ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม จะถึงคุณธรรม ที่สุด ต้องทำอย่างไร ครับ  (อ่าน 1734 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม จะถึงคุณธรรม ที่สุด ต้องทำอย่างไร ครับ

ตอบ ก็ต้องรู้จักใช้กรรมฐาน
ทาน + ศีล เป็นลำดับที่ ๑
สมาทาน กรรมฐาน เป็นลำดับที่ ๒
อธิษฐาน กรรมฐาน เป็นลำดับที่ ๓
ทบทวน กรรมฐาน เป็นลำดับที่ ๔
หมั่นพิจารณา ธรรมเนือง ๆ เป็นลำดับที่ ๕

ธรรม ๕ ประการนี้เป็น ธรรมอุปการะ แก่ การภาวนา

ลำดับที่ ๑ ทาน + ศีล
อันนี้ไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะทุกคนน่าจะพอเข้าใจกันอยู่บ้างแล้ว การสร้างทาน มุ่งเน้นที่ ทานวัตถุ เพื่อ สละ มัจฉริยะ ( ความขี้เหนียว ความตระหนี่ )

การให้วัตถุทาน พิจารณา ที่ผู้ให้
พ่อแม่ ให้ วัตถุทาน กับ บุตร ย่อมแตกต่าง
บุคคล ให้ วัตถุทาน กับ พระอริยะ
สองประการนี้ ถึงดูการให้เหมือนกัน แต่ ผลที่ได้รับทางจิตปัจจุบัน ไม่เหมือนกันเลย และผลที่จะได้รับในอนาคตก็ต่างกันมาก ราวฟ้ากับดิน

ศีล เป็นข้อห้าม มุ่งหมายที่ ศีล ๕ เป็นหลัก จริง ๆ แล้ว ศีลอาศัยธรรม ๒ อย่าง คือ สัจจะ ( ความจริงใจ ) + เมตตา ( ความรักปรารถนาดี กับเพื่อน ร่วมโลก )

ลำดับที่ ๒ สมาทานกรรมฐาน
กิจในพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า พรหมจรรย์ นั้น มุ่งหมาย ที่การรู้จักเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล สังคม บรุษ บุคคล ดังนั้น สัตตบุรุษ ไม่ว่าหญิงหรือชาย ล้วนแล้วต้องรู้จักเลือกสมาทาน กรรมฐาน ที่เหมาะสมกับฐานะที่ตนเอง ควรกระทำ

ลำดับที่ ๓ การอธิษฐาน กรรมฐาน
การเจริญนึกหน่วง กรรมฐานใด กรรมฐานหนึ่งตลอดเวลา ที่นึกถึงได้ สามารถกระทำได้ นั่นคือการอธิษฐานกรรมฐาน การอธิษฐาน กรรมฐาน นั้นไม่ใช่การฝึกกรรมฐาน แต่เป็นการใช้กรรมฐาน เป็นสภาวะใช้งานจริง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ให้สมาทานอย่างน้อย ๔ เวลา ตื่นสมาทาน ทำงานสมาทาน กลับบ้านสมาทาน ก่อนนอนสมาทาน อย่างน้อย ๔ เวลานี้ไม่ควรลืม หลง ควรนึกถึง

ตื่นสมาทาน นอบน้อม พุทโธ นโม สัก ๓ จบ คาถาพญาไก่แก้ว สักสามรอบ ก่อนไปล้างหน้า ชำระกาย

ทำงานสมาทาน ช่วงเวลายาวนาน จะกิน จะเดิน จะนั่ง จะยืน มีสติระลึกกรรมฐาน ใดกรรมฐานหนึ่ง กระทำให้เกิดเป็นวิถีจิตชำระจิตให้ผ่องใสได้ตลอดเวลา ก็เป็นการสมควร

กลับบ้านคือเลิกงาน สบาย ๆ ก็ควร สมาทาน ระลึกในกองกรรมฐานใด กรรมฐานหนึ่งให้เป็นภาวะวิสัย ไม่เปิดโอกาส ให้หมู่มาร แทรกแซงจิตใจให้หดหู่ ตกต่ำ หรือ เศร้าหมอง

ก่อนนอน สมาทาน เมื่อจะนอน จะหลับก็ควรระลึกถึงกรรมฐาน หลับไปกับกรรมฐาน นั่นแหละ นิมิตดี ๆ ก็จะมีเกิดขึ้นไม่ทำจิตให้เศร้าหมอง

ลำดับที่ ๔ ทบทวนกรรมฐาน
การฝึกกรรมฐาน ต้องแบ่งเวลาการฝึกไม่เหมือนการใช้ ดังนั้นการฝึก ย่อมมีข้อผิดพลาดได้ ย่อมฝึกได้ ฝีกไม่ได้ปนเปกันไป สำหรับคนอ่อน ก็ฝึกไม่ได้ แต่ก็ต้องฝึก สำหรับคนเก่งก็สามารถฝึกได้ ก็อนุโมทนา

ลำดับที่ ๕ หมั่นพิจารณาธรรม เนือ่ง ๆ
การพิจารณาธรรม ก็คือ ธัมมะวิจยะ สัมโพชฌงค์ จะหยิบ เหตเล็ก เหตุน้อย เหตใหญ่ ขึ้นมาพิจารณาได้ทั้งนั้น การพิจารณา ธรรม มีเพียง ๔ หมวด คือ พิจารณาไปในกาย พิจารณาไปในเวทนา พิจารณาไปในจิต พิจารณาไปในธรรม การเจริญธรรมเนือง ๆ อย่างนี้ย่อมไม่ทำให้หลงในวัฏฏะสงสาร ย่อมรู้แจ้ง เห็นจริง เห็นกิจควรทำ

ดังนั้นคุณธรรม ทั้ง ๕ ข้อนี้ นับเนื่องซึ่งกันและกัน เป็นคุณธรรมวิสัย ของ โยคาวจร ผู้ยังไม่บรรลุเป็น โสดาบัน ควรจะต้องกระทำไว้ตลอดเวลา นี่เรียกว่า กิจแห่งพรหมจรรย์ กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สำหรับบรรพชิต ย่อมกระทำให้มีขึ้นมาก พอกพูนให้มากขึ้น มากขึ้นจนไปสู่การบรรลุธรรม ทีสมควร

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถาม จะถึงคุณธรรม ที่สุด ต้องทำอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 16, 2018, 03:33:36 pm »
0
กราบนมัสการ ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ  :25:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถาม จะถึงคุณธรรม ที่สุด ต้องทำอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 18, 2018, 09:45:34 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ