ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากจะขอคำแนะนำและอุบายสมาธิ จากผู้รู้ว่าเราควรทำอย่างไร  (อ่าน 7971 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นำมาอีกครั้ง คิดว่าน่าจะได้คำตอบที่ดี ที่นี่ครับ



สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ทุกท่าน เนื่องจากเราเคยไปปฏิบัติธรรมโดยการดูลมหายใจเข้าออก แต่ไม่ได้ใช้คำบริกรรมใดๆ และกลับมาบ้านก็ยังทำด้วยวิธีดูลมหายใจเหมือนเดิม เห็นลมหายใจละเอียดขึ้นๆ จนเหมือนไม่ได้หายใจ ก็อยู่แค่นั้น ไม่ก้าวหน้า เราไปต่อไม่ถูกค่ะ

จนกระทั่งเราได้ไปกราบพระอาจารย์หลายๆ รูป ซึ่งส่วนใหญ่ท่านก็ให้แนะนำให้ภาวนาพุทโธแต่กลับมาทำแล้ว ฟุ้งซ่านและทำไม่ต่อเนื่อง  จึงได้ไปเรียนหลักสูตรสมาธิ ก็ใช้คำบริกรรม พุท -โธ แต่เหมือนจิตมันเคยชินการดูลมหายใจ พอลองภาวนาพุทโธ แล้วเหมือนจะยัง งงๆ กับตัวเองน่ะค่ะ ไม่รู้ว่าจะจับจุดตรงไหน เริ่มพุทโธช้าหรือเร็วอย่างไร

อยากจะขอคำแนะนำและอุบายจากผู้รู้ว่าเราควรทำอย่างไร

1.ความเร็วในการบริกรรม
2. การดูลมหายใจก็คือการบริกรรมใช่ไหมคะ เราสามารถพุทโธ ตามลมหายใจ เข้าออกได้ไหมคะ แต่บางทีจังหวะลมหายใจเข้าออกมันไม่เท่ากัน
และอีกข้อนึงคือ ปกติเราจะมีฐานคือรู้สึกอยู่ ตรงกลางลิ้นปี่ เวลาที่หายใจเข้าออก อย่างนี้ถูกต้องไหมคะ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

จากคุณ    : ศรารัศมิ์

 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลองเปลี่ยนฐานไปที่ใต้สะดือสองนิ้ว ก็คืออยู่ตํากว่าสะดือสองนิ้ว  ฐานนี้ตั้งมั่นได้ไว เข้าปีติได้ไว บริกรรมพุทโธ ไม่ต้องดูลมหายใจ และไม่ต้องตามลมหายใจ เข้าออกเดี๋ยวจะทิ้งฐานจิต ถ้าทิ้งฐานจิตเคว้งคว้างและฟุ้งซ่านง่าย   บริกรรมพุทโธใส่ลงไปอย่างเดียวเริ่มจากเร็วก่อน แต่ถึงบริกรรมเร็วก็ให้มีจังหวะสมําเสมอ ของพุทโธ  ถ้าบริกรรมไปแล้วพุทโธ มันยานของมันเองก็อย่าขาดพุทโธ อย่าหลับ ถ้าหลับตื่นมาต้องคว้าฐานจิตแล้วบริกรรมพุทโธต่อ
          ลองไปทําตามนี้ดู ถ้ารู้สึกพอใจ ก็ขอเชิญไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม จะได้พบครูบาอาจารย์แบบเป็นการเป็นงาน 
         ตอนนี้ยังทําแบบลูกผสมอยู่(ผสมตามใจตัว)
     ฐานจิตที่ลิ้นปี่เป็นนาม ไม่มีรูปผู้ฝึกใหม่ไม่ควรใช้ ควรตามครูบาอาจารย์ จะไปได้ดีกว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2012, 10:48:23 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
1.ความเร็วในการบริกรรม
2. การดูลมหายใจก็คือการบริกรรมใช่ไหมคะ เราสามารถพุทโธ ตามลมหายใจ เข้าออกได้ไหมคะ แต่บางทีจังหวะลมหายใจเข้าออกมันไม่เท่ากัน
และอีกข้อนึงคือ ปกติเราจะมีฐานคือรู้สึกอยู่ ตรงกลางลิ้นปี่ เวลาที่หายใจเข้าออก อย่างนี้ถูกต้องไหมคะ


 1.ความเร็ว ในการบริกรรม อานาปานสติ นะครับ ขึ้นอยู่กับการกำหนดตามลำัดับ เริ่มจากหายใจสั้น ก่อน และ เป็น ยาว จากนั้น ก็ประคองลมให้สงบระังับ ลง ซึ่ง อาจจะมีทั้งยาว และ สั้น หรือ ยาว ทั้งหมด หรือ สั้น ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ภาวนา

 ส่วนการภาวนา มือใหม่หัดเริ่ม ให้ใช้การนับ ( คณนา )  คู่ กับ การกำหนดจุด สัมผัส ( ผุสนา )ดังนั้น เริ่มจาก คู่ เข้าออก สตาร์ท ที่การนับ 1 - 5 ไป ถึง คู่ที่ 10 ตามกำลังบารมีภาวนา

 2. การดูลมหายใจ เข้าและออก เป็น สติ ไม่ใช่ บริกรรม ครับ คำบริกรรมคือการนับ ไม่มี พุทโธ ก็ได้ มีแต่การนับลมหายใจเข้า และ ออก การนับ พุทโธ เป็น พุทธานุสสติ ครับ  การมองเห็น การเข้าออกไม่เท่ากัน อันนั้นถูกแล้วครับ แต่การทำให้สงบระงับ ต้องอาศัยความฉลาดด้วยการประคองลมหายใจเข้าออก เรียกว่า การทำกายสังขาร ให้ระงับ ครับ ส่วนนี้


 ปกติ เมื่อเราหายใจเข้าออก จะมี ลม อยู่สองส่วน เรียกว่า ส่วนบน ส่วนล่าง

    ส่วนบน คือ ลมหายใจเข้า และ ออก จริง ๆ
    ส่วนล่าง คือ ลมปราณ ดังนั้นจุดตัดของลม อยู่ที่ปอด อันนี้คือส่วนบน
   
  เป็นกำลังใจให้ครับ สำหรับผู้ฝึก อานาปานสติ อยู่

   :25: :25: :25:


บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถ้ามุ่งมั่น เรื่อง ลมหายใจเข้า ออก คือ อานาปานสติ ก็เจริญตามแบบฉบับอานาปานสติ ไปควรเรียนกับท่านที่ภาวนาอานาปานสติ โดยตรงเลย

  สำหรับการใช้คำ บริกรรม นั้นจะใช้ พุทโธ ก็ได้ แต่ นิมิต ที่ใช้อยู่ก็ยังต้องเป็นลมหายใจเข้า และลมหายใจออก อยู่เช่นเดิม และก็ตั้งใช้ไปจนกระทั่งถึงขั้นสุดท้าย เช่นกัน

  ถ้ายังไม่แน่นในอานาปานสติ และ มีจิตคิดใช้คำว่า พุทโธ อยู่แล้ว ควรมาเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับก่อนก็จะดีนะ เพราะอานาปานสติ นั้นเป็นห้องที่ สี่ มีอานุภาพ ทั้งกาย และ จิต มาก

  อนุโมทนา เจริญพร

  ;)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2012, 09:54:05 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตามคำขอร้องทางเมล ให้ช่วยปูทางสำหรับผู้ที่ยังต้องการภาวนา แบบอานาปานสติ หรือ สติปัฏฐาน แบบทั่วๆ ไป ซึ่งความเป็นจริง ยังไม่่แนะนำเพราะ ศรัทธาอาจจะไม่เพียงพอต่อการภาวนา แต่ก็ขอแสดงไว้ตามหลัก มหาสติปัฏฐาน ในเบื้องต้นก่อนพอเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ บุคคลทั่วไป


       พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๙.  มหาสติปัฏฐานสูตร]
       กายานุปัสสนา

  เล่มที่ 10 หน้า 302



  กายานุปัสสนา
  (การพิจารณากาย)
  หมวดลมหายใจเข้าออก
            [๓๗๔]    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่    อย่างไร
            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี    ไปสู่โคนไม้ก็ดี    ไปสู่เรือนว่างก็ดี    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง    ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า    มีสติหายใจเข้า    มีสติหายใจออก

                              เมื่อหายใจเข้ายาว    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจเข้ายาว’
                              เมื่อหายใจออกยาว    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจออกยาว’
                              เมื่อหายใจเข้าสั้น    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจเข้าสั้น’
                              เมื่อหายใจออกสั้น    ก็รู้ชัดว่า   ‘เราหายใจออกสั้น’
                              สำเหนียกว่า    ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง    หายใจเข้า’
                              สำเหนียกว่า     ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง    หายใจออก’
                              สำเหนียกว่า    ‘เราระงับกายสังขาร๑    หายใจเข้า’
                              สำเหนียกว่า     ‘เราระงับกายสังขาร    หายใจออก’


              ภิกษุทั้งหลาย    ช่างกลึง    หรือลูกมือช่างกลึงผู้มีความชำนาญ    เมื่อชักเชือกยาวก็รู้ชัดว่า    ‘เราชักเชือกยาว’    เมื่อชักเชือกสั้น    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราชักเชือกสั้น’    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
 
                              เมื่อหายใจเข้ายาว    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจเข้ายาว’
                              เมื่อหายใจออกยาว    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจออกยาว’
                              เมื่อหายใจเข้าสั้น    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจเข้าสั้น’
                              เมื่อหายใจออกสั้น    ก็รู้ชัดว่า    ‘เราหายใจออกสั้น’
                              สำเหนียกว่า    ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง    หายใจเข้า’
                              สำเหนียกว่า    ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง    หายใจออก’
                              สำเหนียกว่า    ‘เราระงับกายสังขาร    หายใจเข้า’
                              สำเหนียกว่า    ‘เราระงับกายสังขาร    หายใจออก‘

            ด้วยวิธีนี้    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายใน๓อยู่    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก อยู่    หรือพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด (แห่งลมหายใจ) ในกายอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับ  (แห่งลมหายใจ)    ในกายอยู่    หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับ (แห่งลมหายใจ)    ในกายอยู่

            หรือว่า    ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า    ‘กายมีอยู’    ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ    เจริญสติเท่านั้น    ไม่อาศัย    (ตัณหาและทิฏฐิ)    อยู่    และไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไร  ๆ    ในโลก

            ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่    อย่างนี้แล

               หมวดลมหายใจเข้าออก จบ






ในหมวดการภาวนา พิจารณากาย อาศัย สติ เป็นเครื่องรู้ มิใช่กำหนด นิมิต ในกายานุปัสสนา นั้นต้องการเพียงแค่ การกำหนดรู้ และ กำหนดสำเหนียก สองประการ ถ้าสองประการนี้ชัดแจ้ง ปัญญา ก็จะวาง รับทราบว่่า กายมีอยู่ ก้เพียงพื่อ เจริญญาณ เจริญสติ และ เพราะเหตนี้เอง สัมปชัญญะ ที่ตื่นอยู่ ก็จะละ ตัณหาทิฏฐิ เห็นว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ในโลกต่อไป กำลังที่ใช้เป็นกำลัง แห่งสติ ด้วยตรง เพื่อพอกพูนปัญญา เหตุอาศัยสมาธิเพียงเล็กน้อยคือ ตั้งแต่่ อุปจาระสมาธิ เป็นเครื่องดำเนิน ความรู้ การกำหนดรู้ และ พึงสำเหนียกในการกำหนดรู้

  เจริญธรรม น่าจะพอเข้าใจนะจ๊ะ


   ;)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2012, 11:14:11 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


   กลอนนี้ได้ยินมาว่า พระอาจารย์แต่งไว้ก่อนเพลง ปณิธานเพือเผยแผ่พระกรรมฐาน นะคะ
  สาธุ สาธุ สาธุ คะ  อ่านแล้วน่าจะเป็นเพลงได้คะ แต่ อ่านแล้วก็เหมือนคำเตือนเรื่องการภาวนาให้มากนะคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ด้วยคะ ที่พระอาจารย์แนะนำเรื่อง อานาปานสติ ไว้หลายที่ในส่วนของบอร์ดนะคะ

  :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ให้ท่านทั้งหลายทบทวน ถ้าต้องการฝึก อานาปานสติ กันควรจะเข้าใจกันบ้างนะจ๊ะ

 เจริญธรรม / เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


  พิจารณาภาพ และ คำกลอน ผมว่า พระอาจารย์ต้องการสื่อ ธรรมอะไรบางอย่างนะครับ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่