ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ  (อ่าน 6531 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 05:31:53 pm »
0
สโตริกาญาณ 16

คือส่วนนี้คะ
เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว  เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.

เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น  เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต สังขาร หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความ เป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอัน ปราศจากราคะ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็น ที่ดับสนิท หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.

ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 06:33:17 am »
0
 ฉบับภาษาบาลี จะได้เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ

   สังเกตุ ที่คำว่า ปะชานาติ ( รู้ทั่ว รู้พร้อม รู้เฉพาะหน้า ) นั้นจะมี 2 ชุดครับ คือหายใจ เข้าออก ยาว และ สั้น

   นอกนั้นก็จะเป็น สิกขะติ ( ย่อมสำเหนียก ย่อมศึกษา ย่อมเรียน)
       1 ส่วนที่เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
        ทีฆัง วา อัสสะสันโต  ทีฆัง  อัสสะสามีติ  ปะชานาติ
        ทีฆัง วา ปัสสะสันโต  ทีฆัง ปัสสะสามีติ   ปะชานาติ
        รัสสัง  วา  อัสสะสันโต   รัสสัง        อัสสะสามีติ        ปะชานาติ
        รัสสัง  วา  ปัสสะสันโต   รัสสัง       ปัสสะสามีติ         ปะชานาติ
        สัพพะกายะปะฏิสังเวที                อัสสะสิสสามีติ       สิกขะติ
        สัพพะกายะปะฏิสังเวที                ปัสสะสิสสามีติ       สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง      กายะสังขารัง       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง      กายะสังขารัง       ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
       
       2 ส่วนที่เป็น เวทนานุปัสสนา
 
        ปีติปะฏิสังเวที                         อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปีติปะฏิสังเวที                         ปัสสะสิสสามีติ       สิกขะติ
        สุขะปะฏิสังเวที                        อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        สุขะปะฏิสังเวที                        ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที               อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที               ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง        จิตตะสังขารัง      อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง         จิตตะสังขารัง     ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ

       3 ส่วนที่เป็น จิตตานุปัสสนา

        จิตตะปะฏิสังเวที                             อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะปะฏิสังเวที                             ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะภิปปะโมทะยัง        จิตตัง            อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะภิปปะโมทะยัง        จิตตัง            ปัสสะสิสสามิติ        สิกขะติ
        สะมาทะหัง      จิตตัง                       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        สะมาทะหัง   จิตตัง                          ปัสสะลิสสามีติ        สิกขะติ
        วิโมจะยัง      จิตตัง             อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิโมจะยัง  จิตตัง                  ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
       
        4 ส่วนที่เป็น ธัมมานุปัสสนา

        อะนิจจานุปัสสี                    อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะนิจจานุปัสสี                    ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิราคานุปัสสี                       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิราคานุปัสสี                       ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        นิโรธานุปัสสี                       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        นิโรธานุปัสสี                       ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปะฏินิสสัคคานุปัสสี            อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปะฏินิสสัคคานุปัสสี            ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
       

       อะยัง  วุจจะตานันทะ           อานาปานัสสะติ ฯ


ถ้าพิจารณา กลับไปที่ พุทธานุสสติ ตั้งแต่ ห้องพระธรรมปีติ ก็จะเห็นว่า ผู้ฝึก เริ่มฝึก เวทนานุปัสสนา แล้วครับ

เวทนานุปัสสนา ผมเคยฟังพระอาจารย์ เคยกล่าวว่า เวทนานุปัสสนา นั้นเป็น อรูปฌาน ด้วย

การฝึก พุทธานุสสติ นั้น ย่อมเข้าถึง ธาตุ อันเป็น อรูปฌานด้วยเช่นกัน

    อากาสานัญจายตนะธาตุ

    อากิญจัญญายตนะธาตุ

    วิญญานัญจายตะธาตุ

    เนวนาสัญญายตนะธาตุ


     ใน ฌาน และ อรูปฌาน แบบพุทธ นั้น มี วิสุทธิธรรม 3 ระดับ คือ หยาบ กลาง และ ละเอียด

ดังนั้นใน อานาปานสติ 9 จุดสัมผัส จึงมีความสำเร็จ สูง

        1.จุลสูญปลายนาสิก
       
        2.ทิพยสูญ หว่างคิ้ว

        3.มหาสูญ หน้าผาก

        4.อัชดากาษเบื้องบน บนศรีษะ

        5.โครตภู ท้ายทอย

        6.โพลงต้นคอ

        7.หทัยวัตถุ

        8.ศูนย์นาภี

        9.อัชดากาษเบื้องต่ำ

   การฝึก นั้นผูกกับ การภาวนา 4 ลักษณะ

      คือ 1. คณนา การนับ ลมหายใจเข้า และ ออก และนิมิต

           2.อนุพันธนา ติดตาม ลมหายใจเข้า และ ออก และนิมิต
   
           3.ผุสนา การกำหนดจุด กระทบ ลมหายใจเข้า และ ออก และนิมิต

           4.ฐปนา การกำหนดที่ตั้ง ลมหายใจเข้า และ ออก และนิมิต

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ ตรัสอานิสงค์ 2 ประการ คือเป็น พระอรหันต์ และ พระอนาคามี

  ให้เครดิต กับพระอาจารย์นะครับ เพราะผมนั่งฟัง เรื่องนี้อยู่ 1 อาทิตย์ ตอนที่พระอาจารย์บรรยายเรื่อง อานาปานสติ ห้องที่ 4 ช่วง บ่าย






บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 11:04:52 pm »
0
ไว้ติดตามใน หนังสือ อานาปานสติสำหรับภาวนา นะ

และเดี๋ยวจะลงรายละเอียด อานาปานกถาปฏิสัมภิทามรรค ให้อ่านกัน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 11:49:40 am »
0
ส่งเรื่องต่อให้พระอาจารย์ คะ ตอนนี้พระอาจารย์เริ่ม โพสต์เรื่อง อานาปานสติ แล้วคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 01:59:05 pm »
0
อานาปานสติ ตอนที่ 2 พระอาจารย์คึกฤทธิ์



ตอนอื่น ๆ คลิ๊กที่ youtube ในจอ นะครับถึงจะตามไปดูในหน้านี้ นะครับ

้hi speed นะครับ ถึงจะดูได้
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ ทบทวนใน สโตริกาญาณ 16 คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:40:32 am »
0
 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง