ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “พระเจ้าติโลกราช” มหาราชแผ่นดินล้านนา ทำสงครามกับอยุธยายาวนานถึง 24 ปี  (อ่าน 247 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 
พระเจ้าติโลกราช ที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เชียงใหม่


“พระเจ้าติโลกราช” มหาราชแผ่นดินล้านนา ทำสงครามกับอยุธยายาวนานถึง 24 ปี


พรฯเจั้าติโล฿กฯราชฯ

ภาพข้างบน อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “พะเจ้าติโลกกะลาด” หมายถึง พระเจ้าติโลกราช

พระเจ้าติโลกราช เป็นกษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 ในราชวงศ์มังราย พ.ศ.1984-2030 มีพระนามเดิมว่า “ท้าวลก” เป็นราชโอรสลำดับที่ 6 ในจำนวนโอรส 10 พระองค์ของพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อพระชันษาเติบใหญ่พระราชบิดาให้ไปครองเมืองพร้าว และเมืองยวมใต้ (แม่สะเรียง) แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ล้านนาใน พ.ศ.1984

@@@@@@@

พระเจ้าติโลกราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ

ช่วงแรกทรงสร้างความมั่นคงภายในอาณาจักรล้านนา โดยใช้เวลาประมาณ 10 ปี ทรงสามารถยึดเมืองน่าน แพร่สำเร็จ แล้วขยายอำนาจไปถึงพิจิตร พิษณุโลก และได้ทำสงครามกับอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยืดยาวติดต่อกันถึง 24 ปี

อํานาจของพระเจ้าติโลกราช นอกจากจะขยายไปทางทิศตะวันออกและด้านใต้ คือ เมืองแพร่ น่าน พิจิตร พิษณุโลกแล้ว ยังปกป้องล้านช้าง ได้แก่ เมืองหลวงพระบาง ให้รอดพ้นจากการคุกคามของไดเวียด (เวียดนาม) กล่าวคือ ไดเวียดได้เปิดศึกสงครามเพื่อขยายอิทธิพลไปถึงหลวงพระบาง ในปี พ.ศ.2023 จนหลวงพระบางแตก กษัตริย์ลาวสิ้นพระชนม์

พระยาซายขาวซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายไปขอความช่วยเหลือจากล้านนา

พระเจ้าติโลกราชจึงนำทัพล้านนาขับไล่กองทัพไดเวียดจนสามารถรบชนะ และผลักดันให้ไดเวียดออกจากหลวงพระบางได้ ชัยชนะครั้งนั้นทำให้พระยาซายขาว ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์หลวงพระบางมาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช นอกจากนี้ ราชสำนักจีนก็ได้พระราชทานรางวัลพร้อมเกียรติยศอีก

อิทธิพลของพระเจ้าติโลกราชจึงแผ่ไปอย่างกว้างขวางขยายไปทางทิศตะวันตกถึงรัฐฉาน เมืองไลคา เมืองนาย เมืองสีป้อ เมืองยองห้วย เป็นต้น ส่วนทางด้านเหนือไปถึงเมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง



พรฯเจั้าติโล฿กฯราชฯ รูปปั้นฯที่วัดฯเจดฯะยอฯด | พระเจ้าติโลกราช รูปปั้นที่วัดเจ็ดยอด

ในด้านการพระศาสนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราชพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง พระภิกษุสมัยนั้นมีความเชี่ยวชาญในภาษาบาลีและพระไตรปิฎกอย่างสูง และมีการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างละเอียดลึกซึ้ง จึงเกิดการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นใน พ.ศ.2020 ณ วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) ใช้เวลา 1 ปีจึงสำเร็จ นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ของโลก

พระเจ้าติโลกราชทรงทำนุบำรุงพระศาสนาหลายประการ ทรงสร้างวัดหลายวัด เช่น วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) วัดราชมณเฑียร วัดป่าตาล วัดป่าแดงมหาวิหาร เป็นต้น ทรงสร้างและต่อเติมเจดีย์หลวง ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากวัดพระธาตุลำปางหลวงไปประดิษฐานไว้ที่เจดีย์หลวง

ในช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์ อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ทั้งทางด้านอาณาจักรและศาสนจักร

พระเจ้าติโลกราชสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2030 รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ 46 ปี ถือได้ว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่เป็นทั้งวีรกษัตริย์ผู้กล้า และในขณะเดียวกันก็เป็นธรรมราชาที่ทรงคุณธรรมหาที่เปรียบได้ยากยิ่งพระองค์หนึ่ง •





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2566
คอลัมน์ : ล้านนาคำเมือง
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2566
URL : https://www.matichonweekly.com/culture/article_660997
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ