ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร ครับ  (อ่าน 5047 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาจจะตั้งคำถามที่ดูเหมือน จะผ่ากลางปล้องไปหน่อยครับ แต่ตอนนี้ผมเริ่มสับสนกับ วัด ครูอาจารย์ และสำนักที่สอนต่าง ๆ กันตอนนี้ครับ เนื่องด้วย

   1.บอกว่า ไม่ต้องเรียนสมถะ ปฏิบัุติดูจิต ก็เป็นสัมมาสมาธิ
   2.บอกว่า สัมมาสมาธิ ไม่ใช่ ฌาน
   3.ทำจิตเป็น ฌาน ติด สุข ทำให้ จิตหลงวนอยู่ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ
   4.มีสติให้มั่นคง เป็น สัมมาสมาธิ
   5.และก็มีการกล่าว ถึง และ โจมตีกันเอง ของ ครูอาจารย์พระสงฆ์ ในสำนักแบบต่าง ๆ ซึ่งผมเองก็สาระวนไป ทั้งวัดป่า และ ไม่ป่า และ ที่มีการปฏิบัติอย่างมีชื่อเสียง สุดท้าย ก็ ไม่เหลืออะไรเลยที่จะเข้าใจกลายเป็นว่า แต่ละทีก็ จะ บอกว่า ปฏิบัติอย่างนี้ไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควร ไม่เป็นเป็นสัมมาสมาธิ ( ขอไม่กล่าวถึงที่ต่าง ๆ นะครับ ) แต่ทั้งหมดนี้ รู้สึกได้ว่า หาที่พึ่งท่างจิต ให้เป็นสมาธิ หรื่อ สัมมาสมาธิ จริง ๆ ได้อย่างไรครับ

  :91: :021: :91: :021: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่เป็นไปเพื่อกิเลส  ส่วนสัมมาสมาธิคือ สมาธิที่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
          ส่วนการหาที่ฝึกก็แล้วแต่จริต ก็คือตามที่ชอบ
                แต่ถ้าสนใจกรรมฐานนี้ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ก็ขอเชิญ ไปขึ้นกรรมฐานที่ พระอาจารย์คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ฝั่งธน กรุงเทพได้ทุกวัน หรือจะเปิดดูก่อน ก็เว็ป สมเด็จสุก somdejsuk ก็คือ พระปรมาจารย์ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน .
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=484.0

มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไรคะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2801.0

คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1611.0
บันทึกการเข้า

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากให้พระอาจารย์ มาอธิบาย เสริมคำตอบเรื่องนี้ ด้วยนะครับ เรื่องนี้ยังไม่ได้ตอบนะครับ

 ขอบคุณมากครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 09:49:35 am »
0
ที่ไม่ได้ตอบเพราะเห็น ว่า ลิงก์นั้น ก็พอตอบคำถามได้แล้วเป็นบางส่วน นะจีะ

แต่เพื่อเป็นการสนองศรัทธา ก็จะมาตอบให้เป็นแนวทาง

   ดังนั้น ขอให้ความหมายของคำว่า ทิฏฐิ ก่อน นะจ๊ะ

  ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น ทัศนะ ความเชื่อ ความศรัทธา ความเคารพ ซึ่งต่อออกไปอีกเป็นแถว สรุปรวมลงที่คำว่า  ความเห็น

   สัมมา หมายถึง ความถูกต้อง ๆ ตามอะไร ถูกต้องตามความเป็นจริงของพระอริยะ มีอยู่ 4 อย่างคือ
   
        ถูกต้อง ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

  ดังนั้น สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นถูกต้อง ในอริยสัจจะ 4  เมื่อเห็นจริงใน อริยสัจจะ 4 แล้ว จึงทำการกระทำความประพฤติ ความตั้งใจ ความเชื่อ แปรเปลี่ยนได้


    ที่นี้ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด  ซึ่งตรงกันข้าม กับสัมมาทิฏฐิ ดังนั้นอะไรที่ตรงข้ามกับ สัมมาิทิฏฐิ ก็คือ มิจฉาทิฏฐิ นั่นเอง ความแตกต่างก็เป็นอย่างนี้ นะจ๊ะ

   เจริญธรรม


    ;)

   
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2012, 09:56:45 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
   พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  ๑.  มูลปริยายวรรค]
   ๘.  สัลเลขสูตร


  พระไตรปิฏก เล่มที่ 12 หน้าที่ 79

สัมมาทิฏฐิ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด
 สัมมาสังกัปปะ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด
 สัมมาวาจา    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด
 สัมมากัมมันตะ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด
 สัมมาอาชีวะ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
 สัมมาวายามะ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด
 สัมมาสติ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด
 สัมมาสมาธิ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด
 
 สัมมาญาณะ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด
 สัมมาวิมุตติ    เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด





บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
โทษของการปฏิบัติผิด มี มิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 10:56:22 am »
0
พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๑.  คหปติวรรค]
 ๑๐.  อปัณณกสูตร
 
พระไตรปิฏกเล่มที่ เล่มที่ 13 หน้า 102 - 103
 
             โทษแห่งการปฏิบัติผิด
            [๙๘]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย    บรรดาสมณ-พราหมณ์    ๒    จำพวกนั้น    สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้    มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
 
      ‘เมื่อบุคคลทำเอง    ใช้ให้ผู้อื่นทำ    ตัดเอง    ใช้ให้ผู้อื่นตัด    เบียดเบียนเอง    ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน    ทำให้เศร้าโศกเอง    ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก    ทำให้ลำบากเอง    ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก    ดิ้นรนเอง    ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน    ฆ่าสัตว์    ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้    ตัดช่องย่องเบา    ปล้นเรือนหลังเดียว    ดักจี้ในทางเปลี่ยว    เป็นชู้    พูดเท็จผู้ทำ(เช่นนั้น)    ก็ไม่จัดว่าทำบาป

            แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์    ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลานตากเนื้อ    ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน    เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น    ไม่มีบาปมาถึงเขา

            แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา    ฆ่าเอง    ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า    ฯลฯ    ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน    จากการฝึกอินทรีย์    จากการสำรวม    จากการพูดคำสัตย์ไม่มีบุญมาถึงเขา’    สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้    คือ    จักเว้นกุศลธรรม  ๓    ประการนี้    ได้แก่ 
            (๑) กายสุจริต  (๒) วจีสุจริต  (๓)    มโนสุจริต   
         จักสมาทานอกุศลธรรม    ๓    ประการนี้    ได้แก่   
           (๑)    กายทุจริต    (๒)    วจีทุจริต    (๓)    มโนทุจริต
         แล้วประพฤติอยู่
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ    ความต่ำทราม    ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม    ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม

            อนึ่ง    การกระทำมีผล    แต่เขากลับเห็นว่า    ‘การกระทำไม่มีผล’    ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ    การกระทำมีผล    แต่เขาดำริว่า   
      ‘การกระทำไม่มีผล’ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ    การกระทำมีผล    แต่เขากล่าวว่า
      ‘การกระทำไม่มีผล’    วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา    การกระทำมีผล    เขากล่าวว่า   
      ‘การกระทำไม่มีผล’    ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์    ผู้เป็นกิริยวาทะการกระทำมีผล    เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า   
      ‘การกระทำไม่มีผล’    การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น  เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง    และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่นด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น  โดยนัยนี้    เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล    เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย    บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้   คือ  มิจฉาทิฏฐิ  มิจฉาสังกัปปะ  มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ  การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน    การข่มผู้อื่นย่อมเกิดขึ้น    ด้วยประการอย่างนี้
       พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย    ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น    วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า    ‘ถ้าการกระทำไม่มีผล    เมื่อเป็นอย่างนี้    บุรุษบุคคลนี้หลังจากตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้    ถ้าการกระทำมีผลจริง    เมื่อเป็นอย่างนี้บุรุษบุคคลนี้    หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย    ทุคติ    วินิบาต    นรก’    ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง    คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด    เมื่อเป็นเช่นนั้น    บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า   
        ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ    เป็นอกิริยวาทะ’    ถ้าการกระทำมีผลจริง    บุรุษบุคคลผู้เจริญนี้จะได้รับโทษในโลกทั้ง    ๒    คือ   
        (๑)    ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้   
        (๒)    หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย    ทุคติ    วินิบาต    นรก    อย่างนี้
            อปัณณกธรรมนี้    ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี    แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียวย่อมละเหตุที่เป็นกุศล    ด้วยประการอย่างนี้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2012, 11:12:38 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 02:14:48 pm »
0
หัวข้อนี้ มีการอ้างอิง คำตอบดีนะครับ เสียดายที่พระอาจารย์ ไม่ตัดขึ้นเป็นหัวข้อใหม่

สาธุ ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ