ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - NP2706
หน้า: [1] 2 3
1  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / Re: ผกากราว เมื่อ: มีนาคม 23, 2015, 09:50:37 am
ขออนุโมทนาสาธุ

:25: :25: :25:
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถาม เรื่อง อานิสงค์ การสร้างห้องน้ำ คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2015, 03:09:34 pm
      ask1 อานิสงส์ในการสร้างห้องน้ำถวายวัด
            ans1 ส่งผลให้คนที่ทุกข์ใจมาก ก็จะคลายทุกข์ โศก โรค ภัย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง จะทำให้ทุกข์หนักๆ หรือมีเจ้ากรรมนายเวรหนักๆ ที่โถมกระหน่ำเราอยู่ ก็จะคลี่คลายไปได้ด้วย ไปไหนมีแต่คนคอยช่วยเหลือเกื้อกูลมีแต่สิ่งที่ดีๆ ในชีวิตทั้งภพนี้และภพหน้า แก้กรรมให้กับผู้ที่ มีความทุกข์หนัก ชาตินี้มีความทุกข์มาก ทำอะไรก็ลำบากยากเข็ญ มีความคับแค้นใจ ไม่สบายใจ ควรสร้างห้องน้ำห้องสุขา
           ในครั้งอดีตที่พระพุธเจ้าทรงพระนามว่าตัณหังกร เราตถาคต ก็เคยสร้างห้องน้ำเช่นกัน และได้ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลของอานิสงส์ที่ได้สร้างห้องน้ำเป็นสาธารณะทานนี้ ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลด้วยเถิด เราตถาคตครั้นทำลายขันธ์แล้วก็ได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตครั้นจุติจากภพนั้นแล้วก็ได้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์จนบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจุบันกาลนี้แล

https://www.facebook.com/permalink.php?id=234871863232408&story_fbid=398101640242762

     ans1 พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุรพกรรมที่ทำให้ป่วยน้อยเพราะว่า ในอดีตเคยสร้างเว็จกุฎี คือ ส้วมถวายพระ เพราะฉะนั้นพวกเรานี่ ประเภทชอบสร้างส้วมนี่ พวกเดียวกับพระพากุละ ทำให้คนอื่นหมดทุกข์ ตัวเองก็เลยทุกข์น้อยไปด้วย
       พระพากุละเถระประวัติท่านพิสดารมาก ท่านบวชเป็นพระแล้วเป็นเอตทัคคะ คือ เป็นผู้ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมในด้านเป็นผู้ที่มีโรคน้อย ปกติแล้วพระต้องฉันเภสัชรักษาโรคอยู่เสมอ พระพากุละเถระนี่ในชีวิตแม้แต่สมอชิ้นเดียวก็ไม่เคยฉัน

ตอนที่ท่านเกิด พอเกิดมาปุ๊บตัดสายสะดือเสร็จ พี่เลี้ยงอุ้มลงไปล้างตัวที่ท่าน้ำ ปลาใหญ่มันฮุบตูมเดียวเอาไปเลย ปรากฏว่าปลาใหญ่ตัวนั้นว่ายข้ามเมืองไปอีกเมืองหนึ่งไปติดข่ายเขา พ่อค้าเขาก็เอามาขายในตลาด คนใช้เศรษฐีของเมืองนั้นเจอเข้า เลยซื้อปลาไปมันอ้วนดี พอเอาไปทำอาหาร ผ่าท้องปลาออกมา เด็กชายพากุละยังดิ้นกระแด่ว ๆ อยู่เลย ไม่เป็นอะไร บุญรักษาอยู่ได้

พอดีเหลือเกินว่าเศรษฐีนั่น เขาพยายามอย่างไรก็ไม่มีลูก พอเห็นเด็ก โอ๊ย...สวรรค์ประทานให้ ดีอกดีใจทั้งผัวทั้งเมีย อุ้มชูเลี้ยงดูมาแบบประเภทรักยิ่งกว่าแก้วตาดวงใจ เรื่องมันก็ลือออกไปสิว่า เศรษฐีนี่ได้ลูกจากท้องปลา ทางด้านโน้นได้ยิน ลูกกูนี่หว่า...(หัวเราะ)... ก็ตามไปทวง เขาก็ไม่ให้ ก็เขาได้มาเอง
เรื่องเลยไปถึงพระราชาท่านต้องมาตัดสินให้ว่า ให้อยู่ทางบ้านนี้ ๓ เดือน แล้วไปอยู่บ้านนี้ ๓ เดือน ท่านก็เลยได้ชื่อว่า พากุละ คือจากตระกูลสู่ตระกูล กลับกันไปกลับกันมาผลัดกันเลี้ยงคนละ ๓ เดือน เป็นลูก ๒ ครอบครัว
พอโตขึ้นมาหน่อยก็ได้บวช บวชเสร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ที่เลิศในทางเป็นผู้ที่มีอาพาธน้อย คือ ป่วยน้อย

 st12
http://board.palungjit.org/f130/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1-349872.html
3  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / มาฆบูชา 14 ก.พ.57 วัดเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี เมื่อ: มีนาคม 07, 2014, 04:47:31 pm
แม้จะล่วงเลยเวลาของวันมาฆบูชา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันวาเลนไทม์ ชาวพุทธถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง
จึงขอนำภาพประทับใจของชาวศาสนิกชนที่ได้ขึ้นเขาวงพระจันทร์ เพือ่ไปกราบบูชารอยพระพุทธบาทตั้งแต่เช้าจนข้ามคืนของวัน ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน แม้แต่ผู้สูงอายุ  มีจำนวนมาก และจากการสอบถามผู้ที่อยู่แถวนั้น ในปีนี้มีคนมากมายกว่าทุก ๆ ปี ที่ผ่านมามาก ร้านค้าขายของได้กำไรมากกว่า 30,000 บาทในวันนั้น ดูแล้วทำให้  เกิดปิติสุขมากๆๆ .....ในกระแสศรัทธาแห่งบุญ เพราะแค่การขึ้นเขาแล้ว รับรองว่าต้องใช้ความวิริยะบารมี ขันติ บารมีสูงเท่าๆ กับความสูงของเขาวงพระจันทร์ทีเดียว โดยเฉพาะถ้าเป็นในเวลากลางวันต้องพบกับความร้อนซึ่ง  ในวันนั้นแดดแรงมาก และอากาศก็ร้อนทีเดียว
         อย่างนี้.....เป็นปรากฏการณ์ที่ดี ที่จะบ่งบอกว่า ศาสนาพุทธ ย่อมยังอยู่ตราบเท่าที่ศรัทธาของศาสนิก ชน ยังไม่เสื่อมคลาย



























4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เมื่อ: มกราคม 25, 2013, 01:23:12 pm
สิ่งที่สำคัญของกรรมฐาน ก็คือ ความมีศรัทธาและการตั้งม้่น เป็นเบื้องต้น.....
ที่กล่าวเช่นนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ การที่ชวนใครไปทำบุญ คิดว่าเป็นไปได้สักเท่าไหร๋? ที่จะมีจำนวนคนไปรว่มทำบุญ
แต่ถ้าชวนให้ปฏิบัติกรรมฐาน ก็ลองคิดคำนวณเปรียบเทียบจำนวนคนที่จะไป.....ซึ่งจะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนกรรมฐานมีแนวปฏิบัติ 40 กองซึ่งล้วนแล้วก็จะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกัน
ในองค์กรรมฐานมีการตั้งจิตในการฝึก ๓ นิมิต
     1.สมาธินิมิต เครื่องหมายของสมาธิสำหรับภาวนา อยู่ตามจุด ตามห้องที่ฝึก
     2.ปัคคาหะนิมิต เป็นการกำหนดยกจิตไว้ที่ สมาธินิมิต ในระหว่างภาวนา
     3.อุเบกขานิมิต เป็นการกำหนดวางเฉยต่อ อดีต อนาคต เพื่อขจัดความฟุ้งซ่าน
กระทู้แนะนำให้อ่าน     ลำดับการศึกษา ของ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6600.msg24486#msg24486
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่ากรรมฐาน ที่เรากำลังเรียนอยู่นี้เป็นกรรมฐาน ที่ถูกต้อง.. เมื่อ: มกราคม 25, 2013, 12:40:10 pm
การที่เราจะมั่นใจในสิ่งใดๆ ก็ตาม เราต้องได้ผ่านในสิ่งนั้น ๆ ด้วยตนเองก่อน เช่น อาหารอร่อยการมองเพียงแต่เห็นภาพอาจจะทำให้เรารู้สึกตามภาพที่เห็น หรือกลิ่นที่ได้สัมผ้ส แต่เมื่อเราได้นำเข้าไปในปากแล้วชิมรสแล้ว เราจึงจะรู้ได้ว่าอาหารนั้น ๆ รสเป็นเช่นไร และอีกประการอาหารจะมีรสชาติเช่นไรก็ตามผู้ชิมแต่ละคนก็มีรสนิยมในอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งก็หมายความว่า ในขณะที่หลาย ๆ คนอาจได้ลองรสอาหารนั้น อาจมีความคิดที่แตกต่างกัน เช่น อาหารอร่อยแต่เผิดไปนะ หรืออาหารรสจึดไป หรือเค็มไป ก็ยังขึ้นอยู่กับผู้ที่ได้ลองสัมผัสที่ความแตกต่างในเรื่องความชอบในรสชาติอาหารนั้น  ถ้าเปรียบได้ก็เช่นเดียวกับ สิ่งที่ได้กระทู้ถาม...นั่นหมายความว่า ได้ไปศึกษาและปฏฺิบัติอย่างถูกต้องในวิธีที่ครูผู้สอน จึงจะได้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นเช่นไร  แนวการสอนและวิธีแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะนิสัยบุคคลิกของครูอาจารย์ แต่ที่สำคัญต้องอย่าลืมตัวผู้ถูกสอนด้วย เพราะจริตแต่ละย่อมมีความเห็นลักษณะต่างกัน ก็ให้ใช้วิธีเดียวบอกการปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ที่สำคัญควรคำนึงถึงหลักในการปฏิบัติต่างหากที่มุ่งเน้นไปแนวทางใด  ในคำสอนของพระพุทธองค์ท่านได้ตรัสว่า การรู้รู้ได้ตนเอง ไม่จำกัดกาล... (หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วก็จะเกิดองค์รู้ ซึ่งผู้รู้จะได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่จากบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติได้แล้วบอกว่า องค์รู้ควรเป็นเช่นนั้น เช่นนี้) และสิ่งที่สำคัญท่านเป็นเพียงผู้ชี้แนะให้ผู้ปฏิบัติได้ไปปฏิบัติด้วยตนเอง.......เท่านั้น  ฉะนั้น ถ้าผู้ที่ไม่ปฏิบัติเผ้าเพียรแต่หาสาระแนวทางว่าสิ่งใดถูกผิดอยู่ โดยไม่ลงมือปฏิบัติ ผู้นั้นจะรู้ได้อย่างไร??...... และจะมั่นใจอย่างไรว่าสิ่งนั้นเป็นแนวทางอย่างที่คาดหวัง...เริ่มปฏิบัติเสียก่อนเถอะแล้วถึงจะมองถึงข้างหน้าว่าจะพบทางอริยมรรค...อย่างที่ตั้งใจหรือไม่??? เพราะมีหลายเหตุผลประการ..ที่อาจทำให้ไม่สำเร็จด้งเช่นที่คาดหว้ง เช่น ตนเองที่จะมีความเพียร ความตั้งใจ ที่จะปฏิบัติหรือไม่??? อย่าใช้เหตุผลข้างเดียวที่จะอ้างถึงแนวปฏิบัติครูอาจารย์ไม่ถูกต้อง โปรดใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ให้ชัดเจน และถูกต้อง 
6  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิบัติธรรมอย่างไร ? ถึงเรียกว่าเข้าใจในหลักธรรม เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2012, 02:31:40 pm
 จากกระทู้ธรรมที่ร่วมแสดงปรากฏ อันเกี่ยวข้องกับกามราคะ
 
สมรส..หาง่าย - สมรัก..หายาก
 
พุทธวจน (BuddhaWord) สะสมภาพ >> สะสมบุญ

 
 
ทำให้นึกถึงคำสอนพระอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวสอนในข้อปฏิบัติที่น่าสนใจ
ถึงการเจริญธรรมที่ควรปฏิบัติ
1.การละจากกามคุณทั้งหลาย
2.การละทิ้งซึ่งความกังวล วิตก ที่จะเป็นเหมือห่วงหรือบ่วง คือ บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร
3.การพึงปฏิบัติและนึกถึงแต่... พระนิพพาน
 
ผู้แสวงหา หรือเข้าถึงในหลักธรรมในข้อดังกล่าว.....ย่อมเป็นผู้ที่เจริญแล้ว
 
ร่วมแสดงความคิดเห็นในข้อปฏิบัติ
 
 
 
7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สมรส..หาง่าย - สมรัก..หายาก เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2012, 01:51:46 pm
สาธุ สาธุ เป็นธรรมะที่เห็นได้จริง สัมผัสได้ด้วยตน
8  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จะไปทำบุญและปฏิบัติธรรมที่ไหนกันดี....ในวันสงกรานต์ เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 05:07:40 pm

 
 สิ่งใดอื่นใด...ก่อนที่จะไปปฏิบัติธรรม หรือทำบุญที่ไหน ?......
 
               อย่าลืมพระในบ้าน....ไปกราบเท้า ล้างเท้า เพื่อขอขมาท่านที่เคยล่วงเกินท่าน ทั้งที่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ดี  เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับวันสงกรานต์ปีใหม่ของไทย


                           :03: :03: :03:
9  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ในวันปีใหม่ของไทย เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 04:50:45 pm

การพัฒนาจิต พัฒนาวิญญาณหรือวิญญาณบริสุทธิ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่วิญญาณบริสุทธิ์ โดยตามแนวธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน สัพพาสวสังวรสูตร สูตรที่ว่าด้วยการละกิเลสละอาสวะด้วยวิธีต่างๆ

1. การละอาสวะวิธีที่ 1 คือ ละด้วยการเห็น ในที่นี้ท่านหมายถึงเห็นด้วยโยนิโสมนิการ คือ ความคิด ที่แยบคาย ละอโยนิโสมนสิการ

2. สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังจิต ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกายและธรรมารมณ์ สิ่งที่คิดด้วยใจ ครอบงำได้ ดำรงตนเป็นอิสระ จากการครอบงำของ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เรียกว่า สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ 6

3. ละอาสวะด้วยการเสพ หมายถึง การพิจารณาปัจจัย 4 แล้วจึงเสพ หรือบริโภคใช้สอย ไม่บริโภคใช้สอยเพื่อเล่นเพื่อเมา แต่บริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ตรงตามจุดมุ่งหมาย คือ ใช้อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ใช้อาหาร บริโภคเพื่อร่างกายพออยู่ได้ ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดร่างกายให้ดูเรียบร้อย ป้องกันหนาวร้อน บริโภคอาหารเพียงพอไม่ให้อึดอัด ไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น คืออึดอัดและบรรเทาเวทนาเก่าคือหิว พิจารณาเห็นโทษของอาหารที่มากเกินไปอยู่เสมอ
   ใช้เสนาสนะที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันลมแดดเหลือบยุงสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ
   กินยาเพื่อบำบัดโรค ไม่ใช่เพื่อร่างกายสวยงาม เรียกว่า เสพปัจจัย 4 ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือขั้นปฐมภูมิเป็น primary need ไม่ใช่เพื่อความต้องการที่เกินจำเป็น ที่เป็น artifi-cial หรือ secondary need
   อันนี้เป็นกายภาวนา ในภาวนา 4 คือ การอบรมกายให้ดี

4. ความอดทน ละอาสวะด้วยความอดทน เรียก อธิวาสนะ 3 อย่าง
   1) อดทนต่อความหิวกระหาย อดทนหนาวร้อน เรียกธีติขันติ อดทนต่อถ้อยคำต่างๆ ของผู้อื่น 
   2) อดทนต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ เรียกว่า ตีติกขา ขันติ
   3) อดทนต่อทุกขเวทนากล้าแข็ง ความเจ็บป่วย แม้จะเบาหรือหนักเพียงไร ก็มีความอดทน

5. ปริวัชชนะ ละอาสวะด้วยการเว้น คือเว้นสถานที่ที่ไม่ควรไป เรียกว่า อโคจร และเว้นบุคคลที่ไม่ควรคบ

6. ละอาสวะด้วยการบรรเทา ได้แก่ บรรเทากามวิตก ตรึกเรื่องกาม พยาบาทวิตก ความตรึกในเรื่องพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในเรื่องการเบียดเบียน

7. ภาวนา ละอาสวะด้วยภาวนา คือ การอบรม อบรมโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธรรมวิจัย การวิจัยธรรม วิริยะ ความเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบกาย สงบใจ สมาธิ การที่มีจิตใจมั่นคง ตั้งมั่น อุเบกขา ความเฉยในสุขและทุกข์

   เมื่อมีวิธีการทั้ง 7 วิธีนี้อยู่ก็จะละอาสวะได้ด้วยวิธีนั้นๆ ตามสมควร จนสามารถจะละอาสวะได้ จนหมดสิ้น จนเป็นผู้สิ้นอาสวะ เรียกว่า ขีณาสโว หรือพระขีณาสพ
 
   เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ จะเร็วจะช้ากว่ากันบ้างก็ตามเหตุปัจจัย และก็แล้วแต่อุปนิสัยหรือบารมีของแต่ละคน แต่ในที่สุดก็ต้องขึ้น ให้ถึงความบริสุทธิ์ให้ได้ ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเราชาวพุทธต้องระลึกถึงพุทธคุณเอาไว้ให้มาก เพราะว่าท่ามกลางความมืดคืออวิชชา ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายเพราะตัณหาอุปาทานต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นพระศาสดาองค์แรกที่ได้นำจิตหรือวิญญาณมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง
 
   พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนทำชั่วหาความสุขได้ยาก พระพุทธพจน์มีว่า น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา แปลว่า ความสุขอันบุคคลผู้ทำชั่วหาได้โดยง่ายมิได้เลย นี่แปลโดยพยัญชนะ ความดีส่งคนให้ลอย ความชั่วกดคนให้จมลง ท่านลองนึกดูก็ได้ ถ้าในสถานการณ์เดียวกัน ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าคนไหนที่ประกอบกรรมดีอยู่เสมอ เขาจะมีกำลังใจดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำความดี หรือคนที่ทำความชั่ว มีความมั่นใจอยู่เสมอว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเชื่อผลของกรรมดีว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแน่นอน

   ส่วนคนที่ไม่แน่ใจในการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนั้นอาจเป็นเพราะว่าเขาทำดีน้อยเกินไป หรือทำดีนิดหน่อยแล้วก็หวังผลมากเกินไป หรือว่าเขาไม่ได้ละชั่วเสียก่อน แล้วก็ทำดี จึงทำดีไม่ค่อยขึ้น หรือบางคน ก็ทำดีไปด้วย ทำชั่วไปด้วย ความดีความชั่วจึงหักกลบลบกันไปหมด เหลือเป็นศูนย์ บางทีก็ติดลบเสียอีก เพราะความชั่วเห็นง่ายกว่าความดี

   ถ้าจะทำความดีให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จงละความชั่วเสียก่อน ถ้ายังละความชั่วไม่ได้ ก็หวังความดีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ยาก ต้องเตรียมตัวรับ ความผิดหวังไว้บ้าง เช่น ถ้าเราให้ของเด็กแต่ละครั้ง เราก็ด่าเขาให้เจ็บใจเสียก่อนทุกครั้งไป อย่างนี้ก็ได้ผลบ้างแต่ก็มีผลลบติดมาด้วย บางคนมีความรู้ดี แต่ก็มี ความประพฤติร้าย ความรู้นั้นก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในหนังสือหิโตปเทศ กล่าวไว้ว่า สิริของคนผู้ดื้อด้าน มีแต่จะตกอับ สิรินี่คือมิ่งขวัญหรือบุญ หรือความดี มีแต่จะตกอับ ไมตรีของผู้กลับกลอก มีแต่จะวิบัติ ผลแห่งความรู้ของผู้ประพฤติร้ายมีแต่จะร่วงหล่น

ฉะนั้น ถ้าเราทำดีให้เป็น มีความรู้แล้วใช้ให้ เป็นก็จะได้รับผล คุ้มเหนื่อย

   มีพระพุทธภาษิตว่า ความรู้เกิดแก่คนพาล เพื่อความพินาศของคนพาลอย่างเดียว ความรู้นั้นจะฆ่าส่วนดีของคนพาลเสีย ทำปัญญาของเขาให้ตกไป

   แต่ถ้าความรู้เกิดแก่คนดี ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนดี ฉะนั้น โบราณท่านให้คนเรียนความดีก่อนแล้วค่อยเรียนความรู้ทีหลัง หรืออย่างน้อยก็ควบคู่กันไป แต่ว่าสมัยต่อมาดูเหมือนว่าเราจะไปเร่งเอาความรู้ให้มาก กอบโกยเอาความรู้ให้มาก แต่ละเลยระบบของความดีมากมาย ละเลยมากไป ความรู้เกิดขึ้นกับคนชั่ว มันก็พาไปสู่ความชั่วต่างๆ


   นึกถึงคนที่เคยบวชเรียนมานานๆ ควรจะเป็นคนฉลาดในการทำความดี เพราะในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลักในการทำความดีเยอะ แต่บางคนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่ฉลาดในการทำความดี แต่ไปฉลาดในการทำชั่วก็มี เพราะว่าเขาไม่ได้ตระหนักให้เห็นความสำคัญของระบบที่จะทำความดี ไม่ขัดเกลา มีความเห็นแก่ตัวมาก ไม่เอาส่วนที่ดีมาใช้ ที่จริงส่วน ที่ไม่ดี ท่านก็ไม่ได้สอน ทำเอาเอง

   การพัฒนาจิตหรือวิญญาณให้ดียิ่งขึ้น คือเรา ต้องไม่วิตกต่อการเปลี่ยนแปลงในหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตอยู่เสมอว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เลวลง

   เรื่องนี้ทำให้เราสบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง ได้ทุกๆ กรณี บางเรื่องบางทีสิ่งที่เราได้รับ ดูเหมือนจะเป็นข่าวร้ายสำหรับเรา แต่ว่าพอมองให้ดีจะต้องมีผลดี แอบแฝงในเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อย ที่สุดเราก็มีกำไรสุทธิ คือการได้บทเรียนและได้ความรู้จากเหตุการณ์นั้นเอง แม้จะเป็นความผิดพลาดบกพร่องของเรา ก็เป็นประโยชน์และผลกำไรสำหรับใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ ให้เรารักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี และหมั่น ประกอบกรรมดีเอาไว้เสมอ

    ศึกภายนอกเขาสู้กันด้วยกำลังอาวุธ เสบียง กำลังพล แต่ศึกภายในเราต้องสู้กันด้วยกำลังใจ ศึกชีวิต สงครามชีวิต ต้องสู้ด้วยกำลังใจ ถ้ามีกำลังใจอยู่ก็มีหวังชนะ เราจะแพ้ก็เมื่อหมดกำลังใจ บางทีสิ่งที่ดูเหมือนร้ายในเบื้องต้น จะดีในเบื้องปลายก็ได้

    ขออย่าได้กลัวความเปลี่ยนแปลงของชีวิต จะต้องนึกมั่นใจอยู่เสมอว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใจของเราจะไม่เดือดร้อน เป็นการรักษาจิตอย่างดีที่สุด

    อีกประการหนึ่ง ขอให้เราฝึกความคิดความสำนึก หรือฝึกจิตของเราให้คุ้นกับสิ่งที่เรียกว่า พหุลา-นุสาสนี คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอยู่ เสมอว่า

"ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนไม่ได้ และทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะยึดถือได้ บังคับบัญชาไม่ได้"

    นี่ก็เป็นเรื่องเหนือจริยธรรมเหนือจริยศาสตร์ ก็มีหลักฐานจากคัมภีร์บางแห่งว่า น หิ สีลวตํ เหตุ อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา อฏฺฐกฺขรา ตีณิ ปทา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา แปลว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้อุบัติขึ้นเพื่อทรงสอนศีลธรรมเท่านั้น แต่ทรงอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศ 3 บท 8 อักษร 3 บท ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง 8 อักษร ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่ามันออกเสียง อะ เมื่ออนิจจังก็ 3 แล้ว ทุกขังก็ 2 อนัตตา ก็ 3 เป็น 8 อักษร

      การอบรมไตรลักษณ์ ทำให้จิตใจสบายอยู่เสมอ และเพิ่มพูนปัญญาในทางธรรมอย่างมาก นอกจากนี้ เราก็ควรจะสนใจศึกษาให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท คือ กลุ่มธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกอย่างอยู่ในปฏิจจสมุปบาท มันเป็น cosmic law ครอบจักรวาล ทุกอย่างมันอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ที่ว่ามันจะเป็นได้เองโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้มันเกิดขึ้น มันต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิด

      แต่ในระดับสูง ท่านให้พิจารณาให้เห็นเป็นความว่างหรือสุญญตา เป็นเพียงกลุ่มธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ อย่างสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ อันนี้หมายถึงระดับสูงนะ ไม่ใช่ระดับจริยธรรม ถ้าระดับจริยธรรม ท่านต้องพูดอีกแบบหนึ่ง เช่นว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดี ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อม ได้รับผลชั่ว

      แต่ว่าเหนือจริยธรรมขึ้นไป ในระดับของ สุญญตา ในระดับของปฏิจจสมุปบาท ท่านจะพูดใหม่ว่า ผู้กระทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี ธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง เอเวตํ สมฺมทสฺสนํ นี่คือทัศนะที่ถูกต้อง

      นี่ก็ในระดับปรมัตถธรรม หมายถึงว่า ธรรมที่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเอามาดับทุกข์ได้ คำว่า สุทธธัมมา หรือธรรมล้วนๆ หมายถึง กลุ่มปฏิจจสมุปบาท เป็น dependent origination หรือ The Law of causa-tion บางทีเรียกว่า The Law of dependent origina-tion อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน คำสอนที่ว่ากรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี เป็นต้น ก็เล็งถึงธรรมระดับสูงที่เป็นโลกุตตรธรรม เหนือบุญเหนือบาป ไม่ได้มุ่งให้ปฏิเสธเรื่องกฎแห่งกรรม หรือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐาน พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์ที่จะทรงยกระดับพุทธสาวก ที่ทำจริยธรรมขั้นพื้นฐานสมบูรณ์แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งซึ่งอยู่เหนือระดับศีลธรรม จึงทรงแสดงเรื่องกลุ่มธรรมหรือปฏิจจสมุปบาท ผู้ที่เข้าใจเรื่องอย่างนี้ดีก็จะสามารถถอนตัณหานุสัยหรือตัณหาอุปาทานได้ง่าย เป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ

อ้างถึง "วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ : อ.วศิน อินทสระ " http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0-219055.html



 
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สวดมนต์ ทำวัตรเช้า เย็น เหมาะแก่ คนที่อยู่ที่บ้าน หรือไม่คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 12:31:35 pm
การสวดมนต์ไม่ใช่วิสัยของชาวบ้าน อย่าทำบ้านให้เป็นวัด  ........ ประมาณนี้ นะคะ โดนบ่นกันอย่างนี้
หรือ ว่าการทำวัตรสวดมนต์ เหมาะแต่ พระ คะ

 

       ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่บ้านอยู่ใกล้วัด แต่ในการปฏิบัติสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเช้าเย็น รวมถึงนักปฏิบัติกรรมฐานทำที่บ้าน และประสบการณ์ในการไปถือบวชเนกขัมมะ ก็มีอยู่เป็นประจำตามเวลาที่เอื้ออำนวยในการไปถือบวช  ซึ่งถ้าอธิบายจากความเข้าใจในส่วนตัวหรือประสบการณ์ที่ได้รับมา ก็ถือว่าได้แลกเปลี่ยนในความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ........
       จุดประสงค์ของการสวดมนต์ แต่ละคนอาจจะมีแตกต่างกัน เช่น เพื่อความสงบ เพื่อสร้างกุศลแผ่ไปให้คนอื่นๆ เพื่อสร้างบุญบารมีให้แก่ตนเอง และฯลฯ......มากมายตามแต่ละคนที่มีศรัทธาในเรื่องการสวดมนต์
กับความคิดเห็นที่ว่า " การทำวัตรสวดมนต์ เหมาะแต่ พระ ??? ? " จริงหรือ......แม้แต่ในพุทธประวัติยังกล่าวถึงคฤหัสถ์ บุคคลทั่วไปในการทำความเพียรอยู่กับบ้าน ซึ่งมีความนับถือในพระพุทธศาสนา เรียกว่า"พุทธบริษัท" ซึ่งเป็นผู้สืบทอดศาสนา จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ชาวพุทธศาสนิกชนจะสวดมนต์ภาวนาอยู่กับบ้านเรือนตนเอง และจะเป็นสิ่งที่ดีให้กับบ้านเรือนที่อาศัยในอานิสงฆ์ของผู้ภาวนา รวมถึงเทวดาที่ปกปักษ์รักษาบ้านเรือนของเราเองด้วย..... :13: :13: :13: 
 
      พุทธบริษัท  คือ หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี ๔ จำพวกคือภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา
      สิกขมานา  แปลว่า "สิกขา" หมายถึง "ศึกษา" เป็นคำเรียกผู้ที่ถือศีล ๖ ข้อก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณีหรือเรียก ว่าสามเณรีก็เรียก

    (ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สิกขมานา)
      ปัณฑรังคะ แปลว่า  ผู้นุ่งขาวห่มขาว


หน้าที่พุทธบริษัท ๔

          ๑. พุทธบริษัท ๔  ต้องเป็นผู้รู้  เข้าใจ  และสามารถ
ปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตามพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์
          ๒. พุทธบริษัท ๔  ต้องสามารถ แนะนำ  สั่งสอนผู้อื่น ให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
          ๓. เมื่อมีผู้ใดกล่าว  ติเตียน  จ้วงจาบ  แสดงคำสอน  ผิดพลาด พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถชี้แจง  แก้ไข  ให้ถูกต้อง
 ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
 

  :c017:
 
ผู้สืบทอดในทางศาสนาพุทธ ได้แก่ พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้   
  • ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษา ปฏิบัติตามคำสอน (ธรรม) และคำสั่ง (วินัย) และมีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศชาย และ พระภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศหญิง
  • สำหรับผู้บวชที่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ 20 ปี จะเรียกว่าเป็น สามเณร สำหรับเด็กชาย และ สามเณรีและสิกขมานา (สามเณรีที่ต้องไม่ผิดศีล 6 ข้อตลอด 2 ปี) สำหรับเด็กหญิง ลักษณะการบวชสำหรับภิกษุหรือภิกษุณี จะเรียกเป็นการอุปสมบท สำหรับสามเณรหรือสามเณรีและสิกขมานา จะเรียกเป็นการ บรรพชา
  • ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่า "ฆราวาส" หรืออุบาสก ในกรณีที่เป็นเพศชาย และอุบาสิกา ในกรณีที่เป็นเพศหญิง
11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากถามเพื่อนๆ ว่า ถ้าเราตอบกระทู้ไป แล้ว มีคนมาตอบทีหลังอีก ทำให้ของเราไม่น่า.. เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 11:55:07 am
 :a102:     ในการตอบกระทู้มุมมองของแต่คนนั้นย่อมแตกต่างกัน ทั้งทางด้านการปฏิบัติ หรือความรู้ในในภูมิธรรมต่างๆ รวมถึงประสบการณ์ที่ผ่านพบมา แต่ในเจตนาของผู้ตอบจะต้องมุ่งสร้างสรรค์ให้แก่กัลยาณมิตร ซึ่งอาจจะมีหลายคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในภูมิธรรม และการปฏิบัติ
     
        หลายๆ สมาชิกที่เข้ามาในเว็ป จุดประสงค์ก็ล้วนแตกต่างกัน แต่โดยหลักสำคัญเพื่อศึกษาหาความรู้ในกรรมฐานมัชฌิมา การหาคนร่วมคิดหรือปรึกษาในปัญหาที่ตนกำลังประสบอยู่ ฯลฯ   จึงเป็นธรรมดาในความคิดเห็นที่แสดงออกไปย่อมมีทั้งแตกต่าง เห็นด้วย หรือความรู้ที่มีรายละเอียดมากมาย 
       
       ดังนั้น การที่มีคนตอบกระทู้เพิ่มเติมหลังจากที่ตอบไป น่าจะทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนของความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งประสบการณ์ ที่ทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้เข้าใจในแง่มุมของแต่ละมุมมองความเห็น ไม่ใช่ให้เกิดความแตกต่างเพื่อเกิดการเปรียบเทียบว่า เราดีกว่าเขา หรือเขาดีกว่าเรา
 
       อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ ทำให้สมาชิกที่เข้ามาได้กล้าแสดงความคิดเห็น เพื่อเปิดโอกาสได้มีการแลกเปลี่ยน ทำให้มีการสร้างสรรค์ในกลุ่มสมาชิกมากยิ่งขึ้น :58:
12  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: นัยอันล้ำลึกของคำว่า "ขอบคุณ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 04:33:21 pm
     ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับการมองให้แตกต่างเพื่อสร้างสรร เป็นกำลังใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกๆ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปรากฏในสิ่งที่ไม่ดี  ย่อมมีสิ่งที่ดี ๆ เกิดขึ้นพร้อมในเวลาเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองเห็นได้ชัดเจนมากน้อยต่างกัน หรือบางคนอาจจะมองไม่เห็นสิ่งที่ดี ๆ ที่เกิดขึ้นมาเลย
 :88:
13  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 04:03:59 pm


 :67:              มงคลที่ ๓๕   มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม      :13:
             

                           ๏ ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
                        ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
                        เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
                        มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ.

 
         คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี  ๔  ประการคือ

       ๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
 
๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี
 
๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
 
๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ   ๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
 
๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร

 

 
http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem35.php


[/]
14  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การสนทนาธรรมตามกาล เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 03:39:32 pm
                             ๏ ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
                         เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
                         เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
                         ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร. 

   :25:
     
         การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย
 
         ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
         ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
         ๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
         ๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
         ๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
         ๕.ต้องไม่พูดจา่โอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน
 
       ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
     ๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
     ๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
     ๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
     ๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
     ๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
     ๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
     ๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
     ๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป

http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem30.php
15  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ธรรมะสำหรับวันวาเลนไทน์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 03:21:25 pm
        :88: นิยามจริง ๆ ของความรักนั้นคือ ความเป็นห่วงเป็นใย ไม่อยากให้คนที่เราผูกพันนั้นต้องลำบาก โดยเราไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ อยากให้เขามีความสุขแค่นี้ก็เป็นสุขใจ

        อันนี้ถือว่าเป็นความรักที่ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายแก่ตัวผู้รักและถูกรัก แต่ปัจจุบันนี้คนหลายคนเข้าใจเกี่ยวกับความรักไปในทางที่ผิดเช่น รักเพราะอยากได้เขาเป็นของเรา รักเพราะเขาเพราะความเหงาไม่อยากอยู่คนเดียว รักเพราะไม่อยากสูญเสียเขาไป เป็นต้น

       ความรักที่ว่านี้จัดเป็นความรักที่เป็นโทษเพราะก่อความทุกข์ใจให้ทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดความหึงหวง ไม่เป็นส่วน บางทีอาจจะกลายเป็นไฟตัณหาซะด้วยซ้ำ ทำให้เกิดการหมางใจระหว่างคู่รักก็มี จนต้องเลิกรากันไปเพราะไม่เข้าใจกัน

       เมื่อเข้าใจพื้นฐานของความรักแล้วทุกคนควรร่วมปฏิบัติตัวให้มีความรักแบบที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้รักษาน้ำใจคนที่รัก ให้สามารถรักกันนานได้ แม้ความตายมาพรากก็ไม่อาจจะพรากใจคู่รักให้แยกกันไปได้ ทุกคนจึงควรปลูกฝังคุณธรรมแห่งความรักไว้ในใจดังนี้

1.เมตตา ให้รักเขาด้วยเมตตาไม่อยากให้เขาได้รับทุกข์

2.กรุณา ให้รักเขาด้วยความเมตตา แม้เขาทุกข์อะไรเราก็พร้อมจะช่วยเหลือเขาให้เขาหายจากความเศร้าโศก หากเขาทำอะไรผิดก็พร้อมจะชี้ทางให้เขากลับเข้ามาในทางที่ถูกที่ควรเสมอ

3.มุฑิตา แม้ว่าเขาจะไปทำอะไรที่ไหน หากเป็นสิ่งที่ดีที่ควรแล้วก็ควรปล่อยเขาไปทำ ควรยินดีกับเขาเมื่อเขาได้พบสิ่งที่ดี ไม่หึงหวงเพราะอยากให้เขาอยู่กับเรานาน ๆ

4.อุเบกขา แม้เกิดอุปสรรคใดขึ้นกับความรักก็พร้อมจะวางเฉยไม่ทำความเดือดเนื้อร้อนใจให้เพิ่มขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะไฟตัณหาจากความรักนั้นร้อนแรงร้ายกาจยิ่งกว่าสิ่งใด หากไม่ควบคุมให้ดีย่อมจะกลับมาเผาใจตัวเองให้มอดไหม้ไปได้

5.ปิยะวาจา ควรพูดด้วยวาจาที่มีเสน่ห์คือ พูดเพราะ พูดแต่ความจริง พูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ให้แก่กัน เพื่อรักษาน้ำใจให้ครองรักกันได้นาน

6.ทาน แบ่งปันสิ่งที่ดีให้แก่กันคือ อาจจะหยิบยื่นสิ่งที่จำเป็นให้แก่คนรัก ไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัตถุแต่อาจจะเป็นอยากอื่นก็ได้เช่น แบ่งปันความอบอุ่นใจให้แก่เขา ไม่ทำให้เขาว้าเหว่ เป็นต้น

7.สมานัตตา ทำตัวเสมอต้นเสมอปลายรักเขายังไงก็รักอย่างนั้น ไม่ลดน้อยลงเพราะจะเกิดความเบื่อหน่ายจนต้องเลิกรักกันไป

8.อัตถจริยา หมั่นทำตัวเองให้ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนรักเช่น ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำตัวเหลวไหลเที่ยวไปในที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่เกิดความระหองระแหงใจแก่กัน

ธรรมทั้ง 8 ข้อนี้มาจาก พรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นธรรมที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจคนให้รักกันไปตลอดกาล แม้เกิดข้ามภพข้ามชาติไปใหม่ก็ยังจะคงกลับมารักกันเป็นบุเพสันนิวาส ไม่มีวันจะเลิกรากันง่าย ๆ ซึ่งเป็นความรักที่ไม่มีโทษภัย __________________
ทาสปัจเจกพุทธเจ้า (ข้าพเจ้าขอเป็นข้ารับใช้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ )     :58: http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C-4874.html
16  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติธรรมอย่างไร จึงจะทันสถานการณ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 03:05:42 pm
   "ในระหว่างภาวนา ถ้าจิตซัดส่ายไปในอดีต หรือไปในอนาคต หรือฟุ้งซ่านอยู่ในปัจจุบัน
    ก็ให้ทำการเพิกจิตวางเฉย เมื่อมีสติก็ดึงกลับมา
    ด้วยการส่งหายใจเข้าไปให้เต็มปอดพร้อมภาวนาว่า "พุทโธ"
    และส่งจิตไปยังฐานจิตทันที การวางจิตอย่างนี้เรียกว่า "อุเบกขานิมิต"


 

   
    สำหรับการดึงสติที่ใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งสามารถทำให้ได้เร็ว ก็คือ การกลั้นลมหายใจ หรือเรียกว่าดับลมหายใจ  และเมื่อสติเข้ามาอยู่ภายในกายแล้ว หรือนิ่งไม่ซัดส่าย  จึงจะไปกำหนดฐานจิตใหม่ และกำหนดการภาวนาพุทโธ
 
    ??? เป็นความเห็นส่วนตัวที่เล่าจากประสบการณ์ ที่ได้ปฏิบัติมา  ซึ่งจะเป็นอีกวิธีสำหรับผู้ที่ปฏิบัติที่จะนำไปแก้ไขในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าก็ได้
 
 
 
17  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / วิธีดับทุกข์ เพราะ...เพื่อน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 02:06:02 pm
                  วิธีดับทุกข์ เพราะ...เพื่อน
                                       
 
                                                    สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
         
          " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีนั้น นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ทีเดียวนะ พระเจ้าข้า"

          พระพุทธองค์ ได้ตรัสค้านขึ้นว่า
          "อานนท์ ! เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก้ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนดีนั้น นับว่าเป็นพรหมจรรย์หมดทั้งสิ้นที่เดียว

           อานนท์ ! อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่า จะได้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จะกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"

          ได้ยกเอาพระสูตรสำคัญที่สุด ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสคัดค้านพระอานนท์ ที่กราบทูลว่า การมีเพื่อนที่ดี เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์เท่านั้น แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นทั้งหมดทีเดียว
 
          ข้อนี้เป็นที่รับรองของท่านผู้รู้ อย่างชนิดใต้องสงสัยเลยเพราะมีสุภาษิตรับรองอยู่ทั่วไป เช่น คบคนใด ย่อมเป็นคนเช่นคนนั้น คบคนเลวก็ย่อมเลวตาม และคบคนดีย่อมดีขึ้นในทันที เป็นต้นอานนท์ ! อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่า จะได้เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จะกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘"
 
         ในมงคล ๓๘ ท่านจึงได้วางหรือจัดเรื่องการไม่คบคนพาลไว้เป็นข้อแรก และจัดเรื่องการคบกับบัณฑิตไว้เป็นข้อที่ ๒ ทั้งนี้ก็เพราะ การคบเพื่อนเหมือนกับการเริ่มต้น ของการเดินทาง การคบเพื่อนที่ไม่ดีก็เหมือนการเดินทางผิด ยิ่งเดินก็ยิ่งผิด ทางที่ถูกก็คือ ต้องตั้งต้น เดินใหม่ นั่นคือการเลือกคบแต่คนดี

          ปัญหามีต่อไปว่า เราจะไม่ได้อย่างไรว่า เพื่อนคนไหนดีหรือไม่ดี ? การคบกันใหม่ ๆ ย่อมจะดูยาก ไม่เหมือนการดูสัตว์บางประเภท เช่น เสือมันก็ยังมีลายหรือสีที่ขนพอให้แยกได ว่าเป็นเสือหรือประเภทอะไร เป็นต้น

         การดูคนดีหรือชั่ว เรามีจุดที่จะดูอยู่ ๓ จุดคือ ที่กายวาจา และที่ใจของเขา โดยมีศีลธรรมเป็นมาตรวัดดังนี้
          ทางกาย ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดและ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
          ทางใจ ๓ คือ ไม่โลภ อยากได้ในทางที่ผิด มีจิตเมตตาไม่ปองร้ายหรือพยาบาท และ มีความเห็นชอบและถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

          มีข้อที่ดูยากก็คือ ทางใจ แต่ก็พอจะดูได้ เพราะเมื่อใจคิดแล้วมันก็ต้องพูดหรือทำ ไม่ช้าก็เร็วออกมาจนได้ การคบกันนาน ๆ จึงจะรู้ธาตุแท้หรือสันดานของคนได้แม้จริง

          ในอกิตติชาดก (๒๗/๓๓๗) ท่านแนะให้ดูคนพาล หรือคนชั่วที่ ๕ จุดนับว่าเข้าทีและเป็นไปได้ คือ
          - คนพาลชอบชักและนำในทางที่ผิด
          - คนพาลมักชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของตน
          - คนพาลมักจะเห็นผิดเป็นชอบ
          - คนพาลแม้หรือใคร ๆ พูดดี ๆ ก็โกรธ
          - คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัยหรือกฎหมาย

           เป็นอันว่า เราได้ทั้งหลัก และแนวทางของการดูคน ว่าดีหรือชั่วแล้ว ที่นี้ก็อยู่ที่ว่า เราจะเลือกคบกับคนดี หรือคนชั่ว ถ้าเราเลือกคบคนดี และนึกรังเกียจคนชั่ว ก็แสดงว่าพื้นจิตของเรามีสัมมาทิฐิ
         
           แต่ถ้าจิตของเราเกิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว คือเห็นผิดเป็นชอบ รังเกียจคนดี แส่เที่ยวหาคบแต่คนชั่ว ก็แสดงว่าพื้นจิตของเราเป็นมิจฉาทิฐิ นับว่าเป็นอันตรายมาก ควรรีบแก้ไขเสียโดยด่วน ถ้าขืนปล่อยไปตามนั้นอนาคตที่มองเห็นก็คือ ไม่ตายตอนแก่แน่ ๆ ขนาดเบาก็มีคุกเป็นบ้านถาวร
 
          คนเราเป็นสัตว์สังคม จึงจำเป็นต้องคบหาเพื่อนฝูง ไม่มีเพื่อนมากก็ต้องมีน้อย เพราะไม่มีใครจะอยู่คนเดียวในโลกได้

          การคบเพื่อนที่ดี ย่อมจะนำแต่ความสุข และความเจริญมาให้ในทางตรงข้า ถ้าคบเพื่อนชั่วหรือพาล ย่อมจะนำความทุกข์เดือดร้อนและความเสื่อมนานาประการมาให้
 
          ดังนั้นใครมีเพื่อนที่ดีอยู่แล้ว ก็ควรจะถนอมน้ำใจด้วยการปฏิบัติตาม "สังคหวัตถุ ๔" อย่างสม่ำเสมอ ก็ย่อมจะผูกน้ำใจเพื่อนที่ดีไว้ได้ ตลอดกาล
 
          ถ้ามีเพื่อนเป็นคนชั่ว ก็ควรเร่งถอนตัว ตีจากเสียให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันทุกข์ภัย ที่จะมีในปัจจุบัน และในอนาคตคนเดียวในโลกได้

         
                                                                                                                                                                                                               ทางแก้       
 
         ๑. พิจารณาให้เห็นโทษ ของการคบกับคนชั่ว และคุณของการคบกับคนดี อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และต้องตัดใจเลิกคบกับคนชั่วให้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
          ก. เลิกคบกันทันทีทันใด ถ้าคิดว่าทำแล้วจะไม่เกิดมีทุกข์หรือภัยตามมาภายหลัง
          ข. ค่อย ๆ แยกหรือปลีกตัวออกมา โดยที่ไม่ให้เขารู้ตัว
          ค. ตัดสายสัมพันธ์ ที่เป็นสื่อเชื่อมโยงออกให้หมด

          ๒. ถ้าอยู่โรงเรียนเดียวกัน หรือทำงานร่วมกันก็อาจขอย้ายห้องย้ายโรงเรียน หรือเปลี่ยนงานใหม่ ก็แล้วแต่กรณี
          ๓. ย้ายบ้าน อย่าอยู่ใกล้ชิดกันอีกต่อไป
          ๔. เลือกคบหาคนดีไว้ทดแทน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่อาจจะอยูโดดเดี่ยวได้
 
          เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมรังเกียจไม่คบหาด้วย และเมื่อเราเลิกคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมคบหาด้วย อย่ากลัวเลยว่า จะหาคนดีคบไม่ได้ ขอแต่ว่าให้เราเป็นคนดีจริง ๆ เถอะ อย่าเป็นคนประเภท "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ" ก็แล้วกัน
          ทุกวันนี้ โลกเราหนาแน่นไปด้วยคนมีความรู้ มีดีกรีสูงแต่ขาดแคลนคนดีหรือบัณฑิต (ผู้มีปัญญา) ยิ่งนัก


 
 
ที่มา : หนังสือคู่มือดับทุกข์

http://www.dhammathai.org/book/dubtuk02.php
 
18  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมอวยพร ส่งความสุข ด้วยการ์ด ดิจิตอล ต้อนรับปี 2555 / 2012 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 05:30:56 pm
19  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ความโง่ของคนโง่ : นั่งกัมมัฏฐานหาความโง่ เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 10:18:08 am
ความโง่ของคนโง่ :  นั่งกัมมัฏฐานหาความโง่

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓

“นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน” ........... :57:

     

  แท้จริงกัมมัฏฐานคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกันทุกๆคนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไมจึงเรียกว่าโง่    ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริงนั้นหรือเป็นผู้ฉลาด ........แปลกจริงหนอ
   
 :s_laugh:
   ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตามสภาพความเป็นจริงแทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาดกลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว

     
      ความ โง่มันซ่อนเร้นอยู่ตาม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ......

จะหลอกคนภายนอกไปอย่างไรก็หรอกไปเถิด แต่ในใจของตนย่อมรู้ดีว่าหลอกลวงคนอื่น ......................
:97:
 
 
        นับเป็นบทความที่ให้แง่คิดที่ดีมากๆๆๆ.....กับผู้ปฏิบัติกรรมฐาน,ผู้ที่สนใจซึ่งกำลังศึกษาในการปฏิบัติ และโดยเฉพาะผู้ที่ยังมีความคิดที่ไม่เข้าใจการปฏิบัติกรรมฐานเป็นการนั่งหลับหูหลับตา

        ยังมีอีกไหม ????........
 
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำบุญ ใส่บาตร แล้ว พระไม่ได้ ฉัน เอาไปแจกต่อ ได้บุญอย่างไรคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 04:11:09 pm
บุญเกิดตั้งแต่ถวายไปแล้ว  ส่วนพระจะนำไปแจกตามวิธีของสงฆ์นั้นไม่ได้ทำให้บุญของเราหายไปไหน.... ??? ?
จิตของผู้ให้อย่าตกเมื่อเห็นพระนำของดี ๆๆๆ ไปแจก
21  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จิตตก คะ หลายเรื่องรู้สึกว่า ทำให้อารมณ์ไม่ดี เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:52:23 am
พระอาจารย์ ท่านเคยแนะนำผมอยู่ ครั้งหนึ่งว่า

  เวลาที่จิตตก เป็นเวลา ที่เราคิดอะไร เข้าข้างตัวเอง และ พยายาม ให้อะไร ๆ ต่าง ๆ มาเข้าข้างตัวเอง เห็นใจตัวเอง ดังนั้นเวลาที่จิตตก สิ่งสำคัญ ให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ที่จะได้ละตัวตน ของตนเสีย ให้พลิกจิตอย่าทำอะไรเพื่อตัวเอง และ เวลาตั้งอยู่ใน ศีล ทาน ภาวนา ให้ทำทาน รักษาศีล ภาวนา โดยที่ไม่ต้องให้มีใครมาเข้าใจเรา อีกต่อไป

    สุดท้าย........ เมื่อใคร่ครวญ เพราะ พิจารณาด้วยสติแล้ว ที่เราเป็นทุกข์ จนจิตตก ก็เป็นเพราะว่า

    เราต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจเรา เห็นใจเรา ช่วยเรา
    ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง นั้น การภาวนาต้อง เอาตัว เอาตนออก
    ได้ปรับจิต อยู่นานพอสมควร จึงจะเข้าใจ ภาวนาส่วนนี้

 

  ขอมอบดอกไม้ ด้วยหัวใจให้นะครับ

  ดอกบานไม่รู้โรย  ขอให้จิตใจได้แช่มชื่น บานดอกบานไม่รู้โรย นะครับ

  ผมชอบดอกไม้ชนิดนี้ นะครับ ด้วยเหตุผลดังนี้

  1. เป็นดอกไม้ติดดิน ที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ ยามปกติ

  2. เป็นดอกไม้ประดับ พานและคงอยู่เนิ่นนาน

  3. เป็นดอกไม้ที่ดูจะไร้ค่า แต่ยามส่งค่า ก็มีค่ามาก

  สวัสดี ยามเช้า เท่านี้นะครับ

  :25:

ความคิดเห็นยอดเยียมมาก...อ่านแล้วเข้าใจตนเองมากขึ้นเลย
22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:40:49 am
 
บุญกิริยาวัตถุ ( เรื่องของการทำบุญ ) ๓ ประการ คือ
     บุญญกิริยา วัตถุสำเร็จด้วย
    ๑.ทาน,
    ๒.ศีล,
    ๓.ภาวนา( การอบรม )
    การรักษาศีล  เพื่อปิดกั้นทุจริตทางกาย และวาจา เป็นผลให้เกิด ความบริสุทธ์ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณความดีทั้งหลาย
 
 :c017:
23  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: พระสงฆ์ที่น่านับถือ กราบไหว้ ของสระบุรี มีใครบ้างครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:26:40 am
ไปกราบไหว้มาแล้ว....ดีมากเลย    เชิญชวนทุกท่านที่ยังไม่เคยไปหรือไปแล้วยังไม่รู้จักแต่ตอนนี้รู้จักแล้วไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติภาวนา
24  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพอาหาร กับพระสงฆ์ ที่อุปสมบถเิทิดพระเกรียรติ 23 พ.ย-6 ธ.ค. เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:21:22 am
อนุโมทนาบุญด้วย......
25  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าเราโดนวิจารณ์ ด่า ต่อว่า ในทางเสียหาย ควรทำอย่างไรในการภาวนาคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 10:56:44 am
คุณเลือกได้............ควรทำอย่างไรในการภาวนาคะ
 
 :a102: :015: :34: :34:                           :bedtime2:                      :25:
 
 
   1                                       2                                  3                                   4

   
 ................................. .....................    :96:     ............................................................

26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ขอเพียงแค่ 1 นาที เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 10:38:20 am
     บางครั้งเราใฝ่หา อะไรไกลเกินไป ทั้ง ๆ ที่บุคคลใกล้ตัวนั้น ก็สามารถเป็นที่หยุดของใจได้แล้ว

นึกไปนึกมา เหมือนเราแสวงหาอาจารย์มาช่วยชี้นำ แต่อาจารย์ใกล้ตัวที่ปฏิบัติถึงพร้อมแล้ว เราไม่ได้ใส่ใจ

บางครั้งเราอาจจะมองเหตุภายนอกมากเกินไป จนลืืมเป้าหมายของใจว่าเราต้องการอะไรกัน  อนุโมทนากับเรื่องนี้คะ
 :25:
 


สาธุ สาธุ ......ขออนุโมทนาด้วย และขอ ให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อนกัลยาณมิตรทุก ๆ ท่านได้สดับเหตุเช่นเดียวกันนี้
27  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถึงท่านที่กล่าวหาพระพุทธทาสว่า กล่าวตู่พระไตรปิฎก บิดเบือนคำสอน หรือสอนผิด เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 10:36:16 am

คือ ครูอาจารย์ ท่านมีแนวคิดทางธรรม ที่ถูก ที่ควรแล้วคะ การศึกษาธรรมปัจจุบัน ควรจะเป็นไปในแนวนี้คะ
ที่จะเกื่อกูลกับ การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันได้ดี คะ

 

ขอเวลาเพียง 1 นาทีที่คุณควรเข้าใจ
 
     บางครั้งเราใฝ่หา อะไรไกลเกินไป .....

บางครั้งเราอาจจะมองเหตุภายนอกมากเกินไป จนลืืมเป้าหมายของใจว่าเราต้องการอะไรกัน ........
 :25:
 

28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีใครเคยลองทำ สมาธิ โต้รุ่งบ้าง คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 10:16:19 am
เนื่องด้วยการ ภาวนากรรมฐาน โต้รุ่ง นั้น เป็นวิสัยที่ทำได้ยาก ของบุคคลที่ไม่เคยฝึก หรือ ได้อุปจาระสมาธิ ...เจริญธรรม
  ;)

ผู้ผึกปฏิบัติย่อมรู้ด้วยตนเอง และการปฏิบัติดังกล่าวได้จริง ย่อมไม่เกิดสภาวะทางร่างกายที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เพราะเมื่อปฏิบัติได้ไม่ต้องถึงขณะอุปจาระสมาธิ จิตจะตื่น เบิกบาน และมุ่งที่จะปฏิบัติต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตามสภาวะกำลังของจิต........
29  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 09:39:03 am

   พระพุทธเจ้า (ครูใหญ่) ตรัสไว้ ว่า  บุคคลจะก้าวล่วงพ้นทุกข์ ได้เพราะความเพียร ครับ

   ส่วนในโอวาท ปาฏิโมกข์  ก็ก้าวถึง  ขันติ เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ครับ

  การทำสมาธิ ไม่ ถ้าจิตตั้งมั่น ใน นิิมิต ทั้ง 3 ก็จะก้าวล่วง เวทนา ไปได้

  ............ เพราะมุ่งเอาแต่ความสบาย และ ตีความการฝืน เป็น อัตตกิลมถานุโยค

  ขออภัยที่เห็นแย้ง แต่ถ้าไม่กล่าวไว้ บ้าง ผู้อ่าน จะเขวกันได้ นะครับ

 

สาธุ สาธุ สาธุ.......ผู้ปฏิบัติควรดำรงสติให้มั่นอย่างที่คุณสมภพแสดงไว้ เห็นด้วยอย่างยิ่ง........
สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติได้แล้ว หรือก้าวล่วงเวทนาไปได้บ้าง ย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า ในขณะที่ปฏิบัติกรรมฐาน
แล้วดำรงจิตตั้งมั่นในการภาวนา โดยจิตไม่ออกไปนอกกายแล้ว การรับรู้เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน......
30  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อุปสรรค ที่แท้จริงในการเผยแผ่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 09:30:59 am
กรรมฐาน อาจจะมุ่ง ความเหนือมนุษย์ ทั่วไป มากไปคะ คือ มุ่งเรื่อง ฤทธิ์ คะ

 ดังนั้นการฝึก สติ จึงเป็นที่สนใจ มากกว่า เพราะมีความสอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากกว่าคะ

  :88: :58:

 อาจจะตี ความหมาย การฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ผิดไปนะครับ


เห็นด้วยอย่างยิ่ง...... โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ฝึกปฏิบัติแล้วให้ความหมายตามความรู้สึกนึกคิดไปเองนั้น...ยิ่งทำให้การเข้าใจใน "การฝึกกรรมฐาน" เพี้ยนไปได้
31  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าพึงรู้ว่าจะตายในวันพรุ่ง เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 03:05:13 pm
ก็เพียร มาทุกครั้งเช่นกันหลายปีแล้ว .......
ไปปฏิบัติธรรมทีวัด เป็นอาทิตย์ ก็ไม่ต่ำกว่า 10 วัดแล้ว

 ก็ยังสงสัยเช่นเดียวกัน ว่า ต้องเพียรอย่างไร หรือ มีข้อธรรมใดที่ยังไม่เข้าใจ
.........เมื่อใดหนอ ถึงจะพ้นจากสังสารวัฏฏ์ นี้ได้

 

พระอาจารย์ได้กล่าวสอนศิษย์เสมอๆ เกี่ยวกับความเพียรในพระพุทธศาสนา  คือ
" การสร้างความเพียรดังกล่าวไม่ใช่เป็นการปฏิบัติมาก ๆ หรือบ่อย ๆ แต่เป็นการสร้างกุศลจิต เจตนาให้มาก ๆ ในปธานทั้ง 4 ของโพธิปักขยธรรม 37 หมายความว่า ใครที่สร้างสร้างกุศลจิตและรักษาไว้ให้มากๆในเต่ละวัน นั้น เพื่อทำให้กิเลสเบาบางลงและหมดเยื่อใยของกิเลสไปในที่สุด เพื่อข้ามพ้นความทุกข์ และสังสารวัฏ"
 
เก็บตกสิ่งดี ๆ....มาเล่าสู่กันฟัง  :34: :34: :34: 
 
32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พระธรรม เป็นของให้ฟรี สำหรับ ผู้ที่ต้องการไปสู่ คำว่า ฟรีด้อม ( freedom ) เมื่อ: ตุลาคม 14, 2011, 06:10:38 pm



 อยากถามว่า ท่านทีเป็น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ท่านได้เรียนอะไรจากครูอาจารย์ของท่าน

       จึงทำให้ท่านทั้งหลายเดินอ้อม หรือ เดินห่างจากพระธรรมกันหรือป่าว ถ้าเป็นดังนั้นการภาวนาของท่านจึงไม่มีความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา กัน


 

มีสิ่งดี ๆ หลายอย่างที่พระอาจารย์ได้สอน แต่บางอย่างก็แจ้งให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นศิษย์ไม่ได้แต่มีสิ่งหนึ่งที่ คิดว่าคุณมดตะนอยก็คงจะทำได้ด้วยตนเอง......คือ ตรวจสอบความสำเร็จในกรรมฐาน หรือสมาธิที่ตัวคุณมีอยู่ ที่เฝ้าคอยเพียรบอกผู้อื่นนะ........แล้วเป็นอย่างไร ???? ไม่ต้องแจ้งบอกให้คนอื่นรู้หรอกนะ ให้รู้ที่ตัวคุณแล้วพิจารณาต่อไปสิว่า......
        "การภาวนาที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบ เพราะกิเลสเข้ามาหาเราได้ทุกสภาวะ ทุกรูปแบบ เราพึ่งฝึกภาวนาโดยการเจริญสติ เป็นหลัก เพราะการเจริญ สติ ไม่มีรูปแบบ กับ ความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา "
สิ่งที่กล่าวไว้ คุณมดตะนอยได้ไปถึงไหนแล้ว.........เปิดสัมผัสภายนอกบ้าง อย่าอยู่แต่ความคิดภายในตนเองที่คอยครอบการเรียนรู้ให้อยู่กับตนเองเท่านั้น  ควรกล่าวในสิ่งที่ปฏิบัติได้ เห็นผลได้นะ...... :25:
 
 :67: พระอาจารย์ได้สอนวิธีการวัดความสำเร็จในกรรมฐาน หรือสมาธิ ไว้ 3 แบบ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2861.0
33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มาปฏิบัติธรรมในงาน กันดีกว่า อย่ามัวนั่งหลับหู หลับตากันเลย เมื่อ: ตุลาคม 05, 2011, 04:48:19 pm
          อยากทราบด้วยคน... กับวิธีการที่แนะนำและเขียนบรรยายการปฏิบัติธรรมในรูปแบบนามธรรม  ซึ่งบางคนอาจจะมองไม่เห็น ไม่เข้าใจ.. ช่วยแนะนำให้ทราบบ้าง กับคำที่ว่า " อยู่ที่การเจริญสติ รู้ทัน และไม่เป็นทุกข์ เราสามารถ ทำให้ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติภาวนาโดยไม่จำกัดกาลเวลาได้คะ  "
           :a102: ดูแล้วการที่อธิบายมานี้เป็นการแปลพุทธวจน....หรือเปล่านะเพราะ สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และแจ้งให้กับพุทธบริษัท สำหรับพวกเราแล้วแค่นำมาปฏิบัติตามเท่านั้น   
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ ได้ไม่เกิน 20 นาที เอาดีทางนี้ไม่ได้ เลยเปลี่ยนเป็นทำบุญอย่างอื่นแทน เมื่อ: ตุลาคม 05, 2011, 04:33:58 pm


 
  ไม่ต้องทำกรรมฐาน ให้นาน แต่ให้ทำ บ่อย ๆ เช่น นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม นอนภาวนา ยืนกำหนดจิต ก็ให้ทำบ่อย สัก 5 นาที แต่ทำบ่อย ๆ

   ผมเองก็ใช้วิธีการนี้ ตอนไปเรียน กรรมฐาน ที่วัดธรรมมงคล เรียกว่า วิทิสสาสมาธิ คือการกำหนด สมาธิบ่อย ๆ ครั้งละ 5 นาที หลาย ๆ ครั้ง  5 นาที ทำ 10 ครั้ง ก็ 50 นาทีแล้วครับ ต้องเริ่มด้วยความอดทนแบบนี้่ก่อนครับ

    ดังนั้น ขอให้ใช้คาถา ที่พระอาจารย์ เคยแนะนำไว้ ว่า


    อ ด ท น
 

 :72: :72: เห็นด้วยกับวิธีปฏิบัติมาก ๆ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้มาก็คือ "วสี ในการปฏิบัติ"  ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องทำให้คล่องทั้งเข้าและออกในการปฏิบัติกรรมฐาน ส่วนเรื่องเวลาควรจะลืมไปก่อนเลย  ถ้าการปฏิบัติตั้งมั่นในเวลาที่ควรจะเป็นก็เรียกว่าสร้างกิเลสเป็นอันดับแรกเลย  จริงๆ แล้วไม่มีผู้ปฏิบัติใดที่เริ่มที่จะปฏิบัติแล้วนั่งได้เป็นชั่วโมง ๆ ในคราวแรก ถ้าจะให้เห็นชัดๆ ให้ดูนักกีฬา การที่จะวิ่งให้ได้ระยะไกลๆ นานๆ นั้นก็ต้องเริ่มตั้งแต่ฝึกหัดวิ่งระยะใกล้ๆ แล้วฝึกบ่อยๆ จึงค่อยเพิ่มระยะทางให้มากขึ้น
                สิ่งที่สำคัญที่ควรจะให้มีก็คือ ต้องกำหนดองค์บริกรรมนิมิตให้ได้ทั้ง 3 นิมิต อย่างที่คำกล่าวที่ว่า " แค่งูแลบลิ้น หรือช้างกระดิกหู ก็สามารถบรรลุธรรมได้ " 
                อย่างแรกสำหรับผู้ปฏิบัติ...ไม่ได้แจ้งว่าการกำหนดภาวนาอย่างไร เลยไม่ทราบว่าเคยฝึกปฏิบัติมาอย่างไรสิ่งที่แนะนำได้เพื่อให้เกิดกำลังใจ ก็คือ "เราเป็นลูกพระพุทธเจ้านะ....เรื่องแค่นี้อย่าเพิ่งท้อ เพราะยังมีสิ่งที่ยากกว่านี้อีกตั้งมากมายที่จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้ "
                ขอเป็นกำลังใจให้ :88:
35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอคำแนะนำเรื่อง พี้นฐาน วิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: กันยายน 29, 2011, 05:29:18 pm
 :25: ยินดีกับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่นะ....
กับคำถามที่ถามมาก็อ่านตามรายละเอียดไปก่อนนะ Link ไว้ให้แล้วค่อย ๆอ่านไป

เริ่มตอบข้อที่
1.,5
-       คำว่า"มัชฌิมา แบบลำดับ" มาจากไหน? ใครยังไม่รู้ เชิญทางนี้...
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4350.0
-       กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยากทราบความหมาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=301.0
-       
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5013.0
    จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ?

-     ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ?

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1437.0

-     
ถ้าไม่ขึ้นกรรมฐาน จะปฏิบัติภาวนากรรมฐาน สำเร็จหรือป่าวครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2681.0

-     อยากเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยไม่ขึ้นกรรมฐาน ได้หรือป่าวคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2322.0

-     ถ้าไม่ขึ้น กรรมฐาน ปฏิบัติกรรมได้ หรือป่าวครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=165.0

-     ปรากฏการณ์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=882.0

กรรมฐานมัชฌิมา ต่างกับกรรมฐานแนวอื่นๆอย่างไร   จุดเด่นของกรรมฐานมัชฌิมา อยู่ตรงไหน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=301.0

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ต่างจากกรรมฐาน อื่น ๆ อย่างไร
?

ถ้าในพระไตรปิฏก ไม่มีความต่าง

ถ้าเทียบในแนว การปฏิบัติ จากสำนักต่างๆในปัจจุบัน นั้น มีความต่างมาก

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐานแนวปฏิบัติ
ดังนั้นไม่มุ่งปริยัติ ใช้การเรียนในขณะภาวนา

ผู้สอนต้องปฏิบัติ ได้จริง ถึงจะสอนได้
ถ้าผู้สอนฝึกปฏิบัติไม่ได้ ก็จะสอนไม่ได้


(ประเด็นนี้สำคัญ ทำให้เห็นความสำคัญครูบาอาจารย์สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน...)

ปรึกษาเรื่อง สมาธิ ครับ ใครพอจะเข้าใจ ช่วยด้วยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5213.msg19330;topicseen#msg19330
ตอบข้อ 2. ,3. ให้ไปกราบไหว้ครูบาอาจารย์ก่อน
ขั้นตอนการนั่งกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=431.0
๑. สมาทานศีล[/]
๒. กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัย

๓ .กล่าวคำอธิษฐานอาราธนากรรมฐาน
๔. การวางฐานจิต
   ๔.๑ การสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี
   ๔.๒ การเลื่อนฐานจิตไปยังฐานจิตต่างๆ(ปัคคาหะนิมิต)
๕. การบริกรรม “พุทโธ” โดยใช้วิธีทีเรียกว่า “สมาธินิมิต”หรือ”บริกรรมนิมิต”
    หากมีนิวรณ์เข้าแทรก ให้แก้ไขโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “อุเบกขานิมิต”
๖. การสัมปยุตธาตุ ตามองค์ธาตุของฐานจิตต่างๆ   
๗. เมื่อใกล้จะออกจากกรรมฐาน ให้อธิษฐานขอดูกาย
๘. อธิษฐานขอออกจากกรรมฐาน
๙. สวดคาถาพญาไก่เถื่อน อธิษฐานขอพรตามปรารถนา
๑๐. แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทุกตัวตน
 
  อยากทราบ แก่นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คืออะไร ?   
อยากทราบ แก่นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คืออะไร ?
- แก่นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็คือ การปฏิบัติละดับทุกข์ คือ นิพพาน
 -  ทำที่สุดเป้าหมายเพียง อุปจารสมาธิ ในห้องพุทธคุณ หรือปฏิบัติกิจหยั่งไว้เป็นนิสสัยให้น้อมนำเพียงว่า

เพื่อสุขภาพ ๑


เพื่อลดทอนวิบากกรรม ๑

เพื่อมรรคผลนิพพาน ๑

-ให้พิจารณาตั้งมั่นในฐานจิตใดฐานจิตหนึ่ง กล่าวคือ เลือกเฟ้นหาธาตุที่ตนเองชอบในฐานจิตนั้น หยั่งบริกรรม

-[size=4]ปัคคหะนับไปตามลำดับขั้นตอนเป็นสมถะ และ วิปัสสนา ก็สามารถก้าวล่วงสู่ พระลักษณะ (จิตกระทบกายเกิด
[/font][/color][/size]ปิติ) พระรัศมี (กายกระทบจิตเกิดนิมิต) ถึงสุขสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ สำเร็จในห้องพุทธคุณ มีชีวิตดำเนินอยู่มิรู้ประมาทแล้วเช่นนี้ เต็มขั้น โคตรภูบุคคล

 :25: :25: :25:
36  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เมื่อความทุกข์ ลำบากเข้ามาถึง ทุกคนต่างก็ไม่ยอมกัน เพราะ... เมื่อ: กันยายน 29, 2011, 02:58:05 pm
 :19:      เรื่องนี้ก็ไม่พ้นความรักตัวตนที่มีอยู่ในตัวคนเรา เรียกได้ว่า  " ความเห็นแก่ตนเอง เป็นสภาวะธรรมชาติในตัวตนของคนทั่วไป " ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ เช่น คนรักกัน เมื่อโยนถ่านร้อนๆ ให้คนๆ หนึ่ง... ถามว่า ถ้าต้องให้ถ่านนั้นอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง ในคู่รักนั้น จะมีใครที่จะยอมถือถ่านก้อนร้อนๆๆ ไว้ สิ่งที่จะเกิดในอันดับแรกก็คือ การปัดทิ้งออกจากตนก่อนแน่ ๆ ใช่หรือเปล่า......
     
37  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: อยากทราบวิธี ทำใจ ที่ได้ผลที่สุด เมื่อ: กันยายน 29, 2011, 02:48:44 pm

   วิธีทำใจ นั้นทำอย่างไร ?

   ยอมรับความจริง ใช่หรือไม่ ว่า  หรือว่า ทำใจให้เบิกบาน

 แล้วจะทำอย่างไร ก็ความทุกข์ ที่อยู่เบื้องหน้า ก็ยังปรากฏอยู่ ความเจ็บปวด ก็ยังคงมีอยู่

  สุดท้าย แล้ว ทำอย่างไร กํบ วิธีทำใจ


  ขอท่านผู้รู้ทุกท่าน ช่วยแนะนำ ดิฉัน กับวิธีทำใจที่ได้ผล หน่อยนะคะ ( ช่วยด้วยคะ  ทุกข์มาก)

 :'( :'( :'( :c017:

 
ขอร่วมแสดงความคิดเห็น สำหรับกระทู้นี้หน่อย........
 
วิธีทำใจ ก็คือให้ใจมองเห็นสิ่งที่เกิดว่า ยังมีคนอื่น ที่อื่น หรืออะไร??? ที่เขายังเป็นมากกว่าเรา เรายังเป็นแค่นี้เองน้อยกว่าคนอื่น  หรือเรียกว่า " การคิดในเชิงบวก  (Positive Thinking) "  หมายความว่า  ถ้ามองเห็นตัวเราเองว่า
เป็นทุกข์แต่เพียงลำพัง หรือความเจ็บปวด หรืออะไรที่มองดูแล้วแย่ ๆๆๆๆๆความรู้สึกนั้นมันจะบั่นทอนความรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า แต่ถ้ามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราว่า คนอื่นๆก็เป็น ก็เกิดขี้นเช่นกัน โดยเฉพาะหาสิ่งที่เปรียบเทียบหนักกว่าที่เราเป็น มองให้เห็นแก่นแท้ของความทุกข์ เราจะรับรู้และเข้าใจถึงสภาวะคนที่เป็นมากกว่าเรา แต่ตัวเราเองซิ....ยังน้อยกว่าเขา เท่านั้นแหละสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์มันจะคลายไปเอง  จะเรียกได้ว่า  มนุษย์ย่อมรักตนเองก็ว่าได้ เพราะอะไร....ก็เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับคนอื่นที่มีมากกว่า ความเป็นตัวตนก็จะมองเห็นว่าเรานี้ช่างโชคดีเสียนี่กระไร ที่คนอื่นเป็นมากกว่าเรา (ไม่ใช่หมายความว่าเป็นการมองเยาะเย้ยคนที่ได้รับทุกข์มากกว่า นะ...เดี๋ยวจะเข้าใจผิด)
    ตัวอย่าง  ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก (สรุปสั้นๆ ) ในกรณีที่มีหญิงนางหนึ่งที่บุตรได้เสียไป นางเสียใจอย่างมากพยายามหาคนมาทำให้บุตรนางฟื้น แต่พระพุทธองค์...ได้ให้นางไปหาคนที่ไม่เคยตายในหมู่บ้าน ถ้าพบจึงจะช่วยเหลือนางฯ......ผลสุดท้ายเมื่อนางเข้าไปที่บ้านใดๆ ก็ล้วนแล้วแต่พบว่า ไม่มีใครที่ไม่ตายในหมู่บ้านนั้น  (สรุปแค่นี้น่ะ...) นางจึงคลายความเศร้าโศกไปได้ และเข้าใจในสภาวะที่เกิดขึ้น.........
    ปัญหา   ก็คือการที่ตัวเราจะไปมองสิ่งที่คนอื่นเป็น หรือทุกข์ หรืออะไร ๆๆๆ ทึ่คิดว่า มีมากกว่าเรานั้น เราจะมีเวลาไปมองหรือ มองเห็นเช่นอย่างที่ยกตัวอย่างมาหรือเปล่า  อันนี้นะ ...เป็นสิทธิส่วนบุคคลจริงๆๆๆ เพราะถ้าเรามองเห็นได้เร็ว ได้มากกว่า ได้ทันต่อสิ่งที่เราเกิด ความทุกข์ทั้งหลายนั้นแหละก็จะสยบมันลงได้  (เรียกว่า  บุญใดใครมีมากกว่าก็ได้นะ...)
    การที่จะเข้าถึงธรรมะ บางครั้งถ้าเกิดกับเพื่อน ญาติ พี่น้อง ระดับความเข้าใจย่อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าเกิดกับตนเองเราจะมองเห็นได้มากกว่า...
 
38  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สอบถามปัญหาเรื่องภาษาที่ใช้ในการแผ่เมตตา เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 02:30:32 pm
คุณลำใยค่ะ  ดิฉันเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของพี่เค้า คุณลองนำไปใช้ก่อนนะค่ะความปรารถนาของจิตที่จะอุทิศให้มีค่ามากกว่าคำพูดที่พูดออกไป (ขอความปรารถนาดีของคุณจงประสบผล)
39  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: สดุดี มหาราชินี เนื่องด้วยในวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.2554 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 05:22:15 pm
 
 
 
ขอจงทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
40  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภาวนากรรมฐาน กับ ดนตรี เป็นการติดในเสียงหรือไม่ครับ เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 03:54:57 pm
ประเด็นปัญหา ก็ คือ

 วิธีการทำกรรมฐาน ให้ได้ผลเป็น สมาธิ

 ดนตรี มีเสียงดนตรี อาจจะมีการขับร้องด้วย

 คำถาม น่าจะอยู่ที่ว่า

  จำเป็น หรือ ไม่จำเป็น

 :13: :13: :13:



ในการปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา เสียงเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา จึงทำให้ผู้ปฏิบัติที่จะผ่านขั้นตอนของกรรมฐานในแต่ละขั้น จึงต้องมีการสอบผ่านลูกสะกด ว่าขณะที่นั่งกรรมฐานเมื่อเสียงผ่านเข้ามายังปรากฏความรู้สึก อาการต่างๆ หรือทำให้จิตส่งออกไปข้างนอกหรือไม่ ถ้ายังไม่สามารถกำหนดสมาธิให้อยู่ในบริกรรมนิมิต 3 ประการ คืิอปัคคหนิมิต ภาวนานิมิต และอุเบกขานิมิตได้ ถือว่ายังสอบไม่ผ่านในการปฏิบัติภาวนา
หน้า: [1] 2 3