ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สีจิต แสงจิต คืออะไร เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน หรือป่าวคะ  (อ่าน 17441 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
สีจิต ได้ยินจากเรื่อง ที่หลวงพ่อ พุธ พูดถึงโยมคนหนึ่งที่บอกว่า แสงปรากฏในจิต ส่ว่าง ไสว

ที่จริง เรื่อง สีิจิต แสงจิต หรือ ความสว่างจิต เหล่านี้จะปรากฏเมื่อใดในการภาวนา

หรือมีความเกี่ยวข้อง กับ กรรมฐาน บ้างคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

จ่าวิโรจน์

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่เข้าใจคำว่า สีจิต หมายถึงอะไร ใช่ นิมิต หรือป่าวครับ

  ???
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม สมเ็ด็จพระชินสีห์ เสด็จดี เป็นศรี ชาวสยาม
แม้พระนาม พุทโธ ระบือนาม ทั่วเขตคาม ถิ่นฐานได้ร่มเย็น
ชาวลพบุรีครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
            สำหรับคำว่า "สีจิต" หรือ "ศรีจิต"

เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยครั้งในการฝึกภาวนาสมาธิ และพระอาจารย์ก็พูดถึงอยู่บ่อยด้วยเช่นกัน ทุกครั้งที่มี

โอกาสเข้าพบพระอาจารย์จะต้องโดนทักเรื่องสีจิตอยู่บ่อยทั้งกับด้วยตนเอง และผู้อื่นที่ตามไปด้วยเสมอ

         จากที่ได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องของสีจิต พระอาจารย์ได้ให้อรรถาธิบายไว้โดยชี้ไปที่ดวงจันทร์

หรือสปอร์ตไลท์ โดยให้ผมสังเกตดูแล้วตอบให้ท่านทราบว่า เท่าที่เห็นมีกี่สี.? อะไรบ้าง.? ด้วยตาเนื้อตาหนัง

อย่างปุถุชนไม่สามารถแยกสีได้ชัด หรือแทบจะมองไม่เห็นเลยก็ว่าได้ มีเพียงพระอริยะเจ้าเท่านั้นที่สามารถมอง

ได้ละเอียดถ้วนทั่วว่ามีกี่สี แยกได้ถึงทุกสรรพชีวิตที่มีปราณ โดยเฉพาะกับคนที่มีปกติแผ่ซ่านปรุงแต่งไปใน

อารมณ์ หรือตั้งมั่นไว้เป็นปกติวิสัยในพระกรรมฐานอยู่เนืองนิตย์

         ผมขอยกตัวอย่างจากเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้ ผมนั้นมีจริตนิสัยหนักไปทาง โทสะ โกรธง่าย เอาเรื่อง

เอาราวอยู่พอควร พอจิตหน่วงหนักไปในอารมณ์โกรธใจก็ทุกข์ เมื่อเข้าพบพระอาจารย์ท่านก็สังเกตเห็นสีจิต(ออ

ร่า)เปลี่ยนไปเป็นม่วงปนแดง เมื่อท่านเทศน์สอนจิตก็วางคลายความยึดหน่วงในอารมณ์ลง สติกลับมา ธรรมวิจยะ

ปรากฏ สีจิต(ออร่า)รอบกายก็เปลี่ยนไปเป็นขาว หากมีปกติภาวนาอยู่เนืองๆแล้วสีจิต(ออร่า)จะขาวมาก ซึ่งแต่

เดิมนั้นก่อนเข้าพบพระอาจารย์จะเจริญภาวนาก่อนทุกครั้งเพื่อทำใจให้ผ่องแผ้วเสมือนเตรียมพานไว้รองรับธรรม

และทุกครั้งเมื่อนั่งใกล้สนทนาธรรมอยู่กับท่านจะรู้สึกว่า ณ ตรงนั้นไม่มีกาลเวลา ไม่มีสมมติบัญญัติใดใด รู้สึก

เพลิน ไม่หน่วงหนัก ซึ่งน่าแปลกเอามากๆ ไม่เชื่อลองพิสูจน์ดูได้ครับ แล้วก็จะมีคำถามกลับมาอีกว่า "ครึ่ง

กำลัง" คืออะไร.? ครับ...สวัสดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2010, 01:28:17 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องการสนทนา หรือ พบพระอาจารย์ ฟ้าใสก็เคยพบ เมื่อครั้งสุดท้าย ก็งานปริวาสต้นปี

บอกตรง ๆ พบท่าน แล้วก็เพลิน ฟังท่านพูดบ้าง สนทนาบ้าง วันนั้นก็ปาไป บ่ายโมง

เคยนั่งกรรมฐานกับท่าน นั่งไป 2 ชั่วโมง ท่านก็บรรยาแก้ไข ที่ผิด ให้ปรากฏว่า มีความรูสึกเหมือนนั่งแค่ 15 นาที

นี่คือสิ่งที่ฟ้าใส เคยพบปรากฏกับท่านมาแล้ว เรื่องนี้จึงเชื่อ ....


แต่เรื่อง ของสีจิต นั้นในพระไตรปิฏก มีการจำแนก สีและอารมณ์ หรือป่าวคะ หรือมาที่อ้างอิง จากที่ไหนบ้างคะ

เรื่อง ออร่า ถ้าเป็นไปได้ขอความกรุณา คุณธรรมธวัช นำเสนอเพิ่มเติมอีกได้หรือป่าวคะ เพราะฟ้าใสนั้น

ศึกษา แนวปริยัติ น้อยมาก ส่วนมากเน้นไปในการภาวนา

ในช่วงนี้ มีการถกปัญหาธรรม คณะญาติธรรม ที่ตระกูล คะ เวลาเสวนา บางครั้งฟังแล้วเหมือนเขาพูดผิด ด้วยใจรู้

แต่ก็หา เหตุอ้างไม่ค่อยเป็น คะ


 :25: :25: :88:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เจโตปริยญาณและประโยชน์

     เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุข หรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัว ที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มี สุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้จิตของ ผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระอริยะชั้นใด

การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌาน หรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่าการจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะ ด้วยและมีระดับเท่า หรือสูงกว่า ท่านที่มีฌานต่ำกว่าจะรู้ระดับฌานของท่านผู้ได้ฌานสูงกว่าไม่ได้ ท่านที่ไม่ได้ทรง ความเป็นอริยะ จะรู้คุณสมบัติทางจิตของพระอริยะไม่ได้

ท่านที่เป็นพระอริยะต่ำกว่า จะรู้ความเป็นพระอริยะสูงกว่า ไม่ได้ กฎนี้เป็นกฎตายตัวควรจดจำไว้อย่าพยากรณ์บุคคลผู้ทรงคุณสูงกว่า ถ้าไม่ได้อะไรเลยก็จงอย่ากล้าพยากรณ์ ผู้อื่น เพราะพยากรณ์พลาดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ เพราะเราจะกลายเป็นโมฆโยคีไป คือประกอบ ความเพียรด้วยการไร้ผล ในฐานะที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ เป็นกรรมหนักมาก ควรละเว้นเด็ดขาด

สีของจิต
     สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้

     ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
     ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
     ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
     ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
     ๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร


สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ

     ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
     ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส

     
กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร

ขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน ทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่า หนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย

กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

    ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ

     ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก

     ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์

     ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม

     ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย

     ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึง ว่าท่านพวกนั้น ไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตาม กรรมที่ให้ผลแรงกว่า

     เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของ ตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่ง ปรากฏแก่จิต

เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกน ที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก

ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้ว เคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนใน สั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก

จิตของพระอริยะ
     ๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
     ๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
     ๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
     ๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
     ๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก


กระแสจิต ที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและพยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็นประกายแล้ว ก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกาย ก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์ภัยเจือปนเลย
 
ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้ และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่น ก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้ารู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้

แสดงว่าสูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด ถ้าเป็นครู สอนสมณธรรม ก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยและจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ

     สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน กายคือจิต จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายในออก ก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรม ไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะ ปรากฏเป็นพรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่างมีแสงสว่างมาก ร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว


     เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของจิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและ บาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือรู้อารมณ์จิตของตนเองว่า ขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วย กุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไรสั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่มีกำลัง น้อยไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนัก

แต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะ ยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ เช่น อารมณ์สมถะที่ เป็น อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการสงบแนบนิ่งมาก จนความไหวทางจิตในเรื่อง ความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคือง ความสั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่า เรานี่สำเร็จมรรคผลเสีย แล้วหรือ แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ
 
เช่น ครุ่นคิดถึงความสวยสด งดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวนจากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวล ของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่จิตคิดไปและจะระงับได้ เพราะการพิจารณาใน กรรมฐานที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มีกำลังที่จะกดขี่กิเลส ให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้

ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผล ถ้าเราสำรวจตรวจ จิตไว้เสมอตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่ จะรู้ได้เพราะสี ของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็นสีแดง สีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้
แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่ง ตำหนิตนเองได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย


เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐ คือเป็นการแสดงออกของ อุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์ มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสี แดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยังมีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลว

สำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิต ให้ใสสะอาดเป็นปกติ และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไรก็เป็นประกาย แพรวพราว ถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่ปางก่อน จะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรา มาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับ อำนาจโทสะ ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ ถูกด่าก็พบว่าจิตใสประกายแพรวพราว


แม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติอย่างนี้ใช้ ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพาน ในชาตินี้ เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้น เป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น

ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อพระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่น ท่านที่กล่าว อย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถคอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัย ก็ยังรู้ ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้ว จงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโตปริยญาณนี้และเล่นให้ คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว


จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


 
คุณฟ้าใสครับ จากการเสริชหาทางเน็ต เท่าที่ดูทุกเว็บ

นำข้อมูลมาจากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ทั้งหมด

เผอิญผมมีหนังสือเล่มนี้อยู่แล้ว เลยนำมาเสนอแบบเต็มเวอร์ชั่น


ผมสังเกตว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ไม่ได้อ้างถึงพระไตรปิฎกเลย 

แต่ในคำนำอ้างถึงครูบาอาจารย์ทั้งหมด ๑๘ ท่านด้วยกัน

ผมเลยไม่ทราบว่า หลวงพ่อนำคำสอนนี้มาจากใคร

และเท่าที่ค้นดูในพระไตรปิฎก  ในพระอภิธรรมได้อธิบายเรื่องจิตไว้พิสดารมาก

แต่ไม่ได้กล่าวถึง เรื่องสีของจิต

ผมได้แนบไฟล์เรื่อง "ประเภทของจิต” มาให้คุณฟ้าใสอ่านสองไฟล์

อ่านง่ายครับ ไม่มีสำนวนบาลี เป็นฉบับย่อมาจากพระอภิธรรม

เห็นคุณฟ้าใสต้องการทราบเรื่อง "อารมณ์ของจิต" เลยจัดให้


ต้องการทราบอะไรเพิ่มเติมก็แจ้งได้นะครับ

ท้ายนี้ผมมีพุทธพจน์มาฝากครับ

“จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา”
มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก
หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา
ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

“จิตไม่ มีตัวไม่มีตน เกิดแต่เหตุปัจจัย ดุจดั่งเงา ก็จริงอยู่ แต่สามารถเห็นจิตตสังขารได้ด้วยสติและปัญญา”

ขอให้ธรรมคุ้มครองคุณฟ้าใส

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2014, 10:19:24 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ แทนได้หรือป่าวคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 คุณหวานใจ ไม่ได้ระบุว่า สาธุให้ใคร อย่างไร

คงไม่ยากนะครับ ระบุรายละเอียดสักนิด

ข้างล่างนี้เป็นไฟล์ที่ลืมแนบให้คุณฟ้าใส

 ;) ;) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ฝากริงก์ไว้ให้อ่าน...ครับ เวลามีน้อยขอไปทำงานก่อนจะหาช่วงว่างมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ






http://www.lokthip.net/article/aura.php

http://www.phd-hypno.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=322254

http://www.phd-hypno.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2010, 01:30:01 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


 :96: :96: :96:
แนะนำครับ สำหรับผู้สนใจแนวการสอนแบบเจโตวิมุตติ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่อง นี้ นาน ๆ ไม่ได้ อ่าน เหมือน ลืมไปเลย
พอได้อ่านอีกครั้ง รู้สึก ว่า มีความก้าวหน้า เพิ่มขึ้น เลยคะ

 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ