ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 7 เมษายน วันรำลึกพระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ) พระผู้มีแต่ให้  (อ่าน 1909 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

7เมษายน วันรำลึกพระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ) พระผู้มีแต่ให้
โดย สมหมาย สุภาษิต รองผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร
สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสัคม มจร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2550 ซึ่งเหล่าชาวพุทธได้สูญเสีย พระมหาเถระสำคัญผู้เป็นแม่ทัพธรรมคือพระเดชพระคุณพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) อีดตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์   ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ถึงแก่มรณภาพลง สร้างความเศร้าใจอาลัยแก่พุทธบริษัทชาวไทยทั่วหล้า จากนั้น วันที่ 12 ตุลาคม ปีเดียวกัน คณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี โดยพระธรรมกิตติมุนี  เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี  ได้มีคำสั่งให้พระเทพปริยัติเมธี (รุ่น รักษ์วงศ์ ป.ธ9) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในวันที่  3 มกราคม 2551

นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์  ท่านก็ประกาศนโยบายอันสำคัญคือการสืบสานปณิธานของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ให้แล้วเสร็จตามเจตนารมณ์ ประกอบด้วย
      1.การสร้างอุโบสถกลางน้ำ เพื่อมอบให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
      2.ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ โรงพยาบาลชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
      3.โครงการสร้างโรงพยาบาลศรีนครินทร์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
      4.โครงการพระธรรมทายาท และ
      5.โครงการให้ยกวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เป็นพระอารามหลวง ซึ่งถูกเปิดเผยเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2555 โดยพระราชวรเมธี ว่า หลวงพ่อปัญญานันทะเคยบอกเรื่องนี้กับพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร วันหนึ่งก่อนมรณภาพ


 :25: :25: :25:

ในวาระครบ ๑๐๐ ปีหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ  พระเดชพระคุณได้เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างศาลา ๑๐๐ ปี พระพรหมมังคลาจารย์ขึ้น ภายในวัดชลประทานรังสฤษดิ์ และใช้เวลาเพียงแค่ ๒ ปีก็แล้วเสร็จ
   
พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.9 ดร.) อายุ 65 ปี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ พระอารามหลวง เจ้าคณะภาค 17 หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9 ใช้เวลา 5 ปี สานปณิธานของพระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) สำเร็จด้วยดี รวมทั้งโครงการยกฐานะวัดชลประทานรังสฤษดิ์  เป็นพระอารามหลวง ด้วยวัดชลประทานรังสฤษฏ์ เกิดจากการยุบวัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์ เมื่อกรมชลประทานต้องการที่ดินของวัดทั้งสองเพื่อขยายงาน โดยกรมชลประทานรวมทั้งสองวัดเข้าด้วยกันมาสร้างใหม่ แล้วเสร็จปี 2502 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2503 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ โดยมีพระปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาส

st12 st12 st12

และเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2555 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง พร้อมกับวัดราษฎร์อื่นๆ อีก 20 วัด เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธ.ค. พ.ศ. 2554 แต่ยังมิทันได้สมโภชพระอารามตามเจตนารมณ์ พระเดชพระคุณก็เกิดอาพาธเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2556 พระธรรมวิมลโมลี เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ที่โรงพยาบาลชลประทาน แต่อาการไม่ดีขึ้น ก่อนย้ายไปรักษายังโรงพยาบาลศิริราช กระทั่ง วันที่ 7 เม.ย. 2556 จึงได้มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเวลา 16.30 น. ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 66 ปี พรรษา 46

กิจกรรมการเผยแผ่พระธรรมคำสอนที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์   พระอารามหลวง มีหลายอย่าง เช่น สถานีวิทยุพระพุทธศาสนา คลื่นปัญญานันทเรดิโอเผยแผ่ธรรม ออกอากาศเวลา 04.00-22.00 น. ทุกวัน และเป็นวิทยากรบรรยายธรรมออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี รายการ รู้ธรรมนำชีวิต ทุกวันจันทร์ เวลา 04.30-05.00 น. ซึ่งแต่เดิมก็มีหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุเป็นวิทยากร โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ผลิตรายการ 

แต่ที่ดำเนินการต่อเนื่องมานานคือจัดแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันพระและทุกวันอาทิตย์ตลอดปี โดยจัดให้มีการแสดงปาฐกถาธรรม สวดมนต์ เจริญภาวนา ทำบุญตักบาตร เป็นประจำ ท่านจะมุ่งเน้นควบคู่กันไปกับงานพระธรรมทูตและงานการศึกษา โดยจะไม่ยึดติดกับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือวัตถุนิยมแต่อย่างใด


st11 st11 st11

ด้านศาสนพิธีในงานสวดศพที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์นั้น ถือว่าเป็นวัดต้นแบบ ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุเป็นต้นมา วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จัดแสดงพระธรรมเทศนาเป็นหลัก งานสวดอภิธรรมเป็นรอง และพระสงฆ์ในวัดที่มีความสามารถจะได้รับมอบหมายให้แสดงธรรมเวียนกันไป รวมทั้งพระเดชพระคุณพระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาส ผู้สานปณิธานหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุก็แสดงธรรมโดยตลอดไม่ขาดตกบกพร่อง

สำหรับประวัติพระธรรมวิมลโมลี มีนามเดิม  รุ่น รักษ์วงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2490 ที่บ้านลำภายดิน ต.โคกชะงาย อ.เมือง จ.พัทลุง ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยที่มีจิตใจใฝ่ธรรม ให้ความสนใจในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2510 ณ วัดธาราสถิตย์ (วัดเต่า) ต.โคกชะงาย อ.เมือง จ.พัทลุงหลังอุปสมบท เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ วัดกุฏิยาราม (วัดกุฏินอก) ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกุฏิยารามและรองเจ้าอาวาสวัดกุฏิยาราม ตามลำดับ

 ans1 ans1 ans1

หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ วัดกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง จนสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ก่อนที่จะกราบลาพระธรรมรัตนากร เจ้าอาวาส ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 18 และรักษาการเจ้าคณะใหญ่หนใต้ ขออนุญาตเดินทางไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงต่อที่กรุงเทพฯเข้าพำนักอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม จนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม จากนั้นตัดสินใจเดินทางขึ้นภาคเหนือ พำนักอยู่ที่วัดคลองโพธิ์ ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เพื่อไปพัฒนาสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี

สำหรับวัดคลองโพธิ์ เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ มีการศึกษาทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ และโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หลังจากได้ช่วยขยายขอบเขตด้านการศึกษาให้คณะสงฆ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ระยะหนึ่ง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ สำนักเรียนพระปริยัติธรรม วัดคลองโพธิ์


 :s_hi: :s_hi: :s_hi:

จากนั้น ท่านได้เดินทางกลับมาอยู่วัดอรุณราชวรารามอีกครั้งต่อมาไม่นาน ท่านต้องย้ายไปอยู่พำนักที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อช่วยก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ทั้งนี้ เป็นไปตามความประสงค์ของหลวงพ่อพระปัญญานันทภิกขุ เจ้าอาวาส ที่ขอตัวมาเพื่อพัฒนางานของคณะสงฆ์ในด้านการศึกษา เนื่องจากไม่เคยมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ขึ้นมาก่อนในจังหวัดนนทบุรี

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 17 ดูแลพื้นที่ปกครองสงฆ์ใน 5 จังหวัดของภาคใต้ รวมทั้งจังหวัดตรัง ก่อนขยับขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 17 ในที่สุด ควบคู่กับตำแหน่งหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9 รับผิดชอบงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ใน 11 จังหวัดภาคใต้ คือ ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส


 :96: :96: :96:

ด้วยคุณูปการผลงานในด้านต่างๆ แก่คณะสงฆ์และสังคม ทำให้ได้รับการยกย่องเกียรติคุณมากมาย

ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร สาขาพัฒนาสังคม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ตำแหน่งทางการปกครอง
ในปี 2516 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดกุฏยาราม จังหวัดตรัง
ปี 2527 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
และได้ขอลาออก เมื่อปี 2532 เพื่อไปรับตำแหน่ง รองเจ้าคณะภาค 17
ปี 2551 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์สมณศักดิ์
ในปี 2527  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระเมธีวราภรณ์”
ปี 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชวิสุทธิโมลี”
ปี 2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพปริยัติเมธี”
ปี 2552 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมวิมลโมลี”

           
 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ทั้งในระดับภาคและในระดับประเทศ ให้เข้ามาช่วยงานด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น จนได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการ แม้กระทั่งการเข้าไปแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับงานด้านการปกครอง ท่านจะยึดถือในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ยึดถือในสิ่งที่ถูกใจ ดังนั้น ไม่ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอเรื่องใดขึ้นมา หากพิจารณาแล้วเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นงานที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ท่านพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยไม่รังเกียจ หรือแบ่งแยกชั้นวรรณะ

พระเดชพระคุณ พระธรรมวิมลโมลี ถือเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่ง ที่ควรค่าแก่การจดจำ แม้จะละสังขารจากไปแล้ว 7 เมษายน2557 จึงเป็นวันที่เหล่าศิษยานุศิษย์จะได้บำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อันเป็นการรำลึกถึงคุณูปการที่ท่านได้สร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำและนำไปปฏิบัติตามเพื่อเสริมสร้างคุณค่าอันดีงามแก่ชีวิตและสังคมสืบไป


ขอบ่คุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140401/182066.html#.Uz4e16I9S4l
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ