิ


 :25: :25: :25: :25:

นานเต็มทีผมเห็นหายไป ถามก็ได้ความว่า พระหนุ่มๆมาบวช ขยันช่วยงานสร้างวัด...พอมาลาสึก ท่านก็หยิบให้ไปตอนนี้ไม่เหลือเลยสักองค์ แต่สิ่งที่ได้แทนมา สภาพคร่ำคร่าของวัดประทุมฯ เปลี่ยนไป โบสถ์หลังใหม่โอ่อ่าอัครฐานมูลค่า 12 ล้าน ไม่น่าเชื่อ ใช้เงินเรี่ยไรเดือนละร้อย เดือนละพัน จากชาวบ้าน

ศาลาหลังใหม่ ฌาปนสถานใหญ่ เขื่อนหน้าวัด ศาลาริมน้ำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ฯลฯ ถ้าเทียบกันด้วยวัตถุ...วัดประทุมฯไม่น้อยหน้าวัดข้างเคียงเลย

ลานวัดยกสูงพ้นน้ำ ปูพื้นอิฐหนอนราบเรียบ...ใช้สารพัดประโยชน์เป็นตลาด เป็นลานฉายหนังกลาง แปลงแก้บน บางปี 3-4 เดือน เป็นลานกีฬา นายกตี๋ ปลาทอง บอกผมว่า วิ่งเล่นที่ลานวัด ฯลฯ น้องๆเป็นนักฟุตซอลทีมชาติไปหลายคน เด็กวัดรุ่นนี้ รวมทั้งนายกตี๋ ปลาทอง เรียกหลวงพี่ดม...ว่าพ่อ

ลานวัดเดียวกันนี้ เคยถูกเสนอเป็นสถานที่ สร้างอนุสาวรีย์ อิน-จัน ฝาแฝดของโลกคู่นี้ เกิดที่ “แหลมใหญ่” ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดประทุม ปากคลองบางเรือหัก นี่เอง พุธ 27 ก.ค.นี้ งานทำบุญครบ 7 วัน ท่านสมภารอุดมครับ ใครที่เป็นลูกศิษย์ลูกหา ไปกันให้พร้อมหน้า.

         "กิเลน ประลองเชิง"



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 27 ก.ค. 2559
http://www.thairath.co.th/content/672990
10311  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อำนาจการเมือง ของภาษาไทย เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:15:10 am




อำนาจการเมือง ของภาษาไทย

ภาษาไทย ตามหลักฐานวิชาการว่ามีรากเหง้าจากตระกูลภาษาไต-ไท พบเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว อยู่บริเวณมณฑลกวางสี (ภาคใต้ของจีน) ต่อเนื่องถึงเมืองแถง ที่เดียนเบียนฟู (ภาคเหนือของเวียดนาม) คนยุคนั้นไม่เรียกตัวเองว่า คนไทย และไม่เรียกภาษาที่พูดว่า ภาษาไทย ตราบจนปัจจุบันนี้ บริเวณกวางสีกับเมืองแถง ยังมีคนพูดตระกูลภาษาไต-ไท แต่ก็ไม่เรียกภาษาไทย และไม่เรียกตัวเองว่าคนไทย

ตระกูลภาษาไต-ไท เป็น ภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค เพราะไม่ยุ่งยากซับซ้อน (เมื่อเทียบกับภาคอื่น) ทำให้แพร่กระจายออกไปกว้างขวาง ย่อมมีอำนาจมากทางการเมืองและเศรษฐกิจพร้อมกันไปด้วย โดยเฉพาะตั้งแต่ ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ

คนพูดภาษาอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น มอญ, เขมร, เจ๊ก, แขก, ม้ง, เมี่ยน, ลาว ฯลฯ ต้องใช้ภาษาไต-ไท และคุ้นกับวัฒนธรรมไต-ไท กระทั่งราวหลัง พ.ศ. 1700 คนหลายเผ่าพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง รวมกันเรียกตัวเองด้วยชื่อสมมุติขึ้นใหม่ว่า ไทย, คนไทย แล้วดัดแปลงอักษรเขมรกับอักษรมอญเป็น อักษรไทย


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อักษรไทย คืออักษรเขมรกับอักษรมอญที่ถูกทำให้ง่าย แต่ยิ่งง่ายคืออักขรวิธีง่ายที่สุดในอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ (จำจากข้อเขียนของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังพิมพ์เป็นเล่มโดยสำนักพิมพ์มติชน จะเสร็จเร็วๆ นี้)

อักษรไทยและอักขรวิธีเก่าสุด ใช้เขียนบนสมุดข่อย ยุคอยุธยา (จำจากงานค้นคว้าของ จิตร ภูมิศักดิ์) หลังจากนั้นจึงมีผู้ปรับปรุงเพื่อใช้สลักหิน เช่น รัฐสุโขทัย (มีเค้าอยู่ในพงศาวดารเหนือ) แต่ภาษาไทย ถูกผู้พิทักษ์ภาษาไทยสถาปนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอิงนิยายเรื่องประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 29 ก.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/229295
10312  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เข้าพรรษาไม่อยู่วัดพระ 3 รูปออกเดินเรี่ยไรเงินตลาดโคราช ตร.จับปรับส่งกลับวัด เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:08:46 am




เข้าพรรษาไม่อยู่วัดพระ 3 รูปออกเดินเรี่ยไรเงินตลาดโคราช ตร.จับปรับส่งกลับวัด (คลิป)

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ร.ต.อ.สุรเชษฐ์ เมธานันทิวรรธ รอง.สวป.สภ.พิมาย ร.ต.ท.วีระวงค์ บุญศรีสุวรรณ รอง.สว.(จร.) ได้รับแจ้งว่ามีพระสงฆ์ออกมาเรี่ยไร อยู่ที่ในตลาดจอแจ ม.17 เขตเทศบาลตำบลพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา จึงไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุพบพระสงฆ์ 3 รูป กำลังเดินอุ้มบาตรออกเรี่ยไรจากชาวบ้านในตลาดจอแจ และมีฆราวาสอีก 1 คน แต่งกายด้วยชุดสีขาวเดินตามหลังอยู่ห่างๆ โดยด้านหน้าตลาดจอแจพบรถตู้ ยี่ห้อนิสสัน ทะเบียน นข-4027 สุพรรณบุรี จอดอยู่ มีนายสรยุทธ จิตรแมน อายุ 66 ปี บ้านเลขที่ 25/1 ม.7 ต.หูธรรมนบ อ.ประคำ จ.สุรินทร์ เป็นคนขับ ยืนรออยู่ข้างรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขอตรวจค้นภายในรถพบตู้รับบริจาค 1 ตู้ มีเงินอยู่ในตู้ประมาณ 500 กว่าบาท และขอดูหลักฐานใบสุทธิบัตรของพระทั้ง 3 รูป ปรากฏว่าไม่มี

โดยบอกว่าไม่ได้พกติดตัวมา มีเพียงใบฉายาบัตร ที่ระบุชื่อ คือ พระสุทิน กลิ่นกุหลาบ อายุ 52 ปี พระสามารถ เตชะปัญโญ อายุ 37 ปี และสามเณรมนตรี สาบุตร อายุ 28 ปี จึงนำพระสงฆ์ทั้ง 3 รูป พร้อมนายสุวรรณ มโนรัมย์ อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 7 ม.11 ต.หนองกราด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ไปที่ สภ.พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อตรวจสอบ ว่าจะเป็นพระจริงหรือพระปลอม ที่ออกมาเรี่ยไรในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งผิดวินัยของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติภารกิจอยู่แต่ภายในวัด



จากการตรวจสอบไปที่สำนักสงฆ์เขาใหญ่ ต.สาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่พระสงฆ์ทั้ง 3 รูปอ้าง ปรากฏว่าเป็นพระในสังกัดสำนักสงฆ์ดังกล่าวจริง โดยชวนกันออกมาจากสำนักสงฆ์เขาใหญ่ ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เพื่อมาเรี่ยไรญาติโยมในพื้นที่ อ.พิมาย หานำเงินไปสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ภายในสำนักสงฆ์เขาใหญ่ แต่ไม่ได้ขออนุญาตเจ้าคณะตำบลในพื้นที่ให้ถูกต้อง

อีกทั้งยังไม่เหมาะสมตามวินัยของสงฆ์ เนื่องจากอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งโดยปกติพระสงฆ์จะต้องจำพรรษาอยู่แต่ในวัดของตนเองตลอดช่วงออกพรรษา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พิมาย จึงทำการเปรียบเทียบปรับ นายสรยุทธ จิตรแมน คนขับรถยนต์ และนายสุวรรณ มโนรัมย์ จำนวน 500 บาท ข้อหาเรี่ยไรในที่สาธารณะสร้างความน่ารำคาญให้กับประชาชนทั่วไป พร้อมกับส่งตัวทั้งหมดให้กลับสำนักสงฆ์เขาใหญ่ต่อไป





ชมคลิปได้ที่
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1469775357
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1469775357
10313  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โอว์โนว์..วิชาใหม่ ปลุกเสกมือถือ ‘เจ้าคุณพิพิธ’จี้เจ้าวัดจับสึกพระปลุกเสกมือถือ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:01:50 am



โอว์โนว์..วิชาใหม่ ปลุกเสกมือถือ ‘เจ้าคุณพิพิธ’จี้เจ้าวัดจับสึกพระปลุกเสกมือถือ สวดยับ’ทะลึ่ง-อุตริ’


เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เปิดเผยว่า กรณีที่มีการแชร์ภาพในเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า “Weerachai Phutdhawong” โอว์โนว์…วิชาใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทำพิธีปลุกเสกโทรศัพท์มือถือ โดยมีข้อความระบุใต้ภาพว่า “กำลังมาแรง ปลุกเสกโทรศัพท์มือถือ เพื่อความรุ่งเรืองในการทำธุรกิจ พระไทย…ทำทุกอย่างเป็นไปได้หมด สามารถทำสิ่งบ้าๆ..ให้บ้าหนัก..ทำสิ่งเพี้ยนๆ..ให้เพี้ยนหนัก สิ่งเดียวที่พระไทยทำไม่ได้คือ.. ‘อยู่ในศีลของพระ’ ” ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ว่า โดยปกติพระสงฆ์จะปลุกเสกวัตถุมงคล หรือสิ่งมงคลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยจะใช้บทสวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และรัตนมาลา 108 คาถาบท รวมถึง จะมีการปลุกเสกเทพเจ้า วัตถุมงคล ของศาสนาอื่นบ้าง อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อ ฯลฯ แต่การปลุกเสกวัตถุมงคลของศาสนาอื่นจะไม่ใช้คาถาบทสวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แต่จะใช้การสวดเป็นคำพูด บทร้อยแก้ว หรือร้อยกรองแทน ซึ่งการปลุกเสกดังกล่าวขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของพระสงฆ์ด้วย นอกจากนี้จะมีการปลุกเสกยารักษาโรคในปัจจุบันบ้าง เพื่อให้พรให้คนได้หายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง

“แต่กรณีการปลุกเสกโทรศัพท์มือถือ หรือสิ่งอื่นให้นอกเหนือจากวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นความทะลึ่ง อุตริ คนที่ให้พระเสกก็อุตริพอกัน ดังนั้น พระองค์ใดที่ทำแบบนี้ ขอให้เจ้าอาวาสจับสึกทันที” พระราชวิจิตรปฏิภาณกล่าว




ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/229122
10314  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ภาษาไทย ภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาคสุวรรณภูมิ เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 11:07:46 am

เรือฝูฉวน ต้นแบบที่จักรพรรดิหย่งเล่อทรงนำมาใช้สร้างเรือเป่าฉวน


ภาษาไทย ภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาคสุวรรณภูมิ

ภาษาไทย ถูกผู้พิทักษ์ภาษาไทยสถาปนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอิงนิยายเรื่องประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง แต่ในโลกจริง ภาษาไทยมีรากจากตระกูลภาษาไต-ไท พบเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว ทางมณฑลกวางสี ในจีนตอนใต้ ติดพรมแดนเวียดนาม ต่อมาภาษาไทยเป็น ภาษากลางทางการค้าภายในภูมิภาค

อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยบอกไว้ใน ข้อเสนอสังเขป ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549) ว่ามีเหตุจากความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในราวหลัง พ.ศ. 1700 ในนโยบายการค้าทางทะเลของจีนที่พบเทคโนโลยีต่อสำเภาขนาดใหญ่ ทำให้กระทบต่อความเป็นไปของภูมิภาคอุษาคเนย์และไทย ส่งผลถึงภาษาไทย จะคัดมาแบ่งปันเพื่อพิจารณา ดังต่อไปนี้


 :96: :96: :96: :96:

การเข้ามาของศาสนามวลชน

ได้แก่ พระพุทธศาสนาเถรวาทสำนักลังกา และศาสนาอิสลาม ความแตกต่างที่สำคัญของศาสนาทั้งสอง ก็คือแพร่กระจายไปถึงคนธรรมดาแม้ในชนบทห่างไกล เพราะมีผู้สอนศาสนาที่เป็นพระภิกษุหรือเป็นผู้รู้ที่เข้าไปถึงหมู่บ้าน หรือจัดตั้งองค์กรทางศาสนาในหมู่บ้านโดยตรง

ฉะนั้นศาสนาที่มีลักษณะมวลชนดังกล่าว จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการประสานสังคมที่มีความหลากหลายให้ลงรอยกันได้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน บทบาทของผู้ปกครองในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครองศาสนายิ่งมีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้น

เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก่อนหน้า เมืองใหญ่ๆ ภายใต้พระราชอำนาจกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาที่มีชื่อเสียงกว้างไกล ดึงดูดเอานักศึกษาจากดินแดนห่างไกลให้เข้ามาเรียนรู้ เช่น หริภุญชัย, เชียงใหม่, ละโว้, กรุงศรีอยุธยา, นครศรีธรรมราช และ ปัตตานี เป็นต้น

พัฒนาการขององค์กรศาสนาพุทธสำนักลังกากับอิสลามในประเทศไทยแตกต่างกัน ในเขตที่พระพุทธศาสนาแพร่หลาย องค์กรศาสนารอรับการอุปถัมภ์และปกป้องโครงสร้างอำนาจภายในของตัวจากพระราชอำนาจเสียจนกระทั่งกษัตริย์ของรัฐต่างๆ สามารถควบคุมดูแลองค์กรคณะสงฆ์ได้ในระดับสูง ตรงข้ามกับเขตที่ศาสนาอิสลามแพร่หลาย ศาสนาอิสลามไม่มีองค์กรศาสนาที่เป็นทางการ แต่ครูสอนศาสนาและผู้นำศาสนาอาจสร้างเครือข่ายของตนเองขึ้นได้ เช่น ศิษย์ของครูผู้มีชื่อเสียงอาจตั้งสำนักศึกษาของตนเองขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยต่างก็ถือว่าร่วมอยู่ในเครือข่ายของสำนักศึกษาศูนย์กลางของอาจารย์

ครูและผู้นำทางศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยตรงจากชาวบ้าน (เหมือนพระภิกษุในชนบทของเขตพระพุทธศาสนา แม้กระนั้นก็ยังต้องอิงอาศัยแหล่งเรียนรู้จากศูนย์กลางการศึกษาซึ่งอยู่ภายในพระบรมราชูปถัมภ์อยู่ดี) จึงไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสุลต่าน ในหลายครั้งก็มีบทบาทเป็นผู้ถ่วงดุลอำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมืองด้วย ไม่ว่าจะเป็นสุลต่านหรืออำนาจของคนนอกศาสนาที่เข้ามายึดครอง


ขอบคุณภาพจาก http://www.dailynews.co.th/article/511993


เรือเดินสมุทรชนิดใหม่คือสำเภาจีน

เริ่มเข้ามามีบทบาทในการค้าทางทะเลมากขึ้น นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา คุณลักษณะของสำเภาจีนคือมีระวางบรรทุกสูง และโดยเปรียบเทียบแล้วแข็งแรงกว่าสำเภาชนิดอื่นที่ใช้กันในทะเลจีนและมหาสมุทรอินเดียในช่วงนั้น ผลก็คือทำให้สินค้าที่กินระวางบรรทุกสูงสามารถส่งไปยังแดนไกลได้มากขึ้น แม้ว่าการค้าสินค้ฟุ่มเฟือยยังมีความสำคัญในการค้าสืบมา แต่สินค้าที่กินระวางบรรทุกก็เข้ามามีสัดส่วนในการค้าทางทะเลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ในดินแดนที่เป็นประเทศไทย ซี่งเคยเป็นผู้ผลิตของป่าที่สำคัญแห่งหนึ่งมาก่อนแล้ว ก็สามารถป้อนของป่าแก่การค้าทางทะเลได้หลากหลายชนิดมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่กินระวางบรรทุก เช่น ไม้ฝาง, หนังสัตว์, อาหาร, ผลเร่ว, ฯลฯ เป็นต้น

ฉะนั้นการค้าทางบก (ที่อาศัยเส้นทางน้ำร่วมด้วย) น่าจะขยายตัวขึ้นพร้อมกันกับความแพร่หลายของสำเภาจีน เป็นผลให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของเส้นทางการค้าภายใน เช่น เชียงใหม่, แพร่, น่าน, สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, นครพนม, โคราช, ฯลฯ ตั้งตัวขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าภายใน มีประชากรอพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนามากขึ้น และประสบความรุ่งเรืองมั่งคั่งในระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็เป็นแรงผลักดันให้รัฐที่สามารถติดต่อค้าขายทางทะเลได้โดยตรง ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งหรือใกล้ชายฝั่ง ขยายอำนาจไปดูดซับสินค้าของป่าเหล่านี้

รัฐที่มีภูมิประเทศเอื้อต่อการมีฐานการเกษตรที่เข้มแข็ง ย่อมสามารถรวบรวมประชากรได้มากกว่า และในที่สุดก็ขยายอำนาจออกไปควบคุมเมืองท่าในคาบสมุทรมลายู เพื่อป้องกันการแข่งขัน และผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าทางทะเลของตน ไม่ว่ารัฐนั้นจะตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา หรือในลุ่มน้ำอิรวดี-สาละวินตอนล่างก็ตาม


ภาพวาดสำเภาจีน(เรือสามเสากระโดง)ตามคำบอกเล่าของมาร์โค โปโล (ภาพจาก เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที “ซำปอกง” โดย ปริวัฒน์ จันทร สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553)


การขยายตัวของภาษาไทยและภาษามลายู

ด้วยปัจจัยบางประการ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ภาษาไต-ไทเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญที่สุดน่าจะเป็นการค้าภายในดังที่กล่าวแล้ว เนื่องจากพวกไต-ไทตั้งภูมิลำเนาในหุบเขาขนาดเล็กมาก่อน เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นจึงผลิตอาหารไม่พอ ต้องพึ่งพาการค้าทางไกลเข้ามาช่วยในการดำรงชีพ ฉะนั้นจึงน่าจะมีบทบาทมากในการค้าภายในซึ่งเฟื่องฟูเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และทำให้ภาษาไต-ไทกลายเป็นภาษากลางอย่างน้อยในการค้าภายใน ประชาชนที่มีชาติพันธุ์อันหลากหลาย ทั้งที่อยู่ในที่ราบลุ่มหรือบนที่สูง พอจะเข้าใจภาษาไต-ไทได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนภาษามลายูคงจะแพร่หลายในวงการค้าของภูมิภาคอยู่แล้ว เพราะประชาชนที่พูดภาษามลายูมีบทบาทในการค้าทางทะเลมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์

ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสำนักลังกาตัดสินใจใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางสำหรับการเผยแผ่ อย่างน้อยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่าง จึงยิ่งทำให้ภาษาไทยกลายเป็นภาษากลางของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในดินแดนแถบนี้มากขึ้น

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ในอยุธยา ราชสำนักอาจใช้ภาษาเขมร แต่เมื่อไรที่เป็นเอกสารสำหรับอ่านกันในวงกว้างกว่าชนชั้นสูง เช่น โองการแช่งน้ำหรือกฎหมายหรือจารึกแสดงบุญญาบารมีของผู้สร้างศาสนสถาน ก็ใช้ภาษาไทย รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับศาสนาด้วย เช่น จารึกที่เกี่ยวกับศาสนารวมไปถึงวรรณกรรมศาสนา เช่น มหาชาติคำหลวง เป็นต้น เช่นเดียวกับเวียงจัน, หลวงพระบาง และเชียงใหม่ ซึ่งผลิตกฎหมายในระยะเริ่มต้นด้วยภาษาไต-ไทเช่นกัน

เช่นเดียวกับผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลาม เพราะภาษามลายูถูกใช้อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ภาษามลายูจึงถูกนำมาใช้สำหรับการเผยแผ่ศาสนาเช่นกัน วรรณกรรมทางศาสนาซึ่งเขียนขึ้นในระยะแรกๆ แม้แต่เขียนในรัฐที่ไม่ได้ใช้ภาษามลายูก็ยังเป็นภาษามลายู

ความสัมพันธ์กับศาสนาใหม่นี้ทำให้สถานะของภาษาทั้งสองสูงขึ้นในสังคม เพราะภาษาทั้งสองถูกนำไปใช้เขียนวรรณกรรมหลากหลายประเภทมากขึ้นนอกจากศาสนา จนทำให้ภาษาอื่นๆ ในคาบสมุทรมลายูและในดินแดนที่เป็นประเทศไทยถูกภาษาทั้งสองเข้าไปแทนที่ในแทบทุกเรื่อง

ศาสนามวลชนที่เหมือนกัน และการร่วมใช้ภาษากลางที่ใกล้เคียงกันเช่นนี้ ทำให้เกิดภาพของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นในหมู่ประชากร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอย่างสูง


[พรุ่งนี้ อ่านรายละเอียดเรื่องภาษาไทย รากเหง้าเก่าสุด 3,000 ปีมาแล้ว อยู่มณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน และอักษรไทย คืออักษรเขมรที่ถูกทำให้ง่าย]


ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่ : 28 ก.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/228402
10315  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จับเจ้าอาวาสพกปืน-มีด อาละวาด-ข่มขู่ชาวบ้าน ซิ่งเก๋งหนีตร.แต่ไม่รอด(คลิป) เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:55:07 am




จับเจ้าอาวาสพกปืน-มีด อาละวาด-ข่มขู่ชาวบ้าน ซิ่งเก๋งหนีตร.แต่ไม่รอด(คลิป)

เวลา 02.30 น. วันที่ 29 ก.ค. พ.ต.อ.ปัญญา มงคลสาร ผกก.สภ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ รับแจ้งว่า มีพระเมาเหล้าพกปืนและมีดไปอาละวาดข่มขู่ชาวบ้าน กลางหมู่บ้านหนองคูขาม ต.หนองเชียงทูน อ.ปรางค์กู่

สั่งการให้ พ.ต.ท.สิริวีรวุฒิ ทองสถิตย์ รอง ผกก.สส.สภ.ปรางค์กู่ ไปตรวจสอบ พบพระอธิการเสมียน ปมุตโต เจ้าอาวาสวัดหนองคูขาม ต.หนองเชียงทูน อ.ปรางค์กู่ เห็นตำรวจ เดินเซไปขับรถเก๋งขับ หลบหนีไปอย่างรวดเร็ว ตร.ขับรถไล่สกัดจับและจับกุมได้ที่ถนนสายบ้านหนองเชียงทูน- บ้านหนองคูขาม

ตรวจค้นภายในรถพบอาวุธปืนลูกซองสั้นไทยประดิษฐ์ 1 กระบอกไม่มีกระสุนปืนและมีดพร้า 1 เล่ม อยู่ภายในรถด้วย นำตัวไปทำการสอบสวนที่ สภ.ปรางค์กู่

สอบสวนสารภาพว่า ได้ดื่มเหล้าจนเมามายและพกพาอาวุธปืนรวมทั้งมีดปืนเป็นของลูกศิษย์ ตำรวจตั้งข้อหาว่า
      1.มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยผิดกฏหมาย
      2. พกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
      3.ขับขี่รถในขณะมึนเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
      4. ขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถ นำตัวไปกราบนมัสการพระครูวรรณสารโสภณ รองเจ้าคณะอำเภอปรางค์กู่ทำการสึก









ชมคลิปได้ที่
http://www.matichon.co.th/news/228633
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/228633
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1469755997
10316  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดวัดขายของกองทุนหมู่บ้าน เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:46:00 am


เปิดวัดขายของกองทุนหมู่บ้าน

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามบันทึกความตกลงร่วมมือการพัฒนากองทุนหมู่บ้านสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจคุณธรรม ระหว่างสำนักกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และศูนย์คุณธรรม ในโอกาสครบรอบ 15 ปี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ว่า เพื่อยกระดับกองทุนหมู่บ้านให้เป็นที่ยอมรับในการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม และมีความโปร่งใส ซึ่งจะให้มีการเชื่อมโยงกับโครงการหมู่บ้านศีล 5 เพื่อให้นำหลักศีล 5 เข้ามาใช้ในการบริหารกองทุน รวมทั้งวัดยังให้ใช้สถานที่ส่งเสริมการตลาดของสินค้ากองทุนหมู่บ้านทำให้ขยายตลาดสินค้าได้มากขึ้น

นายพนม ศรศิลป์ ผอ.พศ. กล่าวว่า ปัจจุบันมีวัดอยู่ทั่วประเทศกว่า 3.9 หมื่นแห่งและมีกองทุนหมู่บ้านกว่า 7.9 หมื่นกองทุน ซึ่ง 1 วัดจะช่วยส่งเสริมกองทุนได้ถึง 2 กองทุนและไม่เป็นภาระแก่วัดโดยวัดที่กระจายอยู่ทุกหมู่บ้านสามารถเข้าไปช่วยกองทุนได้ทุกพื้นที่.


ขอบคุณข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/675792
10317  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระ...สุปฏิปัณโณ เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:39:13 am




พระ...สุปฏิปัณโณ

เรื่องราวของพระ นับแต่เรื่องสมภารวัดพระธรรมกาย หลวงปู่พุทธะอิสระ หลวงพี่น้ำฝน เรื่องของคนที่ยังโกนหัวห่มผ้าเหลือง หลวงปู่เณรคำ จนไปถึงเรื่อง “ยันตระ” ห่มผ้าสีเขียว ไว้ผมไว้เครายาว เหมือนฤาษีชีไพร เป็นคำถามในใจชาวบ้าน ตกลง องค์ไหนเป็นพระ องค์ไหนไม่ใช่พระ ผมอยู่ใกล้พระที่นับถือกันองค์หนึ่ง ลองตั้งคำถาม ท่านก็ยิ้มแล้วว่า องค์ประกอบหรือเกณฑ์ของคนที่ถูกเรียกว่า “พระ” ทั้งพระทั้งชาวบ้าน ก็สวดกันอยู่ทุกวัน ในบทที่ขึ้นต้น สุปฏิปัณโณ ภควโต สาวกสังโฆ...นั่นปะไร


 ans1 ans1 ans1 ans1

คุณลักษณะในตัวของพระสงฆ์...สงฆ์แท้...ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านว่า มีอยู่ 4 ข้อ (คู่มือดับทุกข์ ฉบับสมบูรณ์ พุทธทาสภิกขุ คำบรรยายอบรมผู้พิพากษาที่ห้องเนติบัณฑิตสภา 17 ก.พ.2503)

     "สุปฏิปัณโณ ปฏิบัติดี อุชุปฏิปัณโณ ปฏิบัติตรง ญายปฏิปัณโณ ปฏิบัติเพื่อเจาะกิเลส สามีจิปปฏิปัณโณ ปฏิบัติสมควร ทวนบทสวดสุปฏิปัณโณ...ต่อไป...อาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชลิกรณีโย เรื่อยๆไปจนถึง บุญญเขตตัง โลกัสสะ" ....นี่คือคุณของสงฆ์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยผู้อื่น

    "อาหุเนยโย ควรแก่ของที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ปาหุเนยโย ควรแก่ของที่จะเข้าไปรับ ทักขิเนยโย ควรแก่ทักณิณาทาน คือของที่เขาจัดไว้เพื่ออุทิศกุศลแก่บุคคลผู้ตาย อัญชลิกรณีโย ควรแก่การไหว้ ปุญญเขต
ตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาสำหรับเกิดบุญ"


    เนื้อนาธรรมดาให้เกิดข้าวเปลือก แต่เนื้อนา คือการปฏิบัติของพระสงฆ์นั้น ให้เกิดบุญจึงเรียกว่าปุญญเขต

    :25: :25: :25: :25:

คราวนี้มาถึงหน้าที่ของพระสงฆ์ อาจารย์พุทธทาส ขอให้รำลึกถึงคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เป็นผู้หงายของที่คว่ำ ผู้เปิดของที่ปิด ผู้ส่องแสง ผู้เปิดกรง ถ้าพระสงฆ์ยังมีหน้าที่ที่ถูกต้องเช่นนี้ แสดงว่า โรงพยาบาลของโลก ยังอยู่ โรงพยาบาลที่จะเยียวยาในทางกาย หรือแม้ในทางจิตใจมีอยู่ทั่วไป แต่ทางวิญญาณแท้ที่สูงขึ้นไปอีกนี้ ต้องอาศัยโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้า

โรงพยาบาลพระพุทธเจ้า มีพระสงฆ์เป็นแพทย์ มีธรรมะเป็นยา มีปูชนียสถานต่างๆ เป็นตัวโรงพยาบาล “ฉะนั้น ขอให้ถือเอาคณะสงฆ์นี้ เหมือนกับโรงพยาบาลโรคที่จะเยียวยาโรคในทางวิญญาณของโลก”

ท่านอาจารย์พุทธทาส ขอให้มองคณะสงฆ์ ในฐานะเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก เพราะว่าท่านมีหน้าที่มุงบังป้องกันโลกนี้ไว้ ให้สงบเย็น พระสงฆ์เป็นผู้เปิดเผยทาง สืบต่อจากพระพุทธเจ้า ให้มนุษย์เอาชนะกิเลส ซึ่งเป็นความเร่าร้อนได้ ในบรรดาสิ่งที่เบียดเบียนมนุษย์ ไม่มีอะไรมากและน่าอันตรายเท่ากิเลส ฉะนั้นจึงต้องแสวงหาเครื่องป้องกัน ที่ตรงตามความหมายที่พึ่งที่ต้านทาน ที่แท้จริง ธรรมะ คือที่มุงบังที่แท้จริง

เราถือว่าพระสงฆ์เป็นผู้สืบเนื่อง จึงต้องช่วยกันต่ออายุต้นโพธิ์ต้นไทร ช่วยกันรดน้ำพรวนดินเอาไว้อย่าให้ตายเสีย คำว่าสืบอายุพระศาสนา ก็คือสืบอายุต้นโพธิ์ต้นไทร ไว้ด้วยการ บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง สอนสืบๆกันไปจริงๆ


 st12 st12 st12 st12

ท่านอาจารย์พุทธทาสทิ้งท้ายด้วยการอุปมาพระสงฆ์ เป็นดวงประทีปของโลก ถ้าคณะสงฆ์ยังคงคุณลักษณะ และทำหน้าที่ถูกต้อง ก็ถือว่าดวงประทีปนี้ยังไม่ดับ โลกนี้จะยังไม่มืด แต่ถ้าคณะสงฆ์นี้ดับ ก็หมายความว่า ดวงประทีปของโลกดับและมืด

หัวข้อบรรยายนี้ ชื่อว่า พระสงฆ์ ผู้ชี้ทาง หนทาง และผู้เดินทางเพื่อดับทุกข์...ครับ ผมอ่านจบแล้ว ก็พอมีหลัก แยกแยะได้องค์ไหนพระ คนไหนไม่ใช่พระ ยังพอมองเห็นว่า พระดีๆยังมีอีกมาก ส่วนพระระดับเจ้าคุณ ที่ออกมาเย้วๆ นัดชุมนุมพระต่อต้านการทำหน้าที่ตามกฎหมายของรัฐ...ผมเชื่อว่าท่านยังเป็นพระ...เพียงแต่เผลอลืมหน้าที่...ชี้ทางดับกิเลสให้ชาวบ้าน

ก็ถ้าพระระดับเจ้าคุณ ยังติดอยู่กับกิเลสขั้นพื้นๆ อย่างที่โบราณว่า ยศช้าง ขุนนางพระเสียแล้ว จะเอาหลักธรรมอะไรเหลือไปสอนชาวบ้านให้พ้นทุกข์ได้เล่าครับ.


       "กิเลน ประลองเชิง"



คอลัมน์ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 29 ก.ค. 2559
http://www.thairath.co.th/content/675151
10318  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 'เณรคำ' ใส่ชุดนักโทษสีส้ม นอนคุกต่อ ศาลฯ สหรัฐฯ ไม่ให้ประกันตัว เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:29:10 am


'เณรคำ' ใส่ชุดนักโทษสีส้ม นอนคุกต่อ ศาลฯ สหรัฐฯ ไม่ให้ประกันตัว

ศาลชั้นต้น สหรัฐฯ พิจารณาคำร้องขอประกันตัวกรณีพิเศษ "เณรคำ" ทนายยืนยันหลักประกันทรัพย์สินมีมากกว่าล้านเหรียญและเพื่อมนุษยธรรม แต่ผู้พิพากษาพิจารณาแล้วยังไม่ให้ประกันตัว แนะให้ยื่นประกันตัวใหม่อีกครั้ง...


ผู้สื่อข่าวไทยรัฐรายงานจาก สหรัฐอเมริกา ว่า เมื่อวันพุธที่ 27 ก.ค. 2559 เวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับประเทศไทย วันที่ 28 ก.ค.เวลา 23.00 น. ศาลชั้นต้น คดีอาญารัฐบาลกลาง แขวงมณฑลริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้เปิดพิจารณาคำร้องขอประกันตัวเป็นกรณีพิเศษของนายวิรพล สุขผล อดีตพระวิรพล ฉัตติโก หรือ "หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เณรคำ" ห้องพิจารณาคดี 333 หลังจากได้หลบหนีคดีในข้อกล่าวหาฉ้อโกง ร่วมเพศกับผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี จากประเทศไทย และดำเนินเรื่องขอลี้ภัยในสหรัฐอเมริกา ต่อมาทางดีเอสไอได้ประสานกับตำรวจสหรัฐอเมริกาจับกุมตัวไว้ได้

ก่อนถึงเวลาพิจารณาคดี ได้มีผู้ที่เคารพนับถือ "เณรคำ" กว่าสี่สิบคนเดินทางจากเมืองซานดิเอโกและเมืองใกล้เคียงทยอยกันเข้าในตัวอาคาร ที่ตั้งของศาลรัฐบาลกลาง แขวงมณฑลริเวอร์ไซด์ และได้นั่งรออยู่หน้าห้องพิจารณาคดีด้วยสีหน้ามีความกังวล รวมถึงพระสงฆ์หลายรูป พร้อมด้วยกลุ่มแม่ชีและบางคนถือเอกสารประกาศความจำนงสนับสนุนและยอมเป็นพยานให้กับนายวิรพล สุขผล ในการขอประกันตัวครั้งนี้ และเมื่อถึงเวลานัดหมายของศาล บรรดาผู้สนับสนุน "เณรคำ" พากันเข้าห้องพิจารณาคดี และศาลไม่อนุญาต ให้ผู้สื่อข่าวถ่ายภาพภายในบริเวณศาล


 :96: :96: :96: :96:

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นายวิรพล สุขผล หรือ เณรคำ อยู่ในชุดนักโทษสีส้ม พร้อมกุญแจมือ ได้ถูกนำตัวมาจากบริเวณด้านหลังของห้องพิจารณาคดี จากนั้น นายเจฟฟ์ แอร์รอน ทนายความของ "เณรคำ" แนะนำตัว และผู้พิพากษา นางเชอรี พิม (sheri Pym) ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดี โดยผู้พิพากษา กล่าวว่า คดีนี้ไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นเรื่องของการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศ

นายเจฟฟ์ แอร์รอน ทนายความ กล่าวว่า การส่งตัวจำเลยกลับประเทศไทยไปนั้น อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของจำเลยได้ เพราะว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก และมีข้อพิพาทความขัดแย้งกับกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งกำลังเป็นเป้าต่อต้านกับ คสช. นอกจากนั้นทางฝ่ายจำเลยมีหลักฐานขอลี้ภัยพร้อม และขณะที่นายวิรพล อยู่ในสหรัฐฯ นั้น ได้ทำคุณงามความดีต่อสังคมมากมาย

ผู้พิพากษา กล่าวว่า คดีนี้ทางกระทรวงต่างประเทศของไทยเป็นผู้ร้องขอมา แต่ทนายความของ"เณรคำ" แย้งว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นการขอส่งตัว และขอร้องศาลให้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยได้รับการประกันตัวเพื่อมนุษยธรรม และทาง "เณรคำ" ฝ่ายผู้ลี้ภัยมีหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งล้านเหรียญเป็นจำนวนมากพอที่จะขอประกันตัวได้ภายใต้กรณีพิเศษ ในเรื่องสุขภาพของผู้ลี้ภัย ถ้าถูกส่งตัวกลับไปอาจไม่มีสถานที่รักษา

 :32: :32: :32: :32:

ทางด้านอัยการสหรัฐอเมริกา ได้อ้างสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย และกล่าวว่า เอกสารทั้งหลายที่ทางฝ่ายผู้ลี้ภัยจัดหาให้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น ยังไม่ครบถ้วนส่วนข้อสำคัญของการขอประกันตัว "กรณีพิเศษ" นี้ มีน้ำหนักพอที่จะให้ผู้ลี้ภัยได้รับการประกันหรือไม่และผู้ลี้ภัยได้มาพำนักอยู่ในสหรัฐฯ เป็นเวลานานแล้วด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของการกักขังคดีอาญาในที่นี้จะนำมาใช้กับคดีนี้ไม่ได้

ผู้พิพากษา กล่าวสรุปพิจารณาแล้วยังไม่ให้ประกันตัว โดยแจ้งให้ทนายความของ "เณรคำ" ผู้ลี้ภัยไปติดต่อกับผู้พิพากษาอีกคนหนึ่ง เพื่อพิจารณาในเรื่องขอประกันตัวอีกครั้งต่อไป

สำหรับการขึ้นศาลครั้งนี้ เป็นการขอให้ศาลพิจารณาคดีขอประกันตัวเป็นกรณีพิเศษ ไม่ได้เกี่ยวกับคดีที่ศาลจะพิจารณาส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศไทยแต่อย่างใด.



โดย ไทยรัฐออนไลน์ 29 ก.ค. 2559 03:30
http://www.thairath.co.th/content/675872
10319  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ” เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:16:11 am




อาคารให้เช่าวัตถุมงคลหลวงปู่โต๊ะ และบรรยากาศภายใน


      วัดประดู่ฉิมพลีเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงที่พระราชสังวราภิมณฑ์(โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่พ.ศ. 2456 - 2524 รวมเวลานานถึง 68 ปี พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือที่ชาวบ้านต่างเรียกขานกันว่า “หลวงปู่โต๊ะ” เป็นพระมหาเถระผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของมหาชน
       
       เมื่อครั้งที่หลวงปู่โต๊ะยังมีชีวิตอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาและจริยาวัตรของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จไปประกอบพิธีทางศาสนา และสนทนาธรรมกับพระราชสังวราภิมณฑ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ตราบจนหลวงปู่โต๊ะได้มรณภาพลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอพระราชาคณะชั้นธรรม และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด พร้อมทั้งเสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ

       



อาคารให้เช่าวัตถุมงคลหลวงปู่โต๊ะ และบรรยากาศภายใน


       ปัจจุบัน ศาสนสถานและศาสนวัตถุภายในวัด มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับวัดประดู่ฉิมพลี จึงได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ใช้เวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2563 โดยบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระเจดีย์ทรงรามัญ และปรับปรุงภูมิทัศน์เขตพุทธาวาสทั้งหมด
       
       เพื่อให้พุทธสถานแห่งนี้กลับมางดงามเหมือนครั้งอดีตกาล และดำรงไว้ซึ่งโบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558

       






บรรยากาศหน้าศาลาราชสังวราภิมณฑ์


จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9590000055024
10320  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: วัดประดู่ฉิมพลี อารามแห่งพระดี “หลวงปู่โต๊ะ” เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 10:01:40 am



       พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จำนวน 2 หลัง กว้าง 6.10 เมตร ยาว 17.30 เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ และด้านทิศตะวันออก 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน
   




เจดีย์กลมทรงรามัญ


       • เจดีย์กลมทรงรามัญ เป็นเจดีย์กลม แต่ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆังที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับดังเช่นเจดีย์รามัญทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม มีเสารายและชานโดยรอบ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
       








ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ และบรรยากาศภายในศาลา


       ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 16.50 เมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือหลวงปู่โต๊ะ อดีตเจ้าอาวาส


       ยังมีต่อ โปรดติดตาม.....

หน้า: 1 ... 256 257 [258] 259 260 ... 708