ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การบวช แบบ เอสาหัง และ อุกาสะ แตกต่างกันอย่างไร คร้า่  (อ่าน 60492 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กำลังทำรายงาน เรื่องประเพณี พระสงฆ์

เรื่องการบวช เอสาหัง และ อุกาสะ


การบวชทั้งสองแบบนี้ พระที่บวชนั้นจักมีคุณสมบัติต่างกันใช่หรือไม่

การบวชแบบ อุกาสะ เป็นของธรรมยุติ ใช่หรือป่าว คร้า

การบวชแบบ เอสาหัง เป็นของ มหานิกาย ใช่หรือป่าว คร้า

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กำลังทำรายงาน เรื่องประเพณี พระสงฆ์

เรื่องการบวช เอสาหัง และ อุกาสะ


การบวชทั้งสองแบบนี้ พระที่บวชนั้นจักมีคุณสมบัติต่างกันใช่หรือไม่

การบวชแบบ อุกาสะ เป็นของธรรมยุติ ใช่หรือป่าว คร้า

การบวชแบบ เอสาหัง เป็นของ มหานิกาย ใช่หรือป่าว คร้า

 :25: :25:

น้องหมวย จำสลับกันครับ

ที่ถูกคือ เอสาหัง เป็นของธรรมยุต

และอุกาสะ เป็นของมหานิกาย

ลองใช้กูเกิลเสริชดูซิครับ มีหลายเว็บที่น่าสนใจ


(ไม่รู้โกรธรึเปล่าที่ตอบแบบนี้)

ผมสงสัยว่า น้องหมวยกำลังหาคนช่วยทำรายงานอยู่ ใช่ไหมครับ


ขอให้รายงานได้เกรด A+ นะครับหมวยนีย์
:s_good: :s_good: :s_good:
 :49:  :34: :bedtime2: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2010, 11:51:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากได้ข้อมูล มากกว่านี้

แต่ไม่รบกวนแล้ว เพราะคุณปุ้ม ตอบ คำถาม คุณ fasai ก็หลายวันเลย

พักผ่อน มาก ๆ นะครับ

ว่าแต่ไปภาวนามาก่อนเข้าพรรษา 9 วัน จะมีเรื่อง คนค้นกรรม 3 อีกหรือป่าว คร้า

:25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2010, 09:40:39 pm โดย หมวยจ้า »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความต่างระหว่าง "ธรรมยุต" และ "มหานิกาย"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 05:02:54 pm »
0
คณะธรรมยุต
คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี;
 
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)


คณะมหานิกาย
คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว;

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)

 
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ยุตโต)



ประวัติคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
โดยคุณเมืองแก้ว
   
เป็นบทความดี ๆ ของคุณ muangkaew ที่เขียนเมื่อปี พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับประวัติของคณะสงฆ์ในธรรมยุตินิกายครับ เป็นบทความที่แยกแยะความแตกต่างในด้านวัตรปฏิบัติ การนุ่งห่มและระเบียบในคณะสงฆ์ของธรรมยุตและมหานิกายไว้อย่างละเอียดครับ

บทความนี้ผมเขียนขึ้นเอง จากการศึกษาเอกสารหลักฐานต่างๆประกอบกับประสบการณ์ของตนเอง ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว จึงได้เอามาฝากให้อ่านกันเป็นความรู้ครับ ต่อไปจะมีบทความอื่นที่เป้นประโยชน์ทยอยมาเรื่อยๆ ถ้ามีใครสงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ จะตอบให้เท่าที่ภูมิความรู้อันน้อยนิดนี้จะอำนวย

นับแต่อดีตพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแพร่และประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเกิน กว่าพันปีแล้ว โดยเข้ามาทั้งสายอาจริยวาท(มหายาน)และเถรวาท(หินยาน) แต่ในปัจจุบันสายอาจริยวาทนั้นมีผู้นับถือเพียงส่วนน้อย เป็นกลุ่มๆไปในแต่ละแห่ง เช่น คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย เป็นต้น มีเพียงสายเถรวาทที่ยังคงเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายและนับถือสืบทอดกันมาในทุก ภูมิภาคและยังได้แพร่หลายไปในต่างประเทศด้วย

โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยนั้น แบ่งย่อยเป็น2 นิกายด้วยกัน คือ

มหานิกาย ซึ่งมีพระสงฆ์อยู่จำนวน 80 กว่า% ของพระสงฆ์ทั้งหมด
ส่วนที่เหลืออีก 10กว่า% คือพระสงฆ์ในธรรมยุติกนิกาย


คณะสงฆ์มหานิกาย คือ คณะสงฆ์ที่นับถือและปฏิบัติสืบมาแต่นิกายลังกาวงศ์ คือ ประเทศลังกา อันเป็นแบบดั้งเดิม ส่วนคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายไว้ว่า “ธรรมยุติกนิกาย คือ พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง

 แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย สืบสายต่อกันลงมา” คำว่า “ธรรมยุต” แปลว่า “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม

คณะสงฆ์ธรรมยุตกำเนิดขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แต่ครั้งยังมิได้ทรงครองราชย์และได้ทรงผนวชเป็นภิกษุในคณะสงฆ์มหานิกายอัน นับถือมาแต่ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ.2367 มีพระนามว่า “วชิรญาโณ” เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ และได้เสด็จไปทรงศึกษาวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) และวัดราชสิทธาราม จนทรงเข้าใจเจนจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ที่จะสอนได้


 เมื่อทรงสงสัยไต่ถาม พระอาจารย์ก็มิสามารถตอบได้ ทูลแต่ว่าครูอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น เป็นเหตุให้ทรงท้อถอยในวิปัสสนาธุระ จึงเสด็จกลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาด้านคันถธุระ เพื่อให้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษาด้านภาษาบาลีจนแตกฉาน

จนครั้งหนึ่งได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมต่อหน้าพระที่นั่งตามที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้แปลให้ฟัง จึงทรงแปลพอเฉลิมพระราชศรัทธาเพียง 5 ประโยค ทั้งที่ทรงภูมิความรู้สูงกว่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก 9 ประโยค ให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์

เมื่อทรงศึกษาพระไตรปิฎกโดยละเอียด ก็ทรงพบว่าข้อปฏิบัติทางพระวินัยของภิกษุบางหมู่ในเวลานั้นมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยมาช้านานแล้ว จึงสลดพระทัยในการจะทรงเพศบรรพชิตต่อไป

วันหนึ่งเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถวัดมหาธาตุ ทรงอธิษฐานขอให้ได้พบวงศ์บรรพชาอุปสมบทที่บริสุทธิ์สืบเนื่องมาแต่พระ พุทธเจ้าแต่ดั้งเดิมภายใน7วัน มิฉะนั้นจะทรงเข้าพระทัยว่าพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์สิ้นแล้ว ก็จะสึกเป็นฆราวาสไปรักษาศีลห้าศีลแปด


ครั้นผ่านไปได้สักสองสามวัน ก็ได้ทรงได้ยินข่าวพระเถระชาวรามัญ(มอญ)รูปหนึ่ง ชื่อ ซาย พุทธวํโส บวชมาจากเมืองมอญ ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสุเมธมุนี อยู่ที่วัดบวรมงคล(อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกันข้ามกับวัดสมอราย) เป็นผู้ชำนาญในพระวินัยปิฎก และประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงศึกษาด้วย

พระสุเมธมุนีได้ทูลอธิบายถึงวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีที่ ท่านได้อุปสมบทมาให้ทรงทราบอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นชัดว่าวงศ์บรรพชาอุปสมบทนี้มีเชื้อสายมาจากพระอนุรุทธเถระ เชื่อมโยงมาจนถึงพระอุปัชฌาย์ของพระสุเมธมุนีได้ 88 ชั่วคนแล้ว

ทรงพิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธพจน์ที่ทรงศึกษาจากพระไตรปิฎก จึงมีพระราชศรัทธาที่จะประพฤติตามแบบพระมอญ และเนื่องจากทรงพิจาณาเห็นว่าอุปสมบทวิธีตามแบบรามัญน่าจะถูกต้องตามพระพุทธ บัญญัติมากที่สุดในเวลานั้น

จึงทรงทำทัฬหีกรรม คือ ทรงอุปสมบทซ้ำในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสมอราย โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2368 อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ 2 พรรษา และเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุตามเดิม


การที่คณะสงฆ์ไทยได้แยก ออกเป็น 2 นิกายนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้นเป็นนิกายใหม่ บางคนถึงขั้นติเตียนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงทำสังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกกัน อันเป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมอันชั่วช้าที่สุดในทางพระพุทธศาสนา บางคนมีความคิดที่จะพยายามรวมคณะสงฆ์มหานิกายและธรรมยุตเข้าด้วยกัน

แต่ในความเป็นจริงนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตขึ้น โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ เป็นผลให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติตนทางด้านพระวินัยของคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ตลอดถึงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงสืบมาถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตด้วย ได้ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “....การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลก มีในทุกๆประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว

 แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆเหมือนกัน การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกันหรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง...”


สำหรับ ความแตกต่างกันของพระพระมหานิกายและพระธรรมยุตนั้น นอกจากจะมีที่มาต่างกันดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติหลายประการที่ต่างกันอย่างมาก เนื่องจากคณะธรรมยุตยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักปฏิบัติ จึงเคร่งครัดในด้านพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง

เช่น การอุปสมบท นาคจะต้องกล่าวคำขออุปสมบทให้ได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องถูกต้องตามสำเนียงภาษามคธ ซึ่งออกเสียงค่อนข้างยากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย จะไม่มีการบอกให้นาคพูดตาม หากไม่สามารถกล่าวคำขออุปสมบทด้วยตนเอง จะไม่ได้รับอนุญาตให้อุปสมบท การสวดมนต์ก็จะสวดด้วยสำเนียงภาษามคธด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้พระธรรมยุตจะไม่จับเงิน เนื่องจากปฏิบัติตามพระวินัยซึ่งมีมาในพระปาฏิโมกข์ข้อที่ห้ามจับเงินจับทอง หากคฤหัสถ์จะถวายปัจจัย (คือเงิน) จะต้องถวายด้วยใบปวารณาแทน ส่วนปัจจัยให้มอบต่อไวยาวัจกรหรือโยมวัดจัดการแทน

 การห่มผ้าของพระธรรมยุตจะเหมือนกันหมดทั้งหมด คือ ห่มแหวก โดยใช้ผ้าสีแก่นขนุน (คล้ายสีน้ำตาล) และผ้าสังฆาฏิจะเป็นผ้า 2 ชั้น คือ เหมือนผ้าจีวร 2 ผืนเย็บติดกันนั่นเอง การฉันภัตตาหารก็เช่นกัน พระสงฆ์ในธรรมยุตจะเทอาหารทั้งคาวหวานลงในภาชนะใบเดียวกันแล้วจึงฉัน หรือที่เรียกว่า "การฉันอย่างสำรวม"เป็นต้น


การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดนี้มิได้มีแต่ในคณะสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น

แต่ในคณะสงฆ์มหานิกายบางกลุ่มก็มีการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่มพระมหานิกายศิษย์พระอาจารย์ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง เนื่องจากพระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นหนึ่งในพระมหานิกายหลายรูปที่ได้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

โดยมิได้อุปสมบทใหม่เป็นพระธรรมยุต เช่นเดียวกับ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี ด้วยพระอาจารย์มั่นประสงค์จะให้มีผู้นำในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในฝ่ายมหา นิกายด้วย จึงไม่อนุญาตให้ศิษย์เหล่านี้อุปสมบทเป็นพระธรรมยุต

โดยท่านให้เหตุผลว่ามรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ และต่อมาก็ได้ปรากฏพระมหานิกายผู้ที่มีหลักฐานและเหตุผลอันควรเชื่อถือได้ ว่าเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงมรรคผลจริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีความสำคัญเหนือนิกายและสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น และเป็นเหตุนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง



บรรณานุกรม
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช. พุทธศาสนวงศ์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2543.
พระ พรหมมุนี (อ้วน ติสฺโส). ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาและฉลองพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2479.
คณะศิษยานุศิษย์. พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2546.
คณะศิษยานุศิษย์. บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2545.
พระ อาจารย์อุเทน กลฺยาโณ. มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์ ประวัติและธรรมหลวงปู่ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล. กรุงเทพฯ : ปาปิรุสพับลิเคชั่น, 2546.
สุเชาวน์ พลอยชุม. ประวัติคณะธรรมยุติกนิกาย. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.), 2542.



ที่มา บทความเรื่อง "ประวัติพระสงฆ์ธรรมยุตนิกาย" โดยคุณ muangkaew จากเว็บไซต์ http://www.bkkonline.com/scripts/dhammayut/detail.asp?id=12

ขอขอบคุณเว็บ  http://kai1981.multiply.com/reviews/item/4

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2010, 05:23:38 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 05:06:25 pm »
0
คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้


ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึงบุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดีที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่าเป็นการอุทิศตนช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา ไปจนตราบชั่วกาลนาน

การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศถือว่ามีส่วนสำคัญมาก การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวช ให้คนทั่วไปเขากราบไหว้นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระ ก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้ว ยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้


๏ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑. เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด

๒. มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้

๓. ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

๔. ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน

๕. เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

๖. มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย

๗. เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


๏ ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑. เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน

๒. เป็นคนหลบหนีราชการ

๓. เป็นคนต้องหาในคดีอาญา

๔. เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

๕. เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา

๖. เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย

๗. เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ
 

คัดลอกมาจาก
http://www.salatham.com/ 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2010, 05:24:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิธีบรรพชาอุปสมบท แบบอุกาสะ(ฝ่ายมหานิกาย)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 06:58:05 pm »
0
วิธีบรรพชาอุปสมบท แบบอุกาสะ(ฝ่ายมหานิกาย)
         
.........กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งบรรพชา อุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้า
ไปในสังฆสันนิบาต วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการถวายพระ,
อุปัชฌายะ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนม
มือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชา หยุดตามจุดจุลภาค ว่า


.........อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ


.........อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต,

(นั่งลงคุกเข้าประนมมือว่า)

..........อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
..........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
..........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
..........สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง
กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ ฯ


(ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน พระอุปัชฌายะรับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)


..........สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง
กาสาวัง ทัตวา, ปัพพาะเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ ฯ
(ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน)


..........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะกัม-
มัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้


..........เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
..........ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา ฯ (ปฏิโลม)


..........พระอุปัชฌายะชักอังสะออกจากไตรสวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครอง
ผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระ
อาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะ
และศีลดังนี้


..........อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ,
..........อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ
เม ภันเต,

(นั่งลงคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)

อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
ทุติปยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,


ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไป ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ ฯ (ว่า ๓ หน)

 

..........แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ
ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อามะ ภันเต ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาว่า
สรณคมน์ พึงว่าตามไปทีละพากย์ดังนี้


....................พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
....................ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
....................สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..........ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


..........เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่า
อามะ ภันเต ลำดับนั้นพระอาจาราย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็น
สามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ต่อแต่นั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐
ประการ ว่าตามท่านไปดังนี้


..........ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมา-
ทิยามิ
..........วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมา-
ทิยามิ
..........มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานาเวระมะณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
..........อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมา-
ทิยามิ
..........ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ ฯ
..........อิมาทิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ฯ ข้อ อิมานิ นี้ว่า ๓ จบ
แล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นว่า
..........วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา
กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง,
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ คุกเข่ากราบ ๓ หน


..........ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆ-
สันนิบาต วางไว้ข้างตัวซ้ายรับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบลง
๓ หน ยืนปะนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้


..........อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทานิ ฯ,
..........อุกาสะ การุญญัง กัตวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต,

(นั่งคุกเข่า)

........อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,
..........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ ฯ
..........อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ฯ วรรคนี้ว่า ๓ หน เมื่อพระ
..........อุปัชฌาย์ว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ, แล้วสามเณร
พึงกล่าวรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ฯ ในระหว่าง ๆ ๓ หน แล้วว่าต่อ
..........อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
วรรคนี้ว่า ๓ หน แล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นว่าต่อ
..........วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา
กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ, คุกเข่ากราบ ๓ หน


..........ตั้งแต่ อุปัชฌาโย ฯลฯ เถรัสสะ ภาโร ๓ วรรค นี้ พระ
อุปัชฌายะบางองค์ให้ว่ารวดเดียวตามแบบนั้นก็มี ให้ว่าเป็นตอน ๆ ดังนี้คือ
เมื่อสามเณรว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ๓ หน แล้วพระ
อุปัชฌายะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ,
บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ทุกบทไปแล้วสามเณร
พึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่า อัชชะตัคเคทานิ ฯลฯ ภาโร ๓ หน ฯ ก็มี
ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะหรือพระกรรมวาจาจารย์เอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้
มุ่งอุปสมบทแล้วบอกบาตรและจีวร ผู้มุ้งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต,
๔ หน ดังนี้


..........ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ อุปัชฌัง คาหาเปตวา ปัตตะ
จีวะรัง อาจิกขิตัพพัง
..........คำบอกบาตรจีวร.............................. คำรับ
..........๑. อะยันเต ปัตโต ....................อามะ ภันเต
..........๒. อะยัง สังฆาฏิ ....................อามะ ภันเต
..........๓. อะยัง อุตตะราสังโค .............อามะ ภันเต
..........๔. อะยัง อันตะระวาสะโก ..........อามะ ภันเต


..........ต่อจากนั้น พระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอก ว่า คัจฉะ
อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้
พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรา-
ยิกธรรม พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้


ถาม ......................................................................ตอบ
๑. กุฏฐัง......................................................... นัตถิ ภันเต
๒. คัณโฑ ..................................................นัตถิ ภันเต
๓. กิลาโส ..................................................นัตถิ ภันเต
๔. โสโส .........................................................นัตถิ ภันเต
๕. อะปะมาโร ..................................................นัตถิ ภันเต
๑. มะนุสโสสิ๊ ..................................................อามะ ภันเต
๒. ปริโสสิ๊......................................................... อามะ ภันเต
๓. ภุชิสโสสิ๊.................................................. อามะ ภันเต
๔. อะนะโณสิ๊.................................................. อามะ ภันเต
๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ ........................................อามะ ภันเต
๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ ..............................อามะ ภันเต
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ ..............................อามะ ภันเต
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง.................................. อามะ ภันเต
๑. กินนาโมสิ ..................................................อะหัง ภันเต........................
......................................................................นามะ
๒. โก นามะ เต อุปัชฌาโย ..............................อุปัชฌาโย เม ภันเต
......................................................................อายัสมา.............................
.......................................................................นามะ
..........ช่องที่..............ไว้ พระอุปัชฌายะ หรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของ
อุปสัมปทาเปกขะกรอบลงช้องให้ไว้ก่อนวันบวช


..........และช่องที่ ........ ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌายะก็เช่นเดียวกัน ให้
กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌายะ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช


..........ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะ
เข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้า
พระอุปัชฌะ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท
ว่าดังนี้


..........สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต,
สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ


..........ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ
มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,


..........ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ
มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,


..........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์สวด
สมมติตนถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะพึงรับว่า นัตถิ ภันเต
๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน บอกชื่อตนและชื่อพระอุปัชฌายะรวม
๒ หน เหมือนที่กล่าวแล้วในหนหลัง ฯ แต่นั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจา
อุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว แล้วพึงกราบลง
๓ หน แต่นั้นพึงนั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์
ไปจนจบ แล้วรับว่า อามะ ภันเต เป็นเสร็จพิธีอุปสมบท แล้วกราบ
พระอุปัชฌายะ ๓ หน ถ้ามีไทยทายถวายก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ
เสร็จแล้วคอยฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไป เมื่อพระอนุโมทนา พึงกรวดน้ำ
ตั้งใจอุทิศบุญกุศลส่วนนี้ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณ เมื่อพระว่า ยะถา จบ ก็
เทน้ำโกรกลงให้หมด ต่อนั้นประนมมือฟังอนุโมทนาไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี.


จบพิธีอุปสมบทแบบอุกาสะ

ที่มา  http://www.dhammajak.net/suadmon1/28.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิธีบรรพชาอุปสมบท แบบเอสาหัง(ฝ่ายธรรมยุต)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 07:02:35 pm »
0
วิธีบรรพชาอุปสมบท แบบเอสาหัง(ฝ่ายธรรมยุต)     

.........วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง
กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งอุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปใน
สังฆสันนิบาต วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระ
อุปัชฌายะ แล้วกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งแล้วนั่งคุกเข้าอุ้มผ้าไตร
ประนมมือเปล่งวาจา ถึงสรณะและขอบรรพชาด้วยคำมคธ หยุดตามจุดจุลภาค
ว่า
.........เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง
คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะ-
วะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

.........ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระ-
ณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ
ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

.........ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง
สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ
ภะคะวะโต,ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสังปะทัง

.........อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ
คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ

.........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายามิ
วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
.........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ

วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ

.........ถ้าบวชเป็นสามเณร ยกคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออกเสีย

.........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะรับเอาผ้าไตรจากผู้มุ่งบรรพชาวางไว้ตรง
หน้าตัก แล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัยเป็นต้น และบอก ตะจะปัญจะกะกัม-
มัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้

.........เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
.........ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

.........ครั้นสอนแล้วพระอุปัชฌายะชังอังสะออกจากไตร สวมให้แล้ว สั่งให้
ออกไปครองไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับ
เครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่า ประนมมือเปล่งวาจา
ขอสรณะและศีลดังนี้

........................อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
.........ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไป
ดังนี้

.........นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธสสะ
ว่า ๓ หน

.........แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ
ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อามะ ภันเต

.........ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณคมน์ตามไปทีละพากย์ดังนี้
..................พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
..................ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
.
........เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่า
อามะ ภันเต ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็น
สามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ทีนั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการ
ว่าตามท่านไปดังนี้
.
.................ปาณาติปาตา เวระมะณี
..................อะทินนาทานา เวระมะณี
..................อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี
..................มุสาวาทา เวระมะณี
..................สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
..................วิกาละโภชะนา เวระมะณี
..................นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี
..................มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
..................อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี
..................ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี
..................อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ฯ (ว่า ๓ หน)

.........ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะใน
สังฆสันนิบาตวางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ
๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้

...........................อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
..................อุปัชฌาโย เม ภันเต, โหหิ ว่า ๓ หน

.........พระอุปัชฌายะกล่าวว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ
สัมปาเทหิ บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า สาธุ ภันเต ทุกบทไป แต่นั้น
สามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่าดังนี้

.........อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะภาโร
...........................ว่า ๓ หน เสร็จแล้วกราบลง ๓ หน

.........ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะแนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระ
อาจารย์ผู้เป็นกรรมวาจา เอาบาตรมีสายคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบท บอกบาตร
และจีวร ผู้มุ่งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต ๔ หนดังนี้

คำบอกบาตรจีวร       คำรับ
๑. อะยันเต ปัตโต………….อามะ ภันเต
๒. อะยัง สังฆาฏิ……………อามะ ภันเต
๓. อะยัง อุตตะราสังโค.......อามะ ภันเต
๔. อะยัง อันตะระวาสะโก....อามะ ภันเต................


.........ต่อจากนั้นพระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ
อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้
พระอาจารย์ท่านแสดงสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรา-
ยิกกรรม พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้

..ถาม             ตอบ

๑. กุฏฐัง………………………. นัตถิ ภันเต
๒. คัณโฑ……………………... นัตถิ ภันเต
๓. กิลาโส……………………... นัตถิ ภันเต
๔. โสโส………………………. นัตถิ ภันเต
๕. อะปะมาโร………………….. นัตถิ ภันเต

๑. มะนุสโสสิ…………………..   อามะ ภันเต
๒. ปริโสสิ…………………….    อามะ ภันเต
๓. ภุชิสโสสิ…………………...   อามะ ภันเต
๔. อะนะโณสิ๊ …………………   อามะ ภันเต
๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ…………….    อามะ ภันเต
๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ………    อามะ ภันเต
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊……...    อามะ ภันเต
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง….....อามะ ภันเต

๑. กินนาโมสิ…………………..  อะหัง ภันเต........................
……………………………..  นามะ
๒. โก นามะ เต อุปัชฌาโย………..  อุปัชฌาโย เม ภันเต
……………………………..1อายัสมา.............................
..............................................    นามะ

.........ถ้าตอบพร้อมกันให้เปลี่ยน เม เป็น โน
ช่องที่...ไว้ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของ อุปสัม-
ปทาเปกขะ กรอกลงช่องให้ไว้ก่อนวันบวช และช่องที่ ... ไว้ในช่องชื่อของ
พระอุปัชฌาย์ ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌายะ ซึ่งท่านจะ
บอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช

.........ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะ
เข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้า
พระอุปัชฌายะ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท
ว่าดังนี้

.........สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตู มัง ภันเต,
สังโฆ อะนุกัมปัง อุปายทายะ

.........ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุปะตุ
มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปทายะ

.........ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ
มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

.........ถ้าว่าพร้อมกันให้เปลี่ยน ยาจามิ เป็น ยาจามะ เปลี่ยน มัง
เป็น โน

.........ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว และพระอาจารย์
สวดสมมติตน ถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัถติ ภันเต
๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ตอบชื่อตนและอุปัชฌายะรวม ๒ หนโดย
นัยหนหลัง แต่นั้นนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบ
แล้วท่านเอายาตรออกจากตัง แล้วพึงกราบ ๓ หน นั่งพับเพียบประนมมือนั่ง
พระอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า อามะ ภันเต แล้วกราบ
๓ หน ถวายไทยทาน กรวดน้ำ เหมือนกล่าวแล้วในแบบ อุกาสะ

จบวิธีอุปสมบทแบบเอสาหัง

ที่มา  http://www.dhammajak.net/suadmon1/196.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธรรมยุติ & มหานิกาย เหมือนและต่างกันอย่างไร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 07:10:53 pm »
0
ธรรมยุติ & มหานิกาย เหมือนและต่างกันอย่างไร
 โดย นายธนวรรธน์  มานะทัต ( ทิดแทน ) 

คำถามนี้ยาก เพราะมันมีหลายเลเวลครับ ถ้าตอบแบบธรรมดาก็
 
1.สีจีวรต่างกัน
 
มหานิกายจะห่มสีส้มทอง แต่ธรรมยุติจะห่มสีเข้ม ที่เรียกว่า สีแก่นขนุน
แต่เดี๋ยวนี้ แยกออกมาอีกหลากหลาย มีทั้งแก่นทอง แก่นกลัก แก่นแดงพระป่า ฯลฯ
 
แต่ความต่างอันนี้ก็ไม่จำเป็น อีกแล้วครับ เพราะอย่างสายหลวงพ่อชา พระอาจารย์สุรศักดิ์ เองก็เป็นมหานิกาย ที่ห่มจีวรสีธรรมยุติ
 
อีกประการหนึ่งที่ทำให้สังเกตุยากในพิธีหลวง คือ สงฆ์สองนิกาย จะใช้จีวรสีพระราชนิยม (ที่เรียกบิดเบือนไปว่า สีพระราชทาน) เป็นสีกลางระหว่างสองนิกายครับ เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันเมื่อประชุมพร้อมกัน และไม่ทำให้เกิดความแตกแยกด้วยครับ
 
เกร็ด : เล่า ว่าสายพระป่าใช้สีจีวรออกแดง เพราะหลวงปู่มั่นท่านสงสัยว่าในสมัยพุทธกาล พระครองจีวรสีอะไรกัน และสีนี้ก็ปรากฏในสมาธิของท่าน จึงใช้ต่อๆกันมาเป็นอาจารียาวาสครับ
 
 
ประสพการณ์ : ขณะ ที่บวชอยู่ทราบว่าพระป่าท่านจะไม่ค่อยซักจีวรกัน เพราะใช้ด้วยความระมัดระวัง และด้วยข้อจำกัดของการอยู่ป่า ท่านจึงมักครองซักระยะ แล้วใช้ต้มจีวร พร้อมแก่นขนุน หรือสีสังเคราะห์ครับ
 
สีย้อมจีวรนี่คนนึกไม่ถึงกัน จึงไม่ค่อยได้ถวาย ขอแนะนำสีตรากิเลนครับ เพราะจะติดดี ใช้อัตราส่วน สีเหลืองทอง 2 กระป๋อง ต่อสีกรัก(สีอัลโกโซน) 1 กระป๋อง และบวกด้วยสีแดงนิดหน่อย ต่อจีวรหนึ่งผืนครับ
 
ใครอยากถวายของหาได้ยาก งานนี้ได้เลย โมทนาด้วยครับ

 
 
2.ครองจีวรต่างกัน
 
มหานิกายมักจะห่มดอง โดยสังเกตุได้ว่าจะพันผ้ารัดอกทับสังฆาฏิ และมือสองข้างเป็นอิสระ โดยเฉพาะในงานพิธีการ นอกจากนั้น  ก็ จะมีการห่มมังกร โดยหมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด ส่วนเมือถึงเวลาทำสังฆกรรมจะคาดผ้าที่หน้าอก และมีผ้าสังฆาฏิพาดที่ไหล่ซ้าย แต่เหลือน้อยวัดแล้ว เช่นที่วัดสะเกศ เป็นต้น
 
ส่วนธรรมยุติ จะห่มลูกบวบ โดยม้วนๆๆ ใส่ไว้ใต้รักแร้ข้างซ้าย เวลางานพิธีก็เพียงพันผ้ารัดอกทับไปเลย บางทีเรียกกันลำลองว่าห่มดองธรรมยุติ
 
แต่เดี๋ยวนี้ความต่างน้อยลงเพราะ  มีพระบัญชาของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมด อีก ประการที่เหมือนกันคือ พระไทยจะห่มคลุมไหล่ทั้งสองข้างเมื่ออยู่นอกวัด และลดไหล่ซ้ายยามอยู่ในวัด ซึ่งแตกต่างจากของพม่าที่ทำตรงข้ามกัน
 
 
3.ปัจจัย
 
อย่างที่ทราบกันว่า พระธรรมยุตินั้นจะไม่จับปัจจัย แต่สามารถรับใบโมทนาบัตรได้ ส่วนพระมหานิกายนั้น ไม่ถือในข้อนี้
 
ใน หนังสือบูรพาจารย์เล่าว่า หลวงปู่มั่น เคยออกปากไล่พระอาคันตุกะ เพราะนำอสรพิษติดตัวมาด้วย ตอนแรกพระท่านก็งง แต่นึกออกภายหลังว่านำเงินติดใส่ย่ามมาด้วย
 
ดร. สนอง วรอุไร ท่านสรุปว่าสองนิกายรับเงินได้ เพียงแต่มีวิธีคนและแบบเท่านั้นครับ
 
แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นนะครับ พระบางรูปท่านถือเรื่องเงินว่า เป็นเรื่องที่ท่านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย 
 
อย่างที่วัดมเหยงคณ์มีพระอาจารย์ที่ผมและทิดทั้งหลายนับถือมากท่านหนึ่ง ท่านไม่รับถวายปัจจัย ไม่ว่าในรูปแบบใดและข้าวของใดๆทั้งสิ้น นอกจากจำเป็นจริงๆ ท่านเป็นมหาเปรียญ ๗ ประโยค ผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก แต่เร่งความเพียรในการภาวนา และอยู่อย่างเรียบง่ายยิ่งนัก เป็นพระสุปฏิปัณโณที่แท้จริง และสอนจริงทั้งทฤษฏี และ ปฏิบัติ แต่จะหาตัวยาก เพราะท่านมักออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆโดยเดินไป และไม่อาจติดต่อได้
 
ขอออกนามท่าน  'พระอาจารย์มหาสุชาติ สุชาโต' ด้วยความเคารพเหนือเกล้า (จิตตอนนี้นึกถึงพระมหากัสปะผู้เป็นเลิศในธุดงควัตร)
 
แต่ การจับปัจจัย รับปัจจัยหรือไม่ ไม่อาจบ่งชี้ว่าท่านใดบริสุทธิ์หรือไม่นะครับ เพราะเป็นเพียงการแสดงออกของกายบัญญัติ มิใช่เจตนาปรมัตถ์ เช่นที่หลวงปู่แหวนเอาแบ๊งค์ห้าร้อยมามสนบุหรี่สูบ พระธรรมยุติสายป่าเองก็ปรับท่านอาบัติมิได้ โดยหลวงตามหาบัวท่านรับรองไว้
 

4.ฉันในบาตร
 
กริยานี้บางท่านก็ว่าเป็นข้อต่างของสองนิกาย เพราะธรรมยุติมักจะฉันในบาตร แต่พระมหานิกายรับบาตรแล้วแยกฉันในจาน
 
ข้อนี้ก็ตอบยากเพราะมีวัดธรรมยุติที่ไม่ใช่สายป่าบางวัดก็ฉันในจาน และพระมหานิกายบางรูปที่ถือธุดงควัตรข้อนี้ก็ฉันแต่ในบาตร
 
เกร็ด : ถ้าจะนำบาตรไปถวายพระป่า ควรเลือกปากกว้างซัก 9 นิ้ว และไม่มีขอบเพื่อกันเศษอาหารเข้าไปติดบูดเน่าได้นะครับ
 
5.การรับบาตร และเก็บอาหาร
 
พระสายป่าท่านจะเคร่งเรื่องนี้ครับ ว่ารับเฉพาะของที่ฉันได้ทันที ดังนั้นจะไม่รับของแห้งพวกข้าวสาร หรือของที่ฉันไม่ได้เช่น แปรงสีฟัน ใส่ในบาตร แม้เป็นเพียงการรับเชิงสัญลักษณ์ เช่นตักบาตรปีใหม่ ท่านจะเสี่ยงให้ถวายกับมือแทน หรือ ถวายเป็นสังฆทานกองรวมไป
 
และก็จะไม่เก็บอาหารพ้นกาล เช่น อาหารทั่วไป ถึงเที่ยง น้ำปานะ หนึ่งวัน เภสัชห้า (น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล เนยใส เนยข้น)เจ็ดวัน พ้นนี้ไปท่านไม่เก็บในกุฏิ แม้ไว้ให้ญาติโยม  และไม่มีการนำมาประเคนใหม่
 
แต่ก็ไม่ใช่พระทั้งหมดที่ทำตามข้อวัตรนี้ และผู้ที่ถือตามนี้ก็มีทั้งสองนิกายด้วยเช่นกัน
 
เกร็ด : พระอาจารย์เปลี่ยนท่านห่วงโยมว่าจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ เลยเมตตาเขียนไว้เป็นคู่มือการถวายของพระครับ
 
พุทธสาสนิกชนควรอ่านทำความเข้าใจนะครับ หนังสือมีคุณค่ามากๆเล่มนึง
 

6.พระธรรมยุติไม่ทำสังฆกรรมร่วมกับพระมหานิกายครับ
 
เช่น การลงอุโบสถ อย่างที่หลวงปู่มั่นให้หลวงปู่ชาทำ คือ มาบอกบริสุทธิ์ กับท่านหลังจากพระธรรมยุติรูปอื่นๆ ชำระศีลผ่านขั้นตอนปาฏิโมกข์เรียบร้อยแล้ว
 
จึงเห็นได้ว่า ลูกศิษย์ที่เคยเป็นสายมหานิกาย ต้องทำการญัตติ หรือบวชเป็นพระ เริ่มนับพรรษาใหม่
 
 
สรุป
การมองอย่างผิวเผินโดยการนำข้อวัตรของสองนิกายนี้มาเปรียบหา แต่ความแตกต่างกัน ทำได้ยากขึ้นทุกทีๆ เพราะมีการโน้มเข้ามาหากันมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจาก perception ที่ตั้งไว้ผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
 
และอีกอย่าง การคิดในการหาข้อต่างอย่างเดียวอาจเสี่ยงให้เกิดการยึดมั่นในศรัทธาต่อ นิกายหนึ่งนิกายใด จนลืมไปว่าธรรมะของพระองค์ไม่มีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็คือการมีตัวตนอยู่ในนั้น และสุดยอดของคำสอนคือการละตัวตนเพือมิให้มีกิเลสมาอาศัยเกาะได้
 
ถึงตรงนี้ต้องกราบหลวงปู่มั่นงามๆที่เล็งเห็นในอันตรายนี้จึงห้ามมิให้ลูกศิษย์บางส่วนเช่น หลวงปู่ชาญัตติเข้าธรรมยุติครับ
 
พระที่ดีน่านับถือ พระที่เป็นพระอริยะเจ้า พระที่นำสัตว์พ้นทุกข์ มีอยู่ในทุกๆนิกาย
ที่มีการรู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ใช่ไหมครับ

 

ที่มา  http://maha-oath.spaces.live.com/blog/cns!6D66525A182F717E!681.entry
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นปลื้ม มาก ๆ ที่เห็น คุณ nathaponson ตอบรายละเีอียด

จริืง ๆ ตามอ่านตั้งแต่เช้ายันค่ำ แล้ว ต้องยกนิ้ว ให้เลยว่า

เป็นนักบุญ ผู้แจกทาน จริง ๆ


อนุโมทนา คะ
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ส่งการบ้าน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 07:54:16 pm »
0
น้องหมวยนีย์ครับ ผมต้องขอโทษที่ใจร้ายไม่ตอบกระทู้ให้

ขอสัญญาว่า ครั้งหน้าจะไม่ใจร้ายกับใครอีกแล้ว

ครั้งนี้ผมกลับไปทำการบ้านมาใหม่ มาส่งให้น้องหมวยโดยเฉพาะ


ตอบคำถามที่ว่า "พระที่บวชมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร"

ผมได้เสนอบทความต่างๆไล่เรียง และลำดับความสำคัญให้แล้ว

ขอให้อ่านให้จบ ก็จะทราบคำตอบได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ไหนๆก็ช่วยมาขนาดนี้แล้ว ก็จะสรุปให้สักนิดหนึ่ง




การบวชแบบ อุกาสะ และ เอสาหัง มีความเหมือนหรือต่างกันดังนี้ครับ

๑.คุณสมบัติก่อนบวช
   ทั้งสองแบบไม่มีอะไรที่ต่าง (ตามความคิดของผมคนเดียว)

๒.พิธีบวช(ทั่วๆไป)
   เป็นไปตามประเพณีนิยมของแต่ละถิ่น ไม่แบ่งว่าจะบวชแบบไหน

๓.การขานนาค
   แตกต่างกันตามที่เสนอไปข้างต้น

๔.การแต่งกาย การรับปัจจัย การฉัน
   แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ตามบทความที่นำเสนอ)

๕.การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
   โดยภาพรวมแล้ว เอสาหัง(ธรรมยุต) เคร่งครัดกว่า




ส่วน "คนค้นกรรม 3" ยังไม่คลอดครับ เหตุและปัจจัยยังไม่สมดุลย์

การไปเก็บตัว ๙ วันที่ผ่านมา จะเก็บไปเล่าใน "คนค้นกรรม 3"


การช่วยหมวยนีย์ทำรายงาน ไม่ถือเป็นการรบกวนหรอกครับ ;)

ทุกสิ่งที่ผมโพสต์ในเว็บนี้ ผมถือว่า "เป็นการรับใช้พระอาจารย์สนธยา"



ขอให้ธรรมคุ้มครอง
 :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2010, 07:59:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คร้า

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง