ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมเครื่องเป็นมุนี | สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ  (อ่าน 270 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธรรมเครื่องเป็นมุนี | นาลกสูตร

พุทธวิธีปฏิบัติธรรม ธรรมเครื่องเป็นมุนี นาลกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๘๙

คลิกฟ้ง "นาลกสูตร" ได้ที่
https://soundcloud.com/uttayarndham/buddhology_practice_principles_for_monks?utm_source=clipboard&utm_medium=text&utm_campaign=social_sharing

ข้อแนะนำในการปฏิบัติ ก่อนจะฟัง พึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง เมื่อได้สมาธิดีแล้ว ฟังพุทโธวาท และน้อมธรรมมาสู่ใจ น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง

เสียง : 9:44 นาที , ปฏิบัติ : 20 นาที




พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาลกดาบส เรื่อง มุนีและปฏิปทาของมุนีที่บุคคลทำได้ยาก เมื่อทรงแสดงธรรมจบ นาลกดาบสขออุปสมบท บำเพ็ญปฏิปทาอย่างอุกฤษณ์ ไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล

    มุนีและปฏิปทาของมุนี
    - พึงกระทำการด่าและการไหว้ให้เสมอกัน
    - พึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ
    - พึงเป็นผู้สงบ
    - ไม่มีความเย่อหยิ่งเป็นอารมณ์

อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟในป่า ย่อมมาสู่คลองจักษุ เป็นต้น เหล่านารีย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่าพึงประเล้าประโลมท่าน มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้ว งดเว้นจากเมถุนธรรม ไม่ยินดียินร้ายในสัตว์ทั้งหลายผู้สะดุ้ง และมั่นคง

    พึงกระทำตนให้เป็นอุปมาว่า
   "เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า"

    มุนีละความปรารถนาและความโลภในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่ เป็นผู้มีจักษุ พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้
    พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย
    พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความโลภ ไม่มีความปรารถนาด้วยความปรารถนา ดับความเร่าร้อนได้แล้ว

    มุนีนั้นรับบิณฑบาตแล้ว พึงไปยังชายป่า เข้าไปนั่งที่โคนต้นไม้ พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในป่า พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
    ครั้นเมื่อล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไปสู่บ้าน ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และโภชนะที่เขานำไปบ้าน ไปสู่บ้านแล้ว ไม่พึงเที่ยวไปในสกุลโดยรีบร้อน ไม่พึงกล่าววาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน


@@@@@@@@

มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้ทั้งสองอย่างนั้น ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้

    มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่ ไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้
    ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้
    ก็ปฏิปทาสูงต่ำ พระพุทธสมณะประกาศแล้ว มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น

ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี พึงเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียวและเพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม

     แม่น้ำห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ
     แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง
     สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นย่อมดัง
     สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ
     คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำครึ่งหนึ่ง
     บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม

สมณะกล่าวถ้อยคำใดมากที่เข้าถึงประโยชน์ ประกอบด้วยประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่ ย่อมแสดงธรรม

สมณะผู้นั้นรู้อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำมาก สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน สมณะนั้นรู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควรซึ่งปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนีแล้ว






Thank to :-
Photo : pinterest
ที่มา : นาลกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๘๙
URL : https://uttayarndham.org/buddhology/1410/ธรรมเครื่องเป็นมุนี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ