ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธสันติวิธี.! แก้ปมขัดแย้ง 'พุทธ-อิสลาม' ได้จริงหรือ.?  (อ่าน 568 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พุทธสันติวิธี.! แก้ปมขัดแย้ง 'พุทธ-อิสลาม' ได้จริงหรือ.?

ปมขัดแย้ง'พุทธ-อิสลาม'ที่พม่า-ศรีลังกา สันติภาพเชิงพุทธ!แก้ได้จริงหรือ? : สำราญ สมพงษ์ นิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

จากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมเมืองมัณฑะเลย์ประเทศเมียนมาร์เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากทั้ง 2 ฝ่าย   และช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดเหตุรุนแรงระหว่างชาวพุทธและมุสลิมหลายแห่ง โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 คน         

กระแสต่อต้านมุสลิมลุกลามไปยังภาคกลางของประเทศ ทำให้เกิดเหตุรุนแรงในเมืองเมกถิลา และเมืองกันบาลู ในปี 2556 ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การจลาจลเกิดขึ้นในมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาร์ ซึ่งมีชาวมุสลิมกว่า 2 แสนคน

ขณะเดียวกันที่ประเทศศรีลังกาก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นเดียวกัน

ส่งผลให้เมื่อวันที่ 6  ก.ค.2557ที่ผ่านมา องค์ทะไล ลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณของชาวทิเบต   ได้กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติครบรอบ 79 พรรษาที่เขตชานเมืองเลห์ ลาดักห์ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธามาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก รวมถึง "ริชาร์ด เกียร์" ดาราดังแห่งวงการฮอลลีวู้ดด้วย โดยได้ระบุถึงเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาร์และศรีลังกาซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมว่า  รับไม่ได้กับเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าว ขอร้องให้ชาวพุทธในประเทศเหล่านี้ให้ระลึกถึงพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะกระทำอะไรรุนแรงเป็นเหตุอาชญากรรม เพราะศาสนาพุทธสอนให้รู้จักรักและเห็นใจ


 :96: :96: :96:

จากคำกล่าวขององค์ทะไล ลามะดังกล่าวคงจะทำให้ชาวพุทธบางคนเห็นขัดแย้งว่า ไม่เช่นนั้นแล้วชาวพุทธจะไม่ตกอยู่ในภาวะผู้ถูกทำร้าย ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยอย่างกรณีมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกเผาพระถูกฆ่าหรือ แล้วชาวพุทธจะตั้งรับอย่างไรโดยไม่ต้องใช้วิธีตาต่อตาฟันต่อฟัน

สำหรับแนววทางนั้นพระไพศาล วิสาโล ได้เสนอบทความเรื่อง"พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ" ในการสัมมนาชาวพุทธนานาชาติหัวข้อ "Searching for a Bridge of Peace"  ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (http://www.visalo.org/article/budBudperSanti.htm)  โดยได้เสนอหลักการสันติภาพเชิงพุทธไว้อย่างน่าสนใจ

ทั้งนี้ได้ระบุว่า แม้นโลกจะมีความขัดแย้งทั้งทางด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และสีผิว นำไปสู่รุนแรงขั้นทำสงครามกัน แต่พุทธศาสนาจะเป็นสะพานแห่งสันติภาพได้ก็ด้วยการต่อสู้ทัดทานกับวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใด(อันที่จริงต้องกล่าวว่าเป็นลักษณะร่วมของทุกศาสนาด้วย) ล้วนเน้นถึงความเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณ ชนิดที่ไปพ้นเส้นแบ่งทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และสีผิว ในทัศนะของพุทธศาสนามนุษย์ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บและตาย ใช่แต่เท่านั้นในวัฏสงสารอันไม่มีสิ้นสุดเราทั้งหลายยังอาจเคยเป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องกันไม่ชาติใดชาติหนึ่งมาแล้ว (จะว่าไปแล้วสายสัมพันธ์แห่งความเป็นเพื่อนและพี่น้องนี้ครอบคลุมไปถึงสรรพสัตว์ด้วย)  ดังนั้นวัฒนธรรมแห่งสันติที่ชาวพุทธทั่วโลกควรร่วมมือกันสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น


 :25: :25: :25:

ความจริงแล้วการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนานั้นได้มีองค์กรที่เรียกว่าองค์การสภาศาสนาโลกทำหน้าที่ในการระงับความขัดแย้ง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1893 ที่สถาบันศิลปะ ในนครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา  การประชุมครั้งนี้ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ เมื่อท่านอนาคาริกธรรมปาละ นักปฏิบัติธรรมและนักเผยแพร่พระพุทธศาสนา ชาวศรีลังกาได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์อลัหันมาสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น นับแต่นั้นมาพระพุทธศานาฝ่ายมหายานก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ และฝ่ายเถรวาทก็เจริญขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา

นับจากนั้นมาอีก 100 ปี คือในปี ค.ศ. 1993 ทางองค์การสภาศาสนาโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครชิคาโก ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการประชุมสภาศาสนาโลกครั้งแรกเมื่อปี 1893  โดยมีผู้นำศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ศาสนาพุทธ ทั้ง 2 นิกาย ศาสนาคริสต์ มีเข้าร่วมมากว่า 10 นิกาย, ศาสนาฮินดู, ศาสนาอิสลาม,ศาสนาสิกข์, ศาสนาเชน, ศาสนายิว, ศาสนาบาร์ไฮ

นอกจากนี้ยังมีลัทธิ นิกายต่าง ๆ อีกมากมาย รวมทั้งองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน และองค์กรอิสระที่ทำงานเพื่อสังคม เป็นต้น ก็ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก


 :41: :41: :41:

ในการประชุมครั้งนี้ได้ผล และข้อสรุปหลายประการ กล่าวคือ ผู้นำทุกศาสนามีความเห็นไปในทางเดียวกัน คือทำอย่างไรที่จะทำให้โลกนี้ประสบความสุข ความสงบ ปราศจากสงคราม การล้างผลาญชีวิตซึ่งกันและกัน การเอารัดเอาเปรียบกันในสังคมซึ่งก่อให้เกิดปัญหา ด้านเศรษฐกิจ, ด้านการทหาร, ด้านการเมือง, และความขัดแย้งในเรื่องของศาสนาเอง

หลังจากนั้นคณะกรรมการสภาศานาโลกได้มีมติให้มีการประชุมกลุ่มผู้นำทางศาสนาและผู้นำทางด้านจิตใจ ( Assembly of Religious and Spiritual Leaders) โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดประชุมมีชื่อ "องค์กรสมัชชาศาสนาโลก"  แต่เวลาจัดประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่จะเรียกสั้นๆว่า การประชุม Parliament หรือ การประชุม World’s Religions ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นการประชุมสมัชชาศาสนาโลก   และครั้งที่ 3 จัดที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ค.ศ.1999

และครั้งที่ 4 ที่เมืองบาร์เซโลนา(Barcelona) ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2004    โดยมีผู้นำทางศาสนาต่าง ๆ และสมาชิกของชุมชนรวมถึงสาวกของลัทธินิกายนั้น ๆ เข้าร่วมประชุมมากกว่า 8,000 คน  โดยมีจุดประสงค์อันเดียวกันคือ ความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปรารถนาความสุขและความสันติภาพต่อชาวโลกด้วยกันโดบอาศัยแนวร่วมทางความเชื่อที่เป็นกลางจาก “จริยธรรมสากล” (The Global Ethics)  พร้อมกันนี้ได้มีการประชุมสัมมนาโต๊ะกลมแบ่งตามกลุ่มที่สนใจซึ่งมีเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างศาสนารวมอยู่ด้วย

 :91: :91: :91:

อย่างไรก็ตามแม้ว่าองค์การสภาศานาโลกจะก่อตั้งมากว่า 100 ปีแล้ว เพื่อเป็นองค์กรนำในการเสริมสร้างสันติภาพของโลก แต่สังคมโลกก็หาได้มีสันติภาพไม่ โดยนัยตรงกันข้ามกลับมีสงครามนอกแบบ คือ เปิดฉากรบกันโดยไม่ประกาศสงครามอยู่ทั่วไป ทั้งสงครามที่ใช้อาวุธระหว่างต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา และสงครามเศรษฐกิจที่ใช้อำนาจเงินเป็นตัวการบีบบังคับประเทศคู่สงคราม การดำเนินงานเพื่อสันติภาพของโลก จากหน่วยงานต่างๆ จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก และมีข้อตกลงกันบนแผ่นกระดาษที่เปรียบเสมือนการเขียนรูปเสือให้วัวกลัว แต่วัวตัวโตๆ คือประเทศที่มีทั้งอำนาจเงินและอาวุธพร้อมทั้งกำลังคนก็หาได้เกรงกลัวต่อรูปนั้นไม่

สันติภาพของโลกจึงเป็นเพียงลมปาก แล้วองค์กรร่วมทางศาสนาเช่น สมัชชาศาสนาโลกจึงแสดงบทบาทให้ประจักษ์โดยให้ศาสนาต่างๆร่วมกันผนึกกำลังต่อรองและขอร้องเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจทุกรูปแบบให้ความร่วมมือในการสร้างสันติภาพของโลกด้วยกันทุกฝ่ายจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และองค์การสภาศานาโลกนี้จะมีการประชุมอีกในปีนี้แต่เจ้าภาพไม่พร้อมเลยต้องงดและกำลังเลือกประเทศเจ้าภาพอยู่


 :s_hi: :s_hi: :s_hi:

อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เห็นภัยของความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ ในฐานะที่สถานจัดการศึกษาต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพระหว่างศาสนาและสันติภาพโลกจึงได้เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา(เชิงพุทธ)ขึ้น โดยมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผอ.สถาบันภาษา มจร เป็นหัวหน้าหลักสูตรปัจจุบันนี้เปิดเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว

พระมหาหรรษา กล่าวว่า "สันติภาพ" เป็นจุดแข็งของพระพุทธศาสนาดังที่พระพุทธองค์ทรงย้ำเตือนว่า "ไม่มีสุขอื่นยิ่งไปกว่าสันติสุข" ส่วนตัวได้สูดดมลมหายใจแห่งสันติภาพมา 10 กว่าปี จึงมุ่งมั่นและเพียรพยายามส่งต่อลมหายใจแห่งสันติภาพสู่กลุ่มยุวชน และนิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา จนกลายเป็นครอบครัวสันติภาพ ด้วยความมุ่งมั่นว่า "สักวันครอบครัวของเราจะร่วมส่งต่อลมหายใจแห่งสันติภาพแก่เพื่อนมนุษย์ร่วมชุมชน สังคม และโลก มาบัดนี้ ความฝัน และความหวังเริ่มเปล่งแสงทอประกายโดยครอบครัวนี้ได้ร่วมกันขยายพื้นที่ลมหายใจแห่งสันติภาพให้กว้างออกไป จากครอบครัวเล็กๆ ไปเป็นครอบครัวที่ใหญ่ขึ้นเรื่ิอยๆ ทั้งหมดของความพยายามไม่ใช่เพื่อตัวเขา แต่เพื่อเราที่ทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้"

ทั้งหมดนี้คงจะเป็นทำตอบว่าทำไมโลกต้องมีคำว่า "สันติภาพ" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สันติภาพภายใน"


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140709/187858.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ