ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มนตร์ขลังพระเจดีย์ 25 ยอด วัดถ้ำเชียงดาว..เชียงใหม่  (อ่าน 204 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




มนตร์ขลังพระเจดีย์ 25 ยอด วัดถ้ำเชียงดาว..เชียงใหม่

พระเจดีย์ 25 ยอด แห่งวัดถ้ำเชียงดาว ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นมาในปีพุทธศักราช 2456 อายุกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว ใครที่มีโอกาสแวะเวียนผ่านไปช่วงก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ ท่ามกลางบรรยากาศมีหมอกชื้นจะเห็นเจดีย์ปกคลุมไปด้วยมอสสีเขียวร่มรื่นเขียวขจี

น่าสนใจว่า...อาณาบริเวณพระเจดีย์ 25 ยอดแห่งนี้ บางคนก็อาจจะสัมผัสได้ถึงพลังดึงดูด ราวกับมีมนตร์ขลังบางอย่าง แบบที่อธิบายไม่ถูก

ทว่า...วันนี้ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ 25 ยอด วัดถ้ำเชียงดาวเสร็จแล้ว โดยใช้ปูนหมักในการก่อฉาบและใช้ปูนตำแบบโบราณไล้ผิวตามอย่างของเดิม ไม่ได้ใช้สีทาแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้สำรวจโบราณ สถานที่ตั้งอยู่ภายในวัด เพื่อเตรียมการของบฯเพื่ออนุรักษ์พัฒนาต่อไป




พลิกแฟ้มประวัติคร่าวๆ “วัดถ้ำเชียงดาว” สร้างเมื่อ พ.ศ.2310 มีชื่อเรียกกันอีกหนึ่งชื่อว่า “วัดถ้ำหลวงเชียงดาว” การก่อสร้างเริ่มแรกโดยพระครูบาประธรรมปัญญาและพ่อแสนปี วันเวลาผ่านมาอีกเกือบร้อยปี พระยาอินต๊ะภิบาล ได้มาทำบันไดขึ้นสู่ปากถ้ำ พร้อมเสนาสนะ ศิลปวัตถุอื่นๆ

และในปี พ.ศ.2456 มีฤาษีชื่อคันธะมาสร้างพระพุทธรูป และในยุคของครูบาศรีวิชัยก็ได้มาสร้างบูรณะอีกครั้ง นอกจากนั้นแล้วในช่วงที่ผ่านมา ก็ได้มีการบูรณะ สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม อาจจะกล่าวได้ว่า...ถ้ำเชียงดาวในอดีตโบราณนานมาแล้วเป็นสถานที่ปลีกวิเวกและปฏิบัติธรรมของพระธุดงค์และฤาษี




จนกระทั่งมีการค้นพบในปี พ.ศ.2178 ผ่านมาถึงปัจจุบัน “ถ้ำเชียงดาว” ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ผู้คนมากมายหลั่งไหลไปชมความสวยงามของหินงอกหินย้อย

@@@@@@

“เจดีย์หลวงมหาธาตุกลางเวียง : ภาพสะท้อนคติจักรพรรดิราชในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984–พ.ศ.2030)” บทความวิชาการวารสารปณิธาน ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) จากการศึกษาพบว่า การที่พระองค์เลือกเสริมสร้างบูรณะเจดีย์หลวง อาจมีความเกี่ยวข้องกับคติมหาโพธิมณฑล

เนื่องจากการสถาปนาพระเจ้านั่งใต้ไม้ศรีมหาโพธิ เป็นฐานรากเจดีย์ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา การเสริมสร้างเป็นเจดีย์กระพุ่มยอดเดียวมี “ช้าง” และ “สิงห์” ล้อมที่ฐาน พระปฏิมาปางสมาธิใต้ควงไม้มหาโพธิที่ซุ้มจระนำ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เจดีย์หลวง




ความสำคัญของ “มหาโพธิมณฑล” และ “โพธิบัลลังก์” เป็นจุดสำคัญของพื้นที่ “ศีรษะแผ่นดิน” และ “ชมพูทวีป” ในไตรภูมิโลกวินิจฉัยอธิบายความสำคัญของศีรษะแผ่นดินเอาไว้ว่า...เมื่อโลกจะถูกทำลาย ศีรษะแผ่นดินก็จะถูกทำลายลงเป็นที่สุดท้าย และในขณะเวลาที่จะกำเนิดโลกขึ้นมาใหม่ ผืนดินแห่งแรกที่จะเกิดขึ้นก่อนก็คือ “ศีรษะแผ่นดิน” เช่นกัน ต่อมาจุดนี้เองก็จะกลายเป็นจุด...มหาโพธิมณฑล

นั่นก็คือ บริเวณมณฑลสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งจุดศูนย์กลางของมณฑลคือโพธิบัลลังก์

คติความสำคัญนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือผสานความมั่นคงของอาณาจักร โดยอาศัยพิธีกรรมเกี่ยวกับการ “บูชาพระธาตุ”...พิธีกรรมเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ พิธีกรรมเกี่ยวกับการบันดาลความอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างบุญและอุทิศส่วนกุศล

ในตำนานพระธาตุเจดีย์หลวงยังบรรยายให้เห็นภาพของราชกุฎาคารเมื่อพระเจ้าติโลกราชสร้างซ่อมเสร็จแล้วว่าเจดีย์ประกอบไปด้วยราชสีห์ใหญ่ประดับทั้งสี่ทิศ พญานาค 5 เศียรเป็นราวทางขึ้นจำนวน 8 ตัว มีรูปปั้นช้างยืมล้อมจำนวน 28 เชือก มีจำนวน 8 เชือกที่มีชื่อเฉพาะเรียกขานในตำนานวัดเจดีย์หลวงว่า...




เมฆบังวัน, ข่มพลแสน, ดาบแสนด้าม, หอกแสนลำ, ปืนแสนแหล้ง, หน้าไม้แสนเกี๋ยง, แสนเขื่อนค้าน, ไฟแสนเต๋า...ได้รับความนับถือว่าเป็นอารักษ์เมืองเชียงใหม่ด้วยนั้น “คติช้างล้อม”...เป็นที่เข้าใจกันดีว่ามาจากพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ สาเหตุที่โบราณท่านนำช้างมาล้อมรอบฐานอาคารหรือเจดีย์ก็เพราะว่าถือว่า “เจดีย์”...องค์นี้เป็นศูนย์กลางจักรวาล

ในการศึกษาคติการสร้างพระธาตุเจดีย์นั้นได้มีผู้ศึกษาก่อนหน้านี้ในแนวทางประวัติศาสตร์ศิลปะหลายท่านแล้ว โดยมีคำอธิบายหลายชุดรองรับความสำคัญของการสถาปนาพระธาตุเจดีย์ในล้านนาว่ามีนัยสำคัญหมายถึงการสถาปนา “เขาพระสุเมรุ” ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

และ...มีนัยถึงพระเกศแก้วจุฬามณีธาตุเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



@@@@@@

“ถ้ำเชียงดาว”...มีลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูนอยู่ในช่วงอายุ 250-300 ล้านปี แนวโถงถ้ำมี 5 โถง...โถงถ้ำพระนอนมีความยาว 351.46 เมตร, โถงถ้ำน้ำมีความยาว 298.34 เมตร, โถงถ้ำม้ามีความยาว 86.25 เมตร, โถงถ้ำลับแลมีความยาว 273.19 เมตร และโถงถ้ำแก้วมีความยาว 100.46 เมตร...โถงถ้ำพระนอนจะเชื่อมยาวต่อไปยังถ้ำน้ำ และโถงถ้ำม้าจะเชื่อมต่อไปถ้ำลับแล และมีห้องเล็กๆ เช่น ปล่องแจ้ง ห้องประชุมเทวดา ห้องนาหิน

ตำนานเรื่องเล่าต่อๆกันมาที่น่าสนใจมีอยู่ว่า “พรหมฤาษี”...ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้วิเศษด้วยฌานอันแก่กล้า ได้เรียกประชุมเทวดา อินทร์ พรหม ยักษ์ อสูร นาคราช เพื่อมาเนรมิตสิ่งวิเศษต่างๆ เช่น พระพุทธรูปทองคำ ต้นโพธิ์ทองคำ ช้างวิเศษหรือช้างเอราวัณ ดาบวิเศษ หรือดาบศรีกัญชัยอาหารทิพย์ ม้าวิเศษ




สิ่งต่างๆเหล่านี้ถูกเก็บไว้ที่ส่วนลึกภายในถ้ำและได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีจากเทวดาผู้มีฤทธิ์ชื่อว่า...“เจ้าหลวงคำแดง” มีอยู่ครั้งหนึ่งมีชาวบ้าน 2 คนได้เข้าไปในถ้ำเพื่อค้นหาของวิเศษ และต้องการนำออกมาจากถ้ำด้วย แต่แล้ว...ก็มีอันเป็นไป คือทั้งสองคนหาทางออกมาจากถ้ำไม่ได้

แม้ญาติพี่น้องจะเข้าไปตามหาก็ไม่พบ ภายหลังมีชาวบ้านเข้าไปพบโดยบังเอิญ ปรากฏว่าคนหนึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนอีกคนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงนำมารักษาตัวที่บ้าน แต่เพียงไม่ถึงอาทิตย์ก็เสียชีวิต




หลังจากนั้นก็มีเรื่องราวของคนที่เข้าไปในถ้ำแล้วหลงทางกลับออกมาไม่ได้จนต้องเสียชีวิตอยู่ในถ้ำ เพราะมี “จิตอกุศล” คิดอยากได้ของวิเศษนั้นมาเป็นสมบัติส่วนตัว ดังนั้น เรื่องราวในตำนานถ้ำแห่งนี้จึงกลายเป็นความเชื่อ ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำหลวงเชียงดาวนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

“ศรัทธา”...นำมาซึ่งปาฏิหาริย์? เชื่อไม่เชื่อโปรดอย่าได้...“ลบหลู่”.


               




Thank to :-
คอลัมน์ : รัก-ยม , 13 พ.ย. 2565 06:55 น.
URL : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2551261
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ