ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7  (อ่าน 9268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7
« เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2015, 02:11:00 am »
0


      เพื่อเสริมความรู้ แด่ทุกท่าน  ใครหาได้ช่วยนำมาลงให้อ่านหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 11:28:35 pm »
0


จักรา (Chakra) คืออะไร.?

จักราก็คือ ศูนย์พลังงาน (Force center) ของมนุษย์ ที่อยู่ในสภาพเป็นวงล้อมหรือกงจักรหมุน
จักราคือ สภาพแห่งคลื่นของพลังที่สามารถเปล่งออกมาได้
จักราจึงคือ บ่อน้ำพุที่ให้กำเนิดพลังอันแสนมหัศจรรย์ของมนุษย์ โดยผ่านการควบคุมการขับฮอร์โมน เอ็นไซม์ และวิตามินออกมา ช่วยทำให้มนุษย์สามารถธำรงค์รักษา กายภาพแห่งความเป็นมนุษย์เอาไว้ได้ หรือเป็นอะไรที่ยิ่งกว่านั้นได้

ในปรัชญาฝ่ายโยคะ ขั้วบวกของร่างกายอยู่ตรงกระหม่อมเรียกสหัสราระ หรือวิมานของพระวิษณุ ส่วนขั้วลบอยู่ปลายสุดของกระดูกสันหลังคือบัลลังของพระนางกุณฑาลิณี ตามหลักวิทยาศาสตร์ขั้วลบก็ต้องแล่นขึ้นไปหาขั้วบวก เมื่อใดกระแสไฟฟ้าในร่างกายโคจรได้คล่อง ร่างกายและจิตย่อมสมบูรณ์สุด และจิตที่สมบูรณ์นี้เองก่อให้เกิดฤทธิ์ ซึ่งใจกลางฝ่ามือและปลายนิ้วสามารถถ่ายเทพลังงานได้ และพลังขั้วลบที่เรียกกุณฑาลิณีจะผ่านตำแหน่งสำคัญๆในร่างกาย อันเรียกว่าปัทมะ หรือจักราต่างๆ คือดอกบัวเจ็ดจุดด้วยกัน ดูได้จากในรูป



จุดที่ 1 มูลธาร มีลักษณะเป็นดอกบัวสี่กลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Pelvic Plexus ต่อมลูกหมาก เพศ ระบบขับถ่าย
คุณสมบัติ : ความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ ความเป็นธรรมชาติ

จุดที่ 2 สวาธิษฐาน อยู่เหนืออวัยวะเพศ เป็นดอกบัวหกกลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Aortic Plexus ตับบางส่วน ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก
คุณสมบัติ : การสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ สุนทรีย์ การรับรู้ที่ชาญฉลาด

จุดที่ 3 มณีปุระ อยู่ตรงไขสันหลังตรงจุดสะดือ เป็นดอกบัวสิบกลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Solar Plexus กระเพาะอาหาร ตับบางส่วน
คุณสมบัติ : กายภาพ รูปธรรมและจิตวิญญาณ ความพอใจ ความใจกว้าง มีศีลธรรม

จุดที่ 4 อนาหตะ อยู่ตรงหัวใจ มีลักษณะเป็นดอกบัวสิบสองกลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Cardiac Plexus หัวใจ การหายใจ
คุณสมบัติ : ความรัก ความร่าเริง

ตำแหน่งที่ 5 วิสุทธะ อยู่ตรงต่อมไธรอยด์ ดอกบัวสิบหกกลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Cervical Plexus ต่อมไทรอยด์ คอ แขน ปาก ลิ้น หน้า มือ ไหล่
คุณสมบัติ : จิตสำนึกของการรวมกลุ่ม ความอ่อนหวาน ความไม่ก้าวร้าว การสื่อสารที่ดี ความสุขุม

ตำแหน่งที่ 6 อาชญะ กลางหน้าผาก ดอกบัวสองกลีบ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : ต่อม pineal & pituitary การมองเห็น การได้ยิน ความคิด ความมีเงื่อนไข
คุณสมบัติ : การให้อภัย ควบคุมอัตตา (ego) และความมีเงื่อนไข (super ego)

ตำแหน่งที่ 7 สหัสราระ ตำแหน่งสูงสุดกลางกระหม่อม ดอกบัวพันกลีบ วิมานแห่งพระวิษณุ
เครือข่ายทางกายภาพของระบบ : Limbic Areas สมองส่วนกลาง
คุณสมบัติ : การตระหนักรู้ในตนเอง เป็นศูนย์รวมของคุณสมบัติทั้งหมด ความเงียบ


กลางไขสันหลังมีช่องทางสามช่อง กระดูกสันหลังของคนตรงด้านหน้ามีเส้นยาวคล้ายหลอดเล็กๆ แต่ละช่องเรียกนาที ช่องทางซ้ายสำหรับพลังลบ เรียกอิทะนาที ช่องทางขวาสำหรับพลังบวก เรียกปิงคละนาที ช่องกลางสำหรับกุณฑาลิณี การสูดปราณจะสูบเข้าทั้งสองช่อง แล้วดันผ่านช่องกลาง ให้ผ่านจักราหรือดอกบัวขึ้นไปทีละดอก การถึงจุดอาชญะ จะทำให้เปิดเนตรที่สาม ถ้าออกทางกระหม่อม คือ จุดสหัสราระจะเป็นการผนึกปราณร่วมกับเอกภพ นั่นคือความรู้ทั่วจักรวาล

ในทัศนะของผู้ฝึกหทะโยคะซึ่งเป็นกระแสหลักของผู้ฝึกโยคะทั่วโลก ในขณะนี้ ราชาโยคะ คือ ปลายทางท้ายสุดของการฝึกหทะโยคะ เพราะในคัมภีร์หทะโยคะปฏิปิกา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน คำว่า ราชาโยคะ กับ “สมาธิ” (ขั้นที่แปดและเป็นขั้นสูงสุดของการฝึกโยคะในคัมภีร์โยคสูตร) และคำว่า “สุญญตา” นั้นล้วนเป็นคำเดียวกันบ่งความหมายเดียวกัน การฝึกอาสนะ ปรานายามะ ประเภทต่างๆ จะช่วยให้พลังกุณฑาลินีตื่น แล้วจะทำให้ปราณหายไปในอากาศธาตุเข้าสู่ สมาธิ ของราชาโยคะในที่สุด เมื่อกุณฑาลินีตื่นและโยคีผู้นั้นสามารถละวางจากกรรมทั้งหลายได้ โยคีก็จะเข้าสู่สภาวะ “ไร้อัตตา” จึงเห็นได้ว่า การฝึกราชาโยคะคลาสสิคนั้นความจริงก็คือ การฝึกฌานสมาบัติแบบฤาษีนั่นเอง ผู้ที่เอาแต่ฝึกดัดตนฝึกอาสนะของหทะโยคะ โดยไม่รู้ถึงราชาโยคะก็เปรียบเสมือนไก่ได้พลอยนั่นเอง

    ในตำราโยคะที่เป็นมาตรฐานทั่วไป จะจำแนกโยคะออกเป็น 7 สาขาคือ
    1. หทะโยคะ
    2. กุณฑาลินีโยคะ
    3. มนตราโยคะ
    4. ภักดีโยคะ
    5. กรรมโยคะ
    6. ญาณโยคะ และ
    7. ราชาโยคะ


 ans1 ans1 ans1 ans1

โดยได้อธิบายความหมายของราชาโยคะเอาไว้ว่า...ราชาโยคะ(คลาสสิค)ถือว่าอาตมัน ที่อยู่ในร่างกายของคนเรานั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาตมันของสากลจักรวาลหรือพรหมมัน และไม่มีการแตกดับ โดยที่การแตกดับจะเกิดขึ้นกับร่างกายที่เป็นที่พำนักชั่วคราว ของจิตวิญญาณเท่านั้น ส่วนอาตมันย่อมเวียนว่ายตายเกิดไปตามสงสารวัฏจนกว่าจะบรรลุ พระนิพพาน ราชาโยคะคือวิถีทางที่จะไปสู่นิพพานได้โดยทางลัดในชาตินี้ ถ้าหากปฏิบัติฝึกฝนตนได้สำเร็จ

ราชาโยคะนี้กล่าวได้ว่าเป็นส่วนผสมของภักดีโยคะ กรรมโยคะ และญาณโยคะรวมกัน บางทีก็เรียกราชาโยคะนี้ว่า “ราชาแห่งโยคะ” คือเป็นสุดยอดของโยคะทั้งหลาย โดยปกติเป็นที่เข้าใจกันว่า ราชาโยคะคลาสสิคนี้ มีความเกียวข้องและสัมพันธ์กับหทะโยคะอย่างใกล้ชิด จนถึงกับมีคำกล่าวว่า “ราชาโยคะจะมีไม่ได้ถ้าปราศจากหทะโยคะ และหทะโยคะจะไม่สมบูรณ์ถ้าปราศจากราชาโยคะ” เนื่องเพราะหทะโยคะเป็นฐานและราชาโยคะเป็นยอดของฐาน ผู้ใดก็ตามที่ฝึกหทะโยคะย่อมเข้าสู่วิถีของราชาโยคะไปโดยปริยาย ซึ่งบราห์มา กุมารี เป็นมหาวิทยาลัยทางจิตของโลก เป็นสถาบันการศึกษาที่สอนความรู้ทางจิต ที่เรียกว่า ราชาโยคะ



ส่วนสหจะโยคะนับเป็นราชินีแห่งโยคะ ซึ่งในที่นี้จะขออธิบายคร่าว ๆ ก่อน หลายท่านคงจะมีคำถามว่าสหจะโยคะคืออะไร สหจะโยคะเป็นรูปแบบง่ายๆรูปแบบหนึ่งของการฝึกสมาธิ ค้นพบโดยท่านศรีมาตาจี นิรมาลา เทวี ซึ่งได้รับการยกย่องในปัจจุบันนี้ว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของโลก

ในภาษาสันสกฤตคำว่า “โยคะ“ หมายถึงการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ universal unconciousness (จิตใต้สำนึกแห่งจักรวาล) สหจะโยคะง่ายต่อการปฏิบัติ แต่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ มาสู่ชีวิตของคุณได้โดยการปลุก พลังศักดิ์สิทธิ์ภายในตัวของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น พลังนี้จะนำความบริสุทธิ์มาสู่ร่างกายและจิตใจ ด้วยการเข้าสู่ภาวะการมีสติรู้ที่สูงขึ้น คุณจะได้รับความสงบสุขภายในความปีติสุขและพลังในการรักษาตัวคุณเอง และสามารถรักษาผู้อื่นได้อีกด้วย


 :32: :32: :32: :32: :32:

พลังศักดิ์สิทธิ์ในร่างกายมนุษย์ทุกคนนี้มีชื่อว่าพลังกุณฑาลินี เมื่อพลังนี้ตื่นขึ้น คุณจะตระหนักรู้ถึงความไม่สมดุลย์ที่อยู่ในตัวคุณ และสามารถขจัดความไม่สมดุลย์เหล่านั้นได้ และยังปรับปรุงสุขภาพทางจิตใจและร่างกายของคุณให้ดีขึ้น ทุกๆ ศาสนาได้เคยกล่าวถึงกุณฑาลินี ในลักษณะของ เปลวไฟบนศีรษะของนักบุญ ลมศักดิ์สิทธิ์ ดอกบัวพันกลีบ สายน้ำคงคาบนเศียรของพระศิวะ ฯลฯ

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ ของพลังกุณฑาลินี ที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีการรู้แจ้ง และจักราที่เจ็ดได้เปิดออก เครื่องมือในการรู้แจ้งเห็นจริงของเราอยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตรงกับประสาทส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก และระบบประสาทซิมพาเทติก อวัยวะต่างๆในร่างกายของคนเราถูกควบคุมโดยศูนย์กลางพลังงานทั้ง 7 แห่ง ซึ่งศูนย์พลังงานเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับเส้นประสาทและต่อมไร้ท่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความคิด อารมณ์ ความจำ เงื่อนไข และการสร้างสรรค์ของคนเรา มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบทางกายภาพของร่างกาย


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

โดยมีผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ามีโรคร้ายแรง และเรื้อรังจำนวนมากรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการฝึกปฏิบัติสหจะโยคะ สหจะโยคะต่างจากโยคะอื่นตรงที่มีการเริ่มต้นจาก การตระหนักรู้ในตนเอง ซึ่งบัดนี้มิใช่เป็นเพียงความฝันของผู้แสวงหา แต่ทว่าเป็นสิ่งที่ได้รับอย่างเป็นความจริง

สหจะโยคะไม่เพียงแต่ให้การตระหนักรู้แก่ผู้คน แต่ยังสามารถเปลี่ยน บุคคลไปสู่บุคลิกที่สง่างามอันเป็นผลจากสมาธิภายใน และผู้ที่ปฏิบัติสม่ำเสมอ จะสามารถรวมร่างกาย จิต และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างสมดุล ได้รับการพัฒนาทางสุขภาพ ปัญหาต่างๆ ทั้งทางกาย ทางจิต ครอบครัว หรือในสังคม จะค่อยๆ หมดไป นอกจากนี้ สหจะโยคียังสามารถรู้สึกถึงสภาวะของผู้อื่น และช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ผู้อื่นได้ โดยสัมผัสพิเศษจากพลังนี้อีกด้วย


ขอบคุณบทความจาก
community.thaiware.com/index.php/topic/359252-naao-chakra/
post by moral
ขอบคุณภาพจาก
http://4.bp.blogspot.com/
http://www.bloggang.com/
http://2.bp.blogspot.com/
http://www.onlinemeditation.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 11:34:50 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 11:48:01 pm »
0


    ดูรูป 1 เส้น “อิฑา” (Ida) “ปิงคลา” (Pingala) “สุษุมนา”(Sushumna)
    ตำแหน่งของจักราและชื่อเรียกแต่ละตำแหน่ง คุณจะเห็นได้ว่า จักราแต่ละตำแหน่งเป็นรูปดอกบัว แต่ละจุดมีจำนวนกลีบต่างกัน


เส้นจุด(จักรา)
โดย รุจิรัตน์ โททาริ

ตอนนี้ดิฉันเริ่มนึกถึงเรื่องนวดเพราะจะไปเมืองไทยเดือนพฤศจิกานี้ เวลาดิฉันไปนอนนวดตามเพิงแถวชายหาดชะอำ หมอนวดต่างจังหวัดยังมีหมอเส้นและหมอนวดกดจุดอยู่บ้างซึ่งหายากในกรุงเทพ เมื่อก่อนดิฉันไม่เคยรู้ว่าเส้นและจุดมันต่างกันอย่างไร รู้แต่ว่าหมอนวดหนักขึ้น หลังจากเรียนตำราโยคะ เลยพอจะเข้าใจว่าเส้นและจุด มันคืออะไร

เส้น
เส้น ภาษาสันสกฤตเรียก“นาฑี” (Nadi) ตำราชาวตะวันออกเชื่อว่า“เส้น”มีอยู่ทั่วร่างกายรวม 72,000 เส้น ตำรานวดไทยพูดถึงเส้นหลัก 10 เส้น เรียกเส้น ประทานสิบ ตามหลักสูตรโยคะพูดถึงเส้นหลักใหญ่ 3 เส้น ซึ่งอยู่เรียงตามกระดูกสันหลัง เรียก (1) เส้น“อิฑา” (Ida) อยู่ข้างซ้าย เป็นพลังเย็น“หยิน”(ขั้วลบ) หรือ (2) เส้น“ปิงคลา” (Pingala) อยู่ข้างขวา เป็นพลังร้อน“หยาง”(ขั้วบวก) และเส้นกลางเรียก (3) เส้น “สุษุมนา”(Sushumna) เป็นเส้นสำคัญควบคุมศูนย์กลางการสั่งงานของร่างกายทั้งหมด เส้นเป็นทางเดินของลมปราณ“ชี่” คือพลังภายในร่างกายเรา


จุด
จุด คือ คือศูนย์พลังงานภาษาสันสกฤตเรียก“จักรา” หรือ “จักระ”(Chakra) มีอยู่ทั่วร่างกาย ทั้งจักราใหญ่และเล็กจักราใหญ่ที่มีความสำคัญมี 7 จักรา อยู่เรียงตามกระดูกสันหลัง


 :49: :49: :49: :49:

จักรา
จักรา(คัดตัดตอนจากไทย วิกิพีเดีย) คือศูนย์รวมของพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์  ตามศาสตร์ของฤาษีจักราคือการหมุนวน เกี่ยวเนื่องด้วยวาโยธาตุหรือลมปราณ  ที่รู้จักกันในจีน และ ทิเบต  คือ ฮั่นชี่กง และ กังฟูเส้าหลิน ส่วนโยคีและฤาษีจะนิยมศึกษาในแบบของโยคะกรรม หรือการฝึกโยคะ การหมุนวนของจักราในร่างกายนั้นจะเกิดขึ้นจากลมหายใจที่เข้าออก ซึ่งลมในร่างกายของเรานั้นจะมีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในทุกอนูของร่างกาย 

เริ่มจากลมหายใจที่สูดเข้าไป จะมีการดึงไปเก็บไว้ที่ปอด เพื่อทำการส่งก๊าซอ๊อกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ลมหายใจที่เข้าไปนั้นจะทำให้เกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายของเลือดและลม ทำให้มีการเคลื่อนตัวของระบบต่างๆตั้งแต่ระบบไหลเวียนโลหิต  ระบบประสาทต่างๆ  ทำให้หัวใจมีการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ และจึงขับออกมาทางลมหายใจออก เพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ  มนุษย์จะมีจักระจำนวนมากมายอยู่ภายในร่างกาย

โยคีเชื่อว่าจักระที่สำคัญของมนุษย์เรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 ตำแหน่ง ในแต่ละตำแหน่งจะดูแลและควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆภายในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ จักราแต่ละแห่งมีลักษณะคล้ายจักรที่หมุนในลักษณะตามเข็มนาฬิกาอยู่ตลอดเวลาและหมุนด้วยความถี่ที่แตกต่างกันไป ความถี่ในการหมุนของจักระแต่ละแห่งจะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบบการทำงานของอวัยวะที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งความถี่ในการหมุนของจักรานอกจากจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของมนุษย์ได้แล้วยังสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจของมนุษย์อีกด้วย


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

จักราในสายตาของชาวตะวันตก
คนอเมริกันส่วนมากไม่รู้จัก“จักรา” บางคนอาจเคยได้ยินชื่อแต่ไม่รู้ซึ้งว่าคืออะไร จักราเผยแพร่ถึงวัฒนธรรมตะวันตกครั้งแรกด้วยหนังสือของ SirJohn Woodroffeชาวอังกฤษ ชื่อ “เดอะ เซอร์เป้นท์ พาวเว่อร์”(The Serpent Power)หรือ“อำนาจของงู”ตามตำนานบทวรรณกรรมของคนอินเดีย“จักรา”เปรียบเสมือนงูใหญ่นอนหลับขดอยู่บริเวณปลายกระดูกสันหลังเปรียบเป็นบัลลังก์ของพระนางกุณฑาลิณีมเหสีของพระวิษณุ ตำแหน่งนี้เป็นพลังขั้วลบ ส่วนบนกระหม่อมศรีษะเปรียบเป็นวิมานพระวิษณุตำแหน่งนี้เป็นพลังขั้วบวกรัศมีอันรุ่งเรืองของพระวิษณุเร่งเร้าให้พระนางกุณฑาลิณีขึ้นไปสถิตด้วย

เมื่อพระนางกุณฑาลิณีขึ้นไปสิงสถิตกับพระวิษณุเมื่อนั้นสภาวะร่างกายเราจะบรรลุความสุขที่สุดทั้งร่างกายและจิตใจ เปรียบคือถ้าเราสามารถปลุกเจ้างูหลับนั้นให้ตื่นได้ และดันพลังผ่านจุดจักราแต่ละจุดขึ้นไปถึงกระหม่อมศีรษะ เมื่อนั้นร่างกายเราจะอยู่ในสภาวะที่สมดุลย์

(หมายเหตุ ตามบทวรรณกรรมนี้ เมื่อพูดถึง“กุณฑาลิณีโยคะ”จะเปรียบเป็น“โยคะเซ็กส์” เนื่องจากกุณฑาลิณีโยคะเน้นการฝึกโยคะเปิดจักรา ผู้ฝึกเชื่อว่าจะช่วยให้มีเซ็กส์ดีขึ้น และสามารถถึงจุดสุดยอดและสุขสุดๆ)

วกกลับมาหาหนังสือของ SirJohn Woodroffe ได้โยงศูนย์พลังจักรานี้กับต่อมไร้ท่อต่างๆในร่างกาย ซึ่งต้อมไร้ท่อเหล่านี้สร้างฮอร์โมนส์แต่ละอย่างขึ้นกับอวัยวะที่อยู่ใกล้แต่ละจุดตามกระดูกสันหลัง จุดแต่ละจุดนี้ดูรูปจะตรงกับจุดศูนย์รวมประสาทใหญ่ำเรียก “เนิร์ฟ เพล็กซัส” (nerve plexus) ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับอวัยวะและอารมณ์ของเรา





จักราและต่อมไร้ท่อ

จักรา 7 ตำแหน่ง อยู่เรียงตามกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางที่สำคัญสุดของร่างกาย ค้ำจุนลำตัวตั้งต้นที่ฐานกะโหลกมาที่คอตลอดจนลำตัวไปถึงปลายกระดูกสันหลัง ตำแหน่งจักราที่หนึ่งเริ่มจากปลายกระดูกสันหลังขึ้นไปถึงกระโหลก

จักราที่ 1 “มูลธาร”หรือ ฐานจักรา (Root Chakra) อยู่ปลายกระดูกสันหลังบริเวณก้นกบระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก ถือเป็นพื้นฐานของพลังชีวิตและเป็นกลไกที่ทำให้ชีวิตอยู่รอดอวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ กระดูกก้นกบ ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ หลัง ขา เท้า กระดูก ต่อมหมวกไต และตับอ่อนสร้างฮอร์โมนกลุ่มเสตอรอยด์ ตำแหน่งศูนย์รวมประสาท เรียก “เพลวิค เพล็กซัส” (Pelvic Plexus)อารมณ์เกี่ยวโยงคือ ความอยู่รอดในชีวิต ความปลอดภัย ความไว้วางใจในผู้อื่น การมีหลักอยู่กับที่ มีขอบเขต คนที่จักรานี้ต่ำ มักอยู่ไม่ค่อยติดที่ เพราะไม่รู้สึกปลอดภัยไม่ค่อยจะไว้ใจคน ครอบครัวไม่มีหลัก ถ้าฐานไม่ดี  ชีวิตก็จะคลอนแคลน หาจุดยืนไม่ค่อยได้

จักราที่ 2 “สวาธิษฐาน” หรือ จักราเพศ (Sacral Chakra) อยู่บริเวณต่อมอวัยวะเพศประมาณ 4” ใต้สะดือ เป็นจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ ต่อมอัณฑะและรังไข่ ตับ ไต ม้าม หน้าที่ขับกากอาหารและของเสียออกจากร่างกายสร้างเซ้กส์ฮอร์โมนส์ (testosterone or estrogen)ตำแหน่งศูนย์รวมประสาทเรียก“เอออร์ติคเพล็กซัส”(Aortic Plexus)อารมณ์เกี่ยวโยง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง ความสัมพันธ์ ความรุนแรง การสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ สุนทรีย์ การรับรู้ที่ชาญฉลาด

จักราที่ 3 “มณีปุระ” หรือ จักราท้อง (StomachChakra) อยู่บริเวณท้องตรงจุดสะดือ เป็นศูนย์กลางของร่างกายเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารทั้งหมด การดูดกลืน การย่อยสลาย การขับถ่ายของเสีย อวัยวะเกี่ยวข้อง คือ ท้อง ตับอ่อน กระเพาะอาหาร ต่อมที่สัมพันธ์โดยตรงคือ ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ตำแหน่งศูนย์รวมประสาทเรียก “โซล่าร์ เพล็กซัส” (Solar Plexus) อารมณ์เกี่ยวโยงคือ อำนาจ ความเชื่อมั่นในตัวเอง ความกลัว การออกความคิดเห็นความพอใจ ความใจกว้าง ความมีศีลธรรม

จักราที่ 4 “อนาหตะ” หรือ จักราหัวใจ (Heart Chakra) อยู่ตรงแนวหัวใจ ตรงกับต่อมไทมัสเป็นต่อมที่ผลิตภูมิต้านทาน ต่อต้านเชื้อโรค ถ้าขาดพลังจักรานี้ อาจเป็นผลให้เป็นโรคเครียด อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ หัวใจ และ ระบบหมุนเวียนโลหิต ตำแหน่งศูนย์รวมประสาทเรียก “คาร์ดิแอ็ก เพล็กซัส” (Cardiac Plexus)อารมณ์เกี่ยวโยงคือ เป็นศูนย์รวมของความรักที่แท้จริงอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการพัฒนาจิตใจ ความเมตตากรุณา ไม่หวังผลตอบแทน และความเสียสละ

จักราที่ 5 “วิสุทธิ” หรือ จักราคอหอย (Throat Chakra) อยู่ตรงกระดูกต้นคอ ตรงกับ ต่อมไทรอยด์อวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ปอดคอ แขน ปาก ลิ้น หน้า มือ ไหล่ตำแหน่งศูนย์รวมประสาทเรียก “เซอร์วิคัล เพล็กซัส” (Cervical Plexus)อารมณ์เกี่ยวโยงคือ จิตสำนึกของการรวมกลุ่ม ความอ่อนหวาน ความไม่ก้าวร้าว การสื่อสารที่ดี ความสุขุม การสื่อสารกับผู้อื่น พูดเพราะ ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ และการแสดงออก

จักราที่ 6  “อาชณา” หรือ จักราตาที่สาม (Third Eye Chakra) อยู่ตรงกึ่งกลางหน้าผากระหว่างคิ้วตรงกับต่อมใต้สมอง หรือต่อมพิทูอิทารี่ (Pituitarygland) อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ สมองส่วนล่าง และ ระบบประสาท เป็นที่รวมของปัญญา และ พาหนะแห่งการเข้าญาณวิเศษ ผู้ที่ฝึกจักราได้ถึงขั้นนี้ สามารถทำลายสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงคุณสมบัติ การให้อภัย การมองเห็น การได้ยิน ความคิด สามารถควบคุมอัตตา (ego) 

จักราที่ 7 “สหัสรา” หรือ จักรามงกุฎ (Crown Chakra) อยู่ตรงกลางกระหม่อมตรงกับต่อม “พีเนียล แกลนด์” (Pineal gland)เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาท ทั้งหมดของร่างกาย เป็นจุดรับพลังจักรวาล(คอสมิก)และกระจายไปทั่วร่างกาย อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ สมองส่วนบน ระบบประสาท ระบบโครงสร้าง และ ระบบหมุนเวียน โดยทั่วไปของร่างกาย เชื่อว่าเป็นพลังของการหลุดพ้น คือการรู้ความจริง

 ans1 ans1 ans1 ans1

สรุป จักราในร่างกายเปลี่ยนแปลงตลอด จึงเป็นการดีที่เราจะบาล๊านซ์จักรา และฟื้นฟูมัน คือ ตามตำราฤาษีคือ ฝึกโยคะ โยคะ 2 ไสตล์ที่เน้นเรื่องเปิดจักรา คือ ทิเบเทเทียนโยคะ และ กุณฑาลิณีโยคะ แต่วิธีง่ายและสบายที่สุดคือ ไปนวดเส้น นวดกดจุด นวดเท้า


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.sereechai.com/index.php/2013-05-01-06-35-10/2013-05-01-07-32-51/2459-2014-10-01-21-39-50
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 11:51:22 pm »
0


 ans1 ans1 ans1 ans1

กระทู้แนะนำ
เคยสงสัย เรื่องการฝึก จักระ ทั้ง 7 หรือป่าว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1605.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ....เนื้อหา เรื่องจักรา 7
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2015, 07:41:24 am »
0

         ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา