ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเดินจงกรมธาตุ ในอรรถกถา...?  (อ่าน 3218 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การเดินจงกรมธาตุ ในอรรถกถา...?
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 11:13:07 am »
0

การเดินจงกรมธาตุ
ยกเอา "อรรถกถาขัคควิสาณสูตร" มาแสดงบางส่วน


      กรรมฐาน ๒ อย่าง

    ชื่อว่ากรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ
          สัพพัตถกกรรมฐาน ๑
          ปาริหาริยกรรมฐาน ๑.
 
    เมตตาและมรณสติ ชื่อว่า สัพพัตถกกรรมฐาน กรรมฐานนั้นเรียกว่า สัพพัตถกะ เพราะเป็นกรรมฐานอันพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง.
    ชื่อว่าเมตตา พึงปรารถนาในที่ทั้งปวงมีอาวาส เป็นต้น.

    จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตาในอาวาส ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของสพรหมจารีทั้งหลาย อันเพื่อนพรหมจารีนั้นไม่กระทบกระทั่งถึงผาสุกอยู่.
    ผู้อยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลายอันเหล่าเทวดารักษาคุ้มครองแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข.
    ผู้อยู่ด้วยเมตตาในพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น อันท่านเหล่านั้นนับถือแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข.
    ผู้อยู่ด้วยเมตตาในบ้านนิคมเป็นต้นอันมนุษย์ทั้งหลายในที่ทั้งปวงมีที่เป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกขาเป็นต้น สักการะเคารพแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข.
    ผู้ละความใคร่ในชีวิตด้วยการเจริญมรณานุสติ ไม่ประมาทอยู่.


    ก็กรรมฐานใดอันภิกษุพึงบริหารทุกเมื่อ ยึดถือแล้วโดยสมควรแก่จริตหรือจตุธาตุววัฏฐานกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอสุภะ ๑๐ กสิณ ๑๐ และอนุสติ ๑๐ เป็นต้น กรรมฐานนั้นเรียกว่า ปาริหาริยะ เพราะเป็นกรรมฐานอันภิกษุพึงบริหาร พึงรักษาและพึงเจริญทุกเมื่อ.
    ปาริหาริยกรรมฐานนั้นนั่นแล เรียกว่า มูลกรรมฐาน ดังนี้บ้าง.





      จตุธาตุววัฏฐานกรรมฐาน

    ในกรรมฐานทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุมนสิการสัพพัตถกกรรมฐานก่อน แล้วมนสิการปาริหาริยกรรมฐานใดในภายหลัง ข้าพเจ้าจักแสดงปาริหาริยกรรมฐานนั้น โดยจตุธาตุววัฏฐานเป็นประธาน.

    ด้วยว่า ภิกษุนี้พิจารณากายตามที่ดำรงอยู่ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความเป็นธาตุ มนสิการกรรมฐานโดยเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดอย่างนี้ว่า
    - ธาตุใดแข้นแข็งใน ๒๐ ส่วนซึ่งมีอยู่ในกายนี้ ธาตุนั้นชื่อว่า ปฐวีธาตุ.
    - ธาตุใดทำหน้าที่เอิบอาบถึงความเป็นของเหลวใน ๑๒ ส่วน ธาตุนั้นชื่อว่า อาโปธาตุ.
    - ธาตุใดทำความอบอุ่น ถึงความเป็นไออุ่นใน ๔ ส่วน ธาตุนั้นชื่อว่า เตโชธาตุ.
    - ส่วนธาตุใดทำการค้ำจุนมีลักษณะพัดไปมาใน ๖ ส่วน ธาตุนั้นชื่อว่า วาโยธาตุ.
    - ก็ในกายนี้ ธาตุใดอันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นช่องว่าง ธาตุนั้นชื่อว่า อากาสธาตุ.
    - จิตซึ่งเป็นตัวรู้นั้น ชื่อว่า วิญญาณธาตุ.

    สัตว์หรือบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากธาตุทั้ง ๖ นั้น หามีไม่
    สัตว์หรือบุคคลนี้ก็คือ กองแห่งสังขารล้วนๆ เท่านั้น ดังนี้
    รู้กาล ลุกขึ้นจากอาสนะ นุ่งแล้วไปบ้านเพื่อบิณฑบาต โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

    ก็เมื่อจะไปไม่หลงงมงาย เหมือนปุถุชนคนบอดทั้งหลายหลงงมงายอยู่ว่าในการก้าวไป เป็นต้น
    ตนย่อมก้าวไป การก้าวไปของตนเกิดแล้ว ดังนี้
    หรือว่าเราย่อมก้าวไป การก้าวไปอันเราให้เกิดแล้วดังนี้
    ย่อมไปมนสิการอยู่ซึ่งกรรมฐานอันบริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง อย่างนี้ว่า





     การยกเท้า การลงเท้า การคู้เข้าและการเหยียดออก

    ธาตุทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละประการ บรรดาประการทั้งหลาย มีการยกเท้าขึ้นแต่ละข้าง เป็นต้น อย่างนี้ว่า
    เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราย่อมก้าวไป วาโยธาตุพร้อมทั้งสัมภาระซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับจิตนั้น วาโยธาตุนั้นย่อมแผ่ทั่วร่างกระดูก ซึ่งสมมติกันว่ากาย อันเป็นธาตุซึ่งสั่งสมมาจากปฐวีธาตุ เป็นต้นนี้
    ต่อจากนั้น ร่างกระดูกซึ่งสมมติว่ากายนี้ ก็ก้าวไปด้วยการแผ่ไปแห่งจิตกิริยาวาโยธาตุ เมื่อร่างกระดูกนั้นก้าวไปอยู่อย่างนี้.


    ในการยกเท้าแต่ละข้างขึ้น ในบรรดาธาตุสี่ เตโชธาตุซึ่งร้อนไปตามวาโยธาตุ ก็มีพลังยิ่งขึ้น ธาตุนอกนี้อ่อน
    แต่ในการนำไป การนำมาและการนำออกทั้งหลาย วาโยธาตุซึ่งพัดไปตามเตโชธาตุ ก็มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ธาตุนอกนี้ ก็มีกำลังอ่อน.


     แต่ในการลง อาโปธาตุซึมซาบไปตามปฐวีธาตุ มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ส่วนธาตุนอกนี้อ่อน.

    ในการคู้เข้าและการเหยียดออก ปฐวีธาตุซึ่งได้รับการอุดหนุนจากอาโปธาตุ มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ธาตุนอกนี้มีกำลังอ่อน.
     ธาตุเหล่านั้นย่อมแตกไปในที่นั้นๆ นั่นแล พร้อมกับจิตที่ทำตนให้เกิดขึ้นนั้นๆ ด้วยประการฉะนี้


      ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

      ในธาตุทั้งสี่นั้น ใครคนหนึ่งย่อมก้าวไป หรือการก้าวไปของใคร ดังนี้ และรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งถูกธาตุทั้งสี่นั้นครอบงำ จิตซึ่งยังรูปธรรมนั้นให้บังเกิดขึ้น และอรูปธรรมที่เหลือซึ่งสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
      รวมความว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงประการอื่นในอาการทั้งหลาย มีการนำไปและการนำมา เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือไปจากรูปธรรมและอรูปธรรมนั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้นๆ นั่นเทียว
      เพราะฉะนั้น ธาตุทั้งหลายจึงไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ดังนี้.


อ้างอิง :-
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค ขัคควิสาณสูตร
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=296&p=1
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6971&Z=7101
ขอบคุณภาพจาก
http://i.ytimg.com/
http://www.bansawangjai.com/
http://mpics.manager.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์ 8 ประการ การเจริญจตุธาตุววัตถาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 11:37:16 am »
0



อานิสงส์ 8 ประการ การเจริญจตุธาตุววัตถาน

พระโยคาพจรกุลบุตรผู้จำเริญจตุธาตุววัตถาน เมื่อพิจารณาธาตุทั้ง ๔ โดยมนสิการแต่ละอันๆ โดยนัยดังพรรณนามานี้ ธาตุทั้งหลายก็จะปรากฏแจ้ง เมื่อธาตุปรากฏแล้ว กระทำมนสิการไปเนืองๆ ก็สำเร็จอุปจารสมาธิ พระ กัมมัฏฐานอันนี้ได้นามบัญญัติว่าชื่อว่า จตุธาตุววัตถาน เพราะเหตุว่า บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งปัญญาที่กำหนดธาตุทั้ง ๔

พระโยคาพจรกุลบุตรผู้ประกอบซึ่งจตุธาตุววัตถานนี้
    - ย่อมมีจิตอันหยั่งลงสู่สุญญตารมณ์
    - เห็นว่าร่างกายมีสภาวะสูญเปล่า
    - แล้วก็เพิกเสียได้ซึ่งสัตตสัญญา คือ สำคัญว่าสัตว์
    - เมื่อเพิกสัตตสัญญาเสียได้แล้วก็อาจจะอดกลั้นซึ่งภัยอันพิลึก อันเกิดแต่เนื้อร้ายและผีเสื้อเป็นอาทิ
    - แล้วก็ปราศจากโสมนัสและโสมนัสในอิฏฐารมณ์
    - จะประกอบด้วยปัญญาเป็นอันมาก
    - อาจจะสำเร็จแก่พระนิพพานเป็นที่สุด
    - แม้ยังมิสำเร็จแก่พระนิพพาน ก็จะมีสุคติเป็นเบื้องหน้า


นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงอุตสาหะเสพซึ่งจตุธาตุววัตถาน อันมีอานุภาพเป็นอันมากดังพรรณนามาฉะนี้ ฯ


อ้างอิง :-
คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค สมาธินิเทศ เล่ม ๒ หน้า ๒๐ จาก
http://www.larnbuddhism.com/visut/2.20.html





    อานิสงส์ 8 ประการที่ได้รับจากการเจริญธาตุทั้ง 4
    1. สุญฺญตํ อวคาหติ อนัตตลักขณะปรากฏทางใจ
    2. สตฺตสญฺญํ สมุคฺฆาเฏติ ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ชาย หญิง เสียได้
    3. ภยเภรวสโห โหติ ไม่มีการหวาดกลัวต่อภัยใหญ่น้อย ที่เนื่องมาจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ มีจิตใจ คล้ายจะเป็นพระอรหันต์
    4. อรติรติสโห โหติ สามารถละความไม่ยินดีในการงานที่เป็นคันถธุระ วิปัสสนาธุระ ทั้งสามารถ ละความยินดีในกามคุณอารมณ์เสียได้
    5. อิฏฺฐานิฏฺเฐสุ อุคฺฆาฏนิคฺฆาฏํ น ปาปุณาติ ไม่มีการรื่นเริงสนุกสนานจนลืมตัวในอารมณ์ที่น่ารัก และไม่มีการอึดอัดขุ่นหมองใจในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก
    6. มหาปญฺโญ โหติ เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางมาก
    7. อมตปริโยสาโน โหติ มีพระนิพพานเป็นที่สุดในภพนี้
    8. สุคติปรายโน โหติ ถ้ายังไม่เข้าสู่พระนิพพานในภพนี้ ก็มีสุคติภูมิเป็นที่ไปในภพหน้า


ที่มา : บทที่ 5 จตุธาตุววัตถาน
http://book.dou.us/doku.php?id=md407:5
ขอบคุณภาพจาก
http://www.larnbuddhism.com/
http://boonyapalung.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การเดินจงกรมธาตุ ในอรรถกถา...?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 06:35:03 pm »
0

        ครูอาจารย์ กล่าวไว้ว่ามี หลายขั้น เรื่องการเดินจงกลมนี้

         ขั้นสูงสุด ชื่อ  นวโลกตระธรรม 9

           ใครเคยดูภาพยนต์ เรื่อง หลวงปู่โตบ้าง

           ที่ครูให้จับชายจีวร แล้วหลับตา พาไปด้วยฤทธ์ของครู เอาไปสอนในป่าภาคเหนือ

             หลวงปู่แสง  เดิน 3ก้าว   พาปู่โตไปส่งเมืองเขลางค์นคร(ลําปาง)

                 สอนวิชชาเสร็จ  แล้วปล่อยทิ้ง   พอปู่โตสําเร็จ วิชชา เดินกลับ 3วัน

                       เล่าพอเป็นน้ำจิ้มเน๊าะ


            ครูของเรา เคยเล่าว่า...ให้สังเกตุดู

                                     ตอนพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ สร้างภูมิบาทแห่งฤทธิ์ แสดงด้วยวิธีเดินจงกลมเป็นส่วนใหญ่  พระองค์ใช้การเดินจงกลมมากกว่า วิธีอื่น

     เช่น   พระองค์เข้าไปเดินจงกลมในถ้ำ ปราบพญานาคที่เป็นอาจารย์ของชฏิล

            พระองค์เดินจงกลม สร้างกำแพงแก้ว บัง ตอนยศสกุลบุต

            พระองค์เดิน(จงกลม)ลงมาจากเทวโลก วันเทโวโลหนะ เปิดสามบันได แก้วเงิน ทอง

                       ในวันนั้นพระองค์เปิดสามภพภูมิให้เห็นกันหมด เป็นฤทธิ์พระพุทธเจ้า

           พระองค์เดินจงกลมแหวกน้ำ อันนี้ไม่รู้ตอนใดจำไม่ได้

                                น่าจะมีอีกนะ


             ขอเล่าประกอบแค่นี้ก็แล้วกันครับ

     
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา