ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 275 276 [277] 278 279 ... 708
11041  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘เจ้าคุณธงชัย’เยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว วัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่น เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 11:49:08 pm





‘เจ้าคุณธงชัย’เยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว วัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่น

พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในฐานะประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เปิดเผยว่า อาตมาพร้อมคณะได้เดินทางไปยังวัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่น เมืองนาริตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเยี่ยมชมศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ตามพระบัญชาของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่มีความห่วงใยผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก

โดยก่อนเดินทางมายังวัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่นได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดโอทาคาจิ เมืองอิบารางิก่อน โดยวัดนี้มีความผูกพันกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้เคยเดินทางมาเปิดและเฉลิมฉลองเจดีย์ทองที่วัดแห่งนี้

 :25: :25: :25: :25:

“สำหรับการเตรียมสถานที่รองรับสำหรับผู้ประสบภัยทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ขณะนี้ทางวัดได้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้วทั้งเรื่องที่พักและอาหาร โดยล่าสุดยังไม่มีผู้ประสบภัยแสดงความจำนงเข้ามาพักที่วัด เนื่องจากวัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่นอาจอยู่ห่างไกลเขตพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวกว่า 600 กม. อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ประสบภัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถเดินทางเข้าพักที่วัดปากน้ำสาขาญี่ปุ่นได้ทันที” พระพรหมสิทธิกล่าว





ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/110175
11042  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พศ.พาพระ-เณรเยือนแดนพุทธภูมิ เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 11:43:53 pm

พศ.พาพระ-เณร เยือนแดนพุทธภูมิ

ผอ.สำนักพุทธฯเผยปี 2559พาพระ-เณร-ฆราวาส เยือนแดนพุทธภูมิ 300 รูป/คน ศึกษาเรียนรู้พุทธประวัติจากสถานที่จริง พร้อมร่วมมือกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดแพทย์-พยาบาล อำนวยความสะดวกผุ้แสวงบุญชาวไทยตลอดช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.นี้

วันนี้ (18 เม.ย.) นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ตามที่ พศ.ได้คัดเลือกพระภิกษุ สามเณร และ ผู้ส่งเสริมสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนา เพื่อไปแสวงบุญยังสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ ประเทศอินเดียและเนปาล ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปี นั้น

ในปี 2559 นี้ พศ.ได้คัดเลือกพระภิกษุที่มีพรรษา 3 ขึ้นไปคุณวุฒินักธรรมชั้นโท สามเณรคุณวุฒิเปรียญธรรม (ป.ธ.)3 ประโยคขึ้นไป และฆราวาสที่ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนารวมทั้งสิ้น 300รูป/คน เพื่อเดินทางไปศึกษาเรียนรู้พุทธประวัติจากสถานที่จริงณ สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งเรียบร้อย

โดยรุ่นแรกจะเดินทางวันที่20-27 เม.ย.นี้ “นอกจากนี้ พศ.ยังได้ลงนามความร่วมมือกับกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข จัดแพทย์และพยาบาลไปดูแลรักษาพยาบาลพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสที่เดินทางไปแสวงบุญ โดยไปประจำอยู่ที่โรงพยาบาลพระพุทธเจ้าวัดไทยพุทธคยา และกุสินาราคลินิก ในวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและอำนวยความสะดวกแก่ชาวพุทธในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย”
  ผอ.พศ.กล่าว.


ขอบคุณข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/392339
11043  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดสเปก ห้องเรียนอัจฉริยะ โรงเรียนพระปริยัติธรรม เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 11:41:43 pm



เปิดสเปก ห้องเรียนอัจฉริยะ รร.พระ

กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 408 แห่ง ของบฯ 270 ล้านบาท สร้างห้องเรียนอัจฉริยะ หวังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ยกระดับคุณภาพการศึกษาสงฆ์ เผยร่างทีโออาร์โครงการฯส่งถึงมือกองพุทธศาสนศึกษาแล้ว

วันนี้ (19 เม.ย.) พระครูปริยัติวีราภรณ์ ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 9 ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างขอบเขตงานและรายละเอียดข้อกำหนด หรือ ทีโออาร์ โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart ClassRoom) โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เปิดเผยว่า

 :96: :96: :96: :96:

ขณะนี้คณะกรรมการได้ยกร่างทีโออาร์โครงการห้องเรียนอัจฉริยะฯ เสร็จเรียบร้อย และเสนอร่างดังกล่าวไปยังกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)แล้ว โดยจะจัดสร้างในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 408 แห่งทั่วประเทศ แห่งละ 1 ห้องเรียน ใช้งบประมาณกว่า 270ล้านบาท

ภายในห้องเรียนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาผสมผสานเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โปรเจคเตอร์ โทรทัศน์ อุปกรณ์กระจายสัญญาณไวไฟ เครื่องดีวีดี และเครื่องเสียง เป็นต้น ทั้งนี้ หากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2559 "

ก่อนหน้านี้กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ได้ประชุมร่วมกับนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล พศ.ถึงการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ จำนวน 408 แห่ง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้เสนอของบฯในการจัดทำโครงการห้องเรียนอัจฉริยะ เนื่องจากปัจจุบัน โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ยังไม่มีห้องเรียนอัจฉริยะ และขาดเทคโนโลยีที่จะใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนพัฒนาสามเณร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผู้ด้อยโอกาส "
พระครูปริยัติวีราภรณ์ กล่าว.


ขอบคุณข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/392610
11044  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์ไทย เยือนศรีลังกา ศึกษาประวัติศาสตร์ สืบสานศรัทธาพุทธศาสนิกชน เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 11:37:54 pm





คณะสงฆ์ไทยเยือนศรีลังกาศึกษาประวัติศาสตร์สืบสานศรัทธาพุทธศาสนิกชน : ยึดแก่นแท้ "หลักธรรม"

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา หนึ่งในประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายพันปี

ทั้งบนดินแดนศรีลังกาแห่งนี้ในสมัยพุทธกาลเชื่อกันว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมา อีกทั้ง ณ ประเทศแห่งนี้ ยังเคยเป็นสถานที่ในการสังคายนาพระไตรปิฎกถึง 4 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.128, พ.ศ.433, พ.ศ.956 และ พ.ศ.1587

พระพุทธศาสนาในศรีลังกาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งมาสู่ยุคหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.2295 คณะสงฆ์ศรีลังกาในขณะนั้นนำเอาคติความเชื่อแบบมหายานและลัทธิฮินดูเข้ามาผสมผสานกับคำสอนแบบเถรวาท จนพิธีกรรมกลายเป็นคำสอนหลัก ประกอบกับนักล่าอาณานิคมตะวันตกเข้ามามีบทบาททางการเมืองหวังถอนรากถอนโคนพระพุทธศาสนา ส่งผลให้ขาดพระสงฆ์ที่จะทำหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ได้


 :25: :25: :25: :25:

พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกาในขณะนั้น ทรงต้องการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกาที่กำลังจะสูญสิ้น จึงส่งคำเชิญมายังประเทศไทยซึ่งในยุคนั้น ซึ่งมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระมหากษัตริย์

เมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงได้รับคำเชิญ ก็ทรงมีรับสั่งให้คัดเลือกพระสงฆ์เพื่อเดินทางไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา นำโดย พระอุบาลี มหาเถระ จากวัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก 23 รูป

และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาระหว่างไทย-ศรีลังกาที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 260 ปีแล้ว


 st12 st12 st12 st12

ด้วยความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาว นาน ทำให้การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ นายไมตรีปาละ สิริเสนา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เนื่องในความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 60 ปี ไทย-ศรีลังกา และความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา 260 ปี เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2558 จึงมีการหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมพระสงฆ์ไทยมีโอกาสไปศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา

จึงนำมาซึ่ง โครงการนำเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ พระภิกษุสามเณร และบุคลากรสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา ศึกษาดูงาน และสักการะศาสนสถานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เมื่อวันที่ 5-10 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมี น.ส.ประนอม คงพิกุล รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ เป็นหัวหน้าทีมนำพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 68 รูป ร่วมเดินทางในครั้งนี้ ซึ่ง “ทีมข่าวศาสนา” มีโอกาสได้ไปร่วมสังเกตการณ์ยังสาธารณรัฐสังคม นิยมประชาธิปไตยศรีลังกาด้วย


 st11 st11 st11 st11

การเดินทางในครั้งนี้คณะสงฆ์ไทยได้เข้าสักการะ พระทิพโบตุเววา ศรี สิทธัตถะ สุมังคละ มหานายกะเถโร พระ มหานายกะฝ่ายมัลวัตตะ และสักการะศาสนสถานที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็น พระเจดีย์ถูปาราม สถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4, ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นหน่อที่นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช, มหินตเล สถานที่ที่เชื่อกันว่าเป็นจุดกำเนิดพระพุทธศาสนาในศรีลังกา, พระธาตุเขี้ยวแก้ว อายุกว่า 2,000 ปี, วัดกัลยาณีวิหาร วัดที่เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาด้วย

ที่สำคัญคือในการเข้าสักการะศาสนสถานที่สำคัญทุกแห่งจะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ พระสงฆ์จากศรีลังกา คอยอธิบายถึงประวัติศาสตร์ และความสำคัญของสถานที่ในแต่ละแห่งให้กับคณะสงฆ์ไทยตลอดการเดินทาง



ทั้งนี้ในส่วนของพระสงฆ์ที่ร่วมเดินทางไปกับคณะฯ ยืนยันว่าโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และควรสานต่อโครงการนี้ต่อไป โดย พระราชธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ จ.อุบลราชธานี เจ้าคณะ จ.อุบลราชธานี (ธรรมยุต) กล่าวว่า “การนำพระ เณร มาเห็นสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น จะได้เข้าใจว่าที่เคยอ่านมาในหนังสือเป็นอย่างไร และสิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของคนศรีลังกา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาของที่นี่เข้มแข็ง ดังนั้นจะนำเรื่องนี้ไปสอนญาติโยมต่อไป”


ด้าน พระครูปรีชาวชิรธรรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม จ.นครราชสีมา บอกว่า “การได้มาศึกษาในพื้นที่จริงจะทำให้ได้รับประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ในทฤษฎี โครงการนี้เป็น โครงการที่ดี แต่ยังขาดการให้ความรู้ในบางเรื่อง ซึ่งส่วนตัวสนใจเรื่องงานด้านศึกษาสงเคราะห์ของศรีลังกา เพราะศรีลังกาเป็นจุดเริ่มต้นของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แต่จากการเดินทางมาครั้งนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลในเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร”


สำหรับ พระปลัดไพบูลย์ ญาณวิปุโล วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หัวหน้าพระสอนศีลธรรม จ.สมุทรสงคราม เห็นว่า “ศรีลังกาเคยเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเกือบล่มสลายมาแล้ว การได้มาศึกษาประวัติศาสตร์ของที่นี่ ทำให้ได้รู้สาเหตุ และแนวทางแก้ไข เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่สืบไปได้”

ขณะที่ น.ส.ประนอม คงพิกุล รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าวว่า “จะนำผลจากการเดินทางในครั้งนี้หารือกับ นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ เพื่อต่อยอดโครงการนี้ต่อไป”

แง่คิดหนึ่งที่ “ทีมข่าวศาสนา” ได้รับจากการร่วมเดินทางไปกับคณะสงฆ์ไทยในครั้งนี้ก็คือ แม้ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในศรีลังกาจะดูเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หากย้อนไปดูในอดีตก็จะเห็นว่ามียุคหนึ่งที่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาเกือบจะสูญสิ้นไป โดยมีสาเหตุหลักคือพระสงฆ์ในศรีลังกาที่ไปเน้นพิธีกรรมมากกว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


 :96: :96: :96: :96:

เราเชื่อมั่นว่าพุทธศาสนิกชนชาวไทยทุกคนคงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์วิกฤติศรัทธาในพุทธศาสนาในประเทศไทยเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้น ณ ศรีลังกาในอดีต และยิ่งเมื่อเราได้ไปเห็นทั้งความเจริญรุ่งเรือง ความเสื่อมถอย ทั้งรู้ถึงสาเหตุแห่งความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาในศรีลังกาครั้งนั้นแล้ว

คณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ควรที่จะนำประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมความมั่นคงและยั่งยืนให้กับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยเฉพาะการเน้นให้พุทธศาสนิกชนไทยตระหนักรู้ถึงการยึดแก่นแท้ใน “หลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ที่เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินชีวิต

เพื่อให้ดินแดนขวานทองแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา” ตลอดไป.


ทีมข่าวศาสนา


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/607242
11045  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนฮิตปฏิบัติธรรม เร่งอบรม 'พระวิปัสสนาจารย์' เพิ่ม เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 11:30:33 pm





คนฮิตปฏิบัติธรรม เร่งอบรม 'พระวิปัสสนาจารย์' เพิ่ม

มส. เผย คนนิยมปฏิบัติธรรมแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ แต่สำนักปฏิบัติธรรมหลายแห่งไม่ทำตามระเบียบ จึงถูกยุบ ทั้งที่ผ่านมายังขาดแคลน "พระวิปัสสนาจารย์" เร่งเปิดอบรมเพิ่ม วอนผู้จบสาขาวิปัสสนาภาวนา ช่วยเป็นอาสาสมัครอบรมในแต่ละศูนย์

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 59 สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ประธานศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ รองอธิการบดีกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมทั้งกล่าวให้โอวาทว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นการนิมนต์ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา จาก มจร. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มาร่วมสัมมนาเพื่อติดตามความคืบหน้าว่าหลังจากสำเร็จการศึกษาไปนั้น ได้ออกไปรับใช้พระศาสนาและสังคมอย่างไรบ้าง อีกทั้งเพื่อต้องการให้เกิดการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นศูนย์ หรือสมาคมขึ้น เพื่อส่งข่าว และให้ความช่วยเหลือกัน

 :25: :25: :25: :25:

ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมามีสำนักปฏิบัติธรรมหลายแห่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบ มส. ในการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะในเรื่องที่จะต้องมีพระวิปัสสนาจารย์อยู่ประจำสำนักปฏิบัติธรรม ทำให้มีหลายแห่งต้องถูกยุบ จึงเห็นว่าปัญหาหนึ่งที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือ การขาดพระวิปัสสนาจารย์ ดังนั้นได้ขอความร่วมมือไปยังเขตการปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายทั้ง 18 ภาค และของฝ่ายธรรมยุตอีก 2 ภาค เปิดศูนย์อบรมพระวิปัสสนาจารย์ ภาคละ 60 รูป รวมทั้งหมด 1,200 รูป เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจะเริ่มเปิดอบรมในช่วงปลายเดือนเม.ย.และเดือนพ.ค.นี้ และอยากขอความร่วมมือยังผู้ที่จบสาขาวิปัสสนาภาวนา ของวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส ไปช่วยเป็นอาสาสมัครช่วยการอบรมในแต่ละศูนย์ด้วย

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันการสอนปฏิบัติธรรมได้รับความนิยมมากทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าการปฏิบัติธรรมทำให้เกิดสติ ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต แม้ว่าจะมีฆราวาสที่เรียนปฏิบัติธรรมเก่งๆ ไปตั้งสำนักเองบ้าง แต่ความต้องการพระวิปัสสนาจารย์ยังมีอยู่อีกมากตามสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607898
11046  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิด “หอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา” ใหญ่สุดภาคเหนือ เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 08:02:16 am







เปิด “หอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา” ใหญ่สุดภาคเหนือ

นายบุญเลิศ เสนานนท์ อดีตหัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ในฐานะนายกสมาคมอนุรักษ์เอกสารโบราณ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมอนุรักษ์เอกสารโบราณ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทริปเยี่ยมชมคัมภีร์ใบลานในภาคเหนือภายหลังการเปิดตัวหอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงคลังเอกสารโบราณภาคเหนือขนาดใหญ่ที่สุด รวมถึง แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมพื้นถิ่นทางภาคเหนือของไทยได้อย่างครอบคลุม

ซึ่งความเป็นมาของการเปิดหอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา เนื่องมาจากนายฮารัลด์ ฮุนดีอุส ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมไทยและลาว มหาวิทยาลัยพัซเซา ประเทศเยอรมนี และหัวหน้าท้องถิ่นโครงการรวบรวมคัมภีร์ใบลาน เริ่มสำรวจคัมภีร์ใบลานล้านนาใน 8 จังหวัดภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ปี 2514-2517 โดยจัดทำไมโครฟิล์ม 40 ม้วน คัดเลือกคัมภีร์ใบลาน 1,350 เรื่อง

 :25: :25: :25: :25:

ต่อมาปี 2519 จัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นปี 2524 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ร่วมสร้างบัญชีรายชื่อ และถ่ายไมโครฟิล์มคัมภีร์ใบลานมากกว่า 4,000 เรื่อง จนปี 2530-2534 นายฮารัลด์ ร่วมกับ ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) เริ่มทำโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณภาคเหนือของไทย ทำให้เกิดสำเนาไมโครฟิล์มกว่า 400 ม้วน ถือเป็นหลักฐานชั้นต้นที่บันทึกธรรมเนียมล้านนาเอาไว้ 4,200 ชิ้น

จนเมื่อปี 2556 จึงเริ่มโครงการหอสมุดดิจิตอลคัมภีร์ใบลานล้านนา 2 ภาษา ไทย-อังกฤษขึ้น ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิเฮนรี่ลิวซ์ นิวยอร์ก ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และมูลมูนิแอนดรูดับเบิลยูเมลล่อน



“การออกตัวของโครงการหอสมุดดิจิตอล ถือเป็นความสำเร็จที่จะช่วยให้นักวิชาการทั่วโลก และไทย เข้าถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในหลายศาสตร์วิชาได้ ทั้งศาสนา วัฒนธรรมท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และอื่นๆ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ โดยภาพรวมในประเทศแม้จะสำรวจ และจัดทำบัญชีรายชื่อของเอกสารโบราณไปแล้ว นับเป็นจำนวนหลายแสนผูก หรือหลายหมื่นเรื่อง แต่งานด้านการถ่ายภาพที่ทำให้เข้าถึงออนไลน์ได้ และทำไปแล้ว มีแค่หลักร้อย จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยนำโครงการภาคเหนือมานำร่องเป็นตัวอย่างการลงสำรวจคัมภีร์โบราณในภาคอื่นๆ ทั้งนี้ เข้าชมเว็บไซต์หอสมุดดิจิตอลได้ที่ http://lannamanuscripts.net” นายบุญเลิศกล่าว


นายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัคราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดห้องสมุดเอกสารโบราณภาคเหนือของไทยในระบบออนไลน์ ถือเป็นความประทับใจของงานวิจัย และงานอนุรักษ์ที่ดำเนินมากว่า 40 ปีก่อน เพราะการที่คนทั่วไปเข้าถึงเอกสารโบราณภาคเหนือของไทยได้ คือความสำเร็จครั้งสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ตนยินดีอย่างยิ่งที่เยอรมนีให้ทุนสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ ทำให้เกิดผลน่าประทับใจ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news/108828
11047  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / น่าเลื่อมใส..สมภารวัดป่ายุบป่วยเดินไม่ปกติแต่ยังนั่งวีลแชร์พัฒนาวัดต่อเนื่อง เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:57:00 am







น่าเลื่อมใส..สมภารวัดป่ายุบป่วยเดินไม่ปกติแต่ยังนั่งวีลแชร์พัฒนาวัดต่อเนื่อง

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านเลื่อมศรัทธา สมภารวัดป่ายุบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พระนักพัฒนาที่ไม่ย่อท้อต่อสังขารแม้ป่วยด้วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จนเดินไม่ปกติแต่ใจยังสู้นั่งวีลแชร์พัฒนาบูรณะวัด หวังนำพาสู่ความเจริญ ถือเป็นต้นแบบสงฆ์ที่ดี
       
       วันนี้ (18 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังวัดป่ายุบ หมู่ 5 ซอยบ่อนไก่ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังได้รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่ว่า มีพระผู้เฒ่าวัย 60 ปี ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าอาวาสของวัด ที่แม้ว่าจะล้มป่วยด้วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจนไม่สามารถเดินได้อย่างปกติมานานกว่า 4 เดือนและต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถวีลแชร์ไฟฟ้าที่ญาติโยมนำมาถวาย แต่ก็ยังคงปฏิบัติภารกิจดูแลความสะอาดภายในวัดอย่างต่อเนื่อง

       

       โดยแต่ละวัดพระรูปดังกล่าวจะใช้เหล็กแหลมเสียบถุงพลาสติกและขยะมูลฝอย ที่ญาติโยมทิ้งเกลื่อนพื้นวัดเพื่อนำไปทิ้งถังขยะ
       
       อีกทั้งยังนำป้ายข้อความที่ระบุให้ประชาชนช่วยกันรักษาความสะอาดติดทั่ววัด และในบางวันยังใช้อุปกรณ์ช่างออกซ่อมแซมตัวฉีดน้ำภายในวัดเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่พื้นดิน ภาพดังกล่าวได้สร้างความประทับใจจนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่ญาติโยมที่เข้ามาทำบุญภายในวัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก

       

       เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางไปถึงวัด ก็ได้พบกับ พระครูสังฆการบุรพทิศ พระผู้เฒ่าซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชน พร้อมทั้งยังเล่าให้ฟังว่าเดิมท่านเป็นพระลูกวัดสัตหีบ และได้ย้ายมาจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่ายุบตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งในขณะนั้นยังเต็มไปด้วยผืนป่าไม่มีแม้กระทั่งโบสถ์ แต่ด้วยความรักในพระพุทธศาสนา และมุ่งหวังจะให้วัดเกิดความเจริญ จึงเดินหน้านำพาประชาชนและญาติโยมในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาบูรณะวัดตามสรรพกำลังที่มี
       
       กระทั่งในปี 2552 จึงได้ริเริ่มก่อสร้างโบสถ์เรือนไม้สักทอง ที่มีมูลค่าถึง 21 ล้าน จนกลายที่ชุมนุมสงฆ์และศูนย์รวมของประชาชนในปัจจุบัน


       
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000039413
11048  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวบ้านร้อง วัดวังยาวสามัคคีธรรม หวั่นกรรมการวัดไม่โปร่งใส ผ่านผู้หญิงคนเดียว เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:51:35 am





ชาวบ้านร้อง วัดวังยาวสามัคคีธรรม หวั่นกรรมการวัดไม่โปร่งใส ข้องใจผ่านผู้หญิงคนเดียว

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 59 ที่วัดวังยาวสามัคคีธรรม ม.10 ต.บ้าน่า อ.เมืองพิษณุโลก คณะสงฆ์ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สำนักงานพุทธศาสนาจังหวดพิษณุโลก เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตลอดทั้งผู้สังเกตการณ์ร่วมรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน โดยมีพระครูประภากรชัยกิจ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  เพื่อรับฟังปัญหาต่างๆที่ชาวบ้านได้ร้องเรียนไปก่อนหน้านี้

ในที่ประชุมมีนายลูกคิด เพียงต่อ ผู้ใหญ่บ้าน ม.10  อบต. ผู้นำชุมชน พร้อมลูกบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำหนังสือให้ทางวัดชี้แจงเกี่ยวกับการตั้งบุคคลภายนอกมาคณะกรรมการวัด การเงินไม่โปร่งใส ตลอดทั้งการติดต่อขอยืมสิ่งของจากวัดต้องผ่านผู้ดูแล ซึ่งเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว ทำให้ไม่สะดวก จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านไม่เข้าวัด


 :96: :96: :96: :96:

ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์ได้ให้แต่ละฝ่ายชี้แจง แก้ข้อกล่าวหา ซึ่งใช้เวลานานหลายชั่วโมง โดยได้ข้อสรุป ขอให้ทางวัดจัดตั้งคณะกรรมใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง พร้อมให้หญิงที่ถูกกล่าวหาไม่ให้เกี่ยวข้องกับทางวัดอีกต่อไป พร้อมกันนี้ทางคณะสงฆ์ได้ให้เวลาอีก 4 เดือน หากไม่มีปัญหาอะไร พระอธิการพิสิทธิ์ วรสทฺโท เจ้าอาวาสวัดวังยาวสามัคคีธรรมดูแลบริหารวัดต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460988679
11049  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดมอบวัตถุโบราณ ให้กรมศิลปฯศึกษา เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:47:37 am





วัดมอบวัตถุโบราณ ให้กรมศิลปฯศึกษา

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. พระครูศุภกิตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนางตรา หมู่ 3 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ภายหลังจากวัดมีการขุดปรับพื้นที่หน้าวัดเพื่อก่อสร้างอนุสาวรีย์พ่อจ่าดำ และพบวัตถุโบราณ เป็นไหโบราณ และฐานศิวลึงศ์โบราณ อายุนานกว่า 1,000 ปี ก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ที่วัดก่อนนั้น

โดยมีชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างแห่มาชมกันเป็นจำนวนมากจนแน่นวัดทุกวัน โดยทางนายอาณัติ บำรุงวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ระบุว่าวัตถุโบราณชิ้นนี้ยังมีความสมบูรณ์และลวดลายมีความชัดเจนมาก มีความเก่าแก่มากอาจเป็นชิ้นสำคัญของภาคใต้โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเจริญรุ่งเรืองของพราหมณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-12

พระครูศุภกิตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนางตรา กล่าวอีกว่า เนื่องจากวัตถุที่พบเป็นวัตถุโบราณอายุกว่า 1,000 ปี เกรงว่าหากเก็บรักษาไว้ที่วัดอาจจะเกิดความไม่สะดวกขึ้นได้ จึงแจ้งให้ทางนายอาณัติ บำรุงวงศ์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช มารับมอบไหโบราณ ฐานศิวลึงค์โบราณและพระพิมพ์โบราณทั้งหมดเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ค่ำวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ นอภ.ท่าศาลา, นายสุรินทร์ สุกสาน ผญบ.หมู่ 3 ต.ท่าศาลาและตัวแทนทหารจาก มทบ.41กองทัพภาคที่ 4 มาเป็นสักขีพยานในการรับมอบ เพื่อนำไปเก็บรักษาและศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัตถุโบราณดังกล่าวต่อไป.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607191
11050  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 'ชาวเชียงของ' ร่วมพิธีสมโภชแม่น้ำโขง ปัดเป่าสิ่งไม่ดีพ้นแม่น้ำ เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:44:29 am






'ชาวเชียงของ' ร่วมพิธีสมโภชแม่น้ำโขง ปัดเป่าสิ่งไม่ดีพ้นแม่น้ำ

ชาวเชียงของ ร่วมขบวนเรือเจริญพระพุทธมนต์สมโภชแม่น้ำโขง ปัดเป่าสิ่งไม่ดีพ้นแม่น้ำ ขณะที่ ปธ.กลุ่มรักษ์เชียงของ เผย นโยบายมุ่งลงทุนของจีน สร้างผลกระทบมากมายต่อวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำโขง ที่ต้องร่วมกันทบทวน

เมื่อวันที่ 18 เม.ย.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณริมแม่น้ำโขง บ้านหาดไคร้ ถึงบริเวณบ้านหัวเวียง ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้จัดขบวนเรือเจริญพระพุทธมนต์สมโภชแม่น้ำโขงเพื่อความอุดมสมบูรณ์ และการจัดงานแข่งเรือพาย ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานวันสงกรานต์ ของอำเภอเชียงของ โดยแห่ขบวนเรือกลางลำน้ำโขงกว่า 40 ลำ นำโดย นายวัชรินทร์ นิ่มประทุม นายอำเภอเชียงของ นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการ กสม.ฝ่ายสงฆ์ นำโดย พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ามศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย พระสงฆ์กว่า 50 รูป สวดมนต์กลางลำน้ำโขง การลอยกระทงดอกไม้ และพิธีกรรมทางพุทธศาสนา โดยมีประชาชนเข้าร่วมและชมการแข่งเรือ และการแห่ขบวนเรือชาวเรือ กว่า 1,000 คน ทั้งบนเรือและยืนชมอยู่ริมน้ำบริเวณท่าผาถ่าน ทั้งนี้มีขบวนเรือของประชาชนและของหน่วยงานต่างๆ ได้ประดับตุงทุกลำและจัดรูปขบวนอย่างสวยงาม เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงซึ่งเป็นครั้งแรกที่ชุมชนเชียงของได้ร่วมจัดกิจกรรมนี้


 :96: :96: :96: :96: :96:

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า การจัดงานในวันนี้ เพื่อให้เห็นว่าคนท้องถิ่น มีความเคารพแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงและให้ประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่น โดยในช่วงบ่ายมีพระสงฆ์ และชาวบ้าน ร่วมกันลอยกระทง โปรยข้าวตอกดอกไม้ เป็นเคล็ดของคนท้องถิ่นที่เชื่อว่าจะทำให้สิ่งไม่ดีไม่งาม สิ่งชั่วร้ายที่ทำให้แม่น้ำโขงเจ็บป่วย หายไปไม่มาย่างกราย และต้องการเรียกร้องให้คนที่มุ่งในการพัฒนาแม่น้ำโขง ได้ตระหนักถึงความหวงแหนแม่น้ำโขงของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงแห่งนี้

นายนิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เข้ามาในลุ่มน้ำโขง คือปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนของจีน ซึ่งเรื่องจีนนี้หากเรามองภาพใหญ่ตลอดสิบกว่าปีผ่านมาเห็นแล้วว่า จีนผลักดันนโยบายมุ่งลงใต้อยู่ตลอดเวลา เป็นยุทธศาสตร์ของเขา one belt one road จึงมองว่าการลงมาของจีนเป็นเรื่องที่มีผลต่อประเทศท้ายน้ำแน่นอน ทั้งการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง การระเบิดแก่งเปิดทางให้การเดินเรือ การกว๊านซื้อหรือเช่าที่ทำแปลงเกษตรขนาดใหญ่ หรือเช่าที่ดิน ระยะยาวทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ

"เขาลงมาทางบกและทางน้ำ มันจะเกิดผลดีผลเสียมากมาย เราเห็นว่าเป็นการค้าเขาเข้ามาร่วมกับทุนในประเทศในด้านเศรษฐกิจ แต่มีผลกระทบคนข้างล่าง ระดับชาวบ้าน ชุมชนในท้องถิ่น หลายเรื่องอย่างเห็นได้ชัดเจน" นายนิวัฒน์ กล่าว.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607286
11051  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปิดฉากสงกรานต์หนองคาย คนนับพันอัญเชิญ 'หลวงพ่อพระใส' กลับอุโบสถ เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:41:58 am








ปิดฉากสงกรานต์หนองคาย คนนับพันอัญเชิญ 'หลวงพ่อพระใส' กลับอุโบสถ

ชาวหนองคายนับพัน ร่วมกันอัญเชิญ "หลวงพ่อพระใส" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานบนพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย ปิดฉากงานสงกรานต์อีสานหนองคาย อย่างเป็นทางการ

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 18 เม.ย. 59 ที่วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อ.เมืองหนองคาย นายสุชาติ นพวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และ พระราชรัตนาลงกรณ์ เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีอัญเชิญ หลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวหนองคาย ออกจากศาลาพลับพลา แห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ ก่อนอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระอุโบสถเช่นเดิม หลังจากได้อัญเชิญลงจากพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ให้ประชาชนชาวหนองคาย และนักท่องเที่ยวสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีประชาชนชาวหนองคายนับพันคนร่วมพิธี เพราะนอกจากจะได้สรงน้ำ หลวงพ่อพระใส แล้ว ยังถือเป็นการเล่นน้ำส่งท้ายสงกรานต์ด้วย



ประชาชนชาวหนองคายนับพันคนร่วมพิธีอัญเชิญ หลวงพ่อพระใส ออกจากศาลาพลับพลา แห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ

หลังแห่เสร็จจึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระอุโบสถเช่นเดิม


ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชาวหนองคายจะอัญเชิญ หลวงพ่อพระใส ลงจากพระอุโบสถ เป็นองค์พระประธานพระพุทธรูปจากคุ้มต่างๆ แห่รอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำอย่างทั่วถึงเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันที่ 13-18 เม.ย. ก่อนจะอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระอุโบสถเช่นเดิม เป็นการปิดฉากงานสงกรานต์อีสานหนองคายอย่างเป็นทางการ.

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607255
11052  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวสุพรรณนับหมื่นแห่วางศิลาฤกษ์มณฑป 'หลวงพ่อแก้ว' วัดใหม่นพรัตน์ เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:38:57 am





ชาวสุพรรณนับหมื่นแห่วางศิลาฤกษ์มณฑป 'หลวงพ่อแก้ว' วัดใหม่นพรัตน์

ชาวบ้านเกือบหมื่นคน แห่วางศิลาฤกษ์มณฑป 'หลวงพ่อแก้ว' อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์ ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้ ปชช.สักการบูชา เผย ท่านเป็นพระหมอรักษาได้สารพัดโรค จนชาวบ้านขนานนามว่า 'แก้วสารพัดนึก' ทั้งสร้างคุณงามความดีต่างๆ มากมาย จนเป็นที่เลื่อมใส

เมื่อวันที่ 18 เม.ย.59 พระครูวิบูลกิตติวัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดวิมลโภคาราม เป็นประธานวางศิลาฤกษ์มณฑปประดิษฐานหลวงพ่อแก้วอดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์ โดยมีพระครูพิพิธพัฒนคุณ (หลวงพ่อแบน)เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พร้อมด้วยนายสัมฤทธิ์ ตันติเกษตรกิจ ผู้ใหญบ้าน ต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง ประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนเกือบหมื่นคนร่วมงาน ซึ่งทางวัดสร้างขึ้นโดยเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป



พิธีวางศิลาฤกษ์มณฑปประดิษฐานหลวงพ่อแก้ว

หลวงพ่อแก้วอดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่นพรัตน์

เข้าแถวรับพรมน้ำมนต์

ประชาชนจำนวนมากมาร่วมในพิธี


สำหรับหลวงพ่อแก้วนั้น เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2491 ปัจจุบัน 68 ปี ท่านเป็นพระหมอที่คอยรักษาได้สารพัดโรค ที่โด่งดังมากคือโรคพิษสุนัขบ้า และผู้ที่ถูกงูพิษกัดต่างๆ เนื่องจากเมื่อก่อน โรงพยาบาลอยู่ห่างไกลชาวบ้านจึงมาให้หลวงพ่อรักษา จนได้ขนามนามว่า 'แก้วสารพัดนึก' ทางวัดจึงจัดสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนสักการบูชา มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร วัดใหม่นพรัตน์เดิมชาวบ้านเรียกว่า (วัดดอนกลาง) เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญของหมู่บ้าน ภายในวัดมีเสนาสนะ ปูชนียวัตถุ และโบราณวัตถุ สำคัญ อาทิ หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ และเจดีย์หลวงพ่อแก้ว โดยอดีตเจ้าอาวาสเป็นพระนักพัฒนาที่สร้างความเจริญให้แก่วัดและหมู่บ้าน พร้อมช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจายสืบต่อไป.

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607395
11053  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / หนุ่มใหญ่ ถวาย 'ลูกวัวกระทิง' ให้วัดท่าไม้ เผย ศรัทธาในเจ้าอาวาส เมื่อ: เมษายน 19, 2016, 07:35:03 am







หนุ่มใหญ่ ถวาย 'ลูกวัวกระทิง' ให้วัดท่าไม้ เผย ศรัทธาในเจ้าอาวาส

หนุ่มใหญ่ถวาย 'ลูกวัวกระทิง' ให้วัดท่าไม้ เผย ไม่คิดจะขาย แต่เลื่อมใสศรัทธาชื่อเสียงของเจ้าอาวาสวัดท่าไม้ จึงตัดสินใจมอบให้วัดดูแล ด้านเจ้าอาวาสวัด แจง ตั้งใจเลี้ยงไว้เป็นวิทยาธาน เผย ตั้งแต่มาอยู่วัดชอบกินกล้วย และไม่ดุร้าย

เมื่อวันที่ 18 เม.ย.59 ผู้สื่อข่าวได้รับทราบว่า มีผู้นำลูกวัวกระทิง ซึ่งเป็นสัตว์ลูกผสมที่เกิดจากแม่วัวไทยผสมพันธุ์กับพ่อกระทิงป่า มาถวายให้แก่พระครูปลัดสุวัฒนดิลกคุณ หรือ พระอาจารย์อุเทนสิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จึงได้เดินทางไปตรวจสอบ ก็พบกับเจ้าอาวาสวัดท่าไม้ กำลังให้กล้วยแก่ลูกวัวกระทิงที่บริเวณคอกวัวของวัดท่าไม้ โดยลูกวัวกระทิงตัวนี้ อายุ 4 ปีเศษ เพศผู้มีลักษณะแข็งแรง ลำตัวใหญ่ขนสีดำมันวาว ยกเว้นที่บริเวณสันหลังจะออกเป็นสีน้ำตาลแนวยาว และที่หน้าผากมีขนสีเทาอ่อนขึ้นเป็นวงรีคล้ายกับรูปหัวใจ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม เมื่อผู้ที่มาร่วมทำบุญที่วัดท่าไม้ ทราบว่ามีลูกวัดกระทิงมาอยู่ที่วัดก็ได้มาดูกันอย่างต่อเนื่อง และต่างก็บอกว่า ลูกวัวกระทิงตัวนี้สวยและสง่างามมาก



ลูกวัวกระทิงตัวนี้ เพศผู้ อายุ 4 ปีเศษ


นายสุธิชัย เสดวงชัย อายุ 36 ปี เจ้าของลูกวัวกระทิงที่ได้เป็นผู้ถวายให้แก่เจ้าอาวาสวัดท่าไม้ และเดินทางมาส่งเจ้าลูกวัวกระทิงถึงที่อยู่ใหม่ พร้อมทั้งเผยว่า เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ตนได้นำฝูงวัวประมาณ 40 – 50 ตัวไปเลี้ยงแบบปล่อยไว้ในชายป่าของหมู่บ้านและจะให้อยู่ประมาณ 1 อาทิตย์จึงจะขึ้นไปดูสักครั้ง มีอยู่วันหนึ่งตนขึ้นไปดูฝูงวัวก็พบว่า มีกระทิงป่าเพศผู้ตัวหนึ่งเข้ามาอยู่ในฝูงวัวด้วยจากนั้นไม่นานก็มีแม่วัวหนึ่งตัวตั้งท้องและตกลูกออกมา เป็นเจ้าลูกวัวกระทิงตัวนี้ที่ได้นำมาถวายให้วัดท่าไม้ซึ่งลูกวัวกระทิงตัวนี้ตนเองได้เลี้ยงมาโดยไม่คิดที่จะขาย เพราะเห็นว่าเป็นสัตว์พิเศษที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างแม่วัวกับพ่อกระทิงป่า แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในชื่อเสียงของเจ้าอาวาสวัดท่าไม้ จากที่เคยได้ยินแม้จะไม่เคยได้มีโอกาสพบท่านมาก่อน จึงได้ขอถวายลูกวัวกระทิงตัวนี้ให้กับท่าน เพื่อให้ท่านนำมาเลี้ยงไว้ ส่วนตนเองถ้ามีเวลาว่างก็จะลงมาเยี่ยมลูกวัวกระทิงเรื่อยๆ

ตั้งแต่ลูกวัวกระทิงมาอยู่วัดก็ชอบกินกล้วยมาก


ด้านพระครูปลัดสุวัฒนดิลกคุณ หรือ พระอาจารย์อุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้ กล่าวว่า เมื่อได้รับลูกวัวกระทิงตัวนี้มาดูแลแล้วก็ตั้งใจที่จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ผู้ที่มาทำบุญที่วัดท่าไม้ได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวัวกระทิง แต่ทั้งนี้ก็จะต้องสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนว่าทางวัดสามารถเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างวัวกับกระทิงไว้ได้หรือไม่ ถ้าสามารถเลี้ยงไว้ได้ก็ถือว่าเป็นบุญที่ได้ทำร่วมกันมาและยังเป็นการสร้างเสริมบุญด้วยการให้คนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัวกระทิงอีก ด้วยส่วนความพิเศษของเจ้าลูกวัวกระทิงตัวนี้ คือ เมื่อตอนที่ถูกเลี้ยงอยู่กับเจ้าของเดิมนั้น ก็จะกินหญ้าตามธรรมชาติแต่เมื่อมาอยู่ที่วัดท่าไม้นั้น ทางลูกศิษย์ให้หญ้าจะไม่กินเลยแต่เมื่อให้กล้วยจะกินด้วยความเอร็ดอร่อย และไม่มีท่าทีดุร้ายน่ากลัวแต่อย่างใด.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607404
11054  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ห่วงคนไทย เหตุแผ่นดินไหว เปิดวัดปากน้ำญี่ปุ่น ช่วยเหลือ เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:50:04 am



ห่วงคนไทย เหตุแผ่นดินไหว เปิดวัดปากน้ำญี่ปุ่น ช่วยเหลือ

"สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ห่วงคนไทยประสบภัยแผ่นดินไหว เปิดวัดปากน้ำ ญี่ปุ่น ศูนย์ช่วยเหลือที่พัก อาหาร ด้านกงสุลไทย นำนักเรียนไทยกว่า 20 คน เข้าพักที่วัดแล้ว

วันนี้ (17 เม.ย.) นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินในเกาะคิวชู จังหวัดคุมาโมโตะ ของประเทศญี่ปุ่น สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนเป็นอย่างมาก ส่งผลใหนักเรียนไทยและคนไทย ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ไร้ที่พักอาศัย ซึ่งความทราบถึง สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จึงได้สั่งการให้เปิดวัดปากน้ำ ญี่ปุ่น จังหวัดชิบะ ให้นักเรียนไทยและชาวไทย ได้พักอาศัย

ซึ่งตนได้รับทราบจากกงสุลไทย ประจำประเทศญี่ปุ่นว่า ในวันนี้(17 เม.ย.) ทางกงสุลจะพานักเรียนประมาณ 20 คน เข้าพักยังวัดปากน้ำ ญี่ปุ่น โดยพื้นที่วัดปากน้ำ ญี่ปุ่น สามารถรองรับคนได้กว่า 200 คน "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ท่านมีเมตตาและห่วงใยนักเรียนไทย และคนไทย ที่ประสพภัยแผ่นดินไหว เป็นอย่างมาก จึงมีดำริให้คณะสงฆ์วัดปากน้ำ ญี่ปุ่น ใช้วัดเป็นศูนย์ช่วยเหลือคนไทย ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเป็นที่พัก บริการอาหารแก่ คนไทยที่ประสบภัย ซึ่งเมื่อครั้งเกิดแผ่นไหว และสึนามิครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น ปี 2554 วัดปากน้ำ ญี่ปุ่น แห่งนี้ ก็ได้ใช้เป็นศูนย์ช่วยเหลือคนไทย และคนญี่ปุ่นด้วย" ผอ.พศ. กล่าว.



ขอบคุณข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/392196
11055  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อุ้มหลวงพ่อดำ วัดหลวงพ่อสีชมพู สรงน้ำท่าจีน เชื่อทำให้ไม่แล้ง เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:47:19 am





อุ้มหลวงพ่อดำ วัดหลวงพ่อสีชมพู สรงน้ำท่าจีน เชื่อทำให้ไม่แล้ง

ชาวศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ร่วมงานประเพณีอุ้ม "หลวงพ่อดำ" พระเก่าแก่คู่วัดหลวงพ่อสีชมพู สรงนํ้าในแม่น้ำท่าจีน เชื่อทำให้ไม่เจอภัยแล้ง ฝนตกตามฤดูกาล

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 59 ที่วัดเถรพลาย (วัดหลวงพ่อสีชมพู) ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี จัดงานประเพณีอุ้มพระสรงนํ้า ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ปฏิบัติกันมายาวนานกว่า 300 ปี โดยมี พระครูวิสุทธิรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสเป็นประธาน มีชาวบ้านกว่า 500 คน เข้าร่วมในพิธี ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน มีการรำวงย้อนยุค แต่งกายด้วยเสื้อผ้าลายดอกสวยสด และมีการสรงน้ำพระ รวมถึงสาดน้ำเล่นสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน


งานประเพณีอุ้มพระสรงนํ้าที่วัดเถรพลาย จ.สุพรรณบุรี อุ้มหลวงพ่อดำไปสรงน้ำ

ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวศรีประจันต์ ที่สืบต่อกันคือ การอุ้มหลวงพ่อดำลงแม่น้ำท่าจีน ที่เป็นเสมือนสายน้ำเส้นเลือดใหญ่ของชาวสุพรรณบุรี โดยมีชาวบ้านจากทั่วสารทิศแห่เดินทางมาร่วมงานอุ้ม หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปเก่าแก่คู่วัดที่พบในวิหารเก่าสมัยอยุธยาตอนกลาง ลงไปสรงน้ำในแม่น้ำท่าจีนเพื่อความเป็นสิริมงคล

ทั้งนี้ หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย เศียรทำด้วยไม้มงคล อายุเก่าแก่กว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกค้นพบอยู่ในเจดีย์เก่าของวัดเถรพลาย ทางวัดได้นำมาบูรณะเมื่อปี 2555 เพื่อให้มีความสมบูรณ์ดังเดิม และนำไปประดิษฐานไว้ในวิหารของวัดเถรพลาย มีชาวบ้านมากราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่กับวัด เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั้งใกล้และไกล


การอุ้มหลวงพ่อดำลงแม่น้ำท่าจีน เป็นประเพณีอันดีงามของชาวศรีประจันต์ ที่สืบต่อกัน เพื่อความเป็นศิริมงคล

สำหรับการอุ้มพระสรงน้ำ เป็นประเพณีเก่าแก่ของวัดที่สืบทอดกันมายาวนาน โดยชาวบ้านจะช่วยกันอุ้ม หลวงพ่อดำ ส่งต่อกันไปเป็นแถวยาวจนถึงแม่น้ำท่าจีน ที่อยู่ริมตลิ่งวัด จากนั้นชาวบ้านและผู้นำชุมชนจะเป็นคนอุ้ม หลวงพ่อดำ ลงไปสรงน้ำจำนวน 3 ครั้ง ในแม่น้ำท่าจีน โดยเป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อไม่ให้แล้งและฝนตกต้องตามฤดูกาล.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606938
11056  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวลาวแห่ข้ามโขงเที่ยว 'สงกรานต์เชียงแสน' คึกคัก ตม.เข้มยาเสพติด เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:43:49 am





ชาวลาวแห่ข้ามโขงเที่ยว 'สงกรานต์เชียงแสน' คึกคัก ตม.เข้มยาเสพติด

บรรยากาศเทศกาลสงกรานต์ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ยังคงคึกคัก ปชช.ทั้งไทยและลาว รวมไปถึงชนเผ่าต่างๆ เดินทางมาร่วมงาน หลายคนนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงเพื่อมาพบญาติ ด้าน ตม.คุมเข้มสารเสพติด...

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 59 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ วันที่สองของงานมหาสงกรานต์เมืองเชียงแสน จ.เชียงราย นักท่องเที่ยวเริ่มหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวงานสงกรานต์แต่เช้า ทำให้การเล่นน้ำสงกรานต์สนุกสนาน ชาวลาวที่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง แห่ข้ามแม่น้ำโขงจากประเทศลาว เข้ามาเที่ยวเล่นน้ำสงกรานต์ โดยมีญาติๆ มารอรับบริเวณ ด่านพรมแดนกันอย่างคึกคัก และชาวเขาหลายชนเผ่าที่พากันมาจากจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ ได้นำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เช่น ม้านั่งหวาย ขันโตกหวาย มาจำหน่ายในราคาถูก ถนนริมโขงตั้งแต่สามแยกหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน ไปจนถึงหน้า นรข.เขตเชียงราย มีการตั้งถังน้ำสูบน้ำโขงขึ้นมาเล่นสาดกันกับนักท่องเที่ยวที่เดินผ่านจนเปียกชุ่มฉ่ำ



นายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเชียงแสน กล่าวว่า สงกรานต์เมืองเชียงแสนปีนี้ มีนักท่องเที่ยวและพี่น้องชาวลาวข้ามแม่น้ำโขงมาเที่ยวชมขบวนแห่พระพุทธรูป พระเจ้าทองทิพย์ พระเจ้าทันใจ พระคู่บ้านคู่เมืองเชียงแสน และสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งแต่ละขบวนถูกตกแต่งอย่างสวยงาม โดยแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนสองฟากถนน เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว เบียดเสียดกันเข้าชมความงดงามของขบวนแห่ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว ขณะที่ขบวนแห่ผ่าน นักท่องเที่ยวก็จะรดน้ำให้กับผู้อยู่ในขบวน เพื่อเป็นการคลายร้อน และเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนได้นำรถดับเพลิงออกฉีดพ่นน้ำในอากาศ เพื่อลดอุณหภูมิที่สูงถึง 38 องศาเซลเซียส


นายพินิจ กล่าวต่อว่า ปีนี้มีสาวงามเข้ามาสมัครประกวดชิงตำแหน่งเทพีสงกรานต์เมืองเชียงแสนกันอย่างคึกคักกว่า 20 สาวงาม โดยในวันที่ 18 จะมีการประกวดเทพีสงกรานต์เมืองเชียงแสน และการแข่งเรือชิงชัยประเภท 22 และ 30 ฝีพาย ซึ่งในเช้าวันนั้นจะมีชนเผ่าหลายชนเผ่านั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงมารอพบญาติเป็นเรือนหมื่นที่รออยู่ที่อำเภอเชียงแสน นับว่าเป็นภาพของการพบญาติอย่างแท้จริง


พ.ต.ท.จีรศักดิ์ ไล้ทองคำ สว.ด่าน ตม.เชียงแสน และ ร.ต.อ.หญิงรุ่งจิตร งามเลิศ รอง สว.ด่าน ตม.เชียงแสน มาอำนวยความสะดวก ให้กับผู้เดินทางผ่านเข้าออกที่ด่านพรมแดนไทยลาว กล่าวว่าในวันพรุ่งนี้จะมีพวกชนเผ่าหลายชนเผ่าที่อยู่หลายหมู่บ้านในประเทศลาว จะพานั่งเรือข้ามแม่น้ำโขง มาขึ้นที่ด่าน ตม. เพื่อพบญาติที่อยู่ประเทศไทย ซึ่งนัดพบกันที่เชียงแสน แล้วมีจัดโต๊ะอาหารเลี้ยงฉลอง ทั้งนี้ ทาง ตม.เชียงแสน ก็ได้จัดเฝ้าคุมเข้มระวังในเรื่องยาเสพติดอยู่ด้วย


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606885
11057  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวขลุง สืบสานประเพณีกว่า 100 ปี 'ชักเย่อเกวียนพระบาท' เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:39:16 am





ชาวขลุง สืบสานประเพณีกว่า 100 ปี 'ชักเย่อเกวียนพระบาท'

ชาวอำเภอขลุง จ.จันทบุรี ร่วมสืบสาน"ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท" เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่หาชมได้ยากตามความเชื่อแต่โบราณ กว่า 100 ปี หลังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม...

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 17 เม.ย.59 ที่ลานวัดตะปอนใหญ่ ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ได้จัดให้มีประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ในงานสืบสานประเพณีรอยพระบาท โดย นายกาญจน์ กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.ขลุง ผู้นำชุมชน ตลอดจนชาวบ้าน ต.ตะปอน และ ตำบลใกล้เคียง พร้อมใจกันเข้าร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ที่หาชมได้ยากตามความเชื่อแต่โบราณ กว่า 100 ปี กันอย่างคักคึก



ทั้งนี้ เพื่อร่วมอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก อีกทั้งเป็นความเชื่อ และความศรัทธาของคนในพื้นที่ ที่ว่าหากใครได้ลากจูง หรือ ชักเย่อเกวียนพระบาท จะประสบแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้า ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประเพณีแห่พระบาทชักเย่อ เป็นความเชื่อ ความศรัทธาของชาว ต.ตะปอน และตำบลใกล้เคียง ที่ปฏิบัติสืบทอดมาเป็น 100 ปี โดยหากย้อนไปเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ต.ตะปอน เกิดทุกข์เวทนาแสนสาหัส นาข้าวแห้งแล้ง เกิดโรคห่าระบาด จนหมดทางแก้ไข หลวงพ่อพร้อมชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนำรอยพระบาทผ้าออกแห่ไปทั่วตำบล ส่งผลให้เกิดปาฏิหาริย์ เกิดฝนตก โรคร้ายที่กำลังระบาดก็หยุดไป

จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา ที่เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวตะปอน จะต้องน้ำรอยผ้าพระบาทขึ้นเกวียน แห่ไปรอบตำบล แล้วแยกย้ายกันนำผ้าพระบาท ไปทำบุญตามหมู่บ้าน จนไปสิ้นสุด วันสุดท้ายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี นับว่าเป็นตำบล ที่ทำบุญสงกรานต์มาราธอนยาวนานที่สุดในประเทศไทย



นายกาญจน์ กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.ขลุง เปิดเผยว่า ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ปี พ.ศ.2558 โดยกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน-เกวียนหัก ได้อนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชักกะเย่อเกวียนพระบาท โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ในการถ่ายทอดประเพณีที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ให้กับลูกหลาน ชาว อ.ขลุง ได้สืบทอดต่อไป ซึ่งในการร่วมชักเย่อเกวียน แต่ละครั้งมักได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ ไปจนถึงลูกหลาน เข้าร่วมกิจกรรม ถือเป็นแบบอย่างของความสามัคคีของคนในชุมชน ที่ ต.ตะปอน และ ต.เกวียนหัก ยังคงให้เห็นภาพเหล่านั้นในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในแต่ละปี ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ได้รับความสนใจจากชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2517 ได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้น มีการส่งทีมเข้าร่วม ทั้งผู้สูงอายุ หนุ่ม-สาว เด็กนักเรียน โดยไม่มีการจำกัด ส่งผลให้ให้ชุมชนเกิดความเข็มแข็ง ซึ่งในปีนี้ นอกจากทีมผู้สูงอายุจากชาวบ้านในพื้นที่ แข่งขันร่วมกับทีมสื่อมวลชน จันทบุรี แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสานสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา ในประเพณีที่มีมาแต่ช้านาน โดยมีชาวชุมชนตะปอน และใกล้เคียง ต่างพาลูกหลานเข้าร่วมประเพณีอันดีงามกันอย่างมากมาย.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607037
11058  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวพุทธมาเลย์ นำผ้าพระบฏแห่รอบพระบรมธาตุเมืองนคร สร้างมงคลชีวิต เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:36:31 am





ชาวพุทธมาเลย์ นำผ้าพระบฏแห่รอบพระบรมธาตุเมืองนคร สร้างมงคลชีวิต

พุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซีย กว่า 1,500 คน เดินทางร่วมแห่ผ้าพระบฏรอบองค์พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เชื่อ สักการะครบ 9 ครั้ง ชีวิตรุ่งเรือง ขณะบางส่วนนำบุตรหลานมาบวช ก่อนกลับไปจำวัดที่มาเลย์

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 59 นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 15-16 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวมาเลเซียที่นับถือศาสนาพุทธ จากรัฐปีนัง เคดาห์หรือไทรบุรี และเปอร์ลิส ซึ่งเดินทางด้วยรถบัส รถตู้ และรถยนต์ส่วนบุคคล ประมาณ 1,500 คน เดินทางมายังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อกราบไหว้สักการะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ หรือพระบรมธาตุเมืองนคร โดยมีการนำผ้าพระบฏผืนยาวสีเหลือง ที่เขียนชื่อ-นามสกุลของตนเอง เดินเป็นริ้วขบวนจากลานโพธิ์แห่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และภายในวิหารทับเกษตร รวมทั้งสักการะพระพุทธรูปภายในวิหารทรงม้า และร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว



นอกจากนี้ ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ได้พาบุตรหลานกว่า 30 คน มาบรรพชาอุปสมบทที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ด้วย ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี หลังจากบรรพชาอุปสมบทแล้วก็จะเดินทางกลับไปจำวัดที่วัดต่างๆ ในประเทศมาเลเซียต่อไป


ทั้งนี้ ชาวมาเลเซียดังกล่าว ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนและเชื้อสายไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือของมาเลเซีย มีความตั้งใจเดินทางมาทำบุญที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ด้วยพลังของความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่ละคนมีความเชื่อว่า ถ้าได้กราบไหว้สักการะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ปีละครั้ง ในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. จนครบ 9 ครั้ง จะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง เจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ มีโชคลาภ และชีวิตครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งถือเป็นประเพณีและความเชื่อที่คนกลุ่มดังกล่าวได้ปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี.

ขอบคุณภาพข่าวจาก
ภาพจาก : สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
http://www.thairath.co.th/content/606772
11059  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนฯ เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:33:11 am





ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนฯ

ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม พร้อมทั้ง โกศไม้สิบสอง และรับพระราชานุเคราะห์ 7 วัน ทั้งนี้จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลหลังวันที่ 23 เม.ย …

ภายหลังจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มรณภาพลงด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุ 86 ปี พรรษา 64 เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะสงฆ์ และศิษยานุศิษย์ นำสรีระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เคลื่อนออกจากโรงพยาบาลกรุงเทพมาประกอบพิธีสรงน้ำศพและบำเพ็ญกุศลศพ ณ ศาลาเศรษฐีทอง วัดสุทัศนเทพวรารามฯ โดยมีพระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต) รักษาการเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประธานนำคณะสงฆ์ขอขมากรรมและสรงน้ำศพ จากนั้นนางประนอม คงพิกุล รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และผู้บริหาร พศ. ร่วมสรงน้ำ ซึ่งทางวัดได้เปิดให้ข้าราชการ ศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชน สรงน้ำศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จนถึงในเวลา 16.30 น.

 :25: :25: :25: :25:

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องเกียรติยศประกอบศพตามสมณศักดิ์ ประกอบด้วย น้ำหลวงสรงศพ ไตรครอง โกศไม้สิบสอง ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน ทั้งนี้ พระพรหมดิลก เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้ง พระธรรมรัตนดิลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามฯ และเจ้าคณะภาค 4 เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามฯ โดยมีพิธีมอบตราตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามฯ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา

ด้าน พระธรรมรัตนดิลก รักษาการเจ้าอาวาสวัดสุทัศเทพนวราราม กล่าวว่า หลังจากครบพระบรมราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน ศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในวันที่ 23 เม.ย. 59 ทางวัดจะเปิดให้ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลศพจนครบ 100 วัน โดยจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมทุกวันในเวลา 19.00 น หลังจากนั้นทางวัดจะขอพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ ต่อไป ส่วนการบริหารงานวัดหลังจากนี้ เนื่องจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาพาธมานานหลายปี ไม่ได้สั่งเรื่องใดๆ ไว้เป็นพิเศษ จึงบริหารงานไปตามปกติ ซึ่งขณะนี้ตนได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อมาสานงานต่อ

 st12 st12 st12 st12 st12

นอกจากนี้ พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร ญฺณสุนทโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ กล่าวว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เจริญกรรมฐานในเรื่องการตาย มานานกว่า 20 ปี และก่อนที่ จะมรณภาพ ได้มีความประสงค์ให้บูรณะศาลาเศรษฐีทอง เพื่อเป็นสถานที่ตั้งศพ อีกทั้งสั่งการไว้ว่าขอให้ตั้งศีรษะไปทางทิศตะวันออก เพื่อเป็นการเคารพพระประธาน ในส่วนของความตั้งใจของท่าน ในขณะนี้ได้ทำสำเร็จทุกอย่างแล้วทั้งในส่วนของคำปรารพที่อยากให้บูรณะวัดที่ ทรุดโทรมให้สวยงามเช่นเดียวกับการสร้างใหม่ การให้วัดเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม

โดยขณะนี้พบว่ามีพุทธศาสนิกชนสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันในส่วนของการสร้างพระนักเทศน์ นักปาฐกถา และนักวิชาการ ทางวัดก็ได้มีการผลิตพระที่มีความสามารถมากที่สุดครบทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นข่าวนั้น เปรียบได้กับเหาปลาวาฬ ภาคสังคมก็ตรวจสอบกันอยู่แล้ว ดังนั้นท่านจึงไม่เป็นห่วงกับอะไรทั้งสิ้น.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606955
11060  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สาธุชนแห่ร่วมงานวันเกิด 'สมเด็จโต' 228 ปี แน่นวัดสะตือ รถหนึบ 5 โล เมื่อ: เมษายน 18, 2016, 08:30:37 am





สาธุชนแห่ร่วมงานวันเกิด 'สมเด็จโต' 228 ปี แน่นวัดสะตือ รถหนึบ 5 โล


ศิษยานุศิษย์ทั่วสารทิศ แห่เข้าวัดสะตือ ร่วมงานวันเกิด "สมเด็จโต" ครบ 228 ปี พระสงฆ์กว่า 100 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ ขณะจราจรติดยาวกว่า 5 กม.

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 เม.ย. 59 ที่วัดสะตือ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา พระครูปริยัตยาธิคุณ เจ้าอาวาสวัดสะตือ และเจ้าคณะอำเภอท่าเรือ จัดงานครบรอบ 228 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยนิมนต์พระสงฆ์กว่า 100 รูป มาสวดเจริญพระพุทธมนต์ และมี นายเรวัต ประสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ นางศศิธร ปิ่นนิกร นายกกิ่งกาชาดอำเภอท่าเรือ พร้อมประชาชนนับหมื่นคนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาร่วมงาน ทำให้การจราจรติดยาวกว่า 5 กม.


นายเรวัต ประสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในงานครบรอบ 228 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ทั้งนี้ ภายในวัดมีลูกศิษย์และประชาชนที่เคารพศรัทธา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นำอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มกว่า 400 ร้าน มาเลี้ยงที่โรงทานตลอดทั้งวัน และกลางคืนยังมีมหรสพสมโภช ลิเก ดนตรีลูกทุ่ง ให้ชมฟรีด้วย

ประชาชนนับหมื่นคนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาร่วมงานทำรถติดยาวกว่า 5 กิโลเมตร

สำหรับประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) กำเนิดบนเรือที่จอดอยู่ในแม่น้ำป่าสัก ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเวลา 07.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 17 เม.ย. 2331 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 1 บวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี 2350 โดยมี สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร แล้วจึงสร้างวัดสะตือ เมื่อปี พ.ศ.2400 ก่อนที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จะมรณภาพในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิ.ย. 2415 เวลา 24.00 น. บนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) สิริรวมอายุ 84 ปี พรรษาที่ 64 ในปี 2413 อีกทั้ง ก่อนมรณภาพ 3 ปี ได้สร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางไสยาสน์ มีความยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 16 เมตร ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยด้วย.

ขอบคุณภาพจาก วัดสะตือ
http://www.thairath.co.th/content/606961
11061  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เจาะอารยธรรมพุทธเอเชีย EP.2 กังฟูสู้ศึก มีลูกสืบสกุล ซดสาเกบำรุงกำลัง เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 09:13:01 am





เจาะอารยธรรมพุทธเอเชีย EP.2 กังฟูสู้ศึก มีลูกสืบสกุล ซดสาเกบำรุงกำลัง

หลังจากที่ได้นำเสนอความแตกต่างของพระแต่ละประเทศในตอนที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องราวของประเทศทิเบตและภูฏานไปแล้วนั้น วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ขอนำเสนอตอนที่ 2 โดยเป็นเรื่องราวของพระประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม จะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด โปรดติดตาม...

 :96: :96: :96: :96: :96:

จีน ดินแดนอารยธรรมพันปี


ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก จีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1.3 พันล้านคน

ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.พระพุทธศาสนาแห่งโลก เล่าเรื่องราวของพุทธศาสนาในประเทศจีนว่า จีน นับถือมหายาน โดยหลักๆ แล้ว มหายานมี 10 นิกายใหญ่ แต่นิกายที่สำคัญ คือ

     นิกายฌาน หรือ เซน เป็นพุทธศาสนาของปัญญาชน นิกายเซนจะไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใดๆ แต่จะเน้นในเรื่องการฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา ฝึกการใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตัวเอง



พุทธศาสนาในจีนมี 2 นิกายหลัก คือ ฌาน และ สุขาวดี ขอบคุณภาพจาก www.en.people.cn


และนิกายสุขาวดี เป็นนิกายที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือ ไม่เน้นให้พึ่งปัญญาของตนเองในการแสวงหาความหลุดพ้น แต่สอนให้พึ่งอำนาจภายนอก เป้าหมายหลักคือการได้ไปอยู่ในพุทธเกษตรสุขาวดี สวรรค์ทางทิศตะวันตก ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่มีนามว่า ‘อมิตาภะ’ นิกายสุขาวดีจึงสอนให้คนมีศรัทธาหรือมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสวดมนต์อ้อนวอน ส่งจิตไปขอให้พระอมิตาภะทรงช่วยให้หลุดพ้น คำว่า ‘ศรัทธา’ จึงเป็นเงื่อนไขที่พุทธศาสนิกชนนิกายสุขาวดีจำเป็นต้องมีเป็นอันดับแรก

และพระพุทธเจ้าจะมีสาวก 2 พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งเรียกว่า อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ หรือ กวนอิม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมตตากรุณา และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นสัญลักษณ์ของมุทิตา อุเบกขา
    ฉะนั้น วัดจีนส่วนใหญ่จะตั้งพระพุทธรูปพระอมิตาภะอยู่ตรงกลาง องค์ขวามือเป็นกวนอิม และองค์ซ้ายมือเป็นพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์


 :25: :25: :25: :25:

ดร.ทวีวัฒน์ เล่าต่อว่า พระจีนจะเคร่งครัดเหมือนกับพระไทย จะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์หรือมีครอบครัวได้ และพระจีนเมื่อบวชแล้วจะต้องบวชตลอดชีวิต หากลองสังเกตบนศีรษะพระจีนจะพบว่า มีรอยธูปจี้อยู่บนศีรษะ โดยรอยธูปเปรียบเสมือนคำสาบาน ว่าบวชแล้ว จะคงเป็นพระภิกษุไปตลอดชีวิต

ส่วนการแต่งกายของพระจีน ถ้าเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือออกนอกวัดจะใส่ชุดสีเหลืองแขนทรงกระบอก แต่เวลาอยู่ในวัดโดยไม่เกี่ยวกับพิธีกรรม ทำความสะอาดวัด ผ่าฟืน ทำครัว จะใส่ชุดสบายๆ สีเทา นอกจากนี้ พระจีนยังฉันอาหาร 3 มื้อ แต่เคร่งครัดเรื่องกินเจ ไม่กินไข่ ไม่ดื่มนม



การสวดมนต์ของพระในประเทศจีน ขอบคุณภาพจาก www.en.people.cn


ตำนาน ‘หัวปลาไม้’ เคาะระหว่างสวดมนต์

หลายคนคงเคยเห็นพระจีนเวลาสวดมนต์จะต้องเคาะไม้อะไรบางอย่าง ดร.ทวีวัฒน์ อธิบายในเรื่องนี้ว่า “หัวปลาไม้ เป็นไม้ที่ถูกแกะสลักเป็นรูปหัวปลา พระจีนจะเคาะเพื่อทำให้ทุกคนสวดไปพร้อมๆ กัน โดยหัวปลาไม้มีประวัติที่ชาวจีนเล่ากันว่า ในสมัยพระถังซัมจั๋ง ท่านประสงค์จะเดินทางไปอินเดียไปอันเชิญพระไตรปิฎกกลับมาที่ประเทศจีน ผจญภัยเยอะ แต่หลักๆ พระถังซัมจั๋งมีตัวตนจริงๆ ในที่สุดก็อันเชิญพระไตรปิฎกมาได้สำเร็จ

และระหว่างทางที่นำพระไตรปิฎกกลับประเทศจีน มีอยู่ช่วงหนึ่งต้องข้ามแม่น้ำ เกิดเรือล่มขึ้นมา คำภีร์ที่อันเชิญก็ตกลงไปในน้ำ ตำนานเล่าว่า มีปลาตัวใหญ่ว่ายเข้ามาฮุบและกลืนเข้าไปในท้อง พระถังกับศิษย์ช่วยกันจับตัวปลา แต่ปลาไม่ยอมคายคัมภีร์ออกมา ก็เลยต้องหาอะไรทุบหัวเพื่อให้มันคายคัมภีร์ออกมา เป็นเพียงตำนานที่เขาเล่ากันในจีนก็เลยเป็นธรรมเนียมว่าเวลาสวดมนต์ต้องเคาะหัวปลาเพื่อให้คายคัมภีร์ออกมา”



เส้าหลินเป็นเพียงวัดแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องการต่อสู้เนื่องจากประวัติศาสตร์สมัยก่อน


วัดเส้าหลิน เรียนรู้กังฟูสู้ศึกมองโกล

ดร.ทวีวัฒน์ เล่าถึงความเป็นมาของพระสงฆ์ที่เรียนศิลปะการป้องกันตัวว่า “พระจีนจะมีการเรียนกังฟูที่วัดเส้าหลิน ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ คล้ายๆ กับกรุงศรีอยุธยาในสมัยก่อน เมื่อพม่ามาบุกเผาทำลายก็มีพระฝางที่เป็นพระภิกษุแต่มีความรักชาติ ได้ตั้งตัวขึ้นมาเป็นก๊ก รวบรวมกำลังชาวบ้าน เมื่อพม่ามาเผาบ้านเมือง เผาวัด ก็ฮึดสู้ทำการต่อสู้กับพม่า แต่พอพม่าถอยทัพไปแล้ว ท่านก็วางอาวุธไปถือศีลภาวนาต่อ วัดเส้าหลินก็คล้ายๆ กัน

พระภิกษุในประเทศจีน แต่เดิมก็ไม่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้การจับอาวุธ แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน โดยกองทัพมองโกลเข้ามายึดครองประเทศจีน วัดก็กลายเป็นสถานที่ของคนรักชาติอยากขับไล่ข้าศึกแอบมาซ่องสุมกำลัง พระก็เลยสอนมวยจีน กังฟู การฟันดาบให้ จับอาวุธ ศิลปะการต่อสู้ ฝึกฝนในวัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการฝึก เพราะลับตาคน พอถึงเวลาก็ออกไปต่อสู้ ปัจจุบันยังมีอยู่ที่วัดเส้าหลิน พระก็ยังฝึกกังฟูอยู่”

อย่างไรก็ตาม เส้าหลินเป็นเพียงวัดแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องการต่อสู้ เนื่องจากประวัติศาสตร์สมัยนั้น พระฝึกคนจีนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับข้าศึก พระที่วัดจึงสืบทอดศิลปะแบบมวยจีนเอาไว้ตราบเท่าทุกวันนี้ ขณะที่พระวัดอื่นไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้แบบเส้าหลิน



พระในวัดเส้าหลิน ขอบคุณภาพจาก www.topchinatravel.com


พระไทยเน้นบุญ พระจีนเน้นกุศล

ดร.ทวีวัฒน์ อธิบาย ความแตกต่างระหว่างพระจีนกับพระไทย ว่า พระจีนส่วนใหญ่จะได้เงินมาจากการบริจาคของประชาชน และมักจะมีการตั้งมูลนิธิขึ้นมาทำเกี่ยวกับงานด้านสาธารณกุศล เมื่อประชาชนบริจาคเงินเข้าวัดนี้ วัดจะนำเงินนั้นมาเข้ามูลนิธิ เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ มูลนิธิเหล่านี้จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน เช่น ทำข้าวต้มไปให้ นำผ้าห่มไปแจก เป็นต้น
     ฉะนั้นคนที่เข้ามาบริจาคเงินกับวัดจะเห็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมว่า เงินที่พวกเขาได้บริจาคไปนั้น ทางวัดนำไปสร้างประโยชน์สาธารณะจริง ทำให้คนศรัทธาและบริจาคมากขึ้น

     ขณะที่พระไทยนั้น จะเน้นเรื่องการทำบุญ ประชาชนเข้าไปทำบุญบริจาคให้แก่วัด แต่ไม่ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิขึ้น หรือมีก็ค่อนข้างน้อย และจะเห็นได้ชัดว่า วัดใดที่มีความมั่งคั่งสังเกตได้จากความสวยงาม ใหญ่โตอลังการของวัด แต่ชาวบ้านรอบๆ วัดก็ยังยากจนเช่นเคย
     จึงเป็นข้อแตกต่างที่ทำให้ประเทศที่นับถือเถรวาทที่เน้นด้านการทำบุญก็ยังเป็นประเทศที่ยากจน ขณะที่ประเทศมหายานสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือเน้นเรื่องกุศลเอาเงินมาช่วยประชาชนผู้ประสบภัย



ก่อนฉันอาหารของพระในจีน ขอบคุณภาพจาก www.en.people.cn


ญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัย

ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่ใครหลายคนรู้จักในบทบาท คอลัมนิสต์เว็บไซต์ Marumura ได้เล่าถึงพระในประเทศญี่ปุ่นว่า ในมหายาน จะไม่ถือศีลเคร่งครัด เนื่องจากมองว่าใครที่บรรลุแล้วนั้น คนที่บรรลุก็ไปช่วยเหลือคนอื่น โดยไม่ค่อยเอาศีลมาเป็นตัวบังคับ แต่จะเน้นการฝึกจิต ฝึกสติ ให้คนกวาดลานวัด สวดมนต์ เหมือนเรียนรู้การฝึกสมาธิในชีวิตประจำวัน

พุทธศาสนาในญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 5 นิกายสำคัญ ได้แก่ นิกายเทนได (Tendai) นิกายชินกอน (Shingon) นิกายโจโด (Jodo) นิกายเซน (Zen) นิกายนิชิเรน (Nichiren) สามารถทานอาหารได้ 3 มื้อ แต่บางนิกายจะทานเจ บางนิกายก็ทานเนื้อสัตว์​และสามารถดื่มเหล้าได้ คนญี่ปุ่นมองว่าสาเกเป็นเหมือนเครื่องดื่มที่บริสุทธิ์ จิบเพื่อบำรุงกำลัง โดยคนญี่ปุ่นจะมีสาเกที่ดื่มก่อนทานข้าว ทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น และไม่ได้ดื่มจนถึงขั้นเมามาย

การบวชเป็นพระของประเทศญี่ปุ่นนั้น จะต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น เพราะการจะเป็นพระได้ต้องมีการสอบวุฒิบัตรก่อน และต้องมีวัดอยู่ ซึ่งคนที่จะเป็นพระได้ต้องไปขอวัด ขอฝึกวิชาจนทางวัดยอมรับ ถึงค่อยมาอยู่ในวัดได้ ไม่เช่นนั้นจะผิดกฎหมาย ไม่สามารถเป็นพระแบบโดดๆ ได้ ต้องมีสังกัดอยู่


พระ = อาชีพ ชาวยุ่นเข้าวัดเพื่อดูสถาปัตยกรรม ชมธรรมชาติ

ดร.กฤตินี เล่าเรื่องราวต่อว่า ประเทศไทยจะมีเรียนพระพุทธศาสนา เรียนประวัติพระพุทธเจ้า เรียนหลักธรรมต่างๆ แต่ในญี่ปุ่นไม่มีเลย มีเรียนแค่วิชาศีลธรรม ซึ่งคนญี่ปุ่นจะไม่รู้เลยว่าศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอะไรอย่างไรบ้าง จึงทำให้ไม่ค่อยผูกพันกับพระและศาสนาพุทธ ขณะที่การไปวัดของคนญี่ปุ่นเหมือนไปเที่ยว ไปดูสถาปัตยกรรม ชมธรรมชาติมากกว่า

     “สิ่งที่แปลกอย่างหนึ่งคือ ทัศนคติของคนญี่ปุ่นจะมองพระเหมือนเป็นอาชีพ อาชีพหนึ่ง เหมือนเป็นคนประกอบพิธีกรรม ในเมืองไทยเวลามีปัญหาทุกข์ร้อนใจอะไร ก็จะไปวัดไปทำบุญ แต่ของญี่ปุ่นถ้ามีใครเสียชีวิตหรือครบรอบวันเสียชีวิตถึงนิมนต์พระมาสวดและทำบุญ ก็เลยไม่ได้มองว่าพระเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เขาจะไม่ค่อยเข้าใจ มองว่าเป็นพิธีกรรมที่ต้องทำเท่านั้นเอง ฉะนั้นความผูกพันระหว่างพระกับคนในสังคมจะน้อยกว่าประเทศไทย” ดร.กฤตินี อธิบาย



การบวชเป็นพระของประเทศญี่ปุ่นนั้น จะต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น เพราะการจะเป็นพระได้ต้องมีการสอบวุฒิบัตรก่อน และต้องมีวัดอยู่อย่างชัดเจน


ว่ากันว่า...พระแห่งแดนอาทิตย์อุทัย ถือเป็นอาชีพที่มั่งคั่งที่สุด

ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.พระพุทธศาสนาแห่งโลก อธิบายถึงความมั่งคั่งของพระญี่ปุ่นว่า แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศเล็กๆ บ้านเรือนหลังเล็กๆ แต่พระที่นี่จะอยู่ในวัดที่ใหญ่โต กว้างขวาง มีกุฏิ มีโบสถ์ อยู่สุขสบายกว่าชาวบ้านทั่วไป และวัฒนธรรมญี่ปุ่นจะระบุไว้ว่า ประชาชนจะต้องไปลงทะเบียนที่กระทรวงมหาดไทยว่าสังกัดวัดไหน เจ้าอาวาสวัดนั้นก็จะมีรายชื่อประชาชนที่อยู่ในสังกัดนั้นอย่างชัดเจน

จากนั้น เมื่อมีคนในชุมชนตายก็มักจะทำพิธีที่วัดที่ตัวเองสังกัดอยู่ และมีพิธีเผาศพเหลืออัฐิเก็บใส่กล่องเล็กๆ เพื่อนำมาฝังและตั้งป้ายวิญญาณขึ้นมา ทำให้ทุกๆ วัดจะมีสุสานของคนที่อยู่ในชุมชนนั้น และกิจกรรมฌาปนกิจก็จะสร้างรายได้ให้แก่วัดมาก เนื่องจากครัวเรือนใดมีคนตายก็จะมาทำพิธีศพที่วัดนี้ โดยการทำพิธีศพจะต้องจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้ทางวัด และจะต้องซื้อที่ฝังอัฐิในวัดด้วย

นอกจากนี้ พระญี่ปุ่นจะทำพิธีอุทิศบุญกุศลให้คนตายทุกเดือน เดือนละครั้ง ญาติพี่น้องจึงต้องมารวมตัวกันทำบุญ และแน่นอนว่าจะต้องจ่ายเงินค่าทำพิธีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พระญี่ปุ่นก็เหมือนเป็นอาชีพ มีรายได้สม่ำเสมอ ชัดเจน ทำให้พระที่นี่ดูมั่งคั่ง และคิดว่าเป็นพระที่สุขสบายที่สุดในโลกของพระพุทธศาสนา มีบ้านใหญ่โต มีลูกเมียได้ มีรายได้ชัดเจน



พระญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่สามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ มีลูกเพื่อสืบสกุลของพระ


ลูกชาย ถูกคาดหวังสืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดต่อจากพ่อ

ดร.ทวีวัฒน์ บอกเล่าถึงการสืบสกุลของพระญี่ปุ่นว่า พระญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่สามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ มีลูกเพื่อสืบสกุลของพระ เมื่อเจ้าอาวาสของวัดแต่งงานมีครอบครัวแล้ว จะอาศัยอยู่ในวัดด้วยกันในกุฏิส่วนตัวที่อยู่ด้านหลังของวัด และเมื่อมีลูกชายคนโตจะได้รับความคาดหวังให้ทำหน้าที่สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อจากพ่อ เมื่อลูกชายมีอายุครบบวชก็จะต้องไปบวช และไปศึกษาธรรมในวัดใหญ่ที่วัดของพ่อเป็นสมาชิกอยู่ เพื่อฝึกอบรมจนจบหลักสูตรและวัดที่เป็นสำนักงานใหญ่จะออกใบประกาศนียบัตรให้ เหมือนได้ใบปริญญามา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นเจ้าอาวาสคนต่อไป

ส่วนพระลูกวัด ถ้าไม่มีเชื้อสายอะไร โอกาสจะเป็นเจ้าอาวาสย่อมเป็นไปได้ยาก และพระลูกวัดส่วนใหญ่จะเป็นโสด ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโสดตลอดไป แต่ยังหาเนื้อคู่ไม่เจอ แต่เมื่อพระลูกวัดเจอเนื้อคู่ก็มีสิทธิ์ที่จะแต่งงานตามธรรมเนียมในญี่ปุ่น แต่เมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้วพระลูกวัดจะต้องออกจากวัดเดิม เพื่อไปหาวัดใหม่อยู่กับครอบครัว โดยอาจจะเป็นวัดร้างที่ไหนสักแห่ง ซึ่งญี่ปุ่นมีวัดร้างอยู่ค่อนข้างเยอะ เพราะเกิดจากการที่ไม่มีการสืบทอดเจ้าอาวาสวัดต่อ จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนั้นแทน



พระในเวียดนาม ขอบคุณภาพจาก www.hanoimoi.com.vn

ส่วนใหญ่แล้วความเชื่อของชาวเวียดนามมักจะยึดโยงกับบรรพบุรุษเป็นหลัก


เวียดนาม ที่ได้ชื่อว่าเป็นหลังคาอินโดจีน

อ.พิสิฐ อำนวยเงินตรา ผู้เชี่ยวชาญเวียดนามศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อธิบายถึงเรื่องราวของศาสนาพุทธในประเทศเวียดนามว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเวียดนามไม่นับถือศาสนา คิดเป็น 81.69% โดยที่พวกเขาจะบูชาบรรพบุรุษของตน บรรพบุรุษหมู่บ้าน วีรบุรุษสงคราม ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน บรมครูงานฝีมือ บูชาเทพเจ้าเกี่ยวกับธรรมชาติ

ขณะที่ชาวเวียดนามอีกจำนวนหนึ่งที่นับถือศาสนา (ประมาณ 16 ล้านคน) ประกอบด้วย นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน 7.93% (ประมาณ 7 ล้านคน) นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก 6.62% (ประมาณ 6 ล้านคน) และอื่นๆ ประมาณ 2.6%

ส่วนนิกายเถรวาทจะมีคนส่วนน้อยที่นับถืออยู่ทางภาคใต้ของเวียดนามใกล้ๆ กับชายแดนกัมพูชา ก็จะได้รับอิทธิพลจากนิกายเถรวาทมา ซึ่งวัดทางภาคใต้นั้น จะมีรูปทรงคล้ายๆ กับวัดในประเทศไทย พระจะแต่งกายคล้ายๆ กัน



ขอบคุณภาพจาก www.hanoimoi.com.vn

ขอบคุณภาพจาก www.hanoimoi.com.vn


บรรพบุรุษ คือ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเหงียน

อ.พิสิฐ กล่าวถึงความเชื่อของชาวเหงียนว่า ส่วนใหญ่แล้วความเชื่อของชาวเวียดนามมักจะยึดโยงกับบรรพบุรุษเป็นหลัก หากเป็นชาวพุทธไทยเวลาไม่สบายใจก็จะหันหน้าเข้าวัดทำบุญ ตรงกันข้ามกับชาวเวียดนาม เพราะสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพวกเขา คือ บรรพบุรุษ ทำให้ทุกบ้านของชาวเวียดนามจะมีแท่นบูชาบรรพบุรุษอยู่ โดยจะวางในตำแหน่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของบ้าน มีการไหว้บรรพบุรุษทุกปี คล้ายๆ กับตรุษจีน หรือที่เรียกกันว่า ตรุษเวียดนาม ซึ่งเมื่อเวลาที่คนเวียดนามไม่สบายใจ เตรียมทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ ลูกจะแต่งงาน หรือมีพิธีกรรมอะไรที่เป็นมงคล ชาวเวียดนามก็จะไปไหว้บรรพบุรุษของพวกเขา ขอปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้วช่วยปกปักษ์รักษา

และยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มที่ไปวัดเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เวลาที่จะไปวัดเขาจะบอกว่าไปเที่ยว ไปถ่ายรูป ไม่ได้ศรัทธาเหมือนกับคนไทย แตกต่างจากคนไทยที่มักจะไปวัดไหว้พระ ทำบุญ ขอพร

นอกจากนี้ สมัยสงครามเวียดนามที่มีประธานาธิบดีเป็นคริสต์ เมื่อถูกคอมมิวนิสต์ปกครองทำให้ไม่ได้ส่งเสริมศาสนามากนัก ประชาชนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยนับถือศาสนา แต่พอเปิดประเทศ พุทธศาสนาก็ฟื้นขึ้นมาใหม่ สามารถเผยแผ่ศาสนา และฟื้นฟูวัดวาอารามขึ้นมาอีกครั้ง.


    อานนท์.! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามี พระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้.
    อานนท์.! พวกเธอ อย่าคิดอย่างนั้น.
    อานนท์.! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา"


          มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘



ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/603085
11062  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เจาะอารยธรรมพุทธเอเชีย EP.1 ปางกอดสาว แร้งกินศพ เรื่องแปลกแดนพระธรรม เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:54:11 am






เจาะอารยธรรมพุทธเอเชีย EP.1 ปางกอดสาว แร้งกินศพ เรื่องแปลกแดนพระธรรม


ศาสนาพุทธ ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย ก่อนที่จะมีการเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศโดยรอบ จนปัจจุบันศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดมามากกว่า 2,500 ปีแล้ว

พุทธศาสนาในโลกมี 3 นิกาย คือ
     1.นิกายเถรวาท (หินยาน) เป็นนิกายที่เก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในเอเชียอาคเนย์ ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา
     2.นิกายมหายาน ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และ
     3.นิกายวัชรยาน ได้แก่ ทิเบต ภูฏาน มองโกเลีย

สกู๊ปพิเศษชิ้นนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ขอเสนอความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทั้งหลายให้ได้รู้และเข้าใจในศาสนาพุทธของแต่ละประเทศ ได้แก่ ทิเบต ภูฏาน จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยในตอนแรกนั้น จะพาผู้อ่านไปเปิดหูเปิดตาในประเทศทิเบต ภูฏาน และจากนี้ ทีมข่าวฯ ขอต้อนรับผู้อ่านสู่โลกแห่งพุทธศาสนานับแต่บัดนี้เป็นต้นไป...



ทรรศนะด้านศาสนาของชาวทิเบตมองว่า ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผสมผสานอยู่ในชีวิตประจำวัน ชาวทิเบตจึงนิยมบวชเป็นพระภิกษุ

พระทิเบตจะเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างมาก เพราะผู้นำประเทศและผู้นำทางศาสนจักรเป็นคนๆ เดียวกัน


ทิเบต ดินแดนแห่งพระธรรม

เขตปกครองตนเองทิเบต ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ นิกายวัชรยาน ทรรศนะด้านศาสนาของชาวทิเบตมองว่า ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ผสมผสานอยู่ในชีวิตประจำวัน ชาวทิเบตจึงนิยมบวชเป็นพระภิกษุ และมีพระเป็นผู้นำในเขตปกครอง นั่นคือ ‘ทะไล ลามะ’

ผู้ที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องราวพุทธศาสนาในทิเบตนี้ คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.พระพุทธศาสนาแห่งโลก โดยอาจารย์ทวีวัฒน์ เล่าจากความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ว่า ในทิเบตมี 3 นิกายหลักๆ ได้แก่ นิกายหมวกแดง พระนิกายนี้มีเกือบ 90% เยอะที่สุดในทิเบต โดยพระจะนุ่งห่มจีวรสีแดงเลือดหมูและสวมหมวกสีเดียวกับจีวร แต่เดิมนั้นทิเบตเหมือนไทย มีกษัตริย์ปกครองอาณาจักรและมีสังฆราชเป็นนิกายหมวกแดงปกครองศาสนจักร อีกทั้ง กษัตริย์ทิเบตยังสนับสนุนนิกายหมวกแดง และสังฆราชของหมวกแดง ฉะนั้น รัฐทิเบตจะมีกษัตริย์และสังฆราชแยกกัน

 :25: :25: :25: :25:

ขณะที่ นิกายหมวกเหลือง โดยจำนวนพระในนิกายหมวกเหลืองมีประมาณ 10% ของพระในทิเบตทั้งหมด พระนิกายนี้จะนุ่งห่มจีวรสีเหลืองและสวมหมวกสีเหลือง ในช่วงที่กองทัพมองโกลเข้ายึดครองทิเบตล้มล้างกษัตริย์ ขุนพลมองโกลต่างเลื่อมใสศรัทธาในนิกายหมวกเหลือง จึงเชิดชูสังฆราชของหมวกเหลืองนั่นคือ ท่านทะไล ลามะ ให้ขึ้นมามีอำนาจ นับแต่นั้นเป็นต้นมาท่านทะไล ลามะ จึงมีอำนาจทั้งฝ่ายศาสนจักรและฝ่ายอาณาจักรด้วย ภายใต้การหนุนหลังของกองทัพมองโกล ทิเบตจึงเป็นพุทธศาสนาประเทศเดียวที่พระสงฆ์มีอำนาจในอาณาจักรและศาสนจักรในเวลาเดียวกัน

นิกายหมวกดำ พระนิกายนี้จะนุ่งห่มจีวรสีดำและสวมหมวกสีดำ เป็นนิกายของพระจำนวนน้อย โดยพระนิกายนี้มักไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่มักจะปลีกวิเวกอยู่ในป่าเขา ถ้ำ เพื่อบำเพ็ญสมาธิ ภาวนา หรือคล้ายๆ กับพระป่าในประเทศไทยนั่นเอง



พระที่เป็นผู้นำในเขตปกครองทิเบต คือ ทะไล ลามะ

พระทิเบต เมื่อตัดสินใจบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ เนื่องจากเป็นจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของคนที่บวช คือ การสละทางโลกทิ้งแล้วใช้ชีวิตทางธรรมอันนำไปสู่ความหลุดพ้น



ละทางโลก สู่ทางธรรม บวชไม่สึก

พุทธศาสนาในทิเบต เป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่ภายหลังได้แตกจากมหายานเป็นวัชรยาน สามารถฉันอาหารได้ 3 มื้อ โดยประกอบอาหารกันเอง มีโรงครัวอยู่ในวัด บางวัดปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อเอาผลผลิตไปปรุงอาหาร พระทิเบตจะถือพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ครองตัวเป็นโสด ไม่สามารถแต่งงานได้ ซึ่งการบวชเป็นพระส่วนใหญ่จะบวชตั้งแต่ตอนเด็กๆ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี และที่สำคัญคือ เมื่อตัดสินใจบวชแล้วไม่สามารถสึกได้ เนื่องจากเป็นจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของคนที่บวช คือผู้ที่ละทิ้งบ้านเรือน เป็นผู้ที่สละความสุขทางโลก ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ออกมาใช้ชีวิตนักบวชสำหรับการประพฤติ ปฏิบัติธรรม สมาธิ ภาวนา เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ซึ่งในโลกนี้มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้นที่บวชแล้วสึกได้ แต่ปัจจุบันก็มีลาวกับกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากไทยด้วยเช่นกัน

พิธีกรรมสุดแปลก ไหว้ 8 ท่า หมุนติ้วพระไตรปิฎก

สำหรับรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธของชาวทิเบตนั้น จะค่อนข้างมีสีสัน เหลือบๆ ไปทางวัฒนธรรมจีน มีการตีกลอง ตีฉิ่ง ตีหัวปลาไม้ ร่วมกับการประกอบพิธี ส่วนการสวดมนต์ของพระทิเบตนั้น จะมีติ้วหมุนอยู่ เดินสวดไปหมุนติ้วไป ซึ่งภายในติ้วที่หมุนจะบรรจุพระไตรปิฎก คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ เมื่อหมุน 1 รอบก็เท่ากับว่าท่องพระไตรปิฎกจบไป 1 จบ เป็นรูปแบบหนึ่งของพิธีกรรม

และการกราบไหว้พระก็แปลกแตกต่างจากไทย เพราะทิเบตจะมีการไหว้ 8 ท่า ไหว้แล้วยืดแขนยืดขาลงไปนอนกับพื้นแบบท่าซุปเปอร์แมนกำลังเหาะ แต่ไทยไหว้เบญจางคประดิษฐ์



ยิ่งแร้งกินซากศพหมดเท่าไหร่ ญาติก็จะยิ่งดีใจมากเท่านั้น เพราะวิญญาณที่เป็นห่วงร่างกายจะได้สบายใจ เพื่อจะได้กลับไปเกิดแบบหมดห่วง

การแต่งกายของพระในทิเบต ขอบคุณภาพประกอบจาก www.tibetanspirit.com


แร้งกินศพ พิธีสุดพิลึกพิลั่น

อาจารย์ทวีวัฒน์ เล่าถึงความพิลึกในพิธีการทำศพของชาวพุทธในทิเบตว่า เมื่อมีคนตาย ญาติก็จะนำศพมาไว้ที่วัด เพื่อให้พระสงฆ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จากนั้น สัปเหร่อจะยกศพแบกขึ้นภูเขาไปทิ้งเอาไว้ เพื่อให้แร้งลงมาจิกกินซากศพ เนื่องจากทิเบตมีความเชื่ออันแรงกล้าในเรื่องการกลับชาติมาเกิดใหม่ พวกเขาเชื่อว่าเมื่อคนตายไปแล้ววิญญาณจะออกจากร่างและยังมีความห่วงร่างกายอยู่ ชาวทิเบตจึงมีความเชื่อว่า ยิ่งแร้งกินซากศพหมดเท่าไหร่ ญาติก็จะยิ่งดีใจมากเท่านั้น เพราะวิญญาณที่เป็นห่วงร่างกายจะได้สบายใจ เพื่อจะได้กลับไปเกิดแบบหมดห่วง

พระพุทธรูปปางกอดสาว ความแปลกของวัชรยาน!

หากใครเคยเข้าไปในวัดทิเบต จะต้องเป็นอันอึ้ง งง ปนตกใจ เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปสุดแปลกที่มีลักษณะของพระพุทธเจ้าและมีชายาเพศหญิงสวมกอดอยู่ด้านหน้า ไม่เว้นแม้แต่รูปปั้นพระโพธิสัตว์จะมีเพศหญิงสวมกอดอยู่ด้านหน้าด้วยเช่นกัน โดยเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาในนิกายวัชรยาน ซึ่งโดดเด่นในทิเบต ภูฏาน และมองโกเลีย และถือเป็นพระพุทธรูปหลักในโบสถ์อีกด้วย

อาจารย์ทวีวัฒน์ อธิบายถึงความแปลกของพระพุทธรูปนี้ว่า พระทิเบตมองว่ารูปเคารพนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ ว่าการตรัสรู้ที่สมบูรณ์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยปัญญาและกรุณา เพศชายเป็นสัญลักษณ์ของกรุณา เพศหญิงเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา ปัญญาและกรุณารวมกันเท่านั้น จึงจะสามารถเป็นการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ได้

และในความเป็นจริงพระทิเบตแต่งงานไม่ได้ มีเพศสัมพันธ์มีครอบครัวไม่ได้ เคร่งครัดในพระวินัยคล้ายกับพระไทย แต่ออกมาในรูปของศิลปะแบบตันตระ คือ ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างชายและหญิง พระทิเบตจะอธิบายว่า พระพุทธรูปที่เห็นนั้น เป็นเพียงสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ ซึ่งวิธีคิดของชาวพุทธวัชรยานแตกต่างไปจากเถรวาทมาก วัชรยานเป็นพุทธศาสนานิกายที่ลี้ลับ ซ่อนเร้น แปลก บ้านชาวพุทธไทยจะตั้งพระพุทธรูปไว้บูชาสวดมนต์ แต่ถ้าทิเบตก็จะตั้งพระพุทธรูปลักษณะนี้ไปบูชาสวดมนต์เช่นกัน



พระพุทธรูปตามแบบตันตระ ขอบคุณภาพจาก www.health.wikinut.com

วัดในภูฏาน ขอบคุณภาพประกอบจาก www.adventurewomen.com


ภูฏาน ดินแดนมังกรสายฟ้า

ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศขนาดเล็ก รายล้อมไปด้วยภูเขาจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน ลักษณะการปกครองคล้ายกับทิเบต แต่มีความต่างกันบ้าง คือทิเบตมีองค์ทะไล ลามะเป็นผู้นำทั้งทางศาสนาและอาณาจักร ส่วนภูฏานมีกษัตริย์ปกครองประเทศ แต่มีพระสงฆ์ผู้มีสมณะสูงสุด หรือ พระสังฆราช ที่เรียกว่า เจ เคนโป มีส่วนในการปกครองประเทศด้วย

สำหรับการปกครองของคณะสงฆ์จะแบ่งเป็น 5 ชั้น ได้แก่ เจ เคนโป เป็นชั้นปกครองสูงสุด สมเด็จพระสังฆราช ชั้นสูงสุดนี้ห่มผ้าได้ทุกสี เคนโป เป็นชั้นรองมาจากสังฆราช ห่มผ้าปนทุกสี ลามะ เป็นชั้นรองจากเคนโป เป็นอาจารย์ที่ทรงความรู้ ห่มผ้าสีเหลืองปนแดง โลแพน เป็นชั้นรองลงมาจากลามะ เป็นพระที่มีความรู้บ้างแล้ว ห่มผ้าสีเหลือง เกลอง เป็นชั้นรองลงมาจากโลแพน เป็นชั้นสามัญ แต่ก็มีเกลองชั้น ตรี โท เอก ห่มผ้าสีแดง ส่วนวิธีเลื่อนชั้นนี้ก็จะทำการสอบคัดเลือก



วัฒนธรรมพุทธของชาวภูฏานนั้น พ่อแม่มักนิยมให้ลูกหลานในครอบครัวได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย

ขอบคุณภาพประกอบจาก www.lonelyplanet.com


อาจารย์ทวีวัฒน์ เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้พบเจอในภูฏานว่า วัดของภิกษุกับภิกษุณีในภูฏาน จะแยกกัน โดยวัดของพระภิกษุเมื่อถึงเวลา 5 โมงเย็น ผู้หญิงจะต้องออกจากวัดให้หมด ห้ามผู้หญิงเข้าวัดของภิกษุหลัง 5 โมงเย็น ส่วนวัดของภิกษุณี ก็จะห้ามผู้ชายเข้าวัดหลัง 5 โมงเย็น โดยพระในภูฏานจะเคร่งในเรื่องนี้อย่างมาก

ทั้งนี้ ตามวัฒนธรรมพุทธของชาวภูฏานนั้น พ่อแม่มักนิยมให้ลูกหลานในครอบครัวได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อสามเณรมีอายุครบ 20 ปี ต้องตัดสินใจว่าจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หรือจะลาสิกขาบทเพื่อไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส ถ้าเลือกหนทางแรกก็จะต้องเป็นพระภิกษุไปตลอดชีวิต เพราะการบวชในนิกายวัชรยานนั้น ไม่มีการบวชชั่วคราวหรือการสึกอย่างพุทธศาสนาในประเทศไทย

ในตอนหน้านั้น จะขอนำเสนอเรื่องราวของพระในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม จะแตกต่างกันอย่างไร โปรดติดตาม.



ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/603074
11063  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สงกรานต์ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ ซึ่งไม่เป็นความจริง เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:42:25 am


สงกรานต์สาดน้ำรดกัน ประเพณีสร้างใหม่ ขายการท่องเที่ยว



สงกรานต์ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ ซึ่งไม่เป็นความจริง

สงกรานต์ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ มาแต่โบราณกาล ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะสงกรานต์เป็นพิธีขึ้นราศีใหม่ที่รัฐโบราณทุกแห่งในอุษาคเนย์รับจากพราหมณ์ชมพูทวีป (อินเดีย) เหมือนๆ กัน ไม่มีที่ไทยแห่งเดียว

ปีใหม่ไทย (เรียกตามสากล) ตรงกับเดือนอ้าย (เดือน 1) หลังลอยกระทง (เดือน 12) เป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ มีลำดับเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1. ยุคดึกดำบรรพ์ ลอยกระทง คือสิ้นปีเก่า เดือน 12 ขึ้นปีใหม่ เดือน 1 ของไทยและอาเซียน (ถ้าเรียกตามปฏิทินสากล) มีมาแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ราว 3,000 ปีมาแล้ว ปีนักษัตร (ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ) ก็เปลี่ยนในช่วงเวลาหลังลอยกระทงนี้ [สงกรานต์เป็นประเพณีเปลี่ยนราศีของพราหมณ์อินเดีย ซึ่งไม่มีปีนักษัตร ส่วนปีนักษัตรมีใช้ในอุษาคเนย์ที่รับจากตะวันออกกลาง (เช่น เปอร์เซีย) ผ่านมาทางจีน]

2. ยุคอยุธยา สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ แยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนราชการ กับส่วนราษฎร ราชการ ราชสำนักอยุธยากำหนดสิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีแขกพราหมณ์อินเดีย คือ สงกรานต์ราษฎร สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์อุษาคเนย์ คือเดือนอ้าย (เดือน 1) หลังลอยกระทง (เดือน 12) ราวพฤศจิกายน-ธันวาคม (เพราะไม่รู้จักศาสนาพราหมณ์)

3. ยุคกรุงเทพฯ สิ้นปีเก่า ขึ้นปีใหม่ ยุคกรุงเทพฯ ของทางราชการมี 2 ระยะ ได้แก่
        ระยะแรก 1 เมษายน ขึ้นปีใหม่ เริ่ม พ.ศ. 2432 (สมัย ร.5) ครั้งสุดท้าย เมื่อ 1 เมษายน 2483 (สมัย ร.8)
        ระยะหลัง 1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ เริ่ม พ.ศ. 2484 (สมัย ร.8 มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) แล้วสืบมาจนถึงปัจจุบัน
        ราษฎรยังคงมีประเพณีลอยกระทง เดือน 12 แล้วขึ้นปีนักษัตรใหม่เดือนอ้าย (เดือน 1) เหมือนเดิม
แต่ค่อยๆ ลดความสำคัญลง จนท้ายที่สุดก็ลืม เปลี่ยนเป็นขึ้นปีใหม่ไทยตอนสงกรานต์ ตามที่ทางการบอก


ราชการสร้างสงกรานต์ปีใหม่ไทยขึ้นแทนที่เดือนอ้าย เพื่อขายการท่องเที่ยว


บทความของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
http://www.matichon.co.th/news/107607
11064  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เศรษฐินียาสีฟันชื่อดังแจกเงินผู้สูงอายุ6พันคน-กว่า2ล้านบาท แห่ต่อแถวคิวยาวเหยียด เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:36:53 am




เศรษฐินียาสีฟันชื่อดังแจกเงินผู้สูงอายุ6พันคน-กว่า2ล้านบาท แห่ต่อแถวคิวยาวเหยียด

วันที่ 16 เม.ย. ที่ลานจอดรถหน้าโรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานมอบเงินผู้สูงอายุประจำปี 2559 โดยมีนางสุนันทา ลีเลิศพันธ์ ประธานกรรมการบริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด และประธานกรรมการบริษัทโรงแรมทวินโลตัส นายจักรพรรดิ ลีเลิศพันธ์ กรรมการผู้จัดการโรงแรม พร้อมครอบครัว จัดกิจกรรมมอบเงินแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่อ.ปากพนัง รวมประมาณ 6,000 คน คนละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800,000 บาท พร้อมอาหารและผลิตภัณฑ์ดอกบัวคู่มูลค่า 2,000,000 บาท โดยผู้สูงอายุมาเป็นหมู่คณะต่างมีรอยยิ้มที่มีความสุข

งานมอบเงินผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมที่บริษัทดอกบัวคู่และโรงแรมทวินโลตัส จัดขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สืบเนื่องมาจากนายบุญกิจ ลีเลิศพันธ์ อดีตเจ้าของโรงแรมที่เสียชีวิตไปแล้ว เดิมนั้นเป็นชาวอำเภอปากพนัง ได้ออกจากบ้านไปทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ดอกบัวคู่จนประสบความสำเร็จ จึงมีความคิดที่จะคืนกำไรกลับสู่บ้านเกิด ก่อนจัดงานมอบเงินผู้สูงอายุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี หลังนายบุญกิจเสียชีวิต นางสุนันทา ภรรยาและนายจักรพรรดิ์ บุตรชาย ได้สืบทอดจัดงานมอบเงินผู้สูงอายุติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 21



นางสุนันทา กล่าวว่า จัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของสามีคือนายบุญกิจ ที่ให้ความสำคัญกับบ้านเกิดตลอดมา ตั้งใจว่าจะไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุเพราะเป็นผู้มีพระคุณของลูกหลาน เงินและสิ่งของที่มอบให้ แม้เป็นเงินเพียงสิ่งเล็กน้อย หวังว่าจะเป็นกำลังใจแก่ผู้สูงอายุให้ดำเนินชีวิตต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460781269
11065  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เพลิงโหมกุฏิเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ ฉะเชิงเทรา กลางดึก คาดไฟลัดวงจร เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:33:26 am





เพลิงโหมกุฏิเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ ฉะเชิงเทรา กลางดึก คาดไฟลัดวงจร

ไฟไหม้กุฏิเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ลามศาลาการเปรียญ กลางดึก รถดับเพลิง 6 คัน ร่วมชาวบ้านกว่า 100 รุดช่วยสกัดเพลิง คาดไฟฟ้าลัดวงจร ขณะเจ้าอาวาสไม่อยู่ ไปกิจธุระตั้งแต่เช้า

เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 59 ร.ต.ท.เปรม สุทธิอุดม รอง สว.สส.สภ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับแจ้งเหตุไฟไหม้เมื่อคืนที่ผ่านมา จึงประสานรถดับเพลิงเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ และพื้นที่ข้างเคียงรวม 6 คัน เข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ภายในวัดสนามจันทร์ หมู่ 1 ต.บ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่เกิดเหตุพบไฟกำลังลุกไหม้กุฏิ พระครูโสภิตสุตคุณ เจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ และเจ้าคณะอำเภอบ้านโพธิ์ ซึ่งอยู่ติดกับศาลาการเปรียญ เจ้าหน้าที่และชาวบ้านกว่า 100 คน ช่วยกันฉีดน้ำ พร้อมทั้งหาถังตักน้ำจากแม่น้ำบางปะกง มาช่วยกันดับไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ในวงจำกัด

ทั้งนี้ มีชาวบ้านที่เข้าช่วยดับไฟได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ถูกนำตัวส่ง รพ.บ้านโพธิ์ โดยกุฏิเจ้าอาวาสถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด และขณะเกิดเหตุเจ้าอาวาสไม่อยู่วัดเนื่องจากไปทำกิจธุระตั้งแต่เช้า



จากการสอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ขณะเดินผ่านเห็นไฟกำลังลุกไหม้กุฏิ จึงรีบโทรศัพท์ตามชาวบ้านที่อยู่ข้างเคียงมาช่วยกันดับ แต่เนื่องจากลมแรงทำให้ไม่สามารถดับได้ จึงแจ้งตำรวจประสานรถดับเพลิงมาช่วย โดยสาเหตุเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร อีกทั้งเป็นกุฏิไม้เก่าอายุกว่า 30 ปี ทำให้เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดี ส่วนค่าเสียหายอยู่ระหว่างตรวจสอบ.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606387
11066  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวเชียงแสน แห่ทำบุญ แน่นวัด 'วันพญาวัน' ปีใหม่เมืองล้านนา เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:30:31 am





ชาวเชียงแสน แห่ทำบุญ แน่นวัด 'วันพญาวัน' ปีใหม่เมืองล้านนา

ชาวพุทธในอ.เชียงแสน จ.เชียงราย แห่ทำบุญ “วันพญาวัน” แน่นวัดพระธาตุผาเงา อุทิศส่วนกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ ก่อนนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ขณะที่สามเหลี่ยมทองคำ มีนักท่องเที่ยวนำรถกระบะใส่น้ำสาดกันสุดคึกคัก

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. เป็นวันพญาวันในเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่เมืองของล้านนา โดยบรรยากาศตัวเมืองอ.เชียงแสน จ.เชียงราย บริเวณวัดพระธาตุผาเงา ต.เวียง มีพุทธศาสนิกชนแห่กันไปทำบุญขนทรายเข้าวัด พร้อมทั้งนำตุงปักบนกองทราย ขอพรพระและสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุ และพระสงฆ์อย่างเนืองแน่น




สำหรับวันพญาวัน เป็นวันที่สามของประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา เป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งพุทธศาสนิกชนมีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เช้าตรู่ และอุทิศส่วนกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า “ทานขันข้าว” หลังจากนั้นนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่อยู่ร่วมพิธีทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงปีใหม่ และฟังเทศนาธรรม และมีพระพุทธิญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา เจ้าคณะอำเภอเชียงแสน ได้นำชาวพุทธตักบาตรทำบุญและปฏิบัติธรรม จากนั้นจัดให้มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ สรงน้ำพระสงฆ์โดยมีทำรางท่อน้ำสำหรับให้พุทธศาสนิกชนเทน้ำไหลตามท่อ พระสงฆ์นั่งในกระโจม จากนั้นพุทธิญาณมุนีนำคณะพระสงฆ์เดินเป็นแถวออกมาจากกระโจม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่รออยู่ทั้ง 2 ฟากถนนภายในวัดสรงน้ำพระสงฆ์ทุกรูป



ขณะที่ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน มีนักท่องเที่ยวแห่กันนั่งเรือชมแม่น้ำโขงกันเป็นจำนวนมาก ตามถนนริมโขงมีการนำถังน้ำขนาดใหญ่มาตั้งเรียงราย แล้วใช้เครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาสาดใส่ผู้ที่ขับขี่รถสัญจรผ่านไปมา นักท่องเที่ยวต่างถิ่นก็จะใช้รถปิกอัพใส่ถังน้ำไว้ท้ายรถสาดเล่นกับคนที่อยู่ริมถนนอย่างสนุกสนาน เป็นการคลายความร้อนที่อบอ้าวไปได้อย่างมาก ทำให้รถติดยาวเหยียดเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะถนนริมโขง ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ตั้งแต่หน้าหน่วย นรข.เขตเชียงราย ไปจนถึงหน้าวัดพระขาวป้าน ทำให้ถนนสายนี้กลายเป็นถนนสายเล่นน้ำตลอดสาย มีการตั้งเครื่องสูบน้ำโขงขึ้นมาใส่ถังขนาด 200 ลิตร เรียงรายเป็นจุดๆ สาดใส่รถกระบะที่มีคนนั่งท้ายรถที่ผ่านไปมา ทำให้ถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ บางราย นำถังน้ำ 200ลิตร ใส่ไว้กระบะท้ายรถ ตระเวนเล่นสาดน้ำใส่กัน สร้างความชุ่มฉ่ำคลายความร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 40 องศาลงไปได้


ด้านนายพรเลิศ พรมปัญญา ผู้บริหารท่าเรือท่องเที่ยวเหนือสยามที่สามเหลี่ยมทองคำ บ้านสบรวก ม.1 ต.เวียง กล่าวว่า งานประเพณีมหาสงกรานต์เมืองเชียงแสน จะเริ่มในวันที่ 16 -18 เมษายน แต่วันนี้ถนนทุกสายก็เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวที่แห่เข้ามาเล่นน้ำโขง โดยปีนี้ที่สามเหลี่ยมทองคำ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวกลับเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่างกับสงกรานต์ปีที่ผ่านมา จะมีนักท่องเที่ยวคนไทยมากกว่า แต่คาดว่า นักท่องเที่ยวคนไทยจะเข้ามาเที่ยวที่สามเหลี่ยมทองคำมาในวันเปิดงานสงกรานต์ เมืองเชียงแสน ในวันที่ 16 เมษายนนี้.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606340
11067  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพรหมบัณฑิตพร้อมคณะสงฆ์ สวดมนต์ข้ามปี เถลิงศกรับปีใหม่ไทย เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:22:09 am






พระพรหมบัณฑิตพร้อมคณะสงฆ์ สวดมนต์ข้ามปี เถลิงศกรับปีใหม่ไทย

16 เม.ย.2559 บรรยากาศการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2559 เมื่อช่วงดึกของวันที่ 15 เมษายน เวลา 23.00น. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)โดยกรมการศาสนาร่วมกับวัดประยุรวงศาวาส จัด "พิธีสวดมนต์ข้ามปีจุลศักราช 1378 เถลิงศกรับปีใหม่ไทย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2559" ที่วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมี พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสเป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ลั่นระฆังเข้าสู่ปีใหม่ไทย โดยมีนายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมการศาสนาพร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา ประชาชน สื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก


 :96: :96: :96: :96: :96:

ดร.พงศ์ศักติฐ์ กล่าวว่า พิธีดังกล่าวกรมการศาสนาจัดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เน้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัดอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทย ทำบุญตักบาตร รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ที่สำคัญได้มีการรณรงค์ขอความร่วมมือ “ส่งเสริมสวดมนต์ขอพรรับวันขึ้นปีใหม่ไทย” ทั่วประเทศเป็นครั้งแรก โดยวันและเวลา สถานที่ในการจัดสวดมนต์นั้นขึ้นอยู่กับวัดในแต่ละท้องถิ่นกำหนด ถือเป็นการนำมิติทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมมาสร้างความสงบสุข ความเอื้ออาทรสมานฉันท์ให้แก่คนในสังคมด้วยพลัง “บวร” บ้าน-วัด-โรงเรียน และชุมชนคุณธรรมทั่วประเทศ

 :25: :25: :25: :25:

โดยตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือตั้งแต่วันที่ 12 -16 เมษายน 2559 ได้รับความร่วมมือจากวัดและชุมชนคุณธรรมทั่วประเทศจัดงานสงกรานต์กันอย่างคึกคัก ในส่วนกลาง มีการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ 4 ภาคในวัดในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่
    1. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (ภาคเหนือ) ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย และมีการแสดงวัฒนธรรมชาวเหนือ
    2. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ภาคกลาง) นมัสการพระพุทธไสยาส สรงน้ำ ชมตะกร้อลอดบ่วง การแสดงทางวัฒนธรรมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    3. วัดราชาธิวาส (ภาคใต้) ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย การแสดงวัฒนธรรมทางภาคใต้
    4. วัดปทุมวนาราม (ภาคอีสาน) สรงน้ำพระพุทธปฏิมาโบราณ สรงน้ำต้นศรีมหาโพธิ์ การแสดงมหรสพสังคีต(โปงลาง) ธรรมยาตรา 9 สิริมงคล และสวดมนต์ขอพรรับวันขึ้นปีใหม่ไทย
    5. ชุมชนคุณธรรมวัดหงส์รัตนาราม จัดทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระและก่อพระเจดียทราย
    6. วัดประยุรวงศาวาส บำเพ็ญกุศลอุทิศแก่บรรพบุรุษ สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธนาค เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าชมและลอดพระอุโมงค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ และจัด"พิธีสวดมนต์ข้ามปีจุลศักราช 1378 เถลิงศกรับปีใหม่ไทย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2559"
    7. วัดอรุณราชวราราม จัดกิจกรรมส่งเสริมท่องเที่ยววิถีไทย วิถีธรรม นมัสการพระปรางค์วัดอรุณ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เล่าเรื่องเมืองขนม ไหว้พระเสริมสิริมงคล และมีพิธีตักบาตร ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าศาลายักษ์คู่ เป็นต้น


 st12 st12 st12 st12

ในส่วนภูมิภาค วัดร่วมกับชุมชนคุณธรรมจัดกิจกรรมสงกรานต์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีไทย วิถีธรรม อาทิ       
    1. วัดศรีโพธิ์ชัย จ.เลย จัดงานแห่ต้นดอกไม้ใหญ่ที่สุดในโลก
    2. วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ร่วมกับสภาบวรศรีสุพรรณจัดกิจกรรมเวียนเทียนรอบอุโบสถเงิน ( Chiang MaiUnplugged ) ปิดไฟประหยัดพลังงาน
    3. วัดช้างค้ำ จ.เชียงใหม่ นั่งรถชมเวียงกุมกาม กินอาหารแบบขันโตก และสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น
    4. วัดวาปีสุทธาวาส จ.ราชบุรี จัดประเพณีสงกรานต์สานสัมพันธ์ 8 ชาติพันธุ์ และ
    5. วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี จัดกิจกรรมสงกรานต์มอญ เป็นต้น



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160416/226002.html
11068  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “ภิกษุณีธัมมนันทา” แจงขั้นตอนบวช “ภิกษุณี” ต้องให้พระสงฆ์ “เถรวาท” เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:23:29 am




“ภิกษุณีธัมมนันทา” แจงขั้นตอนบวช “ภิกษุณี” ต้องให้พระสงฆ์ “เถรวาท” เป็น “อุปัชฌาย์”

ภิกษุณีธัมมนันทา (ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) เจ้าสำนักวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม เปิดเผยว่า กรณีมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับภิกษุณีในเรื่องการขออุปสมบทในไทยนั้น ชี้แจงว่าภิกษุณีที่จะเป็นอาจารย์เตรียมการบวชให้ผู้ขอบวชภิกษุณี จะต้องมีอายุพรรษาอย่างต่ำ 12 พรรษา คือต้องเป็นภิกษุณีแล้วอย่างน้อย 12 ปี ไม่นับรวม 2 ปีที่เป็นสามเณรี และต้องได้รับการแต่งตั้งจากภิกษุสงฆ์ให้เป็นปวัตตินี หากไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นปวัตตินี และมาสั่งสอนผู้ขอบวชจะต้องอาบัติ

ทั้งนี้ เรามักเข้าใจว่าภิกษุณีจะต้องได้รบการอุปสมบทโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว จึงรับการอุปสมบทอีกครั้งจากพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจคลาดเคลื่อน แท้จริงแล้วภิกษุณีสงฆ์เข้ามาช่วยเตรียมความพร้อมในการอุปสมบทของผู้ขอบวช ตรงนี้เรียกว่าสอนซ้อม เป็นการจำลองการบวชจริงเหมือนพิธีซ้อมใหญ่ อาจารย์ทางฝ่ายภิกษุณีสงฆ์จึงไม่เรียกอุปัชฌาย์ ทางตรงกันข้ามภาษาบาลีเรียกปวัตตินี แต่พิธีอุปสมบทซึ่งเป็นสังฆกรรมนั้นสำเร็จที่พระภิกษุสงฆ์ เว้นแต่ไม่มีภิกษุสงฆ์สายเถรวาทเหลืออยู่ในโลกนี้แล้ว ภิกษุณีสงฆ์อาจจะพิจารณาอุปสมบทกันเองก็เป็นไปได้ หากทำความเข้าใจว่าพระพุทธองค์ให้ดูที่เจตนาของการกระทำเป็นสำคัญ


 ans1 ans1 ans1 ans1

“ฉะนั้น แม้หลวงแม่จะมีพรรษา 13 ก็อุปสมบทเองไม่ได้ ทำได้เพียงเตรียมลูกศิษย์เพื่อเข้ารับการอุปสมบท ที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่เป็นปวัตตินี สอนซ้อมการอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชชาวไทย 3 รูป ส่วนการอุปสมบทกระทำโดยภิกษุสงฆ์ของศรีลังกา อย่างไรก็ตาม หากมีการอุปสมบทภิกษุณีในไทย ยังต้องนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จากต่างประเทศ ซึ่งทำได้ทันทีโดยพระธรรมวินัย และพระภิกษุสงฆ์ในสายเถรวาทที่พร้อมอุปสมบทแก่ภิกษุณีก็มีอยู่ ส่วนขั้นตอนการนิมนต์ภิกษุสงฆ์ต่างชาติสายเถรวาทเข้ามาทำการอุปสมบทในไทยนั้น จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงต่างประเทศหรือไม่ เป็นปัญหาทางกฎหมายที่ฝ่ายบ้านเมืองต้องเข้ามาพิจารณาแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคม” ภิกษุณีธรรมนันทากล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/106429
11069  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ยอดเจดีย์ทองร้าว แผ่นดินไหวรุนแรง 7-8 เขย่าสงกรานต์พม่า เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:19:25 am




ภาพที่เผยแพร่ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีเลฟเว่นนิวส์ แสดงให้เห็นยอดเจดีย์ทองแห่งหนึ่ง ที่เมืองปะก๊อกกู (Pakokku) เมืองเอกของเขตมาจเว (Magwe) ที่อยู่ใต้ลงไปกว่า 100 กม. จากจุดศูนย์กลาง เจ้าหน้าที่พม่ากล่าวว่า สถานีตรวจจับในท้องถิ่นใกล้เคียง วัดความรุนแรงได้ตั้งแต่ 7.1- 8 แผ่นดินไหวในคืนวันพุธ 13 เม.ย. นับเป็นครั้งรุนแรงที่สุด ในหลายปีมานี้.
       


ยอดเจดีย์ทองร้าว แผ่นดินไหวรุนแรง 7-8 เขย่าสงกรานต์พม่า

MGR ออนไลน์ -- เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงทางตอนเหนือของพม่า คืนวันพุธ 13 เม.ย. นี้ อันเป็นวันที่สองที่ชาวพม่านับล้าน ๆ คนทั่วประเทศ เล่นสาดน้ำเทศกาลตีงจาน (Thingyan) หรือ เทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณี แผ่นดินไหววัดความรุนแรงในท้องถิ่นได้ถึงระดับ 8 แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงนครย่างกุ้ง หลายเมืองสำคัญทางตอนเหนือสั่นสะเทือนหนัก และ ยอดเจดีย์สวยงามแห่งหนึ่งในเมืองปะก๊อกกู (Pakokku) ที่อยู่ใต้ลงไปกว่า 100 กิโลเมตร เกิดรอยร้าวยาว
       
       แต่การฉลองเทศกาลก็ยังดำเนินต่อไป ภาพที่เผยแพร่โดยสื่อออนไลน์ภาษาพม่า แสดงให้เห็นประชาชนจำนวนมากยังคงชมการแสดงดนตรีบนเวทีอย่างสนใจ ที่เมืองแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเพียงไม่กี่สิบ กม.
       
       ตามรายงานของคณะกรรมการติดตามแผ่นดินไหว เหตุเกิดเมื่อเวลา 20.25 น. ตามเวลาในท้องถิ่น (ช้ากว่าเวลาในประเทศไทยครึ่งชั่วโมง) ทางตอนเหนือของเขตสกาย (Sagaing) ซึ่งเป็นเขตปกครองทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปจากพื้นโลก 128 กิโลเมตร ที่พิกัด 23.14 องศาเหนือ ตัดกับ 94.91 องศาตะวันออก ห่างจากนครมัณฑะเลย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 177 กม.


        :96: :96: :96: :96:

       ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ หรือ USGS (US Geological Survey) รายงานในคืนเดียวกันว่า จุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองมอไล (Maulaik) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 74 กม. และ เมื่อตรวจสอบรายละเอียดจากแผนที่ประเทศพม่า ได้พบว่าอาณาบริเวณดังกล่าวเป็นเขตแม่น้ำชินวิน (Chindwin) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาใหญ่ที่สุด ในเขตต้นน้ำของแม่น้ำอิรวดี
       
       ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเสียหาย หรือ ผู้ที่อาจได้รับบาดเจ็บในขณะนี้ แต่อย่างน้อยที่สุด แรงสั่นสะเทือนได้ทำให้ยอดเจดีย์ทององค์หนึ่งในเขตเมืองปะก๊อกกู เมืองท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตปกครองมาจเว (Magwe) ถึงกับร้าว ภาพที่เผยแพร่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา แสดงให้เห็นรอยแยกยาวจากยอดฉัตร ลงไปจนถึงองค์เจดีย์
       
       หนังสือพิม์พ์ อีเลฟเว่นนิวส์ เผยแพร่ดังกล่าว โดยระบุว่า ถ่ายเอาไว้โดยประชาชนในท้องถิ่น แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก ยังไม่ทราบว่าพระเจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดของตัวเมือง หรือ มีความเป็นมาอย่างไร
       
       แผ่นดินไหวส่งแรงสั่นสะเทือนถึงเมืองใหญ่ และ ท้องถิ่นต่าง ๆ ทั้งในเขตสะกาย ระไค มัณฑะเลย์ มาจเว จนถึงรัฐชาน และเขตพะโค รายงานของคณะกรรมการดังกล่าวระบุ

       

ข้อมูลของ USGS สหรัฐ ระบุว่าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ห่างจากเมืองมอไล (Maulaik) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 74 กม. เมื่อตรวจรายละเอียดจากแผนที่ของกูเกิ้ล จึงพบว่าอาณาบริเวณดังกล่าวเป็นเขตแม่น้ำชินด์วิน (Chindwin) ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาใหญ่ที่สุด ในเขตต้นแม่น้ำอิรวดี.
       

ภาพที่เผยแพร่ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีเลฟเว่นนิวส์ ตอนเกิดแผ่นดินไหวชาวเมืองกะเล (Kalay) เมืองใหญ่ในเขตสะกาย (Sagaing) ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไม่กี่สิบกิโลเมตร กำลังชมการแสดง แรงสั่นสะเทือนทำให้เวทีสั่นไหวรุนแรง แต่ชั่วครู่ทุกอย่างก็ผ่านไป ดนตรีก็เล่นต่อไป.
       

       สำนักข่าวเอพีรายงานอ้างผู้สื่อข่าวของตน ซึ่งอยู่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้งว่า แรงสั่นสะเทือนทำให้ทำให้อาคารสูง 6 ชั้นของโรงพยาบาลดังกล่าวสั่นไหว
       
       สำนักข่าวนี้รายงาน การรู้สึกแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงรัฐอัสสัม ทางทิศตะวันออกของอินเดีย รัฐมณีปูร์ (Manipur) ที่อยู่ติดพรมแดนพม่า รวมทั้งในกรุงทากา บังกลาเทศ และไกลออกไปในรัฐเบงกอลตะวันตก บางแห่งทำให้ประชาชนในท้องถิ่นแตกตื่นตกใจ แต่ทุกแห่งยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเสียหาย


        :41: :41: :41: :41:

       ดร.จอโม (Kyaw Moe) รองผู้อำนวยการศูนย์อุทกศาสตร์ ในนครย่างกุ้ง ยืนยันว่า ที่เมืองกะเล (Kalay) ทางตอนเหนือของเขตสะกาย ทีมีประชากรราว 400,000 คน และ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุด วัดความรุนแรงได้ถึงระดับ 8 โดยจะแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในวันพฤหัสบดี
       
       หนังสือพิมพ์อีเลฟเว่นนิวส์ รายงานในเว็บไซต์อ้างคำบอกเล่าของชาวเมืองกะเลผู้หนึ่งว่า ตอนเกิดแผ่นดินไหว ตัวเขานั่งอยู่บนจักรยาน ใกล้หน้าเวที ขณะทุกคนกำลังชมวงดนตรี เนื่องในเทศกาลตีงจาน ทำให้จักรยานโอนเอนล้มลง แรงสั่นสะเทือนทำให้เวทีสั่นไหว และ นักดนตรีกับนักร้องต้องนั่งลงบนพื้นเวที
       
       อย่างไรก็ตาม เพียงชั่วขณะทุกอย่างก็สงบลงผ่านไป และ วงดนตรีก็บรรเลงต่อไป ทั้งนี้ยังไม่ทราบความเสียหายในที่อื่น ๆ.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9590000038106
11070  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พศ.เตรียมต่อยอด นำพระศึกษาพุทธศาสนาศรีลังกา เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:12:51 am




พศ.เตรียมต่อยอด นำพระศึกษาพุทธศาสนาศรีลังกา

น.ส.ประนอม คงพิกุล รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า จากการจัดโครงการนำพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปศึกษาประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนายังประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 5-10 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นมาจากการที่เมื่อครั้งประธานาธิบดีศรีลังกามาเยือนประเทศไทย เมื่อช่วงปลายปี 2558 เนื่องในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ศรีลังกา 60 ปี

และได้หารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา เพราะศรีลังกามีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง จึงเกิดโครงการดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งจากการเดินทางไปในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดี จึงเห็นว่าจะนำหารือกับทางนายพนม ศรศิลป์ ผอ.พศ.เพื่อต่อยอดโครงการนี้ต่อไป


 :25: :25: :25: :25:

พระปลัดไพบูลย์ ญาณวิปุโล วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หัวหน้าพระสอนศีลธรรม จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า การได้มาศึกษาประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ทำให้พระสงฆ์ได้มาเห็นสถานที่จริงที่เคยเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นในสมัยพุทธกาล และสามารถนำไปถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนได้ ที่สำคัญศรีลังกาเคยเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเกือบล่มสลายมาแล้ว ดังนั้นการได้มาศึกษาประวัติศาสตร์ของศรีลังกา ทำให้ได้รู้สาเหตุ และแนวทางแก้ไข ในการปกป้อง พระพุทธศาสนาให้สามารถดำรงอยู่สืบไปได้.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/605994
11071  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เร่งตรวจสอบ หลังวัดเมืองคอนขุดพบ ’พระร่วงรางปืน’ นักเลงพระให้ราคาถึงหลักแสน เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:09:19 am



กรมศิลป์เร่งตรวจสอบหลังวัดเมืองคอนขุดพบ’พระร่วงรางปืน’ นักเลงพระให้ราคาถึงหลักแสน

กรณีทางวัดนางตรา ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ขุดพบโบราณวัตถุในโบราณสถานวัดนางตรา อำเภอท่าศาลา จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย พระพิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน (พระร่วงรางปืน) เนื้อโลหะ ขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 8 ซม. (อยู่ในไห) จำนวน 78 องค์, ศิวลึงค์ศิลาแบบสมัยดั้งเดิม มีส่วนศิวลึงค์และโยนีติดกัน

ส่วนของฐานโยนีมีรางน้ำสมบูรณ์ ฐานด้านนอกของโยนีจำหลักลายประจำยามก้ามปูทุกด้าน องค์ศิวลึงค์ปรากฏเส้นพราหมณ์สูตรและปารวสูตรชัดเจน ขนาดฐานกว้าง 37 ซม. ฐานสูง 11 ซม. ฐานยาว 58 ซม. ความสูงของศิวลึงค์ 13 ซม. จำนวน 1 องค์, ไหเคลือบสีน้ำตาลเป็นเส้นเยิ้มในแนวตั้ง มีคราบปูนติดอยู่บนไหล่ ชนิดขนาดสูง 65 ซม. ปากกว้าง 21 ซม. ก้นกว้าง 22 ซม. จำนวน 1 ใบ, ภาชนะสำริดลักษณะก้นกลม สภาพชำรุด กว้าง 15 ซม. สูง 6 ซม. จำนวน 1 ใบ, เต้าปูนสำริด สภาพชำรุด จำนวน 1 อัน เหตุเกิดเมื่อบ่ายวันที่ 13 เมษายน 2559


 :25: :25: :25: :25:

ล่าสุด วันที่ 15 เมษายน ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า โบราณวัตถุทั้ง 5 รายการ ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ 14 ได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราชแล้วเมื่อคืนวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อรอการพิสูจน์ทางโบราณคดีที่ชัดเจนอีกครั้ง การค้นพบโบราณวัตถุในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชได้อย่างมาก ตั้งแต่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มาจนถึงโบราณวัตถุที่ค้นพบก่อนหน้านี้ที่มีหลักฐานเชื่อมโยงถึงกัน

ซึ่ง อ.จำรัส เพชรทับ ระบุว่า ศิวลึงค์ที่พบนี้เป็นศิวลึงค์ยุคต้น อายุประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-12 (ประมาณ 1,300-1,500 ปี) เป็นศิวลึงค์ที่มีความสมบูรณ์และมีลวดลายสวยงามชัดเจนที่สุด เท่าที่เคยพบมา และน่าจะเป็นองค์ที่ 2 ที่พบในภาคใต้ ก่อนหน้านี้เคยพบในพื้นที่อำเภอสิชลมาแล้ว 1 องค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า



นายอาณัติ บำรุงวงศ์ ผอ.ศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กล่าวว่า โบราณวัตถุทั้ง 5 รายการข้างต้นถือว่าเป็นการค้นพบร่องรอยทางโบราณคดีที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะต้องนำมาตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง เบื้องต้นจากการตรวจสอบโบราณวัตถุยังมีความสมบูรณ์และลวดลายมีความชัดเจนมาก มีความเก่าแก่อาจเป็นชิ้นสำคัญของภาคใต้โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความเจริญรุ่งเรืองของพราหมณ์ ต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังข่าวการขุดค้นพบโบราณวัตถุหลายรายการที่วัดนางตรา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้มีใบสั่งมายังแผงพระในการควานหาพระร่วงรางปืนรุ่นวัดนางตรา ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงมาก เจ้าของแผงพระย่านท่าวัง ระบุ ขณะนี้ได้มีนักเลงพระแจ้งความต้องการพระพิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน (พระร่วงรางปืน) ทุกรุ่น ถึงแม้จะมีราคาที่สูง เท่าที่ทราบก่อนหน้านี้จะมีราคา 200,000-350,000 บาทต่อองค์ แต่ก็ยังหายาก และหากระบุเนื้อโลหะยิ่งทำให้มีราคาสูงมากขึ้น แต่มั่นใจว่าชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงวัดรุ่นเก่าๆ ก็ยังพอที่จะหาได้ ในวงการพระเวลานี้พระพิมพ์รุ่นนี้มาแรงมาก



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/106654
11072  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ประเพณีศาสนาพราหมณ์ แห่นางดาน มหาสงกรานต์เมืองคอน เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:04:52 am





ประเพณีศาสนาพราหมณ์ แห่นางดาน มหาสงกรานต์เมืองคอน

เทศบาลนครเมืองคอน จัดงานมหาสงกรานต์ แห่นางดาน ประเพณีศาสนาพราหมณ์ คุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัย นักท่องเที่ยวแห่ชมคึกคัก...

เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 14 เม.ย. ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช คณะกรรมการชุมชน ร่วมพิธีบวงสรวงพระอิศวร ณ ฐานพระสยม ใกล้กับตลาดท่าชี จากนั้นในเวลา 18.30 น. ขบวนแห่จากฐานพระสยม ไปตามเส้นทางถนนราชดำเนินไปยังสวนศรีธรรมาโศกราช กระทั่งเวลา 19.00 มีการแสดงแสงเสียงสื่อผสม ณ สวนศรีธรรมาโศก โดยมีประชาชนชาวนครศรีธรรมราชจำนวนมากร่วมชมในพิธี ซึ่งในปีนี้ทางเทศบาลนครศรีธรรมราช จัดพิธีแห่นางดาน ในงานมหาสงกรานต์

สำหรับจ.นครศรีธรรมราช มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีความรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรม มีเมืองบริวารที่เรียกว่า เมือง 12 นักษัตร ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นประเพณีสงกรานต์ของนครศรีธรรมราช จึงมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยประเพณีแห่นางดาน เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวาย หรือประเพณีโล้ชิงช้า ถือเป็นการอัญเชิญเทพสามองค์มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วงเดือนยี่ของทุกปี ซึ่งประเพณีนี้เชื่อกันว่าเป็นการประสาทพรให้มีความสุขสบายคุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัย โดยเทพที่อัญเชิญรับเสด็จประกอบด้วย พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระแม่คงคา และพระแม่ธรณี ซึ่งมีการจารึก หรือแกะสลักลงบนแผ่นไม้ โดยชาวนครศรีธรรมราชเรียกไม้แกะสลักนี้ ว่า นางกระดาน หรือนางดาน เมื่อถึงวันพิธีก็อัญเชิญนางกระดานมายังเสาชิงช้า เพื่อรอรับพระอิศวร ที่จะเสด็จเยี่ยมโลก.







ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/605999
11073  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไปดู มอญเสากระโดง สรงน้ำผ่านรางไม้ไผ่ หนึ่งเดียวที่บางปะอิน เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 08:00:56 am




ไปดู มอญเสากระโดง สรงน้ำผ่านรางไม้ไผ่ หนึ่งเดียวที่บางปะอิน

พ่อเมืองกรุงเก่าควงนายกเหล่ากาชาด ร่วมงานสงกรานต์ชาวไทยรามัญ หรือมอญเสากระโดง ที่วัดทองบ่อ ต.ขนอนหลวง อ.บางปะอิน อนุรักษ์ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ขบวนแห่หงส์ ธงตะขาบ ไม้ค้ำโพธิ์ การสรงน้ำผ่านรางไม้ไผ่...

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 เม.ย.59 ที่วัดทองบ่อ ต.ขนอนหลวง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พระนครศรีอยุธยา และนางมีนา รัตนเสนีย์ นายกเหล่ากาชาด ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ชาวไทยรามัญ(มอญเสากระโดง)

ทั้งนี้ ประเพณีสงกรานต์ที่วัดทองบ่อ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนชาวไทยรามัญแห่งนี้ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีและขนบธรรมเนียมของชุมชนชาวไทยรามัญเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวบ้านได้แต่งกายแบบชาวมอญทั้งชายและหญิงอย่างสวยงามมาทำบุญตักบาตรที่วัด ร่วมขบวนแห่หงส์ ธงตะขาบ ไม้ค้ำโพธิ์ ขบวนแห่พระพุทธรูป ขบวนแห่ผ้าห่มเจดีย์ แห่นก แห่ปลา


ขบวนแห่ผ้าห่มเจดีย์

ขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์

ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การสรงน้ำแบบใช้รางไม้ไผ่ ของชาวไทยรามัญ ซึ่งแฝงความหมาย และมีความสำคัญต่อประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญ อยู่คู่ชุมชนชาวไทยรามัญมานาน ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล. 


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/605920
11074  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นทท.หนีร้อนแห่ทำบุญวัดธาตุพนม เล่นสงกรานต์หาดน้ำโขงสุดคึกคัก เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 07:58:12 am





นทท.หนีร้อนแห่ทำบุญวัดธาตุพนม เล่นสงกรานต์หาดน้ำโขงสุดคึกคัก

วัดธาตุพนม หาดแห่น้ำโขงสุดคึกคัก โดยมีนักท่องเที่ยวหนีร้อนเดินทางมาทำบุญ เล่นน้ำสงกรานต์ พบในพื้นที่เงินหมุนเวียนสะพัดวันละหลายล้านบาท พ่อค้าแม่ค้าบางรายฟันเงินวันละแสน...

เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม บรรยากาศการท่องเที่ยวเทศกาลสงกรานต์ วันที่สอง ยังพบว่าประชาชน นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ ยังคงเดินทางไปท่องเที่ยว ทำบุญ ตามวัดสำคัญ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดอุณหภูมิสูง ถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้บรรยากาศถนนข้าวปุ้น ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ไม่ค่อยคึกคัก เนื่องจาก ประชาชน นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะหันไปเล่นน้ำในช่วงเย็น

ขณะเดียวกันกับพบว่า วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ที่ตั้งองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง กลายเป็นที่สนใจ ของประชาชน นักท่องเที่ยว เดินทางไปเที่ยว ทำบุญสรงน้ำพระธาตุพนม เพื่อเป็นสิริมงคล ในวันสงกรานต์ กันคึกคัก ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยทางวัดพระธาตุพนม ได้จัดทำรอกสรงน้ำอบ น้ำหอม เพื่อบริการประชาชน ให้สามารถชักรอก ขึ้นไปสรงน้ำ ถึงยอดองค์พระธาตุพนม เสริมความเป็นสิริมงคล ความสูงกว่า 53 เมตร สร้างความสนใจให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว ได้มีโอกาสร่วมสรงน้ำ 1 ปี มีครั้งเดียว



นอกจากนี้ในเส้นทางเดียวกันยังพบว่า หาดแห่กลางแม่น้ำโขง พื้นที่ บ้านน้ำก่ำ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ถือเป็นเส้นทางเดียวกันห่างจากวัดพระธาตุพนม ประมาณ 5 กิโลเมตร กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่มีประชาชน นักท่องเที่ยว หนีร้อนไปเล่นน้ำแทนเล่นสงกรานต์สาดน้ำตามพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากปีนี้อากาศร้อนจัดอุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียส ทำให้ประชาชน นักท่องเที่ยว หันมาเที่ยวหาดแห่กลางแม่น้ำโขงแทน

โดยชาวบ้านได้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ปรับหาดทรายกลางน้ำโขงแห้วง ช่วงหน้าแล้ง จัดทำซุ้มอาหาร บริการอาหาร เครื่องดื่ม เมนูปลาน้ำโขง นานาชนิด รวมถึง บริการอุปกรณ์เล่นน้ำ เช่าห่วงยาง บานาน่าโบท เจ็ทสกี ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้เล่นน้ำ รับประทานอาหาร ท่ามกลางธรรมชาติสองฝั่งโขง มี่แพ้บรรยากาศทะเล จนเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน เรียกว่า ทะเลอีสาน



ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ยิ่งในช่วงสงกรานต์ ในแต่ละวันมีประชาชน นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยว วันละหลายหมื่นคน ส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว มีเงินหมุนเวียนสะพัดวันละหลายล้านบาท ส่วนยอดขายแต่ละร้าน มีเงินหมุนเวียนวันละเกือบแสนบาท ในช่วงวันสงกรานต์ ยิ่งอากาศร้อนจัด ทำให้คึกคัก มากกว่าทุกปี.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/605942
11075  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปชช. แห่เที่ยว 'สกายวอล์ควัดผาตากเสื้อ-เล่นน้ำหาดทรายทอง' คึกคัก.! เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 07:54:25 am





ปชช. แห่เที่ยว 'สกายวอล์ควัดผาตากเสื้อ-เล่นน้ำหาดทรายทอง' คึกคัก.!

นทท.ใช้เวลาช่วงเทศกาลสงกรานต์ เที่ยวชมสกายวอล์ควัดผาตากเสื้อ จ.หนองคาย ทางวัดจัดระเบียบเข้าชมครั้งละ 20 คน คนละ 3-5 นาที ทั้งนี้ ปชช.ส่วนหนึ่งลงเล่นน้ำคลายร้อนบริเวณหาดทรายทอง ชายหาดน้ำโขงอย่างคึกคัก ท่ามกลางอากาศร้อนถึง 40 องศาฯ...

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่วัดผาตากเสื้อ ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมสกายวอล์คพื้นกระจกใส และชมทัศนียภาพ พร้อมทั้งถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันตั้งแต่เช้า โดยทางวัดได้ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวลงทะเบียนก่อนเข้าชม และจัดระเบียบให้เข้าชมครั้งละไม่เกิน 20 คน ทุกคนต้องถอดรองเท้า ใส่รองเท้าพื้นฟองน้ำที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นกระจกเกิดรอยขีดข่วน และเปิดให้ชมได้คนละไม่เกิน 3-5 นาที รวมถึงขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวที่ตัวเปียกจากการเล่นน้ำไม่อนุญาตให้เข้าชม นักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ซึ่งตั้งแต่เปิดสกายวอล์คให้นักท่องเที่ยวได้ชมอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก โดยเวลาปกติเปิดให้เข้าชมช่วงเวลา 09.30 - 16.30 น. แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทางวัดได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 08.00 น. นักท่องเที่ยวจึงเดินทางมาตั้งแต่เช้า เพื่อเลี่ยงอากาศร้อนจัดในช่วงสาย ช่วงบ่าย



นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมสกายวอล์คพื้นกระจกใส

นักท่องเที่ยวเดินทางมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันตั้งแต่เช้า

จนท.จัดระเบียบให้เข้าชมครั้งละไม่เกิน 20 คน และต้องใส่รองเท้าฟองน้ำ ป้องกันรอยขีดข่วน


ส่วนบริเวณหาดทรายทอง บ้านหัวทราย ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ชาวหนองคายและนักท่องเที่ยวเดินทางมาเล่นน้ำคลายร้อนและเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่างเนืองแน่นตลอดทั้งวัน โดยมีบริการห่วงยาง เล่นเรือกล้วย และเล่นสาวน้อย หนุ่มน้อยตกน้ำ ซึ่งมีทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองพาบุตรหลานมาเล่นน้ำ และวัยรุ่นหนุ่มสาวมาท่องเที่ยวเล่นน้ำ รับประทานอาหารที่มีบริการอาหารเครื่องดื่มมากกว่า 60 ร้าน เรียงรายอยู่เต็มชายหาด

ขณะที่มาตรการดูแลความปลอดภัยทาง อบต.พานพร้าวและชาวบ้านได้นำธงแดงปักเป็นสัญลักษณ์บริเวณที่มีระดับความลึกของแม่น้ำโขง ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเล่นเสี่ยงอันตราย และจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์หยุดยาวทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำโขง คลายร้อนเป็นจำนวนมาก.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/606223
11076  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวหนองคาย แห่เที่ยวสกายวอล์คจุดชมวิวกระจกใส คนเพียบแห่ต่อคิวแน่นแต่เช้า เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 07:49:13 am




ชาวหนองคาย แห่เที่ยวสกายวอล์คจุดชมวิวกระจกใส คนเพียบแห่ต่อคิวแน่นแต่เช้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ (15 เม.ย. 59) ที่วัดผาตากเสื้อ ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย ได้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมสวอล์คพื้นกระจกใส ชมทัศนียภาพและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันตั้งแต่เช้า โดยทางวัดได้ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวลงทะเบียนก่อนเข้าชม และจัดระเบียบให้เข้าชมครั้งละ ไม่เกิน 20 คน ทุกคนต้องถอดรองเท้า ใส่รองเท้าพื้นฟองน้ำที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นกระจกเกิดรอยขีดข่วน และเปิดให้ชมได้คนละไม่เกิน 3-5 นาที รวมถึงขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวที่ตัวเปียกจากการเล่นน้ำไม่อนุญาตให้เข้าชม นักท่องเที่ยวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ซึ่งตั้งแต่เปิดสกายวอล์คให้นักท่องเที่ยวได้ชมอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก โดยเวลาปกติเปิดให้เข้าชมช่วงเวลา 09.30 น. -16.30 น. แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทางวัดได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 08.00 น. และก็มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาตั้งแต่เช้า เพื่อเลี่ยงอากาศร้อนจัดในช่วงสาย ช่วงบ่าย

นอกจากนี้ทางวัดยังได้จัดรดสรงน้ำพระพุทธรูปให้นักท่องเที่ยวได้สรงน้ำขอพรในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตด้วย



ชมคลิปได้ที่
https://youtu.be/AeYcSHlFKk8
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/106350
11077  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สลดฆ่าพระวันสงกรานต์!! มรณภาพกลางป่า เผยเป็นพระนักปฏิบัติ-เพิ่งเห็นออกบิณฑบาต เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 07:45:33 am





สลดฆ่าพระวันสงกรานต์!! มรณภาพกลางป่า เผยเป็นพระนักปฏิบัติ-เพิ่งเห็นออกบิณฑบาต

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 15 เม.ย. ร.ต.อ.เอกชัย ภาควัตร ร้อยเวรฯ สภ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบพระภิกษุมรณภาพอยู่ในป่าละเมาะข้างทาง ห่างจากถนน 344 บ้านบึง-แกลง ประมาณ 20 เมตร จึงรุดไปตรวจสอบในที่เกิดเหตุ พบพระภิกษุสงฆ์นอนมรณภาพในสภาพคว่ำหน้า ใกล้กันพบบาตร จีวร ธูป เทียน ตกเกลื่อน จึงให้แพทย์ชันสูตรศพ พบที่บริเวณศีรษะถูกของแข็งตีจนก้านคอหัก คาดว่าน่าจะเสียชีวิตมาไม่ต่ำกว่า 2 วัน

จากการสอบถามประชาชนใกล้เคียงทราบว่า พระรูปดังกล่าวพักอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์ปฏิบัติธรรมศศิญาศิริธร หมู่ที่ 1 เทศบาลเมืองบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นพระปฏิบัติ ชอบธุดงค์พักอาศัยตามป่า และเมื่อช่วง 2 วันที่ผ่านมา ก็ยังพบพระรูปดังกล่าวบิณฑบาต


ด้านนายเปา ผาครบุรี อายุ 49 ปี เป็นคนงานก่อสร้าง เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุ ตนเองได้เข้าไปเก็บผัก และได้กลิ่นโชยออกมา จึงเดินมาดู ก็พบพระมรณภาพ จึงรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเร่งติดตามถึงสาเหตุการมรณภาพครั้งนี้ อาจจะถูกกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยา หวังต่อทรัพย์ และพระสงฆ์อาจจะมีการขัดขืน จึงทำร้ายร่างกาย จนกระทั่งเกิดเหตุสลดดังกล่าวก็ได้




ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460703395
11078  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระเณรเฮโล เต็มท้ายกระบะ บรรทุกน้ำสาดเล่นสงกรานต์กันสนุกสนานกับชาวบ้าน เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 07:41:06 am





พระเณรเฮโล เต็มท้ายกระบะ บรรทุกน้ำสาดเล่นสงกรานต์กันสนุกสนานกับชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเล่นน้ำสงกรานต์ ที่ จ.พิษณุโลก โดยอำเภอรอบนอกยังคงมีประชาชนตั้งซุ้มกางเต้นท์เล่นสาดน้ำกันมากในเฉพาะตามจุดหน้าร้าน หรือในตลาดที่มีผู้คนผ่านไปมา ซึ่งจะมีวัยรุ่นหนุ่มสาวพากันเล่นสาดน้ำอย่างสนุกสนาน แต่ในพื้นที่ตำบลที่ห่างออกไปจะนิยมนั่งรถกระบะตระเวนไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน

นอกจาก ประชาชนคนทั่วไปที่นั่งรถกระบะเล่นสาดน้ำกันแล้ว ยังมีพระภิกษุและสามเณรนั่งรถยนต์ปิกอัพยี่ห้ออีซูซุ ดีแม็ก ทะเบียน บม-9606 พิษณุโลก ร่วม 20 รูป มาเต็มกระหลัง โดยบรรทุกกระถังน้ำขนาดใหญ่ใส่น้ำเต็มถุง ตระเวรไปตามจุดที่มีการเล่นสาดน้ำกัน โดยขับผ่านตัวตลาดอำเภอนครไทย จ.พิษณุโลก สาดน้ำใส่ผู้เล่นสงกรานต์อย่างสนุกสนาน โดยสังเกตว่าคนขับรถกระบะดังกล่าวเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ขณะจอดให้มีการสาดน้ำผู้คนที่เห็นพระภิกษุขับรถยนต์ต่างยกมือไหว้กันทุกครั้ง ก่อนจะเล่นสาดน้ำใส่สามเณรตลอดเส้นทาง



จากการติดตามรถคันดังกล่าวปรากฏว่าได้ขับรถพระสามเณรไปเล่นสาดน้ำที่ตำบลหนองกระท้าวอย่างรวดเร็ว ก่อนจะพาเลี้ยวกลับเข้าตลาดนครไทย  จากนั้นได้เลี้ยวผ่านสามแยกแยกนครไทยไปทางสายนครไทย-ชาติตระการ โดยใช้ความเร็วมากพอสมควร และไม่คำนึงถึงสามเณรที่นั่งอยู่กระบะเต็มท้าย กระทั่งผ่านมาถึงวัดบ้านพร้าว รถเลี้ยวเข้าไปจอดภายในวัด ก่อนสามเณรจะลงจากรถทันที เพราะมีพี่เลี้ยงถือไม้เรียวมาควบคุม ให้กลับไปยังที่พัก จึงทำให้ทราบว่าเป็นพระและสามเณรจากวัดบ้านพร้าว

จากการตรวจสอบ พบว่าที่วัดบ้านพร้าว มีโครงการการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน  ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอนครไทย โดยมีพระครูพิบูลธรรมวงศ์ เจ้าคณะอำเภอนครไทย เจ้าอาวาสวัดบ้านพร้าว โดยมีการจัดงานฉลองตลอดทั้งวันทั้งคืน


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460711558
11079  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวไทยพวนบ้านโภคาภิวัฒน์ ตักน้ำผ่านรางไม้สักอายุ 100 ปี สรงน้ำพระสงฆ์ เมื่อ: เมษายน 14, 2016, 08:52:44 pm





ชาวไทยพวนบ้านโภคาภิวัฒน์ ตักน้ำผ่านรางไม้สักอายุ 100 ปี สรงน้ำพระสงฆ์

เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่วัดโภคาภิวัฒน์ ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวไทยพวนบ้านโภคาภิวัฒน์ จัดงานประเพณีสงกรานต์ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่สืบทอดกันมานานนับ 100 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยที่บรรพบุรุษอยู่ที่เมืองเชียงขวาง ประเทศลาว โดยนายสำราญ นันทนีย์ นายอำเภอพรหมบุรี เป็นประธานเปิดงาน “ไหว้สาปาระมี สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุเอ๊ว ไทยพวนนคเรศเวียงพรหมเน้อเอ๊ว เฮ้วปวระเขต” นำชาวบ้านสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ โดยชาวบ้านนำใบมะยมแช่น้ำในขันแล้ว ทุกคนใช้วิธีเทน้ำลงไปในรางไม้ที่เอียงตามวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม

จากนั้น ได้ร่วมกันสรงน้ำสรงน้ำหลวงพ่อหิน “พระพุทธมงคลมุณีศิลา โภคาภิวัฒน์” อายุ 800-1,000 ปี สันนิษฐานว่า ชาวไทยพวนได้อัญเชิญมาด้วยตอนอพยพจากเมืองเชียงขวาง แล้วนำมาประดิษฐาน ณ วิหารวัดโภคาภิวัฒน์

 
:96: :96: :96: :96:

นายมุนี คำแย้ม นายกเทศมนตรีตำบลบางน้ำเชี่ยว กล่าวว่า ประเพณีการสรงน้ำพระสงฆ์ที่นี่ค่อนข้างจะแปลกไปจากที่วัดอื่น คือทางวัดจะสร้างห้อง โดยนำกระดานมาตีล้อมคล้ายห้องอาบน้ำ 3 ด้าน อีกด้านหนึ่งปล่อยโล่ง (ไม่มีหลังคา) ชาวไทยพวนเรียกห้องนี้ว่า “บ่อนสรงน้ำเจ้าหัว” ขนาดห้องกว้างประมาณ 2x2 เมตร แล้วเอาท่อนไม้สักมาขุดเป็นรางน้ำยาวประมาณ 3-4 เมตร แล้วนำปลายรางน้ำข้างหนึ่งมาพาดบนขอบด้านบนของ “บ่อนสรงน้ำเจ้าหัว” แล้วยกปลายรางอีกข้างหนึ่งสูงราดขึ้น แล้วมีเสาค้ำยันมารองปลายรางอีกข้างหนึ่ง ภายในห้องจะมีเก้าอี้ตั้งไว้ 1 ตัว สำหรับให้พระสงฆ์นั่งรับน้ำ

เมื่อพระสงฆ์มานั่งที่เก้าอี้แล้ว ประชาชนที่มาสรงน้ำก็จะนำน้ำมาเทลงในราง ให้น้ำไหลมาตามรางลงมาตรงตัวพระสงฆ์ที่นั่งรอรับน้ำอยู่ในบ่อนสรงน้ำเจ้าหัว สรงน้ำพระสงฆ์เช่นนี้จนครบจำนวนพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัด เหตุที่ทำเช่นนี้เนื่องจากทางวัดยึดถือประเพณีดั้งเดิม ที่จะไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้หรือถูกตัวพระนั่นเอง ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปบ้าง เพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุ จึงนับว่าวิธีสรงน้ำพระที่วัดโภคาภิวัฒน์แปลกกว่าที่อื่น



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460636972
11080  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เผยผลวิจัยสงฆ์ไทยไกลโรค “จุฬาฯ” ผนึก “มจร” ผุด “ครัวต้นแบบ สงฆ์โภชนาดี” เมื่อ: เมษายน 14, 2016, 08:47:52 pm



เผยผลวิจัยสงฆ์ไทยไกลโรค “จุฬาฯ” ผนึก “มจร” ผุด “ครัวต้นแบบ สงฆ์โภชนาดี”

เมื่อเร็วๆ นี้ “คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ร่วมมือกับ “สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการ สังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)” ในโครงการ “”ครัวต้นแบบ สงฆ์โภชนาดี”” สร้างเสริมโภชนาการที่ดีของพระสงฆ์ ซึ่ง “รศ.ดร.จงจิตร อังคทะวานิช” ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ระบุว่า

โครงการครัวต้นแบบฯ อยู่ภายใต้โครงการวิจัยการขับเคลื่อนสื่อโภชนาการสงฆ์ไทยไกลโรค เพื่อสงฆ์ไทยเข้มแข็งและยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสร้างเสริมโภชนาการที่ดีของพระสงฆ์ และสร้างต้นแบบของครัวในสถาบันสงฆ์ ให้เกิดรูปธรรมของการจัดการอาหารถวายพระสงฆ์ที่มีมาตรฐาน ก่อให้เกิดความมั่นใจด้านโภชนาการ สุขภาพ ตลอดจนความปลอดภัยต่อพระสงฆ์ และเป็นแหล่งศึกษาของการจัดการภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่มีคุณภาพ และความปลอดภัย ถือเป็นการดูแลโภชนาการพระสงฆ์ที่เป็นต้นแบบแรกของไทย

 :25: :25: :25: :25:

ทั้งนี้ จากผลการวิจัยโดยใช้สื่อสงฆ์ไทยไกลโรคในพระสงฆ์ในกรุงเทพฯ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า พระสงฆ์มีน้ำหนักลด 1 กิโลกรัม รอบเอวลด 1.4 เซนติเมตร กลุ่มที่กำลังจะเกิดเบาหวานลดลง 9.3% คอเลสเตอรอลในเลือดลดลง 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และความดันโลหิตลดลง 3.7 มม.ปรอท พระสงฆ์ฉันอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น 13 กรัม/วัน ใยอาหารเพิ่มขึ้น 4.3 กรัม/วัน ฉันผักเพิ่มขึ้นวันละ 1 ทัพพี กะทิลดลงวันละ 2 ช้อนโต๊ะ รับแคลเซียมเพิ่มขึ้นวันละ 155 มิลลิกรัม และออกกำลังเพิ่มขึ้นวันละ 50 นาที การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแบบลูกระนาด และให้ผลดีหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

จากนี้จะนำสื่อสงฆ์ไทยไกลโรค ไปขยายผลอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ


คอลัมน์ การศึกษาสู่เศรษฐกิจ
http://www.matichon.co.th/news/106063
หน้า: 1 ... 275 276 [277] 278 279 ... 708