ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธบริษัท ๔ - รู้โลก ไม่สู้รู้ตน  (อ่าน 1237 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พุทธบริษัท ๔ - รู้โลก ไม่สู้รู้ตน
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2014, 06:41:42 pm »
0


พุทธบริษัท ๔ - รู้โลก ไม่สู้รู้ตน

หากแต่ขึ้นอยู่กับฆราวาส อย่างพวกเรา ๆ อันถือได้ว่าเป็นบริบทแวดล้อมของท่านบรรพชิตด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่คนเราจะไปตำหนิ แม่ชีท่านนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวก็คงจะแปลก ๆ อยู่ เพราะหากว่าไม่มีผู้ที่ศรัทธาแม่ชี

เป็นข่าวเป็นคราวขึ้นมาอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรื่องที่มีการปรากฏภาพแม่ชีชื่อดังท่านหนึ่งใช้สินค้าแบรนด์เนมหรูหรา และ นั่งในรถสปอร์ตหรู จนกระทั่งแม่ชีรวมถึงเจ้าอาวาสจำเป็นต้องออกมาแถลงข่าวเคลียร์ตัวเป็นข่าวเป็นคราวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางแรงกดดันของสังคมจำนวนไม่น้อยที่คลางแคลงใจกับพฤติกรรมการใช้สินค้าหรูหราของแม่ชี


 :49: :49: :49:

ประเด็นอยู่ที่ว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมว่า การดำรงคงอยู่ของพุทธศาสนานั้น ขึ้นอยู่กับพุทธบริษททั้ง ๔ กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กล่าวคือมิได้ขึ้นอยู่แต่เพียงกับผู้ที่อยู่ในเพศบรรพชิต กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี (หรือหมายรวมถึงผู้รักษาศีลมากกว่าเพศฆราวาสปกติเช่น แม่ชี หรือนักบวชอื่นภายใต้พระพุทธศาสนาด้วย)

หากแต่ขึ้นอยู่กับฆราวาส อย่างพวกเรา ๆ อันถือได้ว่าเป็นบริบทแวดล้อมของท่านบรรพชิตด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่คนเราจะไปตำหนิ แม่ชีท่านนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวก็คงจะแปลก ๆ อยู่ เพราะหากว่าไม่มีผู้ที่ศรัทธาแม่ชี และไม่ได้มีการถวายสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะมองแล้วเกินกว่าความจำเป็นที่บรรพชิตจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน



ในการปฏิบัติธรรมเพื่อความห่างไกลจากกิเลสแล้วละก็ แม่ชีท่านนี้ก็คงจะไม่สามารถที่จะมีสิ่งต่าง ๆ หรือใช้สิ่งต่าง ๆ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวได้อย่างแน่นอน (เว้นเสียแต่ว่า แม่ชีจะเป็นผู้มีฐานะและเลือกที่จะซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นแต่ละวันมาด้วยตัวของแม่ชีเอง แต่คงไม่ใช่ประเด็นเพราะข่าวที่ปรากฏขึ้นคือการที่แม่ชีนั้นใช้สิ่งต่าง ๆ ตามที่โยมนั้นได้นำมาถวาย)

หากประเด็นนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงแค่แม่ชี แต่มองประเด็นเชิงกว้างว่า เกิดจากการที่ญาติโยมของแม่ชีเอง กล่าวคือ อุบาสกอุบาสิกา ผู้เป็นกลุ่มผู้ถวายสิ่งต่าง ๆ ให้กับแม่ชีนั้นเองก็ น่าจะเป็นกลุ่มที่นำมาขบคิดเหมือนกันว่า ญาติโยมกลุ่มนี้ (ที่น่าจะเข้าใจคำสอนทางพระพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย เพราะไม่เช่นนั้นคงจะไม่เข้าไปหาความสงบในวัด สนทนาธรรมกับแม่ชี) ได้เลือกที่จะถวายสิ่งต่าง ๆ ให้กับแม่ชี


 :96: :96: :96:

ทั้งที่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีค่าเกินกว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต หากแต่เป็นสิ่งที่สังคมให้ค่าว่าเป็น สิ่งหรูหรา สินค้าแบรนด์เนม ที่แสดงออกซึ่งสถานภาพที่โดดเด่นของผู้ครอบครอง และโดยตรรกะของพุทธศาสนาแล้ว สิ่งใดก็ตามที่เกินไปกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐาน

สิ่งใดก็ตามที่อาจจะโน้มนำไปสู่การตอกย้ำอัตตา ความต้องการและการไขว่คว้าสิ่งต่างๆทั้งในทางวัตถุ ลาภยศสรรเสริญ นั้นเป็นสิ่งที่ ไม่เป็นไปตามครรลองของ พระพุทธศาสนา ที่ สอนให้เดินทางตรงข้าม สวนทางกับกิเลศ หรือความต้องการอะไรที่เกินไปกว่าการดำรงชีวิตพื้นฐานให้มากที่สุด สิ่งใดเกินไปกว่า ปัจัยพื้นฐาน สิ่งใดโน้มนำให้ ชีวิตใฝ่หาสิ่งใดที่เกินไปกว่า ความเป็นปกติธรรมดา ธรรมชาติ จนเกินไป สิ่งนั้นไม่ได้เอื้อต่อการเข้าสู่ธรรมหรือเดินบนทางของธรรม


 :25: :25: :25:

มองแง่หนึ่ง ญาติโยมคงหวังดีอยากที่จะให้ผู้ที่ตนเองเคารพศรัทธาได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่กำลังของญาติโยมจะสามารถจะกระทำได้ อันเป็นการเสริมบุญให้แก่ผู้ให้ แต่มองอีกแง่หนึ่ง การถวายปัจจัยต่าง ๆ ที่ เกินไปกว่าความจำเป็นพื้นฐานของผู้ครองเพศบรรพชิต จนอาจจะนำไปสู่ความแคลงใจของผู้พบเห็นหรือสังคม  อาจจะนำไปสู่การสะเทือนของศรัทธาที่คนในยุคดิจิตอลนี้มีต่อพระพุทธศาสนา


ในฐานะที่เป็นศาสนาที่สอนให้เราดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย สันโดษเป็นธรรมชาติ ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง ว่าเป็นศาสนาที่ยังคงมีประเด็นเรื่องการใช้พุทธศาสนาในการเสริมสร้างความมั่งคั่ง ความเหนือกว่าผู้อื่น เหมือนกับที่เคยสั่นคลอนศาสนาอื่นมาแล้ว (เช่นกรณีการขายใบไถ่บาปของคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก จนกำเนิดเป็นนิกายโปรเตสแตนต์มาในอดีต)

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ดี ข่าวในลักษณะนี้ (ที่มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และแน่ใจได้ว่าจะไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้าย) น่าจะเป็นข่าวที่ สะกิดใจให้พุทธศาสนิกชนได้ทบทวนว่า การถวายสิ่งต่าง ๆ ให้กับบรรพชิตผู้ที่เราศรัทธานั้น ควรจะเป็นอย่างไร จะนำไปสู่ ความศรัทธาที่สังคมมีต่อพระพุทธศาสนานั้นอย่างไร และสำคัญมากคือ สอดคล้องหรือตรงข้ามกับหลักการ หรือ “แก่นพุทธศาสนา” นั้นอย่างไร


 st11 st11 st11

หลาย ๆ คน เชื่อว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้” หากเราถวายสิ่งที่ “ดีที่สุด” (ในเชิงวัตถุ) ให้กับบรรพชิต เราย่อมจะได้สิ่งที่ดีที่สุดกลับมา เพราะเราได้สร้างบุญที่ใหญ่โตขึ้นมา แต่อีกด้านหนึ่ง หลักการของพระพุทธศาสนาแล้ว การถวายวัตถุ ยังไงเสียก็เป็น “อามิสบูชา” ที่มิได้มีค่าเทียบเท่ากับ “ปฏิบัติบูชา” ที่น่าจะหมายรวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธองค์ กล่าวคือการถอยห่างจากกิเลส ละเว้นจากวัตถุ โดยเฉพาะตัวเองที่จะตอกย้ำ “อัตตา” จะตอกย้ำการว่ายตามน้ำแห่งกิเลสต่อไป

แน่นอนว่าการทำบุญกับบรรพชิต โดยเฉพาะอริยสงฆ์ หรือ ภิกษุ ภิกษุณี หรือบรรพชิตหมู่เหล่าอื่นที่มีสภาวะธรรมสูง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถวายได้ผลบุญที่ยิ่งใหญ่

แต่กระนั้น สิ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคือการเดินตามแก่นคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ว่าจะดำรงชีวิตในมิติใดก็ตาม ในฐานะลูกของพ่อแม่ ศิษย์ของครูบาอาจารย์ ญาติของเหล่าเครือญาติ มิตรของเหล่าสหาย หรือแม้แต่พลเมืองของแผ่นดิน ประเทศชาติด้วย ทุกวินาทีของชาวพุทธล้วนแต่สร้างบุญกุศลได้ด้วยกันทั้งสิ้นครับ.

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.dailynews.co.th/Content/Article/250880/พุทธบริษัท+๔+-+รู้โลก+ไม่สู้รู้ตน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ