ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธุรกิจ 'ของขลัง-ศรัทธา-ความเชื่อ' กับนักท่องเที่ยวจีน  (อ่าน 414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28433
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ธุรกิจ 'ของขลัง-ศรัทธา-ความเชื่อ' กับนักท่องเที่ยวจีน

สัปดาห์นี้มองธุรกิจของขลัง ศรัทธา ความเชื่อจากวัตถุมงคลในไทย กับนักท่องเที่ยวจีน กลับไร้ความผิดข้อหาหลอกลวงแต่อย่างใด

ศูนย์วิจัย ธนาคารกสิกรไทย ปี 2548 ระบุมูลค่าการได้มาซึ่งเงินจากการให้เช่าพระเครื่อง เครื่องราง ของขลัง แก่นักท่องเที่ยวจีน ทุกจีน ตั้งแต่จีนมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จีนไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ โดยของที่นักท่องเที่ยวเหล่านี้นิยม สามารถทำรายได้สูงถึง 20,000 ล้านบาท

แม้พระเครื่องบางรุ่นผู้ให้เช่าระบุกับผู้เช่าซื้อว่า ห้ามโดนน้ำ เหตุผลที่ผู้ขายรู้ดีกว่าใคร คือ จะลอกหรือไม่ก็ละลายไปกับน้ำ ขณะที่ผู้เช่าซื้อเข้าใจว่า จะทำให้ของเสื่อม

ธุรกิจเครื่องรางในบ้านเรามีต้นทุนต่ำกำไรสูงลิบร้อยละ 90 ที่เชื่อและศรัทธามาจากความต้องการในการค้าขายให้ร่ำรวย ส่วนความต้องการทางเสน่ห์มหานิยม ก็ตามมาไม่ห่าง

เทพภมรจำแลง หลากหลายสี วัตถุมงคลของ ครูบากฤษณะ อิณทวัณโณ คนจีนให้ความศรัทธาและนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ต่างไปจากเหรียญหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่

เม็ดเงินมหาศาลจากธุรกิจต้นทุนต่ำกำไรสูงนี้ ทำให้เกิดเสนาสนะคล้ายโบสถ์ปรากฏขึ้นที่ วัดแห่งหนึ่งใน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนโดยเฉพาะ

@@@@@@

จำลองภาพกิจพิธีทางสงฆ์มาไว้ในโบสถ์ไม่ขาดตกบกพร่อง มีพระนั่งประจำเพื่อประพรมน้ำมนต์ มัคนายกทำหน้าที่อธิบายสรรพคุณของวัตถุมงคลในตู้ พระปลอมเลี่ยมทองในตู้ราคาสูงลิ่ว

ปัจจุบันมีหลายวัดดังในกรุงเทพฯ ประสานกับบริษัททัวร์จีนนำนักท่องเที่ยวมาทีละหลายคันรถ จุดประสงค์หลักเพื่อจำหน่ายเครื่องรางของขลังโดยเฉพาะ เหตุผลของวัดหลายแห่งต่อการนำวัดมาเป็นแหล่งค้าวัตถุมงคลก็คือ หาเงินมาพัฒนาวัด

แต่อนิจจังอนิจจา เสนาสนะในวัดเหล่านี้กลับดูไม่เหมือนจะได้รับการพัฒนาแต่อย่างใด กรมการศาสนาเองก็ไม่สามารถจะหาเหตุไปตักเตือน ติเตียนอะไรได้

เรียกว่า ธุรกิจวัตถุมงคล คงจะไม่ผิดเพี้ยน ทุกวันนี้คนจีนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง เดินทางมานำวัตถุมงคลจากไทยไปขายที่ประเทศของตัวเอง มีทั้งของจริงและ ของปลอม ปนเปกันไป ประเด็นสำคัญตั้งราคาตามความขลัง เรียกราคาตามใจชอบ


@@@@@@

แม้ธุรกิจวงการพระเครื่องในตลาดสำหรับคนไทยจะซบเซาเรียกราคากันไม่ค่อยออก บอกราคาสูงพระก็ไม่ไป แต่สำหรับคนจีนนั้นธุรกิจพระเครื่อง ของขลังและวัตถุมงคลยังทำกำไรได้งดงามอย่างเงียบๆ โดยที่ไม่มีความผิดข้อหาหลอกลวงนักท่องเที่ยวแต่อย่างใด

สวนกับกระแสนักท่องเที่ยวจีนที่มากับทัวร์หดหาย แต่นักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางมาเที่ยวไทยด้วยตัวเอง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้าถูกบริษัททัวร์หลอกลวงต้ม ตุ๋นจนเปื่อย ล้วงกระเป๋าจนขาดมาแล้วหลายปี

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่คนทั้งประเทศร่วมเป็นเจ้าของ แต่น่าเสียดาย ที่เจ้าของบางคนกลับต้อนรับนักท่องเที่ยวที่นำเงินมาบ้านเราเยี่ยงมิจฉาชีพ ร่วมกับบริษัททัวร์จากต่างบ้านต่างเมืองทำร้ายกลั่นแกล้งนักท่องเที่ยว เรียกค่าทัวร์สูงเกินจริง

เลิกพฤติกรรมแบบนี้ได้เมื่อไร อุตสาหกรรมเที่ยวไทยกลับมารุ่งเรืองอีกแน่นอน




คอลัมน์ : ชำเลืองเมือง ,โดย “แรมทาง”
ขอบคุณภาพประกอบจาก คุณพระช่วยดอทคอม
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/722584
อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ