ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 9 ต้นไม้ ปลูกในบ้าน "ฟอกอากาศ"  (อ่าน 641 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
9 ต้นไม้ ปลูกในบ้าน "ฟอกอากาศ"
« เมื่อ: มกราคม 25, 2020, 08:04:37 am »
0




9 ต้นไม้ ปลูกในบ้าน "ฟอกอากาศ"

วันนี้เรานำ ต้นไม้ฟอกอากาศ ในบ้าน มาฝากกันค่ะ เพราะอากาศช่วงนี้เรียกได้ว่าแย่มาก ๆ ไม่อยากจะออกไปไหนกันเลยใช่ไหม

สำหรับต้นไม้ฟอกอากาศที่เหมาะสำหรับปลูกภายในบ้าน ใครชอบต้นไหนรีบไปหากันมาปลูกเลยค่ะ เพราะว่าฝุ่นเยอะมากเราต้องพึ่งเจ้าต้นไม้พวกนี้แหละ

     @@@@@@

    1. ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกรนั้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นมังกรสั้น ลิ้นมังกรยาว ลิ้นมังกรลาย หรือเรียกว่าหอกพระอินทร์ ลิ้นมังกรมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบโผล่พ้นดินเป็นใบยาวแหลมคล้ายหอกแข็งตั้งตรงสูงประมาณ 1 เมตร ใบสีเขียว มีลายตามแนวขวาง ลิ้นมังกรยาวจะมีสีเหลืองบริเวณขอบใบเป็นแนวยาว ดอกมีสีขาวอมเขียว คุณสมบัติเด่นของลิ้นมังกรอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน




    2. พลูด่าง
พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารและบ้านเรือนมานานแล้ว ด้วยรูปใบและสีเขียวแต้มเหลืองที่ดูสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมันเลื้อยพันหรือห้อยย้อยลงมาดูอ่อนช้อยและเพิ่มความมีชีวิตชีวา แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศของพลูด่าง




    3. ยางอินเดีย
ในบรรดาต้นไม้ขนาดใหญ่ด้วยกันแล้ว ยางอินเดียเป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงแม้จะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นพืชที่คายความชื้นได้มาก และที่สำคัญเป็นพืชที่สามารถดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม



 
    4. เขียวหมื่นปี
เขียวหมื่นปีเป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้กระถางภายในบ้านเรือน หรือเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน ด้วยจุดเด่นที่เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มาก ทนทาน แม้ในที่ที่มีสภาพแห้งแล้งและความชื้นต่ำ รวมทั้งสามารถเจริญงอกงามได้ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย  เขียวหมื่นปีจะมีความสามารถในการดูดสารพิษไม่มากนัก คืออยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็มีอัตราการคายความชื้นสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ จึงเหมาะที่นำไปปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับดูดสารพิษอีกชนิดหนึ่ง..




   5. เดหลี
เดหลีเป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่งเป็นไม้ที่คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษภายในอาคาร เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวแกมเหลือง กาบหุ้มช่อดอกมีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว  เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีรีน เบนซีนและฟอร์มาดีไฮด์ และสามารถดูดได้ในปริมาณมาก



 
    6. เฟิร์นบอสตัน
เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร บอสตันเฟิร์นต้องการการดูแลพอสมควร เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำสีของใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงอย่างรวดเร็ว จึงควรหมั่นรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นหรือฉีดพ่นด้วยละอองน้ำสม่ำเสมอ เป็นไม้ประดับที่ช่วยทำความสะอาดให้แก่อากาศภายในได้ดีชนิดหนึ่ง สามารถดูดสารพิษได้มาก โดยเฉพาะสารจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่อาคารภายในอาคารได้เป็นอย่างดี




    7. ซานาดู
ชอบความชื้น ปลูกและดูแลค่อนข้างง่าย อายุการปลูกค่อนข้างยาวนาน สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดช่วงอายุการปลูกและยังช่วยฟอกอากาศอีกด้วย





    8. ไทรใบสัก
ต้นไทรใบสักนั้นไม่ยากนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องวางในตำแหน่งที่มีแสงแดดส่องเข้าถึงสักวันละ 3-5 ชั่วโมง หรือแดดรำไรตลอดทั้งวันก็ได้ อย่างเช่นริมหน้าต่าง ระเบียงหน้าบ้าน หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ หากมันไม่ได้รับแสงแดดเลย ใบจะหลุดร่วง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามันโดนแดดแรงๆ ตลอดทั้งวันก็จะทำให้ใบไหม้เป็นรอยด่างสีน้ำตาลได้ ไทรใบสักไม่ชอบน้ำแฉะ ดังนั้นอย่ารดน้ำให้ชุ่มมากเกินไปเพราะหากมีน้ำขังจะทำให้รากเน่าได้




    9. กวักมรกต
หลักๆแล้วกวักมรกตนางเป็นต้นไม้ขนาด เล็ก – กลาง สำหรับต้นไม้ปลูกในร่มเนอะ ไม่ได้ยืนต้นเหมือนไทรใบสัก ชั้นว่าไซส์ที่กำลังสวย วางมุมไหนในห้องแล้วก็ดูคูลไปหมดคือประมาณ 80-100 cm นะมีให้เลือกกัน 2 สีด้วยกันเนอะ คือสีเขียวและสีดำ ซึ่งสีที่แตกต่างกันหมายถึงราคาและการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน กวักมรกตสามารถผลิตออกซิเจนได้ในเวลากลางคืน



ครบแล้วนะคะ สำหรับ 9 ชนิด ต้นไม้ฟอกอากาศ ในบ้าน สำหรับปลูกภายในบ้าน คราวหน้าจะมาแนะนำต้นไม้ที่ปลูกภายนอกนะคะ รับรองว่าสวย ๆ และน่าสนใจมาก ๆค่ะ



ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/disease/192850.html
By cheewajitmedia ,23 January 2020
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ