ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"คำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ จากอาฏานาฏินคร"  (อ่าน 8416 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ตำนานอาฏานาฏิยปริตร

     อาฏานาฏิยปริตร คือ ปริตรของท้าวกุเวรผู้ปกครองนครอาฏานาฏา เพราะเป็นพระปริตรที่ท้าวกุเวรได้นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า
     พระปริตรนี้กล่าวพระนามของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
     รวมทั้งอ้างอานุภาพพระพุทธเจ้า และเทวานุภาพ มาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี


    มีประวัติว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ แขวงกรุงราชคฤห์
    ท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ, ท้าววิรุฬหก, ท้าววิรูปักษ์, ท้าวกุเวร(เวสสุวัณ) ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าในมัชฌิมยามแห่งราตรี  ขณะนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลว่า อมนุษย์บางพวกเลื่อมใสในพระองค์ บางพวกไม่เลื่อมใส ส่วนใหญ่มักไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์สอนให้ละเว้นจากอกุศลกรรม มีปาณาติบาต เป็นต้น แต่พวกเขาไม่สามารถจะเว้นได้ จึงไม่พอใจคำสอนที่ขัดแย้งกับความประพฤติของตน


     เมื่อภิกษุปฏิบัติธรรมในป่าเปลี่ยว อมนุษย์เหล่านั้นอาจจะรบกวนได้
     จึงขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องคุ้มครอง คือ "อาฏานาฏิยปริตร" ไว้ แล้วประทานแก่พุทธบริษัท เพื่อสาธยายคุ้มครองตน และเพื่อให้อมนุษย์เกิดความเลื่อมใสพระศาสนา


     จากนั้น ท้างกุเวรได้กราบทูลคาถา เป็นต้นว่า "วิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ.."
     เมื่อท้าวมหาราชเหล่านั้นเสด็จกลับแล้ว พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสแก่พุทธบริษัทในภายหลัง

     อาฏานาฏิยปริตรที่มีปรากฏในฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค(ที.ปา.๑๑/๒๗๕-๘๔/๑๖๙-๗๘) มีทั้งหมด ๕๑ คาถา แต่พระปริตรที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์ปรับปรุงในภายหลัง โดยนำคาถาในบาลี ๖ คาถาแรก แล้วเพิ่มคาถาอื่นที่อ้างพระพุทธคุณและเทวานุภาพ เพื่อเป็นสัจจวาจาพิทักษ์คุ้มครอง ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า พระเถระชาวลังกาเป็นผู้ปรับปรุงพระปริตรนี้(พระปริตรแปลพิเศษ ฉบับพม่า หน้า ๔-๕)

บทขัดอาฏานาฏิยปริตร
        อัปปะสันเนหิ  นาถัสสะ           สาสะเน  สาธุสัมมะเต
        อะมะนุสเสหิ  จัณเฑหิ            สะทา  กิพพิสะการิภิ
        ปะริสานัญจะตัสสันนะ             มะหิงสายะ  จะ คุตติยา
        ยันเทเสสิ  มะหาวีโร              ปะริตตัน ตัมภะณามะ เห ฯ

    พระมหาวีรเจ้าทรงแสดงพระปริตรใด เพื่อคุ้มครองพุทธบริษัทสี่ มิให้ถูกเบียดเบียนจากเหล่าอมนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบกระด้างอยู่เสมอไม่เลื่อมใสคำสอนของพระโลกนาถ อันบัณฑิตยกย่องว่าเป็นคำสอนที่ดี ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด
 
(อ่านต่อด้านล่าง)


ที่มา หนังสือพระปริตรธรรม (พระคันธสาราภิวงศ์ ธรรมาจริยะ, อภิวังสะ) วัดท่ามะโอ ลำปาง
ขอบคุณภาพจาก http://i845.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2023, 07:53:37 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

         
                            อาฏานาฏิยปริตร


    ๑. วิปัสสิสสะ จะ นะมัตถุ                    จักขุมันตัสสะ  สิรีมะโต
        สิขิสสะปิ จะ นะมัตถุ                       สัพพะภูตานุกัมปิโน
       ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงจักษุ ทรงพระสิริ
        ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง


   ๒. เวสสะภุสสะ จะ นะมัตถุ                  นฺหาตะกัสสะ  ตะปัสสิโน
        นะมัตถุ  กะกุสันธัสสะ                     มาระเสนาปะมัททิโน
       ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ
       ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้


   ๓.โกณาคะมะนัสสะ  นามัตถุ          พฺราหฺมะณัสสะ วุสีมะโต     
      กัสสะปัสสะ จะ นะมัตถุ      วิปปะมุตตัสสะ  สัพพะธิ
      ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปแล้วอยู่จบพรหมจรรย์
      ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเสลทั้งปวง

      ๔.อังคีระสัสสะ  นะมัตถุ                      สักฺยะปุตตัสสะ  สิรีมะโต
        โย  อิมัง  ธัมมัง เทเสสิ                  สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
        ขอนอบน้อมพระศากยะบุตรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพัณณรังสี 
        ผู้ทรงสิริ  ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง


  ๕.  เย จาปิ  นิพพุตา  โลเก                     ยะถาภูตัง  วิปัสสิสุง
        เต ชะนา  อะปิสุณาถะ                      มะหันตา  วีตะสาระทา
       อนึ่งพระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งตามความจริง
       พระอรหันต์เหล่านั้น ปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน


    ๖. หิตัง  เทวะมะนุสสานัง                     ยัง  นะมัสสันติ  โคตะมัง
        วิชชาจะระณะสัมปันนัง                   มะหันตัง  วีตะสาระทัง ฯ
       ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตรมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
       ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่สะทกสะท้าน


    ๗. เอเต  จัญเญ  จะ  สัมพุทธา                  อะเนกะสะตะโกฏิโย
        สัพเพ  พุทธาสะมะสะมา                    สัพเพ พุทธา  มะหิทธิกา
        พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่น
        ทุกพระองค์ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่


    ๘. สัพเพ  ทะสะพะลูเปตา                      เวสารัชเชหุปาคะตา
        สัพเพ เต  ปะฏิชานันติ                      อาสะภัง ฐานะมุตตะมัง
        พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณ และพระเวสารัชชญาณ
        ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐแกล้วกล้าของพระองค์


   ๙. สีหะนาทัง  นะทันเต  เต                  ปะริสาสุ  วิสาระทา
        พฺรัหฺมะจักกัง  ปะวัตเตนติ               โลเก  อัปปะฏิวัตติยัง
        พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ทรงปราศจากความครั่นคราม บันลือสีหนาท
        ในท่ามกลางพุทธบริษัท ประกาศรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผู้ใดจะคัดค้านได้


   ๑๐. อุเปตา  พุทธะธัมเมหิ                       อัฏฐาระสะหิ  นายะกา
        พาตติงสะลักขะณูเปตา-                  สีตานุพฺยัญชะนาธะรา
       พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ
        ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒  และพระอนุลักษณะ ๘๐


   ๑๑. พยามัปปะภายะ  สุปปะภา              สัพเพ  เต มุนิกุญชะรา
        พุทธา  สัพพัญญุโน  เอเต                 สัพเพ  ขีณาสะวา  ชินา
        พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระฉัพพัณณรังสีโดยหนึ่งวา
        ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐรู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะและเป็นผู้ชนะ


   ๑๒. มะหัปปะภา  มะหะเตชา                   มะหาปัญญา  มะหัพพะลา
        มะหาการุณิกา ธีรา                            สัพเพสานัง  สุขาวะหา
        พระองค์ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว มีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก
        มีความกรุณาใหญ่หลวง มั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง


   ๑๓. ทีปา นาถา  ปะติฏฐา  จะ                  ตาณา  เลณา  จะ ปาณินัง
        คะตี  พันธู  มะหัสสาสา                    สะระณา  จะ หิเตสิโน
        พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มครอง หลบภัยของเหล่าสัตว์
        ทรงเป็นที่ไป เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ และกระทำประโยชน์


   ๑๔. สะเทวะกัสสะ  โลกัสสะ                     สัพเพ  เอเต  ปะรายะณา
        เตสาหัง  สิระสา  ปาเท                      วันทามิ  ปุริสุตตะเม
        พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลกและเทวดา
        ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคลของพระพุทธจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
        ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ


   
   ๑๕. วะจะสา  มะนะสา เจวะ                     วันทาเมเต  ตะถาคะเต
         สะยะเน  อาสะเน  ฐาเน                      คะมะเน  จาปิ  สัพพะทา
         ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้น ในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

   ๑๖. สะทา สุเขนะ  รักขันตุ                       พุทธา  สันติกะรา  ตุวัง
        เตหิ  ตฺวัง  รักขิโต  สันโต                    มุตโต  สัพพะภะเยนะ  จะ
        ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประทานพระนิพพาน จงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ
        เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้ว ขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด


   ๑๗. สัพพะโรคา วินิมุตโต                    สัพพะสันตาปะวัชชิโต
        สัพพะเวระมะติกกันโต                       นิพพุโต  จะ  ตุวัง  ภะวะ
        ขอท่านจงปลอดจาก โรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง
        ไม่มีใครๆปองร้าย เป็นผู้สงบ


   ๑๘. เตสัง  สัจเจนะ สีเลนะ                 ขันติเมตตาพะเลนะ  จะ
         เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
         จงพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้ปราศจากโรค มีความสุข
         ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์  ศีล ขันติ และเมตตาธรรม


   ๑๙. ปุรัตถิมัสฺมิง ทิสาภาเค            สันติ  ภูตา  มะหิทธิกา
        เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ              อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
        เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศบูรพา จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

   ๒๐. ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค                      สันติ  เทวา มะหิทธิกา
        เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
        เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

   ๒๑. ปัจฉิมัสฺมิง  ทิสาภาเค                      สันติ นาคา  มะหิทธิกา
        เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
        เหล่านาคาผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

   ๒๒. อุตตะรัสฺมิง  ทิสาภาเค                     สันติ  ยักขา  มะหิทธิกา
         เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
         เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร  จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

   ๒๓. ปุรัตถิเมนะ  ธะตะรัฏโฐ                     ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
         ปัจฉิเมนะ  วิรูปักโข                          กุเวโร  อุตตะรัง  ทิสัง
         ท้าวธตรฐ เป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าววิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ
           ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร


   ๒๔. จัตตาโร  เต มะหาราชา                     โลกะปาลา  ยะสัสสิโน
         เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
         ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าว
         จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข


   ๒๕. อากาสัฏฐา  จะ ภูมัฏฐา                  เทวา นาคา  มะหิทธิกา
         เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
         ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตในอากาศและบนพื้นดิน
         จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข


   ๒๖. อิทธิมันโต จะเยเทวา      วะสันตา อิธะ สาสะเน
        เตปิ  อัมเหนุรักขันตุ                     อาโรเคนะ สุเขนะ จะ
        ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ในพระศาสนานี้  จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

   ๒๗. สัพพีติโย  วิวัชชันตุ                        สัพพะโรโค  วินัสสะตุ
         มา เต  ภะวัตฺวันตะราโย                   สุขี  ทีฆายุโก  ภะวะ
         ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวงจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตรายเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนยาว

   ๒๘. อะภิวาทะนะสีลิสสะ                                 นิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน
         จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ                         อายุ  วัณโณ  สุขัง พะลัง ฯ   
         ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ  ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์



ที่มา หนังสือพระปริตรธรรม โดยพระคันธสาราภิวงศ์ ธรรมาจริยะ, อภิวังสะ วัดท่ามะโอ ลำปาง
ขอบคุณภาพจาก http://www.siammongkol.com/,http://upic.me/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2023, 07:53:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๙. อาฏานาฏิยสูตร

๙. อาฏานาฏิยสุรา
สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
  พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ในราตรีหนึ่งท้าวมหาราชทั้งสี่ (๓.)พร้อมด้วยเสนารักษ์ คนธรรพ์ รุกขเทวดา ) , กุมภัณฑ์และนาค มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค.

    เมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ถวายบังคมแล้ว ท้าวเวสสุวัณ ( มีนามอย่างหนึ่งว่าท้าวกุเวร ) กราบทูลว่า มียักษ์ชั้นผู้ใหญ่ชั้นกลางชั้นต่ำ ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ไม่เลื่อมใสก็มี แต่ที่ไม่เลื่อมใสมีมาก เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพื่อเว้นจากฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์ , ประพฤติผิดในกาม , พูดปด, ดิ่มสุราเมรัย. พวกยักษ์เหล่านั้นไม่เว้นจากสิ่งเหล่านี้โดยมากจึงไม่ชอบ.

   มีสาวกของพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเสพเสนาสนะอันสงัดในป่า ซึ่งพวกยักษ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาค อาศัยอยู่ เพื่อคุ้มครองรักษารักษาเพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเรียนการรักษา ชื่ออาฏานาฏิยา เพื่อทำยักษ์เหล่านั้นให้เลื่อมใส . พระผู้มีพระมีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ.

   ท้าวเวสสุวัณจึงกล่าวการรักษา (๔.) ชื่ออาฏานาฏิยา. ใจความแห่ง “รักขา” นั้น เป็นถ้อยคำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ มีพระวิปัสสี เป็นต้น พระโคดมพุทธเจ้าพุทธเจ้าเป็นองค์ที่สุด พร้อมทั้งพรรณนาถึงคุณลักษณะของพระองค์. มีการกล่าวพรรณนาถึงท้าวมหาราชทั้งสี่องค์ ประจำทิศต่าง ๆ พร้อมด้วยบุตร ซึ่งเคารพ นมัสการพระพุทธเจ้า
.

   เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียน “ รักขา ” นี้ ท่องบ่นดีแล้ว อมนุษย์ใด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรมพ์ กุมภันฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน “ รักขา” นี้ จะเข้าพวกไม่ได้ จะชื่อว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ . พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์เหล่านั้น.

   พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง และทรงพระอนุญาตให้เรียน “รักขา” นี้ได้.
 
หมายเหตุ : พระสูตรนี้ เมื่อพิจารณาอย่างกว้าง ๆ ย่อมแสดงถึงความแข้มแข็งของพระพุทธศาสนา
             เป็นการเสนอหลักการให้ถอนความกลัว ต่อภูตผีปีศาจ ซึ่งคนสมัยนั้นยังเชื่อกันอยู่ทั่วไป
             เพราะเมื่อนายของพวกยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาคเองยังมาอ่อนน้อมกราบไหว้คุณความดีของพระพุทธเจ้า
             พวกบริวารก็แกะกะไม่ถนัดนัก เป็นการนำความดีชั้นสูงมาช่วยให้ผู้หวาดกลัวมีความอุ่นใจในคุณความดีที่ เหนือกว่า เท่ากับเอาชนะความชั่วด้วยความดี


(๓.) ท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ มีคนธรรพ์เป็นบริวารครองทิศบูรพา ; ท้าววิรุฬหก มีกุมภัณฑ์เป็นบริวาร ครองทิศทักษิณ; ท้าววิรูปักข์ มีนาคเป็นบริวาร ครองทิศประจิม ; ท้าวกุเวรหรือเวสสุวัณ มียักษ์เป็นบริวาร ครองทิศอุดร
(๔.) คำว่า “ รักขา” มีลักษณะเดียวกับ “ปริตร” คือสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัย


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
ขอบคุณภาพจาก http://i788.photobucket.com/



อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร(บางส่วน)

    ท้าวเวสวัณ ยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สำเร็จลงแล้ว  เมื่อจะแสดงการบริกรรม  พระปริตนั้นจึงกล่าวบทนี้ว่า  คนใดคนหนึ่ง. 
    ในบทเหล่านั้น บทว่า  เรียนดีแล้ว  ความว่า  อาฏานาฏิยรักษ์  อันผู้ใดผู้หนึ่ง  ชำระอรรถและพยัญชนะ  และเรียนด้วยดี. 
     บทว่า  เล่าเรียนครบถ้วน  ความว่า  ไม่ให้บทและพยัญชนะ  เสื่อมแล้วเล่าเรียนครบถ้วน. 

    ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่พระปริต ย่อมไม่เป็นเดช แก่ผู้กล่าวผิด อรรถบ้าง บาลีบ้าง  หรือว่าไม่ทำให้คล่องแคล่ว. พระปริตย่อม  เป็นเดชแก่ผู้ทำให้คล่องแคล่ว  ด้วยประการทั้งปวง  แล้วกล่าวแน่แท้.  แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ  แล้วกล่าวอยู่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์. 

    พระปริตย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งการออกไปจากทุกข์ แล้วกระทำเมตตาให้เป็น  ปุเรจาริก  กล่าวอยู่นั่นแล.

    บทว่า  ยักขปจาระ  คือผู้รับใช้ยักษ์.  บทว่า  วัตถุ  ได้แก่  วัตถุคือ  เรือน.
    บทว่า  ที่อยู่ได้แก่การอยู่เป็นนิจในเรือนนั้น.  บทว่า  สมิตึ  คือ  การสมาคม.
    บทว่า  อนฺวยฺหํ  ความว่า  ไม่ควรทำการอาวาหะ.  บทว่า  อวิวยฺหํ  ความว่า ไม่ควรวิวาหะกับเขา. ความว่า  ไม่พึงกระทำการอาวาหะ  หรือวิวาหะกับเขา.

    บทว่า  ด้วยคำบริภาษอันบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว  ความว่า  อมนุษย์ทั้งหลายพึงน้อมเข้าไป  ซึ่งอัตภาพของยักษ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีตาสีคล้ำ ผู้มีฟันเหลือง ดังนี้ แล้วบริภาษด้วยคำบริภาษอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ดังที่กล่าวแล้ว. 
    อธิบายว่า  พึงด่าถ้อยคำของยักษ์. 
    บทว่า  บาตรแม้เปล่า  ความว่า บาตรโลหะเช่นเดียวกับบาตรของภิกษุนั้นแหละ. ครอบบาตรนั้นบนศีรษะ
ตลอดถึงก้านคอ. เอาเสาเหล็กทุบบาตรนั้นในท่ามกลาง. 

    บทว่า จณฺฑา คือ โกรธ  รุทฺธา ได้แก่  ผิดพลาด. 
    บทว่า  รภสา  คือ  กระทำเกินเหตุ.
    บทว่า  ไม่เชื่อท้าวมหาราช  คือ  ไม่ถือเอาคำพูด  ไม่กระทำตามข้อบังคับ.
    บทว่า  เสนาบดี  ของท้าวมหาราช  คือ  เสนาบดียักษ์  ๒๘  ตน.


    บทว่า ปุริสกานํ  ปุริสกานํ  คือ  อนุศาสก์ของยักษ์เสนาบดี. 
    บทว่า  อวรุทฺธานาม  ความว่า  ปัจจามิตร  คือ  มีเวร. 
    บทว่า  พึงประกาศให้รู้  ความว่า ผู้ไม่สามารถจะกล่าวพระปริต ให้พวกอมนุษย์หลีกไปได้ ควรประกาศให้
ยักษ์ทั้งหลายรู้ ความว่า ให้ยักษ์เหล่านั้นรู้.
    ก็แต่ว่าพึงยืนอยู่ ณ ที่นี้แล้วกล่าวบริกรรมพระปริต.

    อันที่จริงไม่ควรสวด  อาฏานาฏิยสูตร  ก่อนทีเดียว. ควรสวดพระสูตรเหล่านี้ คือ เมตตาสูตร  ธชัคคสูตร  รตนสูตร  ตลอด  ๗  วัน. หากว่าพ้นไปได้ เป็นการดี. หากไม่พ้น ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร.  ภิกษุผู้สวดอาฏานาฏิยสูตรนั้น  ไม่ควรเคี้ยวแป้งหรือเนื้อ  ไม่ควรอยู่ในป่าช้า.
   
    ถามว่า เพราะเหตุไร. 
    ตอบว่า  พวกอมนุษย์จะได้โอกาส.  ที่ทำพระปริต ควรทำให้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม ปูอาสนะให้เรียบร้อย ณ ที่นั้น แล้วพึงนั่ง. 
    ภิกษุผู้กระทำพระปริต  อันชนทั้งหลายนำออกจากวิหารไปสู่เรือน ควรล้อมด้วยเครื่องป้องกัน คื อกระดาน  แล้วพึงนำไป. ไม่ควรนั่งสวดในที่แจ้ง. 
    ภิกษุควรปิดประตูและหน้าต่างแล้วจึงนั่ง  แวดล้อมด้วยมือเป็นอาวุธกระทำเมตตาจิต ในเบื้องหน้าแล้วสวด.  ควรให้รับสิกขาบทก่อน แล้วสวดพระปริตแก่ผู้ตั้งอยู่ในศีล. 


    แม้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะพ้นได้ ควรนำไปสู่วิหารให้นอนบนลานเจดีย์ ให้ทำอาสนบูชา ตามประทีป ปัดกวาดลานเจดีย์แล้วสวดมงคลกถา. ควรประกาศให้ประชุมทั้งหมด. ใกล้วิหาร มีด้านไม้ใหญ่ที่สุดอยู่  ควรส่งข่าวไป  ณ  ที่นั้นว่า  หมู่ภิกษุย่อมรอการมาของพวกท่าน. ชื่อว่าการไม่มาในที่ประชุมทั้งหมด จะไม่ได้รับ 
 
    แต่นั้นควรถามผู้ที่ถูกอมนุษย์สิงว่า  ท่านชื่อไร.
    เมื่อเขาบอกชื่อแล้ว  ควรเรียก  ชื่อทีเดียว. 
    ท่านควรปล่อยบุคคลชื่อนี้  เพราะส่วนบุญในการบูชาด้วยวัตถุมัดเอาไว้  และของหอม เป็นต้น 
    ส่วนบุญในการบูชาอาสนะ  ส่วนบุญในการถวายบิณฑบาตของท่าน  หมู่ภิกษุสวดมหามงคลกถาเพื่อประโยชน์แก่บรรณาการของท่าน ด้วยความเคารพในหมู่ภิกษุ  ขอท่านจงปล่อยเขาเถิด ดังนี้ 


    หากอมนุษย์ไม่ปล่อย  ควรบอกแก่เทวดาทั้งหลายว่า พวกท่านจงรู้ไว้เถิด อมนุษย์นี้ไม่ทำคำของพวกเรา  เราจักกระทำพุทธอาชญา ดังนี้

    ควรสวดพระปริต  นี้เป็นบริกรรมของคฤหัสถ์ก่อน  ก็ถ้าภิกษุถูกอมนุษย์สิง ควรล้างอาสนะ แล้วประกาศให้ประชุมกันทั้งหมด ให้ส่วนบุญในการบูชามีของหอมและดอกไม้เป็นต้น  แล้วพึงสวดพระปริตนี้เป็นบริกรรมของภิกษุทั้งหลาย. 
    บทว่า  พึงประชุมกัน  ความว่า  พึงประกาศให้เสนาบดียักษ์  ๒๘  คน  ประชุมกันทั้งหมด. 

    บทว่า  พึงบอกกล่าว ความว่า  พึงบอกกล่าวกับเทวดาทั้งหลาย  เหล่านั้นว่า ยักษ์นี้สิงดังนี้เป็นต้น. 
    บทว่า  ติดตาม  เป็นไวพจน์ของ
    บทว่า  สิง  อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ติด คือ ไม่ออกไป. 
    บทว่า  เบียดเบียน  ความว่า  เบียดเบียน ทำให้โรคกำเริบบ่อยๆ. 
    บทว่า  ทำให้เกิดทุกข์  คือ  ทำให้มีเนื้อและเลือดน้อย  ให้เกิดทุกข์. 
    บทว่า  ไม่ปล่อย  คือเป็นผู้ถูกจระเข้คาบ ไม่ปรารถนาจะปล่อย พึงบอกกล่าวเทวดาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้  บัดนี้เพื่อแสดงถึงยักษ์ที่ควรบอกกล่าว จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า แห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่าไหนดังนี้



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
ขอบคุณภาพจาก http://www.rueanthewalai.com/


อ่าน "อาฏานาฏิยสูตร" ได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๔๒๐๗ - ๔๕๐๐.  หน้าที่  ๑๗๓ - ๑๘๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4207&Z=4500&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=207
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2023, 11:25:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทสวดบทนี้ ใช้ทำอะไรได้บ้างครับ

สวดแล้วดีอย่างไร ครับ

หรือ ดูที่หมายเหตุ ที่แนบเข้ามา
 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2023, 07:54:16 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บทสวดบทนี้ ใช้ทำอะไรได้บ้างครับ

สวดแล้วดีอย่างไร ครับ

หรือ ดูที่หมายเหตุ ที่แนบเข้ามา
 :25:

   อาฏานาฏิยปริตร สวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย จากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข
   ในอาฏานาฏิยสูตร (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) ระบุไว้ว่า
   เมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียน “รักขา”(ปริตร) นี้ ท่องบ่นดีแล้ว
   อมนุษย์ใด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรมพ์ กุมภันฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง
   ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน“ รักขา” นี้ จะเข้าพวกไม่ได้
   จะชื่อว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ .
   พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีจะคอยชี้ความผิดของอมนุษย์เหล่านั้น.

    :25: 

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2023, 07:54:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ