ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครบ้างหนอ?? เกิดวันเดียวกัน ในสมัยพุทธกาล  (อ่าน 15047 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

"๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"


ครั้น พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

กาลเวลานั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก

ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ


    ๑. พระนางพิมพา
หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา



     ๒. พระอานนท์
เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหันต์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ



     ๓. นายฉันนะ
เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิ ทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์



     ๔. อำมาตย์กาฬุทายี
เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จ มากรุงกบิลพัสดุ์ อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส




     ๕. ม้ากัณฐกะ
ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา

เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"



     ๖. ต้นมหาโพธิ์
เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)



     ๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่
ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี
(เป็นขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับผู้มีบารมี เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญญาธิการ ขุมทรัพย์ทั้ง 4 หรือนิธิกุมภี ได้แก่ ขุมทอง 4 ขุม ประกอบด้วย สังขนิธิ เอลนิธิ อุบลนิธิ ปุณฑริกนิธิ ได้บังเกิดขึ้นที่มุมกำแพงพระนครทั้ง 4 ด้าน ในวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ  ทรัพย์สินที่พระองค์มีอยู่ก็ใช้ไม่หมด)

ที่มา  http://www.dhammathai.org/buddha/g27.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครบ้างหนอ?? เกิดวันเดียวกัน ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 10:33:04 am »
0


พระอานนท์เถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร


พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระสุกโกทนะ ผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุท
โธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา
(พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี (ศึกษาประวัติเบื้อง
ต้นในประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากรพปุณณมันตานี ได้
บรรลุเป็นพระโสดาบัน


•   ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฎฐาก
ในช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้
พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนา
คิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง
องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพัง
ขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น
ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล
พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระทราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า”
“อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”
พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวาง
บาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
“นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด”
พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตน
ต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกแล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่
เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัส
ว่า
“อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”
พระพุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพัง
หลายครั้ง จึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ
ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็น
นิตย์ ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อม
จะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดี


•   พระเถระทูลขอพร ๘ ประการ
แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘
ประการ ดังนี้:-
๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระ
ธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง
•   พระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของพร ๘ ประการ
พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณ
และโทษของพร ๘ ประการว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉิน
นินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่าง
นี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย
และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุง
อุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์
อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า
ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า
พระอานนท์ ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่
เรื่องเพียงเท่านี้
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพร
ทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า”
พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และ
พระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุง
อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน



•   ยอมสละชีวิตแทนพระพุทธองค์
พระเถระ ได้ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยความอุตสาหะมิได้บกพร่อง อีก
ทั้งมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตของตนก็ยอมสละแทนพระพุทธองค์ได้ เช่น ในคราว
ที่พระเทวทัตยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรี ด้วยหวังจะให้ทำอันตรายพระพุทธองค์
ขณะเสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในขณะที่ช้างนาฬาคีรีวิ่งตรงเข้าหาพระพุทธองค์นั้น
พระอานนท์เถระผู้เปี่ยมล้นด้วยความกตัญญูและความจงรักภักดี ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็น
พุทธบูชา ได้ออกไปยืนขวางหน้าช้างไว้ หวังจะให้ทำอันตรายตนแทน แต่พระพุทธองค์ได้ทรง
แผ่พระเมตตาไปยังช้างนาฬาคีรี ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาบารมี ทำให้ช้างสร่างเมาหมดพยศ
ลดความดุร้ายยอมหมอบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วลุกขึ้นเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการ
อันสงบ


•   ได้รับยกย่องหลายตำแหน่ง
พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟัง
พระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้
มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่าน
ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้
มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก


•   ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ


•   ปรินิพพานกลางอากาศ
พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง ๑๒๐ ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะ
ปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้น
เขตแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศ
ได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบ
พระธรรมเทศนาแล้วท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า....
“เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐิธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น ๒ ส่วน จงตกลงที่
ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ ส่วนหนึ่ง และจงตกที่ฝังกรุงเทวทหะของ
พระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะ
วิวาทกันเพราะแย่งอัฐิธาตุ”
ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ ในท่ามกลางแม่น้ำ
โรหิณี นั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้น เผาสรีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น ๒ ส่วน แล้ว
ตกลงบนพื้นดินของ ๒ ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการ
ท่านได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกที่ได้บรรลุกิเลสนิพพาน และขันธนิพพานแปลกกว่าพระ
สาวกรูปอื่น ๆ


ที่มา http://www.84000.org/one/1/12.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2011, 10:46:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครบ้างหนอ?? เกิดวันเดียวกัน ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 10:40:39 am »
0

พระภัททากัจจานาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงอภิญญา


พระภัททากัจจานาเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์ ในพระนคร
เทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระเทวทัต บรรดาพระประยูรญาติได้ขนานพระนามว่า
“ภัททากัจจานา” หรือที่นิยมเรียกพระนามว่า “ยโสธราพิมพา”


•   พอประสูติโอรสพระสามีก็หนีบวช
เมื่อพระนางเจริญวัยขึ้นจนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้รับอภิเษกเป็นอัครมเหสีของเจ้า
ชายสิทธัตถะ บรมโพธิสัตว์ แห่งศากยวงศ์ ในพระนครกบิลพัสดุ์ และเมื่อพระชนมายุ ๒๙
พรรษา ได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า “พระราหุลกุมาร”
ในวันที่พระราหุลกุมารประสูตินั้นเจ้าชายสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ได้เสด็จออกทรงผนวช
และทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี ก็ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้น
พระพุทธองค์ ก็ทรงจาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ เพื่อเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ได้บรรลุอมฤต
ธรรม ตามสมควรแก่อำนาจวาสนาบารมีแล้วได้เสด็จสงเคราะห์พระประยูรญาติ ณ หบิลพัสดุ์บุรี
ยังพระประยูรญาติศากยวงศ์ มีพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเป็นประธาน ได้ดื่มน้ำอมฤตธรรม
จนได้บรรลุอริยภูมิตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก
ในคราวที่พระบรมศาสดา เสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนี้ พระราหุลกุมาร ก็ได้ติด
ตามองค์พระบิดาบรรพชาเป็นสามเณร นอกจากนี้ศากยกุมารทั้งหลายจากสกุลอื่น ๆ ก็เสด็จออก
บวชเป็นจำนวนมาก ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว จาก
นั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยขัติยนารีชาวศากยะ ๕๐๐ นาง ก็พากันเสด็จออก
บรรพชาในสำนักพระศาสดากันทั้งสิ้น


ทางด้านพระนครกบิลพัสดุ์ ก็ว่างเว้นกษัตริย์ที่จะปกครองดูแล หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิต
ทั้งหลายได้ประชุมปรึกษาเห็นพ้องต้องกันได้ทำพิธีราชาภิเษกอัญเชิญเจ้าชายมหานามศากยราช
ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ขึ้นครอบครองราชย์สมบัติในกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อ
ไป

•   ออกบวชตามพระสวามีและโอรส
ฝ่ายพระนางยโสธราพิมพาราชเทวี พระชนนีของพระราหุลกุมาร ทรงว้าเหว่าโศกาดูร
ด้วยพระดำริว่า “โลกสันนิวาสนี้ มิมีอะไรแน่นอน พระสวามีและลูกน้อยต่างก็ได้เสด็จออก
บรรพชา อีกทั้งพระประยูรญาติทั้งชายหญิง ก็พากันออกบวชตามเสด็จ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมี
ประโยชน์อะไรแก่เราในเพศฆราวาส เราควรสละสมบัติทั้งปวงแล้วออกบวชโดยเสด็จพระภัสดา
ในบัดนี้ จะประเสริฐกว่า”
พระนางจึงเสด็จเข้าไปกราบทูลลาพระเจ้ามหานามะ แล้วพร้อมด้วยพระนาง
รูปนันทาชนบทกัลยาณีและสาวสนมกำนัล รวมประมาณ ๕๐๐ นาง เสด็จไปยังพระวิหารเชตวัน
เมืองสาวัตถี ถวายอัญชลีแล้วกราบทูลขออุปสมบท สมเด็จพระบรมศาสดาประทานสงเคราะห์
ด้วยครุธรรม ๘ ประการ
พระนาง ครั้นบวชแล้วได้นามปรากฏว่า “ภัททากัจจานาเถรี” ได้เรียนพระกรรมฐาน
ในสำนักพระบรมศาสดาแล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง
๔ ประการ
เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าพระเถรีเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญในอภิญญาทั้ง
หลาย นั่งขัดสมาธิครั้งเดียวสามารถระลึกชาติได้ถึงหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
เมื่อคุณความสามารถปรากฏเช่นนั้น พระบรมศาสดา ได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระเถรีนี้
ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา



ที่มา http://www.84000.org/one/2/11.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครบ้างหนอ?? เกิดวันเดียวกัน ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 10:55:44 am »
0


พระกาฬุทายีเถระ
เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส


พระกาฬุทายี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ในกรุงกบิลพัสดุ์ และเป็นสหชาติอีกคนหนึ่งที่
เกิดพร้อมกันกับเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร เดิมท่านชื่อว่า “อุทายี” แต่เพราะท่านมีผิวดำ คนทั่ว
ไปจึงเรียกท่านว่า “กาฬุทายี” เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็เป็นพระสหายเล่นกันมากับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อ
เจริญเติบโตแล้ว ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ นับว่าเป็นผู้มีความสนิทสนม
คุ้นเคยกับพระมหาบุรุษเป็นอย่างมาก


ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา คอยติด
ตามสดับรับฟังข่าวตลอดเวลา ครั้นได้ทราบว่าพระราชโอรสของพระองค์บำเพ็ญความเพียรทุกข
กิริยาเป็นเวลา ๖ พรรษา นั้น บัดนี้ ได้บรรลุอมตธรรม สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังคำ
พยากรณ์ของท่านอสิตดาบสและพราหมณ์ทั้ง ๘ คนแล้ว เสด็จเที่ยวประกาศพระธรรมคำสอน
ของพระองค์ตามคามนิคมต่าง ๆ ขณะนี้ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหารใกล้เมืองราชคฤห์
พระพุทธบิดา ทรงตั้งพระทัยคอยอยู่ว่า เมื่อไรหนอ พระพุทธองค์จะเสด็จมาสู่พระนคร
กบิลพัสดุ์ ครั้งไม่มีข่าวว่าจะเสด็จมาเลย ก็เกิดความเล่าร้อนพระทัยปรารถนาจะได้ทอดพระ
เนตรเห็นสมเด็จพระบรมศาสดาโดยเร็ว จึงได้จัดส่งอำมาตย์พร้อมด้วย บริวาร ๑,๐๐๐ คน ให้
ไปกราบทูลอาราธนาเสด็จมายังพระนครกบิลพัสดุ์

แต่อำมาตย์และบริวารเหล่านั้น เมื่อเดินทางไปถึงกรุงราชคฤห์แล้ว รีบตรงไปยัง
พระเวฬุวันมหาวิหารโดยเร็ว ขณะนั้น พระพุทธองค์กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนา อยู่ใน
ท่ามกลางพุทธบริษัท คณะอำมาตย์จึงหยุดคอยโอกาสที่จะกราบทูลอาราธนา และขณะที่รอคอย
อยู่นั้นก็ได้สดับพระธรรมเทศนาไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาลง อำมาตย์และบริวารได้บรรลุ
พระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมดแล้วกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยเอหิ
ภิกขุอุปสัมปทา

เมื่ออุปสมบทแล้ว ทั้งอำมาตย์และบริวารก็สงบเสงี่ยมอยู่ตามสมณวิสัย จึงมิได้กราบทูล
อาราธนาพระบรมศาสดา ตามภารกิจที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายมา
ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ คอยสดับข่าวอยู่ด้วยความกระวนกระวายพระทัย เมื่อข่าวเงียบ
หายไป อีกทั้งอำมาตย์ก็มิได้กลับมากราบทูลให้ทรงทราบและพระบรมศาสดาก็มิได้เสด็จมา จึง
ส่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวารอีกเท่าเดิม ชุดใหม่ให้ไปกราบทูลอาราธนา แต่อำมาตย์ชุดนี้เมื่อไป
ถึงได้ฟังพระธรรมเทศนาได้บรรลุพระอรหัตผลทั้งหมด กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทเหมือน
คณะแรก ซึ่งเป็นธรรมดาว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งแต่ได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมสังวร
สำรวมอยู่ในอริยภูมิ จึงมิได้กราบทูลข่าวสารของพระพุทธบิดาทำให้พระเจ้าสุทโธทนะ ต้องส่ง
อำมาตย์ไปโดยทำนองนี้ถึง ๙ ครั้ง

ในที่สุดทรงพิจารณาเห็นว่า กาฬุทายีอำมาตย์ คงจะช่วยให้
สำเร็จสมพระประสงค์ได้เพราะเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นพระสหายเล่นฝุ่นกันมา เมื่อครั้งยังทรง
พระเยาว์ เป็นที่สนิทสนมแห่งพระบรมศาสดา จึงส่งไปพร้อมด้วยบริเวณจำนวนเท่าเดิม
กาฬุทายีอำมาตย์ รับสนองพระราชโองการว่า จะพยายามกราบทูลสมเด็จพระบรม
ศาสดา ให้เสด็จมาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ให้สมพระราชประสงค์ให้จงได้ และได้กราบทูลเพื่อขอ
บรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนา ในโอกาสนี้ด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงออกเดินทางพร้อม
ด้วยบริวาร ถึงกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระพุทธองค์
ทรงแสดงธรรมโปรดจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ประทานอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธ
ศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น



เมื่อ พระกาฬุทายี บวชแล้วได้ ๘ วัน ก็สิ้นเหมันตฤดู ย่างเข้าสู่ฤดูคิมหันต์ ถึงวันเพ็ญ
เดือน ๔ พอดี ท่านคิดว่า.....
“พรุ่งนี้ ก็ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน บรรดากสิกรชาวนาทั้งหลาย ก็จะเกี่ยวข้าวกันแล้วเสร็จ หน
ทางที่จะเสด็จสู่กบิลพัสดุ์ ก็จะสะดวกสบาย ดอกไม้นานาพรรณก็เกลื่อนกล่นพื้นพสุธา พฤกษา
ชาติใหญ่น้อยที่ขึ้นอยู่ริมทาง ก็ให้ร่มเงาเย็นสบายนับว่าเป็นเวลาอันสมควรที่พระบรมศาสดาจะ
เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อสงเคราะห์พระประยูรญาติในบัดนี้”
พระกาฬุทายี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับกราบทูลสรรเสริญหนทาง
เสด็จว่า:-


“พระพุทธเจ้าข้า หนทางไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์บุรี เป็นวิถีทางสะดวกสบายตลอดสาย ยาม
เมื่อแสงแดดแผดกล้า ก็มีร่มไม้ได้พักอาศัยเป็นที่หลบร้อนตลอดระยะทาง ๖๐ โยชน์ หากพระ
องค์จะทรงบำเพ็ญปรหิตประโยชน์เสด็จโปรดพระประยูรญาติยังกบิลพัสดุ์นคร ก็จะเป็นที่
สำราญพระวรกาย ไม่ต้องรีบร้อนแม้แต่พระสาวกที่ติดตามก็จะไม่ลำบากด้วยน้ำและกระยาหาร
ด้วยตามระยะทาง มีโคจรคามเป็นที่ภิกขาจารตลอดสาย”

“อนึ่ง พระพุทธบิดา ก็มีพระทัยมุ่งหมายใคร่จะได้ทอดพระเนตร พระองค์พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง หากพระองค์จะทรงพระกรุณาเสด็จไปโปรดให้สมมโนรถของพระชนกนาถ
ตลอดพระประยูรญาติษากยวงศ์ และประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงที่กบิลพัสดุ์บุรี ก็จะเป็น
เกียรติเป็นศรีแก่พระพุทธศาสนา นำมาซึ่งคุณประโยชน์สุขแก่ปวงมหาชน เพื่อทรงโปรดพระ
ชนกนาถ และพระประยูรญาติให้ปีติยินดี ในคราวครั้งนี้เถิด”


สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงสดับสุนทรกถาที่พระกาฬุทายี กราบทูลพรรณารวม ๖๔
คาถา ก็ทรงอนุโมทนาสาธุการทรงรับอารธนาตามคำกราบทูลของท่านแล้ว ตรัสสั่งให้ท่านไป
แจ้งข่าวแก่พระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ให้ตระเตรียมการเดินทางไกล ณ กาลบัดนี้

•   แจ้งข่าวพระบรมศาสดาเสด็จ
พระกาฬุทายีเถระ แจ้งข่าวให้พระสงฆ์ทั้งปวงทราบ ตามพระบัญชาบรรดาพระสงฆ์
เหล่านั้น ก็พากันตระเตรียมบาตร จีวร และบริขารอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วกราบทูลให้ทรง
ทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร
เสด็จจากรุงราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์โดยมิได้รีบร้อน เดินทางได้วันละโยชน์ (๑๖ กม.) เป็นเวลา
๖๐ วันพอดี

ส่วน พระกาฬุทายีเถระ คิดว่า “เราควรจะไปแจ้งข่าวให้สมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะทรง
ทราบการเสด็จมาของพระบรมศาสดา” จึงล่วงหน้ามาแจ้งข่าวเป็นระยะ ๆ ทุก ๆ วัน
พระเจ้าสุทโธทนะ ได้ถวายภัตตาหารแก่พระเถระแล้ว บรรจุพระกระยาหารอีกส่วน
หนึ่ง ให้พระเถระนำไปถวายพระพุทธองค์ เป็นประจำทุกครั้งที่พระเถระมาแจ้งข่าว


ฝ่ายพระประยูรญาติ ทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ได้ทราบข่าวว่าพระองค์กำลังเสด็จ
มาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ ก็ปีติโสมนัสเบิกบานอย่างยิ่ง และได้ประชุมปรึกษาหารือตกลงเห็นพ้อง
ต้องกันว่า อุทยานของพระนิโครธศากยราชกุมารนั้น เป็นรมณียสถานสมควรเป็นที่ประทับของ
พระบรมศาสดาจึงร่วมกันสร้างพระคันธกุฎี และเสนาสนะที่พักสำหรับภิกษุสงฆ์ลงในที่นั้น
ถวายเป็นพระอารามในพระพุทธศาสนาชื่อว่า “นิโครธาราม”

ด้วยเหตุที่ พระกาฬุทายี เป็นทั้งราชทูตของพระเจ้าสุทโธทนะ ไปกราบทูลอาราธนา
พระบรมศาสดา และเป็นสมณทูตพยายามไปแจ้งข่าวสารการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคต่อ
พระประยูรญาติเป็นประจำ จนพระประยูรญาติเกิดศรัทธาเลื่อมใสสร้างพระอารามถวายไว้ใน
พุทธศาสนา นับว่าท่านได้ทำคุณแก่พระประยูรญาติศากยวงศ์ และแก่พระศาสนาอย่าง
อเนกอนันต์ พระพุทธองค์จึงทรงตั้งท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายใน
ฝ่าย ผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส


ท่าน พระกาฬุทายีเถระ ดำรงอายุสังขารช่วยกิจการพระพุทธศาสนาพอสมควรแก่กาล
เวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/06.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครบ้างหนอ?? เกิดวันเดียวกัน ในสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 11:02:54 am »
0

ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา

   ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง  เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้  มีชื่อว่า  'กัณฐกะ'  เป็นสหชาติ
คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย  หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้านี้ไว้ว่า  "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ 
๑๘  ศอก"  แต่ส่วนสูงกี่ศอก  ไม่ได้บอกไว้  บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว"  และแจ้งถึงลักษณะ
อย่างอื่นไว้ว่า    "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่    ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา   มีเกศาในมุขประเทศ  (หน้า) 
ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด  กอปรด้วยพหลกำลังมาก  แลยืนประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี"

 
   ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณาให้เขื่อง   และให้เป็นม้าพิเศษกว่าม้าสามัญ  ถ้า
ถอดความเป็นอย่างธรรมดาก็ว่ากัณฐกะสูงใหญ่สีขาวเหมือนม้าทรงของจอมจักรพรรดิ   หรือบุคคลผู้ทรง
ความเป็นเอกในเรื่อง
 
   เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้าใกล้ม้า  ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ   ท่านว่าม้ากัณฐกะมีความ
ยินดีก็เปล่งเสียงร้องดังกึกก้องสนั่นไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์    ดังไปไกลถึงหนึ่งโยชน์   (ประมาณ  ๔๐๐  เส้น) 
โดยรอบ  ถ้าเป็นไปตามนี้ ทำไมคนทั้งเมืองจึงไม่ตื่นกัน ท่านผู้รจนาวรรณคดีเรื่องนี้ท่านบอกว่า  "เทพยดา
ก็กำบังเสียซึ่งเสียงนั้นให้อันตรธานหายไป..."  ท่านใช้เทวดาเป็นเครื่องเก็บเสียงม้านั่นเอง

 
   ถ้าถอดความจากเรื่องราวของวรรณคดีดังกล่าวออกมาก็คือ   เจ้าชายทรงชำนาญในเรื่องม้า
มาก  ทรงสามารถสะกดม้าไม่ให้ส่งเสียงร้องได้
 
   จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ  บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ 'พระยาบาลทวาร' 
โดยมีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จไปข้างหลัง  วันที่เสด็จออกบวชนั้น  หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวัน
เพ็ญเดือน  ๘  ท่านว่า   "พระจันทร์แจ่มในท่ามกลางคัคนาดลประเทศ  (ท้องฟ้า)  ปราศจากเมฆ   ภายใน
ห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี"  นิศากรรังสี คือ  แสงจันทร์ในวันเพ็ญ



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f14.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ