ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญดาวน์โหลด "พระนิพนธ์ ๖ เล่มที่สำคัญ ของสมเด็จพระสังฆราช"  (อ่าน 4035 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เปิด "มรดกทางปัญญา" พระนิพนธ์..."สมเด็จพระสังฆราช"

ข่าวคราวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นำความเศร้าโศกเสียใจมาสู่วงการสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วโลก นับเป็นความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ของวงการศาสนาและการศึกษาสงฆ์

ตลอดการครองเพศบรรพชิต 86 พรรษา พระองค์ทรงมีพระจริยวัตรที่งดงามและทรงมีพระคุณูปการต่อวงการศาสนาและการศึกษาสงฆ์ ถือเป็นพระมหาเถระผู้คงแก่เรียน ด้วยทรงรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาทั้งในด้านทฤษฎี (ปริยัติ) และด้านปฏิบัติ

โดยด้านปริยัตินั้น ทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม 9 ประโยค ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ส่วนด้านปฏิบัตินั้น ทรงเป็นพระนักปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ฉะนั้น ผลงานทางพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงมีความสมบูรณ์พร้อม เพราะเป็นองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ที่กลั่นจากความรู้ความเข้าใจที่มีทฤษฎีเป็นฐาน และมีการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง


 ans1 ans1 ans1

พระองค์ทรงเริ่มสร้างผลงานทางวิชาการมาตั้งแต่สมัยทรงเป็นพระเปรียญ โดยทรงพระนิพนธ์เรื่องทางพระพุทธศาสนาลงตีพิมพ์ในนิตยสารธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงสร้างผลงานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นผลงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงมีไม่น้อยกว่า 150 เรื่อง รวมถึงพระนิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษด้วย ทั้งนี้พระนิพนธ์เรื่องสำคัญๆ มีอาทิ



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

    1. หลักพระพุทธศาสนา ทรงพระนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.2502 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์ ในชั้นต้น ทรงพระนิพนธ์เป็นกัณฑ์เทศน์สำหรับเทศน์สอนนักเรียนนักศึกษา ต่อมาทรงปรับปรุงเป็นความเรียงเพื่อสะดวกแก่การอ่าน ศึกษาของผู้สนใจทั่วไป แม้เบื้องต้น จะทรงพระนิพนธ์เพื่อมุ่งสอนหรืออธิบายพระพุทธศาสนาแก่นักเรียนนักศึกษา แต่เนื้อหาเป็นเรื่องที่สามารถใช้เป็นคู่มือศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับคนทั่วไปได้ทุกระดับ พระนิพนธ์เรื่องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นสูงสุด ประกอบด้วย หลักธรรมคำสอนที่คนทั่วไปควรรู้ ซึ่งทำให้รู้จักพระพุทธศาสนาและสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ ยังให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของศาสนาทั่วๆ ไปด้วย

     ลักษณะเด่นของพระนิพนธ์เรื่องนี้ คือ ทรงใช้ภาษาง่ายๆ สละสลวย ทรงยกตัวอย่างที่ใกล้ตัว หรือประสบการณ์ของคนทั่วไปมาประกอบการอธิบาย และบางเรื่องก็ทรงนำทฤษฎีหรือความรู้สมัยใหม่มาเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจง่าย



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

    2. 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า ทรงเริ่มพระนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2504 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ มุ่งแสดงคำสอนของพระพุทธศาสนาไปตามลำดับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพุทธประวัติ เป็นทำนองเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในพระประวัติของพระพุทธเจ้าไปตามลำดับปี นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เริ่มประกาศคำสอน ไปจนถึงการนิพพาน ซึ่งเรื่องราวในพุทธประวัติที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะคัมภีร์พระไตรปิฎกนั้น ไม่ได้กล่าวไว้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ได้ลำดับกาลเวลาของเหตุการณ์ชัดเจน

    พระนิพนธ์เรื่องนี้ นับเป็นการเรียบเรียงพุทธประวัติแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใคร โดยลักษณะเด่นเป็นเรื่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่พุทธประวัติและพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะได้ทรงประมวลความรู้และเรื่องราวพระพุทธศาสนา ทั้งจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสต่างๆ ตลอดจนจากตำราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ จึงนับเป็นการให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาหลายด้าน แต่น่าเสียดายว่าเรื่องนี้ ทรงพระนิพนธ์ไว้ยังไม่จบสมบูรณ์



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

    3. โสฬสปัญหา เบื้องต้นทรงพระนิพนธ์สำหรับเป็นคำสอนแก่พระใหม่ และได้ทรงบรรยายเป็นธรรมศึกษาแก่พระใหม่ (พระนวกะ) ในพรรษกาล พ.ศ.2524 ตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์ โสฬสปัญหา (ปัญหา 16 ข้อ) พร้อมทั้งคำพยากรณ์ (คำกล่าวแก้) เป็นธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา มีความละเอียดลึกซึ้งทั้งในด้านอรรถะ (ความหมาย) ทั้งด้านพยัญชนะ (ถ้อยคำสำนวน) ผู้ที่ใคร่รู้พระพุทธศาสนา จึงควรศึกษาและหากเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะทำให้เห็นความละเอียดลึกซึ้งในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสุขุมลุ่มลึกแห่งพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า
      การศึกษาพระนิพนธ์เรื่องนี้ นอกจากจะช่วยให้ความเข้าใจพระพุทธศาสนาลึกซึ้งกว้างขวางแล้ว ยังช่วยเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระรัตนตรัยให้มั่นคงและบริสุทธิ์ขึ้นด้วย

     เรื่องโสฬสปัญหา เป็นการแสดงหรืออธิบายธรรม ที่ปรากฏอยู่ในปัญหาต่างๆ ตามอรรถะและพยัญชนะแห่งบทธรรม ประกอบกับคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถา และความสันนิษฐานส่วนพระองค์ โดยที่พระองค์ทรงเห็นว่าธรรมบรรยาย เป็นเพียงเครื่องมือประกอบการศึกษาธรรม เพื่อผู้ศึกษาจะได้อาศัยเป็นแนวในการพิจารณาไตร่ตรองธรรม กระทั่งเกิดความเห็นแจ้งประจักษ์ธรรมนั้นๆ แก่ใจตนด้วยตนเอง เพราะผู้ศึกษาธรรม ควรพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญา ไม่ควรเชื่อตามๆ กัน



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

  4. ลักษณะพระพุทธศาสนา ทรงเตรียมพระนิพนธ์นี้ สำหรับเป็นคำสอนแก่พระใหม่ และได้ทรงบรรยายสอนพระใหม่ในพรรษกาล พ.ศ.2526 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงแสดงให้เห็นถึงลักษณะของพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ คือ ด้านความหมาย ด้านการสอน ด้านคำสอน ด้านการปฏิบัติ และด้านเป้าหมายของการปฏิบัติของพระพุทธศาสนา เนื้อหาของพระนิพนธ์ จึงเป็นการมองหรือการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างรอบด้าน

      ฉะนั้น เรื่องนี้จึงช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ศึกษามองเห็นภาพของพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พระองค์ทรงอธิบายในพระนิพนธ์เรื่องนี้ ว่าเป็นผลจากการศึกษาปฏิบัติเพ่งพิจารณาของพระองค์เอง ฉะนั้นพระนิพนธ์เรื่องนี้ จึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจของพระองค์ ในเรื่องพระพุทธศาสนาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

    5. สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของพระสารีบุตรเถระ พระนิพนธ์เรื่องนี้ทรงเตรียมขึ้นสำหรับเป็นคำสอนของพระใหม่และทรงบรรยายสอนพระใหม่ในพรรษกาล พ.ศ.2527 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชปรารถถึงพระนิพนธ์เรื่องนี้ว่า
    "พระธรรมเทศนาชุดนี้ นอกจากแสดงข้อธรรมสำคัญๆ อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังแสดงให้ประจักษ์ถึงปรีชาญาณอันกว้างขวางล้ำลึกของพระสารีบุตรเถระในการอธิบายธรรมนี้อีกประการหนึ่ง และประการที่ 3 สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถระ) ได้นำพระเถราธิบายแห่งพระอัครสาวกองค์นั้น มาอธิบายถ่ายทอดเพิ่มเติมให้พอเหมาะพอดีแก่ความรู้ความคิดของคนในยุคปัจจุบันให้เข้าใจได้ โดยสะดวก และแจ่มแจ้ง"
     ด้วยพระราชปรารภดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นสำหรับพระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ.2528 เป็นครั้งแรก

       :sign0144: :sign0144: :sign0144:

     ต่อมาทรงมีพระราชปรารภว่า เรื่องสัมมาทิฏฐิที่จัดพิมพ์ขึ้นในครั้งนั้น ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายแห่ง จึงได้ทรงพระราชอุตสาหะตรวจทานต้นฉบับใหม่ด้วยพระองค์เองตลอดทั้งเรื่อง แล้วพระราชทานมายังเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เพื่อจัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง จากพระราชปรารภดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพระนิพนธ์เรื่อง "สัมมาทิฏฐิ" มีความสำคัญและมีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพียงไร
     ลักษณะเด่นของพระนิพนธ์นี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชทรงนำธรรมาธิบายของพระสารีบุตร ซึ่งล้วนเป็นคำสอนพระพุทธศาสนาที่สำคัญ มาอธิบายถ่ายทอดเพิ่มเติมให้พอเหมาะพอดีแก่ความรู้ความคิดของคนปัจจุบันให้เข้าใจได้โดยสะดวกและแจ่มแจ้ง



คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

     6. ทศบารมี ทศพิธราชธรรม พระองค์ทรงเตรียมพระนิพนธ์เรื่องนี้สำหรับเป็นคำสอนของพระใหม่ และได้ทรงบรรยายสอนพระใหม่ในพรรษกาล พ.ศ.2530 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เนื้อหาของพระนิพนธ์ คือ การอธิบายความหมายของธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา 2 หมวด คือ คำสอนเรื่องทศบารมี และคำสอนเรื่องทศพิธราชธรรม โดยสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงวิเคราะห์ให้เห็นว่า "ธรรม 2 หมวด" นี้ แม้จะดูว่าต่างกันแต่ความจริงมีความเกี่ยวโยงกัน

     กล่าวคือ ทศบารมีนั้น เป็นหลักปฏิบัติเพื่อผลสูงสุดในทางพุทธจักร คือ การบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสร้างสันติสุขให้แก่มวลมนุษยชาติ ส่วนทศพิธราชธรรมนั้น เป็นหลักปฏิบัติเพื่อผลสูงสุดในทางอาณาจักร คือ การบรรลุถึงความเป็นพระธรรมจักรพรรดิ หรือพระจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ซึ่งจะเป็นผู้สร้างสันติสุขให้แก่มวลพสกนิกรของพระองค์ทั่วราชอาณาเขต

      :96: :96: :96:

     กล่าวสั้นๆ คือ ทศบารมีนั้น เป็นหลักธรรมเพื่อความเป็นประมุขหรือผู้นำทางพุทธจักร ส่วนทศพิธราชธรรมนั้น เป็นหลักธรรมเพื่อความเป็นประมุขหรือผู้นำทางอาณาจักร นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราช ยังทรงแสดงให้เห็นว่า "ธรรมทั้ง 2 หมวด" นี้ มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่ที่แตกต่างกันไปบ้างก็เพราะมุ่งผลหรือมีเป้าหมายต่างกัน ทศบารมี มุ่งผลในทางธรรมหรือความพ้นโลก ส่วนทศพิธราชธรรม มุ่งผลในทางโลกหรือการอยู่ในโลกอย่างมีความสุข ฉะนั้นธรรมทั้ง 2 หมวดนี้ จึงเป็นบารมีธรรมด้วยกัน

      ลักษณะเด่นของพระนิพนธ์เรื่องนี้คือ เป็นการวิเคราะห์ตีความธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาในเชิงประยุกต์และในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาในแง่มุมที่แตกต่างออกไปและกว้างขวางยิ่งขึ้น


      gd1 gd1 gd1

     นับเป็นมรดกทางปัญญาที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับผู้ที่ครองเพศบรรพชิตและฆราวาส ได้ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนและเกิดปัญญาในการดำเนินชีวิต...


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382779309&grpid=01&catid=&subcatid=
ขอบคุณภาพและลิงค์ดาวน์โหลดจาก
http://sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2013, 11:11:14 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

      

ขอแนะนำหนังสือของสมเด็จพระสังฆราชอีกสามเล่ม(คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด)
เล่มแรก "ชีวิตนี้น้อยนัก" มีแจกในงานของสมเด็จพระสังฆราช
เล่มสอง "ญาณสังวรเทศนา" รัฐบาลกำลังพิมพ์เพื่อแจกในงานเช่นกัน
เล่มสาม "ชีวิตนี้สำคัญนัก" เล่มนี้ไม่มีแจกในงาน แต่นำมาเพื่ออ่านประกอบเพลง "ชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก"


ยังมีพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชอีกมาก สนใจคลิกไปที่
http://sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=3



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

เปิด "มรดกทางปัญญา" พระนิพนธ์..."สมเด็จพระสังฆราช"

    2. 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า ทรงเริ่มพระนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2504 ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ มุ่งแสดงคำสอนของพระพุทธศาสนาไปตามลำดับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพุทธประวัติ เป็นทำนองเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในพระประวัติของพระพุทธเจ้าไปตามลำดับปี นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เริ่มประกาศคำสอน ไปจนถึงการนิพพาน ซึ่งเรื่องราวในพุทธประวัติที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะคัมภีร์พระไตรปิฎกนั้น ไม่ได้กล่าวไว้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ได้ลำดับกาลเวลาของเหตุการณ์ชัดเจน

    พระนิพนธ์เรื่องนี้ นับเป็นการเรียบเรียงพุทธประวัติแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใคร โดยลักษณะเด่นเป็นเรื่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่พุทธประวัติและพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะได้ทรงประมวลความรู้และเรื่องราวพระพุทธศาสนา ทั้งจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์วิเสสต่างๆ ตลอดจนจากตำราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ จึงนับเป็นการให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาหลายด้าน แต่น่าเสียดายว่าเรื่องนี้ ทรงพระนิพนธ์ไว้ยังไม่จบสมบูรณ์


 :41:             ???                :03:               :91:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2013, 05:55:57 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา