ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย  (อ่าน 3776 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 12:18:06 pm »
0
16-พระสีวลีเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก


พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือ
ปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่าน
อาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ
พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร
จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:-


“ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”
ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไปพระนาง
ประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนาน
พระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร”

เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็น
เวลา ๗ วัน จึงจึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน

ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗
พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก =
กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่
สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา
และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย


พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่
แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาต
แล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอาราม

พระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ
ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้
พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่ง
เหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อ
โกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็น
พระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจ
บุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย
แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไป
ด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุสงฆ์เลย
เช่น....
 

•   พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะ
ผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒
แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่
อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์
ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วย
ภิกขาจาร”


พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเสวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหาร
บิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวกตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของ
พระสีวลี นั้นด้วย”

•   ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก
ด้วยอำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผล
ให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิ
ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านใน
ตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก
นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่ง
เบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็
ดับขันธปรินิพพาน


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/16.html


พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก

            
สีวลีเถราปทานที่ ๓
ว่าด้วยบุพจริยาของพระสีวลีเถระ


[๑๓๓] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ศีลของพระองค์ใครๆ ก็คำนวณไม่ได้ สมาธิของพระองค์เปรียบด้วยแก้ววิเชียรฌานอันประเสริฐของพระองค์ใครๆ ก็นับไม่ได้ และวิมุติของพระองค์หาอะไรเปรียบมิได้ พระนายกเจ้าทรงแสดงธรรมในสมาคมมนุษย์ เทวดา นาคและพรหม ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์ พระพุทธองค์ผู้แกล้วกล้าในบริษัท ทรงตั้งสาวกของพระองค์ผู้มีลาภมาก มีบุญ ทรงซึ่งฤทธิ์อันรุ่งเรืองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

อ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=33&A=3540&w=%CA%D5%C7%C5%D5%E0%B6%C3%D2%BB%B7%D2%B9%B7%D5%E8_%F3
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 12:21:12 pm »
0












บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 12:33:33 pm »
0
อดีตชาติของ "พระโลสกติสสะ" ผู้ทำบาปต่อคนดี(ทำให้เป็นผู้มีลาภน้อย)
 

       ในอดีตกาล สมัยศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป ภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในวัดหมู่บ้านหนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล สงบเสงี่ยม เรียบร้อย หมั่นบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาอยู่เสมอ ได้กุฎุมพี (ผู้มีทรัพย์ มีอันจะกิน เป็นชนชั้นกลาง เป็นคนมั่งคั่ง แต่ไม่ถึงขั้นเศรษฐี) เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติบำรุง (อุปัฏฐาก) อยู่เป็นสุขเสมอมา
       
       ต่อ มามีพระอรหันต์ท่านหนึ่ง จากป่าหิมพานต์ จาริกผ่านหมู่บ้านนั้น กุฎุมพีเห็นท่านแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงรับบาตร นิมนต์ให้นั่งในเรือน ถวายอาหารด้วยความเคารพ สดับธรรมกถาเล็กน้อยแล้ว ไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า
       
       "พระคุณเจ้า นิมนต์ไปพักที่วัดใกล้บ้านของกระผมเถิด ตอนเย็นพวกกระผมจะไปเยี่ยมท่าน"
       
       พระ ขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวกิเลส) จึงไปสู่อาวาสที่กุฎุมพีแนะนำ นมัสการภิกษุเจ้าอาวาสแล้ว สนทนาปราศรัยกันเล็กน้อยพอให้เกิดความคุ้นเคย ท่านเจ้าอาวาสถามว่า
       
       "ฉันอาหารมาเรียบร้อยแล้วหรือ"

ใน อดีตกาล สมัยศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป ภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในวัดหมู่บ้านหนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล สงบเสงี่ยม เรียบร้อย หมั่นบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาอยู่เสมอ ได้กุฎุมพี (ผู้มีทรัพย์ มีอันจะกิน เป็นชนชั้นกลาง เป็นคนมั่งคั่ง แต่ไม่ถึงขั้นเศรษฐี) เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติบำรุง (อุปัฏฐาก) อยู่เป็นสุขเสมอมา
       
       ต่อ มามีพระอรหันต์ท่านหนึ่ง จากป่าหิมพานต์ จาริกผ่านหมู่บ้านนั้น กุฎุมพีเห็นท่านแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงรับบาตร นิมนต์ให้นั่งในเรือน ถวายอาหารด้วยความเคารพ สดับธรรมกถาเล็กน้อยแล้ว ไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า

       
       "พระคุณเจ้า นิมนต์ไปพักที่วัดใกล้บ้านของกระผมเถิด ตอนเย็นพวกกระผมจะไปเยี่ยมท่าน"
       
       พระ ขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวกิเลส) จึงไปสู่อาวาสที่กุฎุมพีแนะนำ นมัสการภิกษุเจ้าอาวาสแล้ว สนทนาปราศรัยกันเล็กน้อยพอให้เกิดความคุ้นเคย ท่านเจ้าอาวาสถามว่า
       
       "ฉันอาหารมาเรียบร้อยแล้วหรือ"
"เรียบร้อยแล้วครับท่าน" พระอาคันตุกะตอบ
       
       "ได้ที่บ้านของกุฎุมพีใกล้อาวาสนี้เองครับท่าน"
       
       พระ ขีณาสพ ถามถึงเสนาสนะอันตนจะพึงได้เพื่อพักอยู่ชั่วคราว เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสแล้ว ก็จัดแจงปัดกวาดให้เรียบร้อย เก็บบาตรไว้ในที่ควรวาง นั่งเข้าฌาน และผลสมาบัติ (ผู้ได้ฌาน และชำนาญในการเข้า ย่อมเข้าฌานได้เสมอทุกเวลาที่ต้องการ ส่วนผลสมาบัตินั้นแปลว่า เข้าเสวยรสแห่งอริยผลที่ตนได้แล้ว พระอริยเจ้าตั้งแต่โสดาบันเท่านั้นจึงจะเข้าได้ ปุถุชนเข้าไม่ได้)
       
       พอ ถึงเวลาเย็น กุฎุมพีก็ให้คนถือพวงดอกไม้ และน้ำมันสำหรับเติมประทีปไปยังอาวาส พบภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาสก่อน นมัสการแล้วถามว่า

       
       "พระคุณเจ้า มีพระอาคันตุกะมาพักรูปหนึ่งไม่ใช่หรือ?"
       
       "มีอุบาสก" พระตอบ
       
       "ท่านพักอยู่ที่ไหนครับ?"
       
       "โน้น อยู่กุฏิโน้น"
       
       กุฎุมพี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสไปหาพระขีณาสพ ฟังธรรมกถาอยู่จนค่ำ จุดประทีปสว่างไสวแล้วนิมนต์พระเถระทั้ง 2 เพื่อรับภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้นแล้วกลับไป
       
       ฝ่าย พระภิกษุเจ้าอาวาสยังเป็นปุถุชน ยังมีกิเลสตัวโลภะและริษยาอยู่ เห็นกุฎุมพีเอาใจใส่เคารพนบนอบต่อพระขีณาสพเช่นนั้น คิดว่า "ถ้าพระรูปนี้อยู่ที่นี่นาน ก็จะทำให้กุฎุมพีไม่เคารพนับถือเราอย่างเช่นเคย คงจะโอนความเคารพนับถือไปให้พระอาคันตุกะเสียหมด เราควรแสดงอาการไม่พอใจให้ปรากฏ เพื่อไม่ให้เขาพักอยู่ที่นี่นาน"

       
       คิด ดังนี้แล้วก็ลงมือทำ คือ เมื่อพระขีณาสพมาปรนนิบัติมาสนทนาด้วยก็ไม่ยอมพูดด้วย เห็นอาการเช่นนั้น พระขีณาสพก็รู้และเข้าใจคิดว่า "พระเถระ เจ้าอาวาสนี้ไม่รู้หรอกว่า เราไม่ติดไม่ห่วงใยในลาภ ในตระกูล หรือความเป็นใหญ่ในหมู่คณะ" ดังนี้แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน มีความสุขอยู่ในฌานและในผลสมาบัติ
       
       วันรุ่งขึ้น ก่อนออกบิณฑบาต เจ้าอาวาสไปตีระฆังแต่ถ้าตีตามปกติ เกรงพระขีณาสพจะไปด้วย จึงเอาหลังเล็บเคาะระฆัง ไปเคาะประตูเหมือนกัน แต่เคาะด้วยหลังเล็บนั่นเอง เป็นทำนองว่าได้ทำแล้ว ไปเรือนของกุฎุมพีแต่ผู้เดียว
       
       กุฎุมพีรับบาตร นิมนต์ให้นั่ง พลางถามว่า "ท่านพระอาคันตุกะไปไหนเสียเล่า ทำไมจึงไม่มาด้วย?"
       
       เจ้าอาวาสตอบอย่างประชดประชันแดกดันว่า
       
       "อาตมา ไม่ทราบความประพฤติ ความเป็นไปของพระผู้ใกล้ชิดสนิทสนมของท่าน อาตมาตีระฆังก็แล้ว เคาะประตูก็แล้ว ก็ยังเงียบอยู่ เมื่อวานคงฉันอาหารอันประณีตในบ้านท่านอิ่มหมีพีมันแล้วหลับเพลินไปกระมัง? ภิกษุอย่างนี้ ท่านยังเลื่อมใสได้ลงหรือ?"
       
       ฝ่ายพระขีณาสพ ออกจากฌานและผลสมาบัติกำหนดบิณฑบาตของตนแล้ว ทรงบาตรจีวรเหาะไปทางอากาศแต่ไปที่อื่น
       
       กุฎุมพี นิมนต์เจ้าอาวาสให้ฉันข้าวปายาสอันปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดเรียบร้อยแล้ว รับบาตรด้วยของหอม ใส่ข้าวปายาสจนเต็มแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ! พระเถระอาคันตุกะเห็นจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาไม่ได้ ขอฝากข้าวปายาสนี้ไปถวายด้วยเถิด"

       
       เจ้าอาวาสรับบาตรมา แล้ว เดินทางกลับวัด เดินไปคิดไปว่า "ถ้าภิกษุอาคันตุกะได้บริโภคมธุปายาสอันอร่อยเช่นนี้ เราจับคอฉุดให้ออกจากวัดไปก็คงไม่ไป ถ้าเราเอาข้าวปายาสนี้ให้คนอื่น กุฎุมพีก็คงจะไม่รู้ภายหลัง ถ้าทิ้งลงในน้ำ เนยใสจะลอยเป็นแผ่นอยู่เหนือน้ำ ถ้าทิ้งไว้บนแผ่นดิน พวกนก กา ก็จะพากันมาล้อมกิน สิ่งที่เราทำก็ไม่เป็นความลับ เราควรทิ้งข้าวปายาสนี้ในที่ใดหนอ"
       
       มอง ไปเห็นไฟกำลังไหม้ซังข้าวอยู่ในนาแห่งหนึ่ง คุ้ยถ่านขึ้นมา เทข้าวปายาสลงไปแล้วกลบด้วยขี้เถ้าแล้วกลับวัด เมื่อไปถึงวัดไม่เห็นพระอาคันตุกะ จึงฉุกคิดว่า "ชะรอยภิกษุนั้นจะเป็นพระขีณาสพผู้ได้ เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ใจผู้อื่น)รู้ใจของเราแล้วจึงไปเสียที่อื่น โอ เพราะปากท้องเป็นเหตุ เราทำกรรมหนักอันไม่ควรเสียแล้ว"
       
       ทันใดนั้น ความเสียใจอย่างใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นแก่ท่านตั้งแต่วันนั้นมา ร่างกายของท่านก็ซบซีดผ่ายผอม (อรรถถา ใช้คำว่าเป็นมนุษย์เปรต) มีชีวิตอยู่ต่อมาอีกไม่นานก็มรณภาพไปเกิดในนรก หมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลาหลายแสนปี
       
       ด้วยอำนาจแห่งเศษ กรรมนำให้เกิดในกำเนิดยักษ์อีก 500 ชาติ ไม่เคยได้กินอาหารเต็มท้องเลยสักวันเดียว ได้กินรกคนเต็มท้องอยู่มื้อหนึ่งแล้วก็ตายในวันนั้น ไปเกิดเป็นสุนัขอีก 500 ชาติ ไม่เคยได้อาหารเต็มท้องเช่นเดียวกัน มาได้เต็มท้องเอาวันสุดท้ายคือวันตายได้กินอาเจียนของคนๆ หนึ่งแล้วตาย เขายังท่องเที่ยวเสวยวิบากแห่งกรรมในสังสารวัฏอีกนาน


                     

       ในชาติสุดท้าย เกิดเป็นบุตรของชาวประมงคนหนึ่ง ณ หมู่บ้านชาวประมงในแคว้นโกศลซึ่งอยู่รวมกันประมาณหนึ่งพันครอบครัว ในวันที่เด็กถือปฏิสนธิชาวประมงทั้งหมดเที่ยวหาปลาแต่ไม่มีใครได้ปลาเลยสัก ตัวเดียวแม้แต่ตัวเล็กๆ ตั้งแต่วันนั้นมา หมู่บ้านชาวประมงก็เสื่อมโทรมลงมากทีเดียว ขณะที่เขาอยู่ในท้องมารดา หมู่บ้านชาวประมงถูกไฟไหม้ถึง 7 ครั้ง ถูกพระราชาลงโทษปรับสินไหม 7 ครั้ง ชาวประมงทั้งหลายจึงลำบากแร้นแค้นลงเรื่อยๆ
       
       ชาวประมง ประชุมกัน คิดกันว่า ก่อนหน้านี้ พวกเราไม่เคยลำบากเช่นนี้เลย เดี๋ยวนี้พวกเราย่ำแย่ มีเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด เกิดขึ้นอย่างน่าพิศวง ในหมู่พวกเราต้องมีตัวกาลกรรณีเป็นแน่ ทำอย่างไรจึงจะค้นหาตัวกาลกรรณีในหมู่พวกเราได้ ตกลงแยกออกเป็น 2 พวก คือฝ่ายละ 500 ครอบครัว เมื่อแยกแล้วมารดาของเขาอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มนั้นก็ลำบากแร้นแค้น ส่วนอีกกลุ่มก็เจริญรุ่งเรืองดี เขาแยกกลุ่มออกไปเรื่อยๆ จนเป็นกลุ่มน้อย จะน้อยเพียงใด กลุ่มที่เขาอยู่ก็ย่ำแย่ ในที่สุดเหลือครอบครัวของเขาเพียงครอบครัวเดียว คนอื่นๆ เขาทำมาหากินได้ตามปกติ คนทั้งหลายจึงรู้ว่าคนในครอบครัวนี้เป็นกาลกรรณี จึงขับไล่ โบยตีให้ออกไป

พ่อแม่ของเขาเลี้ยงชีพด้วยความแร้นแค้นฝืดเคืองเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องอดทน ธรรมดาพ่อแม่ย่อมรักลูก แม้รู้ว่าเป็นเหตุให้ตนต้องลำบากเพียงใด เมื่อครรภ์แก่ก็คลอด ณ ที่แห่งหนึ่ง พ่อแม่ของเขาเลี้ยงเขามาด้วยความลำบากและอดทนจริงๆ จนเขาเติบโตพอวิ่งเล่นได้ เห็นว่าควรปล่อยเขารับชะตากรรมของเขาเองได้แล้ว คนอื่นๆ เป็นอันต้องอดทนลำบากกับเขามามากแล้ว จึงมอบภาชนะดินเผาไว้ในมือ พลางกล่าวว่า
       
       "ลูกเอ๋ย เจ้าจงถือภาชนะนี้ไปที่เรือนหลังนั้นเถิด"
       
       หลอกลูกให้ไปขอทานแล้วหนีไป เด็กน้อยต้องอยู่อย่างว้าเหว่ เลี้ยงตัวเองด้วยความยากลำบาก สุดจะพรรณนาได้ แต่ธรรมดาของท่านผู้เกิดมาเป็นภพสุดท้าย ใครๆ ไม่อาจทำลายได้ ย่อมไม่ประสบภัยพิบัติถึงเสียชีวิตด้วยเหตุใดๆ เพราะอุปนิสัยแห่งอรหัตผลรุ่งเรืองอยู่ในหทัยของท่านเหมือนดวงประทีปอยู่ใน ที่ครอบครองอันมิดชิด ลมไม่อาจพัดไฟให้ดับได้
       
       เด็กน้อยเที่ยวหากินตามประสาเด็กที่ไม่มีคนเลี้ยงค่ำไหนนอนนั่น ไม่ได้อาบน้ำไม่ได้แต่งตัว ไม่ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า มีชีวิตอยู่อย่างเศร้าหมองลำเค็ญจนอายุ 7 ขวบ

       วันหนึ่งกำลังเลือกเก็บเม็ดข้าวสุกกินทีละเม็ดในที่ที่คนล้างหม้อแล้วเขาไว้ใกล้ ประตูเรือนแห่งหนึ่งพอดี พระสารีบุตรออกบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีเดินมาพบเข้า เห็นแล้วรำพึงว่า เด็กคนนี้น่าสงสารนักเป็นเด็กที่ไหนหนอ คิดดังนี้แล้วยิ่งสงสารมากขึ้นจึงเรียกให้เข้าหา ถามว่า พ่อแม่อยู่ไหน เขาเกิดที่บ้านไหน เขาเล่าเรื่องของตัวเองเท่าที่จำได้ให้พระเถระฟัง
       
       "เธอจะบวชไหม?" พระสารีบุตรถามด้วยความกรุณา
       
       "กระผมอยากบวช ขอรับ แต่คนกำพร้าพ่อแม่อย่างผมใครจะบวชให้เล่า?
       
       "เราจะบวชให้เอง"
       
       "ขอบพระคุณขอรับท่าน"
       
       พระเถระ พาเด็กน้อยวัย 7 ขวบ ไปยังเชตวันวิหาร ให้ของกิน อาบน้ำให้เอง และบวชให้เป็นสามเณรก่อน เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ให้อุปสมบท ท่านมีชื่อว่า "โลสกติสสะ" แม้บวชแล้วก็เป็นผู้มีลาภน้อยไม่มีบุญในเรื่องลาภ เพราะเคยทำลายลาภของพระอรหันต์ในชาติก่อน
       
       แม้ ในคราวที่พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายอสทิสทาน (ทานที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีทานใดเสอมเหมือน) อันเป็นทานใหญ่ยิ่งของเมืองสาวัตถีพระโลสกติสสะก็ไม่ได้ฉันเต็มท้อง ท่านได้อาหารเพียงพอสืบต่อชีวิตไปได้เท่านั้น ใครใส่บาตรท่านแม้เพียงข้าวต้มกระบวยเดียว ก็ปรากฏเสมือนเต็มเสอมขอบปากบาตร คนอื่นๆ เห็นเข้าแล้วคิดว่า บาตรของภิกษุรูปนี้เต็มแล้ว จึงถวายองค์หลังๆ ต่อไป

       
       ท่านทราบเหมือนกันว่า คงจะเป็นวิบากกรรมนำให้เป็นเช่นนี้ จึงไม่ประมาท หมั่นเจริญวิปัสสนา ต่อมาได้บรรลุอรหัตผลอันเป็นผลสุดยอดของการบำเพ็ญเพียรแต่ยังคงมีลาภน้อย อยู่นั่งเอง
       
       เพราะขาดอาหาร สังขารของท่านจึงร่วงโรยทรุดโทรมเร็วก่อนเวลาอันควร จนวันที่ต้องนิพพาน พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรทราบเรื่องนี้ จึงดำริว่า
       
       "วันนี้พระโลสกติสสะจะนิพพาน เราควรให้อาหารแก่เขาจนเพียงพอ"

       ดังนี้แล้ว พาท่านไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี แม้จะพบผู้คนมากมายแต่พระสารีบุตรก็ไม่ได้แม้แต่การยกมือไหว้จากมหาชน ทานจึงพาพระโลสกะกลับไปยังโรงฉัน บอกให้นั่งลงที่นั่นก่อน ท่านเองจะออกไปใหม่ คราวนี้ประชาชนชวนกันถวายของมากมาย ท่านรีบแบ่งอาหารที่ได้แล้วส่งกลับไปให้พระโลสกะซึ่งรออยู่ที่โรงฉัน แต่คนที่นำอาหารไป เกิดลืมว่าให้ถวายแก่พระชื่ออะไร จึงกินเสียเองหมด เมื่อพระสารีบุตรกลับมาถึงวัด พระโลสกะไปไหว้
       
       "คุณได้ฉันอาหารแล้วหรือยัง?" พระเถระถาม
       
       "ยังเลยครับท่าน" พระโลสกะตอบ
       
       พระเถระถามทราบเรื่อง รู้สึกสลดใจมากว่า กำลังแห่งกรรมเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ เห็นเวลายังพอมีอยู่จึงกล่าวว่า
       
       "เอาเถอะคุณ คุณนั่งอยู่ที่นี่แหละ ผมจะออกไปใหม่"

 ท่าน รีบไปยังพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาให้รับบาตรพระเถระแล้วทรงเห็นว่า ไม่ใช่เวลาที่จะถวายของคาว จึงถวายแต่ของหวาน เช่น เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย พระเถระรีบกลับไป เรียนพระโลสกะมาให้รีบฉัน พระโลสกะ ครั้นจะไม่ฉันก็เกรงใจพระเถระ
       
       "มาเถิด โลสกะ มาฉันเถิด ผมจะยืนถือบาตรให้ คุณนั่งฉัน ถ้าผมไม่ถือบาตรไว้ในบาตรต้องไม่มีอะไร"
       
       ด้วย กำลังฤทธิ์ของพระเถระ ด้วยบุญบารมีของพระเถระ ของ 4 อย่างนั้นไม่หายไป พระโลสกะฉันตามต้องการจนอิ่มและนิพพานในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นิพพานของพระโลสกะด้วย รับสั่งให้ปลงศพของท่าน คือเผาแล้วให้เก็บอัฐิธาตุบรรจุเจดีย์ไว้เป็นที่บูชาของมหาชน
       
       ท่านบิดาเล่าเรื่องนี้จบแล้วกล่าวว่า
       
       "ดู เถิด ดูอานุภาพของผลบุญและผลบาปซึ่งท่านเรียกว่ากุศลวิบากและอกุศลวิบาก ซึ่งต่อสู้กันอยู่ในชีวิตของสัตว์โลกทั้งหลายผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ผลบุญช่วยปกป้องผองภัย ส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้ามีชีวิตผาสุก ผลบาปกระหน่ำซ้ำเติมให้ทุกข์ยากลำเค็ญ
       
       ดูตัวอย่าง ชีวิตของพระโลสกะ ท่านต้องเสวยผลแห่งบาปที่ทำต่อพระอรหันต์อย่างสาหัส แต่ความดีที่ทำไว้ก็ไม่ได้สูญหาย ได้เคยรักษาศีล เจริญภาวนามาเป็นปัจจัยให้ได้อุปนิสัยแห่งอรหัตผล ซึ่งในภพสุดท้ายที่จะได้เป็นพระอรหันต์นั้น แม้จะประสบภัยพิบัติอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ท่านเสียชีวิตได้ กรรมชั่วน่ากลัว กรรมดีมีผลน่าชื่นใจจริงๆ"
       
       ดังนั้น การทำความดีกับคนดีมีผลดีมากอย่างไร การทำร้ายต่อคนดีก็ย่อมมีผลร้ายมากอย่างนั้น ท่านจึงจัดเป็นไฟอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทักขิไณยัคคิ ไฟคือ ทักขิไณยบุคคล ให้คุณอนันต์ให้โทษมหันต์ สุดแล้วแต่เราเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร

ที่มา  http://talk.mthai.com/topic/109355




เล่ม ๕๖ อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
เอกนิบาตชาดก อรรถกถาอัตถกามวรรคที่  ๕
อรรถกถาโลสกชาดกที่  ๑


   พระศาสดา   เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภ  พระโลสกติสสเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า   "โย  อตฺถกามสฺส"  ดังนี้.
   ก็พระเถระผู้มีชื่อว่า  โลสกะ  นี้  คือใคร  (มีประวัติเป็นมาอย่างไร)?
   ท่านเป็นบุตรของชาวประมงคนหนึ่ง  ในแคว้นโกศล  เป็นผู้ทำลายตระกูลวงศ์ของตน  ไม่มีลาภ  มาบวชในหมู่ภิกษุ.


   ได้ยินมาว่า  ท่านจุติจากที่ที่ท่านเกิดแล้ว  ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงชาวประมงนางหนึ่ง  ณ  หมู่บ้านชาวประมงตำบลหนึ่ง  ซึ่งอยู่ร่วมกันถึงพันครอบครัว  ในแคว้นโกศล.  ในวันที่ท่านถือปฏิสนธิ  ชาวประมงทั้งพันครอบครัวนั้น  พากันถือข่ายเที่ยวหาปลา  ในลำน้ำและบ่อบึง  ไม่ได้แม้แต่ปลาตัวเล็ก  ๆ  สักตัวหนึ่ง. 

และนับแต่วันนั้นมา  พวกชาวประมงเหล่านั้น  ก็พากันเสื่อมโทรมทีเดียว.  เมื่ออยู่ในท้องมารดานั้นเล่า  บ้านชาวประมงเหล่านั้น  ก็ถูกไฟไหม้ถึง  ๗  ครั้ง  ถูกพระราชาปรับสินไหมเจ็ดครั้ง.  โดยนัยนี้  ชาวประมงเหล่านั้น  จึงถึงความลำบากโดยลำดับ.

.................
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
.................
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

พระบรมศาสดาตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโลสกติสสเถระนั้น  ได้กระทำความเป็นคนมีลาภน้อย  และความเป็นผู้ได้อริยธรรมให้แก่ตนด้วยตนเอง อย่างนี้แล 

ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า  มิตต-พินทุกะในกาลนั้น  ได้มาเป็นพระโลสกติสสเถระในกาลนี้  อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในกาลนั้น  คือเราตถาคตฉะนี้แล.
         จบ  อรรถกถาโลสกชาดกที่  ๑

ติดตามรายละเอียดได้ที่
http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=475.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2011, 12:42:37 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2011, 12:47:15 pm »
0


รับฟังเรื่องพระโลสกติสสเถร บรรยายโดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่
http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?tof=d&id=1047&PHPSESSID=8b1fd74f3743ecfc9800ac4fdb7a46ed
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ