ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โหนกระแสโซเชียล 'เหนียวไก่' หน้าที่สื่อ?..ความรับผิดชอบต่อสังคม  (อ่าน 827 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


โหนกระแสโซเชียล 'เหนียวไก่' หน้าที่สื่อ?..ความรับผิดชอบต่อสังคม

จากกรณี "น้องไลล่า" นางสาวขนิษฐา จันทร์สว่าง อายุ 15 ปี เด็กหญิงชาวสตูล เผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านสังคมออนไลน์ โซเชียลแคม หรือที่หลายคนเรียกว่า 'คลิปเหนียวไก่' ด่าทอผู้ที่ขโมยข้าวเหนียวไก่ ซึ่งวางไว้ที่หน้ารถ สำเนียงภาษาใต้ จนสื่อแทบทุกสำนักหยิบประเด็นมานำเสนอ จนกลายเป็นเรื่องทอล์กออฟเดอะทาวน์ เพียงชั่วข้ามคืน

ทั้งนี้ มีคนจำนวนไม่น้อย ตั้งคำถามต่อการทำหน้าที่ของสื่อว่า สมควรหรือไม่กับการทำหน้าที่ของสื่อหลัก ต่อการหยิบประเด็นจากกระแสโซเชียล มาขยายผล ตีข่าว จนเกิดเป็นกระแสในโลกออนไลน์

อ.ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ว่า ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนผ่านสู่ภูมิทัศน์สื่อแบบใหม่ อดีตคนกำหนดทิศทางข่าว คือ กองบรรณาธิการ แต่พอเริ่มมีโซเชียลมีเดียเข้ามา ทำให้คนกำหนดวาระของข่าวสารที่ต้องการเองได้ แม้กระทั่งเด็ก ก็สามารถสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่าย ปัญหา คือ อนาคตเด็กก็จะคิดว่า โซเชียลมีเดีย คือ พื้นที่ระบายอารมณ์ โดยไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบตามมาอย่างไร โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ อย่างกรณี น้องไลล่า ดีที่สังคมให้การตอบรับ แต่บางคน หากสังคมให้การตอบรับในเชิงลบ รุนแรง จะน่ากลัวมาก


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

"เข้าใจว่าที่สื่อหยิบคลิปแบบนี้มาเล่น เพราะมันจุดประเด็นได้ ตัวสื่อมองว่าเป็นเรื่องที่คนจะให้ความสนใจ เป็น Soft News แต่ถ้ามากเกิน ไม่มองมิติอื่นๆ ที่ตามมา อาทิ มองกรณีไลล่าว่าเป็นฮีโร่ อีกหน่อย เด็กโดนด่า โดนว่า ทะเลาะกับเพื่อน ก็มาระบายผ่านสังคมโซเชียล โซเชียลก็จะกลายเป็นถังขยะระบายอารมณ์ แต่ผลกระทบต่อจากนั้น อาจกลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ขึ้น เป็นระดับองค์กร อย่างกรณีนี้กลายเป็นเซเลปดังในช่วงข้ามคืน มันเร็วไปไหมสำหรับเด็กคนนึง ซึ่งสื่อจะต้องให้ความรู้เท่าทันในเรื่องนี้ด้วย" อ.ดร.มานะ กล่าว

เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่สื่อหยิบประเด็นที่เป็นกระแสทางโซเชียลมีเดีย มานำเสนอคู่ไปกับข่าว เพื่อแย่งชิงพื้นที่ อ.มานะ แสดงความเห็นว่า ข้อดีมันมีอยู่แล้ว รับประกันว่าได้ยอดวิว จะมีคนเข้ามาอ่าน เข้ามาดูเยอะแน่ๆ เพราะกระแสโซเชียลเป็นตัวกรองชั้นหนึ่งแล้วว่ามีคนสนใจ แต่หลายครั้ง ยังไม่มีการตรวจสอบข้อมูล แต่ต้องนำเสนอข่าว เพราะกลัวตก มันก็จะไม่ต่างกันกับเพจทั่วไป ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บังคับบัญชาของสื่อแต่ละแห่งด้วย

 :96: :96: :96: :96: :96:

สำหรับข้อเสนอแนะ ก็อยากให้กลุ่มองค์กรวิชาชีพสื่อ วางกรอบกติกากันเองก่อน ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร หากในวันข้างหน้า มีปัญหาขึ้นมา แล้วรัฐอาจเป็นคนลงมาจัดการเอง ดังนั้น เราควรดูแลกันเองก่อน เพื่อเป็นการป้องกัน

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า อยากให้แยกเป็น 2 ประเด็น คือ เรื่องความเหมาะสมของการทำหน้าที่สื่อ และสิทธิ หน้าที่ของสื่อ สามารถหยิบประเด็นดังกล่าวมาเล่นได้หรือไม่


 :49: :49: :49: :49: :49:

"ผมไม่ค่อยตื่นเต้น หรือทำให้ตื่นตระหนก แต่ด้วยตัวคลิป ซึ่งมีคุณค่าข่าวค่อนข้างสูง ในแง่ที่ว่าเป็นเรื่องตลก ขำ เป็นประเด็น Viral ได้ รวมๆ แล้วคือ ไม่มีสิ่งแอบแฝง ซึ่งน้องเค้าก็เป็นคนที่อัดคลิป แล้วนำมาลงโลกโซเชียล ทำให้เกิดเป็นกระแส สื่อก็ไปหยิบมา ซึ่งมันก็เป็นหน้าที่ของสื่อ ถือเป็นสิ่งที่ควรทำด้วยซ้ำ เพราะจะได้อธิบายให้คนได้รู้ว่า เรื่องราวมันเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องหาจุดตรงกลาง ในเรื่องของความเหมาะสม ต้องรับผิดชอบกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวน้องไลล่า ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ เรื่องดังกล่าว ทำให้น้องเกิดความไม่สบายใจ นำเสนอเรื่องของน้องเค้าแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าวด้วย" ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับธรรมชาติของสื่อออนไลน์เอง การที่จะนำเสนอเรื่องไร้สาระ มองว่าไม่แปลก เพราะมันเป็นธรรมชาติของสื่อออนไลน์ แต่เมื่อนำประเด็นน้องเค้าขึ้นมานำเสนอแล้ว มันเกิดผลกระทบ ทำให้ชีวิตน้องเค้าเปลี่ยนทันที ก็ต้องรับผิดชอบ ตรงนี้สื่อมีการติดตาม หรือช่วยดูแลน้องเค้าไหม อีกทั้งต้องรับผิดชอบ หรือต่อยอดในเรื่องดังกล่าวด้วย อาทิ มีบทวิเคราะห์ต่อเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่สัมภาษณ์เสร็จก็ไป

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ส่วนกรณีที่สื่อจำนวนหนึ่ง เรียกร้องเสรีภาพสื่อ ในการนำเสนอข้อมูลที่ตรวจสอบได้ มีแหล่งที่มา มีหลักฐาน พร้อมจะรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ ยืนอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะ คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ผศ.ดร.วรัชญ์ ให้ความเห็นว่า ต้องยอมรับว่าภูมิทัศน์สื่อมันเปลี่ยนไปเยอะ สื่อไม่ได้กำหนดวาระด้วยตัวเองอีกแล้ว และไม่อยากให้มองที่ยอดไลค์ ยอดแชร์ เพราะมันเทียบกันไม่ได้ คุณค่าของการทำข่าวแบบนั้น มันยั่งยืนกว่าเยอะ และเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมากกว่าด้วย ข่าวข้าวเหนียวไก่ ก็มีคุณค่า ในแง่ที่ช่วยให้คนผ่อนคลาย ระบายความเครียด แต่ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้วย

ทั้งนี้ สื่ออาจนำเรื่องดังกล่าวมาต่อยอด มีบทวิเคราะห์ในประเด็นอื่นๆ อาทิ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในเด็ก เพื่อให้เกิดการรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น.


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/463170
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ