ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ค้านออกแนวปฏิบัติพระบิณฑบาต หวั่นกระทบศรัทธาประชาชน  (อ่าน 405 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28414
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ค้านออกแนวปฏิบัติพระบิณฑบาต หวั่นกระทบศรัทธาประชาชน

จากกรณีที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเพื่อขอนุมัตินำเรื่อง กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เสนอมหาเถรสมาคม (มส.) ปรับแนวปฏิบัติในการแนวปฏิบัติ การบิณทบาตของพระสงฆ์

อาทิการออกบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จะต้อออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ และไม่ควรเกินเวลา 08.00 น. การบิณฑบาตโดยยืนหรือนั่งประจำที่ ตามร้านขายอาหาร หรือบิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตาม สถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่บิณฑบาตแห่งวัดตนไม่สมควรกระทำ การบิณฑบาต ด้วยการนั่งรับบาตร หรือนั่งในรถรับบาตรไม่สมควรกระทำ สถานที่ที่เป็นแหล่งอโคจร พระภิกษุไม่ควรเข้าไป เป็นต้น

โดยนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่า แนวฏิบัติที่ออกมายังเป็นเพียงตุ๊กตา ซึ่งมส.อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางที่ชอบด้วยการกระทำทางวินัย และออกเป็นแนวปฏิบัติของสงฆ์ทั่วประเทศเพื่อเสนอมส.พิจารณาก่อนออกประกาศใช้ทั่วประเทศนั้น

พระเทพปฏิภาณวาที หรือ เจ้าคุณพิพิธ วัดสุทัศนเทพวราราม  กล่าวว่า ก่อนปรับแนวปฏิบัติในเรื่องใด อยากให้มส.พิจารณารายละเอียด ข้อเท็จจริงและบริบทของพื้นที่ชุมชนให้รอบด้านหาสาเหตุให้เจอ  อย่างเช่นกรณีพระบิณฑบาตเกินเวลานั้น ตอนนี้บริบทของแต่ละชุมชนเปลี่ยนแปลงไป บางชุมชนนิมนต์พระมาบิณฑบาต เป็นประจำแต่ไม่ใช่ในเวลาเช้าที่กำหนด

ขณะที่พระบางรูป อายุมากค่อนข้างชราภาพแล้ว ญาติโยมจึงนิมนต์มาให้นั่งบิณฑบาต ไม่ใช่ว่าตั้งใจนั่งรับบาตรเป็นประจำ บางคนมาเห็นไม่เข้าใจ ก็ไม่ร้องเรียน ส่งผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ยังมีพระสงฆ์ที่ประฤติตนลุ่มล่าม ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย ตรงนี้เจ้าคณะจังหวัด หรือเจ้าคณะปกครองก็ต้องกวดขัดดูแลให้ถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

@@@@@@@

“การจะแนวปฏิบัติในเรื่องใด คงต้องหาสาเหตุที่มา และข้อเท็จจริงให้พบด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะกระทบต่อพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัยมาตลอด รวมถึงกระทบต่อศรัธาของพุทธศาสนิกชนไม่ใช่นำมาตรฐานของวัดใดวัดหนึ่งมาใช้กับทุกวัด แต่หากเป็นเรื่องที่พระสงฆ์ปฏิบัติไม่ถูกต้องก็ต้อง แก้ไข อย่างไรก็ 2-3 ปีมานี้ ปริมาณพระปลอมเพิ่มมากขึ้น เหตุเพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี คนจึงยอมลงทุนโกนหัว มาเป็นพระ กรณีนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าคณะจังหวัดต้องกวดขัน ให้รอบคอบ ” เจ้าคุณพิพิธ กล่าว

นายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการที่ว่า นักบวชต้องปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย โดยเฉพาะวัตตปฏิบัติต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาสถานภาพของนักบวชไว้ให้สมบูรณ์ ไม่ให้ถูกดูถูกเหยียดหยาม หรือทางพระธรรมวินัยเรียกว่า โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ ซึ่งการบิณฑบาตของพระมีทั้งโลกติเตียนและไม่ติเตียน โดยตนได้อ่านรายละเอียดร่างแนวปฏิบัติใหม่ที่ออกมาแล้วประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องการแก้ปัญหา อาทิ กรณี พระนั่งบิณฑบาต และกำหนดเวลาให้บิณฑบาตให้เสร็จก่อน 8 โมงเป็นหลัก

ซึ่งคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรณีนี้โลกติเตียนหรือไม่ อย่างที่จังหวัดเชียงใหม่ บางแห่งมีพระนั่งบิณฑบาต ประชาชนก็ซื้อของมาใส่บาตร ตนจึงคิดว่าโลกไม่ติเตียน แต่ก็มีบางคนเห็นอาจจะไม่พอใจ เพราะเห็นว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อมีความคิดเห็นทั้งสองอย่าง ทางแก้ที่ดีที่สุด คือกลับไปหาพระธรรมวินัย ดูว่าการบิณฑบาตคือ อะไร ไม่ใช่ไปดูที่กฎของมส. เพราะพระที่ออกกฎคือ พระที่ไม่เคยออกบิณฑบาตเลย


@@@@@@@

“ในพระธรรมวินัย นักบวชอยู่ได้ด้วยการขอผู้อื่น ชาวบ้านเป็นผู้ให้ เป็นความงดงามระหว่างพระกับชาวบ้าน ดังนั้นการไปออกกฎเรื่องการบิณฑบาต ต้องพิจารณาบริบทของท้องถิ่นด้วย เพราะเวลาแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน 8 โมงต่างจังหวัด กับ 8 โมงในกรุงเทพไม่เท่ากัน ผมเองเคยบวชและไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านอาจารย์ในจังหวัดเชียงราย ปรากฎว่า ผมไม่ได้ข้าวสักเม็ด เพราะคนยังไม่ตื่น

ดังนั้นการจะทำอะไรก็ต้องดุบริบทพื้นที่ และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเป็นหลัก ผมเองไม่เห็นด้วย เพราะการออกกฎไม่ใช่การแก้ปัญหา แนวปฏิบัติที่ออกมา เหมือนเป็นการเอาใจชนชั้นกลางและพระผู้ใหญ่ที่ไม่ได้บิณฑบาต  เหมือนเป็นการแก้ปัญหาแบบผิดฝาผิดตัว ” นายสมฤทธิ์ กล่าว

นายสมฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางแก้ปัญหาเพราะที่ประพฤติไม่เหมาะสมนั้น ปัญหานี้แม้แต่พระพุทธเจ้ายังแก้ไม่ได้ ดังนั้นอย่าไปกังวล ให้เป็นเรื่องของพุทธบริษัท 4 ประกอบไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา อย่างตนศรัทธาในพระพุทธสาสนา พระที่ไม่ดีก็ไม่ไหว้ ไม่ใส่บาตร สุดท้ายก็จะอยู่ไม่ได้ อย่าโยนปัญหาไปให้รัฐบาลหรือมส. เพราะไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ทางแก้ที่ดีคือ คืนสาสนาให้กลับไปอยู่ในมือของชาวบ้าน อย่างที่เห็นตามข่าว ทั้งกรณีพระมีสัมพันชู้สาวสีกา  ก็มาจากชาวบ้านที่ไม่ยอมรับและขับไล่ ไม่ใช่การตรวจสอบของมส.


 
ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_2299522
วันที่ 8 สิงหาคม 2563 - 19:01 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2020, 06:02:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ