ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรม อันใดเป็นธรรมที่ควรใส่่ใจมากที่สุด ในการฝึกภาวนาครับ  (อ่าน 3547 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถามทุกท่าน ด้วยความเคารพนะครับ

ธรรม อันใดเป็นธรรมที่ควรใส่่ใจมากที่สุด ในการฝึกภาวนาครับ
ถ้าเราได้เริ่มฝึกภาวนา เพื่อให้เกิดความสำเร็จ และไม่คลายความเพียร มีกำลังใจในการภาวนาต่อไป
ช่วยแนะนำให้ด้วยนะครับ

 ขอบคุณมากครับ

   :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมที่ควรใส่ใจมากที่่สุด ก็คือ ทุกข์ ครับ เพราะ ทุกข์ เป็น ทั้งหมดของการภาวนา

 :25: :49:
บันทึกการเข้า

นิด_หน่อย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 90
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นั่งสมาธิแล้วเพ่งบริเวณท้องน้อย พยายามผ่อนคลายบริเวณนั้น
 จะรู้สึกว่าเกิดสมาธิได้ง่ายขึ้นน่ะคะ หรือว่าจิตของคนเราอยู่บริเวณนั้นคะ

ธรรรมที่ควรใส่ใจ ก็คือ ฐานจิต คะ

ควรอ่านเรื่อง นิมิต เพิ่มเติม ด้วยคะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6164.0


 :25: :25: :25:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 10, 2012, 08:59:11 am โดย นิด_หน่อย »
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ จะท่องให้ขึ้นใจ

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๑๐. สีลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย


[๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน-
*มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา
เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควร
กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ
ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน
เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์
คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น
ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล.
[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย
แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.
[๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหน
ไว้ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกร
ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง
อนาคามิผล.
[๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล
ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
[๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้
ในใจโดยแยบคาย?
สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่น
แล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดัง
ลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ
เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว
ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็
เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.


จบ สูตรที่ ๑๐.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๗๒๑ - ๓๗๖๔. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๖๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3721&Z=3764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=310


คำตอบของผมก็คือ ศีล ครับเป็น เบื้องต้นของการภาวนา ครับ

 :smiley_confused1: :49:



 
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิพพาน ธรรม  นิโรธ ธรรม  เป็นธรรม ที่ควรสนใจมากที่สุด

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 ธรรม อันใดเป็นธรรมที่ควรใส่่ใจมากที่สุด ในการฝึกภาวนาครับ

    ธรรมที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้า นั้น เป็นธรรมที่ควรใส่ใจมากที่สุด

     เช่น ธรรมปีติ ธรรมสุข ธรรมนิโรธ เป็นต้น

    ในสภาวะธรรม เฉพาะหน้านั้น มีลำดับการเกิดเป็นวิบากดังนีั

    1.ธรรมสภาวะที่ ได้ในขณะนั้น

    2.ธรรมสังเวช

    3.ธรรมภูตญาณ

    4.นิพพิทา

    5.วิราคะ

    6.วิมุตติ

    7.สันติ

    8.นิพพาน

    คำตอบ ก็คือ  ธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ในขณะนั้นเป็นธรรมที่ควรสนใจมากที่สุด


    มีพระพุทธดำรัส รับรองไว้ว่า

     อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง

บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง

สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

คิดพะวงถึงความหลัง รังแต่จะโศกเศร้า โศกา หรือโกรธ พยาบาท โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ส่วนสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  กังวลก็นอนไม่หลับเปล่าๆ?? เคยนอนไม่หลับกันใช่มั้ยครับ ทรมานยิ่งนัก

 

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,

อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,

ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้


 

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว

ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา

เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,

ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ

มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"
   

เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ