ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม" หมายถึง มีชีวิตแค่วันเดียว ก็ยังดีกว่า  (อ่าน 8983 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันนี้ขอนำบท ภัทเทกรัตตคาถา ซึ่งมีบทเริ่มต้นว่า

หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส  เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด

คาถาของผู้ราตรีเดียว??   
 คนเราไม่รู้หรอกว่า วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร 
โดยเฉพาะความตายนั้นอาจจะมาถึงเราโดยไม่รู้ตัวก็ได้ 
สมมุติว่า...  เราจะมีชีวิตอยู่อีกเพียง 1 คืน   จะมีสิ่งใดที่เราควรคร่ำครวญหรือ?? 
หรือจะมองอีกอย่าง คืนนี้ก็เฉพาะคืนนี้ คือ ปัจจุบันนี้ 

 
อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง

บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง

สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

คิดพะวงถึงความหลัง รังแต่จะโศกเศร้า โศกา หรือโกรธ พยาบาท โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ส่วนสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  กังวลก็นอนไม่หลับเปล่าๆ?? เคยนอนไม่หลับกันใช่มั้ยครับ ทรมานยิ่งนัก

 

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,

อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,

ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว

ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา

เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,

ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ

มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"




อยู่แบบลืมตาย-หลงตาย
น่าสงสัยว่าทุกวันนี้ จะมีใครสักกี่คนที่สามารถจากไปในลักษณะนั้นได้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้เรามองความตายเป็นเรื่องน่ากลัว เป็นเพราะเห็นความตายเป็นเรื่องน่ากลัวเราจึงพยายามไม่นึกถึงมัน เราพยายามทำใจให้วุ่น ทำชีวิตไม่ให้ว่าง ส่วนหนึ่งก็เพื่อเราจะได้ไม่ต้องนึกถึงความตายที่จะต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง

เราทำตัวให้วุ่น ทำชีวิตไม่ให้ว่าง ทำงานทั้งวันทั้งคืน หรือไม่ก็สนุกสนานรื่นเริง เสพสุข เที่ยวห้าง แสวงหาความบันเทิง สรรหาสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่เสมอก็เพื่อจะได้ไม่ต้องนึกถึงความตาย เราจึงมีชีวิตอยู่เหมือนคนลืมตาย

ทุกวันนี้คนที่อยู่แบบลืมตายมีเป็นจำนวนมาก คือลืมไปว่าตนเองจะต้องตาย และส่วนใหญ่เมื่อมีชีวิตอยู่แบบลืมตาย ถึงเวลาสิ้นลมก็จะมีอาการอย่างที่คนโบราณเรียกว่า หลงตาย คือตายด้วยความหลง ตายด้วยความทุกข์ทรมาน กระสับกระส่าย ยิ่งสมัยนี้มีเทคโนโลยีนานาชนิด ซึ่งในบางกรณีแทนที่จะเป็นการยืดชีวิตหรือช่วยชีวิต กลับเป็นกระบวนการยืดความตาย ก็เท่ากับว่าทำให้สภาวะหลงตายยืดยาวไปด้วยเช่นกัน




มรณานุสติกรรมฐาน ในหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ซึ่งในคำสอนยังระบุไว้อีกว่า... จะทำอย่างไรความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ทั้งนี้ ความตายนี้แบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกันคือ.....

1. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ ท่านเสร็จกิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีก ไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน ไม่กลับมาเกิดอีก

2. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือความดับ หรือการเคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้

เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพ ไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทน ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามีความตายเป็นปกติทุกวันเวลา อย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

3. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือ สิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้อง ตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้

ทั้งนี้ คำสอนของพระราชพรหมยาน ยังระบุไว้อีกว่า ’... การนึกถึงความตายมีประโยชน์ ประโยชน์ของการนึกถึงความตายทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตาย จะได้แสวงหาความดีใส่ตัว

รู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่อยากจนอีก ก็พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมาะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลัง นั่นแหละจึงจะควร, รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอ ๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับบัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ในชาติหน้า จะได้พยายาม รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ครบถ้วน แล้วก็จะได้รับอานิสงส์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มีโรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจร คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใครดื้อด้าน มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

ถ้าเห็นว่ามีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายาม เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ, ถ้าเห็นว่าความเกิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่งประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีก ก็เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้วเจริญวิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ซึ่งเป็นของไม่หนักเลยสำหรับท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่า เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ...”

’มรณานุสติ“ นึกถึงความตาย ’เพื่อจะได้ทำความดี“
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา อ่านดี คะ
เจริญสติ ระลึก ถึงความสำคัญของชีวิต กันให้มากนะคะ
คนเรา มีอะไร เป็นแก่นสาร เป็นที่พึ่ง ยามมี ยามเป็น ยามหมด ยามทุกข์ ยามสุข อะไรเป็นแก่นสาร นะคะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า